พีดีเอ็ม แบรนด์ ยกระดับเสื่อไทย สู่ของตกแต่งบ้านระดับโลก

     

     “PDM” มีที่มาจากคำว่า “Product Design Matters” หรือแปลง่าย ๆ ว่า “การออกแบบผลิตภัณฑ์นี่มันสำคัญมาก" บริษัทเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มดีไซน์เนอร์ที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ กวาดรางวัลสุดยอดนักออกแบบมาแล้วหลายเวทีทั่วโลก   


      ธุรกิจในกลุ่มมีทั้งการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ พัฒนา และผลิตเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร ให้กับผู้ส่งออกและผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโอกาสพิเศษกับแบรนด์ชื่อดังต่าง ๆ อีกด้วย

 

       สินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับ PDM คือ เสื่อ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ผลิตขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการให้เสื่อไทยกลายเป็นพรมเมืองร้อน ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแบรนด์ PDM Brand ที่ไม่เพียงสวยแบบสากล แต่ยังทนทานด้วยวิธีการทออย่างพิถีพิถัน ตรวจสอบรายละเอียดทุกขั้นตอน รวมทั้งต้องเป็นสินค้ารักษ์โลกด้วย

 

‘Product Design Matters’
      หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์ชนะใจลูกค้าและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจาก 3 สิ่ง คือ โปรดักต์ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และดาต้า มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งการจะทำโปรดักต์ชิ้นใดออกมาขาย ก็ต้องดูว่าของชิ้นนั้นเป็นสิ่งที่อยากทำหรือไม่เป็นอันดับแรก

 

      ‘Product Design Matters’ หรือ ‘การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่ง’ ปรัชญาในการทำงานของ PDM Brand จึงไม่เพียงสร้างภาพลักษณ์ที่สวยงาม แต่คือการสังเกตและศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่าผู้บริโภคมีความต้องการ ความฝัน หรือปัญหาใดแม้เพียงเป็นจุดเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นในมิติใดมิติหนึ่ง

 

“งานดีไซน์ที่ตอบโจทย์ครบทุกความต้องการ”

         PDM แบ่งเป็น 4 โมเดลธุรกิจ อย่างแรกคือ ‘Original Design’ คือ คิดเอง ทำเอง ขายเอง ด้วยความที่ไม่มีโรงงาน ทาง PDM จะชวนดีไซเนอร์มาทำงานด้วยกันบ้าง กับออกแบบเองบ้าง อย่างที่สองคือ ‘Select’ คือทำตัวเป็นกูรู เลือกหาของดีไซน์ดี ๆ ซื้อมาขายไป อย่างที่สามคืองาน ‘Collaboration’ เป็นการทำงานร่วมกับแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ และอย่างสุดท้ายคือทำเป็นโปรเจ็กต์ ‘Supervision’ ทำของพรีเมียมให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยทาง PDM ทำทั้งระบบ ตั้งแต่ผลิต ตรวจสอบคุณภาพ และส่งของให้

 

        อย่างที่สองคือ โปรดักต์กลุ่ม Living คือพวกเฟอร์นิเจอร์ โซฟา เก้าอี้ โต๊ะ ฯลฯ 

 

        อย่างที่สามคือ Fashion Living มีสินค้าอย่างกางเกงช้าง กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าครอสโอเวอร์
และยังได้ร่วมงานกับแฟชั่นดีไซเนอร์หลายคนด้วย

 

        และอย่างที่สี่คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในไลน์ Home Appliances

 

“สำหรับก้าวต่อไปของ PDM ซึ่งกำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 11 นี้ ได้รับการเปิดเผยว่า PDM Shop กำลังจะเป็นรูปเป็นร่างให้ได้ชมและช้อปกันในอีกไม่นานนี้ 

 

