
หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf
ธุรกิจร้านอาหารยังคงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ สำหรับคนที่มีไอเดียและความพร้อม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเปิดร้านอย่างไรให้ถูกขั้นตอนตามกฏหมาย เริ่มต้นได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
สำหรับ “ธุรกิจร้านอาหาร” นั้นหมายถึง
กระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งประเภทร้านอาหารออกเป็น 4 แบบ โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกตามการออกแบบตกแต่งเป็นหลัก ได้แก่
1) วางแผนรูปแบบของร้านอาหาร
ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งจำนวนมาก สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ ผู้บริโภคอาหารของเราเป็นกลุ่มไหน จะต้องสอดคล้องกับทำเลที่ตั้งของธุรกิจและคู่แข่งในบริเวณนั้นด้วย
2) สร้างเอกลักษณ์ของร้านอาหาร หรือสิ่งที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกเมื่อจะใช้บริการร้านเรา
3) ขอจดทะเบียนจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
4) ขอใบอนุญาตและจดทะเบียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• การขออนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต โดยสามารถขออนุญาตได้ที่
– กรุงเทพมหานคร: กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
– ต่างจังหวัด: สำนักงานสรรพสามิตอำเภอ/กิ่งอำเภอ
• การขอออนุญาตเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลง
– การเปิดเพลง ภาพวิดีโอ หรือ การถ่ายทอดสด ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดอยู่ จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
– อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละเจ้าของสิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนด
– ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตไม่ว่าจะเป็นการเปิดจากแผ่นบันทึกเสียงแท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง หรือเปิดผ่านอินเทอร์เน็ตก็ตาม
• การขอประกอบกิจการสถานบริการ
– ร้านที่จำหน่ายอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่ม โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 น.
– สถานที่เต้นรำหรือมีการเต้นรำ การอนุญาตให้พนักงานหรือนักแสดงนั่งกับลูกค้า มีคาราโอเกะให้ลูกค้าร้องเพลง
ถือว่าเข้าข่ายสถานบันเทิงต้องขออนุญาตตามหน่วยงานที่กำหนด
กรุงเทพมหานคร: สถานีตำรวจท้องที่ หรือ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต่างจังหวัด: ที่อำเภอท้องที่ ที่สถานบริการนั้นตั้งอยู่ (ที่ทำการปกครองอำเภอ)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
– สำนักงานจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
– กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
• จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
– ผู้ประกอบการหากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี กฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภายใน 30 วัน นับแต่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
– กรณีใช้เครื่องบันทึกการเก็บ จะต้องขออนุญาตการใช้เพื่อออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากร
• ขออนุญาตติดตั้งป้ายเพื่อเสียภาษีป้าย คือ
– ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ
– ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา
– ผู้ประกอบการเปิดร้านกาแฟที่มีป้ายหน้าร้านก็ต้องเสียภาษี ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีหน้าที่พัฒนาศักยภาพของธุรกิจและเสริมสร้างความรู้ในการทำธุรกิจตลอดจนทำการเชื่อมโยงตลาด (Business Matching)
เว็บไซต์ www.dbd.go.th
ที่อยู่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (สนามบินน้ำ) 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
สายด่วน 1570
อีเมล computer@dbd.go.th
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
บริหารจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสินค้าและบริการซึ่งควรรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไนต์คลับ และดิสโก้เธค ผู้ประกอบการที่ต้องการจทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราหรือยาสูบ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ www.excise.go.th
ที่อยู่ 1488 ถ.นครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 022415600
อีเมล webmaster@excise.go.th
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารและน้ำบริโภคของประเทศ เช่น มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย Clean food Good taste รวมถึงจัดอบรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถดำเนินธุรกิจอย่างถูกสุขอนามัย ผู้ประกอบการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ foodsan.anamai.moph.go.th
ที่อยู่ 88/22 หมู่4 ต.ตลาดขวัญ ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
สายด่วน 025904188
อีเมล webmaster@excise.go.th
Published on 2 July 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Food truck เทรนด์ธุรกิจร้านค้าตอบโจทย์ชีวิตช่วงโควิด
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/food-truck-trend-in-store-business-responds-to-life-covid-19
ฟู้ดทรัค (Food Truck) รถขายอาหารเคลื่อนที่ เป็นเทรนด์ธุรกิจที่นักลงทุนรุ่นใหม่ให้ความสนใจและได้รับการตอบรับดีในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะใช้ลงทุนตั้งต้นไม่สูงนัก ประมาณ 450,000–500,000 บาท สามารถย้ายร้านไปหากลุ่มเป้าหมายได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อปักหลักประจำหรือนำไปร่วมงานกิจกรรมอีเว้นต่างๆ และยังบริหารจัดการง่าย เพียงคนเดียวก็สามารถดำเนินกิจการได้ ธุรกิจนี้จึงตอบโจทย์ลูกค้าและไลฟสไตล์ของคนเมืองที่เปลี่ยนไปได้ดี
1. มีพื้นที่ทำเล ที่ตั้ง ทั้งแบบจรหรือปักหลักที่ดี
ทำเลที่ตั้งคือสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารแบบฟู้ดทรัค จะเป็นต้องอาศัยเรื่องทำเลเข้าช่วยเป็นอย่างมาก สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
2. การตกแต่งดี คลุมธีมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
3. รสชาติดี มีรวยติดล้อ
การทำฟู้ดทรัคก็เหมือนการทำร้านอาหารรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่เป็นแบบเคลื่อนที่ได้ ไม่มีหน้าร้านประจำ และใช้งบประมาณไม่มากในการดำเนินการภายในร้านเหมือนร้านอาหารทั่วไป ดังนั้นเรื่องของรายการอาหาร การตกแต่ง สีสัน และรสชาติดี จึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจอาหาร เพื่อช่วยในเรื่องของยอดขาย การจดจำแบรนด์ที่ดี คืนทุนได้เร็ว และต่อยอดธุรกิจออกไป
4. ปรับแต่งรถให้ได้มาตรฐาน
การเน้นความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล ก็เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
การทำธุรกิจฟู้ดทรัคนั้นต่างจากรถพุ่มพวงหรือรถพ่วงขายอาหารที่เห็นกันเจนตาในบ้านเรา และเป็นร้านเล็กๆ ร้านหนึ่งที่เคลื่อนดีได้ หัวใจสำคัญดังกล่าวจึงเป็นเสมือนกุญแจที่จะนำพาธุรกิจฟู้ดทรัคไปสู่ความสำเร็จได้ โดยช่วยลดความเสี่ยงด้านค่าเช่าสถานที่แบบประจำถาวรเหมือนการเปิดหน้าร้าน และลดต้นทุนการจัดการเรื่องคนงานลง นอกจากนี้ยังเหมาะที่จะใช้ลุยฝ่าวิกฤติโควิด-19 รับกระแส New Normal ได้ด้วย
Published on 7 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ธปท. ได้ปรับปรุงและยกระดับแนวทางการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ นับตั้งแต่วันที่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้คำนวณบนฐานของเงินต้นในงวดที่ผิดนัดชำระ
จากเดิมที่คำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ปรับเปลี่ยนใหม่โดยคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นในงวดที่ผิดนัดชำระหนี้" เท่านั้น ไม่รวมงวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงกำหนดชำระและยังไม่มีการผิดนัดชำระหนี้
สาเหตุสำคัญที่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ไม่ควรรวมค่างวดในอนาคตที่มาไม่ถึงด้วยนั้น เพราะ
- การผิดนัดชำระหนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด (ตามมาตรา 204 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- ถ้าหนี้ยังไม่ถึงงวดที่ชำระตามกำหนด เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ (ตามมาตรา 191 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
- หากหนี้ยังไม่ถึงงวดที่ชำระตามกำหนด หรือเจ้าหนี้ยังไม่ได้ใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกหนี้คืน ลูกหนี้ก็ยังไม่อยู่ในฐานะผู้ผิดนัดชำระหนี้ในหนี้นั้น
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่เรียกเก็บนั้น
- ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้บริการสามารถเรียกเก็บได้
- ไม่คิดซ้ำซ้อนกับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
- ต้องคิดตามจำนวนวันที่ผิดนัดชำระหนี้
จากฐานของ "เงินต้นของงวดที่ 25" เท่านั้น คือ คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระเฉพาะเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26 ถึงงวดที่ 240
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ SME ทั้งนี้ สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ก่อน 1 พฤษภาคม ผู้ให้บริการสามารถนำหลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ไปประกอบการพิจารณาผ่อนปรนได้ตามที่เห็นสมควร หากประชาชนท่านใดพบพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม ท่านสามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ที่ช่องทาง www.1213.or.th หรือ โทร. 1213
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม: ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ คิดอย่างไรให้เป็นธรรม
https://www.1213.or.th/th/Pages/defaultinterest.aspx
Published on 28 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย