ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ม.วลัยลักษณ์ – ออกแบบให้เป็นที่จดจำ

ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ม.วลัยลักษณ์ – ออกแบบให้เป็นที่จดจำ

การที่ผู้ประกอบการจะเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์สักชิ้นหนึ่งนั้น ไม่ใช่เพียงแค่คิดว่าจะจะหยิบจับอะไรก็ได้ออกมาทำเป็นสินค้า แต่ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นควรต้องถูกคิดขึ้นจากการสังเกตเห็นความต้องการจากลูกค้าเป็นสำคัญ เมื่อพบแล้วจึงจะสามาถตั้งโจทย์ในการออกแบบได้ว่า “ควรจะสร้างผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้ตอบโจทย์อย่างโดดเด่นเป็นที่จดจำ”

.

คิดให้ครบจบทั้งวงจรอายุผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ออกแบบในรูปลักษณ์หน้าตาของบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้เห็นเพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ทั้งวงจรอายุ ที่จะมอบประสบการณ์ในการใช้งานให้ผู้บริโภคสามารถจดจำสินค้าของเรา ได้ท่ามกลางสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่อย่างนับไม่ถ้วน 

จึงเป็นสิ่งที่ทาง ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานออกแบบให้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ให้สามารถยกระดับสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยมาตรฐานในการออกแบบที่สามารถผลักดันผลิตภัณฑ์ให้ออกไปเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ หรือเติบโตไปไกลจนถึงขั้นสามารถส่งออกไปยืนโดดเด่นในตลาดระดับสากลได้

สิ่งแวดล้อมทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ตัวสินค้าภายใน บรรจุภัณฑ์ภายนอก ภาพลักษณ์ แบรนด์ดิ้ง ช่องทางสื่อสาร ไปจนถึงสื่อโฆษณานำเสนอผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็นสำคัญที่ต้องออกแบบไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยให้เกิดภาพจำที่เข้มแข็งไปประทับติดอยู่ในการรับรู้ของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการนึกถึงสินค้าอยู่เสมอ ถึงแม้ยังไม่เกิดการซื้อขายในทันที แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการออกแบบเป็นอย่างดี ก็จะได้เปรียบกว่าเมื่อเกิดการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในตลาดที่มีความใกล้เคียงกัน เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือกให้กับผู้บริโภค

.

บริการออกแบบตั้งแต่ต้นจนจบ

ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบริการต่าง ๆ ที่ช่วยยกระดับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ ตั้งแต่ขั้นตอนการให้คำปรึกษา พัฒนางานออกแบบ ไปจนถึงส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังนี้

ออกแบบตราสัญลักษณ์ เป็นการออกแบบเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางธุรกิจ ให้เป็นที่จดจำ เป็นที่รู้จักได้อย่างชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างให้แบรนด์เข้มแข็ง

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของผู้ประกอบการ ให้มีความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งที่มีอยู่ในท้องตลาด

ออกแบบสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคทั่วไปได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์อย่างทั่วถึง ทั้งแบบออฟไลน์ และ แบบออนไลน์

สตูดิโอถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ สร้างความน่าเชื่อถือและมีระดับให้สินค้าโดดเด่น ดึงดูดใจ น่าใช้งานผ่านการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ระดับมืออาชีพ 

.

ทางศูนย์นวัตกรรมการออกแบบมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี ซึ่งจะเป็นการช่วยต่อยอดโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดการบอกต่อ และเป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักได้ในวงกว้างต่อไป

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ (Innovation Design Center, IDC)
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
โทร. 0-7567-2963
Website : https://sciencepark.wu.ac.th/idc
Line Official: IDC_WUSTP

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา – ยกระดับผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมชุมชน

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา – ยกระดับผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมชุมชน

งบประมาณที่จำกัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ รวมมไปถึงการขาดความรู้ที่จะทำให้มองเห็นภาพรวมของโอกาสในช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ทำให้ขาดการปรับปรุงด้านผลิตภัณฑ์ ให้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วในท้องตลาด ส่งผลให้ไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคอย่างที่ควรจะเป็น

.

จับนวัตกรรม ใส่ลงผลิตภัณฑ์

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงต้องการที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการให้เข้าถึงความรู้ ไปจนถึงผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถจัดจำหน่ายต่อไปได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการด้านแปรรูปอาหาร ที่ใช้ทรัพยากรทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ 

เมื่อผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัด ต่างเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในการยกระดับมาตรฐานให้กับกระบวนการในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านกำลังทรัพย์ กำลังการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีและการตลาด ทางอุทยานจึงมีบทบาทในการเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งขึ้น

.

เสริมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ

บริการที่ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่

การพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ เป็นบริการต้องการให้ความรู้ แก่ผู้คนมากมายกลับมาพัฒนาธุรกิจที่ภูมิลำเนา เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ ทางสถาบันจึงเปิดอบรมบ่มเพาะธุรกิจและให้คำปรึกษาให้มีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในธุรกิจ

การเชื่อมโยงองค์ความรู้งานวิจัย เป็นประตูให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการทั้งในด้านขององค์ความรู้ในงานวิจัย ไปจนถึงการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้ากับนักวิจัยเพื่อหาช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ให้ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการทุกคนที่เดินเข้ามา

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ ทางอุทยานฯเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการในการพัฒนาสูตร ตลอดจนทดสอบคุณสมบัติหาส่วนประกอบ เพิ่มสรรพคุณให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถที่จะทำการจับคู่ร่วมกันพัฒนาสินค้าไปพร้อมกับผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ ในชุมชนได้

บริการทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าผู้ประกอบการต้องการทราบข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถเข้ามาขอใช้บริการในส่วนนี้ เพื่อนำงานวิจัยหรืองานต้นแบบที่มีทรัพย์สินทางปัญญา ไปพัฒนาต่อยอดให้สามารถออกไปเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป

.

อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมที่จะให้การต้อนรับและสนับสนุนในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ ได้นำไปพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมีมาตรฐาน ด้วยปณิธานว่า “ปัญญา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ที่จะนำนวัตกรรมชุมชนออกไปสู่ระดับสากลให้เป็นที่รู้จัก โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาวิสาหกิจที่เกื้อกูลต่อสังคม นึกถึงประโยชน์ต่อคนรอบข้างและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา / University of Phayao Science Park (UPSP)
ที่อยู่ : สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ชั้น 1 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(ปวง ธมฺมปญฺโญ) 19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000
โทรศัพท์: 054 466 666 ต่อ 3711 - 3714
Website : www.upsp.up.ac.th
E-mail: upscipark@outlook.com
Facebook: UPSciencePark

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab Thai) – ทดสอบให้มั่นใจว่าปลอดภัย

ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab Thai) – ทดสอบให้มั่นใจว่าปลอดภัย

ผู้ประกอบการส่วนมากนั้น เมื่อได้ทำการผลิตสินค้าหรือนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่าย มักไม่ทราบถึงข้อกำหนดทางกฎหมายว่าสินค้าเหล่านั้น ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานในด้านใดก่อนบ้าง เพื่อให้ได้การรับรองเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และปลอดภัยพอที่จะจัดจำหน่ายต่อไปจนถึงผู้บริโภคทั้งในประเทศไปจนถึงต่างประเทศ

.

มั่นใจปลอดภัย ทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก

เมื่อจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่จัดจำหน่ายภายในประเทศไทย จึงมีการจัดตั้งบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โอท็อป วิสาหกิจชุมชน อย่างเต็มรูปแบบ ในการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของส่วนผสมภายในสินค้า ทั้งที่เป็นผลผลิตการเกษตร อาหาร ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยได้การรับรองมาตรฐานในระดับโลก 

ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการกลาง จะแบ่งการให้บริการเป็น 2 การให้บริการใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1.ด้านการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายในห้องแล็บทดสอบ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลากหลายห้องปฏิบัติการ

 

