
ธปท. ได้ปรับปรุงและยกระดับแนวทางการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ นับตั้งแต่วันที่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้คำนวณบนฐานของเงินต้นในงวดที่ผิดนัดชำระ
จากเดิมที่คำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ปรับเปลี่ยนใหม่โดยคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นในงวดที่ผิดนัดชำระหนี้" เท่านั้น ไม่รวมงวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงกำหนดชำระและยังไม่มีการผิดนัดชำระหนี้
สาเหตุสำคัญที่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ไม่ควรรวมค่างวดในอนาคตที่มาไม่ถึงด้วยนั้น เพราะ
- การผิดนัดชำระหนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด (ตามมาตรา 204 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- ถ้าหนี้ยังไม่ถึงงวดที่ชำระตามกำหนด เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ (ตามมาตรา 191 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- หากหนี้ยังไม่ถึงงวดที่ชำระตามกำหนด หรือเจ้าหนี้ยังไม่ได้ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกหนี้คืน ลูกหนี้ก็ยังไม่อยู่ในฐานะผู้ผิดนัดชำระหนี้ในหนี้นั้น
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่เรียกเก็บนั้น
- ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้บริการสามารถเรียกเก็บได้
- ไม่คิดซ้ำซ้อนกับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
- ต้องคิดตามจำนวนวันที่ผิดนัดชำระหนี้
จากฐานของ "เงินต้นของงวดที่ 25" เท่านั้น คือ คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระเฉพาะเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26 ถึงงวดที่ 240
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ SME ทั้งนี้ สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ก่อน 1 พฤษภาคม ผู้ให้บริการสามารถนำหลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ไปประกอบการพิจารณาผ่อนปรนได้ตามที่เห็นสมควร หากประชาชนท่านใดพบพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม ท่านสามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ที่ช่องทาง www.1213.or.th หรือ โทร. 1213
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม: ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ คิดอย่างไรให้เป็นธรรม
https://www.1213.or.th/th/Pages/defaultinterest.aspx
Published on 28 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย