
[Leadership] ‘Personal Branding อาวุธลับขององค์กรยุคใหม่’ เมื่อลูกค้าชอบฟังเสียงคนมากกว่าแบรนด์ องค์กรต้องปรับแผนด้วยการใช้คนเป็นกุญแจไขความสำเร็จ
.
.
โลกธุรกิจในปัจจุบันกำลังอยู่ในจุดที่ผู้บริโภคจะไม่เชื่อโฆษณาง่ายๆ อีกต่อไป! พวกเขาไม่ต้องการได้ยินเสียงของแบรนด์ แต่ต้องการฟัง ‘เสียงของคนจริงๆ’ ที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์นั้นๆ ทำให้ ‘Personal Branding’ ของพนักงานกลายเป็น ‘อาวุธลับ’ ขององค์กรยุคใหม่
.
อย่างไรก็ตาม หลายๆ องค์กรยังคงลังเลเกี่ยวกับ Personal Branding ของพนักงาน เพราะกลัวว่าจะดึงความสนใจออกจากแบรนด์หลัก หรืออาจสร้างความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์ขององค์กร แต่ ‘ข้อมูล’ กลับไม่เป็นเช่นนั้น
.
✅ โพสต์จากพนักงานมี Engagement มากกว่าโพสต์จากบริษัทถึง 8 เท่า
✅ บริษัทที่ส่งเสริมให้พนักงานมี Personal Branding มี Social Reach เพิ่มขึ้นถึง 561% (อ้างอิงจาก BrandYourself)
✅ คนมีแนวโน้มเชื่อถือข้อมูลจากพนักงาน มากกว่าข้อมูลที่โพสต์ผ่านบัญชีของบริษัท
พูดง่ายๆ ก็คือ คนเชื่อใจ ‘คน’ มากกว่า ‘โลโก้’ เพราะพวกเขาต้องการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวที่สัมผัสได้จริง
.
.
🌟 [ ตัวอย่างบริษัทที่ใช้ Personal Branding เป็นข้อได้เปรียบ ]
📌 Microsoft
สนับสนุนให้พนักงานสร้างแบรนด์ของตัวเองผ่าน LinkedIn โดยให้แชร์แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม การเป็นผู้นำ และเทรนด์ในอุตสาหกรรม
.
📌 Salesforce
มีวัฒนธรรมที่ผลักดันให้พนักงานใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญ ทำให้บริษัทถูกมองว่าเป็นผู้นำด้าน CRM และ Digital Transformation
.
📌 HubSpot
เปลี่ยนพนักงานให้เป็น Influencer ทางด้านการตลาดและประสบการณ์ลูกค้า ทำให้แบรนด์ดูเป็นกันเองและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
.
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า Personal Branding ไม่ได้เป็นแค่เรื่องการตลาด แต่ยังช่วยในด้านการจ้างงาน การรักษาบุคลากร และสร้างความน่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมอีกด้วย
.
.
ในอดีต เว็บไซต์บริษัทเคยเป็นเหมือนหน้าร้านหลัก แต่ปัจจุบัน Social Media คือจุดสัมผัสแรกของลูกค้า และอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มต่างๆ ก็มักจะให้ความสำคัญกับ ‘บุคคล’ มากกว่าเพจขององค์กร ยิ่งไปกว่านั้น ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความไว้วางใจสูง เช่น การเงิน การแพทย์ และ B2B SaaS ลูกค้ามักเชื่อถือผู้เชี่ยวชาญมากกว่าข้อความโฆษณาทางการตลาด
.
[ จะเกิดอะไรเมื่อพนักงานขององค์กรมี Personal Branding ที่แข็งแกร่ง? ]
💡 ทำให้แบรนด์ขององค์กรดูเป็นมนุษย์มากขึ้น
💡 สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้ลึกขึ้น
💡 สร้าง Engagement ได้มากกว่าการลงโฆษณาแบบเสียเงิน
💡 ส่งเสริมโอกาสในการเติบโตของตัวเองและองค์กรไปพร้อมกัน
.
.
[ องค์กรจะเปิดโอกาสให้พนักงานสร้าง Personal Branding อย่างไร ]
📌 สร้างแนวทางที่ชัดเจน
ไม่ใช่กฎระเบียบที่เข้มงวด แต่เป็น Framework ที่ช่วยให้พนักงานรู้ว่าจะโพสต์อะไรได้บ้าง และควรเลี่ยงอะไร
.
📌 สนับสนุนผ่านการอบรม
ไม่ใช่ทุกคนที่รู้วิธีสร้างตัวตนออนไลน์ องค์กรสามารถช่วยพนักงานด้วย เวิร์กช็อปการเขียน การสร้างโปรไฟล์ LinkedIn และเทคนิคการสื่อสารอย่างมืออาชีพ
.
