ดีพร้อม ชูนโยบาย รับเทรนด์โลก

ดีพร้อม ชูนโยบาย "RESHAPE THE FUTURE" ♻️ โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมต้องปรับตัว พร้อมรับอนาคต

 

Department of Industrial Promotion (DIPROM) หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำงานร่วมกับธุรกิจและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

เนื่องจากโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดีพร้อม จึงเสนอนโยบาย "RESHAPE THE FUTURE" ♻️ เพื่อให้อุตสาหกรรมปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน:

 

  1. ปรับตัวให้ก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) 🏢

นำเทคโนโลยีดิจิทัล, หุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติ, และ AI มาปรับปรุงการพัฒนาบุคลากร, กระบวนการผลิต, การตลาด และผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างเศรษฐกิจสุขภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน

 

  1. ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) 🗾

พัฒนา 4 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ NEC, NeEC, CWEC และ SEC เพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม S-Curve

 

  1. ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) 🌐

สนับสนุน SME ด้วยกลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกัน เสริมสร้างความรู้ด้านการเงิน และพัฒนาระบบบริการภาครัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ขยายเครือข่ายความร่วมมือในและต่างประเทศ

 

เป้าหมายปี 2567 คือการส่งเสริมและพัฒนายกระดับผู้ประกอบการ 18,400 ราย สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 10,000 ล้านบาท

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : engineeringtoday

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #ธุรกิจฮิตติดเทรนด์ #ธุรกิจยุคใหม่ #ธุรกิจ  #ไลฟ์สไตล์

บทความแนะนำ

เปิดตัวโครงการ Ignite Finance เปิดทางน้ำไทยสู่ศูนย์กลางการเงินโลก

กระทรวงการคลัง เปิดตัวโครงการ “Ignite Finance” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในวิสัยทัศน์ “Ignite Thailand” ของนายกรัฐมนตรีที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง 8 อุตสาหกรรมหลัก โดย “Ignite Finance” มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลก พร้อมเตรียมเปิดสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินให้ประชาชน และธุรกิจรายย่อย 🪙🌍

 

ซึ่งมีกุญแจ 3 ดอกที่สำคัญ ดังนี้ 

 

🔑 กฎหมายที่พร้อมรับอนาคต

โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการยกร่างกฎหมายที่มีความยืดหยุ่น โปร่งใส และเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ

 

🔑 สิทธิประโยชน์รูปแบบใหม่

การให้วีซ่าทำงานแก่บุคลากร และวีซ่าที่เกี่ยวข้องของครอบครัว การจัดเก็บภาษีที่เทียบเท่ากับศูนย์กลางการเงินอื่น

 

🔑 ระบบนิเวศน์แห่งอนาคต

พัฒนากรอบกฎหมายที่เข้มแข็งและโปร่งใส ที่จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำธุรกิจทางการเงิน

 

การเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ไม่ใช่การสร้างประโยชน์ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว แต่คือกลยุทธ์ที่ประเทศไทยจะดึงดูดเงินทุน คนที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนองค์ความรู้ให้เข้ามาอยู่ในประเทศ สร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของโลกและประเทศไทย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : InfoQuest - อินโฟเควสท์

https://www.infoquest.co.th/2024/415153


#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #IgniteFinance #ตัวช่วยSME #SMEs #การเงินโลก

บทความแนะนำ

กลไกค้ำประกันเครดิต ตัวช่วยของ SMEs ในการเข้าถึงเงินทุน

⚙️กลไกค้ำประกันเครดิต ตัวช่วยของ SMEs ในการเข้าถึงเงินทุน 💵

 

1.ไม่จำกัดประเภทผู้ให้กู้ยืม หรือรูปแบบการกู้ยืมอยู่ที่เฉพาะสินเชื่อ

มีความหลากหลายและเหมาะกับธุรกิจแต่ละกลุ่มมากขึ้น

 

2.มีข้อมูลและเพื่อประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้

ทำให้กำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมได้

 

3.มีความยืดหยุ่น

สามารถใช้เป็นกลไก/เครื่องมือเชิงนโยบายทั้งในภาวะปกติและช่วงวิกฤต

 

4.มีเงินทุนที่มีเสถียรภาพ และมั่นคง

เงินสมทบที่มาจากทั้งรัฐบาล สถานบันการเงิน และภาคธุรกิจอื่น ๆ ตามความสมัครใจ

 

5.ให้การสนับสนุน SMEs มากกว่าเพียงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่มีบริการครบวงจร

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20240604.html

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #ค้ำประกันเครดิต #ตัวช่วยSME #SMEs #เงินทุน

บทความแนะนำ

4 เหตุผล ลงทุนขยายกิจการ ควรใช้เงินตัวเอง หรือ กู้แบงค์ดีกว่ากัน?

