สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่างครบวงจร มีแนวคิดให้เป็นศูนย์เครื่องมือกลาง รวมทั้งมีนักวิทยาศาสตร์ดูแลเครื่องมือและให้บริการ จุดเด่นคือ เป็นศูนย์เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดและพร้อมที่สุดในภาคใต้ ที่มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ประจำกับสำนักเครื่องมือฯ รับผิดชอบในการวิเคราะห์ทดสอบ และรับผิดชอบในการให้บริการ งานวิจัยที่เด่น คือ การให้บริการทดสอบด้านงานยางและวัสดุ เช่นการตรวจสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุ ทดสอบแรงดึง ทดสอบแรงกดอัดเพื่อทราบจุดแตกหัก ทดสอบความแข็ง ทดสอบการนำไฟฟ้า ทดสอบความเสื่อมสภาพ ของวัสดุเช่น ยางพารา พลาสติก โฟม ผู้ประกอบการทุกประเภทสามารถเข้ามาใช้บริการได้

ทางศูนย์มีบริการบ่มเพาะและอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ทั้งเรื่องเครื่องมือ บริการการวิเคราะห์ทดสอบ การบำรุงเครื่องมือ การตรวจสอบวัตถุดิบ ทดสอบกระบวนการผลิต การทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ผลิตพร้อมจำหน่ายแล้ว ฯลฯ

 

สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. งานด้านเคมี เช่น งานทดสอบทางด้านผลิตภัณฑ์ยาง ผู้ประกอบการที่เข้ารับบริการ เช่น พวกน้ำยาง สมุนไพร อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่าย อาหารทะเลที่เข้ามารับการตรวจ สารปรอท สารหนู สารตะกั่ว ไมโครพลาสติกต่าง ๆ โดยหลังจากตรวจสอบเสร็จทางสำนักเครื่องมือฯ จะออกใบรายงานผลให้กับผู้ประกอบการ
  2. บริการงานวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค ใช้กล้องอิเล็กตรอนไมโครสโคป หรือกล้องจุลทรรศน์ประสิทธิภาพสูง ตรวจสอบพื้นผิววัสดุ การตรวจสอบชิ้นเนื้อ มีทั้งส่องกราด กับส่องผ่าน
  3. บริการงานชีวโมเลกุล เช่น การตรวจเชื้อที่ทำให้เกิดโรคในทางเดินอาหาร ตรวจดีอ็นเอสำหรับอาหารฮาลาล ตรวจว่าดีเอ็นเอของสุกรปนเปื้อนมาในอาหารหรือไม่ และมีการตรวจสารพิษในผลิตภัณฑ์อาหาร
  4. บริการงานยางและวัสดุ การตรวจสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุ เช่น ทดสอบแรงดึง ทดสอบแรงกดอัดเพื่อทราบจุดแตกหัก ทดสอบความแข็ง ทดสอบการนำไฟฟ้า ทดสอบความเสื่อมสภาพ ของวัสดุเช่นยางพารา พลาสติก โฟม ฯลฯ

 

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถถือตัวอย่างมาที่ศูนย์ แม้ว่าทางสำนักเครื่องมือฯจะไม่เคยเปิดให้บริการ แต่จะมีระบบให้คำปรึกษาว่าสมควรจะทดสอบอะไรบ้าง แล้วเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทดสอบ ถ้าอยู่ในวิสัยที่เครื่องมือที่ทางสำนักเครื่องมือฯ ทดสอบได้ก็จะรับมาทดสอบ  โดยเน้นหนักไปที่เรื่องการวิเคราะห์ทดสอบและทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ

 

สามารถติดต่อที่ สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ  Office Of Scientific Instrument and Testing
ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

โทร 074-286904 ถึง 7 หรือ 074-286910  

E-mail : osit@group.psu.ac.th

Facebook :  https://www.facebook.com/ositpsu@ositpsu

เวลาทำการ ส่งตัวอย่างและรับผลการทดสอบ วันจันทร์ - ศุกร์ 08:30 น. - 18:00 น.วันเสาร์ 08:30 น. - 17:00 น.
ติดต่อขอรับคำปรึกษา ส่ง-รับคืนเครื่องมือซ่อม วันจันทร์ - ศุกร์ 08:30 น. - 16:30 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

บทความแนะนำ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นองค์กรชั้นนำระดับสากลด้านการตรวจสอบและรับรองทางวิทยาศาสตร์ โดยการดำเนินการกำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทางศูนย์มีความเชี่ยวชาญด้านการทดสอบคุณภาพและด้านความปลอดภัยของสินค้าอาหาร วัสดุสัมผัสอาหาร สินค้าอุปโภค บริโภค มีการบริการที่ครอบคลุม ได้แก่ การบริการวิเคราะห์ทดสอบและสอบเทียบ เพื่อควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานบริการข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร ฯลฯ  ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ที่ต้องการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัยการผลิต การพัฒนาการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ โดยเหมาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้ประกอบการด้านอาหาร อาหารแปรรูป บรรจุภัณฑ์อาหาร วัสดุสัมผัสอาหาร

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการมีบริการที่หลากหลายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

1.ด้านมาตรวิทยา มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับรองในระดับอาเซียนด้านมาตรฐานและคุณภาพ ให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนสาขาวัสดุสัมผัสอาหาร ที่ใช้สำหรับควบคุมเครื่องมือการผลิตให้ได้รับมาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานสากล และบริการเครื่องมือและอุปกรณ์วัดต่าง ๆ

2.ด้านการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม น้ำ อุปโภค บริโภค วัสดุสัมผัสอาหาร เครื่องใช้ครัวเรือน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้านวัตกรรม เช่น ในช่วง COVID-19 มีบริการตรวจสอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ น้ำยาฆ่าเชื้อ

3.ด้านการกำหนดมาตรฐาน จัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน การรับรองงานตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การรับรองความสามารถเครื่องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบ การรับรองความสามารถผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง รวมถึงการรับรองบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การรับรองตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน ISO/IEC  ออกใบรับรองสินค้าเพื่อการส่งออก

4.งานบริการที่สนับสนุนพัฒนาต่อยอดและพัฒนานวัตกรรม เช่น การบริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชนในด้านต่าง ๆ

5.การฝึกอบรมพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์แก่บุคลากร        

 

การให้คำปรึกษามีอยู่ 2 กรณี

  1. ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้การรับรองมาตรฐาน
  2. ในส่วนที่ผู้ประกอบการอยากพัฒนาอาหารให้ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่จะเข้ามารับบริการควรมีไอเดียตั้งต้นมาแต่เริ่ม ทางเรามีหน่วย One Stop Service ที่จะเชื่อมโยงเกี่ยวกับการทดสอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขา สำหรับค่าบริการ มีค่าใช่จ่ายแต่มีราคาที่ถูกมาก สามารถเข้าไปปรึกษาไม่เสียค่าบริการ

สามารถส่งตัวอย่างมาตรวจสอบได้ทั้งด้วยตัวเองและไปรษณีย์ ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี 

โทรศัพท์  0-2201-7000

โทรสาร  0-2201-7466

Email : pr@dss.go.th

เว็ปไซต์ :  http://www.dss.go.th/

Facebook  :  https://www.facebook.com/DSSTHAISCIENCE/

 

 

บทความแนะนำ

 

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เป็นหน่วยงานส่วนกลางของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในภาคอีสานมีภารกิจหลักส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  วิสากิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาองค์กรและศักยภาพบุคลากรสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง สร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ โดยการทำงานตอบโจทย์ในกลุ่มจังหวัดที่ศูนย์ดูแลอยู่และทำงานสอดคล้องกับกรมอุตสาหกรรม โดยการให้บริการหลากหลายตั้งแต่เป็นที่ปรึกษา จนไปถึงจัดหาเครื่องมือให้กับผู้ประกอบการ โดยทางศูนย์ดูแลและรับผิดชอบ 4 จังหวัด นครราชีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์

 

การบริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มีเครื่องมือที่ศูนย์นำมาช่วยกลุ่ม SMEs คือการดูความต้องการของกลุ่มในพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อมและกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง โดยจะเน้นกลุ่ม SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทุกประเภทโดยเฉพาะกลุ่มภาคการเกษตร แปรรูปการเกษตร อาหาร ยาอบสมุนไพร เรื่องยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มภาคการเกษตร แปรรูปการเกษตร อาหาร ซึ่งส่วนมากเป็นพืชผลผลิตในภูมิภาค

โดยมีส่วนที่ทางศูนย์อยากผลักดัน คือ

  • การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในระดับโลก สามารถเพิ่มมูลค่าได้จากเดิมมากกว่า 3 เท่า
  • อีกกลุ่มคือ ไม่ใช่อาหาร เช่น ยาอบสมุนไพร  
  • รวมทั้งความพิเศษอีกอย่างคือในเรื่องยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในภาคอีสานจะเป็นเรื่องการเกษตร เพราะใน จ.นครราชสีมา มีเขตอุตสาหกรรม ที่ทางศูนย์ได้ขอความร่วมมือกับอุตสาหกรรมใหญ่เพื่อมาเป็นที่ปรึกษารายย่อย มีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนบริการกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรายย่อย มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่ให้บริการ

 

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มีบริการที่หลากหลายสำหรับผู้ประกอบการ

- อย่างแรกคือ ในส่วนของ SSRC เป็นศูนย์สนับสนุนช่วยเหลือ SMEs มีการฝึกอบรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการ การทำมาตรฐานต่างๆ การจ้างที่ปรึกษาเข้าไปดูแลผู้ประกอบการ เพิ่มการพัฒนาบริหารการจัดการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ แต่เนื่องในช่วงเวลานี้ อาจจะมีปัญหาในความสะดวกที่จะเข้ามาที่ศูนย์ ทางศูนย์​จึงพัฒนาและเพิ่มช่องทางในแบบออนไลน์ การใช้โปรแกรมZOOM และ Social ต่างๆ ทั้ง Facebook และ LINE

- ส่วนของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมหรือ ITC (Industry Transformation Center) ให้บริการ Pilot Plant  ศูนย์ทดสอบรวมไปถึงจัดหาศูนย์ทดสอบยกตัวอย่างผู้ประกอบการด้านการเกษตร เช่น หัวหอม นำเข้ามาปรึกษาที่ศูนย์ถึงการเก็บรักษา และเพิ่มมูลค่าจากผลผลิต โดยที่ศูนย์มีเครื่องมือที่สามารถที่จะสาธิตการผลิตตัวอย่างได้  มีบริการ เช่นเครื่องทอดสุญญากาศ เครื่องบรรจุกระป๋อง เครื่องซีลสุญญากาศ โดยสามารถแนะนำจนจบขั้นตอนผลิตถึงสามารถนำไปจำหน่าย และการฝึกอบรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการ การเพิ่มประสิทธิภาพ การจ้างที่ปรึกษาเข้าไปในโรงงาน  

- ทางศูนย์มีนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้บริการผู้ประกอบการสามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และรับการแนะนำเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจมากขึ้น ทั้งรูปแบบของการบรรจุ สีสันให้ดึงดูด ถูกต้องตามมาตรฐาน รวมถึงทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ และฉลากในการขายในท้องตลาด

 

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เป็นเหมือนตัวกลางการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นในลักษณะเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs เช่น การบูรณาการตำแหน่งงานในท้องถิ่น บูรณาการกับกลุ่มอุตสาหกรรมจังหวัด หน่วยงานของ สสว. หน่วยงานสถาบันการเงิน หน่วยงานของพัฒนาฝีมือแรงงาน หน่วยงานของทางด้านกรมสุขภาพต่างๆเข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมในท้องถิ่น ทุกด้าน เช่น ด้านฝีมือทักษะ ทางศูนย์ก็จะเข้าไปร่วมมือกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจะวิเคราะห์จากผู้ที่มารับบริการ ว่ามีปัญหาอะไร ประเมิณความต้องการ โดยนำมาแบ่งงานกันทำในรูปแบบคณะทำงาน ประกอบด้วยองค์ประกอบของหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีความเฉพาะด้าน อย่างเช่น การต้องการอย. หน่วยงาน ที่ดูแลในเรื่องการรับอย. ก็จะเข้ามาช่วยดูแล  ทางศูนย์มีความหลากหลายในการให้บริการ  สามารถเชื่อมโยงไปสู่ศูนย์ต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้เข้ารับบริการ จนจบขบวนการผลิต

 

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6

333 ถนนมิตรภาพ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170

โทรศัพท์ 044 419 622 

email ipc6@dip.go.th

เว็บไซต์ https://ipc6.dip.go.th

Facebook : www.facebook.com/ipc06

 

 

 

