SMEs ม.ค. - มิ.ย. 67 ค้ำแล้ว เฉียด 1.9 หมื่นล้านบาท

ผลงานค้ำประกันสินเชื่อ ม.ค. - มิ.ย. 67 📈

 

ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 45,440 ราย เป็นกลุ่มรายย่อยหรือ Micro ในสัดส่วนถึง 94%  ค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ย 80,000 บาทต่อราย ส่วนอีก 6% เป็นกลุ่ม SMEs  ค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ย 5.31 ล้านบาทต่อราย วงเงินอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ ราว 18,946  ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 168,762 ตำแหน่ง สร้างสินเชื่อในระบบ 19,610 ล้านบาท และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 76,771 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อที่เป็นมาตรการรัฐ และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อที่ บสย. พัฒนาเอง ได้แก่

 

1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) วงเงิน 9,511 ล้านบาท สัดส่วน 50% ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 1,532 ราย (สัดส่วนวงเงินค้ำประกันสูงสุด)

 

2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดำเนินการโดย บสย. จำนวน 5,126 ล้านบาท สัดส่วน 27% (รวม 4 โครงการย่อย ได้แก่ รายสถาบันการเงินระยะ 7 (BI7) / โครงการ PGS Renew / Smart Plus & Top up และ RBP  ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 2,391 ราย 

 

3.โครงการตามมาตรการรัฐ จำนวน 4,309 ล้านบาท สัดส่วน 23% ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 41,568 ราย (ค้ำประกันจำนวนรายสูงสุด)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/602880

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEs #ค้ำประกัน #บสย

บทความแนะนำ

ttb analytics เผย 3 ประเด็นสะท้อนความเปราะบางของ SMEs

ttb analytics เผย 3 ประเด็นสะท้อนความเปราะบางของ SMEs

 

1.รายได้โตต่ำและขาดกำไรสะสม เนื่องจากธุรกิจ SMEs 

SMEs รายเล็ก รายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาท/ปี

มีกำไรเฉลี่ยจากการดำเนินธุรกิจ 0.15% ของรายได้ 

กำไรสะสมไม่พอที่จะใช้เพิ่มศักยภาพรักษาสถานะการแข่งขันได้

 

SMEs รายกลางขึ้นไป ที่รายได้สูงกว่า 30 ล้านบาท/ปี

มีกำไรเฉลี่ยจากการดำเนินธุรกิจ 3.1% ของรายได้

สามารถใช้กำไรสะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจได้

 

2.ต้นทุนต่อหน่วยสูง

 

SMEs รายเล็ก

มีฐานลูกค้าจำกัดมี

มีต้นทุน 25.3% ของรายได้ 

 

SMEs รายกลางขึ้นไป

มีลูกค้าที่ใหญ่และมั่นคงกว่า

มีต้นทุน 12.9% ของรายได้

 

3.อำนาจต่อรองต่ำ

 

SMEs รายเล็ก

สำรองเงินทุนเพื่อหมุนเวียนสูงถึง 169 วัน

สั่งสินค้าครั้งละมาก ๆ เพื่อลดต้นทุนสินค้าต่อหน่วย และรักษาฐานลูกค้า

 

SMEs รายกลางขึ้นไป

สำรองเงินทุนเพียง 90 วัน

มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสั่งสินค้าครั้งละมาก ๆ

 

ผลจากความเปราะบางเหล่านี้กดดันการดำเนินธุรกิจและลดโอกาสการอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ttb bank

https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/ttba-thai-sme-2024

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #analytics #ธุรกิจ #SMEsรายเล็ก #SMEsรายกลาง #SMEs

บทความแนะนำ

บัญชีมีความสำคัญอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจ SMEs ควรรู้ 

บัญชีมีความสำคัญอย่างไร และทำไมเจ้าของธุรกิจ SMEs ควรรู้ 

 

การประเมินสถานะทางการเงินของบริษัท : เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท

ประเมินความคุ้มทุนของการลงทุนต่างๆ ของบริษัท

ประเมินเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ประเมินว่าบริษัทต้องการเงินเพิ่มอีกเท่าไร

ประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

ประเมินการขึ้นเงินเดือนหรือการให้โบนัสพนักงาน

 

การกู้เงินจากสถาบันทางการเงิน : เพื่อขยายธุรกิจ

บัญชีต้องโปร่งใส

บัญชีต้องถูกต้องเป็นพื้นฐาน

ต้องมีการทำบัญชีมาแล้วหลายปี

 

การระดมทุน : เพื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

บัญชีต้องโปร่งใส

บัญชีต้องถูกต้องเป็นพื้นฐาน

ต้องมีการทำบัญชีมาแล้วหลายปี

 

การวางแผนภาษีและการจ่ายภาษี : เพื่อคำนวณภาษีได้ถูกต้อง

หากบัญชีมีความถูกต้อง จะช่วยให้การจ่ายภาษีเป็นเรื่องง่าย

หากถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง จะช่วยให้คำนวณได้ และไม่จ่ายภาษีเกิน

 

การลดปัญหาในหมู่หุ้นส่วน : เพื่อการแบ่งกำไรปันผลได้อย่างเท่าเทียม

เพื่อประเมินว่าบริษัทได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ต่อปี

 

ประโยชน์ของการทำบัญชีนั้นยังมีอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ช่วยให้การวางแผนธุรกิจได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงในอนาคต และยังทำลดความขัดแย้งในบรรดาผู้ถือหุ้นในธุรกิจได้อีกด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงไทย

https://sme.krungthai.com/sme/auth/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=45&itemId=275

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #บัญชี #ธุรกิจ #SME

บทความแนะนำ

ระวัง! 6 สัญญาณเตือน ธุรกิจ SMEs เริ่มขาดสภาพคล่อง

ระวัง! 6 สัญญาณเตือน ธุรกิจ SMEs เริ่มขาดสภาพคล่อง

1.รายได้ลดลง

ต้องหันกลับมามอง และวิเคราะห์สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจของตัวเอง จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด

 

2.กำไรที่ลดลงเป็นเรื่อย ๆ

ต้องดูตัวเลขรายจ่ายแต่ละตัว ว่ามีรายจ่ายอะไรที่ผิดปกติ หรือมีรายจ่ายแฝงอะไรเกิดขึ้น เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทัน

 

3.สินค้าค้างอยู่ในสต็อกนานขึ้น

ต้องวิเคราะห์สถานการณ์โดยเร็ว และรีบแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด

 

4.การชำระเงินของคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องเงิน โดยหาแหล่งเงินทุนมาเพิ่ม เพื่อให้มีกระแสเงินสดเพียงพอในการทำธุรกิจ 

 

5.ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

ต้องมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ในการรองรับกับการขยายตัวที่จะเกิดขึ้น ซึ่งควรมีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า

 

6.เงินจมอยู่ในสินทรัพย์ที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้

ต้องมีค่า Fixed Cost ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เช่น การตกแต่งร้านใหม่ หรือการเสียค่าเช่าที่แพง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Krungsri The COACH

https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/loan/borrowing/6-warning-sign-business-sme



#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #สัญญาณเตือนSME #ธุรกิจ #SMEs

บทความแนะนำ

ทำความรู้จัก NaCGA สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ

รู้จัก NaCGA สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency หรือ NaCGA) กับบทบาททางการเงินให้ประชาชน

 

กระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA) ภายในปี 2568 โดย NaCGA จะช่วยให้ประชาชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ด้วยการประเมินความเสี่ยงและค้ำประกันเครดิตให้กับผู้ขอสินเชื่อ โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้สินเชื่อเป็นหลัก

 

หลักการทำงานของ NaCGA

- ประเมินความเสี่ยงและคิดค่าธรรมเนียมตามระดับความเสี่ยง

- ออกเอกสารรับรองเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน

- ผู้กู้จะจ่ายค่าธรรมเนียมคล้ายกับการซื้อประกัน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินสมทบตามระดับความเสี่ยง

 

NaCGA จะทำงานร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อสร้างระบบการค้ำประกันสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คาดว่าจะพลิกโฉมระบบการเงินและช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อในประเทศได้อย่างมาก

 

การค้ำประกันโดย NaCGA คล้ายกับการทำประกันภัยรถยนต์ ที่เบี้ยประกันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละบุคคลว่ามีพฤติกรรมการขับรถยนต์ที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด หากเสี่ยงมาก ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงหากเสี่ยงต่ำ ค่าเบี้ยประกันก็จะต่ำ ตัวอย่างเช่น หาก SME รายใดต้องการให้ NaCGA ค้ำประกันสินเชื่อให้ทั้ง 100% ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันก็อาจจะสูงขึ้น กว่าการให้ NaCGA ค้ำประกันที่ 70-80% ของวงเงินสินเชื่อ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติ

https://www.prachachat.net/finance/news-1613069 

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEDBank #Smartsme #เติมทุนคู่ความรู้ 

บทความแนะนำ