ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี

 

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่มีธุรกิจอยู่แล้วหรือกำลังเริ่มต้น และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจ ต้องการหาไอเดียใหม่ ๆ พัฒนาสินค้าหรือทำสินค้าตัวอย่าง ที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี ตอบโจทย์คุณแน่นอน เพราะที่นี่พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ ศึกษาตลาด แหล่งเงินทุน ตั้งแต่สเต็ปเบื้องต้น เช่น เรื่องกระบวนการผลิต จนถึงการวางแผนธุรกิจในอนาคต และยังช่วยดูแล SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP อีกด้วย ซึ่งหมูสะเต๊ะคุณแม่โอ๊ะโอ ที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์ มากกว่า 40 สาขา ก็ได้เข้ามารับคำปรึกษาจากที่ศูนย์เช่นกัน

 

โดยที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. ให้คำปรึกษาเรื่องกระบวนการผลิตและแนวทางการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณ หรือการเข้าแหล่งเงินทุน เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ธุรกิจของคุณไปต่อได้ ไม่มีสะดุด
  2. สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตสินค้า ที่ศูนย์ยังมีบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรกลางคอยให้บริการทดลองมากถึง 17 ชนิด ให้ผู้ประกอบการได้ทดลองผลิต ตัวอย่างเช่น เครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอย Spray Dryer, เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง freeze dry, ตู้อบลมร้อน
  3. มีผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรมหาลัยต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ
  4. มีผู้เชียวชาญคอยให้คำปรึกษาในเรื่องของออกแบบบรรจุภัณฑ์ และทำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบโลโก้และ ตราสินค้า

และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต ยังมีพื้นที่ co working space ที่สามารถให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการนัดหมาย ประชุม  พูดคุย ได้ฟรี และในอนาคตอาจมีร้านกาแฟได้บริการอีกด้วย

 

 

สำหรับผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่สนใจเข้ามาใช้บริการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

Facebook : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (Industrial Promotion Center Region 9)

Webside :  https://ipc9.dip.go.th/

โทรศัพท์ : 038-784-064-7

 

 

 

 

บทความแนะนำ

ศูนย์พัฒนานวัตกรรมอาหาร FACTory Classroom

FACTory Classroom ศูนย์เพื่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพราะที่นี่เชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบอาหารสู่มาตรฐานสากล (Food prototyping service) โดยมีผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ช่วยให้คำปรึกษา ทดสอบ พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ดูแลและวิจัยการแปรรูปผลไม้และวัตถุดิบทางการเกษตรต่าง ๆ เเละที่ศูนย์ยังเป็นโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งกระบวนการทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การผลิตเครื่องดื่ม และการผลิตอาหารสำเร็จรูป

 

โดย FACTory Classroom มีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้

  1. ให้คำปรึกษา SMEs ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มทำผลิตภันฑ์ต้นแบบ สร้างบรรจุภัณฑ์ จนถึงการนำผลิตภัณฑ์ออกไปทดลองสู่ตลาด
  2. บริการเครื่องสร้างต้นแบบ (Prototype Machine), พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype Product Proceed)
  3. บริการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standard) สำหรับการทดลองสูตร ปรับสูตรก่อนขั้นตอนการผลิตจริงเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาด
  4. บริการควบคุมคุณภาพ, การประกันคุณภาพ
  5. บริการทดสอบเครื่องจักรสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก

 

นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีโครงการพัฒนาวิจัยต้นแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองได้ และยังกระจายแหล่งการเรียนรู้สู่จังหวัดอื่น ๆ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่แหล่งของวัตถุดิบเพื่อสร้างการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เช่น ที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย) เปรียบเสมือนโรงเรียนสาธิตสำหรับ SMEs โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง

โดยที่ FACTory Classroom ได้รับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตจาก อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งกลุ่ม SMEs ที่เข้ามาวิจัยกับศูนย์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์-ทดลองผลิตเพื่อนำไปโชว์ หรือผลิตต้นแบบจากศูนย์ ก็จะได้รับมาตรฐาน อย. และสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปโชว์ที่ต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดธุรกิจได้

 

สำหรับ SME ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยตรง หรือเข้าร่วมผ่านโครงการที่ FACTory Classroom ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการทดลองผลิตสินค้าประเภทต่างๆ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท แล้วแต่ประเภทของสินค้าว่าเข้าข่ายกับโครงการไหน

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอาหาร

ชั้น 3 อาคารโรงอาหาร 3 อาคารโรงงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ (FACTory Classroom) คณะวิศวกรรมศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 02-329-8356-8 หรือ 095 909 0488

Facebook: KMITL FACTory Classroom

 

 

บทความแนะนำ

จากมือเปล่าสู่พันล้าน วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล เจ้าของแบรนด์เสื้อกีฬาสัญชาติไทย ดังไกลถึง "ตลาดโลก"







จุดเริ่มต้นของธุรกิจเสื้อผ้ากีฬาแบรนด์ Warrix คืออะไร

คุณวิศัลย์ : จริง ๆ เห็นตลาดเสื้อผ้ากีฬา มองเป็นโอกาสมาตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ แล้ว ก็กล้า ๆ กลัว ๆ แต่พอได้มีโอกาสเข้าไปทำเรื่องของ License ของสโมสรจังหวัดใหญ่ ๆ อย่างโคราชกับเชียงใหม่ ก็ทำให้เข้าใจตลาดฟุตบอลเมืองไทย ว่ายังมีโอกาสอีกมากมาย

ฟุตบอลมีช่องว่างเรื่องเสื้อกีฬาที่ไม่เกี่ยวกับฟุตบอล ระหว่างแบรนด์ไทยกับแบรนด์นอกที่กว้างมาก ทั้งเรื่องราคา เรื่องคุณภาพ ทำการตลาดกับผู้โภค คิดว่าพอเห็นโอกาสก็กระโดดเข้าใส่เลย

 

Trends เสื้อผ้ากีฬาของแบรนด์ Warrix เป็นอย่างไร

คุณวิศัลย์ : เห็นเป็นหนึ่งใน Global Trends เรื่องของ Health เรื่องของ Sport ก็คือคนเริ่มสนใจสุขภาพมากขึ้น อย่างเรื่องของกินเรื่องอาหาร แต่เรื่องของการออกกำลังกายเป็นหนึ่งใน Global Trends เป็นกระแสของผู้บริโภคที่จะจับจ่ายใช้เงิน ก็คิดว่าเราเกาะไปกับ Global Trends น่าจะไม่พลาด

 

วิธีการขยายตลาดของแบรนด์ Warrix ในตอนนี้

คุณวิศัลย์ : ฟุตบอล ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกีฬามหาชน เป็น Mass ที่สุดในการบริโภคเสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา Warrix เริ่มขยายไปตลาดวิ่ง แล้วก็ฟิตเนส แบดมินตัน ค่อยเป็นค่อยไป และกำลังจะเริ่มกอล์ฟ

 

มีโอกาสร่วมงานกับทีมชาติไทยได้อย่างไร

คุณวิศัลย์ : ตอน Warrix มาจับกับทีมชาติ ถือเป็นโอกาสที่ไม่คาดว่าจะมาเร็วขนาดนั้น ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในสมาคมฟุตบอล คิดว่าสัญญามันยังมีต่อไปอีกหลายปี และ ณ วันนั้นบริษัทถือเป็นไซซ์เล็ก แต่พอโอกาสเปิดให้มีการประมูล คิดว่าถ้าไม่คว้าโอกาสนั้นในการกระโดดเข้าไปประมูล ก็ไม่รู้จะมีโอกาสแบบนี้อีกไหม

เมื่อ 4 ปีที่แล้วจึงกระโดดเข้าไปประมูลด้วยตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ณ วันที่ไปประมูลก็ยังบอกกับพี่ที่นั่งข้าง ๆ ว่าผมขอไปเป็นไม้ประดับ ไม่คิดว่าจะได้ แต่พอเราประมูลได้ เราก็ใช้โอกาสนี้สร้างผลงานอย่างเต็มที่ เหมือนนักฟุตบอลรุ่นใหม่ ๆ ได้โอกาสลงสนามปุ๊ป ต้องทำประตูให้ได้

 

ถ้าจะเปรียบเทียบมาตรฐานและคุณภาพเสื้อผ้ากีฬาของ Warrix กับแบรนด์ระดับโลก

คุณวิศัลย์ : เรียกว่าเราใช้สินค้า เส้นด้ายมาจากโรงงานเดียวกัน ทอผ้าที่เครื่องเดียวกัน เย็บที่จักรเดียวกัน ผมก็คิดว่าเราไม่ได้แพ้เข้านะครับ จริง ๆ บางตัวเราใช้เร็วกว่าแบรนด์ระดับสากลด้วยซ้ำ เพราะว่าระยะเวลาในการทำงานในหนึ่งคอลเลคชั่นที่ออก แบรนด์ระดับโลก เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เขาใช้เวลาหนึ่งปีเต็ม แต่ Warrix ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากบริษัทเราเป็นขนาดกลางเราจึงเร็วกว่า

 

อยากให้บอกถึงปัญหาในการทำธุรกิจของบริษัท

คุณวิศัลย์ : ปัญหาในการทำธุรกิจอย่างผมยังถือว่าเป็นไซซ์ SME เป็นปัญหาเรื่องคน ปัญหาเรื่องการเข้าหาแหล่งเงินทุน สองอย่างนี้เจอตลอด เจอมาจนถึงวันนี้ นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องตั้งเป้าในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือตลาดทุน ที่ต้นทุนไม่สูง และไม่มีปัจจัยที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งทอ หรือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโต ที่ Warrix ทำไม่ใช่สิ่งทอยุคโบราณที่เป็นการรับจ้างผลิตอีกต่อไป Warrix ทำแบรนด์ของตัวเอง มีการตลาดที่มุ่งเน้นออนไลน์ มุ่งเน้นเรื่องของการสร้าง Engagement สร้างแบรนด์

 

Warrix กับการไปตลาดโลก

คุณวิศัลย์ : เคยมีคนถามตอนที่ได้ทีมชาติไทยว่าฝันผมจะไปต่อไกลขนาดไหน สิ่งที่เราทำเราคงไม่ก้าวกระโดดไปขนาดนั้น แต่เราต้องฝันว่าใน 5 ปี 10 ปี จะไปไหน ถ้าบริษัทมีความแข็งแรง ยอดขายเติบโตขึ้นเป็น 4 - 5 พันล้าน ก็ไม่แปลกที่ Warrix จะกล้าไปเป็นสปอนเซอร์ทีมดัง ๆ หรือสโมสรใหญ่ ๆ ในยุโรปแน่นอน แต่มันคงไม่ใช่แค่เรื่องของการสปอนเซอร์ หรือมีโลโก้บนหน้าอกเชิ้ต ยังเป็นเรื่องของระบบการจัดจำหน่าย เป็นเรื่องของการสร้างแบรนด์ในมิติการตลาด

 

เคยขอเข้ารับการสนับสนุนจากทางภาครัฐไหม

คุณวิศัลย์ : จริง ๆ ก็มีบ้าง ทั้งเรื่องของการสนับสนุนจาก สวทช บ้าง จาก สสว บ้าง ก็จะมีเข้ามาบ้าง

 

มีการขยายธุรกิจไปยังด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบ้างไหม

คุณวิศัลย์ : ปัจจุบัน Warrix ขยายมา Segment ของสุขภาพ ก็เป็นเรื่องของคลินิกกายภาพ, Performance Training, วิทยาศาสตร์การกีฬา

 

กลยุทธ์ทางการตลาดและปัจจัยความสำเร็จในการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง

คุณวิศัลย์ : ผมคิดว่า Key Success ของ Warrix น่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ผมมองว่าผมเป็นคนที่มองเห็นช่องว่างทางการตลาด แล้วเอากลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างเข้าไปตอบโจทย์ลูกค้า โลกออนไลน์ที่เปลี่ยนไปมหาศาล เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ปีที่แล้ว ทำให้แบรนด์เล็ก ๆ อย่างผมไม่ได้เสียเปรียบแบรนด์ใหญ่ ๆ อีกต่อไป

 

คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME ท่านอื่น ๆ

คุณวิศัลย์ : ต้องทำในสิ่งที่เราชำนาญ มีประสบการณ์ มีความคิดเชิงระบบ มันไม่สามารถที่จะทำเองทุกอย่างได้ อีกอันคือต้องมองโอกาส บวกใจถึง ต้องพึงระลึกเสมอว่าการทำธุรกิจ แน่นอนทุกคนต้องการกำไร แต่ความโลภทำให้ธุรกิจพังหรือเจ๊งมานับไม่ถ้วน คนทำธุรกิจฟังดูเหมือนขัดแย้งนะ ต้องมีความพอดี มีความพอ มองมิติอื่น ๆ มากกว่าแค่เงินอย่างเดียว

 

Published on 16 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

สถาบันรหัสสากล GS1 Thailand เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนกำหนดเลขหมายบาร์โค้ดมาตรฐานสากล และรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ภาษาสากล ร่วมกับบริษัทนับแสนรายจากทั่วโลก เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการจัดจำหน่ายสินค้าในสมัยใหม่ (Modern Trade) และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการส่งออก ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การค้าปลีก การค้าส่ง การขนส่งและโลจิสติกส์ , สุขภาพ (Healthcare) และเฉพาะในยุคที่ BIG DATA มีความสำคัญมากขึ้นข้อมูลที่ได้จาก บาร์โค้ด จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการในการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาใช้ในธุรกิจ

ความสำคัญของบาร์โค้ดในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SME สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนด้วยกัน 

 

1.IDENTIFY -มาตราฐานสากลสำหรับการระบุสิ่งต่างๆ

เลขหมายบ่งชี้มาตรฐานสากล เพื่อบ่งชี้ถึงข้อมูลรายละเอียดของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นขนาด ปริมาณ แบรนด์สินค้า เจ้าของสินค้า รวมไปถึง แหล่งผลิต, เส้นทางการขนส่ง, บริการ และสินทรัพย์

 

2.CAPTURE – มาตราฐานสากลสำหรับการบันทึกข้อมูล

ทุกครั้งที่มีการสแกนบาร์โค้ดตั้งแต่ที่ออกมาจากแหล่งผลิตจนถึงมือผู้ซื้อนั้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกเข้าระบบไว้ ทำให้เรารู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสินค้าของเราบ้างไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของการขนส่ง , การจัดการสต๊อก, การเก็บข้อมูลยอดขาย , ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค 

 

3.SHARE-มาตราฐานสากลสำหรับการแบ่งปันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลทั้งหมดที่เราสามารถเก็บมาได้ตั้งแต่ต้นทางนั้นผู้ประกอบการ SME สามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกับคู่ค้าในซัพพลายเชนของตัวเองได้ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการทำงาน ตั้งแต่การผลิตไปการจัดจำหน่ายจนถึงในเรื่องของการทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ 

 

GS1 Thailand มีบริการให้แก่ผู้ประกอบการสี่ด้านด้วยกัน

 

1.การออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากลสำหรับการออก บาร์โค้ด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำบาร์โค้ดไปใช้ในการทำธุรกิจได้ทั่วโลกโดยจะเป็นรหัสผ่านการรับรองจากสถาบัน GS1 สากล และยังรวมไปถึงหมายเลขประจำตัวสินค้า (GTIN) หรือ หมายเลขประจำตัวบริษัทสากล (GCP) ซึ่งเป็นมาตราฐานที่ผู้ประกอบการทั่วโลกต้องมีในการที่จะทำธุรกิจเรื่องการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนโดยเฉพาะ

 

2.การคำนวณหมายเลขและการตรวจสอบคุณภาพ บาร์โค้ด (Barcode Verification) ให้มีความถูกต้องตามมาตรฐานสากล

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบาร์โค้ดที่ผลิตออกมาในแต่ละ Lot ได้คุณภาพ จำเป็นต้องมีการทดสอบและเปรียบเทียบสัญลักษณ์กับมาตรฐานของคุณภาพของการพิมพ์ เพื่อป้องกันความผิดพลาดและความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้น หากบาร์โค้ดนั้นไม่สามารถสแกนได้หรือใช้เวลาในการสแกนที่นาน การใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจสอบเรียกว่า Barcode Verifier จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าบาร์โค้ดพวกนี้จะทำงานตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี หรือหากไม่ได้มาตรฐานจะได้รับคำแนะนำเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของบาร์โค้ดให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกจุดในระบบ Supply Chain

 

3.การฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่อง บาร์โค้ด และความรู้ทางธุรกิจ

การอบรมเรื่อง บาร์โค้ดนั้นจะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการใช้งานมาตรฐานสากล GS1 ให้ถูกต้องที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจ ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือการอบรม ที่สถาบันฯ และ การอบรมออนไลน์ โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตรคือ

1.หลักสูตร มากกว่าสัญลักษณ์บาร์โค้ด คือการบริหารจัดการข้อมูลสินค้าที่ดียิ่งขึ้น

2.หลักสูตร Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นด้วยมาตรฐานสากล GS1

 

ในส่วนของความรู้ทางธุรกิจนั้น GS 1 Thailand ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEW ECONOMY ACADEMY) เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการด้านการทำการค้าในยุค 4.0 มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ด้านดิจิทัล ด้านบริหารจัดการธุรกิจสู่สากล ความรู้เบื้องต้นเพื่อการส่งออก และความรู้เฉพาะทางด้านการตลาดระหว่างประเทศ

 

4.ระบบฐานข้อมูลสินค้า (GS1 Thailand Member Portal) สำหรับให้สมาชิกใช้บริหารจัดการข้อมูลสินค้าของตนเอง นอกจากนี้ยังมีข้อมูล Customer Feedback ข้อติชมเกี่ยวกับสินค้าจากผู้บริโภคไปยังเจ้าของสินค้า และ E-Learning เรียนรู้การใช้งานมาตรฐาน GS1 โดยระบบนี้สมาชิกสามารถดำเนินการผ่าน Web Application ของสถาบันฯ





ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกโดยจะมีค่าลงทะเบียนแรกเข้าและค่าสมาชิกรายปีขึ้นอยู่กับโครงสร้างของหมายเลขบาร์โค้ดและขนาดของธุรกิจของท่าน  โดยสามารถกรอกใบสมัครยื่นเอกสารได้ที่สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เลขที่ 2 อาคารปฎิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:00 – 17:00 น.
ติดต่อทางโทรศัพท์ผ่าน Call Center:  0-2345-1000, 0-2345-1200 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัครผ่านเวบไซต์หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง
www.gs1th.org และยื่นเอกสารทางอีเมล์ info@gs1th.org

Published on 16 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย


บทความแนะนำ

SCB Business Center เติมเต็มจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็งให้เอสเอ็มอี

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจเอสเอ็มอีเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ดูได้จากจำนวนผู้ประกอบการในปัจจุบันที่อยู่ในระบบกว่า 3 ล้านราย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์ความต้องการของคนที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา หรือแม้แต่พนักงานประจำ และคนในวัยเกษียณที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ

แต่ปัญหาของผู้ประกอบการมือใหม่เหล่านี้ คือยังขาดประสบการณ์การจัดการด้านต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจมานานแล้วก็ตาม แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งกระแสดิจิทัลดิสรัปชั่น หรือสถานการณ์ไม่คาดคิดมากก่อน เช่น การระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อผู้ประกอบการซึ่งอาจจะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวไม่ทัน

อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักอยู่ตลอดเวลา และมีความต้องการที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่เพียงก้าวข้ามปัญหา แต่ยังสามารถตั้งหลัก และนำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง นี่จึงเป็นที่มาในการจัดตั้ง SCB Business Center เมื่อ 3 ปีก่อน เพื่อเป็น Center of Excellence ให้เอสเอ็มอีอย่างครบวงจร

คุณพิทูร สัมพันธารักษ์ ผู้อำนวยการ Sales Planning & Performance Management ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่มักขาดข้อมูลข่าวสารความรู้ในการประกอบธุรกิจ และขาดที่ปรึกษา SCB Business Center จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับเอสเอ็มอี และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสร้าง Ecosystem เชื่อมต่อระหว่างลูกค้าเอสเอ็มอีให้เกิดเป็นเครือข่าย เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจซึ่งกันและกัน 

“เรามีการจัดสัมมนาเติมความรู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ตลอดเวลา โดยจัดเฉลี่ยเดือนละ 3-4 ครั้ง เพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ ทั้งเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ เทรนด์ของตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งการจัดงานสัมมนาจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ เช่น Wongnai เราเชิญมาให้ความรู้ ด้านการตลาด การบริหารจัดการหน้าร้าน การลดต้นทุนสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือบางครั้งมีการจัดสัมมนาในหัวข้อด้านการเงิน การจัดการบัญชี และภาษีที่เป็นจุดอ่อนของเอสเอ็มอี โดยมีพาร์ทเนอร์เก่งๆ เช่น AccRevo ที่เข้ามาให้ความรู้ในการจัดการเรื่องบัญชี-ภาษี การวางแผนภาษีที่ถูกต้อง รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนด้านบัญชี โดยขอโปรโมชั่นพิเศษจากพาร์ทเนอร์ เพื่อเป็นสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการแพลทฟอร์มต่าง ๆ จากพาร์ทเนอร์ นอกจากเชิญพาร์ทเนอร์มาให้ความรู้แล้ว SCB Business Center ยังมีกิจกรรมสัมมนาเพื่ออัพเดทเทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือมาฟังแนวทางการแก้ปัญหาในการทำธุรกิจ จากผู้เชี่ยวชาญแวดวงต่างๆ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจโลจิสติกส์ รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่เอสเอ็มอีต้องการ เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อธุรกิจจากธนาคาร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญของธนาคารเข้ามาให้ข้อมูลความรู้ หรือบางครั้งได้เรียนเชิญผู้บริหารของธนาคารที่ดูสายงานธุรกิจที่ประเทศจีนมาให้ความรู้เรื่องการเปิดตลาดจีน แนวทางการค้า สินค้าที่น่าสนใจ ที่เป็นที่ต้องการของตลาดจีน นอกจากนี้ยังมีพาร์ทเนอร์ที่ช่วยเอสเอ็มอีบุกตลาดอเมริกา คือ  Amazon ที่มาให้ความรู้ในการเปิดช่องทางขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Amazon.com เป็นต้น 