บทความแนะนำ

TCDC เชียงใหม่  เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลวัสดุด้านการออกแบบ 5 ประเภท ได้แก่ การสถาปัตย์ออกแบบภายในและภายนอก, ออกแบบผลิตภัณฑ์,  Fashion Design, Packaging และ Graphic Design  รวมทั้งรวบรวมงานศิลปะ งานศิลปะที่สร้างมูลค่า โดยสนับสนุนให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ ผสานกับสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีและความรู้สมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการให้มีความแข็งแกร่งในเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น

 

โดยมีการให้บริการ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. Resouce Center ห้องสมุด รวบรวมข้อมูลความรู้ ตัวนิทรรศการ ด้านการออกแบบและงานศิลปะ 
  2. การช่วยเหลือผู้ประกอบการ เป็นที่ปรึกษาตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษาการทำธุรกิจ การบริการช่วยเหลือด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และโลโก้

บริการเพื่อผู้ประกอบการทุกสาขา โดยเหมาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสรรค์

 

ทางศูนย์มีบริการให้กับผู้ประกอบการ ดังนี้

- ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ ให้บริการความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ มีหนังสือด้านการออกแบบทั้ง 5 แขนง สถาปัตย์ ออกแบบภายในและภายนอก  งานออกแบบผลิตภัณฑ์  Fashion Design   Packaging และ Graphic Design หนังสือกว่า 9,000 เล่ม นิตยสารด้านการออกแบบอัพเดตทุกเดือน หนังสือทำนายเทรนด์ในอนาคต และสื่อมัลติมีเดียกว่า 1,000 รายการ

- ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ให้บริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์กว่า 8,000 ชนิดจากฐานข้อมูลวัสดุที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตัวอย่างวัสดุที่หมุนเวียนมาจัดแสดงกว่า 300 ชนิด

- ฐานข้อมูลออนไลน์ด้านธุรกิจแฟชั่นและเทรนด์ WGSN ด้านดิจิทัลมีเดีย STASH และด้านการตลาด GMID

- กิจกรรมสัมมนาและฝึกอบรมด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการให้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์

- การให้บริการด้านคำปรึกษา เกี่ยวกับการออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์

- การให้คำปรึกษาด้านการตลาด เช่น การลงโปรโมท  การใช้โปรโมชัน  สต็อก  การใช้ภาพในการโปรโมท

- Design Week ที่จะทำให้ผู้ประกอบการและ Designer ได้เจอกันเพื่อต่อยอดช่องทางธุรกิจ จัด Workshop ให้ผู้ประกอบการเข้ามาร่วมงานกับDesigner สร้างผลงาน  

- บริการเกี่ยวกับการ Rebranding เพิ่มมูลค่า

- บริการออกแบบโลโก้ , แพกเกจ

 

นอกจากนี้ทางศูนย์จะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานและองค์ความรู้ ทั้งจากในและต่างประเทศ พร้อมทั้งการจัดการประกวด การแข่งขัน รวมทั้งพื้นที่จัดแสดงผลงาน เปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการทดลองตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างในช่วงCovid-19ทางศูนย์ก็มีการนำความรู้ให้กับผู้ประกอบการได้ปรับตัวในการค้าขาย โดยการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กให้ร่วมฝ่าวิกฤติ และเปิดรับสมัครนักเขียนกับช่างถ่ายภาพให้เข้ามาช่วยผู้ประกอบการ ในเรื่องการถ่ายภาพ การเขียนบทความ บนออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจมีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

 

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าใช้บริการ TCDC เชียงใหม่ / CEA(Creative Economy agency) มีค่าบริการดังนี้

1. One Day  Pass  สมาชิกแบบรายวัน 100 บาท/วัน สามารถใช้บริการในส่วนสมาชิก ได้ตั้งแต่ 10.30-19.00 น.

2. Yearly Member สมาชิกแบบรายปี นักศึกษา นักเรียน 600 บาท/ปี บุคลลทั่วไป 1,200 บาท/ปี

  • สมาชิกทั้งรายวันและรายปีสามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดและฐานข้อมูลด้านออกแบบ
  • รวมถึงเข้าใช้พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ พร้อม Wifi

3. Corporate Member สมาชิกประเภทองค์กร ติดต่อได้ที่ corporatemember@cea.or.th

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ TCDC เชียงใหม่ ตั้งอยู่หลังกาดเมืองใหม่ เลขที่ 1/1 ถนน เมืองสมุทร ตำบล ช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่ 50300

