KX KNOWLEDGE EXCHANGE เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีเป้าหมายคือนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย (KMUTT) ไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนทางความรู้ ระหว่างประชาคมจากภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมในลักษณะพันธมิตร เหมาะกับผู้ประกอบการ SME และ Start Up ในทุกอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะต่อยอดในการพัฒนากระบวนการผลิตรวมไปถึงการยกระดับตัวผลิตภัณฑ์

 

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับบ่มเพาะนวัตกิจเพื่อให้ผู้ประกอบการทำงานกับนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรม ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการ Start Up หน้าใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปั้นธุรกิจใหม่ โดยอาศัยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย รวมถึงมี Design hub เพื่อสนับสนุนและให้บริการด้านการออกแบบ

 

  • DesignXcel & Design Clinic เป็นส่วนให้ความรู้และกระตุ้นการสร้างแนวคิดและนวัตกรรม และองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรมการออกแบบ  ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ​​ให้บริการปรึกษาทั้ง การผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Prototype Design), Graphic Design ฯลฯ ยังมีอีกส่วนที่น่าสนใจ คือ FabLab Bangkok เป็นพื้นที่สำหรับผู้คนในการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ ๆ ได้ลองทำงานกับเทคโนโลยีการประดิษฐ์ล่าสุด ได้พบปะกับชุมชนที่สร้างสรรค์เพื่อช่วยคุณสร้างธุรกิจเกือบทุกขั้นตอน  และในอนาคตจะมีอุปกรณ์ เพื่อให้ได้ทดลองและต่อยอดไอเดียอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เครื่องพิมพ์ 3D Printing เครื่องพิมพ์ CNC และเครื่องตัดเลเซอร์ เป็นต้น

 

  • บริการหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ทั้งหลักสูตร กิจกรรมโปรแกรม  Matching K to K (knowledge to KX) ซึ่งมีจากมหาลัยอื่นเข้าร่วมด้วย ไม่มีค่าใช้จ่าย  เป็นโปรแกรมที่ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การหาเงินทุน และ หลักสูตร Design Thinking

 

KX KNOWLEDGE EXCHANGE มีบริการ ทั้งห้องประชุมสัมมนา ห้องจัดนิทรรศการ เปิดตัวสินค้า หลากหลายรูปแบบ มีพื้นที่ Co-working space สำหรับ​ Start up, SMEs และคนรุ่นใหม่ ที่ยังไม่พร้อมเช่าออฟฟิศ ได้มาทำงาน พบปะพูดคุย เพื่อสร้างโอกาสในเชิงธุรกิจ

 

ผู้ประกอบการ SME ยังสามารถเข้ามาขยายเครือข่ายการทำธุรกิจรวมไปถึงการหาความรู้เพิ่มเติมที่ KX KNOWLEDGE EXCHANGE ผ่านรูปแบบกิจกรรมกิจกรรมงานสัมมนา กิจกรรมในการทำ  Focus Group การพูดคุย เพื่อตกผลึกในงานวิจัย โจทย์ ของผู้ประกอบการ และการทำ SME Matching ที่เป็นการประสานและจับคู่ผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันได้ ซึ่งทั้งหมดนี่คือการสร้าง ชุมชนของ SME ให้มีความเข้มแข็งเพื่อยกระดับสู่สากล รวมถึงนำทุนภาครัฐไปสนับสนุนผู้ประกอบการ  ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลและติดตามผลอยู่ตลอด

 

ท่านสามารถติดต่อได้ผ่านทางโทรศัพท์ ที่เบอร์ 024707906

อีเมล์ contact@kxinnovation.com 

หรือเดินทางมาที่ KX - Knowledge Exchange for Innovation (KMUTT) (The Knowledge Exchange: KX)

110 1 ถนน กรุงธนบุรี แขวง บางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600

เปิดทุกวัน เวลา 9.00 - 18.00

 

 

 

บทความแนะนำ

 

SCI PARK หรืออุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง นักวิจัย ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจอาหาร รวมไปถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมประมง โดยมีการให้บริการที่เป็นจุดเด่น คือ บริการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีแหล่งความรู้ที่ครบวงจรเกี่ยวกับ น้ำ ดินตะกอน และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในทะเล และ การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบในอาหาร เครื่องดื่ม ยา พื้นผิววัสดุ เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีห้องปฏิบัติการที่สามารถให้บริการด้านการตรวจวัดและทดสอบชิ้นงานเพื่อการออกใบรับรองมาตรฐานที่หลากหลาย  ตอบโจทย์ผู้ประกอบการทุกประเภท โดยเฉพาะประเภทอาหารและเครื่องดื่มธุรกิจ ด้านการประมง ธุรกิจด้านสมุนไพร

