กลยุทธ์ Omni Channel ปรับรายได้เพิ่มยอดขายจากตลาด 2 ยุค

หัวข้อ : จากหน้าร้านสู่ตลาดออนไลน์ กระชากยอดนิ่งให้วิ่งเป็นยอดล้าน(1) , Omni Channel ผสานดิจิทัลกับธุรกิจเอสเอ็มอี (2)
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Jul-2018.aspx, https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/SCB_Omni

 

โลกออนไลน์เป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ทรงอิทธิพลมากในปัจจุบัน ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็น 1 ใน 5 กิจกรรมของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย และมีมูลค่าสูงถึง 2.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่การเติบโตของช่องทางการขายหน้าร้าน (Offline) ยังคงบทบาทมีสำคัญ เพราะเปรียบเหมือนโชว์รูมให้ลูกค้าได้มาสัมผัส ทดลองสินค้าจริง สร้างความเชื่อมั่นก่อนตัดสินใจซื้อ 

กลยุทธ์ออมนิชาแนล (Omni Channel) รวมตลาดออฟไลน์และออนไลน์ จึงไม่เพียงเสริมจุดเด่นลดจุดด้อย แต่ยังไปเติมเต็มความพึงพอใจของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพออมนิชาแนล (Omni Channel) ถือว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ

 

ออนไลน์เข้าถึงคน มีผลต่อการตัดสินใจ

เมื่อมือถือทำให้การซื้อสินค้าสะดวกง่าย สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร้พรมแดน ด้วยต้นทุนที่ต่ำ สามารถขายของได้ 24 ชั่วโมง และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในปัจจุบันถึง 80%  ทุกวันนี้เอสเอ็มอีไทยมากกว่า 50% จึงใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นช่องทางในการเริ่มต้นธุรกิจ และใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจสูงถึง 90%

หน้าร้านโชว์รูมที่มีผลทางใจ

หลายธุรกิจการคิดว่าการมีหน้าร้านเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นจึงหวังพึ่งออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่การแข่งขันที่รุนแรงสินค้ามีการตัดราคา การทำตลาดออนไลน์อย่างเดียวจึงไม่ได้สร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เพราะธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ได้มักเป็นธุรกิจที่มีทั้งออนไลน์และมีหน้าร้านเพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจที่ขายสินค้าราคาแพงยอดบิลส่วนใหญ่มักมาจบที่หน้าร้าน เพราะลูกค้ามักต้องการเห็นสินค้า อยากมาทดสอบสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ

 

 

แม้วันนี้ตัวเลขของตลาดออนไลน์ทั่วโลกเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งรายได้จากตลาดออนไลน์อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด การทำตลาดออนไลน์เพียงอย่างเดียวอาจเสี่ยงเกินไป ตลาดเก่าอย่างออฟไลน์ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแต่อาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่าย การมีหน้าร้านจำนวนมากเพื่อขยายตลาดอาจไม่ใช่คำตอบของการทำธุรกิจวันนี้

 

การผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว จะนำพาธุรกิจไปสู่จุดหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ การก้าวสู่ออมนิชาแนล (Omni Channel) จึงจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งที่จะต้องดำเนินการในการทำออมนิชาแนล (Omni Channel) สำหรับเอสเอ็มอี มีด้วยกัน 4 ประการได้แก่

  1. การเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกช่องทางเป็นหนึ่งเดียว 

โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หน้าร้าน และช่องทางอื่น ๆ ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง

  1. การสื่อสารแบบต่อเนื่อง 

เป็นการเชื่อมโยงการสื่อสารในทุกช่องทางให้ต่อเนื่อง เช่น มีข้อมูลร้านค้ารองรับในช่องทางออนไลน์ มีแผนที่ กูเกิลแมพ (Google Map) ให้ลูกค้าสามารถเดินทางมาที่ร้านค้า รวมถึงมีเบอร์ติดต่อ หรือปุ่มสั่งซื้อสินค้าบนหน้าออนไลน์ได้

  1. เชื่อมโยงระบบสต๊อกสินค้าเข้าด้วยกัน 

ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าจากทุกช่องทาง และไปรับสินค้าได้จากทุกช่องทางที่สะดวกเช่นกัน

  1. เชื่อมโยงระบบชำระเงิน 

นอกจากซื้อสินค้าได้หลากหลายช่องทางแล้ว ยังต้องสามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทางเช่นกัน เช่น ผ่านออนไลน์ ผ่านสาขาธนาคาร และผ่านหน้าร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำออมนิชาแนล (Omni Channel)

  • สามารถให้ข้อมูลกับผู้ซื้อ ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
  • สร้างภาพลักษณ์และการบอกต่อให้กับแบรนด์
  • มีช่องทางจำหน่ายเพิ่มขึ้นและเชื่อมต่อกัน ทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้ดีขึ้น
  • เพิ่มความสะดวกในการขายและบริการ
  • สร้างประสบณ์การที่ดีแบบส่วนตัวให้กับผู้ซื้อ
  • ช่วยเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์กับเจ้าของธุรกิจมากขึ้น
  • นำเสนอโปรโมชั่นส่วนบุคคลได้อย่างมีคุณภาพ

 

Published on 28 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

"บีโอไอ" ช่วยสนับสนุนเอสเอ็มอีอย่างไร

หัวข้อ : มาตราการบีไอโอ ทางออก SMEsไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 5
อ่านเพิ่มเติม : https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2020/05/files/extfile/DownloadURL.pdf

 

 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้การสนับสนุนธุรกิจทุกขนาด หากผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด โดยให้การส่งเสริมด้านการลงทุนทั้งในประเทศ และช่วยเหลือธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนต่างประเทศด้วยเช่นกัน อย่างธุรกิจที่ต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ บีโอไอจะเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือ ศึกษาเรื่องกฏระเบียบการลงทุนในประเทศต่าง ๆ พร้อมให้คำปรึกษา เข้าเจรจากับภาครัฐของประเทศนั้น ๆ และหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าบีโอไอให้การส่งเสริมเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจจากต่างชาติ แต่อันที่จริงแล้วมีธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับการสนับสนุนอยู่ถึงร้อยละ 60 – 70 ทีเดียว

การส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น

  • การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 8 ปี
  • การยกเว้นอากรนำเข้าของเครื่องจักรและวัตถุดิบ

การส่งเสริมการลงทุนสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เน้นให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติ เช่น

  • สิทธิในการถือครองที่ดิน
  • การอำนวยความสะดวกในเรื่องการนำเข้าแรงงานฝีมือจากต่างประเทศ

 

คุณสมบัติเอสเอ็มอีตามมาตรการของบีโอไอ

  1. เอสเอ็มอีจะต้องอยู่ในประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ประเภทกิจการในกลุ่ม A) และประเภทกิจการบางส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ประเภทกิจการในกลุ่ม B1) ตามประกาศ กกท. ที่ 2/2557
  2. เอสเอ็มอีจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% ของทุนจดทะเบียน
  3. รายได้รวมของเอสเอ็มอีทั้งที่ได้รับการส่งเสริมฯ และไม่ได้รับการส่งเสริมฯ ต้องไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก
  4. เอสเอ็มอีจะต้องมีเงินลงทุนในโครงการไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน (จากปกติที่กำหนดไว้ที่ 1 ล้านบาท)
  5. กำหนดให้มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 4 : 1 (จากปกติที่กำหนดไว้ที่ 3 : 1)

 

สิทธิประโยชน์บีโอไอ เพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

แม้ว่าบีโอไอจะครอบคลุมธุรกิจทุกขนาด แต่สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีหลายมาตรการที่ได้ตั้งข้อกำหนดพิเศษเอาไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เช่น

- สิทธิประโยชน์พื้นฐานตามประเภทกิจการ และเพิ่มเติมวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 200 % ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร

- อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วของโครงการเดิม มาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯได้ โดยมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท แต่จะต้องลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักเพิ่มเติมเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมดที่ใช้ในโครงการ

- สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน หากเอสเอ็มอีลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน จะสามารถขยายสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น

  • การวิจัยพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • การฝึกอบรมบุคคลากรหรือรับนักศึกษาฝึกงานระยะยาว
  • การซื้องานวิจัยในประเทศที่น่าสนใจมาใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์
  • การอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์

 

สิทธิและประโยชน์พิเศษเพิ่มเติม 

  • กรณีเอสเอ็มอีตั้งสถานประกอบการในจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 3 ปี แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี ทั้งนี้หากเป็นประเภทกิจการในกลุ่ม A1 และ A2 จะให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี นับจากวันที่กำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง
  • กรณีเอสเอ็มอีตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมฯ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี ยกเว้นประเภทกิจการที่มีเงื่อนไขบังคับว่า จะต้องตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมฯและประเภทกิจการในกลุ่ม B
  • กรณีเอสเอ็มอีตั้งสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) จะได้รับวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับพิเศษตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

