
เสิร์ฟข่าวสารภาครัฐแน่น ๆ กับวารสาร Good Governance on the Move ที่จะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกการเคลื่อนไหวของการพัฒนาภาครัฐ ‼️
📢สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำวารสาร Good Governance on the Move ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2568 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการลงทุน
🎯 พบกับสาระที่น่าสนใจ
🔹เรื่องเด่นประจำฉบับ: ร่าง พ.ร.บ. ยกระดับการบริหารงานภาครัฐ: ก้าวใหม่ของระบบราชการไทย
🔹Executive Talk: สัมภาษณ์พิเศษจาก ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ในหัวข้อ “การปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจ”
🔹B-READY Update: การปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ
🔹รอบรั้ว ก.พ.ร.: ทำความรู้จักองค์การมหาชนและคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.)
🖱️คลิกอ่านได้ที่: https://www.opdc.go.th/opdc-book/gg_on_the_move1apr68/
และอ่านวารสารย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. >> ศูนย์ความรู้ >> เอกสารเผยแพร่ >> ก.พ.ร. ชวนอ่าน (https://www.opdc.go.th/opdc-book/)
📝ขอเชิญทุกท่านร่วมตอบแบบประเมินความพึงพอใจวารสารเพื่อพัฒนาวารสารต่อไป ได้ที่: https://forms.gle/ZxVRVrCNCu6B4NJf9
🌟ลุ้นรับพัดลมพกพา 10 รางวัล ตอบแบบประเมินได้ตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 16 พฤษภาคม 2568
(ขอสงวนสิทธิ์การให้ของรางวัลแก่ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ยกเว้นข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร.)
#GGontheMove #OPDC #สำนักงากพร #BREADY
*** สสว. จัดทำข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ และโพลเรื่อง การขับเคลื่อน Digital Transformation ในธุรกิจ MSME เพื่อใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะบนเว็บไซต์มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ อยู่ที่ ระดับ ๕๒.๑ ปรับลดลงจากระดับ ๕๓.๑ ในเดือนก่อนหน้า โดยหดตัวลงอย่างชัดเจนจากภาคการผลิตที่ความ เชื่อมั่นปรับตัวต่ำกว่าค่าฐานครั้งแรกในรอบ ๖ เดือน มีสาเหตุมาจากการปรับลดกำลังการผลิต รวมถึงความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการจ้างงานที่ปรับลดลงชัดเจนในสาขาการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สาขาการผลิต อาหารและเครื่องดื่ม และสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่นเดียวกับภาคการบริการและภาค การเกษตรที่ความเชื่อมั่นปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาคการค้า ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ ๕๔.๕ จากระดับ ๕๒.๒ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการกระตุ้น เศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ (เงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๒) ที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ ธุรกิจค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น
*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) รายภาคธุรกิจ พบว่า ภาคการผลิต อยู่ที่ระดับ ๔๗.๙ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๑.๓ โดยระดับความเชื่อมั่นต่ำกว่าค่าฐานสะท้อนถึงความกังวลต่อ สภาวะทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการเริ่มลดกำลังการผลิตและชะลอการลงทุน ทั้งในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยาง พลาสติก และโลหะ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคู่ค้าที่ชะลอตัว ภาคธุรกิจการเกษตร อยู่ที่ระดับ ๕๐.๕ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๓.๔ มีสาเหตุจากปริมาณผลผลิตที่เริ่มลดลง หลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชไร่ และแนวโน้มราคาผลไม้ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ภาคใต้ยังได้แรงหนุนจากการเก็บ เกี่ยวปาล์มน้ำมันและยางพารา ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ ๕๓.๔ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๕.๐ ซึ่งชะลอตัวลง จากธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ขณะที่บริการก่อสร้างได้แรงหนุนจาก โครงการภาครัฐ และบริการซ่อมบำรุงปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศ ในทางกลับกัน ภาคการค้า อยู่ที่ระดับ ๕๔.๕ ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ ๕๒.๐ ฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกลุ่มผู้สูงอายุ (เงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๒) โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ปรับตัวดีขึ้นตามโครงการก่อสร้างภาครัฐ
*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) รายภูมิภาค พบว่า ภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ ๕๑.๑ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๔.๒ ผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลงชัดเจน จากการเร่งตัวสูงของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงตรุษจีนในเดือนก่อนหน้าขณะที่กิจกรรมการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นเฉพาะช่วงสุดสัปดาห์จากนักท่องเที่ยวที่มาจาก กรุงเทพฯ ในรูปแบบไปเช้าเย็นกลับเท่านั้น ภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ ๕๒.๑ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ แม้จะได้รับแรงหนุนจากภาคการค้าและภาคบริการใน ช่วงต้นปี แต่ผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อน จัดและปัญหาฝุ่น PM ๒.๕ ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ ทำให้ความเชื่อมั่นชะลอตัว โดยเฉพาะในกลุ่ม ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่พึ่งพาการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีน ภาคใต้ อยู่ที่ระดับ ๕๒.๓ ปรับตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ส่งผลให้กิจกรรมการท่องเที่ยวแผ่วลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน แม้บางพื้นที่ เช่น สงขลา ยังได้รับแรงหนุนจากนักท่องเที่ยว มาเลเซีย ขณะที่ภาคธุริจการเกษตรปรับตัวดีขึ้นตามรายได้ภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นสำคัญ ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ ๕๑.๖ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๙ โดยการ จับจ่ายใช้สอยจากรายได้ภาคการเกษตรยังเป็นปัจจัยพยุงเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างผลดีกับภาคการค้า และ บริการที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคการผลิตหดตัวลงชัดเจน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ ๕๓.๕ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่อยู่ในระดับทรงตัว โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ ซึ่งช่วยพยุงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการค้า นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้างยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาครัฐในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อยู่ที่ระดับ ๕๑.๕ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๗ การเร่งเบิกจ่ายงบผูกพันของ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖๘ ที่ต้องสิ้นสุดภายในไตรมาสที่ ๑ เร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในพื้นที่ รวมถึงโครงการก่อสร้างภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามภาคการบริการ ชะลอลงตามการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) คาดการณ์ ๓ เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ ๕๕.๖ จากระดับ ๕๔.๙ ที่ได้คาดการณ์ไว้ในเดือนก่อนหน้า โดยระดับความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นจากทั้ง ๕ องค์ประกอบ ด้วยความหวังเชิงบวกกับมาตรการเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๓ โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการภาคการค้า ที่คาดหวังการกระตุ้นกำลังซื้อในพื้นที่จากมาตรการรัฐ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบด้านปริมาณการผลิต และการบริการยังถูกกดดันจากผู้ประกอบการในภาคการบริการ และภาคการเกษตร จากการเข้าสู่ช่วง Low Season ของการดำเนินธุรกิจ ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ MSME ในหัวข้อประเด็นที่น่าสนใจ เรื่อง การขับเคลื่อน Digital Transformation ในธุรกิจ MSME โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME จำนวน๒,๗๐๔ ราย จาก ๖ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
จากการสอบถามพบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใน MSME เพิ่มขึ้นในทุก Pillar โดยเฉพาะด้านการสร้างเอกลักษณ์, การตลาดออนไลน์ และการใช้เครื่องมือพื้นฐานแต่ การเพิ่มขึ้นยังอยู่ในข้อจ ากัดของแต่ละขนาดธุรกิจ
ด้านการให้บริการและการตลาด เป็นด้านที่ MSME น าเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากที่สุด โดยเฉพาะการใช้รับรองช่องทางการช าระเงิน สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ในการสร้าง การรับรู้แบรนด์และการให้บริการลูกค้า ส่วนด้านการใช้ AI มักอยู่ในกลุ่มการให้บริการ ที่ใช้ Chatbot สื่อสารกับลูกค้า
MSME มีความก้าวหน้าในการเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การน าเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยังมีความเหลื่อมล้ าระหว่างธุรกิจ ซึ่งธุรกิจรายย่อยบางกลุ่มกลับมีการใช้งานที่น้อยลง ส่วนหนึ่งจากปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ขาดบุคลากร และขาดแรง กระตุ้นในการใช้งาน
MSME ส่วน ใหญ่ใช้ระบบ e-Government เช่น e-Payment และ e-tax filing แต่ ยังคงประสบปัญหาด้านความเสถียรของระบบ และความซับซ้อนในการใช้งาน ซึ่งท าให้ ไม่สะดวกและรูปแบบการใช้งานยังไม่สามารถลดภาระเอกสารได้มากนัก
MSME ขนาดกลางและขนาดย่อมมักจะเห็นผลลัพธ์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้าน การปรับปรุงการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินงาน ขณะที่ธุรกิจรายย่อย มักเห็นผลลัพธ์ในด้านการประหยัดเวลาและการด าเนินงานในโลกออนไลน์ที่สะดวกมาก ขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจ MSME รายย่อยบางรายที่ยังไม่เข้าใจหรือไม่สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีดิจิทัลได้เต็มที
MSME ทุกขนาดมักประสบอุปสรรคเรื่องงบประมาณที่จ ากัด และขาดทักษะในการใช้ เทคโนโลยีจากทั้งเจ้าของและพนักงาน นอกจากนี้ MSME รายย่อย และขนาดย่อม จะมี ประเด็นความกังวลด้านความยากในการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพิ่มมากกว่า MSME ขนาดกลาง ส่งผลกระทบต่อความลังเลและไม่มั่นใจในการตัดสินใจลงทุน
MSME ขนาดกลาง และขนาดย่อม มีแนวโน้มลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ MSME รายย่อย แนวโน้มลงทุนน้อยหรือ ชะลอการลงทุน
ภาพรวมของการสนับสนุนธุรกิจ MSME ทุกขนาดต้องการเน้นการพัฒนา องค์ความรู้ และการให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นอันดับแรก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมต้องการการเพิ่มขีดความสามารถและการเชื่อมโยงตลาดเพื่อขยายธุรกิจและ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
ThumbinThai เป็นบริษัทรับผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าและกระเป๋าผ้าจากประเทศไทย ซึ่งสามารถผลิตได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เสื้อยืด คอกลม คอวี เสื้อแขนสั้น เสื้อแขนยาว เสื้อเด็ก เสื้อฮู้ด เสื้อสเวตเตอร์ เสื้อเดรส เสื้อตัดต่อตามสไตล์ความต้องการของลูกค้า และถุงผ้าแบบต่าง ๆ โดยมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร ตั้งแต่การตัด เย็บ สกรีน ทำแท็กป้ายติดสินค้า พร้อมแพคสินค้าในรูปแบบต่างๆตามที่ลูกค้าต้องการ และ ThumbinThai ยังมีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตนเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้ากีฬา แต่เน้นจำหน่ายเฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น
ThumbinThai มีบริการจัดส่งทั่วโลก โดยมีจุดเด่นคือเนื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Thumbinthai ซึ่งสั่งผลิตผ้าเองโดยตรงจากโรงทอที่มีคุณภาพ และได้ทำการค้นหาส่วนผสมในการทำเนื้อผ้าที่นุ่มใส่สบาย ลงตัวในเรื่องคุณภาพที่เหมาะสมกับราคาที่สุด นอกจากนี้ทางเรายังมีผ้า recycled ที่เกิดจากเศษผ้าส่วนเกินจากกระการผลิต นำเศษผ้าส่วนเกินไป upcycle เป็นผ้าผืนใหม่ ซึ่งเราเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) และด้วยประสบการณ์ที่มีมากกว่า 10 ปีทำให้ปัจจุบันเราจึงมีลูกค้าประจำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ให้ความไว้วางใจสั่งผลิตสินค้ากับเรา ซึ่งสามารถรับประกันความน่าเชื่อถือได้ รางวัลที่ได้รับ อาทิเช่น ISPO Award : ISPO Apparel Fall/Winter 2024/25
มองความเป็นไปได้ในทุกโอกาส
ในช่วงโควิด ตลาดในประเทศไม่มียอดขายเลย แต่ยอดขายต่างประเทศของ ThumbinThai ใน Alibaba.com กลับเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ Brand สินค้าประเภทอื่น ๆ ที่หันมามองโอกาสทางธุรกิจจาก Platform Online ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนทำให้ ThumbinThai กลายเป็น Success Case Story ให้กับ Alibaba ประเทศไทย
ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตเสื้อยืดที่มีคุณภาพ ใส่ใจทุกกระบวนการผลิต มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและสังคม ThumbinThai พร้อมดูแลคุณในแบบ ”เพื่อนที่พร้อมส่งมอบความรู้และสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ”
ธุรกิจที่ดีที่สุด คือธุรกิจที่ได้เริ่มทำทันที!
