NIA เสริมแกร่ง SMEs ภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมครบ Ecosystem

บทสัมภาษณ์สําหรับลงในสื่อของ สสว. ภายใต้โครงการพัฒนาเนื้อหาให้บริการวิสาหิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย
ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อํานวยการด้านระบบนวัตกรรม สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ประเด็นถาม-ตอบ
1. นโยบายการให้ความช่วยเหลือSMEของNIAทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในมุมของการสนับสนุนและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ SME ได้ด้วยนวัตกรรมมีเรื่องใดบ้าง มาตรการระยะสั้น

  • -  มาตรการด้านการเงิน เน้นส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมให้กับกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง SME, Startup, Social Enterprise และชุมชน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการมีความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ผ่านโครงการนวัตกรรมแบบเปิด และนวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย

  • -  มาตรการการสนับสนุนเพิ่มเติมการสนับสนุนด้านการเงิน (non-financial support) เป็น มาตรการเพิ่มเติมจากด้านการเงินเน้นการสร้างโอกาสการให้ผลิตภัณฑ์และบริการเกิดการขยายผล และสร้างให้เกิดการยอบรับและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ได้แก่ การจัดทํา Innovative product and service catalog การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ โครงการนิลมังกร โครงการ innomall และโครงการเสื้อติดดาบ เป็นต้น
    มาตรการระยะยาว

  • -  การเพิ่มจํานวนองค์กรและบุคลากรด้านนวัตกรรม ผ่านการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมจากหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ ของ NIA Academy เช่น หลักสูตร SME to IBE, PIN, IDE to IPO, PPCILและ CCIO เป็นต้น

  • -  การสร้างเมืองศูนย์กลางนวัตกรรม เน้นการทํางานกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมไปยังส่วนภูมิภาค ลดการกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่

  • -  การพัฒนาย่านนวัตกรรม เน้นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีลักษณะฉพาะในการสร้างให้เกิด การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ เพื่อให้เกิดการลงทุน ใช้องค์ความรู้ การจ้างงาน และใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • -  การคาดการณ์อนาคตและเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เน้นการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนและข้อจํากัด เพื่อคาดการณ์และจัดทําข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใน ปัจจุบันและอนาคตที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้

  1. ตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการสนับสนุนและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ SME ได้ด้วย นวัตกรรม

- โครงการ นิลมังกรซึ่งเป็นโครงการที่นําผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในส่วน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย มาส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ในด้านนวัตกรรม รูปแบบธุรกิจนวัตกรรม และการสร้างแบรนด์และเล่าเรื่องสินค้าและบริการนวัตกรรม รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดระบบการ จับคู่ผู้เชี่ยวชาญในการให้คําปรึกษาในรายธุรกิจ เน้นการนําไปปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถทําให้ยอดขาย เติบโตอย่างน้อย 5 เท่า ในระยะเวลา 12 เดือน และมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมเป็นที่ รู้จักและยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในมิติต่างๆ ผ่าน หลักสูตรของ NIA Academy

  1. แผนงานของNIAในปีนี้จะโฟกัสไปที่เรื่องใดเป็นหลัก

สําหรับแผนงานของ NIA ในปีนี้จะโฟกัสใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. การขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม โดย NIA ดําเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม(Innovation-Based Enterprises: IBEs) เพื่อเพิ่มจํานวนผู้ประกอบการ IBEs ที่ไปขับเคลื่อน และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อ สังคม ที่เน้นการนํานวัตกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและพื้นที่ ผ่านการมีส่วนร่วมชุมชนและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการยกระดับความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมทางสังคม
  2. การขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับพื้นที่โดยNIAได้ดําเนินการส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสการพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรมที่จะไปช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการใช้ ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ ววน. ในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ และการทํางานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เช่น หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน เป็นต้น
  3. การขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยข้อมูลและองค์ความรู้โดยNIAดําเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงข้อมูลด้านนวัตกรรมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลและองค์ความรู้เปิดสําหรับ ผู้ประกอบการ นักนโยบาย และนักวิชาการ ในการเข้าถึงและนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการ ทํางานบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจถึง บริบทนวัตกรรมของประเทศในวงกว้าง
  4. มองSMEยุคใหม่เป็นอย่างไรโดยเฉพาะการนําเรื่องของนวัตกรรมมาใช้สร้างความได้เปรียบในการ แข่งขันและสร้างการเติบโต
    - วิกฤตการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางฝั่งอุปทานและอุปสงค์เป็นอย่างมาก หลายครั้งเกิดเป็นพฤติกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "ความปกติใหม่" หรือ New Normal ซึ่งต้องยอมรับว่ามี SME ที่ล้มหายตายจากไปก็มาก หลายรายที่ต้องดิ้นรน เรียนรู้และปรับตัว และก็มีหลายรายที่เติบโตจากการอาศัยโอกาสในบริบทใหม่ๆ เหล่านี้ จะเห็นได้ว่า SME ที่ สามารถยืนหยัดและไปต่อได้จะต้องเรียนรู้และมีความพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และ ความเปลี่ยนแปลง โดยมี "นวัตกรรม" เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความแตกต่างเพื่อตอบสนองต่อ โอกาสใหม่ๆ "นวัตกรรม" ทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ หรือรูปแบบธุรกิจใหม่ จึง เป็นสิ่งสําคัญสําหรับ SME ที่ต้องการยืนหยัดและสร้างโอกาสจากบริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน

- สิ่งสําคัญที่ SME ต้องให้ความสําคัญคือ 1) กลยุทธ์นวัตกรรม นํานวัตกรรมมาสร้างโอกาสอย่างไรกับ ธุรกิจ 2) การลีนและเพิ่มประสิทธิภาพ นําเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมกระบวนการมาปรับใช้ อย่างไรเพื่อเค้นประสิทธิภาพการทํางาน และ 3) การบริหารจัดการทรัพยากรและความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ระบบเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อุปทาน และสภาวะการเมืองยังมีความผันผวน

  1. ความท้าทายใหญ่ของSMEในยุคPostCOVID-19ต้องเร่งปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถก้าวทันต่อ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ
  • -  ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาผู้ประกอบการและธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับ 3 ภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจใหญ่ ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก (Economic Crisis) อันเนื่องมาจากโครงสร้างของการ ทําธุรกิจที่เปลี่ยนไปตามห่วงโซ่มูลค่าโลก ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขและการให้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปจากรูป แบบเดิม การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (Climate Change) และการระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ วิถีชีวิตของคนในสังคมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุขและสุขภาวะ ก่อให้เกิดความเหลื่อม ล้ําที่รุนแรง และเริ่มเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหลังจากการเกิดวิกฤตการณ์ ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้สร้าง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่หลายธุรกิจไม่มี แผนรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทําให้ประสบกับความยากลําบากในการทําธุรกิจ

  • -  จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ด้าน บ่งบอกให้เห็นว่าผู้ประกอบการ SME จําเป็นต้องมีการ ปรับตัวในเรื่องใหญ่ 4 เรื่อง ได้แก่ 1) นวัตกรรมข้อมูล (Data-Driven Innovation) 2) การนําดิจิทัล เข้ามาปรับเปลี่ยนองค์กร (Digital Transformation) 3) นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ (Business Model innovation) และ 4) เครือข่ายนวัตกรรม (Innovation Networks)
    เป้าหมายและความท้าทายของNIAในด้านการให้ความช่วยเหลือSMEไทยในปีนี้ NIA มีแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม ใน หลากหลายมิติเพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ไปสู่ ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation Based Enterprise: IBE) โดย NIA จะทําหน้าที่เป็น Focal Facilitator ในการประสานให้เกิดการทํางานร่วมกันระหว่างภาคส่วน ต่าง ๆ เพอื่ สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมไทย

บทความแนะนำ

สป.อว.ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทย ผ่านงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  

สป.อว.ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทย

ผ่านงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

 

การขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษาของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางการเกิดขึ้นของ Megatrends ที่เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ และส่งผลต่อการผลักดันภารกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนับจากนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างคน เพื่อรองรับต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่เชื่อมต่อจากรั้วมหาวิทยาลัยไปสู่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ไทย

ขณะเดียวกัน สป.อว. หรือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ

หน่วยงานสำคัญด้านบูรณาการงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ชุมชน ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)

ภายใต้แผนการการขับเคลื่อนกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ไทยด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) จะมีการร่วมวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนายอดงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม มีการบ่มเพาะ พัฒนา SMEs และ Startup ที่มีฐานจากงานวิจัย หรือภูมิปัญญา รวมทั้งเร่งการเติบโตของของธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง มีการสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในระดับพื้นฐานสู่เชิงพาณิชย์ และยกระดับขีดความสามารถของสถานประกอบการด้วยกระบวนการ ววน. เพื่อปรับปรุงและแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

รวมถึงมีบริการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยี เผยแพร่ความรู้ด้าน ววน. และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักด้าน ววน. และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งเสนอแนะมาตรการและแรงจูงใจในการปรังปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ เป็นต้น

ศจ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวแสดงทัศนะคติที่มีต่อ SMEs และ Startup ไทย มีความตั้งใจและพร้อมที่จะเรียนรู้ในการนำองค์ความรู้ด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจได้ดี แต่ยังขาดการกระจายตัวในเรื่องของการใช้ทักษะ (Skill) ด้านดิจิทัล โดยจะเห็นได้ว่า SMEs และ Startup ที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ยังไม่สามารถนำทักษะด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ได้เท่ากับ SMEs และ Startup ในพื้นที่ส่วนกลาง

โดยแผนงานในปีนี้ ทางสป.อว.จะมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถของ SMEs และ Startup ให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการ และ Startup เนื่องจากภาคเอกชนมีประสบการณ์ด้าน

การตลาดค่อนข้างมาก

                ตัวอย่าง โครงการที่ประสบความสำเร็จ และส่งผลต่อการยกระดับขีดความสามารถของ SMEs คือ โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมายกระดับ SMEs ทำให้ SMEs มีศักยภาพในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น สามารถลดต้นทุนในการผลิตทั้งยังสามารถยกระดับความสามารถใช้เทคโนโลยีของ SMEs อีกด้วย

                ในส่วนของแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถของ SMEs ไทย ที่ได้จัดทำไปในปี 2564 ทาง สป.อว.ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ การส่งเสริม พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของแผนยุทธศาสตร์สำคัญ และมีความเชื่อมโยงไปสู่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยมากที่สุด

                โดยการดำเนินงานจะจัดทำผ่านแผนการส่งเสริม พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายให้ชุมชนและผู้ประกอบการได้รับการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม โดยแผนงานที่ได้จัดทำไปแล้ว ได้แก่            

                1)โครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น เพื่อการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และใช้งานวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถาบันต่อยอดออกสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

                2) โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Startup Ecosystem ในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ และยกระดับของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมความตระหนักการตื่นตัวในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม

                3)โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนาในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย สป.อว. ได้สนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเครือข่าย อุทยาน วิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่าย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา)

                4)โครงการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ เครื่องจักร เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพ มาตรฐาน สามารถขยายช่องทางการจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้มีการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP ตามแนวทางคูปองวิทย์ 6 ด้าน คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ และเครื่องจักร

                5)โครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต้นแบบภายใต้โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐานสู่เชิงพาณิชย์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากเกษตรอัตลักษณ์

                6)โครงการการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมบริหารจัดการฟาร์ม ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและแปรรูปปศุสัตว์ เป็นการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดนที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบการผลิตเชิงการค้าและรองรับอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อการจัดจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่อไปในอนาคต

                7)การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีความสำคัญตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่นำไปสู่พาณิชย์ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตภายในประเทศตามความต้องการของภาคผลิตและบริการ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ และสร้างนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม

                สำหรับแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะมีความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ ฉบับปรับปรุง ยุทธศาสตร์จัดสรร เป้าหมายการให้บริการกระทรวง เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน ผลผลิต/โครงการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ศจ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายของ SMEs และ Startup ไทยในยุค Post COVID-19 เป็นเรื่องของกำลัง

ซื้อของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปมากและมีแนวโน้มที่จะลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว หันมาทำธุรกิจที่มีความสอดคล้องกับกำลังซื้อของลูกค้า ประกอบกับในภาวะสงครามทำให้สินค้าหลายชนิดปรับราคาสูงขึ้น มีต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรมีการศึกษากลไกราคาสำหรับการทำธุรกิจและเลือกขายผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งในส่วนของคุณภาพและราคา

 “ที่ผ่านมา ในส่วนของ สป.อว. ก็มีความท้าทายอย่างหนึ่ง คือการเข้าถึงกลุ่ม SMEs และ Startup ในไทยที่มีความ

ต้องการที่จะได้รับการส่งเสริมและการพัฒนาจริงๆ ยังไม่ทั่วถึง ดังนั้น สป.อว. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานทั้งในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างๆ จึงต้องร่วมผลักดันทั้งสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัย ในการทำเอาศักยภาพ องค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านั้น เข้ามาช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ศจ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

บีโอไอออกมาตรการด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ SMEs

บีโอไอออกมาตรการด้านเทคโนโลยี

เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ SMEs

การที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของบริษัทต่างชาติผ่านมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติสู่ภาคเอกชนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ได้มีโอกาสพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ทั้งตนเองและอุตสาหกรรมโดยรวม

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยการให้สิทธิและประโยชน์ในการลงทุน การเสริมสร้างปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุน การส่งเสริมการลงทุนและการบริการลงทุนจึงให้ความสำคัญและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นโครงการ SMEs  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

ที่ผ่านมา โครงการลงทุนของ SMEs ไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านดิจิทัล อาทิ การพัฒนาซอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ และการให้บริการด้านดิจิทัล รองลงมาเป็นกิจการแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตอาหาร การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์โลหะ นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีหลัง เริ่มมี SMEs ในกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อาทิ การวิจัยและพัฒนา การออกแบบทางวิศวกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ และบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เป็นต้น

สำหรับปีนี้ บีโอไอเน้นส่งเสริมให้ SMEs ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อาทิ การใช้พลังงานทดแทน การปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรทันสมัยหรือระบบอัตโนมัติ การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานสากล อาทิ GAP, FSC, ISO 22000  

อย่างไรก็ดี จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น บีโอไอได้ออกมาตรการเพิ่มเติมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และการผลิต หรือการให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้ดิจิทัล ทำให้เกิดการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัลในประเทศตามมา  

ทั้งนี้ โครงการที่ขอรับการส่งเสริมตามมาตรการนี้ ต้องมีเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท แต่สำหรับ SMEs จะลดเหลือเพียง 5 แสนบาท โดยต้องเสนอแผนลงทุนที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการนำซอฟต์แวร์ ระบบ ERP หรือระบบ IT อื่นๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร หรือใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบออนไลน์ของภาครัฐ อาทิ National E–Payment หรือการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning การใช้ Big Data หรือการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน   