เปิดให้บริการแล้ววันนี้! เวลา 10.30 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 052 080 500 ต่อ 1 เว็บไซต์ http://www.tcdc.or.th/chiangmai

 

 

บทความแนะนำ

นาโนเทค หรือ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) คือ องค์กรวิจัยแห่งความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีหน้าที่สร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม วิจัย พัฒนา ออกแบบวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่สู่การใช้ประโยชน์ให้กับภาคการผลิต  ยกระดับผลิตภัณฑ์  ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  ภายใต้ความตระหนักในการรักษาและดูแลใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติมีความพร้อมในการสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อการพัฒนาธุรกิจด้วยนาโนเทคโนโลยี ด้วยการหา Solution ใหม่ๆในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ แก้ปัญหากระบวนการผลิต เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจSMEs สามารถก้าวข้ามอุปสรรคทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการยังสามารถเข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนทางการเงินต่างๆได้ด้วย เช่น ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการวิจัย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตโดยคำนึงถึงต้นทุนในการลงทุนและการผลิตสินค้าให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เหมาะกับผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ การเกษตร เครื่องสำอาง  อาหารและเครื่องดื่ม พลังงาน สิ่งทอ Zero waste บริการที่โดดเด่นของทางศูนย์ คือ วิเคราะห์ทดสอบด้านเครื่องสำอาง เช่น การทดสอบความคงตัวเพื่อกำหนดอายุของผลิตภัณฑ์ เพิ่มคุณพิเศษเครื่องเคลือบและสิ่งทอ เช่น การทำชุดนักเรียนกันยุงกลิ่นตะไคร้ หรือ ถุงเท้าลดกลิ่นอับและเชื้อโรค 

 

บริการที่มีให้ผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละด้าน

 

          1 การเกษตร  : พัฒนาคุณภาพอาหารคนและสัตว์ ปรับปรุงคุณสมบัติของปุ๋ยและธาตุอาหารพืชรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระหว่างการเพาะปลูกโดยพัฒนาวิธีการกักเก็บและนำส่งสารสำคัญต่างๆ

           2 เครื่องสำอาง : พัฒนาการสกัดสาระสำคัญสมุนไพร และวิธีกักเก็บสาระสำคัญต่างๆ สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมและความคงตัวของเครื่องสำอาง รวมทั้งทำการประเมินความปลอดภภัยของผลิตภัณฑ์ 

           3 อาหารและเครื่องดื่ม : พัฒนาวิธีกักเก็บสาระสำคัญ วิตามิน รสและกลิ่นเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งออกแบบขั้นตอนการผสมผสานนาโนเทคโนโลยีเข้ากับการผลิตดั้งเดิม

           4 พลังงาน : พัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น Solar cell  ไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งการผลิตไบโอเซลสะอาด โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน

           5 สิ่งทอ : เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น กลิ่นหอม สะท้อนน้ำ หน่วงไฟ ป้องกันแบคทีเรีย ดูแลรักษาง่ายลดความร้อน เป็นต้น

           6 Zero waste : กระบวนการนำของเหลือทิ้งนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น การผลิต Activated carbon และ Nanocellulose จากเศษชีวมวล

 

NANOTEC ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) เป็นแหล่งความรู้ บริการวิจัย พัฒนา ออกแบบวิศวกรรม และประยุกต์นาโนเทคโนโลยี โปรแกรมสนับสนุนทางการเงินต่าง ๆ เช่น ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการวิจัย 

ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้ามาใช้บริการที่หลากหลายที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาหาความรู้ การศึกษาวิจัย การรับรองมาตรฐาน รวบไปถึงกิจกรรมฝึกอบรม ผู้ประกอบการสามารถทดลองผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ตรวจเช็คความปลอดภัยด้วยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ 

          ผู้สนใจใช้บริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ระดับนาโนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ในเว็บไซต์

หรือสอบถามเพิ่มเติม คุณจำปูน (K.Jumpoon) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เลขที่ 111 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ทาวเวอร์ B ถนนพหลโยธิน ตำบล คลองหนึ่ง อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02 5647100 แฟกซ์ 02 1176701  

Website : https://www.nanotec.or.th/th/ , E-mail : testing@www.nanotec.or.th



Published on 04  November 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