  • ห้องเคมี 1 ตรวจหาสารเคมีตกค้าง
  • ห้องเคมี 2 ตรวจหายาปฏิชีวนะ ตกค้างในกลุ่มปศุสัตว์ ไปจนถึงกลุ่มประมง 
  • ห้องเคมี 3 ตรวจสารปรุงแต่งในอาหาร ไปจนถึงการตรวจฉลากโภชนาการ
  • ห้องเคมี 4 ตรวจหาแร่ธาตุและสารปนเปื้อนโลหะหนักอันตราย
  • ห้องเคมี 5 ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค
  • ห้องเคมี 6 ตรวจด้านชีวโมเลกุล อาทิ DNA, สินค้าเกษตรตัดต่อพันธุกรรม (GMO) เป็นต้น
  • ห้องเคมี 7 ตรวจหาสิ่งปลอมปน และกายภาพในอาหาร อาทิ ปีกแมง เส้นขน เป็นต้น
  • ห้องตรวจสอบทางด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์คุณภาพปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น คุณภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี เป็นต้น
  • การตรวจรับรองมาตรฐานสอบเทียบเครื่องมือ เช่น มาตรฐานของเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ เครื่องชั่งตวงวัด เป็นต้น

 

2.ด้านบริการตรวจรับรองมาตรฐานนอกห้องปฏิบัติการ ส่วนมากจะเป็นการลงพื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ โดยมุ่งเน้นพัฒนามาตรฐานและรับรองกระบวนการผลิต ไปจนถึงผลผลิตของภาคเกษตรกรรมให้มีความปลอดภัยทั้งในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการส่งออกไปยังผู้บริโภคที่ปลายน้ำ

.

ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) พร้อมให้ความช่วยเหลือกับทั้งทางด้านผู้ประกอบการ SME โอท็อป วิสาหกิจชุมชน  รวมถึงมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงผลักดันให้สินค้าของทุกภาคส่วนในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ มีความปลอดภัยในคุณภาพของสินค้าและสามารถที่จะไปแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นใจ 

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
สาขา กรุงเทพมหานคร (ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน)
2179 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105546096453
โทร. 02940 5993, 02940 6881-3
โทรสาร: 02579 8527, 02940 5993 ต่อ 209, 268
E-mail: supportsale@centrallabthai.com
Facebook: centrallabthai
Line: centrallabthai

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน ม.ทักษิณ – พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดจากผลิตภัณฑ์

สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน ม.ทักษิณ – พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดจากผลิตภัณฑ์ 

พื้นที่บริเวณจังหวัดพัทลุง รวมถึงจังหวัดโดยรอบ ถูกเรียกว่าเป็น อู่ข้าว อู่น้ำ ของภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนหรือสินค้าโอท็อปขึ้นมาอย่างมากมาย แต่สินค้าเหล่านั้นก็ยังมีโจทย์สำคัญที่ต้องการการปรับปรุงอยู่ว่า จะมีวิธีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างไรบ้าง ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต การลดต้นทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าให้ผู้ประกอบการ การดูแลรักษามาตรฐานสินค้า เหล่านี้เป็นต้น

.

บ่มเพาะความรู้ พัฒนาชุมชน

มหาวิทยาลัยทักษิณ เห็นความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ตลอดทั้งวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีการบ่มเพาะให้ความรู้ เข้าไปปรับปรุงกระบวนการผลิต สร้างช่องทางส่งเสริมการตลาดให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ SME ไปจนถึงวิสาหกิจชุมชน

นอกเหนือไปจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มขึ้นแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่สามารถต่อยอดออกไปได้ก็คือ การที่สินค้าสามารถสร้างจุดขายและช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับจังหวัด จนสามารถยกระดับไปเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับช่วงหลังมานี้ที่จังหวัดพัทลุงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินการพัฒนาสินค้าชุมชนให้ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับงานออกแบบสร้างจุดขายให้กับสินค้า ไปจนถึงการสร้างช่องทางการขายให้ไปถึงผู้บริโภคด้วยระบบออนไลน์ และมีการทำฐานข้อมูลสนับสนุนอย่างครบถ้วน เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นว่าจังหวัดพัทลุงเป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องมาท่องเที่ยวให้ได้สำหรับพวกเขา จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้กับทั้งจังหวัด จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

.