บีโอไอยังมีการสนับสนุน SMEs ในอีก 5 ด้านที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการลงทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยSMEs ที่มีหุ้นไทยข้างมาก จะได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำเหลือเพียง 5 แสนบาท อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วในประเทศได้บางส่วนเพื่อลดต้นทุน และจะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป เพื่อเป็นแต้มต่อให้กับ SMEs    

 

  1. มาตรการกระตุ้นให้SMEs เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) เพื่อระดมทุนไปพัฒนาศักยภาพและขยายกิจการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าของเกณฑ์ทั่วไป   
  2. มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบรายใหญ่ช่วยรายเล็ก โดยให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกิจการที่ช่วยพัฒนาLocal Suppliers ที่ส่วนใหญ่เป็น SMEs และมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยสนับสนุนให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนหรือร่วมดำเนินการกับสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  
  3. เชื่อมโยงSMEs กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนกับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปต่างชาติ ทั้งกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักร เพื่อช่วยลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ SMEs ไทย ได้เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ระดับโลก รวมทั้งเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยบีโอไอจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น งาน Subcon Thailand ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จัดประจำทุกปี ตลาดกลางซื้อขายชิ้นส่วน งานผู้ซื้อพบผู้ขาย แต่ละปีกิจกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดมูลค่าเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท  
  4. สร้างองค์ความรู้และเครือข่ายให้SMEs ทั้งการจัดสัมมนาให้ความรู้เรื่องการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อSMEs การจัดคณะศึกษาดูงานกิจการที่ประสบความสำเร็จ เปิดมุมมองใหม่ๆ ด้านการบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีการผลิต และสร้างเครือข่ายกับนักธุรกิจท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งจัดหลักสูตรฝึกอบรม SMEs ที่ต้องการออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย  

ทั้งหมดนี้บีโอไอหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ SMEs ไทยเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน 

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

DITP เร่งติดปีก SMEs ไทย ให้บินไกลไปตลาดโลก  

DITP เร่งติดปีก SMEs ไทย

ให้บินไกลไปตลาดโลก

 

SMEs ในประเทศไทยถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด จากรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำ 2564 ระบุว่ามี SMEs มากกว่า 300,000 ราย สร้างรายกว่า 90% ของธุรกิจในประเทศไทยทั้งหมด สำหรับส่วนของการส่งออกก็เช่นเดียวกัน สัดส่วนผู้ส่งออกรายใหญ่มีอยู่ 10% ในขณะที่รายย่อยมีถึง 90% ดังนั้นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือ DITP จึงเล็งเห็นช่องว่างในการสร้างผู้ประกอบการที่พร้อมส่งออกให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตมากยิ่งขึ้นในอนาคต

คุณอารดา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อธิบายว่าภารกิจในการการช่วยเหลือ SMEsไทยถือเป็นนโยบายหลักที่คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายไว้ให้กับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยมีภารกิจหลัก 4 ด้านที่เรียกว่า 3P 1S เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ SMEsไทยมีโอกาสก้าวไกลไปค้าขายในต่างประเทศได้ ซึ่งทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย

People พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการค้าระหว่างประเทศ

Product สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ

Places การพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อผลักดันให้สินค้าและบริการของไทยสามารถเจาะตลาดโลกได้

Services การให้บริการทั้งข้อมูล คำปรึกษา การเชื่อมโยงธุรกิจ

สำหรับภารกิจข้อแรก People พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการค้าระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่าหลังจากเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก การพบปะเจอกันแบบ Face to Face เพื่อทำ Business Matchingไม่สามารถทำได้การติดต่อสื่อสารจึงเปลี่ยนมาสู่ช่องทางออนไลน์และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ DITP จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 กลุ่มหลักคือกลุ่ม Traditional Exporter ผู้ประกอบการรุ่นเก่าที่มากประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศแต่ไม่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางออนไลน์กับ New Exporter ผู้ประกอบรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีมีความเชี่ยวชาญในด้านดิจิตัลแต่ขาดประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ

“ผู้ประกอบการณ์ 2 กลุ่มนี้เป็น 2 กลุ่มที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเน้นย้ำและพยายามมากที่จะช่วยเหลือเขาในช่วงที่ผ่านมา เราได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA ทำหน้าที่ช่วยเหลือ นอกจากนั้นเรายังมีโครงการที่มีชื่อว่าปั้นเจนซี ให้เป็นซีอีโอ From Gen Z to be CEO ซึ่งจะช่วยสร้างผู้ส่งออกรุ่นใหม่เพื่อที่จะเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการผู้ส่งออกให้เข้ามาอยู่ในระบบการค้าระหว่างประเทศซึ่งที่ผ่านมาเราพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจทำธุรกิจต้องการไปเป็น CEO ในอนาคตไปแล้วกว่า 20,000 คนในปี 2564และปี 2565 เราจะเดินหน้าร่วมมือทำต่อกับ 95 มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศไทยโดยเราตั้งเป้าหมายว่าเราจะพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้เพิ่มอีก 20,000 รายเพื่อให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เหล่านี้มีส่วนช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของไทยเข้มแข็งมากขึ้น”

                อีกกลุ่มที่ DITP ให้ความสำคัญคือผู้ประกอบการในท้องถิ่นที่เกิดขึ้นค่อนข้างมากในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19และคุณอารดามองว่ามีความรู้ความสามารถรวมถึงความคิดสร้างสรรค์ทำธุรกิจแบบใหม่ในพื้นถิ่นตัวเอง

“เรามองเห็นศักยภาพของคนกลุ่มนี้เราจึงมีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Salesman จังหวัด Go-Inter ขึ้นมา โดยเรามีสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เราเห็นว่าเริ่มมีการไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ในทุกจังหวัดจึงพยายามไปค้นหาดวงดาวเหล่านี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเขาและให้เขาสามารถทำการค้าไปยังต่างประเทศได้โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องมาอยู่เมืองใหญ่ ให้เขาสามารถเข้าร่วมกิจกรรม Online Matching กับเราได้สามารถใช้ศักยภาพวัตถุดิบในพื้นถิ่นของเขาแล้วนำมาสร้างจุดเด่น สร้างอัตลักษณ์และส่งออกไปยังต่างประเทศได้ เรามีการนำเอาพาร์ทเนอร์มาช่วยเหลือในหลายด้านทั้งการนำแพลตฟอร์ม e-commerce มาใช้ เชื่อมต่อเครือข่ายที่นำเข้าในต่างประเทศมาทำ Online Business Matching รวมถึงเรายังมีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของเราให้มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าไปช่วยให้คำแนะนำผู้ประกอบการได้”

ภารกิจส่วนของ Product การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ คุณอารดา อธิบายว่าสมัยก่อนผู้ประกอบการไทยมักจะผลิตสินค้าที่ตัวเองถนัดเมื่อได้รับความสนใจก็จะทำตามกันซึ่งการค้าในยุคปัจจุบันไม่สามารถทำแบบนี้ได้แล้ว การพัฒนาเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการเป็นสิ่งสำคัญและผู้ประกอบการไทยก็เริ่มทำได้ดีขึ้นผู้ประกอบการเริ่มมีความคิดสร้างสรรค์ มีการนำนวัตกรรมมาใช้ สร้างจุดเด่นให้กับสินค้าไทย

“เราพยายามจับจุดแข็งของสินค้าและบริการของไทยออกมาโชว์เพื่อสร้างความแตกต่างพื้นฐานประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม เราเป็นประเทศที่เรียกว่า Kitchen of the world สินค้าอาหารและเกษตรของเรามีภาพลักษณ์ที่ดีเราจึงมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการเหล่านี้”

โดยเป้าหมายของ DITP คือกลุ่มสินค้าที่เป็น Future Food ประกอบไปด้วย 1. Function Food 2. Novel Food อาหารนวัตกรรม 3.Medical Food 4.Oganic Food กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์เมกกะเทรนด์โลกเช่น สินค้าที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้า BCG สินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Work From Home สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและความงามซึ่งเป็นธุรกิจที่โดดเด่นอีกหนึ่งธุรกิจในประเทศไทย และอุตสาหกรรม Digital Content ซึ่งในประเทสไทยมีคนเก่งอยู่มาก กลุ่มสุดท้ายคือโลจิสติกส์ซึ่งต้องมีการปรับให้การขนส่งเป็นในลักษณะ Multimodal คือการขนส่งที่ใช้วิธีการขนส่งที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถ ทางเรือ และ ทางอากาศให้มีความ Seamless เพื่อขนส่งสินค้าไปยังตลาดโลกอย่างปลอดภัยและเร็วที่สุดด้วยต้นทุนต่ำซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพค่อนข้างมาก

ภารกิจในส่วนของ Places การพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อผลักดันให้สินค้าและบริการของไทยสามารถเจาะตลาดโลกได้ซึ่งคุณอารดามองว่าผู้ประกอบการต้องมองช่องทางที่หลากหลายและต้องมองตลาดที่มีความเฉพาะมากขึ้น

“เราต้องมอง Niche Market มากขึ้น ต้องเจาะตลาดเชิงลึกซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกระทรวงที่ทำหน้าที่ผลิต ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เราทำหน้าที่เป็นตลาดเขาทำหน้าที่ผลิต เราจึงมียุทธศาสตร์ร่วมกันที่เรียกว่าตลาดนำการผลิตหรือ Demand divan ซึ่งเราสามารถทำงานด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เช่น ตลาดเดิมที่เราพูดกันเสมอซึ่งเป็นตลาดสำคัญของประเทศไทย มีสัดส่วนการส่งออกสูงยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา จีน อาเซียน ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย กลุ่มนี้เรายังต้องรักษาไว้และยังต้องสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้ลูกค้าเก่าของเราไม่หายไป นอกจากนี้เรายังมุ่งเจาะเมืองรองในตลาดเดิมนั้นๆด้วยอย่างที่จีนแต่ละมณฑลมีความต้องการสินค้าและบริการของไทยแตกต่างกันเราต้องตอบโจทย์ความต้องการนั้นให้ได้และขายในแพลตฟอร์มที่เหมาะกับแต่ละประเทศ เช่น ในอเมริกาและยุโรปเราก็ร่วมมือกันกับ Amazon ในตลาดจีนเราก็ร่วมมือกับ Alabama Tencent TMALL  ฮ่องกงก็ร่วมมือกับ TMALL Global เราต้องเจาะไปในแต่ละตลาดให้ถูกช่องทาง ในส่วนของตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มีการเติบโตสูง เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา ยังต้องใช้ความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐอยู่และต้องอาศัยกลยุทธ์ในการจัดคณะผู้แทนการค้าเพื่อบุกไปเจาะตลาดเหล่านี้ สุดท้ายคือตลาดที่เราเพิ่งกลับมารื้อฟื้น อย่าง ซาอุดิอาระเบียซึ่งเราเพิ่งกลับมารื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตและกระทรวงพาณิชย์ของเราก็ไม่รอช้ารื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าทันที”

ภารกิจสุดท้ายคือ Services การให้บริการทั้งข้อมูล คำปรึกษา การเชื่อมโยงธุรกิจ ทาง DITP มี สำหรับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพให้ผู้ประกอบเข้าสู่การประกอบธุรกิจระหว่างประเทศโดยการสรรหาองค์ความรู้ที่ได้มาจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลกซึ่งมีทูตพาณิชย์ที่จะนำข้อมูลความต้องการซื้อของลูกค้า พฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศปลายทาง มาพัฒนาเป็นหลักสูตรกว่า 70 หลักสูตรบรรจุไว้เป็น e-learning เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพัฒนาแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการด้วยเช่นกันเพื่อให้ผู้ประกอบการร่วมกันสร้าง Business Plan และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เรื่องสุดท้ายที่ NEA เข้ามามีบทบาทการสร้างกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชื่อมต่อให้ผู้ประกอบการได้เจอผู้ซื้อจริง ซึ่งหากผู้ประกอบการสนใจสามารถไปดูรายละเอียดได้บนเว็บไซต์ของสถาบัน NEA คือ https://nea.ditp.go.th รวมถึง Mobile Application อย่าง DITP ONE ให้บริการสำหรับธุรกิจส่งออกครอบคลุมครบทุกมิติทั้งหมด 13 บริการในหนึ่งเดียว

คุณอารดา เสริมว่าในแง่ของความท้าทายสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEsในการออกไปทำการค้าต่างประเทศ คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

“เรื่องบางเรื่อง กฎหมายบางข้อกินเวลาเกือบ 10 ปีในการเปลี่ยนแปลงแต่โควิด-19 มาเร่งให้เรื่องเหล่านี้เกิดเร็วขึ้นแต่ก็จะเป็นในแง่ของอุปสรรคด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่จีนมีนโยบาย Zero COVID ซึ่งส่งผลให้สินค้าเข้าประเทศเขายากขึ้น สินค้าต้องสะอาดจริงๆ หรืออย่างในยุโรปหรืออเมริกาก็จะมีเรื่องของ Carbon Credit ก่อนหน้านี้ใช้เวลาเกือบ 10 ปีกว่าข้อตกลงปารีสจะเกิดผล แต่พอโลกร้อนขึ้น เผชิญกับวิกฤตอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างรุนแรงเป็นตัวเร่งให้ประเทศคู่ค้าออกกฎระเบียบใหม่จึงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการของเรา เพราะถ้าเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิด การผลิต วิธีการทำธุรกิจให้สอดรับสิ่งเหล่านี้เราก็จะค้าขายกับเขาไม่ได้อีกเลย ส่วนของ DITP ก็เช่นกัน เราต้องปรับตัวให้รวดเร็วและก้าวข้ามกฎระเบียบมาตรฐานที่เราทำการค้าในต่างประเทศ รวมถึงกฏระเบียบของเราเองด้วยเพื่อเท่าทันสถานการณ์โลกและสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้” คุณอารดากล่าวปิดท้าย

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

Normal Shop Lifestyle Shop ที่มุ่งสร้าง Zero Waste Community

Normal Shop

Lifestyle Shop ที่มุ่งสร้าง Zero Waste Community

 

                การทำธุรกิจภายใต้แนวคิด “รักษ์โลก” หรือเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้รับความสนใจมากขึ้น และกลายมาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในมุมของการสร้าง “ความแตกต่าง” (Differentiate) เพื่อสร้างความโดดเด่นภายใต้แนวคิดใหม่ๆ และยิ่งเป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อภาพรวมของสังคม ธุรกิจนั้นๆ ก็จะยิ่งได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก

Normal Shop คือตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจที่มีจุดเด่นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดย Normal Shop เป็นร้านค้าในรูปแบบ “ร้านไลฟ์สไตล์ช้อป” ที่ต้องการสร้างสังคมให้เป็น “Zero Waste Community” จากการลดการทิ้งขยะ ด้วยการสร้างแนวคิดการให้บริการ “รีฟิล” ในกลุ่มของใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ สบู่ แชมพู ครีมนวด น้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า ไปจนถึงน้ำยากทำความสะอาดพื้น โดยให้ลูกค้านำขวดมาเติมผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้ และคิดราคาตามน้ำหนัก ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นสูตรธรรมชาติที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ

ด้วยจุดเด่นดังกล่าว ยังส่งผลให้ MUJI” ซึ่งเป็น Lifestyle Brand รายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นที่มีสาขาหน้าร้านอยู่ในประเทศไทย เกิดความสนใจ และขอเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Normal Shop ในที่สุด

คุณกรวรรณ คันโธ (ต้อง) ผู้ก่อตั้ง Normal Shop: Zero Waste Community กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของแนวคิดการทำร้าน Normal Shop จากความต้องการอยากทำร้านขายของใช้ในชีวิตประจำวันในชุมชนที่มีแนวคิดการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้การลดขยะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง และเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ทุกวัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Normal Shop ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเพื่อน 3 คน ที่มีไลฟ์สไตล์ชอบใช้สินค้าที่สามารถช่วยลดขยะได้ และชื่นชอบผลิตภัณฑ์ทางเลือก เช่น ผลิตภัณฑ์โฮมเมดประเภทต่างๆ

“เป็นความชอบส่วนตัวว่าอยากมีร้านแบบนี้เป็นของตัวเอง เราเคยเห็นไอเดียของร้านค้าประเภทนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยยังไม่ชัดเจนและยังไม่ตอบโจทย์เรา ซึ่งเราอยากทำให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในรูปแบบ Zero Waste เกิดได้ง่ายขึ้น และมองว่า น่าจะมีคนที่มีความสนใจแบบเดียวกันกับเราเพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมา จึงไอเดียในการทำร้านที่ทำให้เกิดการใช้ชีวิตประจำวันในแบบ Zero Waste โดยคัดเลือกสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์แนวโฮมเมดและวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้มีวางจำหน่ายทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้ตลาดของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักและเปิดกว้างมากขึ้น”

เนื่องจาก คุณกรวรรณ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นจึงเริ่มต้นคัดเลือกผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก และเชียงใหม่ได้ชื่อว่ามีแหล่งผลิตสินค้าโฮมเมดคุณภาพดีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ได้มีโอกาสพบกับผู้ผลิตโดยตรง และสามารถคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากตลาดทั่วไปได้ด้วยตัวเอง 

จุดเด่นของ Normal Shop คือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเติม (Refillable Goodies) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดประเภทต่างๆ โดยภายในร้านจะมีมุมเติมน้ำยาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จัดวางเรียงกันและแยกเป็นหมวดหมู่ อาทิ สบู่ แชมพู ครีมนวด น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า ซึ่งลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าจะนำขวดมาเติมน้ำยาที่ต้องการในปริมาณที่ต้องการ และทางร้านจะคิดราคาตามน้ำหนักที่ลูกค้าเติมไป โดยน้ำยาทุกสูตรเป็นสูตรธรรมชาติจากวิสาหกิจชุมชน บางสูตรเป็นการพัฒนาสูตรร่วมกันโดยลดการใช้สารเคมี และปลอดภัยสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายอยู่ภายในร้าน Normal Shop จะคัดเลือกมาจากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจากภูมิภาคต่างๆ และจำหน่ายภายใต้แบรนด์ของวิสาหกิจชุมชนนั้นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม ซิลิโคน และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ กลุ่ม Body Care เช่น เจลอาบน้ำ แชมพูและครีมนวดผม กลุ่ม Household เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาซักชุดกีฬา น้ำยาซักชุดชั้นใน น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น เป็นต้น บางซึ่งบางผลิตภัณฑ์เป็นการพัฒนาสูตรร่วมกัน และมีวางจำหน่ายเฉพาะที่ Normal Shop เท่านั้น

“การผลิตจะผลิตเป็นล็อตไม่ต้องมีบรรจุภัณฑ์ เช่น ลิปสติกที่ส่งมาเป็นก้อนไม่ใช่แท่ง โดยเน้นหลักการการออกแบบที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเมือง หรืออยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก เป็นการทำงานที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย คือ ถ้าหน้าร้านขายดี ทางชุมชนก็จะได้ออเดอร์เพิ่มไปด้วย”

 นอกจากของใช้ประจำวัน ที่ Normal Shop ยังมีสินค้าในกลุ่มผลไม้อบแห้ง เช่น มะม่วง มะละกอ สตรอเบอร์รี่ กลุ่มเครื่องเทศและสมุนไพร เช่น เกลือชมพูป่น เกลือดำป่น ผงอบเชย ข่าฝานอบแห้ง ตะไคร้ซอยอบแห้ง ชุดต้มยำอบแห้ง กลุ่มข้าวและธัญพืช เช่น ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ เมล็ดกาแฟคั่ว เป็นต้น

นอกจากการนำภาชนะมาเติมผลิตภัณฑ์ได้ที่ Normal Shop สาขาถนนนางลิ้นจี่ ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ยังสามารถสั่งสินค้าผ่านช่องทาง LineOA @normalshoprefill  หรืออินบ็อกซ์มาที่ Facebook, Instagram Direct message โดยการจัดส่งทางร้านจะบรรจุสินค้าประเภทของเหลวใส่ภาชนะ Reused ที่ล้างสะอาดแล้ว ส่งให้ลูกค้าในส่วนของการขนส่งทางไกล และบรรจุสินค้าประเภทของแห้งในถุงกระดาษ โดยทางร้านยังมีช่องทางการสื่อสารผ่าน facebook.com/NormalshopRefill