การสัมมนาทั้งหมดนี้ถือเป็นการสร้างเวทีให้ผู้ประกอบการได้มาทำความรู้จักกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงจับคู่ธุรกิจ จุดประกายไอเดียใหม่ ๆ ให้กับเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ SCB Business Center

เราเชื่อว่าการทำธุรกิจจำเป็นต้องมีพันธมิตร และเครือข่ายที่ดี ธนาคารไทยพาณิชย์ยินดีเป็นตัวกลางในเชื่อมโยงพันธมิตรใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือก และช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้กับผู้ประกอบการ นี่คือหัวใจหลักของการก่อตั้ง SCB Business Center ขึ้นมา เพราะเรามองว่า ถ้าลูกค้ามีเครือข่ายที่แข็งแรง ธุรกิจเขาย่อมแข็งแรง ลูกค้าอยู่ได้ แบงก์ก็อยู่ได้ คอยสนับสนุนกัน และเติบโตไปด้วยกันเรื่อย ๆ”

อย่างไรก็ดี แม้ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้การจัดกิจกรรมสัมมนาต้องระงับไปชั่วคราว แต่ SCB Business Center ก็ไม่หยุดให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยที่ผ่านมาได้มีการให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊ค SCB SME และ SCB Thailand อาทิ การปรับตัวทำธุรกิจในยุค New Normal และแนะนำวิธีการนำสินค้าไปจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ การเจาะตลาดประเทศ นอกจากนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ยังได้สร้างแพลตฟอร์ม Food Delivery “Robinhood” ตัวช่วยสำหรับธุรกิจร้านอาหาร แพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและโรงแรม “SCB Shop Deal” และแพลตฟอร์ม มณี Free Solutions” บริหารจัดการธุรกิจแบบมืออาชีพและครบวงจร 

คุณพิทูร กล่าวว่า SCB Business Center จะกลับมาให้ความรู้กับ SME ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ อบรม สัมมนา จับคู่ธุรกิจ อย่างต่อเนื่องเร็วๆ นี้ ในรูปแบบ Hybrid Seminar ผสมผสานทั้งรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ เพราะต้องการช่วยเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และเสริมความแกร่งให้เอสเอ็มอีให้ไปต่อได้อย่างมั่นคง

ไม่เพียงแต่บริการอบรมสัมมนาเท่านั้น SCB Business Center ยังเป็น Co-Working Space แหล่งจุดประกายความคิดสำหรับผู้ประกอบการที่เต็มไปด้วยบริการที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นบริการ  Financial Advisory ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจ หากต้องการคำปรึกษาในการเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง การขยับขยายกิจการ สามารถเดินเข้ามาคุย หรือนัดพบเพื่อรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่ SCB Business Center ได้ตลอดเวลา โดยเราจะช่วยวิเคราะห์งบการเงิน แนะนำแนวทางในการขอสินเชื่อ การเตรียมเอกสาร การเตรียมความพร้อมก่อนการขอสินเชื่อ และบริการทางการเงิน รับ โอน จ่าย ครบวงจร  

 นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคล  รับรองสำเนาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) ที่สาขาสยามสแควร์ด้วยเช่นกัน 

คุณพิทูร สรุปการทำงาน SCB Business Center ว่า ยังคงเน้นการสร้างเครือข่าย (Network) สร้างความรู้ (Knowledge) เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยโซลูชั่นทางการเงิน (Financial Solution) แต่ที่สำคัญอยากให้ผู้ประกอบการเปิดใจ รับความรู้ ปรับตัวเร็ว ก็จะรอดในทุกสถานการณ์ เพราะ Financial Solution เป็นแค่เครื่องมือสนับสนุนเท่านั้น
 

“ข้อดีของเอสเอ็มอีคือ คิดเร็ว ปรับตัวไว ยิ่งถ้ากล้าปรับตัวภายใต้วิกฤติ และมีคอนเนคชั่นที่แข็งแรง ก็จะส่งผลให้ทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเสริมกับแหล่งเงินทุนที่เติมเข้าไป ยิ่งทำให้เขาเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว”

Published on 16 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