ทำไมแฟรนไซส์ ถึงเนื้อหอมในช่วงวิกฤต

ทำไมแฟรนไซส์ ถึงเนื้อหอมในช่วงวิกฤต

หลังวิกฤต COVID-19 ธุรกิจแฟรนไชส์ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทั้งจากคนที่ต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นโมเดล ในการสร้างการเติบโตให้กับหลายธุรกิจ เนื่องจากระบบแฟรนไชส์ เป็นโมเดล ที่สามารถลดความเสี่ยงได้ เพราะมีแบรนด์และระบบการจัดการต่างๆ ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จได้จริง จึงกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของคนที่อยากลงทุนธุรกิจของตัวเองโดยเฉพาะ

ท่ามกลางวิกฤตที่มีความเสี่ยงรอบด้าน แฟรนไชส์ นับว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าการ ต้องเริ่มต้นใหม่ด้วยตัวเองทั้งหมด ขณะเดียวกัน แฟรนไชส์ยังเป็นระบบ ธุรกิจที่โตเร็วกว่าธุรกิจทั่วไปถึง 3 เท่า เนื่องจากแฟรนไชส์เป็นเรื่องของ Economies of Scale โดยแฟรนไชส์ต้องอาศัยจำนวนสาขากระจายออกไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความได้เปรียบ ทั้งเรื่องของต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง สาขา ครอบคลุมตลาดได้มากกว่า และแบรนด์ยังเป็นที่รู้จักได้มากกว่าด้วย

“แฟรนไชส์ต้องเริ่มจากออกแบบธุรกิจ (Business Design) การจะทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ธุรกิจจะต้องผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า Profitability คือ ธุรกิจต้องกำไรให้ได้ก่อน อย่าผลักดันธุรกิจ ที่ไม่มีกำไรออกมาเป็นแฟรนไชส์ จากนั้นต้อง ศึกษาว่าธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ คืออะไร แฟรนไชส์ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจ รวมทั้งต้องศึกษาเรื่องสัญญากฎหมาย การวางระบบ หรือ กระบวนการถ่ายทอดไปสู่แฟรนไชส์ วิธีการทำการตลาด ตลอดจนการคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ดีเข้าสู่ระบบ เป็นต้น เรียกได้ว่า เมื่อผ่าน การออกแบบธุรกิจที่ดีและถูกต้องจนได้โมเดล แฟรนไชส์แล้ว จากนั้นค่อยขยายธุรกิจด้วยการตลาดเหล่านี้คือ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจก่อนจะก้าวสู่ธุรกิจแฟรนไชส์”

“ออนไลน์ต้องมี”

ธุรกิจในยุคนี้ต้องออกแบบธุรกิจที่เกาะเกี่ยวไปกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องของออนไลน์ การออกแบบธุรกิจให้เข้าสู่รูปแบบออนไลน์กลายเป็นสิ่งสำคัญในเวลานี้ เช่น อาจปรับเป็น Cloud Kitchen แฟรนไชส์อาจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านทำทุกอย่างภายในบ้านและรับออร์เดอร์ผ่านออนไลน์ หรือแม้แต่ระบบเทรนนิ่งก็ต้องปรับมาทำผ่านออนไลน์ด้วยเช่นกัน

“ต้องสร้างประสบการณ์”

นอกจากนี้ รูปแบบแฟรนไชส์ที่จะ ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ต้องสร้างประสบการณ์ (Experience) กับผู้บริโภคได้ด้วยและต้องไม่ใช่แค่ประสบการณ์บนออฟไลน์ (ผ่านหน้าร้านหรือสาขา) เท่านั้น แต่ต้องเป็นประสบการณ์บนออนไลน์ด้วย เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่า แฟรนไชส์กำลังถูกเชื่อมโยงระหว่างออฟไลน์ และออนไลน์เข้าด้วยกัน

ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้การตัดสินใจเลือกลงทุนของแฟรนไชซีต้องพิจารณามากขึ้น เช่น เป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบออนไลน์รองรับหรือไม่ และธุรกิจตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไปไหม ซึ่งก่อนจะตัดสินใจลงทุนอาจต้องทำการบ้านมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจเกี๋ยวกับโครงสร้างของธุรกิจแฟนไซส์และผล ตอบแทนที่ได้มานั้นจะสัมพันธ์กับการลงทุนมากยิ่งขึ้นครับ

