Novel Food หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า ‘อาหารใหม่’ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมโลกมากขึ้น แล้วอาหารใหม่คืออะไร? กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ คือ
อธิบายแบบให้เข้าใจง่าย ๆ Novel Food ก็คือ
ตัวอย่างที่ชัดเจนใกล้ตัวเรา เช่น แมลง รถด่วน (หนอน) ตั๊กแตน จิ้งหรีด ที่กลายเป็นแหล่งอาหารใหม่ นอกจากนี้ก็มีตัวอย่างเช่น เค้กจากแป้งข้าวจ้าว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะปกติเค้กจะทำจากแป้งสาลี หรือสินค้าประเภทน้ำพริกกะปิผงซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อความสะดวก หรือส้มตำอบแห้ง
สนใจขอขึ้นทะเบียนเป็นอาหารใหม่ทำไรอย่างไร
ธุรกิจอาหารใหม่ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะผลิตส่งออกหรือจะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ แต่เนื่องจากอาหารประเภทนี้เป็นของใหม่จึงยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการบริโภค จึงจำเป็นจะต้องผ่านการประเมินในด้านต่าง ๆ ก่อนและต้องส่งมอบฉลากให้ ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา’ อนุมัติก่อนนำไปใช้ โดยการประเมินความปลอดภัยนั้น ต้องยื่นผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานที่อย.ให้การยอมรับ และหลักฐานอื่น ๆ เช่น
สำหรับหน่วยประเมินความปลอดภัยของอาหารใหม่ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ มี 3 หน่วยงาน คือ
1) สำนักงานคุณภาพและ ความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2) สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
3) ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า Novel Food เป็นเมกะเทรนด์อาหารที่น่าสนใจอย่างไร และมิติด้านความยั่งยืนของอาหารสอดคล้องกันอย่างไร ในปัจจุบันเริ่มบริโภคแมลงทดแทนโปรตีนในรูปแบบปกติ แมลงสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ในรูปแบบปกติ แถมแมลงยังสามารถเพาะเลี้ยงไปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้จึงสอดรับกับเมกะเทรนด์ด้านอาหารยั่งยืน
ขณะที่อาหารใหม่อื่น ๆ เช่น สาหร่าย เห็ดรา วัตถุดิบท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ใช้ต้นทุนน้อย ก็ถือเป็นโอกาสในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยมีพื้นฐานด้านชีวภาพที่มีความหลากหลาย ก็มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดในด้านนี้ได้อีกมาก
หัวข้อ : Novel Food โอกาสอุตสาหกรรมอาหาร
อ่านเพิ่มเติม : www.bangkokbanksme.com/en/novel-food-industry และ www.bangkokbanksme.com/en/novel-food-innovation-world-food-trend
Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Commerce มากขึ้น และเร็วขึ้น เพราะต้องปรับตัวกับการซื้อของใช้ประจำวันและสินค้าอื่น ๆ ผ่านทางออนไลน์แทน ซึ่งเมื่อการซื้อของออนไลน์กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของผู้บริโภคแล้วนั้น ทำให้พวกเขาเปิดรับการใช้จ่ายผ่านทาง e-Commerce มากขึ้น ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์กลายเป็นช่องทางการซื้อที่สำคัญมากสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน
จากการสำรวจพบว่าสาเหตุที่ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถทำธุรกิจ e-Commerce ได้เต็มที่เพราะ
ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใช้บริการผ่านทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม
มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า และกระตุ้นให้พวกเขามั่นใจที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง โดยเฉพาะร้านค้าในแพลตฟอร์ม Food Delivery ต่าง ๆ ที่นอกจากต้องหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคยุคนี้แล้ว บางรายอาจลดการใช้พลาสติกโดยออกแบบให้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ สามารถรีไซเคิลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน
2. เร่งการใช้การตลาดดิจิทัล และการขายผ่านทาง Social Media