ด้วยพื้นฐานความรู้ของการเป็นนักออกแบบ คุณกรวรรณ ได้ออกแบบ Normal Shop ให้ภาพรวมของร้านสะท้อนความเป็นโปรเฟสชันนอล ขณะเดียวกันก็สร้างความประทับใจด้วยบรรยากาศที่ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นน่ารัก เข้ามาในร้านแล้วรู้สึกสบายใจ เป็นกันเอง มองดูภายนอกอาจคิดว่าเป็นร้านกาแฟ แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็จะเกิดการรับรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและเปิดใจรับข้อมูลข่าวสาร ทำให้คนที่ไม่เคยสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนมาให้ความสนใจมากขึ้น 

                อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับ Zero Waste เป็นแนวทางการสื่อสารที่โดดเด่นและองค์กรขนาดใหญ่ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้แนวคิดการสร้าง Zero Waste Community เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น จึงมีแผนจะปรับ Business Model ไปสู่รูปแบบการเป็น “สตาร์ทอัพ” โดยจะลดบทบาทการขายปลีกที่หน้าร้านให้น้อยลง โดยเน้นการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ เช่น การส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายใน MUJI และเพิ่ม Product Line ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายอยู่ใน MUJI เป็นจำนวน 16 รายการ

“ตลอดระยะเวลาที่เราทำตลาดภายใต้แนวคิด Zero Waste มานานกว่า 4 ปี จนถึงวันนี้ผู้คนเริ่มรับรู้กับแนวคิดนี้กันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมา เราการเน้นขายปลีกหน้าร้านมากเกินไป ทำให้การช่วยเหลือชุมชนทำได้ไม่เต็มที่นัก เราจึงอยากปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิดเริ่มแรกของการก่อตั้ง Normal Shop ขึ้นมา จากที่เคยมีแนวคิดของการเป็นร้านม็อกอัพเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นถึงแนวคิดในความเป็น Zero Waste ดังกล่าว และหลังการปรับโมเดลจะมีการพูดคุยกับคู่ค้ามากขึ้นเพื่อการนำเสนอคอนเทนท์ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการทำตลาดในช่องทางอีคอมเมิร์ชมากขึ้นอีกด้วย”

ภายใต้ Business Model ใหม่ จะมีแผนงานใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง คือ 1) การพัฒนาแพลตฟอร์มในรูปแบบ Marketplace เพื่อเป็นช่องทางการพบปะกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เช่น LINE OA ซึ่งเป็นช่องทางที่มีกลุ่มลูกค้าและสมาชิกของร้านจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มสายแข็งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว 2) การให้บริการในฐานะที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult) สำหรับองค์กรที่สนใจแนว Zero Waste เพื่อทำให้องค์กรนั้นๆ สามารถวางแผนงานได้ง่ายยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถสร้างการเติบโตให้กับ Normal Shop ได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีบริการวางระบบหน้าร้านให้กับร้านเล็กๆ ที่ต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเติม (Refillable Goodies) ซึ่งปัจจุบัน Normal Shop ยังมีลูกค้าที่เป็นร้านค้าในลักษณะคอนเซ็ปต์เดียวกันกับ MUJI อีกหลายแห่ง คือ ที่จังหวัดนครปฐม เชียงใหม่ ภูเก็ต และชลบุรี โดยภายในร้านจะมีมุมที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเติมโดยเฉพาะ รวมถึงการเดินหน้าสร้าง Zero Waste Community ผ่านการทำ Content เพื่อการสื่อสารในวงกว้าง และในอนาคตจะพัฒนาไปสู่การรับทำแคมเปญการสื่อสารสำหรับธุรกิจที่มีแนวคิดเรื่อง Zero Waste เหมือนกัน

คุณกรวรรณ ย้ำว่า การปรับตัวครั้งนี้ จะส่งผลต่อรูปแบบการสร้างรายได้ที่เปลี่ยนไป จากเดิมเป็นการสร้างรายได้จากการเป็นร้านค้าปลีกแบบการซื้อมาขายไป ไปสู่การสร้างรายได้จากการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ และรายได้ที่มาจากการเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาโปรเจ็กต์เพื่อขอทุนสนับสนุนในรูปแบบสตาร์ทอัพ

            “ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีองค์กรที่ทำเกี่ยวกับเรื่องรีฟิลอย่างชัดเจน จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพราะเรามีข้อมูลอยู่ในมือแล้ว ดังนั้นเป้าหมายต่อไปหลังการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจไปเป็นสตาร์ทอัพ เราก็จะมีการสร้างเครือข่ายภายใต้แนวคิด Zero Waste Community ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภคก็มีการยอมรับกับแนวคิดนี้กันมากขึ้น วันนี้เราจึงต้องมีการปรับแนวทางธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับการวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนยุคใหม่ให้มากขึ้นด้วย ทำให้รู้สึกว่าเรื่องของ Zero Waste ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด” คุณกรวรรณ กล่าว 

 

               

บทความแนะนำ