📌 หาจุดสมดุลระหว่างพนักงานกับแบรนด์
การสร้างแบรนด์ส่วนตัวของพนักงานควรสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร เช่น การแชร์แนวคิดเกี่ยวกับอุตสาหกรรม มากกว่าการโพสต์เรื่องส่วนตัวล้วนๆ
.
📌 วัดผลลัพธ์และปรับปรุง
ติดตาม Engagement บนโพสต์ของพนักงาน เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งนี้ช่วยขยายการเข้าถึงของแบรนด์ได้อย่างไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับกลยุทธ์ต่อไป
.
.
ในอนาคต เส้นแบ่งระหว่าง Corporate Branding และ Personal Branding พนักงานเริ่มจางหายไป องค์กรที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้และสนับสนุนให้พนักงานสร้าง Personal Branding จะได้เปรียบในระยะยาว เพราะสามารถขยายการเข้าถึง สร้างความน่าเชื่อถือ และกระตุ้นการเติบโตได้อย่างมหาศาล
.
Personal Branding จะกลายเป็นคือโอกาสขององค์กร ที่จะสร้างเครือข่ายของ Influencer ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นกระบอกเสียงที่ทรงพลังที่สุดให้กับแบรนด์ได้ต่อไป
.
.
เขียนโดย ชนัญชิดา พลอยพลาย
#FutureTrends #FutureTrendsetter #FutureTrendsLeadership
ระบบเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทย
เดือนกุมภาพันธ์ 2568 "ส่งสัญญาณเฝ้าระวังใกล้เคียงกับเดือนก่อน"
แนวโน้ม 1-2 เดือนข้างหน้า "ส่งสัญญาณเฝ้าระวังใกล้เคียงกับปัจจุบัน"
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://data.go.th/ ค้นหาข้อมูลพิมพ์คำว่า "เตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม" หรือที่ https://iiu.oie.go.th/warning
👌❤ ม.เกษตรศาสตร์ ชวนทุกคนทุกวัย ร่วมการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ KUMOOC x KULiNK (เค-ยู–ลิงค์) เลือกวิชาที่ใช่ในเวลาที่ชอบ เรียนฟรี มีใบเซอร์ครบ
.
KUMOOC x KULiNK (เค-ยู–ลิงค์) คือ แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ ที่เปิดให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เลือกเรียนในวิชาที่ต้องการได้ไม่จำกัดช่วงเวลา สถานที่ เรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และได้รับประกาศนียบัตรการเข้าเรียนเมื่อครบหลักสูตร ผ่านช่องทาง KUMOOC.ku.th บริหารจัดการองค์ความรู้โดยสำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
.
แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รวบรวมรายวิชาที่น่าสนใจทั้งจาก คณะ สำนัก สถาบันของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขับเคลื่อนตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เหมาะกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคลากรวัยทำงาน และผู้ต้องการพัฒนาตนเองทุกช่วงวัย อายุ การศึกษา ให้สามารถ upskill, reskill, new skill โดยไม่จำกัดสถานที่ เวลา เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีรายวิชาที่น่าสนใจจำนวนมาก อาทิ อาหาร วนศาสตร์ สังคม วิทยาศาสตร์ เกษตร เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ภาษา และสุขภาพ สมัครเรียนฟรี พร้อมได้รับใบ Certificate of completion เมื่อเรียนจบ ในขณะนี้มี 25 รายวิชาเปิดให้เรียน และกำลังบรรจุเพิ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้
.
ผู้สนใจลงทะเบียนเรียนผ่าน https://kumooc.ku.th หรือ แสกน QR code สอบถามรายละเอียดติดต่อ สำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 0 2942 8822 ต่อ 509, 500
ผู้ติดตาม
สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์
สำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดทำ BOI e-Journal ฉบับที่ 2/2567 เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ของสำนักงาน โดยในฉบับนี้นำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมของอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยีในประเทศไทย ภายใต้ธีม "BIOTECHNOLOGY) จากธรรมชาติสู่คุณค่าใหม่ด้วยนวัตกรรม" ซึ่งได้รวบรวมบทสัมภาษณ์จากผู้บริหารของบีโอไอ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รวมถึงบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2024/02/index.html#p=1
กองพัฒนานวัตกรรมการยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จัดทำจดหมายข่าวโครงการกำลังใจฯ (Inspire Update) ปีที่ 16 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและเป็นสื่อกลางระหว่างหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมกับหน่วยงานต่างๆ และผู้สนใจ ให้รับทราบกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการฯ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุวฒนานนท์ โทร.021420852
https://online.fliphtml5.com/jfplj/iuvb/#p=1