อย.ปรับรูปแบบการทำงานให้บริการแบบ One Stop พร้อมเป็นเบื้องหลังผลักดัน SME ให้ไปได้ไกลกว่าเดิม

อย.ปรับรูปแบบการทำงานให้บริการแบบ One Stop พร้อมเป็นเบื้องหลังผลักดัน SME ให้ไปได้ไกลกว่าเดิม

เนื่องจากผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือน มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปสู่มือผู้บริโภคทั่วประเทศ รวมถึงขายผ่านช่องทางออนไลน์ จำเป็นต้องมีการควบคุมกำกับดูแลภายใต้กฎหมายและหลักเกณฑ์ตามที่สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา อย. ได้มีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยไม่เพียงแต่มีบทบาทในการกำกับดูแลตามกฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและเข้าใจกฎเกณฑ์การได้รับอนุญาต อย. เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และผู้บริโภคปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน อย. โดยจัดตั้ง “กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น” ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2545 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้มีคุณภาพและความปลอดภัย และเป็นศูนย์ประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก  ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise : ME) เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพของตัวเอง และได้รับการอนุญาตจาก อย. ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและต้นทุนการดำเนินธุรกิจ 

เภสัชกร ดร.สุชาติ จองประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภทมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน กองฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและเชื่อมโยงประสานงาน ให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบต่างๆ ไปยังผู้ประกอบการชุมชน เช่น ปี 2566 นี้ ได้จัดโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ขณะนี้ได้อบรมหลักสูตรพื้นฐานไปแล้วจำนวน 4 ครั้ง ผ่านช่องทางออนไลน์ จากจำนวนที่วางแผนทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยสรรหาวิทยากรจากกองที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ มาให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการอนุมัติอนุญาต ไปจนถึงหลักสูตรเข้มข้น ให้ครอบคลุมผู้ประกอบการชุมชนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงขึ้น

“ในระหว่างทาง เราพยายามเจาะไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้มาเข้าหลักสูตรฝึกอบรม หรือผู้ประกอบการที่มีองค์ความรู้ระดับหนึ่งแล้วต้องการพัฒนาก้าวต่อไปให้สูงขึ้นอีกขั้น เราก็แนะนำให้ไปหลักสูตรเข้มข้น ซึ่งเราทำงานร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และจับมือกับภาคีเครือข่าย อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เครือข่ายโอทอปเทรดเดอร์ และมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ  ให้ความรู้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สุขภาพหลัก ๆ และที่คาดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมเริ่มต้นผลิตก่อน เช่น ขายผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเราได้ให้ความรู้เบื้องต้น เช่น  หากผู้ประกอบการทำอาหารขายโดยตรงต่อผู้บริโภคที่หน้าบ้านก็ไม่ต้องขออนุญาต อย. แต่ถ้าต้องการส่งไปขายนอกสถานที่หรือทั่วประเทศ หรือขายออนไลน์ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเพื่อสุขอนามัยที่ดีอย่างเคร่งครัด

ในบางกรณีต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตก่อนจึงจะเริ่มผลิตได้ตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งอาจใช้เวลาพิจารณาอนุญาตและประเมินสถานที่ผลิตประมาณ 1-2 เดือน ขึ้นกับระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องตามคู่มือการให้บริการประชาชน สำหรับเลขสารบบอาหารจะใช้ระยะเวลาไม่นาน มีขั้นตอน ไม่ยากสามารถขอออนไลน์ผ่านระบบการยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Submission) ได้ ทั้งนี้ ส่วนที่สำคัญ คือ จะต้องแสดงฉลากและโฆษณาให้ถูกต้องและข้อมูลครบถ้วนตรงตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนภาชนะบรรจุต้องเหมาะสมช่วยยืดอายุและรักษาสภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อปกป้องผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดความปลอดภัย”

ในส่วนการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ประชาชน อย. ได้เปิดศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One stop service center : OSSC) สำหรับผู้มาติดต่อรับบริการและมีที่ตั้งอยู่ใน อย. ส่วนกลาง และ สสจ. ทุกจังหวัด ให้บริการเกี่ยวกับการยื่นคำขอและใบอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประชาชนสามารถขอรับคำปรึกษา คำแนะนำ รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว มีขั้นตอนกระชับและสามารถติดต่อได้ ณ จุดเดียว ซึ่งในอนาคตได้มีการตั้งเป้าลดขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต ฯ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรับลดระยะเวลาการพิจารณาให้สั้นลง  

การยกระดับการให้บริการผู้ประกอบการ SME อย. ได้จัดช่องทางพิเศษ SME Fast Lane ภายใต้บูรณาการร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบ One Stop Service ไปเมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังได้ประสานงานกับ สสจ.ในการเปิด SME Fast Lane เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างจังหวัด อีกทางหนึ่งได้เป็นตัวกลางให้คำแนะนำและชี้ช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุนเพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ประกอบการ SME อาทิ SME D Bank เพื่อเข้าถึงแหล่งทุน หรือพาณิชย์จังหวัด ในการเพิ่มโอกาสทางการตลาด รวมถึงสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน อาทิ เครือข่าย OTOP Trader และเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีหน่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการ SME

เภสัชกร ดร.สุชาติ จองประเสริฐ กล่าวถึงเป้าหมายการทำงานในปีนี้ว่า ได้วางเป้าหมายตัวชี้วัด คือ จำนวนผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการส่งเสริม ให้การช่วยเหลือ และได้รับการอนุญาตต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทั้งหมด 970 รายการ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1,600 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีการพิจารณาอนุญาตไปแล้ว 700 รายการ คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ภายในสิ้นปีนี้  ตัวชี้วัดนี้จึงแสดงให้เห็นว่า อย. ไม่ได้แค่ให้ความรู้ แต่ยังมีการวัดผลความสำเร็จในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

“ปีหน้าได้วางแผนการทำงานที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพใดมีปัญหา หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพใดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้จำนวนมาก เพื่อโฟกัสการสนับสนุนได้อย่างถูกจุด รวมถึงทำงานเชิงรุก เจาะกลุ่มไปยังผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพ ด้วยการผลักดันให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศต่อไป”

สำหรับผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงช่องทางการให้บริการ อย. ได้หลากหลายช่องทางผ่านศูนย์บริการสุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) ทั้งแบบวอล์คอินและทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง SME Fast Lane ได้ที่ อย. และ สสจ. ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ในกรณีที่ สสจ. ไม่สามารถดำเนินการได้เอง จะประสานงานมายัง อย. เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการร่วมกัน จึงขอให้ผู้ประกอบการ SME มีความเชื่อมั่นว่า อย. พร้อมสนับสนุน และช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อให้ SME ของไทยก้าวไกลไม่หยุดยั้ง

 

บทความแนะนำ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์แห่งชาติ ได้แก่

1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ

3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี

5. ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) - มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศ

เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ SME ได้ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเฉพาะทางในการสนับสนุนนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการได้ในทุกอุตสาหกรรม ให้กลุ่มผู้ประกอบการมีความเข้มแข็ง และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้

บริการจากทางหน่วยงาน
 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการจากทาง สวทช. ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ทาง สวทช. จึงได้เปิดช่องทางให้บริการรูปแบบใหม่ ในชื่อ 3X ประกอบด้วย

1. Connex – เป็น One-Stop Solution ที่จะเชื่อมต่อผู้ประกอบการ เข้ากับทุกบริการจาก สวทช. ตั้งแต่ที่ปรึกษา, การให้บริการข้อมูล ไปจนถึงการบ่มเพาะธุรกิจ เรียกได้ว่า หิ้วกระเป๋าเข้ามาที่ Connex ก็สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างสะดวกสบาย

2. TD-X - เป็นศูนย์พัฒนาต้นแบบรวดเร็ว ที่จะให้บริการด้านการผลิตขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงการทดสอบคุณสมบัติ การใช้งานจริง ไปจนถึงการทดสอบตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้น ๆ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ทีมออกแบบ และทีมเชื่อมโยงระบบวิศวกรรม อยู่เคียงข้างให้กับผู้ประกอบการ

3. INNO-X – พื้นที่สำหรับรองรับผู้ประกอบการรายย่อย ที่ยังไม่พร้อมจะมีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ สามารถเข้ามาใช้บริการพื้นที่สำนักงาน เพื่อจดทะเบียนบริษัท และใช้พื้นที่นี้ในการรับรองลูกค้า เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าได้ ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับการพัฒนาธุรกิจ เพราะแวดล้อมไปด้วยระบบนิเวศของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเหล่าผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดในการทำงานต่าง ๆ กันได้

สวทช. เข้าใจทุกปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ให้ 3X เป็นเพื่อนร่วมเดินทางสร้างนวัตกรรมไปกับคุณ ธุรกิจนวัตกรรมจะเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น สวทช. ยังมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการให้บริการนี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ ผู้ประกอบการจะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้


ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่อยู่: 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์: 0-2564-7000

โทรสาร: 0-2564-7001

Call Center: 0-2564-8000

อีเมล: info@nstda.or.th

เว็บไซต์ : www.nstda.or.th

Facebook: NSTDATHAILAND

YouTube: NSTDAChannel TVstation

Line Official: @NSTDA

 

 

บทความแนะนำ

SME SPEED UP เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด

May be an image of 1 person, phone and text that says "SME E สินเชื่อ SME Speed Up เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ติบโตแบบก้าวกระโดด ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน กับ SME Bank จุดเด่น เปิดกว้าง กู้ได้ทั้งบุคคล ธรรมดา และนิติบุคคล ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และการท่องเที่ยว � ระยะเวลามากเพียงพอที่จะ วางแผน บริหารจัดการต้นทุน วงเงินและระยะเวลากู้ วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท � อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6% หรือ MLR-1.25% :) ผ่อนชำระนานสูงสุด 12ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน"

 

📌 SME SPEED UP เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 💸 สินเชื่อนี้น่าสนใจอย่างไร? ติดตามได้เลย!!

 

🟢 จุดเด่น
 เปิดกว้างให้กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
 ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการผลิต ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจการท่องเที่ยว
 ระยะเวลามากเพียงพอที่จะวางแผนบริหารจัดการต้นทุนและธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

 

🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
 วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท
 อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6% หรือ MLR-1.25%
 ผ่อนชำระนานสูงสุด 12 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน

 

* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 

👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่
https://www.smebank.co.th/loan/smespeedup/

ขอขอบคุณข้อมูลจาก SME BANK

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สินเชื่อSME #SMESpeedUp

บทความแนะนำ

ติดปีกให้ธุรกิจบินต่อได้ไกล ลูกค้าแอปฯ ถุงเงิน กู้เลยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก

May be an image of text

 

💸💸 ติดปีกให้ธุรกิจบินต่อได้ไกล ลูกค้าแอปฯ ถุงเงิน กู้เลยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก!! ไม่ต้องใช้หลักประกัน วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท

สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก สินเชื่อธุรกิจ sme ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะสำหรับร้านค้ารายย่อย พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเงินลงทุนเพื่อขยายร้าน

เติมสต็อก เปิดร้านสาขาใหม่ หรือเพิ่มเงินหมุนเวียนในธุรกิจ

 

🟢 จุดเด่น
 แค่ใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทย ขายของบนระบบ POS หรือขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee
 กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท (บสย. ค้ำประกัน)
 ดอกเบี้ยต่ำสุด MRR% ต่อปี

 

🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
 วงเงินรวมสูงสุด 20 ล้านบาท (ในกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน)
 ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี

 

 

* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

 

👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ https://krungthai.com/th/content/sme/loan/smart-shop

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก krungthai

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สินเชื่อSME #สินเชื่อกรุงไทย



 
 

บทความแนะนำ

Papacraft งานฝีมือที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

Papacraft งานฝีมือที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

 

      Papacraft เป็นแบรนด์เครื่องหนัง – เครื่องประดับที่มีต้นกำเนิดมาจากความฝันของคุณช้าง - ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล กับคุณขวัญ - ต้นฝน ตั้งมหาสถิตกุล ลูกชายที่อยากจะสร้างตราสินค้าโดยอาศัยความชำนาญของตัวเอง คือ “ช่างหนัง” คุณประสิทธิ์ เล่าให้ฟังว่า ความฝันของตนเองคือ อยากเป็น Craft Man หรือช่างฝีมือที่ออกแบบชิ้นงานจากจินตนาการ โดยมีร้าน หรือแกลเลอรี่เล็กๆ ควบคู่กับงานแปลที่ทำอยู่ แต่ลูกชายซึ่งเห็นความตั้งใจในการทำเครื่องหนังด้วยความปราณีตทุกชิ้นมาตั้งแต่เล็กๆ กลับมีความฝันไกลกว่านั้น คือเขาอยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ทั้งหมดนี้คือที่มาของ Papacraft แบรนด์เครื่องหนังทำมือที่เกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวของคน 2 เจนเนอเรชั่น

SME ONE : จุดเริ่มต้นของ Papacraft เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ประสิทธิ์ : Papacraft เริ่มต้นจากตัวผมเองที่ชอบทำงานเครื่องหนัง แล้วก็ทำมาเป็นงานอดิเรกมานาน จนกระทั่งเมื่อ 6 ปีที่แล้วจึงเริ่มทำเป็นจริงเป็นจังด้วยแรงเชียร์ของลูกชายที่อยากทำแบรนด์ ซึ่งตัวผมเองก็ไม่เคยทำแบรนด์มาก่อน  ก่อนที่จะทำ Papacraft ผมเคยทำกำไร เครื่องประดับ แล้วเรามองเห็นว่ามันน่าจะไปได้ ก็เลยลองส่งไปที่ TCDC ให้พิจารณา จนได้ขายที่ตลาด Creative Market ซึ่งผลตอบรับที่ได้กลับมาก็ดีเกินคาด เลยมองเห็นว่าเป็นไปได้ และน่าที่จะไปต่อได้ ก็เลยเริ่มต้นจากตรงนั้น ตอนนี้ก็ครบ 5 ปีแล้วที่ผมย้ายมาที่ลำปาง มาเปิดแกลลอรีที่กาดกองต้าเป็นคาเฟ่ บวกแกลลอรี 

ถามเรื่องแรงบันดาลใจ จริงๆ แรงบันดาลใจมันเป็น Passion ส่วนตัวของเรา นั่นคือยังมีสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ แล้วเรายังไม่ได้ทำ ก่อนที่ผมจะมาทำแบรนด์ Papacraft ผมเป็นนักแปล ก็เป็นงานที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ผมได้รางวัลนักแปลดีเด่นเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว แต่มันก็มีหลายอย่างที่เราอยากทำ งาน Craft งานฝีมือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจเรามาตลอด ประจวบกับเวลาที่เราเห็นดีไซน์ที่เราทำ เราก็รู้สึกว่าเราพอใจ มันสะท้อนตัวตนเราได้ชัดเจน ทีนี้พอเราทำนอกจากมันเป็น Passion ส่วนตัว มันก็กลายมาเป็น Passion ของครอบครัวด้วย ลูกชายก็มาช่วยทำ เราก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจที่เราสามารถสร้างเงินได้ 

SME ONE : ชื่อแบรนด์ Papacraft มาจากอะไร

ประสิทธิ์ : มาจาก Papa + Craft ตรงตัวเลย Papacraft คืองานฝีมือของพ่อนั่นแหละ จริงๆ ผมตั้งไว้หลายชื่อแต่ชื่อนี้ดูน่ารักที่สุด และบ่งบอกความเป็นธุรกิจของครอบครัว ตัวตนของ Papacraft ดีไซน์ทุกอย่างเราเป็นคนดีไซน์เอง แต่ตอนหลังด้วยเทคนิคของผมมันก็ไปแตกไลน์แตกหน่ออะไรใหม่ๆ ประกอบกับลูกชายที่ทำงานด้วยกันเขาก็จบด้านดีไซน์มา ก็เข้ามาสานต่อในงานดีไซน์ของผมและทำให้มันสวยงามขึ้น เข้ากับตลาดมากขึ้น แรกเริ่มเดิมทีของผมที่ทำ ผมไม่ได้ดูตลาดเลย ผมไม่ได้สนใจว่ามีกลุ่มเป้าหมาย หรือมีความต้องการของตลาดหรือไม่ หลังจากนั้นลูกชายที่มาสานต่อก็มองในเรื่องของการตลาด มองความสวยงามทางด้านศิลปะด้วย ก็คือต้องไปด้วยกัน แล้วก็มาดีไซน์ให้เรา เรื่องเทคนิคต่างๆ เรื่องความประณีตของกระบวนการผลิตและอีกหลายอย่างที่เขาดูแล ตอนนี้ตัวผมก็นานๆ ทีจะดีไซน์แบบใหม่ๆ ขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเป็นลูกชายดูแลแล้ว 


SME ONE : ความต่างระหว่าง 2 เจนเนอเรชั่นเป็นปัญหาในการทำงานบ้างหรือไม่ 

ประสิทธิ์ : ต้องบอกว่า Papacraft ยังไม่ใช่เป็นการสานต่อธุรกิจ ถ้าเป็นกรณีทั่วไปที่พ่อทำมาระยะหนึ่งจนสำเร็จแล้วลูกเรียนจบก็มาสานต่อก็อาจจะมีโอกาสเกิดปัญหา แต่อันนี้ไม่ใช่สานต่อ แต่ต้องเรียกว่าเราเริ่มมาด้วยกัน เพราะในขณะที่ธุรกิจเริ่มต้นไปได้สัก 1-2 ปี ลูกก็เข้ามาช่วยก็ถือว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเลย การที่ Papacraft เป็นที่รู้จักได้ ถ้าไม่มีลูกชายก็เป็นไปไม่ได้เลย

