Circular Economy เมื่อธุรกิจเล็กพร้อมเปลี่ยนโลก

หลายปีที่ผ่านมาโลกต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรถูกใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ลดลงก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งสภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขยะล้นโลก โดยเฉพาะขยะพลาสติกในท้องทะเลซึ่งส่งผลกระทบทั้งกับสัตว์และมนุษย์ นี่จึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ธุรกิจทั่วโลกต้องเร่งแก้ปัญหาก่อนที่โลกจะถูกทำร้ายจนเกินเยียวยา

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา แนวคิด Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน จึงถูกนำมาพูดถึงในวงกว้าง องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่นำแนวคิดนี้มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม 

เดิมทีเราจะคุ้นชินกับ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ ผลิต-ใช้-ทิ้ง (Make-Use-Dispose) คือ ใช้ทรัพยากรมาผลิตเป็นสินค้าเมื่อเลิกใช้แล้วก็จะถูกทิ้งเป็นขยะไม่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเศรษฐกิจแบบเส้นตรงส่งผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงมาใช้แนวคิดCircular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวคิด “ผลิต-ใช้-นำกลับมาใช้ใหม่” (Make-Use-Return) 

โดยแนวคิด Circular Economy ถือเป็น 1 ใน 3 ของนโยบาย BCG ซึ่งรัฐบาลจะใช้เป็นเรือธงในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต โดยมีเรื่องของ Bio Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ) และ Green Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) ร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างคุ้มค่า และสามารถนำทรัพยากรที่ใช้แล้วมาสร้างมูลค่าให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ โดยปล่อยของเสียออกสู่สภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด 

หลักสำคัญของ Circular Economy คือ การนำเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ Re-process ผ่านการออกแบบใหม่ Re-design การสร้างคุณค่าใหม่ Added value โดยใช้ Innovation และ Collaboration ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำReuse ซึ่งหลักการทั้งหมดจะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยแต่เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณขยะจากการนำกลับเข้ามาสู่วงจรการผลิตได้ 

แม้องค์กรใหญ่จะเป็นผู้จุดประกายเรื่องของ Circular economy แต่องค์กรเล็กอย่าง SMEs หลายรายก็เริ่มหันมาทำธุรกิจบนแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน มากขึ้นเพื่อสร้างความแตกต่าง ลดต้นทุนในการผลิต และแน่นอนว่าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย

Nornnorn หรือ นอนนอน ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ใช้ความเชี่ยวชาญจากธุรกิจเดิมคือการผลิตและจัดจำหน่ายที่นอนมาต่อยอดเป็นบริการเช่าที่นอนบนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยบริการของนอนนอน คือ การจัดหาที่นอนใหม่คุณภาพสูงเพื่อให้ธุรกิจที่พักสามารถเข้าถึงที่นอนคุณภาพดีผ่านการชำระเป็นรายเดือน เริ่มต้นเพียง 65 บาท/ชิ้น/เดือน ระยะเวลาเช่าจะอยู่ที่ 60-120 เดือน ซึ่งโมเดลธุรกิจของ นอนนอน นอกจากช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากที่นอนเสื่อมสภาพหลังการใช้งานแล้วยังมีบริการรับที่นอนเหล่านั้นกลับคืนมารีไซเคิลและอัพไซเคิลฟองนำด้วยวิธีการย่อยสลายฟองน้ำให้กลายเป็นโมเลกุลพื้นฐาน หรือ โฟลิโอโมโนเมอร์ ก่อนส่งขายต่อให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อไป

“เราทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับที่นอนมากว่า 10 ปี จึงเห็นปัญหาว่าธุรกิจที่พักขนาดย่อมส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงที่นอนที่มีคุณภาพ เพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอ ปัญหาอีกส่วนก็คือไม่มีวิธีการจัดการกับที่นอนที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากที่นอนเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ ทิ้งยาก ซึ่งสุดท้ายที่นอนเหล่านี้จะถูกนำไปฝังกลบหรือเผาในที่โล่งแจ้ง ในฝั่งของการรีไซเคิลเองก็ยังไม่มีใครทำ ในไทยมีการประเมินว่ามีการทิ้งที่นอน 10 ล้านชิ้นต่อปี อ้างอิงจากที่ UK ซึ่งมีการทิ้งที่นอน 7-8 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งทำให้เกิดปัญสิ่งแวดล้อม เราจึงนำ Pain point ของฝั่งธุรกิจมาบวกกับ Pain point ทางด้านของสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นธุรกิจให้เช่าที่นอนใหม่จากแบรนด์ชั้นนำ เมื่อเช่าเสร็จเราจะช่วยรับที่นอนกลับมาแล้วแยกชิ้นส่วนไปรีไซเคิล หรือ อัพไซเคิล ต่อไป” นพพล เตชะพันธ์งาม ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท เซอร์คิวลาร์ริตี จำกัด กล่าวถึงนอนนอนธุรกิจเช่าที่นอนหนึ่งเดียวในโลกซึ่งใช้แนวคิด Circular economy มาพัฒนาธุรกิจ 