เมื่อต้องเปลี่ยนช่องทางการขายจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ ก็ต้องนำการตลาดดิจิทัลใหม่ ๆ มาใช้ เช่น
โดยสินค้าในหมวดสุขภาพและความงามเป็นหมวดสินค้ายอดนิยมที่ขายผ่าน Livestreaming ในแพลตฟอร์ม e-Commerce และ Social Media มากที่สุดในประเทศไทย
3. ทำความร่วมมือกับ Fulfillment partners เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง e-Commerce
ระบบการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ปลอดภัย และสามารถเพิ่มความสะดวกในการช้อปปิ้งออนไลน์ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ e-Commerce ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์การจัดส่งสินค้า โดยอาจทำความร่วมมือกับ Fulfillment partners (บริการคลังสินค้า แพ็กสินค้า พร้อมจัดส่งสินค้า) เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อเสนอการจัดส่งของพวกเขาครอบคลุมและยืดหยุ่นเพียงพอ ที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค
หน่วยงานภาครัฐในประเทศได้ออกนโยบาย มาตรฐาน และกฎหมายต่าง ๆ ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในหลาย ๆ ด้าน เช่น
- นโยบายสนับสนุนธุรกิจด้านการเงิน อย่าง การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทางบริการ PromptPay ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมาะกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนนโยบายชาติด้าน e-Payment และเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
- มาตรฐานและกฎหมายเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางออนไลน์ อย่าง มาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับการปกป้องและคุ้มครอง รวมถึงเป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
- โครงการเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการ การจัดหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับการทำธุรกิจผ่านทางออนไลน์
หัวข้อ : e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19
อ่านเพิ่มเติม : https://www.etda.or.th/Perspective-on-Future-of-e-Commerce
Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
เอสเอ็มอีไม่ว่าจะแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ล้วนแต่ต้องเสียภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) ไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ ตามประเภทภาษีเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ก็มีสิทธินำภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายนั้น ไปหักออกจากจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย และเสียภาษีเพิ่มเฉพาะส่วนที่เหลือหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว
หากทบทวนดูแล้ว ระบบหักภาษี ณ ที่จ่าย อาจสร้างภาระมากมายและยังเป็นต้นทุนที่ไม่อาจเลี่ยงได้ เช่น
- ทำให้เกิดหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ ที่ต้องหักภาษีทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้แล้ว
- ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
- ต้องจัดทำแบบสรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำปียื่นต่อกรมสรรพากร
กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ e-Withholding Tax เป็นวิธีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในรูปแบบใหม่ โดยผู้จ่ายเงินสามารถนำส่งข้อมูลและเงินภาษี พร้อมกับการทำรายการสั่งโอนชำระเงินผ่านธนาคารที่เป็นผู้ให้บริการระบบ e-Withholding Tax แทนการยื่นแบบเป็นกระดาษ หรือผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Filing)
- รองรับการนำส่งภาษีเงินได้ แบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.54
- รองรับการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบ ภ.พ.30, ภ.พ.36
