ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC)

ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC)

ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation center - ITC) อยู่ภายใต้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสิรมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภายในภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถนำไปต่อยอดสร้างนวัตกรรม เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์

ทางศูนย์ฯ มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการคำปรึกษาแนะนำตั้งแต่แรกเริ่ม การวิจัยเชิงพาณิชย์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดหาผู้ผลิต การจัดหาแหล่งทุน รวมทั้งการทดสอบและรับรองมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าและนำไปประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางผู้ประกอบการต้องมีการเตรียมแนวคิดของผลิตภัณฑ์เอาไว้เบื้องต้นก่อนเข้ามาปรึกษา

 

บริการจากทางศูนย์

การให้บริการจากทางศูนย์ฯ นั้นจะมีอยู่ 4 ด้าน คือ

- การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ
- การให้บริการเครื่องจักรเพื่อช่วยในการผลิต
- การสาธิต การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับท้องตลาด
- การเชื่อมโยงกับแหล่งสถาบันทางการเงิน

 

แบ่งการให้บริการออกเป็น 3 หน่วย หลัก ได้ดังนี้

  1. หน่วยพัฒนาสินค้าต้นแบบเกษตรแปรรูป (Unit PP – Unit Pilot Plant) ให้บริการกับกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และอาหารแปรรูป โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ได้มีโอกาสเข้ามาใช้เครื่องจักรเพื่อทดลองผลิตสินค้าต้นแบบ หรือใช้เทคโนโลยีในการต่อยอดการผลิตสินค้านวัตกรรมเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการทดสอบความปลอดภัยและคุณค่าทางอาหารให้กับผู้ประกอบการ
  2. หน่วยสกัดพืชน้ำมัน (Unit OX – Unit Oil Extractor) ให้บริการสกัดน้ำมันจากพืชอุตสาหกรรม เนื่องจากภาคเหนือ มีพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่สามารถสกัดน้ำมันแล้วได้ปริมาณน้ำมันและสารสำคัญสูงกว่าพืชจากแหล่งอื่น
  3. หน่วยให้บริการกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Unit 1C – Unit One Connection) ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ รวมถึงให้บริการออกแบบโดยทีมนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญ ใน 4 ด้าน คือ ออกแบบผลิตภัณฑ์, แฟชั่น, กราฟิก, และบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยพัฒนาต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, เครื่องสแกน 3 มิติ, บริการถ่ายรูปสินค้า, เครื่องพิมพ์บรรจุภัณฑ์, จักรเย็บผ้าประเภทต่าง ๆ

 

ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต นั้นเปิดให้บริการครบวงจร โดยมีความมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาสินค้าและการผลิตให้กับผู้ประกอบการ ให้มีการเชื่อมโยงนวัตกรรม งานวิจัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวไปสู่การแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างทัดเทียม

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1

ที่อยู่: 158 ถนนทุ่งโฮเต็ล ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

โทร: 053-245-361, 053-245-362

โทรสาร: 053-248315

อีเมล: ipc1@dip.go.th

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

Thais Ecoleathers รีไซเคิลเครื่องหนัง ให้รักษ์โลกอย่างแท้จริง

 

 

Thais Ecoleathers รีไซเคิลเครื่องหนัง ให้รักษ์โลกอย่างแท้จริง

หากนำเศษหนังทั้งหมดที่ถูกทิ้งจากโรงงานผลิตเครื่องหนังทั่วประเทศไทยในเวลา 1 ปี มาวางตั้งเรียงกัน จะได้ความสูงมากกว่าตึกมหานครถึง 6 เท่า หรือนับเป็นปริมาณได้มากเกินกว่า 10,000 ตัน วัสดุราคาสูงเหล่านี้ต่างถูกทิ้งเป็นขยะ ฝังกลบอยู่ใต้ดินไปอย่างไร้ค่า และยากต่อการย่อยสลาย 

มีไม่ถึง 1% ของปริมาณเศษหนังมหาศาลเหล่านี้ ที่จะถูกนำกลับมารีไซเคิลให้เป็นประโยชน์ และยิ่งน้อยลงไปกว่านั้น ถ้าต้องใช้กระบวนการรีไซเคิลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนเรียกได้ว่าในโลกนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการใดที่สนใจที่จะทำมาก่อน

สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นคำถามในใจของ คุณธันย์ ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และ คุณเม พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล มาตลอดช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในวงการธุรกิจผลิตเครื่องหนัง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้ง 2 คน ก่อตั้ง Thais Ecoleathers เพื่อคิดหาวิธีที่จะนำเศษหนังเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ชุบชีวิตให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง โดยตั้งโจทย์ใหญ่ไว้ว่า ตลอดกรรมวิธีของการรีไซเคิล นั้นต้องปลอดภัยต่อโลก โดยไม่มีการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

ชุบชีวิตเศษหนัง สู่เครื่องหนังรักษ์โลก

Thais ได้ทดลอง และพัฒนารูปแบบอยู่หลายปี จนสามารถสร้างนวัตกรรมรีไซเคิลเศษหนัง ด้วยกระบวนการที่รักษ์โลก 100% ได้เป็นผลสำเร็จ เป็นที่แรกและที่เดียวในโลก ให้ผลลัพธ์เป็นแผ่นหนังรีไซเคิลที่ยังคงคุณสมบัติทั้งความสวยงามของเครื่องหนัง มีความหรูหรา และทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนานนับ 10 ปี มีเอกลักษณ์ และเรียกได้ว่าเป็นเครื่องหนังที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ก้าวต่อมาคือการนำวัตถุดิบนี้ไปออกงานเพื่อแนะนำให้นานาประเทศได้รู้จัก การออกงานในครั้งนั้นได้รับผลตอบรับที่ดีจากชาวต่างชาติ จนได้รับการสั่งผลิตสินค้าล็อตใหญ่ นั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Thais ได้กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องหนังที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเย็บให้เป็นสินค้าด้านแฟชั่น เช่น กระเป๋า ไปจนถึงการผลิตเป็นวัสดุสำหรับใช้ตกแต่งบ้าน เช่น แจกัน หรือ เฟอร์นิเจอร์

ด้วยวิธีคิดอย่างใส่ใจ จนสามารถพัฒนานวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง ทำให้ Thais ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ และชนะรางวัลจากทั้งในระดับชาติ ไปจนถึงระดับนานาชาติ เช่น ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการพัฒนาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ ขยายกำลังการผลิตได้มากขึ้น, ได้รับรางวัลงานออกแบบ DeMark, ได้รับรางวัลจาก UNIDO องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ

 

วิธีคิดอย่างยั่งยืน เพื่อคืนคุณค่าให้วัสดุ

เคล็ดลับในการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมของ Thais นั้น ให้ความสำคัญกับ 3 ด้าน คือ

People – ทำอย่างไรที่จะสร้างผู้มีส่วนร่วมในวงจรธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ Thais ทำ คือการเข้าไปสร้างทีมพันธมิตร จากชาวสวน ชาวไร่ ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมให้พวกเขามีรายได้เพิ่มนอกฤดูเก็บเกี่ยว จากการตัดเย็บผลิตภัณฑ์

Planet – ตั้งต้นจากการคิดเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ และยังมีแนวคิดที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุที่เหลือจากการผลิตทุกส่วน เพื่อไม่ให้มีขยะเหลือทิ้งจากการผลิต 

Profit – คือการคิดเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย เช่น การช่วยลดต้นทุนการกำจัดขยะให้กับโรงงานเครื่องหนัง ด้วยการเข้าไปรับวัสดุเศษหนัง เพื่อนำมาใช้ในการรีไซเคิลกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

 

ด้วยรูปแบบวิธีคิดและการดำเนินธุรกิจของ Thais นั้น เรียกได้ว่าตอบรับกับนโยบายเศรษฐกิจ ด้าน BCG อย่างครบถ้วน ซึ่ง Thais มีความเข้าใจในความเกี่ยวข้องของทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นอย่างดี และสามารถส่งต่อแนวคิดนี้ออกไปให้กับผู้ที่ใความเกี่ยวข้อง สร้างวงจรของธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

Thais Ecoleathers Co., Ltd.

ที่อยู่: 296 ซอย กาญจนาภิเษก10 ถนน กาญจนาภิเษก
แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

โทร: 092 545 5744

อีเมล: info@thais-ecoleathers.com

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

เว็บไซต์: www.thais-ecoleathers.com/

Line: @thais.ecoleathers

Facebook: thais.ecoleathers

Instagram: thais.ecoleathers

 

บทความแนะนำ

5 กลยุทธ์เริ่มให้ปัง ดังด้วยออนไลน์

5 กลยุทธ์เริ่มให้ปัง ดังด้วยออนไลน์

 

​​​แม้ว่าการขายของออนไลน์ยุคนี้จะเป็นอาชีพที่เริ่มไม่ยาก และยิ่งมีช่องทางในการขายมากมาย ทั้ง Facebook Shop หรือน้องใหม่ อย่าง Tiktok Shop แต่ใช่ว่า SME คนไหนก็ทำได้ และประสบความสำเร็จในการขายทุกคน ดังนั้นถ้าคิดอยากขายของออนไลน์ให้ดัง ลูกค้าติดหนึบ ต้องมีกลยุทธ์ดีๆ ได้มาเผยกลยุทธ์แบบหมดเปลือกไว้ใน K SME CARE TALK 3 มีอะไรบ้างมาดูกัน

  1. วาง Brand Character สินค้าให้ถูก การแสดงตัวตนของสินค้า ทำให้ลูกค้ารู้ว่าสินค้าเรามีเอกลักษณ์อย่างไร อย่างผ้าพันคอโซอี้ส่งออกไปขายต่างประเทศ จำเป็นต้องคงลักษณะความเป็นไทยไว้ในสินค้า เพราะคนต่างชาติรักในความเป็น Made in Thailand ที่เหมาะสมทั้งราคาและคุณภาพ ทำให้กลายเป็นจุดเด่นและทำให้สินค้าของโซอี้ขายดี
  2. รีวิวของลูกค้าคือหัวใจสำคัญ เพราะความคิดเห็นของลูกค้า นอกจากช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์แล้ว ยังทำให้ลูกค้าคนอื่นมั่นใจว่าสินค้าที่เขาจะซื้อนี้มีคุณภาพที่ดี โดยโซอี้ทำรีวิวมาตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว โซอี้โพสต์รูปลูกค้าไว้ในเพจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าท่านอื่นๆ
  3. Influencer Review เพิ่มความสตรองให้แบรนด์ หากแบรนด์ไหนมีงบมากให้ใช้ Macro Influencer เพราะจะช่วยสร้างการจดจำและทำให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น แต่ถ้างบจำกัด เราสามารถใช้ Micro Influencer ที่เป็นเพื่อนๆเราได้ โดยขอร้องเพื่อนให้ช่วยโพสต์ให้เรา ในเวลาเดียวกัน ด้วยเทคนิคจุดพลุพร้อมกันให้ดังทั่วฟ้า เพราะใครเข้ามา ก็จะเจอรีวิวของเราเต็มไปหมด แค่นี้ก็ช่วยสร้างการรับรู้ได้แล้ว
  4. Pattern Post ต้องมี ทุกโพสต์ที่คุณโพสต์ต้องมี Pattern เพื่อช่วยปิดการขายภาย เช่น ใน 3 คลิกที่โพสต์ ลูกค้าต้องเจอกับ การสอบถาม การสั่งซื้อ และ ราคา เป็นต้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
  5. CRM ขาดไม่ได้ ถ้าวันไหนเรามีรายได้จากการทำธุรกิจ ต้องแบ่งปันรายได้คืนสู่สังคม โซอี้เลือกบริจาคให้สถาบันมะเร็ง โดยทำ CSR มอบรายได้จากการขายผ้าพันคอคอลเลคชั่นพิเศษที่ออกแบบด้วย Celeb ให้กับมูลนิธินกขมิ้น นอกจากได้ทำบุญแล้ว ยังสร้างความรู้จักในแบรนด์ได้อีกทางหนึ่งด้วย
  6. กลยุทธ์ง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้แบบนี้ อยากให้ทุกคนลองไปปรับใช้ในการทำธุรกิจกันดู รับรองว่าธุรกิจคุณต้องปัง แบรนด์ดังได้แน่นอน

 

อ้างอิง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/MarketingTips/Pages/online_strategy.aspx


สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

SMEs คนไหนที่อยากปรับรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจ และอยากเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจในอนาคต วันนี้ SME ONE มี TTRS เครื่องมือวัดเรตติ้ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพราะนั่นคือความน่าเชื่อถือของธุรกิจ

 ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามในการนำโมเดลที่มีชื่อว่า TTRS (Thailand Technology Rating System) หรือ ศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินการจัดอันดับเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อมาช่วยในการ ‘จัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME’ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินในการเข้าถึงสินเชื่อ ที่สำคัญยังเป็นการประเมินธุรกิจให้ปูทางไปสู่ SME ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจอีกด้วย

 