บริการที่ทางสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชนมหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ได้แก่

บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาทางธุรกิจให้กับทั้งผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บริการบ่มเพาะธุรกิจที่มาจากฐานนวัตกรรม เปิดให้ผู้ประกอบการสมัครเข้ามาอบรมรับความรู้จากวิทยากรไปจนถึงขั้นตอนการทำชิ้นงานต้นแบบ

บริการอุทยานวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพ คุณสมบัติต่าง ๆ ภายในผลิตภัณฑ์ พร้อมให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ รวมถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนในการทำงานวิจัยในเรื่องต่าง ๆ

ศูนย์ออกแบบนวัตกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการ ทั้งในภาคเอกชน ชุมชน รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยยึดแนวคิดการเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมเป็นสำคัญ

หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ช่วยเหลือชุมชนให้มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบใหม่ ๆ จากสินค้าที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีทั้งทีมที่ปรึกษาและงบประมาณให้สำหรับการผลิตเพื่อพัฒนาสินค้าต้นแบบขึ้น

.

สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้ประกอบการทุกภาคส่วนภายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง ให้เห็นภาพโอกาส เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากต้นทุนที่มี เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของจังหวัด สร้างให้เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้น และพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม ให้มีความมั่นใจและก้าวไปข้างหน้าจนประสบความสำเร็จได้ในอนาคต 

.

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ
222 หมู่ 2 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93210
โทร. 07-431-7600, 074-609600 ต่อ 7262
E-mail : tsu_direct@scholar.tsu.ac.th
Website : https://ubi.tsu.ac.th
Facebook: ICEI-TSU

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ไอเดียการฟื้นฟูกิจการหลัง COVID-19 ทางออก และทางรอด จากกรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อใด และได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และธุรกิจน้อยใหญ่ทั่วโลกทำให้ต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจของธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น ที่สะท้อนภาพการปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงของตลาด 

โดยเป็นข้อมูลจากการสัมมนาออนไลน์ของ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. บรรยายโดย ผศ.ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพจ “เกตุวดี Marumura” ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคน

แม้ว่าวันนี้ สถานการณ์ของ COVID-19 ในประเทศญี่ปุ่นอาจไม่แตกต่างจากประเทศไทย ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ แต่จากตัวอย่างที่นำเสนอก็พอมองเห็นไอเดียในการฟื้นฟูกิจการในสไตล์ญี่ปุ่น ที่กลายเป็นทางออก หรืออาจเป็นทางรอด เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งในช่วงที่ COVID-19 ยังอยู่ และหลังวิกฤต COVID-19 สงบลง แม้จะเป็นช่วงการ Work from Home ก็สามารถสร้างดีมานด์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้จากวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป

ผศ.ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ กล่าวถึง ข้อมูลจากนิตยสารโตโยเคไซในประเทศญี่ปุ่น ที่ระบุถึงธุรกิจที่มียอดขายจากผลประกอบการตกลงเป็นอย่างมาก คือ ธุรกิจสายการบิน และธุรกิจโรงแรม ในทางกลับกันธุรกิจที่มียอดขายเติบโตอย่างน่าสนใจ คือ ธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้าอย่าง Shimamura และ Uniqlo ที่สามารถเติบโตต่อไปได้แม้อยูในช่วง COVID-19 ด้วยเพราะมองเห็นโอกาส และมีการสร้างดีมานด์ใหม่ให้เกิดขึ้น จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น ว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการในช่วงเวลานี้

SHIMAMURA เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นราคาประหยัด และมีสาขาอยู่นอกเมืองที่เน้นการทำตลาดในระดับ Mass เป็นหลัก ก่อนหน้านี้เพิ่งมีการ Re-positioning Brand โดยปรับภาพลักษณ์จากการที่ถูกมองว่าเป็นแบรนด์เสื้อผ้าสำหรับคุณป้า มาเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น ด้วยการใช้รูปแบบการสื่อสารผ่าน Influencer ที่เป็นดารานักแสดง เน้นการนำเสนอไอเดียการ Mixed & Match เสื้อผ้าอย่างฉลาดและลงตัว มีการ Collaboration กับบล็อกเกอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ในเรื่องการออกแบบ รวมถึงการมี Controller ประมาณ 80 คน คอยเก็บข้อมูลในร้านเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงร้านอย่างต่อเนื่อง  