อ้างอิง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Dec-2020.aspx

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

การเงินและการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ธุรกิจ SME สะดุด

 

หากพูดถึง “การเงิน” คือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและต้องวางแผนอย่างละเอียดเพราะถ้าการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ธุรกิจสะดุดและประสบปัญหาได้ วันนี้ SME ONE เลยนำ 5 ตัวอย่างการจัดการการเงินที่ผิดวิธีพร้อมกับวิธีแก้ไข เพื่อให้ผู้ประกอบการระมัดระวังและวางแผนการเงินได้ดีมากยิ่งขึ้น

การเงินมีปัญหาเพราะใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดในการทำธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินเก็บ หรือเงินสดส่วนตัวในการลงทุนธุรกิจ การเลือกใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเป็นตัวเลือกไม่เหมาะกับการหาทุน เพราะว่าบัตรเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะขออนุมัติง่ายกว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แต่ผู้ประกอบการมักลืมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นสูงพอสมควร (สูงสุดถึง 28% ต่อปี) เพื่อป้องกันปัญหาการเงินนี้ผู้ประกอบการควรเลือกประเภทสินเชื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับกิจการของตนเอง

การเงินบกพร่องเพราะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนแฝง

ผู้ประกอบการหลายรายมักพบกับปัญหาทางการเงิน เพราะไม่ได้คิดต้นทุนแฝงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนพนักงาน ค่าใบอนุญาตต่างๆ ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าเครื่องจักรและค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างงานบุคคลภายนอก ค่าเดินทางนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นต้นทุนแฝงที่จำเป็นไม่ต่างกับต้นทุนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการควรตรวจสอบต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ละเอียด พร้อมกับการวางแผนการเงิน และกันเงินบางส่วนไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย ไม่เช่นนั้น ธุรกิจของเราอาจเกิดสภาวะการเงินบกพร่อง และระบบการทำบัญชีมีปัญหาได้

การเงินติดขัดเพราะไม่แยกสินทรัพย์ส่วนตัวกับบริษัทออกจากกัน

ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยมักมีปัญหาในช่วงแรกของการทำธุรกิจคือ การใช้เงินส่วนตัวและเงินบริษัทปะปนกันโดยไม่แยกบัญชีให้ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการไม่รู้ว่ากำไรและรายจ่ายที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งส่งผลต่อเอกสารทางบัญชี และการคำนวณต้นทุนและกำไรที่ผิดพลาดได้ สร้างปัญหาให้กับระบบการเงิน และธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรแยกบัญชีส่วนตัวกับกิจการออกจากกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนของการทำบัญชี

การเงินถูกใช้กับคนที่ไม่ถูกกับงาน

ปัญหาทางการเงินลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัวเพราะผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไว้ใจให้ญาติช่วยดูแลเรื่องการเงินทั้งๆ ที่ญาติก็ไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินมาก่อน ทำให้ไม่สามารถบริหารการเงินภายในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการจ้างพนักงานที่ไม่มีความถนัดในงานนั้นโดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ วิธีแก้ไขคือ หากผู้ประกอบการไม่มีความรู้ความสามารถด้านใด ก็ให้เลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ตรงและมีความสามารถด้านนั้นมาทำงานแทน เพื่อให้การบริหารการเงินและองค์กรโดยรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพนักงานที่ดูแลด้านบัญชีและการเงิน ที่ควรเลือกจากคนมีประสบการณ์แล้วสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

การเงินใช้ไปกับค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดไปตามการผลิต ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้ากี่ชิ้น ก็ยังต้องจ่ายต้นทุนนี้ในราคาเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น หากผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น เช่น เช่าออฟฟิศขนาดใหญ่เกินขนาดกิจการ หรือ จ้างพนักงานเยอะเกินไป อาจทำให้รายจ่ายในแต่ละเดือนบานปลายได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนธุรกิจและคิดให้ดีว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นกับธุรกิจและค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถตัดออก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น

อ้างอิง : https://www.peerpower.co.th/blog/smes/management-financial/

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

5 เครื่องมือ ช่วยทำการตลาดออนไลน์ เพิ่มยอดขายให้ปัง!

5 เครื่องมือ ช่วยทำการตลาดออนไลน์ เพิ่มยอดขายให้ปัง!


การตลาดออนไลน์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูง หากเรามีเครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหรือบริหารจัดการร้านที่ทำให้สะดวกและรวดเร็วก็จะช่วยให้การวางแผนการตลาดของเรามีความผิดพลาดน้อยลงขอแนะนำ 5 เครื่องมือที่ต้องมีในการทำการตลาดออนไลน์ จะเป็นอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. HubSpot’s Blog Topic Generator

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาไอเดีย เพราะนี่เป็นคลังที่ใช้ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ก็ว่าได้ เพียงแค่ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการเข้าไป จากนั้นจะมีลิสต์หัวเรื่องสำหรับทำคอนเทนต์ออกมาให้ทันที แต่หากต้องการไอเดียเพิ่มขึ้นไปอีกอันนี้ก็คงต้องเสียเงินเพิ่ม

2. Buzzsumo

เว็บไซต์สำหรับการหาคอนเทนต์ที่ผู้คนนิยมแชร์บนโลกอินเทอร์เน็ต จึงช่วยเพิ่มไอเดียในการสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ได้โดยสามารถค้นหาจากคีย์เวิร์ดที่ต้องการ นอกจากนี้ Buzzsumo ยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้เทรนด์คอนเทนต์ที่คนพูดถึงในโลกออนไลน์ โดยแสดงจำนวน Engagement ในแต่ละแพลตฟอร์ม

3. Google Trends

ช่วยในการวิเคราะห์เทรนด์การค้นหาคำต่างๆ ทำให้รู้ว่าในขณะนี้ผู้คนกำลังสนใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการหาไอเดียในการทำคอนเทนต์ การเลือกสินค้าและบริการ การหากลุ่มตลาดที่กำลังมาแรง การวางแผนพัฒนาธุรกิจในแต่ละช่วง

4. Mailchimp

เครื่องมือช่วยในการทำการตลาดผ่านอีเมลแบบครบวงจร หรือ E-mail Marketing โดย MailChimp ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถสร้างเทมเพลตอีเมล จัดการรายชื่ออีเมล ส่งและติดตามผลได้ และมีระบบการวัดผลทางสถิติชัดเจนและเข้าใจง่าย

5. Feedly

เป็นแอปฯ ช่วยรวบรวมฟีดข้อมูลในที่เดียวไม่ว่าจะเป็นบทความในบล็อกต่างๆ ข่าวล่าสุด สำรวจเทรนด์ การสนทนาบนโซเชียล วิดีโอที่กำลังมาแรงบนยูทูบ ทำให้สามารถอ่านพาดหัวข่าวและเรื่องราวได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลา


อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/startup-digitalmarketing/7506.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

 

บทความแนะนำ

เปิดกลยุทธ์บริหารการเงินของธุรกิจ SMEs หลังฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID

เปิดกลยุทธ์บริหารการเงินของธุรกิจ SMEs หลังฟื้นตัวจากวิกฤติ COVID

จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาในปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปี 2654 ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ซึ่งหลังจากที่การผ่อนคลายมาตรการคลายล็อคดาวน์ในเดือนกันยายนปี 2564 ที่ผ่ามา ส่งผลให้กิจกรรมของธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มและการปรับตัวที่ดีขึ้นนับเป็นสัญญานที่ดีต่อการฟื้นตัวของธุรกิจ สำหรับนักของธุรกิจหรือเจ้าของกิจการคนไหน ที่กำลังประสบปัญหาธุรกิจจากสถานการณ์โควิด-19

วันนี้ SME ONE มีวิธีการบริหารสภาพคล่องอย่างไรให้ธุรเติบโตและสอดคล้องกับระดับการฟื้นตัวรวมถึงกลยุทธ์รองรับการฟื้นตัวธุรกิจค้า มาฝากทุกคนกันครับ

บริหารสภาพคล่องอย่างไร ให้ธุรกิจเติบโตและสอดคล้องกับระดับการฟื้นตัว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินทิศทางการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกนับตั้งแต่เริ่มคลายล็อกดาวน์ โดยนำข้อมูลดัชนีค้าปลีก ซึ่งเป็นข้อมูลการขายสินค้าของธุรกิจค้าปลีกประเภทต่าง ๆ มาวิเคราะห์และแบ่งธุรกิจค้าปลีกออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ฟื้นตัวได้เร็ว (1-3 เดือน) กลุ่มที่รอเวลาฟื้นตัว (ใช้เวลา 3-6 เดือน) และกลุ่มที่ฟื้นตัวช้า (ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน)

นอกจากนี้ ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา หากต้องการให้ธุรกิจเติบโตไปตามระดับการฟื้นตัว กลยุทธ์สำคัญที่ตอบโจทย์ธุรกิจ คือ “การรักษาสภาพคล่อง” ซึ่งหมายถึง การที่เจ้าของธุรกิจสามารถบริหารจัดการกระแสเงินสดให้เพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจได้โดยไม่เกิดปัญหา โดยยึดหลักการประเมินว่าจะต้องมีกระแสเงินสดเพียงพอหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจแต่ละครั้งภายในกี่วัน นับตั้งแต่การนำเงินสดไปใช้เพื่อซื้อวัตถุดิบและสินค้า จ้างคนเพื่อผลิต ขนส่งสินค้าและวางจำหน่าย จนกระทั่งจำหน่ายสินค้าได้

ดังนั้นเมื่อทราบถึงทิศทางการฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจ และนำมาประกอบกับการวิเคราะห์ลักษณะของธุรกิจ จะทำให้สามารถเลือกใช้กลยุทธ์วางแผนจัดการประคับประคอง การปรับตัว หรือการขยายธุรกิจได้ต่อไป


เปิดกลยุทธ์รองรับการฟื้นตัวธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจฟื้นตัวได้เร็ว (ใช้เวลา 1-3 เดือน) ตัวอย่างธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ การขายออนไลน์ ร้านขายยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์น้อยกว่าธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ และมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ธุรกิจจะต้องบริหารสภาพคล่องและสต๊อกสินค้าให้เพียงพอรองรับตลาดที่กำลังกลับมาขยายตัวเพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจรอการฟื้นตัว (ใช้เวลา 3-6 เดือน) ได้แก่ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ขายอะไหล่และซ่อมรถยนต์ สำหรับกลยุทธ์ที่ใช้นอกจากธุรกิจต้องดูแลกระแสเงินสดเพื่อประคับประคองในช่วงแรกแล้วจำเป็นต้องวางแผนสภาพคล่องให้รองรับตลาดที่จะกลับมาขยายตัวในช่วง 3 เดือนข้างหน้า เช่น ปัจจุบันหากธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการเก็บเงินค่าขายสินค้าใช้เวลามากกว่าช่วงเวลาปกติอยู่ที่ 31 วัน (เป็นค่ากลางของธุรกิจในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19) หรือมีสินค้าที่อยู่ระหว่างการขายค้างอยู่มากเกินไปควรปรับลดระยะเวลาเพื่อให้มีกระแสเงินสดดีขึ้นและกลับมาแข่งขันในตลาดเร็ว

ธุรกิจฟื้นตัวช้า (ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน) ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก จำเป็นต้องบริหารสภาพคล่องให้เหมาะสม เพื่อประคับประคองธุรกิจที่ต้องใช้เวลานานกว่าที่ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นกลับสู่ปกติ หรือบางธุรกิจ เช่น ร้านขาย วัสดุก่อสร้าง ควรเร่งปรับสต๊อกสินค้าให้มากกว่าปกติ เพื่อเป็นเงินสดหมุนเวียน ในช่วงที่ภาคธุรกิจก่อสร้างยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่


อ้างอิง : https://www.prachachat.net/finance/news-783065

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

Augmented Reality อาจเรียกได้ว่าเป็น

“ระบบเสริมประสบการณ์เสมือนจริง” ที่มุ่งสร้างประสบการณ์ใกล้เคียงความเป็นจริงให้กับผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งกำลังได้รับการตอบรับในแวดวงธุรกิจสายแฟชั่นและไลฟ์สไตล์เป็นอย่างดี จนถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Augmented Shopping กลายเป็นฟีเจอร์ส่งเสริมการขายให้ลูกค้าเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่รู้สึกเหมือนว่าได้สัมผัสสินค้าแบบใกล้เคียงความจริงเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคยุคนี้ ที่มองหารูปแบบการใช้ชีวิตผ่านโลกออนไลน์ AR จะช่วยธุรกิจได้อย่างไร?

 

อ่านต่อได้ที่  https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=87#book/31

 

ข้อมูลจาก กรุงไทย SME

บทความแนะนำ