 

สำหรับบริการที่ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อการตรวจวัดและทดสอบชิ้นงานเพื่อการออกใบรับรองมาตรฐาน ได้แก่

  1. ห้องเครื่องมือปฏิบัติการของทางคณะวิทยาศาสตร์ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการวิเคราะห์หาคุณสมบัติและองค์ประกอบในอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารสามารถนำไปสอบเทียบเพื่อขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาได้ และสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวกับสมุนไพรสามารถนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์จากห้องนี้นำไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
  2. ห้องปฏิบัติการของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำ ดินตะกอน อาหารสำเร็จรูป  วัสดุตกแต่ง สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ รวมไปถึงการให้ข้อมูลเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม สัตว์ทะเลเศรษฐกิจ สาหร่ายทะเล รวมไปถึงแพลงตอน
  3. ศูนย์การเรียนรู้ระบบอัตโนมัติ ให้ผู้ประกอบการเรียนรู้ว่าการทำระบบอัตโนมัติทำอย่างไร เช่น การทำสายพานเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นใช้หุ่นยนต์
  4. ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วัสดุโยธา ตัวปูนหล่อ แท่งหล่อ ผนังเทียม หน่วยทดสอบวัสดุโยธา การก่อสร้าง
  5. ศูนย์เครื่องมือกลาง เครื่องมือชั้นสูงอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับไบโอ การแพทย์
  6. ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือ เหมาะกับ งานชิ้นส่วน เช่นชิ้นส่วนประกอบงานชิ้นส่วนยานยนต์
  7. เครื่องมือวิเคราะห์ด้านอื่นๆ เช่น กล้องวิเคราะห์พื้นผิววัสดุ เครื่องมือวิเคราะห์ด้านเครื่องสำอาง เครื่องมือวิเคราะห์ด้านการแพทย์

 

บริการอื่นๆในด้านการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ อย่างเช่น

  • การให้บริการในเรื่องของข้อมูลและการสนับสนุนเกี่ยวกับการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้าน
  • โครงการ R to M ( Research to Marketing ) การเปลี่ยนงานวิจัยเข้าสู่ตลาด สร้างมูลค่า เช่น ทุ่นตรวจสอบคุณภาพน้ำ
  • การหาแหล่งเงินทุน เช่น จากหอการค้าชลบุรี หอการค้าระยอง หอการการค้าฉะเชิงเทรา
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์
  • Business model
  • ขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่านความร่วมมือจากบุคลากรและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นตัวกลางช่วยเหลือ ประสานงาน กับทางอย.

 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาใช้บริการสามารถติดต่อผ่าน

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก ทางกองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม งานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131 

Tel. 038-102969 

E-mail : eastern.scipark@go.buu.ac.th 

เว็บไซต์  http://sciencepark.buu.ac.th/web2020/              

เฟซบุ๊ก  https://www.facebook.com/BUUresearch/

หรือหากผู้ประกอบการสนใจที่จะใช้ห้องปฏิบัติการ หรือยังไม่ทราบว่าการทดสอบที่ผู้ประกอบการต้องการจะใช้ห้องปฏิบัติการใดก็สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงาน

คุณจุฑามาศ ปานทับ หรือคุณอีฟ ได้ในวันและเวลาทำการ เบอร์โทร. 038-102-562

 

 

บทความแนะนำ

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Institute of Food Research and Product Development IFRPD)

 

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ม.เกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล สร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรของประเทศ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการ สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม และเครื่องมือที่ทันสมัย งานวิจัยที่เชี่ยวชาญ คือเทคโนโลยีการผลิตอาหาร จุลชีววิทยาประยุกต์ เคมีและกายภาพอาหาร อาหารเชิงพันธภาพและโภชนาการ ผลงานวิจัยได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง มีบริการที่ตอบสนองสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหาร

 

มีบริการที่มีเพื่อผู้ประกอบการ SMEs ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยศูนย์บริการประกันคุณภาพอาหาร จะให้บริการการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและวัตถุดิบต่างๆ มีบริการให้คำปรึกษา(FQA)และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product R&D) ค้นคว้าลักษณะเนื้อสัมผัสของวัตถุดิบทางอาหารหลากหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ เนื้อสัมผัสเยลลี่น้ำผลไม้ เพื่อไปปรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำใบรับรองไปขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้

 

ทางสถาบันฯ มีการพัฒนาคิดค้นสูตรอาหารใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตออกจำหน่าย จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนา ของนักวิจัยสถาบันฯ ตามหลักวิชาการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนมั่นใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทีมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยและได้มาตรฐาน จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถให้ผู้ประกอบการมาซื้อลิขสิทธิ์เพื่อไปต่อยอดหรือสร้างธุรกิจได้ หรือสามารถเข้ามาร่วมวิจัยกับสถาบันฯเพื่อพัฒนาสูตรใหม่เพื่อต่อยอดธุรกิจ โดยแจ้งประเภทอาหารที่สนใจหรือนำเข้ามาพัฒนา เพื่อหานักวิจัยให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย หาความต้องการ วิจัยพัฒนาและทดลองสูตร ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ มีบริการ ศึกษาอายุการเก็บรักษา การยืดอาอายุของอาหารเพื่อแพคขายตามซุปเปอร์มาเก็ต จนมั่นใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทีมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำปลาหวาน ข้าวแกงทอดกึ่งสำเร็จรูป และอีกหลายผลิตภัณฑ์

 

ข้อจำกัดของการเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อออกสู่ตลาด จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่จำเป็น โดยบางเครื่องมีราคาสูงมาก เหตุนี้เองสถาบันฯ จึงมีการให้บริการเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ให้แก่ผู้ประกอบการทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับ SMEs ระดับกลางและครัวเรือน ที่ยังขาดศักยภาพ เพื่อทำการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ในระยะเริ่มต้น

 

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ยังมีงานบริการอีกหลากหลาย เช่น บริการห้องประชุม พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัย ครบครัน บริการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทุกระดับ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป โดยเน้นทั้งการบรรยายให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ มีบริการ QR code Official Line ของสถาบันฯ เพื่อพูดคุยกับนักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์โดยตรงได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น

 

ผู้ประกอบการด้านอาหารที่สนใจใช้บริการของทางศูนย์สามารถติดต่อได้ที่

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 

โทรศัพท์ : 02-9428629-35 

โทรสาร : 02-5611970 

อีเมล์ : ifr@ku.ac.th

เว็บไซต์ : ifrpd.ku.ac.th

 

บทความแนะนำ

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง ( ประเทศไทย ) จำกัด Central Lab

 

Central Lab เป็นห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือและระบบมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มากกว่า 1,000 รายการทดสอบ เป็นหนึ่งในผู้นำห้องปฏิบัติการ การทดสอบและการตรวจวิเคราะห์สินค้าให้กับกลุ่มผู้ส่งออก กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจการเกษตร SMEs OTOP วิสาหกิจ โดยมีสาขาให้บริการครอบคลุมทุกภูมิภาคได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สงขลา และกรุงเทพ(สำนักงานใหญ่)

 

Central Lab มีบริการแบ่งเป็น 2 ด้านหลัก คือ

  1. ด้านการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ ( Lab ) ให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานโดยห้องปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนและยกระดับผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการส่งออกและ SMEs OTOP วิสาหกิจชุมชน 
  2. ด้านบริการตรวจรับรองมาตรฐานนอกห้องปฏิบัติการ ( Non Lab ) โดยมุ่งเน้น พัฒนามาตรฐานและรับรองกระบวนการผลิตและผลผลิตของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรวมถึงพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างบุคลากรให้มีประสิทธิภาพตลอดจนความปลอดภัยทางด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน

 

ทั้งนี้ บริการด้านการทดสอบและตรวจวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร และตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่อาหาร

  1. ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร มีดังนี้ โลหะหนักและแร่ธาตุ (Heavy Metals) วิตามิน คุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบทางเคมีในอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สีสังเคราะห์ สารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง/ยาฆ่าแมลง จุลชีววิทยา การวิเคราะห์ด้าน GMO และ DNA (Molecular Testing) อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ สารพิษจากเชื้อรา สารปนเปื้อนในอาหาร การทดสอบแอลกอฮอล์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์น้ำตาล การวิเคราะห์ทางกายภาพ
  2. ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่อาหาร ตรวจวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย สารปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหาร Pesticide Formulation (%AI) ปุ๋ย เครื่องสำอาง

 

Central Lab มีบริการทดลองประสิทธิภาพและสารพิษตกค้างให้กับผู้ประกอบการ ตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร ตามระบบ ISO/IEC 17025 ทดสอบประสิทธิภาพวัตถุอันตรายทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น พืช โรคพืช วัชพืช หรือศัตรูพืชอื่นๆ ตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร การทดสอบสารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตร การทดสอบปุ๋ย และฮอร์โมนพืชต่างๆ

และสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขอการรับรองมาตรฐาน ที่นี้ก็เป็นหน่วยงานที่ออกใบรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065 ภายใต้การรับรองของ มกอช. รวมทั้งการรับรองระบบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 สาขา GMP/HACCP.  โดยทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่าระบบมีคุณภาพและผลผลิตเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด โดยขอบเขตงานดังนี้

  • GAP ฟาร์มเลี้ยง และฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาล กุ้งทะเล ปลานิล ปลาสลิดและกุ้งก้ามกราม
  • CoC ฟาร์มเลี้ยง และฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาล กุ้งทะเล
  • Good Manufacturing Practices (GMP)
  • Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)
  • GAP พืชอาหาร ข้าว ข้าวหอมมะลิไทย
  • เกษตรอินทรีย์ : พืชอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์

 

Central Lab ยังมีบริการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ระบบการวัดของภาคอุตสาหกรรมไทยมีความถูกต้องแม่นยำ เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตให้มีมาตรฐานระดับสากล เช่น สอบเทียบเครื่องมือ การสอบเทียบทางด้านอุณหภูมิ การสอบเทียบทางด้านมวล การสอบเทียบทางด้านปริมาตร การสอบเทียบทางด้านเคมี ฯลฯ

ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบการวัดเพื่อให้ผลผลิต มีคุณภาพมาตรฐานจนสามารถ ควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมด้านการจัดทำระบบห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ อาทิ การให้คำแนะนำในการจัดทำเอกสาร การวางแผนการจัดการ การจัดฝึกอบรมบุคคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การติดตามดำเนินการ การตรวจติดตามคุณภาพภายใน

 

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด (ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน)

เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900  

โทรศัพท์ (66) 2940 5993 / (66) 2940 6881-3

เว็ปไซต์ https://www.centrallabthai.com   

บริการสอบถามรายการตรวจวิเคราะห์ ติดต่อ : โทรศัพท์ : 098-2496608

บริการข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ และรับเรื่องร้องเรียนการให้บริการ ติดต่อ : โทรศัพท์ : (66) 2940 6881-3 Ext. 107

โทรสาร : (66) 2940 6668 อีเมล์ : centrallabthai.clt@gmail.com

 

 

บทความแนะนำ

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม

 

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม (IP IDE Center) ให้บริการในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ให้คำปรึกษาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมแบบครบวงจรตั้งแต่การสร้างสรรค์ การคุ้มครอง วิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับ และสามารถแข่งขันในตลาดแบบเต็มความสามารถ สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางการตลาดด้วยทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยให้คำปรึกษา ดูแลการบ่มเพาะตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs  

 

บริการของ IP IDE Center เหมาะสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ โดยที่ IP IDE Center จะแบ่งเป็น 4 หน่วย ประกอบด้วย

  1. Techno Lab ให้บริการและคำแนะนำในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร เพื่อหาแนวโน้มความเจริญเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและวิเคราะห์แนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อชี้เป้าให้ผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์ นักวิจัย นำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดได้
  2. Idea Lab ให้คำปรึกษาเป็นพี่เลี้ยง เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ธุรกิจนวัตกรรม รวมถึงการบ่มเพาะตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีนวัตกรรม มาผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) และพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด
  3. Value Lab ให้คำปรึกษาแนะนำการปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม โดยให้ความรู้เรื่องการเข้าสู่ระบบ การคุ้มครองสิทธิทางปัญญา การออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า และบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการสร้างภาพลักษณ์สินค้า
  4. Inter Lab ให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยการเข้าสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับสากล รวมทั้งการเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ

ซึ่งที่ผ่านมามี SMEs หลายรายที่เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ IP IDE Center ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้บริการนำข้อมูล และองค์ความรู้ไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ให้กับเศรษฐกิจและการค้าของไทย

 

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และบุคคลทั่วไป ที่จะเริ่มธุรกิจ IP IDE Center เปิดให้บริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

ขอรับคำปรึกษาได้ที่ IP IDE Center ชั้น 4 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.

หรือทางสายด่วน 1368

Facebook : www.facebook.com/ipidethailand/ 

 

 

บทความแนะนำ