บีโอไอได้เปิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูลและคำแนะนำแก่เอสเอ็มอีหลายช่องทางด้วยกัน

  • เว็บไซต์ www.boi.go.th ช่องทางหลักในการสื่อสาร เป็นพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลเอาไว้ทั้งหมด
  • อีเมล head@bot.go.th สามารถส่งคำถามผ่านทางอีเมลได้
  • ติดต่อ ศูนย์บริการลงทุน ที่บีโอไอสำนักงานใหญ่ หรือจามจุรีสแควร์
  • เฟซบุ๊ก BOI News
  • ไลน์แอด @boinews
  • โทรศัพท์ 025538111

 

Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

5 เหตุผล ขายของออนไลน์ทำไมต้องมีรีวิว

หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 51 ปีที่ 9 
อ่านเพิ่มเติม :https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190902105049.pdf

 

การมี รีวิว” (Review) แสดงประกอบรายละเอียดสินค้าในเว็บไซต์ หรือร้านค้าของคุณบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ นั้นจะช่วยเสริมการพิจารณาของลูกค้าที่กำลังดูร้านค้าอยู่ เพราะสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าในยุคนี้มองหาเมื่อสนใจสินค้าหรือบริการก่อนจะตัดสินใจซื้อนั่นก็คือรีวิวจากลูกค้าก่อนหน้านี้นั่นเอง นอกจากนี้ความสำคัญอื่นๆ ที่เราได้รับจากการมีรีวิวสินค้าหรือรีวิวบริการก็คือ

 

ความน่าเชื่อถือ

เพราะก่อนเราจะเสียเงินไปซื้อของอะไรก็ตาม หากดูแล้วร้านค้าที่เรากำลังสนใจมีรายละเอียดสินค้าที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีรีวิวจากลูกค้าว่าสั่งซื้อแล้วได้รับของมาสภาพไหน , การจัดส่งไวหรือไม่ , ตอบคำถามลูกค้าดีไม่ดีอย่างไร หากเป็นอย่างนี้ความเชื่อมั่นต่อร้านค้าก็ไม่เกิดขึ้น

 

ได้รับความคิดเห็นโดยตรงจากลูกค้า

บ่อยครั้งมักจะมีความคิดเห็นดี ๆ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ มักมาจากลูกค้าโดยตรง หลังจากที่พวกเขาได้ทดลองใช้สินค้าของเราแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง ๆ ที่มีคุณค่า อาจช่วยให้เราได้พัฒนาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

 

ช่วยให้ค้นหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น

เครื่องมือค้นหาเสิร์ซเอนจิ้นที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างกูเกิ้ล (Google) มักดึงเอาสินค้าที่มีคนรีวิวมาแสดงให้นักท่องเว็บฯ เห็นด้วย ยิ่งสินค้าของเราได้รับการรีวิวหรือพูดถึงจากลูกค้ามีจำนวนมาก ยิ่งเป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจของสินค้าของเรามากตามไปด้วย จนทำอยากคลิกเข้าไปดูเว็บไซต์เพิ่มขึ้น

 

รีวิวด้านลบบางครั้งส่งผลดี 

ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ หากเจ้าของร้านรับมือกับบางรีวิวที่ตำหนิการให้บริการได้ดีและแสดงออกถึงความจริงใจในการขออภัยลูกค้า รับผิดชอบในความผิดพลาดอย่างเหมาะสม ลูกค้าที่เข้ามาอ่านรีวิวจะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ ช่วยเพิ่มการตัดสินใจในการใช้บริการมากขึ้น เพราะได้เห็นถึงการบริการหลังการขายอีกมุมหนึ่ง หากร้านค้ามีแต่คำชมอย่างเดียว มักทำให้ความรู้สึกน่าสงสัยมากกว่าเกิดความไว้วางใจ

 

สินค้ามีรีวิว คนยิ่งสนใจ

เมื่อลูกค้ารายใหม่ ๆ เข้ามาเห็นรีวิวก่อนหน้านี้ จะเกิดแรงจูงใจและความกล้าที่จะแชร์ความเห็นเพิ่มเติมทิ้งไว้ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ต่อไป ยิ่งสินค้าชิ้นไหนมีรีวิวใหม่ ๆ เพิ่มเติมสม่ำเสมอ คนมักให้ความสนใจเพิ่มตามไปด้วย