ลงทุนขยายกิจการ ใช้เงินตัวเองหรือกู้แบงค์ดี

 

1.เรื่องเงินทุนในการขยายกิจการ

การใช้เงินทุนของตนเองในการขยายกิจการนั้น ส่วนใหญ่มักมีงบประมาณที่จำกัด จึงไม่สามารถขยายกิจการได้ตามที่ต้องการ ดังนั้นการขอสินเชื่อธนาคารนั้นจะตอบโจทย์ได้มากกว่า และการขอสินเชื่อบางธนาคาร ยังสามารถใช้ บสย. ค้ำประกันในส่วนของวงเกินหลักประกันได้อีกด้วย

 

2.เรื่องเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

การใช้เงินทุนของตัวเองนั้น จะทำให้เกิด “เงินทุนหมุนเวียนในกิจการลดลง” ตามมา ซึ่งอาจทำให้กิจการขาดสภาพคล่องได้ แต่ถ้าขอสินเชื่อจากธนาคารในการขยายกิจการ ก็ไม่ต้องมากังวลเรื่องเงินทุนหมุนเวียนอีก แถมธนาคารยังมีบริการสินเชื่อในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน ที่จะทำให้กิจการมีสภาพคล่องมากขึ้นอีกด้วย

 

3.เรื่องการจ่ายดอกเบี้ย

การใช้เงินทุนตัวเอง ต้องพร้อมเสี่ยงกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งการขาดสภาพคล่อง และเงินทุนในการขยายกิจการได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าขอสินเชื่อจากธนาคาร ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลในส่วนของดอกเบี้ยจนมากเกินไป เพราะบางสินเชื่อสามารถให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลานานถึง 12 เดือน ซึ่งเหมาะในช่วงต้นของการขยายธุรกิจ

 

  1. เรื่องการขยายกิจการในอนาคต

การใช้เงินทุนตัวเอง ในอนาคตการขอสินเชื่อใหม่ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ถ้าเคยขอสินเชื่อแล้ว และมีการชำระสินเชื่อได้ตรงเวลา ก็สามารถขอสินเชื่อในการขยายกิจการเพิ่มโดยง่าย เพราะทางธนาคารจะมองว่าเครดิตของคุณนั้นดี

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงไทย

https://sme.krungthai.com/sme/auth/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=18&itemId=171

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEs #ขยายธุรกิจ #ธุรกิจ

บทความแนะนำ

SMEs ม.ค. - มิ.ย. 67 ค้ำแล้ว เฉียด 1.9 หมื่นล้านบาท

ผลงานค้ำประกันสินเชื่อ ม.ค. - มิ.ย. 67 📈

 

ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 45,440 ราย เป็นกลุ่มรายย่อยหรือ Micro ในสัดส่วนถึง 94%  ค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ย 80,000 บาทต่อราย ส่วนอีก 6% เป็นกลุ่ม SMEs  ค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ย 5.31 ล้านบาทต่อราย วงเงินอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ ราว 18,946  ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 168,762 ตำแหน่ง สร้างสินเชื่อในระบบ 19,610 ล้านบาท และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 76,771 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อที่เป็นมาตรการรัฐ และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อที่ บสย. พัฒนาเอง ได้แก่

 

1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) วงเงิน 9,511 ล้านบาท สัดส่วน 50% ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 1,532 ราย (สัดส่วนวงเงินค้ำประกันสูงสุด)

 

2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อดำเนินการโดย บสย. จำนวน 5,126 ล้านบาท สัดส่วน 27% (รวม 4 โครงการย่อย ได้แก่ รายสถาบันการเงินระยะ 7 (BI7) / โครงการ PGS Renew / Smart Plus & Top up และ RBP  ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 2,391 ราย 

 

3.โครงการตามมาตรการรัฐ จำนวน 4,309 ล้านบาท สัดส่วน 23% ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 41,568 ราย (ค้ำประกันจำนวนรายสูงสุด)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/602880

 

#SMEONE #SMEไทยก้าวไกลทันโลก #SMEs #ค้ำประกัน #บสย

บทความแนะนำ