ส่วนเรื่อง Generation Gap ที่ว่าเรื่องยุคสมัยของอาป๊า อากงที่ทำมา เขาทำธุรกิจมาแบบหนึ่ง แล้วทีนี้ลูกชายไปเรียนมา เขาทำธุรกิจในแนวทางของธุรกิจสมัยใหม่ มันจะเกิดปัญหาในหลายๆ ครอบครัวเลยแหละ แต่สำหรับผมไม่มี อย่างที่บอกเพราะเราเริ่มต้นมาด้วยกัน เราค่อนข้างคุยไปในทิศทางเดียวกัน มันอาจจะมีประสบการณ์ส่วนตัวที่แชร์เข้าไป แต่ผมไม่ได้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเลย เพราะฉะนั้นด้านธุรกิจเราถือว่าเราเริ่มต้นจากศูนย์มาด้วยกัน ส่วนเรื่องดีไซน์อะไรต่างๆ ก็มีบ้างที่อาจจะมองกันคนละทาง แต่สุดท้ายก็มาเจอกันจนได้ 

SME ONE : วันที่กลับมาทำธุรกิจเต็มตัวอีกครั้ง มองเห็นโอกาสทางธุรกิจอย่างไร

ประสิทธิ์ : ตอนเริ่มต้นผมไม่มั่นใจว่าบุปผากำลัย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ผมบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกงานเครื่องประดับจากหนังฟอกฝาดที่ผมออกแบบเอง มาจาก บุปผา + กำไล + มาลัย จะตอบโจทย์ทางการตลาดหรือไม่ แต่การออกร้านครั้งแรกในงาน Bangkok Design Week 2018 ทำให้เรามั่นใจ และมองเห็นโอกาสทางธุรกิจว่างานออกแบบจากจินตนาการของเราสามารถสร้างเป็นธุรกิจได้ ก่อน COVID-19 ผมไปขายในตลาด ไปลุยตลาดท่องเที่ยวเชียงใหม่เองเลย แล้วเราก็พบว่าสินค้าของเรามันดึงดูดนักท่องเที่ยว เราเองก็ทึ่งอยู่เหมือนกัน ชาวจีนหรือฝรั่งส่วนใหญ่จะหยุดแล้วก็ซื้อ เราก็ทึ่ง เราก็มองเห็นว่ามันมีโอกาสที่จะส่งออกได้แน่นอน ในตอนนั้นก็เริ่มมีออเดอร์บ้าง แต่ไม่ได้มากมายอะไร แต่ก็เรียกว่าเริ่มต้นธุรกิจแล้ว แต่ COVID-19 ก็เข้ามาขัดจังหวะเสียก่อน  ตอนช่วง COVID-19 เราก็เลยต้องถอยเพราะไม่รู้จะไปขายที่ไหน ช่องทางทุกอย่างปิดหมดเลย ช่วง COVID-19 เราจึงต้องมาทำคาเฟ่ แล้วก็เริ่มสร้าง Personality ในโลกโซเชียลตั้งแต่ตอนนั้น


SME ONE : อยากให้อธิบายแนวคิดและการต่อยอดเทคนิคการดีไซน์ที่ส่งผลต่อการสร้างโอกาสทางการตลาด ใหม่ๆ

ประสิทธิ์ : Papacraft มีไอเดียที่เราคิดมาตั้งแต่ต้นก่อนจะมี BCG Model หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ขับเคลื่อนกันในปัจจุบัน คือการใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดในกระบวนการผลิตของเรา และการนำวัสดุมาหมุนเวียน ซึ่งตอนนี้เราเริ่มทำสำเร็จแล้ว โดยนำนมที่หมดอายุมาสกัดโปรตีน และผสมแป้ง จนได้วัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งที่คล้ายเซรามิค สามารถนำมาปั้น และประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบุปผากำลัย  ผลงานการค้นพบนี้เป็นงานวิจัยที่เราทำร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

ที่มาที่ไปของโครงการนี้มาจากเราเห็นปัญหาของเราว่า แบบบางอันเราไม่ชอบ แต่เราไม่รู้จะใช้วัสดุอะไรอย่างเช่น พวกสีมันก็เป็นสีย้อมหนังซึ่งก็เป็นสีเคมี เราสัมผัสเราก็ไม่ชอบแต่เราก็ไม่มีทางเลือก ก็คิดมาอยู่ตลอด แต่ในส่วนของวัสดุของหนัง ผมเลือกหนังฟอกฝาน เพราะเป็นวัสดุที่ใกล้กับธรรมชาติจริงๆ ต้องเล่าก่อนว่ากระบวนการฟอกฝานเป็นกระบวนการฟอกหนังที่มีมาแต่ดั้งเดิม เหมือนพวกอินเดียนเขาก็ใช้การฟอกอะไรแบบนี้ คล้ายๆ กัน คือการลอกขนออกด้วยปูนขาว แล้วก็ใช้พวกแทนนินที่เรียกว่าฝาน ซึ่งเป็นพวกเปลือกไม้ฟอกสีให้มันขาว อันนี้จะเป็นวัสดุธรรมชาติ เราไปดูกระบวนการที่โรงงานแล้ว การควบคุมอะไรต่างๆ ของโรงงานก็ทำได้ดี อันนี้เราไว้ใจได้ ถ้าเทียบกับหนังที่ผ่านกระบวนการต่างๆ แบบที่ลดต้นทุน หนังฟอกฝานมันดีกว่ามาก ทำให้เราสร้างสรรค์งานได้เยอะ มันไม่ใช่หนังสำเร็จที่เราเล่นอะไรกับมันไม่ได้ ตอนที่เริ่มทำ เราคิดค้นเทคนิคการทำสี ทำ Texture ทำอะไรต่างๆ ด้วยตัวเอง อย่างเช่น ชุด Woven Brass เราเอาทองเหลืองมาร้อยแล้วทำให้ Texture มันคล้ายๆ กับงานสานของแบบไทยๆ หรือเอเชีย

ยังมีหลายเทคนิคที่เราคิดค้นขึ้นเอง ซึ่งถ้าเป็นกับหนังอื่นที่ทำสำเร็จ หนังออยล์อะไรแบบนี้ เราจะไม่สามารถสร้างสรรค์งานได้ อันนี้คือเรื่องของวัสดุ ซึ่งก็เป็น BCG Modelยอมรับว่าโลกยุคนี้เป็นโลกยุคสมัยใหม่ การใช้หนังสัตว์ก็มีส่วนทำลายธรรมชาติ แต่เรายังไม่สามารถหาวัสดุมาทดแทนหนังที่มันดีกว่าตรงนี้ได้ ส่วนเรื่องสีเราทดลองมาระยะหนึ่งแล้ว เราลองใช้สีอื่นๆ เช่น สีย้อมผ้า เมืองลำปางเราส่งออกครั่ง ครั่งเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่แล้ว เราทดลองเราครั่งมาย้อมปรากฏว่าก็ย้อมติดและติดทนด้วย อันนี้ก็เป็นอีกโครงการที่เรากำลังจะทำ แต่มันเป็นช่วงของการเริ่มต้น แล้วสีครั่งที่เราได้มา ย้อมลงบนหนัง มันยังไม่สวยถูกใจ ตอนนี้ยังเทียบกันไม่ได้กับสีเคมี แต่ตอนนี้เราก็พยายามหาส่วนผสมที่จะทำให้สีสดขึ้น นอกจากนี้ก็มีคราม เราก็ทดลองทำครามเปียก แต่ครามที่เราทดลองอยู่มันใกล้เคียงธรรมชาติมาก อันนี้ก็อยู่ในช่วงทดลอง อยู่ระหว่างการพัฒนา


SME ONE : ช่วงที่เริ่มต้นทำธุรกิจกับปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด

ประสิทธิ์ : ปัจจุบันเรามีร้านกาแฟ เพิ่มขึ้นมา ร้านกาแฟเดิมทีเราไปขายเชียงใหม่ เราพบว่ากลุ่มเป้าหมาย 70% ของเราเป็นคนจีน ที่เหลือคือคนไทย เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่ง ตรงนั้นเรามั่นใจเลยว่าเป็น Target หลักของเรา แต่ว่าช่วง 3 ปีที่เจอ COVID-19 เราขายน้อยลง ซึ่งยังดีที่เรามีธุรกิจร้านกาแฟมาช่วยประคอง สิ่งที่ Papacraft แตกหน่อออกไปก็คือ เราทำแกลเลอรีให้เป็นพื้นที่จำหน่ายให้กับงานคราฟต์ในลำปาง นี่คือจุดหนึ่งที่เราแปลงร้านเป็นพื้นที่จำหน่ายที่สร้างรายได้ให้กับคนทำงานคราฟต์ในลำปางหลายแบรนด์ แล้วก็มีการแตกไปทำงานรวมกลุ่มกับคนงานคราฟต์ในลำปาง แต่ช่วงนี้ก็เงียบๆ ไปหน่อย เพราะหลังช่วง COVID-19 ตลาดเปิดแต่ประเทศไม่เปิด หลายๆ คนก็ทำมาหากินได้ และมีที่ทางของตัวเองแล้ว คนที่ทำงานคราฟต์ คนที่ทำงานอิสระหลายๆ คนก็เกิดจากการรวมกลุ่มตรงนี้ แล้วก็มีที่ทางของตัวเองแล้ว


นอกจากนี้เรามีจัดกิจกรรม Workshop เล็กๆ บ้าง แต่ว่ายังไม่ได้ชูเป็นเรื่องหลัก จริงๆ Workshop เราจัดมาตลอด แล้วเรามีจัดกิจกรรมอีเวนท์ในบ้านด้วย ในช่วง COVID-19 เราจัดหมุนเวียนกันไป มีหลายๆ Workshop แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้เต็มที่ เพราะเราไม่ได้จ้างคน แรงงานเราน้อย เดิมทีผมต้องทำทุกอย่าง เป็นคนผลิตงานเองด้วย เพื่อที่เราจะได้ช่วยให้คนที่ทำงานคราฟต์มีที่ทาง เราก็เปิดตัวด้วยการทำ Workshop ช่วงหลังก็เลยหยุดไป แต่เราเพิ่งจะคุยกันไม่กี่วันนี้เองว่ากำลังจะมีทัวร์จีนมา ถ้ามีในลักษณะแบบนี้เราก็พอจัดให้ได้ ก็จะกลับมาทำใหม่ โดยเฉพาะ Workshop เครื่องหนังของเรา กำลังเซ็ตอยู่ว่าเราจะทำอะไรบ้าง

ต้องบอกตรงๆ ว่าปกติถ้าทำ Workshop เลยเราไม่มีเวลาจริงๆ แต่ถ้าเป็นกลุ่มชาวต่างชาติมาแล้วเขาต้องการจริงๆ เราก็สอนให้ได้ แต่เราไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวต่างชาตินะ เป็นคนไทยก็ได้ ถ้าอยากได้วิชาจริงๆ แล้วมาคุยกับเรา เราก็เปิดให้ได้ เพียงแต่ว่าช่วงก่อนที่เปิดมาแล้วมันเงียบ ตอนนั้นความต้องการตลาดตรงนี้มันยังน้อย แต่ถ้ามีการประสานงานกับกรุ๊ปทัวร์ แล้วมีทัวร์มาลงแบบนี้ก็คุ้มค่าในการจัด


SME ONE : Papacraft มีแผนงานที่จะต่อยอดธุรกิจอย่างไรในอนาคต

ประสิทธิ์ :  ในมุมมองของผม Papacraft ยังถือว่าไม่ได้ไปถึงจุดนั้น Papacraft ยังเป็นแค่แบรนด์เล็กๆ ที่เริ่มมีฐานลูกค้า และเริ่มเป็นที่รู้จักบ้างเท่านั้นเอง ก้าวต่อจากนี้ไป เราพยายามพัฒนาดีไซน์ผลิตภัณฑ์ ตามโมเดลของการช่วยบรรเทาวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก โดยไม่ให้สูญเสียอัตลักษณ์ของแบรนด์ และจะมุ่งโฟกัสไปที่การตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ตอนนี้เราพยายามจะทำการตลาดออนไลน์ให้แข็งแรงขึ้น เราก็ลองผิดลองถูกมาพอสมควร ถึงอย่างไรเราก็ต้องพึ่งพาตลาดออนไลน์ เพราะตอนนี้ Papacraft อยู่ได้ด้วยงานอีเวนท์ และแพลตฟอร์มที่เอาของเราไปขายมี Consignment ฝากขายในประเทศก็มีหลายเจ้าติดต่อมาแล้ว ระยะใกล้ๆ นี้เราต้องการทำออนไลน์ให้แข็งแรง ส่วนระยะยาวเรามี Design Product ที่อยู่ในลิสต์ของเราค่อนข้างเยอะ แต่ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป Papacraft ยังสามารถแตกไลน์ไปได้อีก

Papacraft เป็นงานคราฟต์ ผมอยากรักษาเสน่ห์ของมันเอาไว้คือ ทำมือ แต่งานที่ทำมือต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ามันโตช้า โตยาก ในต่างประเทศก็อยู่ยากเหมือนกัน ถ้าทำเลหรือสถานที่ไม่อำนวยก็อยู่ยาก ถ้าศิลปินมีร้านส่งอะไรเองมันก็ได้ แต่ของบ้านเรามันไม่ได้พร้อมขนาดนั้น ตอนนี้ผมพยายามจะทำอยู่ อย่างน้อยในลำปางก็มีที่จำหน่ายให้กับพวกศิลปินซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้น ในส่วนของงานคราฟต์ที่ทำอาจจะโตไปเลี้ยงลูกน้องได้ประมาณ 4-5 คนที่มาทำงานกับเรา ตอนนี้หลัง COVID-19 เราเริ่มจ้างคนเพิ่ม เราอยากโตไปโดยที่ยังสามารถรักษาเสน่ห์ของงานคราฟต์ได้ทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องดีไซน์ก็มองไปในอนาคตว่าอาจจะต้องพึ่งระบบกึ่งอุตสาหกรรม เราก็มองว่าจะทำยังไงที่จะผสมผสานระหว่างงานพื้นบ้านมาผสมกับงานโรงงานแล้วสามารถที่จะทำตลาดได้ ตรงนั้นก็เป็นเรื่องที่คิดอยู่ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป


SME ONE : Papacraft อยากไปขายในแพลตฟอร์มที่นิยมในประเทศจีน เช่น AliExpress, Alibaba,  Taobao บ้างหรือไม่

ประสิทธิ์ : ตอนนี้มีคนติดต่อมาแล้ว เป็นคนฮ่องกงติดต่อมากำลังคุยกันอยู่ ส่วนแพลตฟอร์มงานคราฟต์เราก็ทำอยู่ ใน Etsy แต่ก็ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เรื่องของการทำออนไลน์ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย พอเราเข้ามาทำเอง รู้เลยมันไม่ง่าย แต่เราก็มองว่าอาจจะเป็นเพราะเรายังทำไม่สุดทาง ความท้าทายของเราตอนนี้ คือการทำตลาดออนไลน์  เพราะตลาดออนไลน์แต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก บางทีข้ามปีไปแพลตฟอร์มใหม่มาอีกแล้ว อันเก่ายังไม่ได้ทำเลย ต้องยอมรับว่าในขณะที่เราสร้างชื่อแบรนด์ เราต้องพึ่งตลาดออนไลน์ด้วย จนกว่าจะถึงระดับที่คนมาหาเราแล้วเราอยู่ได้ มันก็ต้องมีช่องทางจำหน่ายอื่นๆ เข้ามาเสริม อันนี้คือความท้าทายจริงๆ และคิดว่าน่าจะท้าทายไปอีกระยะหนึ่งเลย 

SME ONE : อยากให้ฝากคำแนะนำกับผู้ประกอบการ SME

ประสิทธิ์ : การทำธุรกิจ และการตลาด ในยุคนี้เรามีเครื่องมือดิจิทัล มี AI มาช่วยงานเรา ทำให้ทุ่นแรงงานคนไปได้เยอะ แต่การทำธุรกิจ กับงาน Craft งานออกแบบสร้างสรรค์ อย่างที่ Papacraft ทำ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ในวิธีการแบบดั้งเดิม ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหน แต่คนยังต้องการสิ่งที่แสดงออกมาจากใจ ไม่ใช่คำพูดสำเร็จรูปของ AI

บทสรุป

ความสำเร็จของ Papacraft นั้นมาจาก 3 ปัจจัยหลักคือ 1. คุณภาพของสินค้าที่สร้างจากความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจในการผลิตแบบงานฝีมือทุกชิ้น จนทำให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาซื้อซ้ำ และคำว่า คุณภาพยังครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย คือต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย 2. การให้ความสำคัญกับเรื่องการตลาด เพราะต่อให้ผลิตภัณฑ์ดีไซน์สวยงามขนาดไหน ถ้าไม่ทำการตลาดก็ยากที่ผู้บริโภคจะรู้จัก 3.ความซื่อสัตย์และจริงใจ Papacraft ถือข้อนี้เป็นหลักธรรมสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเรียกลูกค้าว่าเป็นกำลัยมิตร ทุกๆ ปี Papacraft จะออกแบบการ์ด และของที่ระลึก พร้อมเขียนขอบคุณด้วยลายมือ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

 

บทความแนะนำ