 

Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

กระตุ้นยอดขายร้านอาหารด้วยมาตรฐาน Thai SELECT

หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 61 ปีที่ 11 
อ่านเพิ่มเติม :www.dbd.go.th/download/article/article_20200626145341.pdf

เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกคลี่คลาย และการท่องเที่ยวของไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ธุรกิจร้านอาหารไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการ และดึงดูดลูกค้าเข้าร้านด้วยตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่าง Thai SELECT

Thai SELECT เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าร้านอาหารไทย ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติความอร่อยแบบไทย ๆ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติมากว่า 20 ปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงเกิดแนวคิดในการนำตราสัญลักษณ์ Thai SELECT มาต่อยอดส่งเสริมให้ร้านอาหารในประเทศไทย โดยคัดสรรร้านอาหารที่มีรสชาติไทยแท้และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เน้นความใส่ใจด้านคุณภาพ รสชาติ และการบริการ 

นอกจากนี้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ยังช่วยสร้างการจดจำ ได้เป็นอย่างดีเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้ร้านอาหารไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มากยิ่งขึ้น โดยตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ

 

 

สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ร้านอาหารจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้

1) ต้องมีรายการอาหารไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายการอาหารทั้งหมด ตกแต่งบรรยากาศ และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงอาหารแบบไทย

2) ปรุงอาหารได้ตามมาตรฐานกรรมวิธีการปรุงแบบไทยใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงของไทย 

3) เปิดให้บริการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

4) อายุการใช้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT นาน 3 ปี หากร้านประสงค์จะต่ออายุต้องยื่นใบสมัครขอต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน 

5) ผู้ที่ได้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จะได้รับประกาศนียบัตรที่ลงนามโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมระบุปีที่ได้รับ 

6) ร้านอาหารไทยที่มีมากกว่า 1 สาขา แต่ละสาขาต้องยื่นใบสมัครขอใช้หรือต่ออายุการใช้ตราสัญลักษณ์

Thai SELECT แยกจากสาขาอื่น

7) ผู้สมัครต้องผ่านการตรวจสอบและให้คะแนนโดยกรรมการ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dbd.go.th/images/relation_pic/info%20Thai%20SELECT.pdf

 

 

Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

เอสเอ็มอีพัฒนาสินค้าอย่างไรให้โดนใจตลาดผู้หญิงที่เติบโตไม่หยุด

หัวข้อ : Hersumers สายเปย์แห่งวงการนักชอป 
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Sep-2019.aspx

ผู้หญิง เรียกได้ว่าเป็น มหาอำนาจกำลังซื้อตัวจริงของโลก เพราะด้วยศักยภาพด้านการจับจ่ายของตลาดผู้หญิงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งผู้หญิงยังมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึง 78% แต่ใช่ว่าการทำตลาดให้โดนเหล่าสาว ๆ นักชอปจะง่ายไปซะหมด หากไม่รู้จักรู้ใจกันจริง ๆ ก็อาจกลายเป็นงานหินได้
แม้แต่แบรนด์ใหญ่อย่างไนกี้ยังมีการปรับตัว เพื่อให้รับความหลากหลายและเจาะตลาดของผู้หญิง อย่างผ้าคลุมศีรษะที่เอาไว้ใช้ในการเล่นกีฬา "โปร ฮิญาบ" ไปจนถึงหุ่นจำลองเสื้อผ้าตัวแทนของสาวพลัสไซส์ หรือกระทั่งสินค้าผู้ชายแมนๆ อย่างตลาดมอเตอร์ไซค์ก็ปรับตัวรับยุคนักบิดสาว เช่น การทำเกียร์ ให้เหมาะสมกับผู้หญิง

เพราะอะไร? ผู้หญิงถึงเป็นมหาอำนาจของตลาดยุคใหม่ 
ตลาดผู้หญิงมีทิศทางที่จะเติบโตไปได้เรื่อยๆ เนื่องจากผู้หญิงเป็นกำลังหลักในการตัดสินใจซื้อ และเป็นเพศที่ซื้อของโดยมีเรื่องของอารมณ์ (Emotional) เข้ามาร่วมด้วยค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นในโลกของออนไลน์หรือออฟไลน์ ผู้หญิงมักได้สินค้ามากกว่าที่ตั้งใจซื้อไว้ตั้งแต่แรก ในขณะที่ผู้ชายจะมีเป้าหมายว่าจะซื้ออะไรและพุ่งตรงไปยังสิ่งนั้นๆ

ในภาพรวมผู้หญิงมีส่วนในการตัดสินใจซื้อถึงประมาณ 78% ของตลาด โดยในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้จะเห็นว่า การแบ่งตลาดของผู้หญิง (Segmentation) ค่อนข้างจะละเอียด เช่น

- กลุ่มผู้หญิงโสด เป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง เพราะมีการตัดสินใจซื้อที่ค่อนข้างง่ายกว่ากลุ่มอื่น ๆ และจะเป็นการซื้อเพื่อตัวเอง ลงทุนเพื่อตัวเอง

- กลุ่มผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัว จะคิดมากขึ้น โดยจะนึกถึงคนในครอบครัวก่อนและคิดถึง

รายได้โดยรวมเป็นหลัก ทำให้ผู้หญิงกลุ่มนี้ค่อนข้างจะใช้เวลาในการศึกษาและตัดสินใจซื้อนานกว่า

 

เจาะพฤติกรรมลูกค้าผู้หญิง

- ผู้หญิงปัจจุบันใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อค่อนข้างสั้น ภายในเวลา 5 นาที หากเจอสินค้าที่ใช่ ตรงใจ ก็ยินดีที่จะจ่ายเลยในทันที

- ส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการทันโลก ทันกระแส จึงเป็นที่มาของคำว่า “ของมันต้องมี”

- การตัดสินใจซื้อมีเรื่องของอารมณ์มาเกี่ยวข้องอย่างมาก ราคาไม่ใช่ประเด็นหลักของการตัดสินใจ ถึงแม้สินค้านั้น ๆ จะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นก็ตาม

- การจัดส่งที่สะดวกรวดเร็ว สั่งเช้าได้บ่าย ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หญิงตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นไปอีก

 

ถึงไม่ใช่สินค้าสำหรับสาว ๆ แต่ขายผู้หญิงได้

ด้วยกระแสของตลาดผู้หญิงที่ค่อนข้างมาแรง ทำให้หลายแบรนด์ด์เริ่มทำสินค้าออกมาตอบโจทย์ผู้หญิงมากขึ้น แม้ไม่ใช่สินค้าที่ทำเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะก็ตาม เพราะผู้หญิงไม่ได้ใช้จ่ายไปกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ที่ทำมาเพื่อเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่อาจจะซื้อสินค้าอื่น ๆ เพื่อคนใกล้ตัวอีกด้วย จึงเป็นโอกาสสำหรับทุกธุรกิจที่สามารถเจาะเข้าถึงตลาดกลุ่มนี้ เพียงแค่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ต้องสื่อสารอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังสื่อสารอยู่กับลูกค้ากลุ่มผู้หญิงนั่นเอง

ตัวอย่างการทำตลาดเจาะกลุ่มผู้หญิง เช่น

- แบรนด์น้ำดื่ม เริ่มหันมาทำตลาดและสื่อสารกับผู้หญิงมากขึ้น เพราะเขาเห็นว่าจริง ๆ แล้วผู้หญิงเป็นคนตัดสินใจซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต

- รองเท้าแตะผู้ชาย ก็มีการทำตลาดกับผู้หญิงเช่นกัน เพราะผู้ซื้อตัวจริงคือผู้หญิงที่ซื้อให้แฟนตัวเอง

- แบรนด์สบู่สำหรับผู้ชายในต่างประเทศ ก็พบว่า พฤติกรรมของผู้ชายจะเน้นอะไรง่าย ๆ มาก่อน คือใช้สบู่ของผู้หญิงในการอาบน้ำ ทางแบรนด์จึงออกมาทำการสื่อสารไปในทางที่ว่า อยากให้แฟนกลิ่นเหมือนตัวเองหรือทำไมไม่ใช้สบู่ที่สมกับการเป็นผู้ชายหน่อย ซึ่งจริง ๆ แล้ว นั่นคือการสื่อสารกับผู้หญิง เพราะแบรนด์รู้ว่าผู้หญิงเป็นผู้ซื้อตัวจริง

 

 

อยากพัฒนาสินค้าให้ตรงใจผู้หญิง เอสเอ็มอีควรรู้อะไร? สิ่งสำคัญคือ ต้องหาปัญหา (Pain Point) ของผู้หญิงที่มีอยู่ให้เจอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ให้ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าผู้หญิงมากที่สุด


Published on 21 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ

Clear Cache
Clear All Cache
Enable Page Cache
Disable Page Cache