ผู้ประกอบการสามารถใช้บริการรับชำระเงินจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ e-Withholding Tax กับกรมสรรพากร โดยเมื่อมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินทั้งในและต่างประเทศ ผู้จ่ายเงินได้ประเภทที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ธนาคารทราบ
สำหรับการทำงานของระบบ e-Withholding Tax มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ประโยชน์ของระบบ e-Withholding Tax สำหรับผู้จ่ายเงิน นอกจากสามารถลดต้นทุนจากการไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี และไม่ต้องออกและจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ยังได้รับความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายบนเว็บไซต์กรมสรรพากรและได้รับใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
เท่านั้นยังไม่พอ ทั้งธนาคารผู้ให้บริการระบบ e-Withholding Tax และผู้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax ยังสามารถนำรายจ่ายเพื่อการลงทุนในระบบ e-Withholding Tax มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้ถึง 2 เท่า และสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจที่สุด ก็คือ ผู้ที่ใช้บริการ e-Withholding Tax จะได้รับการจัดให้เป็นผู้ประกอบการกลุ่มดีได้ง่ายขึ้น ทำให้ถูกตรวจสอบน้อยลงและกรณีมีการขอคืนภาษี ก็จะได้รับคืนเงินภาษีเร็วขึ้นอีกด้วย
หัวข้อ : e-Withholding Tax เรื่องภาษีจบได้ในขั้นตอนเดียว
อ่านเพิ่มเติม :www.kasikornbank.com/KSMEKnowledge และ sme.krungthai.com/sme
Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ไม่อยากเจอกับภาวะเงินสะดุด ต้องวางแผนจัดการทางการเงินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ ลองใช้เทคนิคเหล่านี้มาช่วยวางแผนการเงินให้กับธุรกิจของคุณ
สิ่งแรกที่ต้องคิดและวางแผนให้ดี สำหรับบรรดามือใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจ นั่นคือ “เงินทุน” สำหรับการเริ่มต้นกิจการ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้ว จะมีอยู่ 3 แหล่งด้วยกัน คือ
แหล่งทุนที่ 1 “ใช้เงินตัวเอง”
เป็นแหล่งทุนเริ่มต้นทุนที่ความเสี่ยงต่ำสุด เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์น้อย กังวลว่าธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จสูง การใช้เงินทุนของตัวเองถ้าไปต่อไม่ได้จริง ๆ อย่างน้อยคือเสมอตัวไม่ได้ติดลบ เพราะไม่ได้กู้ยืมใครมา หากใช้เงินตัวเองในการเริ่มต้นธุรกิจต้องวางแผนสะสมเงินทุนให้ได้สักก้อน อาจจะเป็นการเริ่มต้นจากเงินทุนไม่มาก ทำจากเล็ก ๆ ไปก่อนในช่วงแรก
แหล่งทุนที่ 2 “หาหุ้นส่วนเพิ่ม”
การหาทุนเพิ่มจากหุ้นส่วน เป็นหนึ่งทางเลือกในกรณีเงินทุนของตัวเองมีจำกัดหรือไม่เพียงพอ ซึ่งในการเลือกหุ้นส่วนนั้นอย่ามองเพียงแค่ว่าต้องการคนที่จะเอาเงินมาเติมในส่วนที่ขาด แต่ให้มองหาคนที่จะมาเติมความสามารถ หรือศักยภาพในส่วนที่ธุรกิจขาดมากกว่า
แหล่งทุนที่ 3 คือ “กู้ยืมจากสถาบันการเงิน”
เป็นทางเลือกที่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับมือใหม่ เพราะด้วยประสบการณ์ที่น้อย ในมุมของสถาบันการเงินการจะเข้าถึงสินเชื่อเพื่อธุรกิจจึงค่อนข้างยาก ทำให้ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งหันไปพึ่งพาการใช้บริการทางการเงินส่วนบุคคล ซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า หากจะใช้สินเชื่อประเภทนี้อาจใช้เป็นตัวประกอบการหาเงินมาเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินธุรกิจคล่องตัวขึ้นจะดีต่อธุรกิจมากกว่า
ถ้ากู้เงินจากธนาคาร กู้แค่ไหนถึงไม่เป็นภาระหนักให้ธุรกิจ?
กรณีที่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ถ้าไม่อยากให้กลายเป็นภาระที่หนักจนเกินไปของธุรกิจ สัดส่วนของการชำระหนี้โดยหลักแล้วควรอยู่ระหว่าง 50-70% ของผลกำไรธุรกิจ เช่น
หากเรามีกำไรจากธุรกิจเดือนละ 100 บาท ควรจ่ายหนี้อยู่ระหว่าง 50-70 บาท เพื่อให้ธุรกิจมีกำไรเหลือสะสม การทำธุรกิจแล้วไม่เหลือกำไรเลย เพราะต้องจ่ายหนี้หมด โอกาสที่ธุรกิจจะไปรอดได้ก็เป็นเรื่องยาก
มีเงินสำรองเท่าไร ถึงจะเพียงพอให้ธุรกิจเดินได้?
การทำธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียน หรือเงินทุนสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งถ้าจะให้แนะนำผู้ประกอบการ หากเป็นสูตรทางบัญชี ให้คิดตามหลักง่าย ๆ ด้วยสูตรนี้ คือ
ลูกหนี้การค้า + สต็อกสินค้า - เจ้าหนี้การค้า = เงินทุนหมุนเวียน
ยกตัวอย่าง ลูกหนี้การค้า (500 บาท) + สต็อกสินค้า (200 บาท) - เจ้าหนี้การค้า (300 บาท) = เงินทุนหมุนเวียน (400 บาท)
แต่สำหรับมือใหม่ ๆ หลายคนอาจจะยังสับสนในเรื่องของลูกหนี้การค้า สต็อกสินค้า และเจ้าหนี้การค้า เพื่อให้ง่ายขึ้นสามารถเปลี่ยนมาใช้สูตรสำเร็จแบบนี้ คือ การคิดว่าจะต้องมีเงินสำรองกี่เท่าของยอดขาย โดยในภาวะปกติ หลายคนอาจบอกว่า ควรมีเงินสำรองสัก 2-3 เท่าของยอดขาย เช่น
มียอดขายได้เดือนละ 100 บาท ควรมีเงินสำรองประมาณ 300 บาท แต่ในช่วงวิกฤต COVID-19 มองว่าผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีเงินสำรองถึง 6 เท่าของยอดขาย เพราะอยู่ในสถานการณ์ ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ถึงจะเป็นมือใหม่ แต่ก็ใช่ว่าจะบริหารจัดการทางการเงินไม่เป็น ยิ่งรู้เทคนิคแบบนี้ด้วยแล้ว เชื่อได้ว่าการเริ่มต้นธุรกิจของคุณในครั้งนี้ อย่างไรก็ไม่สะดุดแน่นอน
หัวข้อ : เทคนิควางแผนการเงิน ฉบับมือใหม่
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/k-sme-inspired
Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ปัจจุบัน การค้าขายบนโลกออนไลน์ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และเติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ข้อมูลจากสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย หรือสมาคมอีคอมเมิร์ซ พบว่าในปี 2563 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท เติบโต 35% จากปี 2562 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4-5% ของมูลค่าค้าปลีกโดยรวม
แน่นอนว่าในจำนวนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการค้าขายในรูปแบบของการสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายหรือ Cross-Border E-Commerce โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายการค้า การคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์ การคุ้มครองผู้บริโค ระบบการชำระเงินออนไลน์ มาตรการควบคุมและจำกัดการโฆษณา เป็นต้น
แนวทางการกำกับดูแลธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็วให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ส่งเสริมสภาพการแข่งขันที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ขณะที่ต้องไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ จึงเป็นความท้าทายของแต่ละประเทศในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคในยุคที่ Cross-Border E-Commerce กำลังเป็นที่นิยม
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ร่วมกับบริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการศึกษาวิจัยประเด็นปัญหาและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับ Cross-Border E-Commerce โดยมีกรณีศึกษาจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
ชานนท์ วุฒิจรรยารักษ์ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เมื่อผู้บริโภคมีการสั่งซื้อสินค้าและบริการข้ามชาติผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการฉ้อโกง การปลอมปนหรือปลอมแปลงเอกสาร การหลอกลวง การโฆษณาไม่ตรงความจริง การชำระเงินและการคืนเงินสินค้าที่มีปัญหา
“ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิกเฉยต่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะทำให้การค้าดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือน้อยลง และขาดความสามารถในการก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่” ชานนท์ระบุ
ในเชิงการติดต่อซื้อขาย ถ้าเป็นองค์กรขนาดกลางหรือใหญ่ที่มีฝ่ายกฏหมายคอยตรวจสอบก็อาจจะได้รับผลกระทบจากตรงนี้น้อย แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือ SMEs ที่ขาดความชำนาญก็มีโอกาสที่จะถูกหลอกลวงได้
โครงการศึกษาในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของอังค์ถัด เพื่อวางแนวทางการกำกับดูแลการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน ที่ผู้ประกอบการรายเล็กควรรับรู้ไว้ แบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงก่อนการซื้อ (Pre-Purchase) ผู้ซื้อต้องมีข้อมูลครบถ้วน ทั้งราคา รูปแบบการชำระเงิน การคืนสินค้า รายละเอียดผู้ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อได้ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน ต้องมีมาตรการป้องกันการชี้นำให้ทำธุรกรรมอย่างไม่เป็นธรรม
ช่วงการซื้อ (Purchase) ต้องมีการป้องกันสัญญาซื้อขายไม่เป็นธรรม โดยผู้ขายต้องไม่ซ่อน บิดเบือน หรือปกปิดเงื่อนไขในการซื้อขายสินค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ ต้องมีมาตรการป้องกันการชำระเงินออนไลน์ และระบบป้องกันข้อมูลทางการเงิน ต้องมีมาตรการเก็บรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
ช่วงหลังการซื้อ (Post-Purchase) ต้องมีแนวทางป้องกันข้อพิพาท มีมาตรการชดเชย กรณีที่สินค้ามีปัญหา ต้องมีแนวทางส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน เช่น ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของแต่ละประเทศการกำกับดูแล การคุ้มครองเด็ก กรณีซื้อสินค้าอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
สำหรับประเทศไทย การคุ้มครองผู้บริโภคในช่องทางอีคอมเมิร์ซ มีกฎหมายที่กำกับดูแลในหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีหน้าที่ตรวจสอบโฆษณาและระงับการเผยแพร่โฆษณาที่ผิดกฎหมาย สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม (สมอ.) ดูแลมาตรฐานสินค้า เป็นต้น
ส่วนกฎระเบียบ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค จะมีแนวปฏิบัติของ UN General Assembly เน้นที่ธุรกรรมแบบ B2C รวมถึงข้อบังคับสำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้มีการปฏิบัติที่เท่าเทียมระหว่าง ผู้บริโภคออฟไลน์และออนไลน์ ส่วน OECD มี 1991 Recommendation ที่มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ในปี 2016 เพิ่มเติมในส่วนธุรกรรมที่ไม่ใช่ตัวเงิน ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลคอนเทนต์ และโทรศัพท์มือถือ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลความท้าทายบนโลกดิจิทัล
นิยามคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวหรือรู้ตัวของบุคคลนั้นๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการศึกษาประวัติ สุขภาพ สายพิมพ์นิ้วมือ เป็นต้น” ซึ่งประเทศไทยกำลังเตรียมประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งแนวทางการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองส่วนบุคคล และ 2.จัดทำกระบวนการการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
สำหรับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จะมีสิทธิดังนี้ คือสิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล และสิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
ในต่างประเทศมีรูปแบบการออกกฎระเบียบด้านการควบคุมการไหลของข้อมูลจากน้อยไปหามาก เช่น กฎหมายว่าด้วยข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี (Eu’ Regulation on Non-Personal Data) ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด อย่างกฎ GDPR ของยุโรป หรือกำหนดให้มีฐานข้อมูลเฉพาะภายในประเทศอย่าง Vietnam’s 2018 Cybersecurity Law
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับการค้าออนไลน์ เพราะธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเก็บข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก หากมีการรั่วไหล ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจส่งผลเสียหายอย่างมาก ซึ่งอียูมีกฎหมาย GDPR ที่มีบทลงโทษสูง ขณะที่ OECD มีการออกแนวปฎิบัติว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและเคลื่อนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลข้ามพรมแดน ซึ่งประเทศไทยอยู่ระหว่างประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนหนึ่งของกติการะดับสากลในการค้าขายออนไลน์ที่ SMEs ต้องรับรู้
Published on 19 July 2021
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย