โครงการเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย กิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing ปีงบประมาณ 2564 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของจีน อย่างเต็มรูปแบบ “Scaling Up Your Business with China e-Commerce Giants ขยายธุรกิจเติบโตได้ด้วยการเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่แห่งจีน”
จัดโดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประกาศผลผู้เข้าร่วมผ่านช่องทาง e-mail สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 21 พฤษภาคมนี้เท่านั้น
สมัครเข้าร่วมคัดเลือก คลิก - https://forms.gle/xsjkWckL6tNLJTTU7
คัดเลือกเพียง 40 รายจากทั่วประเทศ เพื่อ
- บุกตลาดออนไลน์ประเทศจีนเต็มรูปแบบ และจัดทำ Company Profile ภาษาจีน
- นำสินค้าจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม Taobao
- กระตุ้นยอดขาย โดย KOLs ของจีน
- ให้คำปรึกษาเชิงลึก โดยผู้เชียวชาญตลาดจีน
- Business matching กับคู่ค้าชาวจีน
หรือสอบถามข้อมูลที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ในวันและเวลาราชการ)
โทร. 092 446 1103, 095 392 6265, 084 176 8286, 096 994 0272
Email : digitalmarketing.ssru@gmail.com
หัวข้อการบรรยาย
• นโยบายการผลักดัน BCG Economy การต่อยอดและการนำไปปรับใช้ในธุรกิจ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• วิธีการแสดง QR Code คู่กับเครื่องหมายมาตรฐานสินค้า โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
• โอกาสเพิ่มยอดขายสินค้าที่ผลิตในประเทศ พร้อม Workshop ขั้นตอนการขอรับรอง Made in Thailand
ติดต่อสอบถาม สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คุณพรทิพย์ (กิ๊ก) Tel. 02-345-1188, คุณภาคภูมิ (บูม) Tel. 02-345-1122
Email : smi.stronger@gmail.com, LINE OA : @smipage, Facebook Fanpage : smipage
#SMEone
"มาตรการทางการเงินช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19"
เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่ปี 2563 โดยมีแนวโน้มยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น การให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผ่าน "มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan)" ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 จึงยังไม่เพียงพอรองรับสถานการณ์ที่ยาวนานกว่าที่คาดไว้ ธปท. และกระทรวงการคลัง เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มเติม วงเงินรวม 350,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 2 มาตรการหลักได้แก่
1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท และ
2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอนสูง และยังคงแพร่ระบาดเป็นวงกว้างนั้น ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบในด้านต่าง ๆ โดยพร้อมที่จะออกมาตรการช่วยเหลือที่จำเป็นเพิ่มเติมจากมาตรการฟื้นฟูฯ ในครั้งนี้ นอกจากนี้ สำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน สมาคม ชมรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลลูกหนี้รายย่อยผ่านมาตรการการให้ความช่วยเหลือและมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้อย่างต่อเนื่อง
โดยการช่วยเหลือเยียวยาครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/026/T_0005.PDF
https://www.bot.or.th/covid19/Pages/default.aspx/#!#block-progress-home
https://www.bot.or.th/covid19/content/sme/Pages/fin-rehab.aspx
https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Pages/FAQ_SMEs_2.aspx
https://www.bot.or.th/covid19/content/sme/Pages/QA_SME_2.aspx
เพิ่มเติม : ข่าว ธปท. ฉบับที่ 27/2564 เรื่อง มาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n2764.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ : 0 2283 6112 E-mail: FinRehab@bot.or.th
#SMEone