       ส่วนฝันต่อไปที่ดีไซเนอร์ในฐานะเจ้าของแบรนด์อย่างคุณดิวอยากจะไปให้ถึง คือการทำให้ PDM กลายเป็น National brand ที่เมื่อพูดถึงข้าวของที่มีดีไซน์โดดเด่นในภูมิภาคอาเซียน ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึงแบรนด์ PDM

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

 

บริษัท พีดีเอ็ม แบรนด์ จำกัด

 

ที่อยู่: 8 Pattanakarn 20 Yak 4 Suanluang Bangkok, Thailand, Bangkok 10250

โทร: 094 976 3883

อีเมล: info@pdmbrand.com

เว็บไซต์: https://pdmbrand.com/

Facebook: https://www.facebook.com/PDMBRAND

บทความแนะนำ

วารสาร Good Governance on the Move ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2568

เสิร์ฟข่าวสารภาครัฐแน่น ๆ กับวารสาร Good Governance on the Move ที่จะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกการเคลื่อนไหวของการพัฒนาภาครัฐ ‼️

📢สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำวารสาร Good Governance on the Move ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2568 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการลงทุน

🎯 พบกับสาระที่น่าสนใจ
🔹เรื่องเด่นประจำฉบับ: ร่าง พ.ร.บ. ยกระดับการบริหารงานภาครัฐ: ก้าวใหม่ของระบบราชการไทย
🔹Executive Talk: สัมภาษณ์พิเศษจาก ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ในหัวข้อ “การปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจ”
🔹B-READY Update: การปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ
🔹รอบรั้ว ก.พ.ร.: ทำความรู้จักองค์การมหาชนและคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.)

🖱️คลิกอ่านได้ที่: https://www.opdc.go.th/opdc-book/gg_on_the_move1apr68/


และอ่านวารสารย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. >> ศูนย์ความรู้ >> เอกสารเผยแพร่ >> ก.พ.ร. ชวนอ่าน (https://www.opdc.go.th/opdc-book/)

📝ขอเชิญทุกท่านร่วมตอบแบบประเมินความพึงพอใจวารสารเพื่อพัฒนาวารสารต่อไป ได้ที่: https://forms.gle/ZxVRVrCNCu6B4NJf9


🌟ลุ้นรับพัดลมพกพา 10 รางวัล ตอบแบบประเมินได้ตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 16 พฤษภาคม 2568
(ขอสงวนสิทธิ์การให้ของรางวัลแก่ผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ ยกเว้นข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร.)

#GGontheMove #OPDC #สำนักงากพร #BREADY

บทความแนะนำ

สสว. จัดทำข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

*** สสว. จัดทำข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ และโพลเรื่อง การขับเคลื่อน Digital Transformation ในธุรกิจ MSME เพื่อใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะบนเว็บไซต์มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ อยู่ที่ ระดับ ๕๒.๑ ปรับลดลงจากระดับ ๕๓.๑ ในเดือนก่อนหน้า โดยหดตัวลงอย่างชัดเจนจากภาคการผลิตที่ความ เชื่อมั่นปรับตัวต่ำกว่าค่าฐานครั้งแรกในรอบ ๖ เดือน มีสาเหตุมาจากการปรับลดกำลังการผลิต รวมถึงความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการจ้างงานที่ปรับลดลงชัดเจนในสาขาการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สาขาการผลิต อาหารและเครื่องดื่ม และสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่นเดียวกับภาคการบริการและภาค การเกษตรที่ความเชื่อมั่นปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาคการค้า ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ ๕๔.๕ จากระดับ ๕๒.๒ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการกระตุ้น เศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ (เงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๒) ที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ ธุรกิจค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น

*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) รายภาคธุรกิจ พบว่า ภาคการผลิต อยู่ที่ระดับ ๔๗.๙ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๑.๓ โดยระดับความเชื่อมั่นต่ำกว่าค่าฐานสะท้อนถึงความกังวลต่อ สภาวะทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการเริ่มลดกำลังการผลิตและชะลอการลงทุน ทั้งในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยาง พลาสติก และโลหะ ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคู่ค้าที่ชะลอตัว ภาคธุรกิจการเกษตร อยู่ที่ระดับ ๕๐.๕ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๓.๔ มีสาเหตุจากปริมาณผลผลิตที่เริ่มลดลง หลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชไร่ และแนวโน้มราคาผลไม้ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ภาคใต้ยังได้แรงหนุนจากการเก็บ เกี่ยวปาล์มน้ำมันและยางพารา ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ ๕๓.๔ ปรับตัวลดลงจากระดับ ๕๕.๐ ซึ่งชะลอตัวลง จากธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ขณะที่บริการก่อสร้างได้แรงหนุนจาก โครงการภาครัฐ และบริการซ่อมบำรุงปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศ ในทางกลับกัน ภาคการค้า อยู่ที่ระดับ ๕๔.๕ ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ ๕๒.๐ ฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกลุ่มผู้สูงอายุ (เงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๒) โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ปรับตัวดีขึ้นตามโครงการก่อสร้างภาครัฐ


*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) รายภูมิภาค พบว่า ภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ ๕๑.๑ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๔.๒ ผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลงชัดเจน จากการเร่งตัวสูงของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงตรุษจีนในเดือนก่อนหน้าขณะที่กิจกรรมการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นเฉพาะช่วงสุดสัปดาห์จากนักท่องเที่ยวที่มาจาก กรุงเทพฯ ในรูปแบบไปเช้าเย็นกลับเท่านั้น ภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ ๕๒.๑ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ แม้จะได้รับแรงหนุนจากภาคการค้าและภาคบริการใน ช่วงต้นปี แต่ผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อน จัดและปัญหาฝุ่น PM ๒.๕ ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ ทำให้ความเชื่อมั่นชะลอตัว โดยเฉพาะในกลุ่ม ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่พึ่งพาการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีน ภาคใต้ อยู่ที่ระดับ ๕๒.๓ ปรับตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ส่งผลให้กิจกรรมการท่องเที่ยวแผ่วลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน แม้บางพื้นที่ เช่น สงขลา ยังได้รับแรงหนุนจากนักท่องเที่ยว มาเลเซีย ขณะที่ภาคธุริจการเกษตรปรับตัวดีขึ้นตามรายได้ภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นสำคัญ ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ ๕๑.๖ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๙ โดยการ จับจ่ายใช้สอยจากรายได้ภาคการเกษตรยังเป็นปัจจัยพยุงเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างผลดีกับภาคการค้า และ บริการที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคการผลิตหดตัวลงชัดเจน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ ๕๓.๕ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๓.๘ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่อยู่ในระดับทรงตัว โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ ซึ่งช่วยพยุงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการค้า นอกจากนี้ ภาคการก่อสร้างยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาครัฐในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อยู่ที่ระดับ ๕๑.๕ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ ๕๑.๗ การเร่งเบิกจ่ายงบผูกพันของ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖๘ ที่ต้องสิ้นสุดภายในไตรมาสที่ ๑ เร่งการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้น ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในพื้นที่ รวมถึงโครงการก่อสร้างภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามภาคการบริการ ชะลอลงตามการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ


*** สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) คาดการณ์ ๓ เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ ๕๕.๖ จากระดับ ๕๔.๙ ที่ได้คาดการณ์ไว้ในเดือนก่อนหน้า โดยระดับความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นจากทั้ง ๕ องค์ประกอบ ด้วยความหวังเชิงบวกกับมาตรการเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท ระยะที่ ๓ โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการภาคการค้า ที่คาดหวังการกระตุ้นกำลังซื้อในพื้นที่จากมาตรการรัฐ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบด้านปริมาณการผลิต และการบริการยังถูกกดดันจากผู้ประกอบการในภาคการบริการ และภาคการเกษตร จากการเข้าสู่ช่วง Low Season ของการดำเนินธุรกิจ ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ MSME ในหัวข้อประเด็นที่น่าสนใจ เรื่อง การขับเคลื่อน Digital Transformation ในธุรกิจ MSME โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SME จำนวน๒,๗๐๔ ราย จาก ๖ ภูมิภาค ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
จากการสอบถามพบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใน MSME เพิ่มขึ้นในทุก Pillar โดยเฉพาะด้านการสร้างเอกลักษณ์, การตลาดออนไลน์ และการใช้เครื่องมือพื้นฐานแต่ การเพิ่มขึ้นยังอยู่ในข้อจ ากัดของแต่ละขนาดธุรกิจ
ด้านการให้บริการและการตลาด เป็นด้านที่ MSME น าเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากที่สุด โดยเฉพาะการใช้รับรองช่องทางการช าระเงิน สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ในการสร้าง การรับรู้แบรนด์และการให้บริการลูกค้า ส่วนด้านการใช้ AI มักอยู่ในกลุ่มการให้บริการ ที่ใช้ Chatbot สื่อสารกับลูกค้า
MSME มีความก้าวหน้าในการเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การน าเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยังมีความเหลื่อมล้ าระหว่างธุรกิจ ซึ่งธุรกิจรายย่อยบางกลุ่มกลับมีการใช้งานที่น้อยลง ส่วนหนึ่งจากปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ขาดบุคลากร และขาดแรง กระตุ้นในการใช้งาน
MSME ส่วน ใหญ่ใช้ระบบ e-Government เช่น e-Payment และ e-tax filing แต่ ยังคงประสบปัญหาด้านความเสถียรของระบบ และความซับซ้อนในการใช้งาน ซึ่งท าให้ ไม่สะดวกและรูปแบบการใช้งานยังไม่สามารถลดภาระเอกสารได้มากนัก
MSME ขนาดกลางและขนาดย่อมมักจะเห็นผลลัพธ์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้าน การปรับปรุงการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินงาน ขณะที่ธุรกิจรายย่อย มักเห็นผลลัพธ์ในด้านการประหยัดเวลาและการด าเนินงานในโลกออนไลน์ที่สะดวกมาก ขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจ MSME รายย่อยบางรายที่ยังไม่เข้าใจหรือไม่สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีดิจิทัลได้เต็มที
MSME ทุกขนาดมักประสบอุปสรรคเรื่องงบประมาณที่จ ากัด และขาดทักษะในการใช้ เทคโนโลยีจากทั้งเจ้าของและพนักงาน นอกจากนี้ MSME รายย่อย และขนาดย่อม จะมี ประเด็นความกังวลด้านความยากในการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพิ่มมากกว่า MSME ขนาดกลาง ส่งผลกระทบต่อความลังเลและไม่มั่นใจในการตัดสินใจลงทุน
MSME ขนาดกลาง และขนาดย่อม มีแนวโน้มลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ MSME รายย่อย แนวโน้มลงทุนน้อยหรือ ชะลอการลงทุน
ภาพรวมของการสนับสนุนธุรกิจ MSME ทุกขนาดต้องการเน้นการพัฒนา องค์ความรู้ และการให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นอันดับแรก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลาง และ ขนาดย่อมต้องการการเพิ่มขีดความสามารถและการเชื่อมโยงตลาดเพื่อขยายธุรกิจและ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

บทความแนะนำ

 

        ThumbinThai เป็นบริษัทรับผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าและกระเป๋าผ้าจากประเทศไทย ซึ่งสามารถผลิตได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เสื้อยืด คอกลม คอวี เสื้อแขนสั้น เสื้อแขนยาว เสื้อเด็ก เสื้อฮู้ด เสื้อสเวตเตอร์ เสื้อเดรส เสื้อตัดต่อตามสไตล์ความต้องการของลูกค้า และถุงผ้าแบบต่าง ๆ โดยมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร ตั้งแต่การตัด เย็บ สกรีน ทำแท็กป้ายติดสินค้า พร้อมแพคสินค้าในรูปแบบต่างๆตามที่ลูกค้าต้องการ และ ThumbinThai ยังมีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตนเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้ากีฬา แต่เน้นจำหน่ายเฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น