สำหรับการปรับตัวในช่วง COVID – 19 แม้ว่าคนจะอยู่บ้านกันมากขึ้นแต่ยอดขายของ Shimamuru ยังคงเติบโต เพราะ Shimamura เน้นการทำตลาดภายใต้คอนเซ็ปต์ของคำว่า Su-komori แปลตรงตัว คือ การอยู่ในรัง หมายถึง การ Work from Hone โดย Shimamura มองว่า Su-komori เป็นตลาดใหญ่ที่มีดีมานด์สูง และจากการวิเคราะห์ความต้องการของคนที่อยู่บ้านว่าต้องการเสื้อผ้าแบบไหน ก็พบว่า ตรงกับแนวของเสื้อผ้าที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งก็คือเสื้อผ้าในกลุ่ม Room ware หรือชุดอยู่บ้าน จึงให้ความสำคัญด้วยการออกคอลเลกชั่นใหม่เพื่อสร้างความหลากหลาย และเน้นการดีไซน์ที่มีความน่ารัก สวมใส่สบายแต่ราคาไม่แพงออกสู่ตลาดมากขึ้น 

UNIQLO เป็นแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าอีกหนึ่งแบรนด์ที่มียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 โดย Uniqlo ได้มีการออกคอลเลกชั่นใหม่ คือ Uniqlo at Home ซึ่งโดยปกติเสื้อผ้าของ Uniqlo ก็สวมใส่สบายอยู่แล้ว แต่ในคอลเลกชั่นนี้ได้มีการนำเสื้อผ้ามา Mixed & Match ให้เหมาะสำหรับการใส่อยู่บ้านมากขึ้น มีการสร้างบรรยากาศในร้านด้วยการจัดดิสเพลย์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในบ้าน 

ในส่วนของการสื่อสารบนออนไลน์ จะเน้นการสื่อสารผ่านภาพที่กำลังทำกิจกรรมต่างๆ ในขณะที่สวมใส่เสื้อผ้าในคอลเลกชั่นที่วางจำหน่ายอยู่ เพื่อสะท้อนภาพคำว่า Uniqlo at Home ทำให้การอยู่บ้านเป็นเรื่องเพลิดเพลิน เป็นวิธีการสื่อสารที่ทำให้คนเห็นว่า ช่วงเวลาที่ต้องอยู่กับบ้านเป็นเวลานานๆ ก็สามารถทำให้เป็นช่วงเวลาที่มีคุณภาพได้ เป็นการสร้างอารมณ์ร่วมที่จะทำให้ผู้คนรู้สึกอยากช้อปปิ้งเสื้อผ้า รวมถึงของใช้ในบ้านไอเท็มต่างๆ ของ Uniqlo อีกด้วย

“บทเรียนที่ได้จากแบรนด์ Shimamura และ Uniqlo คือ การสร้างดีมานด์ใหม่ให้กับตลาดจากการสังเกตพฤติกรรมของคนเมื่อต้องอยู่บ้านมากขึ้นว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และในฐานะของร้านเสื้อผ้าจะตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง”

ผศ.ดร.กฤตินี ยังยกตัวอย่างธุรกิจเครื่องดื่มในกลุ่มเบียร์อย่างแบรนด์ KIRIN และ ASAHI ก็มีการวางกลยุทธ์ด้านการวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเอาใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้อง Work from Home ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้ง KIRIN และ ASAHI ต่างพยายามสร้างดีมานด์ใหม่ให้กับตลาดเพื่อตอบโจทย์ในเรื่อง Work from Home เพื่อให้คนยังรู้สึกกับการดื่มเบียร์ โดยใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

KIRIN ได้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสจากการที่คนไปนั่งดื่มเบียร์สดที่ร้านไม่ได้ โดยเล่นกับสถานะการ Work from Home มาเป็น Drink from Home จากแนวคิดจะทำอย่างไรให้คนอยู่ที่บ้านสามารถดื่มเบียร์สดได้ KIRIN จึงออกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Drink from Home ซึ่งเป็นเครื่องทำเบียร์สดในรูปทรงกระติก และมีคันโยกในลักษณะเหมือนถังเบียร์ สด ภายในบรรจุด้วยขวดเบียร์รูปทรงอ้วนป้อมที่เป็นเสมือนรีฟิลของเบียร์สด เมื่อกดคันโยกก็ได้เบียร์ที่มีฟองนุ่มๆ ออกมา ให้รสชาติเหมือนเบียร์สดจริงๆ   

โดย KIRIN เน้นการทำตลาดบนช่องทางออนไลน์เพราะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยไม่ต้องเสียค่าการตลาดให้กับร้านค้าปลีก มี 2 แพ็กเกจ แบบรายเดือนให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ และไม่เสียค่าเครื่องทำเบียร์สด โดยแพ็กเกจแรก จะส่งเบียร์ให้เดือนละ 1 ครั้ง ขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด ในราคา 3,190 เยน และแพ็กเกจที่ 2 จัดส่งเดือนละ 2 ครั้ง ในราคา 5,060 เยน ได้เบียร์ขนาด 1 ลิตร จำนวน 4 ขวด เฉลี่ยราคาเพียงแก้วละ 421 เยน ถูกกว่าการไปนั่งดื่มตามร้านนั่งดื่มนอกบ้าน ที่ส่วนใหญ่มีราคาประมาณ 500 - 1,000 เยนต่อแก้ว 

นอกจากนี้ KIRIN ยังต่อยอดด้วยการสร้างความหลากหลายของรสชาติในฤดูกาลที่แตกต่างกัน ก็ยิ่งจะทำให้ลูกค้าผูกพันอยู่กับรสชาติของเบียร์ KIRIN โดยไม่เปลี่ยนใจไปดื่มเบียร์ยี่ห้ออื่นๆ อีก

ASAHI เป็นแบรนด์คู่แข่งของ KIRIN มีการซุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มานานกว่า 4 ปี และได้จังหวะเปิดตัวในช่วง COVID-19 จากแนวคิดที่ว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถดื่มเบียร์ที่บ้านได้ด้วยความรู้สึกที่ตื่นเต้น และสิ่งที่ ASAHI ทำ คือ การทำให้ลูกค้าได้ดื่มเบียร์จากกระป๋องในอารมณ์เหมือนได้ดื่มเบียร์สดที่มีฟองนุ่มๆ ไหลออกมาทันทีที่เปิดกระป๋อง 

ในการออกแบบกระป๋อง ASAHI ต้องพยายามลบความคมของขอบกระป๋อง ทำให้ไม่บาดปากเวลาดื่มเบียร์จากกระป๋อง ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากแก้วไวน์ Sparkling เมื่อเวลาเทไวน์ลงไปในแก้วจะมีพรายฟองผุดขึ้นมา จึงเกิดความคิดต่อยอดว่า จะมีอะไรที่ใส่ลงไปในกระป๋องเบียร์แล้วสามารถทำให้เกิดฟองได้เมื่อเวลาเปิดกระป๋อง โดย ASAHI วางขายผลิตภัณฑ์ตัวนี้ที่ร้านสะดวกซื้อจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมาก เพราะโปรโมทว่าเป็นเบียร์กระป๋องที่ให้ความรู้สึกเหมือนดื่มเบียร์สดจริงๆ 

“ทั้งสองแบรนด์มีการทำตลาดที่แตกต่างกัน KIRIN เน้นความพรีเมียมด้วยการสร้างพฤติกรรมการดื่มเบียร์แบบใหม่ นำเสนอเบียร์สดที่สามารถนั่งดื่มที่บ้านได้ทุกวัน ส่วน ASAHI ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคมากนัก แต่นำเสนอความเป็นเบียร์สดแบบกระป๋องที่เน้นเจาะกลุ่ม Mass สร้างความรู้สึกแปลกใหม่เพียงแค่เปิดกระป๋อง โดยทั้ง KIRIN และ ASAHI มีการสร้างดีมานด์ใหม่ให้กับตลาดเพื่อตอบโจทย์เรื่อง Work from Home ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกกับการดื่มเบียร์ที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”

ยังมีกรณีศึกษาของ เบนโตะมีฉากกั้น จากร้านข้าวกล่องรายหนึ่งที่มีทำเลที่ตั้งร้านอยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าแถบคันไซ แต่มียอดขายที่ลดลงเนื่องจากคนใช้รถไฟฟ้ากันน้อยลงจากการ Work from Home ทางร้านจึงสร้างแรงจูงใจให้เบนโตะของตนดูมีคุณค่า และน่าซื้อมากขึ้น โดยสร้างกิมมิกเล็กๆ จากการดีไซน์กล่องที่ฝาปิดด้านบนสามารถกางออกเป็นเหมือนฉากกั้นด้านข้าง เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากละอองฝอยที่ลอยปนเปื้อนอยู่ในอากาศ หรือจากคนที่นั่งข้างๆ แม้จะป้องกันอะไรไม่ได้มาก แต่อย่างน้อยก็ทำให้ลูกค้าเกิดความสบายใจมากขึ้น

เป็นการปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่ ด้วยความใส่ใจ และพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ นั่นหมายถึงว่า ต่อไปนี้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอาจไม่ใช่แค่ข้าวกล่องที่มีรสชาติอร่อย แต่ยังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่แฝงด้วยคุณค่าในเรื่องอื่นๆ เหมือนเช่นข้าวกล่องที่มีฉากกั้นกล่องด้านข้างก็ย่อมจะน่าหยิบมากกว่าข้าวกล่องธรรมดาในแบบเดิมๆ ทั่วไป

ข้าวสารที่กลายเป็นของขวัญล้ำค่า เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ จากโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้คนซื้อข้าวสารมากขึ้นในยุค COVID-19 แบบนี้ แม้ว่าคนจะอยู่บ้านหุงข้าวกันมากขึ้น แต่ในแง่การทำตลาดก็มีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย และส่วนใหญ่จะมีจุดขายในเรื่องของความอร่อย และคุณประโยชน์ของข้าว แต่ทางร้านก็สร้างความแตกต่างเพื่อทำให้ลูกค้าอยากซื้อข้าวสารเกรดพรีเมียมราคาแพงของทางร้าน

โดยร้านสร้างไอเดียเปลี่ยนคุณค่าของข้าวให้เป็นของขวัญสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกิดใหม่ ซึ่งข้าวทุกถุงจะมีปริมาณเท่ากับน้ำหนักของเด็กที่เพิ่งคลอดของครอบครัวนั้นๆ และมีการสร้างกิมมิกด้วยการนำภาพของเด็กมาทำเป็นกราฟิกน่ารักๆ บนถุงข้าว พร้อมระบุรายละเอียดชื่อเด็ก วัน เดือน ปีเกิด และน้ำหนักตัวของเด็กไว้บนถุงข้าวนั้นด้วย ซึ่งธีมการดีไซน์บนหน้าถุงก็จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.กฤตินี ยังมองว่า วิกฤต COVID-19 เป็นความน่ากลัวกว่าภัยธรรมชาติอื่นๆ เพราะเกิดขึ้นแล้วอยู่นาน ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ ดังนั้นธุรกิจต้องสร้างโอกาสที่จะชนะในระยะยาว ไม่ใช่แค่รอดจากวิกฤตครั้งนี้แต่เป็นการเตรียมตัวที่จะสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน 

“การจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ยังต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายเรื่อง เช่น ต้องสร้างแฟนคลับ ต้องพยายามรักษาแฟนคลับไว้ และทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ ต้องสังเกตความต้องการใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อดูว่า พฤติกรรมลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อสามารถปรับตัวไปตามความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีการพัฒนาสินค้า และเทคโนโลยีต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถชนะได้ในระยะยาว สามารถหนีวิกฤต หรือหนีการดิสรัปจากสถานการณ์ต่างๆ” ผศ.ดร.กฤตินี กล่าว 

บทความแนะนำ

Clear Cache
Clear All Cache
Enable Page Cache
Disable Page Cache