ttb analytics เผย 3 ประเด็นสะท้อนความเปราะบางของ SMEs

ttb analytics เผย 3 ประเด็นสะท้อนความเปราะบางของ SMEs

 

1.รายได้โตต่ำและขาดกำไรสะสม เนื่องจากธุรกิจ SMEs 

SMEs รายเล็ก รายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาท/ปี

มีกำไรเฉลี่ยจากการดำเนินธุรกิจ 0.15% ของรายได้ 

กำไรสะสมไม่พอที่จะใช้เพิ่มศักยภาพรักษาสถานะการแข่งขันได้

 

SMEs รายกลางขึ้นไป ที่รายได้สูงกว่า 30 ล้านบาท/ปี

มีกำไรเฉลี่ยจากการดำเนินธุรกิจ 3.1% ของรายได้

สามารถใช้กำไรสะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจได้

 

2.ต้นทุนต่อหน่วยสูง

 

SMEs รายเล็ก

มีฐานลูกค้าจำกัดมี

มีต้นทุน 25.3% ของรายได้ 

 

SMEs รายกลางขึ้นไป

มีลูกค้าที่ใหญ่และมั่นคงกว่า

มีต้นทุน 12.9% ของรายได้

 

3.อำนาจต่อรองต่ำ

 

SMEs รายเล็ก

สำรองเงินทุนเพื่อหมุนเวียนสูงถึง 169 วัน

สั่งสินค้าครั้งละมาก ๆ เพื่อลดต้นทุนสินค้าต่อหน่วย และรักษาฐานลูกค้า

 

SMEs รายกลางขึ้นไป

สำรองเงินทุนเพียง 90 วัน

มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสั่งสินค้าครั้งละมาก ๆ

 

ผลจากความเปราะบางเหล่านี้กดดันการดำเนินธุรกิจและลดโอกาสการอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ttb bank

https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/ttba-thai-sme-2024

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #analytics #ธุรกิจ #SMEsรายเล็ก #SMEsรายกลาง #SMEs

บทความแนะนำ

บัญชีมีความสำคัญอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจ SMEs ควรรู้ 

บัญชีมีความสำคัญอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจ SMEs ควรรู้ 

 

การประเมินสถานะทางการเงินของบริษัท : เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท

ประเมินความคุ้มทุนของการลงทุนต่างๆ ของบริษัท

ประเมินเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ประเมินว่าบริษัทต้องการเงินเพิ่มอีกเท่าไร

ประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

ประเมินการขึ้นเงินเดือนหรือการให้โบนัสพนักงาน

 

การกู้เงินจากสถาบันทางการเงิน : เพื่อขยายธุรกิจ

บัญชีต้องโปร่งใส

บัญชีต้องถูกต้องเป็นพื้นฐาน

ต้องมีการทำบัญชีมาแล้วหลายปี

 

การระดมทุน : เพื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

บัญชีต้องโปร่งใส

บัญชีต้องถูกต้องเป็นพื้นฐาน

ต้องมีการทำบัญชีมาแล้วหลายปี

 

การวางแผนภาษีและการจ่ายภาษี : เพื่อคำนวณภาษีได้ถูกต้อง

หากบัญชีมีความถูกต้อง จะช่วยให้การจ่ายภาษีเป็นเรื่องง่าย

หากถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง จะช่วยให้คำนวณได้ และไม่จ่ายภาษีเกิน

 

การลดปัญหาในหมู่หุ้นส่วน : เพื่อการแบ่งกำไรปันผลได้อย่างเท่าเทียม

เพื่อประเมินว่าบริษัทได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ต่อปี

 

ประโยชน์ของการทำบัญชีนั้นยังมีอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ช่วยให้การวางแผนธุรกิจได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงในอนาคต และยังทำลดความขัดแย้งในบรรดาผู้ถือหุ้นในธุรกิจได้อีกด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงไทย

https://sme.krungthai.com/sme/auth/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=45&itemId=275

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #บัญชี #ธุรกิจ #SME

บทความแนะนำ

ระวัง! 6 สัญญาณเตือน ธุรกิจ SMEs เริ่มขาดสภาพคล่อง

ระวัง! 6 สัญญาณเตือน ธุรกิจ SMEs เริ่มขาดสภาพคล่อง

1.รายได้ลดลง

ต้องหันกลับมามอง และวิเคราะห์สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของตัวเอง จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด

 

2.กำไรที่ลดลงเป็นเรื่อย ๆ

ต้องดูตัวเลขรายจ่ายแต่ละตัว ว่ามีรายจ่ายอะไรที่ผิดปกติ หรือมีรายจ่ายแฝงอะไรเกิดขึ้น เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทัน

 

3.สินค้าค้างอยู่ในสต็อกนานขึ้น

ต้องวิเคราะห์สถานการณ์โดยเร็ว และรีบแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด

 

4.การชำระเงินของคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องเงิน โดยหาแหล่งเงินทุนมาเพิ่ม เพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอในการทำธุรกิจ 

 

5.ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

ต้องมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ในการรองรับกับการขยายตัวที่จะเกิดขึ้น ซึ่งควรมีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า

 

6.เงินจมอยู่ในสินทรัพย์ที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้

ต้องมีค่า Fixed Cost ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เช่น การตกแต่งร้านใหม่ หรือการเสียค่าเช่าที่แพง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Krungsri The COACH

https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/loan/borrowing/6-warning-sign-business-sme



#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สัญญาณเตือนSME #ธุรกิจ #SMEs

บทความแนะนำ

ทำความรู้จัก NaCGA สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ

รู้จัก NaCGA สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency หรือ NaCGA) กับบทบาททางการเงินให้ประชาชน

 

กระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA) ภายในปี 2568 โดย NaCGA จะช่วยให้ประชาชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ด้วยการประเมินความเสี่ยงและค้ำประกันเครดิตให้กับผู้ขอสินเชื่อ โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้สินเชื่อเป็นหลัก

 

หลักการทำงานของ NaCGA

- ประเมินความเสี่ยงและคิดค่าธรรมเนียมตามระดับความเสี่ยง

- ออกเอกสารรับรองเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน

- ผู้กู้จะจ่ายค่าธรรมเนียมคล้ายกับการซื้อประกัน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินสมทบตามระดับความเสี่ยง

 

NaCGA จะทำงานร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อสร้างระบบการค้ำประกันสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คาดว่าจะพลิกโฉมระบบการเงินและช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อในประเทศได้อย่างมาก

 

การค้ำประกันโดย NaCGA คล้ายกับการทำประกันภัยรถยนต์ ที่เบี้ยประกันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลว่ามีพฤติกรรมการขับรถยนต์ที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด หากเสี่ยงมาก ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงหากเสี่ยงต่ำ ค่าเบี้ยประกันก็จะต่ำ ตัวอย่างเช่น หาก SME รายใดต้องการให้ NaCGA ค้ำประกันสินเชื่อให้ทั้ง 100% ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันก็อาจจะสูงขึ้น กว่าการให้ NaCGA ค้ำประกันที่ 70-80% ของวงเงินสินเชื่อ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติ

https://www.prachachat.net/finance/news-1613069 

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEDBank #Smartsme #เติมทุนคู่ความรู้ 

บทความแนะนำ

ME D Bank ผนึกพันธมิตรปั้น Smartsme เติมทุนคู่ความรู้

SME D Bank ผนึกกำลังกับพันธมิตรภาครัฐและมหาวิทยาลัย เติมทุนคู่พัฒนา ปั้น SmartSME ด้วยแนวคิด ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’ สร้างความรู้คู่ทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น และใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รื้อ - ปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจ

ลด - ลดอุปสรรคและปัญหาที่ขัดขวางการเติบโต

ปลด - ปลดล็อกศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจ

สร้าง - สร้างโอกาสใหม่ ๆ และความมั่นคงทางการเงิน

 

เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น และใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตของ SMEs ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในการขับเคลื่อนธุรกิจไทยไปสู่ความสำเร็จ สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง 📈

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : PostToday

https://www.posttoday.com/smart-sme/710292

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEDBank #Smartsme #เติมทุนคู่ความรู้

บทความแนะนำ