#สินเชื่อฟื้นฟู จาก SME Bank
✅เพิ่มสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ
✅ลดผลกระทบจากการจ้างงาน
✅ฟื้นฟูเศรษฐกิจ รักษาการจ้างงาน
💡จุดเด่นของสินเชื่อ
- ดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก
- วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท**
- กู้ได้ทั้งลูกค้าเดิม และลูกค้าใหม่
- ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.smebank.co.th/loan/restoreloan/
ขอขอบคุณข้อมูลจาก SME BANK
#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #แหล่งเงินทุน #สินเชื่อฟื้นฟู
อย.ปรับรูปแบบการทำงานให้บริการแบบ One Stop พร้อมเป็นเบื้องหลังผลักดัน SME ให้ไปได้ไกลกว่าเดิม
เนื่องจากผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือน มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปสู่มือผู้บริโภคทั่วประเทศ รวมถึงขายผ่านช่องทางออนไลน์ จำเป็นต้องมีการควบคุมกำกับดูแลภายใต้กฎหมายและหลักเกณฑ์ตามที่สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา อย. ได้มีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยไม่เพียงแต่มีบทบาทในการกำกับดูแลตามกฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและเข้าใจกฎเกณฑ์การได้รับอนุญาต อย. เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และผู้บริโภคปลอดภัย
ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างการทำงานภายใน อย. โดยจัดตั้ง “กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น” ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2545 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้มีคุณภาพและความปลอดภัย และเป็นศูนย์ประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจรายย่อย (Micro Enterprise : ME) เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพของตัวเอง และได้รับการอนุญาตจาก อย. ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
เภสัชกร ดร.สุชาติ จองประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภทมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน กองฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและเชื่อมโยงประสานงาน ให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบต่างๆ ไปยังผู้ประกอบการชุมชน เช่น ปี 2566 นี้ ได้จัดโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก ขณะนี้ได้อบรมหลักสูตรพื้นฐานไปแล้วจำนวน 4 ครั้ง ผ่านช่องทางออนไลน์ จากจำนวนที่วางแผนทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยสรรหาวิทยากรจากกองที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ มาให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับการอนุมัติอนุญาต ไปจนถึงหลักสูตรเข้มข้น ให้ครอบคลุมผู้ประกอบการชุมชนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงขึ้น
“ในระหว่างทาง เราพยายามเจาะไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้มาเข้าหลักสูตรฝึกอบรม หรือผู้ประกอบการที่มีองค์ความรู้ระดับหนึ่งแล้วต้องการพัฒนาก้าวต่อไปให้สูงขึ้นอีกขั้น เราก็แนะนำให้ไปหลักสูตรเข้มข้น ซึ่งเราทำงานร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และจับมือกับภาคีเครือข่าย อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เครือข่ายโอทอปเทรดเดอร์ และมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ให้ความรู้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สุขภาพหลัก ๆ และที่คาดว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมเริ่มต้นผลิตก่อน เช่น ขายผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเราได้ให้ความรู้เบื้องต้น เช่น หากผู้ประกอบการทำอาหารขายโดยตรงต่อผู้บริโภคที่หน้าบ้านก็ไม่ต้องขออนุญาต อย. แต่ถ้าต้องการส่งไปขายนอกสถานที่หรือทั่วประเทศ หรือขายออนไลน์ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเพื่อสุขอนามัยที่ดีอย่างเคร่งครัด
ในบางกรณีต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตก่อนจึงจะเริ่มผลิตได้ตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งอาจใช้เวลาพิจารณาอนุญาตและประเมินสถานที่ผลิตประมาณ 1-2 เดือน ขึ้นกับระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องตามคู่มือการให้บริการประชาชน สำหรับเลขสารบบอาหารจะใช้ระยะเวลาไม่นาน มีขั้นตอน ไม่ยากสามารถขอออนไลน์ผ่านระบบการยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Submission) ได้ ทั้งนี้ ส่วนที่สำคัญ คือ จะต้องแสดงฉลากและโฆษณาให้ถูกต้องและข้อมูลครบถ้วนตรงตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนภาชนะบรรจุต้องเหมาะสมช่วยยืดอายุและรักษาสภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อปกป้องผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เกิดความปลอดภัย”
ในส่วนการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ประชาชน อย. ได้เปิดศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One stop service center : OSSC) สำหรับผู้มาติดต่อรับบริการและมีที่ตั้งอยู่ใน อย. ส่วนกลาง และ สสจ. ทุกจังหวัด ให้บริการเกี่ยวกับการยื่นคำขอและใบอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประชาชนสามารถขอรับคำปรึกษา คำแนะนำ รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว มีขั้นตอนกระชับและสามารถติดต่อได้ ณ จุดเดียว ซึ่งในอนาคตได้มีการตั้งเป้าลดขั้นตอนการพิจารณาอนุญาต ฯ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรับลดระยะเวลาการพิจารณาให้สั้นลง
การยกระดับการให้บริการผู้ประกอบการ SME อย. ได้จัดช่องทางพิเศษ SME Fast Lane ภายใต้บูรณาการร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ให้บริการคำปรึกษาเชิงรุกและการขอใบอนุญาตแบบ One Stop Service ไปเมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังได้ประสานงานกับ สสจ.ในการเปิด SME Fast Lane เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างจังหวัด อีกทางหนึ่งได้เป็นตัวกลางให้คำแนะนำและชี้ช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการลงทุนเพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ประกอบการ SME อาทิ SME D Bank เพื่อเข้าถึงแหล่งทุน หรือพาณิชย์จังหวัด ในการเพิ่มโอกาสทางการตลาด รวมถึงสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน อาทิ เครือข่าย OTOP Trader และเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีหน่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการ SME
เภสัชกร ดร.สุชาติ จองประเสริฐ กล่าวถึงเป้าหมายการทำงานในปีนี้ว่า ได้วางเป้าหมายตัวชี้วัด คือ จำนวนผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการส่งเสริม ให้การช่วยเหลือ และได้รับการอนุญาตต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนทั้งหมด 970 รายการ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1,600 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีการพิจารณาอนุญาตไปแล้ว 700 รายการ คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ภายในสิ้นปีนี้ ตัวชี้วัดนี้จึงแสดงให้เห็นว่า อย. ไม่ได้แค่ให้ความรู้ แต่ยังมีการวัดผลความสำเร็จในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“ปีหน้าได้วางแผนการทำงานที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพใดมีปัญหา หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพใดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้จำนวนมาก เพื่อโฟกัสการสนับสนุนได้อย่างถูกจุด รวมถึงทำงานเชิงรุก เจาะกลุ่มไปยังผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพ ด้วยการผลักดันให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศต่อไป”
สำหรับผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงช่องทางการให้บริการ อย. ได้หลากหลายช่องทางผ่านศูนย์บริการสุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) ทั้งแบบวอล์คอินและทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง SME Fast Lane ได้ที่ อย. และ สสจ. ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ในกรณีที่ สสจ. ไม่สามารถดำเนินการได้เอง จะประสานงานมายัง อย. เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการร่วมกัน จึงขอให้ผู้ประกอบการ SME มีความเชื่อมั่นว่า อย. พร้อมสนับสนุน และช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อให้ SME ของไทยก้าวไกลไม่หยุดยั้ง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่ง สวทช. ได้ดำเนินงานผ่านการทำงานร่วมกันของศูนย์ทั้ง 5 ศูนย์แห่งชาติ ได้แก่
1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ
3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) – มุ่งพัฒนางานด้านนาโนเทคโนโลยี
5. ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) - มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศ
เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ SME ได้ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยเฉพาะทางในการสนับสนุนนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการได้ในทุกอุตสาหกรรม ให้กลุ่มผู้ประกอบการมีความเข้มแข็ง และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
บริการจากทางหน่วยงาน
เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการจากทาง สวทช. ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ทาง สวทช. จึงได้เปิดช่องทางให้บริการรูปแบบใหม่ ในชื่อ 3X ประกอบด้วย
1. Connex – เป็น One-Stop Solution ที่จะเชื่อมต่อผู้ประกอบการ เข้ากับทุกบริการจาก สวทช. ตั้งแต่ที่ปรึกษา, การให้บริการข้อมูล ไปจนถึงการบ่มเพาะธุรกิจ เรียกได้ว่า หิ้วกระเป๋าเข้ามาที่ Connex ก็สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างสะดวกสบาย
2. TD-X - เป็นศูนย์พัฒนาต้นแบบรวดเร็ว ที่จะให้บริการด้านการผลิตขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงการทดสอบคุณสมบัติ การใช้งานจริง ไปจนถึงการทดสอบตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้น ๆ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ทีมออกแบบ และทีมเชื่อมโยงระบบวิศวกรรม อยู่เคียงข้างให้กับผู้ประกอบการ
3. INNO-X – พื้นที่สำหรับรองรับผู้ประกอบการรายย่อย ที่ยังไม่พร้อมจะมีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ สามารถเข้ามาใช้บริการพื้นที่สำนักงาน เพื่อจดทะเบียนบริษัท และใช้พื้นที่นี้ในการรับรองลูกค้า เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าได้ ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับการพัฒนาธุรกิจ เพราะแวดล้อมไปด้วยระบบนิเวศของอุทยานวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเหล่าผู้ประกอบการทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดในการทำงานต่าง ๆ กันได้
สวทช. เข้าใจทุกปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ให้ 3X เป็นเพื่อนร่วมเดินทางสร้างนวัตกรรมไปกับคุณ ธุรกิจนวัตกรรมจะเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น สวทช. ยังมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการให้บริการนี้ จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้ ผู้ประกอบการจะมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ที่อยู่: 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์: 0-2564-7000
โทรสาร: 0-2564-7001
Call Center: 0-2564-8000
อีเมล: info@nstda.or.th
เว็บไซต์ : www.nstda.or.th
Facebook: NSTDATHAILAND
YouTube: NSTDAChannel TVstation
Line Official: @NSTDA
📌 SME SPEED UP เร่งเครื่องธุรกิจ เดินหน้าเต็มกำลัง ให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 💸 สินเชื่อนี้น่าสนใจอย่างไร? ติดตามได้เลย!!
🟢 จุดเด่น
✔ เปิดกว้างให้กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
✔ ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งการผลิต ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจการท่องเที่ยว
✔ ระยะเวลามากเพียงพอที่จะวางแผนบริหารจัดการต้นทุนและธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
✔ วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท
✔ อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6% หรือ MLR-1.25%
✔ ผ่อนชำระนานสูงสุด 12 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่
https://www.smebank.co.th/loan/smespeedup/
ขอขอบคุณข้อมูลจาก SME BANK
💸💸 ติดปีกให้ธุรกิจบินต่อได้ไกล ลูกค้าแอปฯ ถุงเงิน กู้เลยสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก!! ไม่ต้องใช้หลักประกัน วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท
สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก สินเชื่อธุรกิจ sme ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะสำหรับร้านค้ารายย่อย พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเงินลงทุนเพื่อขยายร้าน
เติมสต็อก เปิดร้านสาขาใหม่ หรือเพิ่มเงินหมุนเวียนในธุรกิจ
🟢 จุดเด่น
✔ แค่ใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน หรือเครื่อง EDC กรุงไทย ขายของบนระบบ POS หรือขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada, Shopee
✔ กู้ได้สูงสุด 3 ล้านบาท (บสย. ค้ำประกัน)
✔ ดอกเบี้ยต่ำสุด MRR% ต่อปี
🟢 วงเงินและระยะเวลากู้
✔ วงเงินรวมสูงสุด 20 ล้านบาท (ในกรณีที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน)
✔ ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี
* เงื่อนไขและเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
👉 ศึกษาข้อมูลเพิ่มติมได้ที่ https://krungthai.com/th/content/sme/loan/smart-shop
ขอขอบคุณข้อมูลจาก krungthai