ThumbinThai ยึดเอาหลักการ 5P มาใช้ คือ
ทั้ง 5 อย่างนี้รวมกัน จะสามารถประสบความสำเร็จได้ โดยเฉพาะการสู้ ไม่ยอมแพ้ ปรับตัวให้เร็ว อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
THUMBINTHAI (Thumb Stock) บริษัท ธัมบ์อินไทย จำกัด
ที่อยู่: 65, 67 ซอย เอกชัย 34 แยก 2 บางขุนเทียน, เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
โทร: 061-9979998
อีเมล: sale@thumbinthai.com
เว็บไซต์: https://www.thumbinthai.com/
Facebook: https://www.facebook.com/thumbinthai
🎯ตลาดส่งออก-นำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับ ออสเตรเลีย-ไทย
📌ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ditp.go.th/post/191705
🙏ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
#DITP #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
📎อัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่
Facebook Page : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP
Line: @DITP (มี @ ด้วยนะคะ)
Instagram: instagram.com/ditpfamily
☎️สายด่วนโทร 1169
ผลิตภัณฑ์ซอสผัดกระเพราสำเร็จรูป แบรนด์ หมีปรุง ที่ขายดีติดอันดับ จนต่อยอดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ จากแนวคิดความตั้งใจให้ซอสกะเพราสูตรสูตรพริกแห้งโบราณตัวนี้ เป็นเครื่องมือสร้างรายได้ให้คนไทย แบบที่ไม่ต้องลงทุนสูงก็สร้างอาชีพได้ด้วยตัวเอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากธุรกิจร้านอาหารเล็ก ๆ ของคุณสัจจา วสุวัต ได้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา จนกระทั่งวันนี้ได้เติบโตกลายเป็นเจ้าของโรงงานที่พร้อมสำหรับการส่งออกทั่วโลก โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 ปี
หมีปรุงไม่ใช่แค่ซอส แต่คือโอกาสสำหรับคนที่ไม่เคยยอมแพ้
ในช่วงโควิด หลังจากมีประกาศล็อกดาวน์ ทําให้ร้านอาหารที่ทําอยู่ปิดตัวลงชั่วคราว ขาดรายได้ไป จะทำยังไงให้มีรายได้เข้ามา เลยต้องผันตัวมาขายอาหารตามสั่งที่บ้าน และเลือก ‘ผัดกะเพรา’ ซึ่งเป็นเมนูง่าย ๆ ที่ราคาไม่แพง และคนไทยกินเป็นประจำอยู่แล้ว มาเป็นเมนูที่จะขายในแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์แทน ซึ่งคุณอาร์มมองว่าในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดีเล็ก ๆ ที่ยังไม่ปิดโอกาสในการทำธุรกิจของเขา
เริ่มต้นหาไอเดีย หาจุดขายว่าจะทำอย่างไรให้กะเพราของร้าน แตกต่างจากที่อื่น เลยตั้งชื่อว่าผัดกะเพราสูตรพริกแห้งโบราณ ที่ผัดแบบไร้น้ำมัน
ผลปรากฏว่าขายดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้ตัดสินใจคิดค้น ‘ซอสกะเพรา’ ขึ้นมาเพื่อให้ทำทันกับออเดอร์ที่หลั่งไหลเข้ามาในแต่ละวัน ในขณะเดียวกันก็ต้องการคงรสชาติกะเพราทุกจาน แม้ทางคุณอาร์มจะไม่ได้เป็นคนทำก็ตาม
พอมาเจอว่าใครทำก็อร่อย จึงเกิดไอเดียขายซอสแทนขายอาหาร นอกจากความอิ่มแล้วคือสามารถช่วยสร้างอาชีพให้กับคนที่สนใจได้อีกด้วย ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดี หนึ่งในนั้นคือลูกค้าที่เป็นร้านอาหาร จึงทำให้เกิดไอเดียใหม่ จากตอนแรกที่คิดแค่ว่าจะขายซอสให้คนมีอาชีพ ก็เริ่มหันมาโฟกัสลูกค้าที่เป็นร้านอาหารมากขึ้น โดยเริ่มจากการทำ OEM หลังจากใช้เวลาเพียง 3 ปี หมีปรุงกลายเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักจากคนไทยทั่วประเทศ ถือเป็นเครื่องหมายยืนยันได้ว่าแบรนด์ กะเพราหมีปรุง นั้นสามารถตีตลาดได้ดีจริง ๆ แล้วยังต่อยอดไปสู่การขายแฟรนไชส์อีกด้วย
“ถ้าตอบแบบไม่โลกสวย คือ โชคดีที่มีโควิด ถ้าวันนั้นโควิดไม่เกิด ผมก็ยังทำร้านอาหารเล็กๆ อยู่ เป็นพ่อค้าคนหนึ่ง โชคดีที่เป็นหนี้ เพราะว่าการเป็นหนี้ทำให้เราแอคทีฟ โชคดีที่เจอเหตุการณ์ต่าง ๆ คือ ผมหาจุดที่เป็นโชคร้ายให้เป็นโชคดี และนี่คือคีย์ซัคเซสของผม”
“ใครเจอหมีปรุง คนนั้นมีอาชีพ สร้างอาชีพทั่วไทย” ด้วยแนวคิดนี้ จึงทำแฟรนไชส์ขึ้นมาในแบบที่ไม่คิดค่าแฟรนไชส์ โดยการที่ลูกค้ามาซื้อซอสของหมีปรุง เขาก็จะสอนวิธีทำผัดกระเพราขายแบบครบวงจร ด้วยโมเดลนี้ทำให้ค่อยๆสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้เติบโตขึ้น นอกจากนั้น แนวคิดนี้ทางแบรนด์ หมีปรุง ยังมีส่วนผลักดัน และสนับสนุนสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรไทยที่ปลูกและจำหน่ายวัตถุดิบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะเพรา, พริก, กระเทียม เป็นต้น ให้มีรายได้ ส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานของหมีปรุง และคุณสัจจา ยังมีโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างอาชีพให้คนไทย เช่น จัดทำขายเมนูแบบ Chef Table ที่โรงงาน ให้กับลูกค้าที่อยากมาชิมอาหารเมนูพิเศษต่าง ๆ ถึงโรงงาน โดยให้นักเรียน นักศึกษา ได้มาฝึกอาชีพ สร้างรายได้ นำไปต่อยอดได้ด้วยตนเอง
“ในอนาคตแบรนด์หมีปรุงมุ่งมั่นจะทำให้เมนูผัดกะเพราเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ผมต้องการให้ต่างชาติรับรู้ว่านี่แหละคือรสชาติของกะเพราที่คนไทยกินกัน นี่คือเป้าหมายของแบรนด์หมีปรุงตอนนี้”...
ทางแบรนด์ หมีปรุง ได้รับรางวัลธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งปี Best Awards Asean Brand 2022 จากงานนวัตกรรมธุรกิจอุตสาหกรรมและการบริการจัดการที่ยอดเยี่ยม จัดโดยสภาสื่อมวลชนไทย, รางวัล Best Product of The Year 2022 จากสภาเครือข่ายสถาบันส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ และเศรษฐกิจแห่งประเทศไทยในโครงการเสริมสร้างการพัฒนาธุรกิจ, และคุณสัจจา วสุวัต ยังได้รับรางวัล The Best CEO 2022
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท หมีปรุง โกลบอลฟู้ดส์ จำกัด
ที่อยู่: 122 77 หมู่ที่ 11 อริยแลนด์ เฟส 14 ตำบล ลำพญา อำเภอบางเลน นครปฐม 73130
โทร: 090 285 6291
อีเมล: sattcha.service@gmail.com
เว็บไซต์: https://www.meeprung.com/meePaShop.php?url=meeprung
Facebook: https://www.facebook.com/saucemeeprung