“มิติของ TTRS เราจะพิจารณาในส่วนของ All business process และความเป็นไปได้ของธุรกิจ ซึ่งอาจจะมีส่วนของสภาพคล่องทางการเงิน และรวมถึงความสามารถในด้านบริหารจัดการธุรกิจด้วย”

 

ประโยชน์ของ SME ในการประเมินโดยใช้โมเดล TTRS

  1. ผู้ประกอบการทราบถึงระดับของเทคโนโลยี

รวมทั้งจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของเทคโนโลยีจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจได้

  1. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ทั้งในส่วนของสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยใช้ควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up & Innobiz ของ บสย. และการร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ

  1. สามารถเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ

รวมทั้งได้รับสิทธิในการเข้าถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเทคโนโลยีของหน่วยงานภาครัฐ

 

SME สนใจประเมินเทคโนโลยีกับ TTRS ทำอย่างไร?

  1. ผู้ประกอบการยื่นสมัครในระบบ TTRS
  2. กรอกแบบฟอร์มและส่งเอกสารเพิ่มเติมที่แจ้งในระบบ
  3. ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเบื้องต้น
  4. ตรวจประเมินการใช้เทคโนโลยีในการผลิต
  5. เข้าสู่ระบบประเมิน TTRS
  6. แจ้งผลการประเมิน
  7. ออกใบรับรองและผลวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ

 TTRS อีกหนึ่งเครื่องมือพา SME ไทย สู่ความสำเร็จ ช่วยวิเคราะห์ประเมินเทคโนโลยี นวัตกรรม และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และเงินลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอนาคต


อ้างอิง : https://www.bangkokbanksme.com/en/ttrs-technologyratingsystem-sme

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

มาดู Future Food 4 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคตโตไม่หยุด โอกาสทำเงินของ SMEs

มาดู Future Food 4 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคตโตไม่หยุด โอกาสทำเงินของ SMEs

 

สำหรับ SMEs คนไหนที่อยากประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ต้องอย่าพลาดกับข้อมูลนี้เลยนครับ เพราะต้องบอกเลยว่าโลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเร็ว ทำให้อะไรหลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตของคนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน นั้นทำให้เกิดเทรนด์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เรื่องอาหาร หรือไลฟ์สไตล์ เป็นต้น และทุกคนอยากรู้ไหมว่าในอนาคตข้างหน้าอาหารจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้ SME ONE จะขอพาคุณข้ามเวลาไปดู Future Food หรือ 4 ธุรกิจอาหาร ที่เป็นโอกาศทำเงินให้กับ SMEs

Future Food หรือ อาหารแห่งอนาคต เป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคอีกด้วย และ Future Food แบ่งออกได้ตามนี้

  1. อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) 

เป็นนวัตกรรมอาหารเสริมสุขภาพที่แปรรูปไปเพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารหลักที่กินกัน ในชีวิตประจำวัน โดยเพิ่มเติมส่วนผสมใหม่หรือส่วนผสมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกาย ในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค

  1. อาหารทางการแพทย์ (Medical Food)

เป็นนวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองด้านการแพทย์ โดยใช้เป็นโภชนาบำบัด ผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มทดแทน หรือเสริมอาหาร ซึ่งใช้รับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลัก หรือดื่มเพื่อเสริมอาหารบางมื้อ

  1. อาหารอินทรีย์ (Organic Food)

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตหรือแปรรูป โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงที่สังเคราะห์ทางเคมี ไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยที่มาจากกากของระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากสัตว์ หมายถึง เนื้อ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ต้องมาจากสัตว์ที่เลี้ยงกลางแจ้งแบบเปิด และกินอาหารที่เป็นอาหารอินทรีย์ ไม่มีการใช้ฮอร์โมน หรือ ยาปฏิชีวนะกับสัตว์

  1. อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางวัตกรรม (Novel Food)

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 376 เรื่อง อาหารใหม่ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีการนำวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบอาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการการประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ ดังนี้

- อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี

- อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์

- อาหารใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

       อธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ Novel Food อาหารกลุ่มนี้หมายถึงอาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก ซึ่งทางแถบยุโรป จะให้คำจำกัดความว่าเป็นอาหารพวกที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน หรือเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม หรือเป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการผลิตแบบใหม่ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยี หรือพวก Nano Food ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน อย่างพวกน้ำพริกกะปิผง รวมถึงแหล่งอาหารใหม่ คือ แมลง สาหร่าย และยีสต์ เป็นต้น

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8285.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