หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf
ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย
บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้
(1) ธุรกิจบริการทางแพทย์
(2) ธุรกิจสปา
(3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค)
(4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา
2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก
3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ
4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานคร – ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
ส่วนภูมิภาค – ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น
สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้
หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน
เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้
1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)
เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น
2. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff)
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น
3. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)
เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น
4. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)
เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น
5. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)
เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน
เว็บไซต์ hss.moph.go.th
ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02 193 7999
อีเมล ict@hss.moph.go.th
สมาคมสปาไทย
สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย
เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com
ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 3814441
อีเมล info@thaispaassociation.com
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา
เว็บไซต์ www.dsd.go.th
ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 248 3393
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : 10 แฟรนไชส์อาหาร ที่ยังไปได้ดีแม้เศรษฐกิจผันผวน
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-food-investment
การขายอาหารการกินไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีตกยุค ยิ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและมีธุรกิจตัวกลางคอยเชื่อมโยงร้านอาหารกับกลุ่มลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ การเติบโตทางการตลาดจึงเป็นไปอย่างดี โดย Euromonitor รายงานว่าในช่วงปี 2013-2018 ยอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food service) ของไทยยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจอาหาร แฟรนไชส์อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากแนวโน้มของตลาดที่ให้การตอบรับดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจอย่าลืมที่จะพิจารณาถึงผลเสียและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่จะได้รับอย่างรอบคอบ เพื่อวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตได้
ผู้ที่สนใจเแฟรนไชส์อาหาร นี่คือ 10 แฟรนไชส์ที่ยังไปได้ดีในยุคนี้
1. แฟรนไชส์น้ำปลาหวาน จิ้มแกล้มกับผลไม้
2. เนื้อย่างเสียบไม้ มีแนวคิดมาจากความนิยมทานเนื้อแบบปิ้งย่างของคนไทย เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการทานแบบสะดวก พออิ่มท้อง และไม่อยากจ่ายเยอะ
3. เครป ขนมทานเล่นยอดนิยมมานานยังคงไปได้ดี
4. หม่าล่า อาหารปิ้งย่างเคลือบน้ำจิ้มรสเผ็ด ได้รับความนิยมมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
5. เฟรนช์ฟรายส์ อาหารทานเล่นที่บริหารจัดการได้ไม่ยาก
6. ซูชิ อาหารจากญี่ปุ่นที่ถูกปากคนไทยมานาน
7. ก๋วยเตี๋ยว ยังไปได้ในทุกยุคเศรษฐกิจ
8. ส้มตำ ยำแซ่บ อีสานยกชุด อาหารที่คนไทยทานได้ไม่เบื่อ
9. สเต๊ก สามารถคืนทุนได้เร็ว หากทำเลดีและเลือกลงทุนแฟรนไชส์ดี
10. ชาบู มีทั้งแบบจัดเป็นชุดบุฟเฟต์ หรือเสียบไม้
ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเป็นสินค้าที่มีผลกำไรต่อหน่วยน้อย ต้องอาศัยการขายในจำนวนมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกเหนือไปจากทุน จุดคุ้มทุน และผลกำไรแล้ว ยังมีเรื่องอื่นที่ผู้ประกอกการต้องใส่ใจด้วย เช่น
– การพิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้ง เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปได้ไกล
– วัตถุดิบอาหารต้องสดใหม่และมีอายุในการเก็บรักษา จำต้องหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เทรนด์ชายต้องหล่อมาแรง ดันตลาดความงามโต
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/TrendMan.pdf
ตลาดความงามโดยรวมกำลังเติบโต จากพฤติกรรมคนไทยที่หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกาย ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ใส่ใจในเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันผู้ชายก็หันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลภาพลักษณ์และบุคคลิกมากขึ้น กลุ่มลูกค้าผู้ชายจึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้า บริการ หรือต่อยอดธุรกิจความงามจากเดิมสินค้ายอดฮิตของตลาดความงามผู้ชาย เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกาย (Men’s Grooming) เติบโตเฉลี่ยประมาณ 6.4% ต่อปี ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีอัตราเติบโตสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยตลาดความงามผู้ชายส่วนใหญ่เติบโตจากกลุ่มผู้ชายอายุระหว่าง 20-39 ปี หรือกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ที่เริ่มสนใจดูแลบุคลิกภาพของตนเอง และเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับความงามค่อนข้างสูง โดยพฤติกรรมของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่สำคัญ มีดังนี้
ไม่ยึดติดกับตราสินค้า และไม่ได้ยึดปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก
สืบค้นข้อมูลก่อนตัดสินใจ
สนใจสินค้าที่มีนวัตกรรม
ราคาที่สมเหตุสมผล
ตลาดสินค้าความงามสำหรับกลุ่มผู้ชายในไทยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพื่อลดการแข่งขันตลาดในประเทศ ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่แม้ว่ามูลค่าตลาดความงามสำหรับผู้ชายอาจยังไม่สูงมากนัก แต่ก็มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังมีเรื่องของข้อได้เปรียบที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทยก็คือ ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านต่างมีการติดตามเทรนด์ทางด้านความงามของไทย และมีความเชื่อถือในคุณภาพรวมถึงความคุ้มค่าของสินค้าและบริการจากไทยค่อนข้างสูง
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : SME จับเทรนด์อาหารอนาคตสร้างรายได้
อ่านเพิ่มเติม : https://kasikornbank.com/th/business/sme/SME_Analysis_FutureFood.pdf
อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาอาหารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น
เทรนด์อาหารในอนาคตที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่
เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการขัดสีหรือกระบวนการเก็บถนอมอาหารใดๆ ทั้งผักผลไม้ รวมไปถึงวัถุดิบอื่นๆ คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการบริโภคอาหารบางกลุ่ม เช่น ไขมัน น้ำตาล เป็นต้น
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารพืชแบบธรรมชาติ
– ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าพืชเกษตรในรูปแบบออร์แกนิค (ที่มีการรับรองมาตรฐานการผลิต) ธัญพืชกลุ่มที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ หรือ Super Food
– ต้องมีการพัฒนาและมองหาวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสกัดเป็นน้ำมัน/ผง ตลอดจนนำมาแปรรูปเพื่อทดแทนอาหารแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังสามารถขยายกิจการสู่การส่งออกได้อีกด้วย
– กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ คือ กลุ่มผู้บริโภค Vegan และกลุ่มร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้แมลงเป็น Super Food ที่มีประโยชน์และสารอาหารสูง โดยในหลายประเทศเริ่มยอมรับการใช้แมลงเป็นอาหารโปรตีนสำรอง และมีประชากรโลกราว 2,000 ล้านคนที่รับประทานแมลงเป็นอาหาร แมลงจึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าในกลุ่มอาหารศักยภาพที่น่าสนใจในการเจาะตลาดผู้บริโภค การส่งออกแมลงไปจำหน่ายทั่วโลก สามารถผลิตได้ง่ายในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงได้อีกด้วย
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารจากแมลง
– นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีอากาศที่เหมาะสม
– แมลงที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ จิ้งหรีด รถด่วน ตั๊กแตน ดักแด้ ฯลฯ
– ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ กลุ่มแมลงทอดหรืออบ แมลงแช่แข็ง
– ช่องทางการจำหน่ายที่มีศักยภาพในระยะต่อไป คือ ตลาดส่งออก โดยตลาดที่มีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้สูงได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
คืออาหารที่มาจากท้องถิ่น หรืออาหารที่มีความสดใหม่จากธรรมชาติ ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ใช้กำลังการผลิตในปริมาณไม่มาก และมีเรื่องราวที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ โดยอาหารกลุ่มนี้เริ่มมีความต้องการจากตลาดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรายใหญ่เริ่มหันมานำเสนอสินค้าที่มีความเป็นท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งจะเลือกผลิตหรือจำหน่ายในช่วงเวลาและปริมาณที่จำกัด เพื่อนำเสนอให้ผู้บริโภคเห็นถึงความพิเศษและมีคุณภาพสูงของสินค้า
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารท้องถิ่น
– วัตถุดิบอาหารและอาหารในไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะประเทศไทยมีเอกลักษณ์และความเป็นพื้นถิ่นสูง ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น