ปัญหาขยะล้นโลกโดยเฉพาะขยะพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก การจัดการขยะที่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถนำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิลหรืออัพไซเคิลได้ รีฟัน เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการจัดการขยะ ทำให้การจัดการขยะรีไซเคิลที่คัดแยกไว้สามารถส่งต่อไปเข้าสู่วงจรการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ผ่านนวัตกรรมของรีฟัน 3 ส่วน คือ รีฟัน แมชชีน ตู้รับซื้อขยะรีไซเคิลอัตโนมัติ เปลี่ยนขยะรีไซเคิลเป็นเงินในรูปแบบต่างๆ แอปพลิเคชั่นรีฟันแบงค์ โปรแกรมจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลแบบออนไลน์ และแอปพลิเคชั่นรีฟันมี รีฟันแมน โมบายแอพลิเคชั่นที่ช่วยเป็นตัวกลางระหว่างคนขายขยะและคนซื้อขยะ

“ปัญหาขยะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ บ้านเราไม่มีการจัดการขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ดี ไม่มีวิธีการที่ทำให้การแยกขยะสะดวกหรือง่าย เราพยายามสรรหาโซลูชั่นต่างๆที่จะทำให้การรีไซเคิลง่ายขึ้น นี่คือที่มาของการที่เราพยายามสร้างนวัตกรรมที่จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้” อนน เชาวกุล co-founder บริษัท รีฟัน จำกัด อธิบายถึงปัญหาการจัดการขยะที่นำมาสู่การพัฒนารีฟันแพลตฟอร์ม

“รีฟัน มาจากคำว่า Recycling is Fun เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่อยากจะรีไซเคิลให้รู้สึกว่าง่ายขึ้น หันกลับมารักษ์โลกมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเติบโตของเราเท่ากับปริมาณขยะที่มี เรามีหน้าที่เก็บแล้วหมุนเวียนขยะเหล่านี้ให้โลกใบนี้ยังอยู่ไปได้ เทรนด์รีไซเคิลหรือเรื่องของสิ่งแวดล้อมอยู่กับเรามานาน จนถึงวันนี้เรื่องนี้จึงกลายเป็นความจำเป็น เพราะฉะนั้นโอกาสเติบโตทางธุรกิจของเราก็ยังคงมีโอกาสต่อไปในอนาคต”

Bangkok Rooftop Farming ธุรกิจ Social Enterprise ซึ่งพัฒนาโมเดลการสร้างฟาร์มสมัยใหม่ในเมืองและต่อยอดพัฒนาธุรกิจด้วยแนวคิด Circular Economy หรือหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

Model ธุรกิจของ Bangkok Rooftop Farming เกิดขึ้นโดยการสร้างโซลูชั่นที่ช่วยให้เกิดไลฟ์สไตล์ใหม่ของคนเมืองตั้งแต่การจัดการขยะเศษอาหาร นำเศษอาหารมาทำปุ๋ย บริหารจัดการฟาร์มสร้างแปลงผักไร้สารพิษพร้อมสร้างตลาดจากจุดกำเนิดเพื่อลดการขนส่ง

“ชื่อเราก็บอกด้วยตัวเองอยู่แล้วว่าเราทำฟาร์มบนดาดฟ้าเราทำ Circular Urban Farming Business model เรามองว่าวันนี้เราต้องเป็น Global Citizen จะเป็น Thai Citizen ไม่ได้แล้วเพราะเราสูญเสียทรัพยากรอย่างมากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมาในส่วนของธรรมชาติเราสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่เรามีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” 

ในช่วงที่ผ่านมามีขยะที่เกิดจากเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก แต่ละปีกรุงเทพมหานครต้องจ่ายค่าจัดการเศษขยะหรือเศษอาหาร 1.1 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 ของงบประมาณของกรุงเทพมหานคร นั่นทำให้ Bangkok Rooftop Farming มองว่าวันนี้เรื่องของการแยกขยะเป็นเรื่องจำเป็น

“ในต่างประเทศมีการแยกขยะมาแล้วกว่า 25 ปี ในขณะที่ประเทศไทยวันนี้เรายังไม่ได้ทำอะไรเลยขยะเศษอาหารเรามีถึง 55% แต่เราสามารถหมักได้แค่ 5% ที่เหลือไปอยู่ที่ Landfill ธุรกิจฟาร์มของเราจะเข้าสร้างประโยชน์ในแง่ของการทำพื้นที่ว่างมาสร้างให้เกิดประโยชน์ เราสามารถทำให้ขยะเศษอาหาร ไม่ต้องไปอยู่ใน Landfill และนำงบประมาณที่ต้องนำมาจัดการกับขยะเหล่านี้ไปพัฒนาอย่างอื่น นอกจากนี้เรายังส่งเสริมเศษฐกิจสีเขียวรวมถึงทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารด้วย”

ถ้าตามหลักการของ Circular Economy คือ การนำเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ Re-process ผ่านการออกแบบใหม่ Re-design เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ Added value ให้เกิดการใช้ซ้ำ Reuse ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ เอกชนทั้งรายเล็กและรายใหญ่เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งธุรกิจรายเล็กเองก็เริ่มมองเห็นโอกาสจากการทำธุรกิจสีเขียวเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่แค่สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจแต่ยังหมายถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

บทความแนะนำ

OEM เข้ามาทลายกำแพง การขยายตลาดให้กับ SMEs ได้อย่างไร

หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเป็นข้อจำกัดในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดในการก้าวข้ามจากพื้นที่เดิมๆ ที่เคยทำอยู่ ซึ่งดูเหมือนจะยาก หรือต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก กำลังถูกทำลายข้อจำกัดลงด้วยการ มอบหน้าที่การผลิตให้กับโรงงานที่รับจ้างผลิต โดยไม่ต้องเสียเวลาไปลงทุนด้านการผลิต ทำให้มีเวลาในการทำตลาดได้อย่างเต็มที่

การเข้าตลาดใหม่ๆ ในรูปแบบนี้ กำลังเป็นแนวทางที่หลายๆ แบรนด์หรือบริษัทนิยมทำ โดยมีโรงงานที่ทำหน้าที่ OEM ให้ ซึ่ง “OEM” ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer หมายถึงการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่ ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตังเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่บางครั้งก็มีข้อยกเว้น ตรงที่ผู้รับจ้างผลิตบางราย เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เพราะทำมานาน

ข้อจำกัดที่ถูกทลายลงนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหรือแบรนด์สินค้า สามารถหันไปโฟกัสในเรื่องของการตลาดและการสร้างแบรนด์ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมาพะวงกับเรื่องของการผลิต โดยมีหลายแบรนด์ที่นิยมขยายตลาดในรูปแบบที่ว่านี้ เหมือนกับที่ครั้งหนึ่ง “เถ้าแก่น้อย” พยายามที่จะขยายฐานธุรกิจเข้าไปสู่ตลาดโยเกิร์ตที่ผสมเวย์โปรตีนด้วยการออกแบรนด์ My Whey เพื่อเล่นกับกระแสของคนที่ออกกำลังกาย และต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ในครั้งนั้น เถ้าแก่น้อยเลือกใช้วิธีการจ้างโรงงานที่ผลิตสินค้าแดรี่โปรดักท์เป็นคนผลิตให้ โดยพัฒนาสูตรขึ้นมาเอง แต่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ พร้อมกับเลือกวิธีการขายผ่านช่องทางออนไลน์ 

ส่วนที่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจก็คือ การเข้าตลาดของลูกอมเพลย์มอร์ของ SMEs อย่างบริษัท  เอเวอร์มอร์ จำกัด ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในช่องทางขายผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ลูกอมแบรนด์นี้ เลือกวางตัวสินค้าด้วยแนวคิดที่แตกต่างจากลูกอมแบรนด์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายในตลาด นั่นคือ การสร้างตลาด ด้วยจินตนาการ และความสนุก ตามชื่อของแบรนด์ ซึ่งหมายถึงความสนุกที่มากกว่า 

การเข้ามาของเพลย์มอร์ถือเป็นการสร้างดีมานด์ให้กับผู้บริโภคในตลาดลูกอม ซึ่งเดิมตลาดจะเน้นเรื่องฟังก์ชั่นเป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ออกมา คือขนมประเภทกัมมี่ (Gummy) ในรูปแบบ 3 มิติ เรียกว่าเป็นครั้งแรกในโลกก็ว่าได้ที่มีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ซึ่งเกิดจากจินตนาการอันไม่สิ้นสุด จากนั้นขนม ลูกอม ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ถูกคิดค้นขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 รายการ เช่น ช็อกโกแลตที่มีเมล็ดกาแฟอยู่ข้างใน ลูกอมส้ม ลูกอมแตงโม ลูกอมแบบเทป

ด้วยเหตุผลของการเลือกนำเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายเพื่อเติมเต็มความสนุกในการอมลูกอมให้กับลูกค้าทุกวัย ทำให้บริษัท เอเวอร์มอร์ เลือกใช้วิธีการจ้างโรงงานต่างๆ ผลิตสินค้าให้ถึง 15 โรงงาน เพื่อให้ได้ความหลากหลายของสินค้า โดยปัจจุบันมีสินค้าที่วางอยู่ในตลาดมากกว่า 40 รายการเลยทีเดียว

ถือเป็นการทลายข้อจำกัดในการทำตลาดลูกอมที่ไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการสร้างโรงงาน แต่เลือกใช้วิธีการสร้างโอกาสจากการให้โรงงานที่รับจ้างผลิตเป็นคนผลิตให้ โดยเอเวอร์มอร์ จะเข้าไปควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ตามคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ในแต่ละครั้งที่ออกสินค้าใหม่ 

Nike คืออีกตัวอย่างของเรื่องนี้ เพราะโกลบอลแบรนด์รายนี้มีโมเดลธุรกิจที่ Outsourcing การผลิต และมุ่งสร้างแบรนด์-ทำมาร์เก็ตติ้ง โดย Nike ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง วิธีที่ Nike ทำธุรกิจคือการ Outsource การผลิตให้โรงงานในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งสามารถผลิตรองเท้าและสินค้าอื่นๆ ในต้นทุนต่ำกว่าการลงทุนด้วยตัวเอง เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตได้ไม่ยากในกรณีที่เห็นว่าต้นทุนมีเพิ่มขึ้น 

สิ่งที่ Nike ปฏิบัติทั่วโลกคือ การสร้างแบรนด์และทำมาร์เก็ตติ้ง ภายใต้สโลแกน Just do it ของ Nike ถือเป็นทัศนคติที่เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคทั่วโลก 

ตรงกับที่ปรมาจารย์ด้านการตลาดอย่าง ฟิลิป คอตเลอร์ เคยเขียนเรื่อง Outsourcing ในหนังสือ Marketing Insights From A to Z ว่า ในปัจจุบันเจ้าของแบรนด์ควร Outsource ทุกอย่างให้หน่วยงานที่สามารถทำได้ดีกว่า และถูกกว่า เพราะสามารถที่จะทำสินค้าในราคาต่ำและผลลัพธ์ที่ดีเนื่องจากมีสเกล และความเชี่ยวชาญที่มากกว่า โดยเจ้าของแบรนด์จะมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องลงทุนในการทำโรงงานของตัวเองขึ้นมา เช่นเดียวกับการช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำได้ เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวหากต้องเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ขณะที่ข้อดีของโรงงานผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตสินค้านั้น ทำให้โรงงานที่รับจ้างผลิต ไม่ต้องลงทุนด้านการวิจัยและออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบตราสินค้า  ขณะเดียวกันก็ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า รวมถึงลดความเสี่ยงทางด้านการหาตลาดเอง

แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นโรงงานต้องคำนึงถึงก็คือ การเรียนรู้โนว์ ฮาว ในการการผลิตที่ผู้จ้างผลิตแนะนำให้ เช่นเดียวกับความพยายามในการมองหาแนวโน้มของตลาด ตลอดจนความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้บริโภค ซึ่งไม่เพียงแค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดในระดับภูมิภาค หรือระดับโลก ที่แบรนด์ผู้ว่าจ้างทำตลาดอยู่

สิ่งที่เรียนรู้ได้จากการรับจ้างผลิตเหล่านั้น ในอนาคตจะสามารถนำมาต่อยอดได้ในกรณีที่ต้องการจะก้าวข้ามจากเส้นแบ่งของการเป็นแค่ผู้รับจ้างผลิต มาสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย 

เพราะการมีแบรนด์ของตัวเอง จะสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือต่อยอดเข้าไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อีกมหาศาล 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในเรื่องของการ Outsource การผลิตมาให้กับโรงงานที่รับจ้างผลิต ยังคงมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขึ้นอยู่ที่ว่า จะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตให้ได้ตามที่ผู้จ้างวานต้องการหรือไม่ 

ทั้งนี้ก็เพราะว่า การ Outsource การผลิตเป็นอีกหนึ่งการทำลายข้อจำกัดในการทำตลาดของ SMEs ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง.......

บทความแนะนำ

อารมณ์ดินเป็นสตูดิโอด้านงานออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เกิดจากความตั้งใจของอรรถเทพ สมัครธัญกิจ ผู้ก่อตั้งที่อยากเห็นธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดลำปางเป็นมากกว่าสินค้าทั่วไป อรรถเทพต้องใช้เวลาพิสูจน์แนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มนานกว่า 15 ปี จนปัจจุบันอารมณ์ดินได้กลายมาเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ความสำเร็จของอารมณ์ดินนั้นอยู่ที่การรักษาสมดุลย์ระหว่าง Pure Art กับ Commercial Art ได้อย่างลงตัว

SME One : อารมณ์ดินเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

อรรถเทพ : ผมเรียนจบทางด้านงานออกแบบเซรามิกมาโดยตรง และเริ่มทำอารมณ์ดินจากสตูดิโอเล็กๆ เมื่อปี 2547 จากนั้นมาก็ทำงานเกี่ยวกับดินเผามาตลอด ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งแต่เริ่มต้นปี 2547 ผมพยายามเอาแนวความคิดเรื่องเซรามิกมาบวกกับงานอาร์ตที่เรียนมาผสมผสานกัน เพราะผมมองว่าในลำปางมีโรงงานที่ทำเกี่ยวกับเซรามิกเยอะมาก แต่พอเข้าไปดูว่าบริบทในการทำงานเซรามิกของลำปางเป็นอย่างไร ทุกคนล้วนทำเป็นแพทเทิร์นเดียวกันหมดเลย

ผมก็เลยคิดว่า ถ้าเรายังเดินตามเขาทำเหมือนเขาอยู่มันก็คงจะไม่มีอะไรที่ทำให้เราแตกต่างได้ ดังนั้นผมจึงเริ่มใส่ความเป็นอาร์ตและดีไซน์งานที่เป็นสต๊อกของผมขึ้นมา ที่ทำให้แตกต่างจากเซรามิกลำปางทั้งหมด อารมณ์ดินลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ เรามีตัวตนแบบไหนก็ลองใส่ลงไปในงานแต่ละชิ้นของตัวเอง จนมันมาถึงวันหนึ่งที่มันกลายเป็นลายเซ็นของเราแล้ว เราจับทางได้ว่ารูปแบบนี้มันคือตัวตน มันคือลายเซ็นต์ของเรา เริ่มทำแบบนั้นและพัฒนามาตลอดจนถึงวันนี้ 

ตอนปี 2547 ยอมรับว่ายังจับทางไม่ถูก เรารู้แค่ว่าสิ่งที่เราเรียนมามันน่าจะทำเป็นอาชีพได้ ทำมาน่าจะใช้เวลาจากปี 2547 อีกประมาณ 5 ปี มันเริ่มจากการที่เราเจอปัญหาก่อน เพราะตอนแรกผมทำเกี่ยวกับดินเผาแต่งสวนอย่างแรกเลย ดินแดง ดินท้องนา ดินพื้นบ้านที่เราเอามาประยุกต์ปั้นขึ้นมา 