 

        ThumbinThai มีบริการจัดส่งทั่วโลก โดยมีจุดเด่นคือเนื้อผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Thumbinthai ซึ่งสั่งผลิตผ้าเองโดยตรงจากโรงทอที่มีคุณภาพ และได้ทำการค้นหาส่วนผสมในการทำเนื้อผ้าที่นุ่มใส่สบาย ลงตัวในเรื่องคุณภาพที่เหมาะสมกับราคาที่สุด นอกจากนี้ทางเรายังมีผ้า recycled ที่เกิดจากเศษผ้าส่วนเกินจากกระการผลิต นำเศษผ้าส่วนเกินไป upcycle เป็นผ้าผืนใหม่ ซึ่งเราเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) และด้วยประสบการณ์ที่มีมากกว่า 10 ปีทำให้ปัจจุบันเราจึงมีลูกค้าประจำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ให้ความไว้วางใจสั่งผลิตสินค้ากับเรา ซึ่งสามารถรับประกันความน่าเชื่อถือได้ รางวัลที่ได้รับ อาทิเช่น ISPO Award : ISPO Apparel Fall/Winter 2024/25

 

มองความเป็นไปได้ในทุกโอกาส

        ในช่วงโควิด ตลาดในประเทศไม่มียอดขายเลย แต่ยอดขายต่างประเทศของ ThumbinThai ใน Alibaba.com กลับเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ Brand สินค้าประเภทอื่น ๆ ที่หันมามองโอกาสทางธุรกิจจาก Platform Online ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนทำให้ ThumbinThai กลายเป็น Success Case Story ให้กับ Alibaba ประเทศไทย

 

        ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตเสื้อยืดที่มีคุณภาพ ใส่ใจทุกกระบวนการผลิต มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและสังคม ThumbinThai พร้อมดูแลคุณในแบบ ”เพื่อนที่พร้อมส่งมอบความรู้และสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ”

 

ธุรกิจที่ดีที่สุด คือธุรกิจที่ได้เริ่มทำทันที!

ThumbinThai ยึดเอาหลักการ 5P มาใช้ คือ

  • Practice ทำทันที 
  • Passion มุ่งมั่น 
  • Persistence ดื้อ จะทำให้ได้
  • Patient อดทนมาก ๆ
  • Perseverance ผ่านอุปสรรค ทนความเจ็บปวดได้ 

 

ทั้ง 5 อย่างนี้รวมกัน จะสามารถประสบความสำเร็จได้ โดยเฉพาะการสู้ ไม่ยอมแพ้ ปรับตัวให้เร็ว อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

THUMBINTHAI (Thumb Stock) บริษัท ธัมบ์อินไทย จำกัด

ที่อยู่: 65, 67 ซอย เอกชัย 34 แยก 2 บางขุนเทียน, เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150

โทร: 061-9979998

อีเมล: sale@thumbinthai.com

เว็บไซต์: https://www.thumbinthai.com/

Facebook: https://www.facebook.com/thumbinthai

บทความแนะนำ

ตลาดส่งออก-นำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับ ออสเตรเลีย-ไทย

🎯ตลาดส่งออก-นำเข้า อัญมณีและเครื่องประดับ ออสเตรเลีย-ไทย
📌ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ditp.go.th/post/191705


🙏ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
#DITP #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
📎อัปเดตและติดตามข่าวสารได้ที่
Facebook Page : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP
Line: @DITP (มี @ ด้วยนะคะ)
Instagram: instagram.com/ditpfamily
☎️สายด่วนโทร 1169

บทความแนะนำ