– กลุ่มสินค้าที่ตลาดต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยได้ขึ้นทะเบียนตราสัญลักษณ์ GI เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุเรียนนนท์ สับปะรดภูแล มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ฯลฯ
– ผลิตภัณฑ์จากผลไม้และสมุนไพรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน/ขนุนแปรรูป (ทอดกรอบ) น้ำผึ้งดอกลำไย รวมถึงเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงรสไทย
– การเพิ่มนวัตกรรมอาหารเข้าไปในผลิตภัณฑ์ หรือสร้างเรื่องราวของสินค้าให้น่าดึงดูดหรือให้แบรนด์ดูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย
จากเทรนด์อาหารในอนาคตและโอกาสทางการตลาด ที่ได้กล่าวไป ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมอาหารมาปรับใช้ในการผลิตให้มากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพด้านการผลิต และที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ก็คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ (Traceability) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
การปรับธุรกิจให้ทันเทรนด์อาหารยุคใหม่นี้อาจไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะเป็นการผลิตอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีความสลับซับซ้อน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาหาข้อมูลและมองหาลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหาแนวร่วมจากองค์กรภาครัฐที่สนับสนุน เช่น
– เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่ส่งเสริมหรือเชื่อมโยงความช่วยเหลือเกี่ยวกับเครือข่ายผู้ประกอบการ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ http://foodinnopolis.or.th/
– สถาบันอาหาร (National Food Institute) บริการด้านการตรวจ วิเคราะห์การทดสอบ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ
– อาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจ-ต่างธุรกิจ สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : C-commerce ทางเลือกใหม่ของธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/c-commerce-online-business-options
C – Commerce เป็นการซื้อขายผ่านช่องทางแชทเป็นหลัก ย่อมาจาก Conversational Commerce ซึ่งก็คือ การแชทคุยกันเพื่อซื้อขายนั่นเอง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการซื้อขาย การปิดการขาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย
จากผลสำรวจ คนไทยใช้งานร้านค้าออนไลน์มากที่สุด (ใน 9 ประเทศ) ซึ่งคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึงวันละ 9 ชั่วโมง คนไทยนิยมใช้งานแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการแชทในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือ แมสเซ็นเจอร์ (Messenger) ส่งผลให้ติดพฤติกรรมการแชท และกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำสิ่งต่าง ๆ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า
ทำให้คนไทยกล้าที่จะเปิดใจใช้บริการต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะเรื่องของอีคอมเมิร์ช ( E-Commerce) ในประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ใหม่ เพราะคนไทยพร้อมที่จะเรียนรู้ใช้งานสิ่งใหม่ ๆ ขอแค่มีคนให้คำแนะนำ การแชทจึงทำให้เชื่อมั่นในระบบได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดการซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้กลยุทธ์การซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ให้ได้ประสิทธิภาพ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
– กำหนดบุคลิกแบรนด์ว่าต้องการให้แบรนด์ของเรามีลักษณะอย่างไร เช่น สุภาพทางการ หรือ สนุกสนานเป็นกันเอง เป็นต้น
– คิดชุดคำตอบสำรองไว้สำหรับคำถามทั่วไป ที่ลูกค้ามักถามเข้ามาบ่อย เช่น หากลูกค้าถามเกี่ยวกับราคา ผู้ประกอบการควรมีชุดคำตอบสำหรับราคาเตรียมไว้ เพื่อการตอบได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
– ตอบแชทให้เร็วที่สุด จะทำให้ลูกค้าชื่นชอบ และผู้ประกอบการสามารถที่จะปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากไม่สามารถตอบแชทได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรตั้งค่าการตอบแบบอัตโนมัติ ระบุเวลาทำการของร้าน ให้ลูกค้าได้ทราบไว้ล่วงหน้า
– ตอบคำถามให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจและช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
– สุดท้ายการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) จะอยู่คู่กับชาวออนไลน์ไปอีกนาน โดยเฉพาะกับคนยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เพราะเขาเกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟนและการแชท
ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดควรเน้นการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ในธุรกิจตนเอง เพราะข้อดีมีมากทีเดียว ทั้งการเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้โดยไม่รู้ตัว
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย