"ปรับโครงสร้างหนี้" ทางออกธุรกิจติดลบ ที่ไม่สายเกินแก้

 

ถ้าไม่ไหวอย่าฝืนจะดีกว่า การปรับโครงสร้างหนี้ช่วยให้ธุรกิจไปต่อ และไม่ได้แปลว่าคุณไร้ความสามารถ หรือบริหารงานผิดพลาดจนธุรกิจล้มเหลวเสมอไป บางครั้งด้วยสถานการณ์ เป็นเหตุทำให้ธุรกิจต้องสะดุดลง แน่นอนว่าในวิกฤตย่อมต้องมีคนที่เจ็บหนัก ฉะนั้นในเวลาแบบนี้ ถ้าเจ็บจนไม่ไหวจริง ๆ อย่ารอจนสายกลายเป็นหนี้เสีย จนต้องเสียประวัติทางการเงิน คุณสามารถเลือกใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางออกให้กับธุรกิจในเวลานี้ได้

 

เอสเอ็มอีควรรู้! ก่อนปรับโครงสร้างหนี้

1. ทบทวนอนาคตธุรกิจว่าไปต่อไปหรือไม่

ก่อนจะปรับโครงสร้างหนี้ สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องมองให้ออก คือ อนาคตของธุรกิจที่กำลังทำอยู่นั้น ยังมีทางรอดต่อไปได้หรือไม่? ต้องยอมรับว่าปัจจุบันพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปในหลายเรื่อง ถ้ามองแล้วว่าพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้าชิ้นนี้อีกต่อไป นั่นเรียกว่าไม่มีทางรอดแล้ว อาจถึงเวลาที่ผู้ประกอบการอาจต้องเลิกกิจการแล้วมองหาโอกาสใหม่แทน แต่ถ้าในธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ การปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอเวลาให้กระแสเงินสด (Cash Flow) ของธุรกิจกลับมา ถือเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้

 

2. เช็กกระแสเงินสด

กระแสเงินสด (Cash Flow) เป็นตัวชี้ชัดได้เป็นอย่างดีว่า ธุรกิจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ หากธุรกิจมีเงินหมุนเวียนไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องกลับมามองว่าทำไมเงินหมุนเวียนถึงไม่พอ ผู้ประกอบการต้องมอง 2 ด้านนี้ประกอบกัน คือ

  • กระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามา (Cash Inflow) รายได้มีเข้ามาน้อยไปหรือไม่ ถ้ารายได้มาน้อยไปควรต้องทำอย่างไรเพื่อเพิ่มรายได้
  • กระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไป (Cash Outflow) รายจ่ายมากเกินไปหรือเปล่า หรือยังคงมีอยู่เหมือนเดิมไม่ลดลง มีแต่จะมากขึ้น

สองสิ่งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องและไม่สามารถชำระหนี้ได้ จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องเข้ามาพูดคุยเจรจากับทางธนาคาร เพื่อหาทางออกร่วมกัน

 

3. ใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสม

วิธีการที่หลายคนคุ้นเคย คงหนีไม่พ้นการขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ หรือการปล่อยเงินกู้ใหม่ ซึ่งในแต่ละวิธีการนั้นก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก ยกตัวอย่าง

- การขยายเทอมแบบที่เป็น Debt Holiday คือ ไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่วิธีการนี้ดอกเบี้ยจะสะสมไปเรื่อย ๆ 

- การขยายเทอมในรูปแบบผ่อนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เงินต้นจ่ายทีหลัง

- การเปลี่ยนประเภทสินเชื่อ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

วิธีการเหล่านี้เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยทำให้ กระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปของธุรกิจลดลง หรือทำให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามาในสถานการณ์ปัจจุบันนั่นเอง การปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่จะเหมาะกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาจจะต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เพื่อหารูปแบบของการปรับโครงสร้างที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ 

 

4. ปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้แปลว่า “เครดิตไม่ดี” 

หลายคนมักคิดว่าหากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว อาจทำให้ธุรกิจมีตำหนิหรือเครดิตไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้ว ในมุมของธนาคารจะพิจารณาจากกระแสเงินสดของลูกค้าเป็นหลัก การที่กระแสเงินสดไม่มี ต้องไปดูต่อว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งในภาวะปัจจุบันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าการที่ธุรกิจไม่มีกระแสเงินสด เป็นเพราะผู้ประกอบการบริหารงานไม่ดี ธนาคารจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวจากเหตุและผลประกอบกันอย่างหลาย ๆ ธุรกิจในอดีตที่เคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงวิกฤตปี พ.ศ.2540 ก็ยังสามารถเติบโตกลายเป็นบริษัทใหญ่ในทุกวันนี้ได้

 

 


 

หัวข้อ : ไม่ไหวอย่าฝืน “ปรับโครงสร้างหนี้” ช่วยธุรกิจไปต่อ
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/th/k-sme-inspired

Published on 8 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

 

 

บทความแนะนำ

ผู้ช่วยร้านอาหาร เพิ่มโอกาสการขายในยุคดิจิทัลด้วย LINE MyRestaurant

 

แนะนำตัวช่วยเพิ่มโอกาสทางการขายให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่มี LINE Official Account อยู่แล้ว ด้วย MyRestaurant ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่  LINE MAN และ Wongnai ร่วมกันพัฒนาขึ้น ช่วยจัดการหน้าร้านอาหาร บริหารข้อมูลลูกค้า จัดการข้อมูลลูกค้าได้บนแพลตฟอร์มเดียว คือบน LINE Official Account อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

LINE MyRestaurant เป็นเครื่องมือฟรีที่เหมาะสำหรับร้านอาหารทุกขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กแบบร้านริมทาง ไปจนถึงร้านขนาดใหญ่ มาดูกันว่ามีฟีเจอร์ใช้งานอะไรได้บ้าง


 

 

3 ฟีเจอร์หลักของ MyRestaurant

 

1. เมนูออนไลน์สั่งง่ายด้วยสมาร์ทเมนู (Smart Menu) : เมนูอิเล็กทรอนิกส์บน LINE เชื่อมต่อกับระบบรับออเดอร์ของร้านอาหารได้โดยตรง ลูกค้าสามารถสแกน QR Code เพื่อดูเมนูพร้อมกดสั่งอาหารแบบกินที่ร้านผ่าน LINE ได้ทันที สั่งง่าย ไม่ต้องวุ่นวายบอกเบอร์โต๊ะ แถมรวดเร็ว ทันใจ ไม่ต้องกลัวออเดอร์ผิดพลาด 

 

2. หน้าร้านออนไลน์ออกแบบเองได้ตามต้องการผ่านริชเมนู (Rich Menu) : เมนูบาร์ที่รวมบริการและโปรโมชั่นต่าง ๆ ของร้านอาหาร นำเสนอให้ลูกค้ากดเลือกดูได้ตามใจใน LINE Official Account โดยร้านสามารถออกแบบคอนเทนต์ นำเสนอบริการ โปรโมชั่นต่าง ๆ แบบปรับแต่งเองได้ตลอดเวลา เช่น ให้ลูกค้ากดดูเมนูอาหารออนไลน์ หรือกดสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่าน LINE MAN Wongnai ได้ทันที

 

3. สื่อสาร ทำการตลาดได้ดีกว่าเดิมด้วยระบบรีพอร์ท (Report) : รวบข้อมูลสำคัญทั้งรายงานกลุ่มลูกค้า (Customer Report) และรายงานยอดขาย (Sale Report) ช่วยให้ร้านอาหารสามารถดูข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ต่อยอดกลยุทธ์การตลาดได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • ข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่สั่งอาหารและกดติดตาม LINE Official Account
  • ข้อมูลยอดขาย รายละเอียดการสั่งซื้อ เมนูที่ลูกค้าสั่ง ความถี่ในการสั่ง 
  • ข้อมูลจะแสดงผลแยกตามประเภทต่าง ๆ ให้ร้านสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้เต็มที่

 

ผู้ประกอบการร้านอาหารที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเข้าใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ 

https://lineforbusiness.com/myrestaurant

 


 

หัวข้อ : มีอะไรใหม่ใน LINE MyRestaurant ผู้ช่วยร้านอาหาร
อ่านเพิ่มเติม : 

https://www.bangkokbanksme.com/en/line-myrestaurant-assistant

https://lineforbusiness.com/myrestaurant/

 

Published on July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

 

 

 

บทความแนะนำ

เสริมแกร่งให้แบรนด์ปัง ด้วยการฟังเสียงลูกค้าบนโลกออนไลน์

 

หลายครั้งที่การเริ่มต้นทำธุรกิจหรือการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการ มักเริ่มต้นจากการฟังเสียงของตัวเอง ที่เกิดจากความชอบและความเชี่ยวชาญ แต่นั่นอาจไม่ใช่ “สิ่งที่ลูกค้าต้องการ” เสียงจากลูกค้าตัวจริงสามารถดันให้ธุรกิจปังได้ในชั่วข้ามคืน หรือพังธุรกิจลงได้ในพริบตาเดียว 

การฟังเสียงลูกค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ยิ่งในปัจจุบันที่การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะมีข้อมูลมากมายบนโลกออนไลน์ ที่สะท้อนความคิดความรู้สึก และความต้องการจากลูกค้าตัวจริง เช่น 

  • การแสดงความคิดเห็น (Comment)
  • การแท็กเพื่อน (@) (Mentions)
  • การติด # Hashtag

 

การฟังเสียงของลูกค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Listening จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคนี้มองข้ามไม่ได้ ด้วย 4 เหตุผลนี้

  1. ทำให้รู้ว่ามีการพูดถึงสินค้าหรือบริการของแบรนด์อย่างไร เพื่อจะนำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้
  2. ทำให้รู้ว่าคู่แข่งเป็นอย่างไร และกำลังทำสิ่งใดอยู่บ้าง
  3. ทำให้รู้ว่าตอนนี้คนส่วนใหญ่กำลังสนใจเรื่องอะไร หรือเทรนด์ไหนกำลังมา
  4. ธุรกิจสามารถจัดการวิกฤต (Crisis Management) ได้ทันที หากเกิดดราม่าหรือมีการพูดถึงแบรนด์ในด้านลบ

 

เป็นเอสเอ็มอีเล็ก ๆ แบรนด์ไม่ดัง ไม่มีใครพูดถึง จะฟังเสียงลูกค้าได้อย่างไร?

แม้คุณเป็นแบรนด์เล็ก ๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือเสียงของลูกค้าบนออนไลน์ได้ ด้วยการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากแบรนด์ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจของคุณ หรือมองหาแบรนด์ที่มีจุดขายเดียวกับคุณแต่เขาถูกลูกค้าพูดถึง ดูว่าเขาทำอะไร ลูกค้าบ่นอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร โดยสิ่งที่เอสเอ็มอีสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลของแบรนด์ใหญ่ได้ คือ

  1. แบรนด์ใหญ่โดนบ่นเรื่องอะไร คุณก็ทำตรงนั้นให้ดีกว่าเขา
  2. ลูกค้าถามหาอะไรจากแบรนด์ใหญ่ ความต้องการของลูกค้าที่อยากได้นั่นอยากได้นี่ บางครั้งแบรนด์ใหญ่ ๆ อาจจะไม่ทำ เอสเอ็มอีสามารถดึงเอาความต้องการเหล่านั้นมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณแทนได้

 

เนื่องจากข้อมูลบนโลกออนไลน์นั้นมีมากมาย ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยในการฟังเสียงผู้บริโภคและการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยมีทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย ให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้ตามความต้องการทางธุรกิจ

Google Trend

เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลฟรีของ Google เพื่อดูว่าในปัจจุบันหรือช่วงเวลานั้น ๆ มีเรื่องอะไรที่คนบนโลก

ออนไลน์อยากรู้ และมีเรื่องอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์

- สามารถพิมพ์ Keyword หรือคำค้นหาที่ต้องการลงไปในช่องแถบค้นหา 

- เครื่องมือจะแสดงผลลัพธ์ออกมาให้เห็น ในรูปแบบสถิติที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตค้นหาคำนั้น ๆ บนแพลตฟอร์ม Google Search Engine 

ลองใช้งานได้ที่ >> https://trends.google.co.th

Zanroo

หนึ่งใน Social Listening Tool หรือเครื่องมือในการจับข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์และบทสนทนาที่เกิดขึ้นบน Social Media เช่น Facebook, Twitter, Instagram ได้แบบเรียลไทม์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่เดือนละประมาณ 3,000 - 50,000 บาทขึ้นไป

ลองใช้งานได้ที่ >> https://enterprise.zanroo.com/

Wisesight

เครื่องมือช่วยในการเก็บข้อมูลบนโซเชียลจากช่องทางต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อทำให้รู้ว่าตอนนี้คนบนโลกออนไลน์กำลังพูดถึงเรื่องอะไร มีข้อความ คอมเมนต์อะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยมีค่าบริการเดือนละประมาณ 30,000 บาท

ลองใช้งานได้ที่ >> https://wisesight.com/

หรือค้นหาเทรนด์ฮิตติดกระแสแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ >> https://trend.wisesight.com/

 


 

หัวข้อ : SOCIAL LISTENING ปรับธุรกิจปัง ฟังเสียงลูกค้า
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/k-sme-inspired-Nov

 

Published on 08 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

📢งานสัมมนา สาระดี ๆ มาเพิ่มความรู้ให้กันอีกแล้วค่าาา 👍 กับโครงการขยายการค้าการลงทุนสู่สากลเรื่อง “ผ่าแนวคิด นักธุรกิจรุ่นใหม่ กับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า” 🥳

📢งานสัมมนา สาระดี ๆ มาเพิ่มความรู้ให้กันอีกแล้วค่าาา 👍 กับโครงการขยายการค้าการลงทุนสู่สากลเรื่อง “ผ่าแนวคิด นักธุรกิจรุ่นใหม่ กับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า” 🥳
.
โดยวิทยากรมากด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ ด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า
🎥 โดยการสัมมนาในรูปแบบ Video Conference ผ่านระบบ Zoom หรือ Webinar วันที่ 22 มิถุนายน 2564 โดยจะเป็นการสัมมนา Online ในระบบปิด 💻
👍 ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียน ฟรี!! ได้เลย
.
👏 แล้วมาสร้างโอกาสขยายธุรกิจให้ก้าวไกลในตลาดต่างประเทศกันนะคะ ✈️
จัดโดย จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ : 📞 094-986-6111
#SMEone

บทความแนะนำ

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Motion Graphics Workshop “Projection Mapping” จากประเทศแคนาดา กิจกรรมพัฒนาเครือข่าย Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุน เครือข่าย SME ปี 2564 

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Motion Graphics Workshop “Projection Mapping” จากประเทศแคนาดา กิจกรรมพัฒนาเครือข่าย Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุน เครือข่าย SME ปี 2564 

ในครั้งนี้ พลาดไม่เลย ที่จะได้เข้าฟังสัมมนาข้ามทวีป “Projection Mapping” จากประเทศแคนาดา โดยคุณ EMMA LOPEZ HECHEM : Creative Director/Project Designer at AVA Animation & Visual Arts ผู้อยู่ในวงการ Projection Mapping ระดับโลกมานานกว่า 14 ปี ประสบการณ์ในการทำงานอันเข้มข้น จะมาเล่าและถ่ายทอดสดกันให้ฟังเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น !!!!

ในวันที่ 25 มิ.ย. 64 เวลา 11.00-13.00 น. ผ่านระบบ ZOOM
สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ โดยกดที่ลิ้งค์ https://forms.gle/QbeTtUEqKLFEAp5u5
หรือ แสกน QR CODE

จัดโดย สสว. ร่วมกับ ม.ศิลปากร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 096-048-5142

#SMEone

บทความแนะนำ