ทีนี้ปัญหาของดินท้องนามีมากมายหลายส่วนเหลือเกิน ตอนนั้นเราเจอปัญหาดินที่เผาออกมาชิ้นงานดี แต่พอผ่านไป 1 วัน แคลเซียมถูกอากาศก็เกิดการดันตัวขึ้นมาจนชิ้นงานแตกเสียหาย เราก็เลยอยากพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตรดินใหม่ พยายามคิดค้นค้นหาว่าจะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ 1) งานของเราขึ้นรูปเร็ว และ 2) ไม่มีปัญหาเรื่องแคลเซียมที่แตกในดิน ก็เปลี่ยนวิธีการจากตอนแรกที่ปั้นมือทั้งหมด เนื่องจากมีความรู้เรื่องเซรามิกอยู่แล้วก็เลยเอาดินชนิดอื่นมาผสมด้วย อย่างดินขาวที่ลำปางมีอยู่ทั่วไป เราเปลี่ยนวิธีการปั้นมือมาเป็นวิธีการหล่อน้ำสัมฤทธิ์ ใช้แม่พิมพ์หลายๆ อัน เพื่อที่เราจะขึ้นรูปได้ครั้งละหลายๆ ชิ้น เริ่มมาจากความถนัดทั้งหมด มันก็เลยทำให้เราพัฒนาและปรับเปลี่ยนสูตรมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ผมก็ไม่ได้ทำเรื่องดินท้องนาอีกแล้ว มาใช้ดินขาวของลำปางจริงๆ แล้วทีนี้ 

 

SME One : ช่วงเริ่มต้นอารมณ์ดินหาช่องทางการขายอย่างไร ทำอย่างไรให้คนรู้จัก 

อรรถเทพ : ตอนนั้นต้องบอกว่าเรายังใหม่มากสำหรับวงการทำธุรกิจ เราก็เลยกลับมามองภาพรวมของตัวเองก่อนว่าเราควรเรียงลำดับความสำคัญอะไรบ้าง ตอนเริ่มต้น ผมเริ่มโดยใช้ความรู้แบบบ้านๆ เลย ก็คือถ้ามีออกบูธที่ไหน ก็จะวิ่งไปแสดงงานที่นั่น ทำให้เริ่มมีคนรู้จักว่าเราทำสิ่งนี้อยู่แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงจุดที่เราคิดว่า ถ้าเรายังทำแบบเดิมๆ คงไม่ได้แล้ว เราต้องเอาความรู้ที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจของเราเข้ามาใช้บ้าง อย่างเช่น ไปศึกษาเรื่องการทำ Marketing มากขึ้น ต้องบอกก่อนว่าผมเรียนจบทางด้านงานศิลปะมา เราไม่มีความรู้เรื่อง Marketing เลย การสร้างแบรนด์อะไรต่างๆ เราก็ไม่มีความรู้ ก็เลยเปิดใจรับเปิดใจเรียนรู้ อะไรที่เราไม่รู้ก็เข้าไปศึกษาเพิ่ม เราพยายามจะไม่เป็นน้ำเต็มแก้ว เราจะพยายามเป็นน้ำครึ่งแก้วไว้ก่อน อย่างเช่นเรื่อง Marketing ผมไม่รู้เรื่องเลย ผมก็เรียนต่อหาวิธีศึกษาหาวิธีเข้าไปค้นคว้าว่า อะไรที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต การวางเป้าหมายในการทำธุรกิจเป็น Marketing แบบหนึ่ง 

ตอนนั้นเราขายแบบหว่านมาก เราไม่มีการตั้งเป้าหมายว่าทำสินค้าออกมาเพื่อขายใคร คิดว่าทำไว้ก่อน ทำออกมาก็ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง มันก็เกิดจากปัญหาอีกด้าน พอขายได้บ้างไม่ได้บ้างก็เกิดทุนจม เราก็หันมามองว่าอะไรที่จะช่วยให้เราได้ขายของให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด นั่นก็คือการทำตัว Business Model Canvas ผมก็เลยเข้าไปศึกษาว่ามันคืออะไร เราเข้าไปศึกษาจนเริ่มมีแพทเทิร์นในการออกแบบดีไซน์ชิ้นงาน วางกลุ่มเป้าหมาย รู้ว่าจุดอ่อนเราคืออะไร จุดแข็งของเราคืออะไร 

ทฤษฎีพวกนี้เราเอามาปรับใช้กับธุรกิจของเรา จนวันนึงเราเริ่มรู้และทำตามทฤษฎีแพทเทิร์นนั้นก็เริ่มเห็นผลว่า ถ้าเราวางกลุ่มเป้าหมายไว้ตั้งแต่ตอนแรก เช่น ขายคนที่มีกำลังซื้อสูง หรือแม้แต่การวางกลุ่มเป้าหมายขายในต่างประเทศ สินค้าควรจะเป็นอะไร พอเราได้แพทเทิร์นแล้ว เราก็ลองดีไซน์ออกมาและลองขายดู ลองเจาะกลุ่มเป้าหมายนั้นดู ก็ได้เสียงตอบรับกลับคืนมา 

ฉะนั้นสิ่งที่เราหวังไว้ที่เคยทำมาตั้งแต่เริ่มต้นเนี่ย มันกลับใช้ไม่ได้ เราต้องเอาทฤษฎีที่เราเรียนรู้เรื่อง Marketing มาผสม มันจะทำให้เราเดินมาทีละก้าว จนถึงวันนี้ 

เมื่อก่อนผมเคยมีทฤษฎีอยู่อย่างหนึ่ง คือทำในสิ่งที่เรารักแล้วมันจะทำให้เราทำธุรกิจได้ดี เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดว่าเรารักเราชอบ เราก็ทำมันขึ้นมา แต่กลับกลายเป็นว่าเราชอบอยู่คนเดียว แต่คนอื่นเขาไม่ได้ชอบกับเรา เราจึงเริ่มกลับมามองที่ตัวเองว่าเดินถูกทางอยู่หรือเปล่า สิ่งที่เราชอบแต่ทำไมคนอื่นถึงไม่ชอบ มันก็กลายเป็นว่าเรามองถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และลดความต้องการของเราให้น้อยลง เพราะ Insight ลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ เราหาความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง ผมเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการโทรถามลูกค้าตรงๆ เลยว่า สินค้าที่ซื้อไป ชอบหรือไม่ชอบตรงไหนบ้าง นั่นคือ Insight ของลูกค้าจริงๆ ที่เขาจะตอบกลับมาหาเรา เราก็เอาข้อมูลตรงนั้นมาปรับเปลี่ยนและพัฒนาสินค้าของเราให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ทำให้เราสามารถเดินไปตามแนวทางที่เราจะทำงานควบคู่ไปกับความต้องการของลูกค้าได้จริง 



SME One : ทุกวันนี้บริหารงานระหว่าง Pure Art กับ Commercial Art อย่างไร 

อรรถเทพ : ต้องมองก่อนว่าระหว่าง Pure Art กับ Commercial Art เราจะไปยืนฝั่งไหน Pure Art เลยจริงๆ มันก็ดี แต่ Commercial Art มันก็มีดีของมัน ผมจะพูดในเชิงของ Pure Art ก่อน ถ้า Pure Art เราต้องการสร้างแบรนด์ ผมว่ามันก็น่าจะมีเรื่องนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะทุกวันนี้โรงงานของผมมีลูกค้าอยู่ 2 กลุ่มก็คือ กลุ่มลูกค้ารีเทลกับ OEM (Original Equipment Manufacturer) ซึ่งเมื่อก่อนผมรับผลิตตามที่เขาต้องการ แต่ทุกวันนี้ผมดัดแปลงมาเป็น ODM (Original Design Manufacturer) เราเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของพาร์ทเนอร์ก่อน แล้วเราก็ดีไซน์ให้เขา ดีไซน์เสร็จก็เอาไปเสนอให้เขา โดยที่เขาไม่ต้องไปวิ่งตามคนอื่น 

ยกตัวอย่าง โรงงานทำครีม เราจะเห็นทุกวันนี้ครีมมีขายกันทั่วตลาดเต็มไปหมด แต่ถ้าผมสามารถดีไซน์ครีมขึ้นมาแล้วนำไปเสนอให้ลูกค้าได้ ลูกค้าจะสนใจมากกว่าครีมทั่วๆ ไปที่เคยเห็น เพราะฉะนั้นเมื่อก่อนที่ผมทำ OEM ผมจะไม่สามารถสร้างแบรนด์ของผมได้เลย เพราะผมมัวแต่วิ่งตามความต้องการของลูกค้ามากเกินไป ดังนั้นถ้าผมจะสร้างแบรนด์ ผมต้องวาง Positioning ของตัวเองว่าจะอยู่ตรงไหน ผมสามารถดีลกับลูกค้าโดยตรงได้เลย เพราะฉะนั้นผมจึงเอา Pure Art เข้ามาใส่ 

แต่ถ้าเราต้องการที่จะเป็น Commercial Art มันก็ต้องมีเรื่องของแบรนด์ เรื่องของอาร์ตเข้ามาผสมด้วย ถ้าถามว่าทุกวันนี้ผมอยู่ตรงไหน ก็คือค่อนไปทาง Commercial Art มากหน่อย แล้วถ้าวันนึง Commercial Art นิ่งแล้ว ผมจะดึงเอา Pure Art ขึ้นมาเพื่อสร้างเป็นตัวตนของผมในอนาคต เหมือนอาจารย์เฉลิมชัยที่ตอนนี้เขามีแต่ Pure Art ทุกคนรู้จักเขา ทุกคนเป็น Fan Club อาจารย์ วันหนึ่งจุดสูงสุดของผม ก็คืออยากจะมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เพราะฉะนั้น 2 ตัวนี้ผมไม่ทิ้งเลย หันกลับมาดูว่าอันไหน Pure Art พอจะหยอดลงไปได้ หรือเอา Commercial Art หยอดลงตรงไหนได้บ้าง แต่ตอนนี้ผมค่อนไปทาง Commercial Art ครับ แต่รอเวลาที่จะเอา Pure Art ขึ้นมาเป็นตัวเด่นในอนาคต 

 

SME One : ความสำเร็จของอารมณ์ดิน มาจากการเปลี่ยน Mindset ในการทำธุรกิจใช่หรือไม่

อรรถเทพ : ต้องบอกก่อนว่า ถ้าคุณอยากพัฒนา คุณต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ของคุณก่อน ถ้าเกิด Mindset ของคุณยังเหมือนเดิม มันก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาอะไรได้ ถ้าเกิดคุณยังไม่เปิดใจหรือว่ายังมีอีโก้อยู่มันก็ไม่เกิดการพัฒนา เพราะฉะนั้นถ้าอยากพัฒนา คุณต้องเปลี่ยน Mindset เปลี่ยนอีโก้ของคุณ เปิดใจให้มาก เรียนรู้ให้เยอะ เทรนด์ของโลกตอนนี้มันเป็นอย่างไร คุณก็ต้องดูว่าคุณจะวิ่งตามหรือคุณจะเป็นคนนำเทรนด์ 

แต่ถ้าย้อนกลับมาถามในวงการเซรามิกในลำปาง ตอนนี้ก็ต้องมองว่าภาพรวมของเป็นอย่างไร เหมือนเราเอาส้อม 50 คันมาวางเรียงกัน แล้วเราเอาส้อมที่มันแตกต่างวางไว้คันหนึ่ง มองผ่านๆ เร็วๆ คุณจะมองเห็นเลยว่า ตรงไหนที่มันแตกต่าง ถูกไหมครับ ก็เหมือนภาพที่ผมมองโรงงานเซรามิก เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ผมมองว่าทุกคนทำเหมือนกันหมด มีแต่แข่งที่จะกดราคากัน ถามตัวเองว่าผมต้องการแบบนั้นไหม ก็ไม่ ผมไม่อยากขายถูก ผมอยากแข่งขายแพงมากกว่า แล้วถ้าผมไม่อยากแข่งกันขายถูกผมต้องทำยังไง ก็ต้องคิดว่าจะทำให้แตกต่างอย่างไร ผมก็ต้องเลือกหาวิธีที่จะทำให้แตกต่างที่สุด 

เมื่อก่อนผมยังเคยถูกประณามว่า สิ่งที่ผมทำมันไม่ใช่เซรามิกที่แท้จริง เป็นเซรามิกปลอมๆ คือเอาดินขาวมาหล่อขึ้นรูปเสร็จ ผมใช้วิธีการเพ้นท์ คือใช้อาร์ทไปเพ้นท์ลงบนเซรามิกแล้วขายเลย เพราะผมต้องการลดต้นทุนการผลิต ค่าแก๊ส ค่าเผา ค่าวัตถุดิบ และอื่นๆ พอมีคนมาประณามว่างานของผมเป็นเซรามิกปลอมๆ ตอนนี้ผมก็เลยพิสูจน์ให้เห็นว่าเซรามิกปลอมๆ แบบนี้ได้รับการยอมรับเพราะอะไร ฉะนั้นก็วนกลับมาว่า ถ้าเราอยากจะแตกต่างจากคนอื่น มันก็มีวิธีอย่างที่บอก คือเปลี่ยน Mindset เปิดรับอะไรใหม่ๆ เข้ามา วันนี้ผมก็ใช้เรื่องของการประยุกต์ให้ทันยุคทันสมัยเข้ามาเป็นแนวป๊อปอาร์ตสมัยใหม่ คือเอาเรื่องยุคสมัยเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งก็ยังเห็นว่ามันยังขายได้อยู่

SME One : ถ้าให้จัดอันดับสินค้าขายดีของอารมณ์ดิน  Top 3 มีอะไรบ้าง Collection ไหนบ้าง

อรรถเทพ : สินค้าของผมมีอยู่ 3 กลุ่ม คือกลุ่มสามเณร กลุ่มพระพิฆเนศ แล้วก็กลุ่มงานดีไซน์เรื่องพลอยครับ ปัจจุบันผมเปลี่ยนแผนการตลาดของผมใหม่จากสถานการณ์ COVID-19 เมื่อก่อนผมส่งออกอย่างเดียว พอมีวิกฤตเข้ามาผมจึงหันกลับมามองตลาดในประเทศ วันนี้ถ้าอันดับ 1 คือ องค์พระพิฆเนศ ซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อ ส่วนสามเณรตอนนี้นิ่งไปก่อน เรื่องดีไซน์พลอยมาเป็นอันดับ 2 สามเณรเป็นอันดับ 3 พอเป็นแบบนี้เราก็มองว่าอะไรที่เราจะขายให้กับคนไทยได้บ้าง เมื่อก่อนกลุ่มดีไซน์พลอยมาเป็นอันดับ 1 กลุ่มพระพิฆเนศเป็นอันดับ 2 แล้วก็กลุ่มสามเณรเป็นอันดับ 3

 

SME One : ช่วงก่อน COVID-19 อารมณ์ดินเน้นตลาดส่งออกกี่ % แล้วตอนนี้ตัวเลขเป็นอย่างไร

อรรถเทพ : ก่อนหน้านั้นส่งออกประมาณ 80% ตลาดในประเทศ 20% แต่วันนี้ผมเปลี่ยนมาทำตลาดในประเทศ 80 -100% เพราะส่งออกทำไม่ได้เลย พอมาเน้นตลาดในประเทศ ผมก็ต้องมาจับความต้องการว่าคนในประเทศไทยต้องการอะไรตอนนี้ สิ่งที่ผมรับรู้ได้คือคนไทยต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เราก็เลยสร้างองค์พระพิฆเนศที่เป็นแบบร่วมสมัยมากขึ้น มีการจับเอาเทรนด์หรือกระแสของแต่ละช่วงมาผสมผสานเข้ากับดีไซน์ของพระพิฆเนศของเราด้วยครับ

นอกจากองค์พระพิฆเนศ  อะไรที่เป็นความเชื่อผมมีทั้งหมด ทั้งแมวกวัก นางกวัก แต่ของผมจะแตกต่างจากที่เคยเห็นกันมา นางกวักมีการใส่แบรนด์เนมอะไรต่างๆ เข้าไปด้วย ไม่ใช่นางกวักที่เราเคยเห็นกันมาแบบทั่วไป และมีการใส่เรื่องราวเข้าไป อย่างแมวกวักผมก็เอาวัฒนธรรมภาคเหนือใส่เข้าไปด้วย ถ้าเป็นองค์พระพิฆเนศเราต้อง Insight ลูกค้าก่อนว่าเราจะขายให้กลุ่มไหนก่อนเป็นอันดับแรก ตอนนี้ผมจับกลุ่มนักลงทุนในหุ้น และคริปโตเคอร์เรนซี ผมก็สร้างงานขึ้นมาเพื่อขายให้คนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

 

SME One : งานของอารมณ์ดินมีกลิ่นอายของความเป็นล้านนา มากน้อยเพียงใด

อรรถเทพ : จริงๆ อารมณ์ดินมีกลิ่นอายของทั้ง 4 ภาคเลย เพราะผมมองว่าถ้าเป็นการขายวัฒนธรรมล้านนา เราควรจะขายให้กับใคร จะขายให้กับไทยอย่างเดียวก็คงไม่ค่อยมีใครอิน ถ้าเกิดจะขายให้กับต่างชาติน่าจะดีกว่า ผมจึงมีการใส่เรื่องของล้านนาเข้าไปด้วย อย่างสินค้า Hero product ของผมก็มีที่เป็นล้านนา หรือไม่ก็จับเอาเรื่องของชาวเขาชนเผ่าต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อมาเป็นเบสในการดีไซน์งานเบื้องต้นครับ

 

SME One : ถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ คิดจะขยายธุรกิจอย่างไร

อรรถเทพ : ผมมองว่าหลังจาก COVID-19 ผ่านไป ลูกค้าจะเปลี่ยนไป อะไรที่คงแบบเดิมอยู่ ทำแบบเดิมอยู่มันจะขายไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาคิดว่าเราควรจะปรับตัวอย่างไร และวางแผนในการทำสินค้าของเราแบบไหน ซึ่งตอนนี้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปผมก็ต้องมองหาช่องทางเพิ่ม อาจจะมีการสร้างแบรนด์ตัวเองขึ้นมา จากที่เมื่อก่อนผมทำส่งให้กับลูกค้าอย่างเดียว ลูกค้าของผมส่วนใหญ่คือ คิงพาวเวอร์ เราประเมินไว้ว่าหลัง COVID-19 การสั่งซื้อของคิงพาวเวอร์น่าจะเปลี่ยนไป

เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมตั้งแต่วันนี้ ตอนนี้ผมวางแผนไว้ว่าจะสร้างแบรนด์ของผมเอง โดยจะมีการพัฒนาในเรื่องของสินค้าและแบรนด์ จากที่เราวิ่งเข้าหาลูกค้าต่อไปเราจะทำให้ลูกค้าวิ่งมาหาเรา นี่คือกลยุทธ์หลังจากที่ COVID-19 หมดไป

ส่วนเรื่องการผลิตตอนนี้ผมมองไปเรื่องเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) เพราะเครื่องพิมพ์ 3 มิติจะช่วยให้เราสร้างต้นแบบได้เร็วขึ้น เพราะว่าขั้นตอนการปั้นเป็นขั้นตอนที่เสียเวลาที่สุด ใช้เวลามากที่สุดในการ Create งานออกมาแต่ละชิ้น ก็เลยมีความคิดที่จะเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำต้นแบบ แล้วเอาต้นแบบนี้ไปถอดพิมพ์ทำโมล เพราะทุกวันนี้ต้นแบบของผมแต่ละอันกว่าจะปั้นออกมาได้แต่ละชิ้นก็ใช้เวลา 3 เดือน 6 เดือน ถ้าดีเทลเยอะๆ อะไรแบบนี้ ก็เลยเป็นขั้นตอนที่เสียเวลาที่สุด 

 

SME One : ทุกวันนี้อารมณ์ดินขายผ่านช่องทางที่เป็นออนไลน์มากน้อยเพียงใด

อรรถเทพ : ตอนนี้หลักๆ จะเป็น Instagram แล้วก็เพจบน Facebook เรามีขายใน Shopee, Lazada ส่วนแพลตฟอร์มอินเตอร์ก็จะเป็นพวก Etsy, Pinkoi เพราะผมมีข้อมูลลูกค้าของผมอยู่แล้วว่าในต่างประเทศจะเป็นคนเกาหลี ญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงเข้าไปดูว่าแพลตฟอร์มที่คนเกาหลีและญี่ปุ่นใช้กันมีอะไรบ้าง Pinkoi เป็นเว็บไซต์ที่คนเกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้าไปใช้กันเยอะ ผมก็เลยเข้าไปเจาะในกลุ่มนั้นเลยโดยตรง ซึ่งในสินค้าที่ขายนั้นจะเป็นงาน Craft ทั้งหมด

 

SME One : มีความคิดจะทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเซรามิกบ้างหรือไม่

อรรถเทพ : ก่อนหน้านี้มีและมองว่าตรงนี้สำคัญสำหรับธุรกิจของผมด้วย ในอนาคตผมอยากจะสร้างเป็น Destination ที่โรงงานของผม มันจะสอดคล้องในเรื่องของการท่องเที่ยวไปด้วยในตัว เมื่อก่อนผมเอาแต่ขายอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้มันต้องบูรณาการร่วมกัน ถ้าเกิดจะให้คนมาแวะเที่ยวที่ลำปาง มันจะต้องมีจุดดึงดูด เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมกำลังวางแผนที่จะปรับปรุงโชว์รูมใหม่ให้เป็นมากกว่าแค่โชว์รูมอย่างเดียว แต่เป็นสถานที่ Workshop ที่เกี่ยวกับงานศิลปะ 1) งานศิลปะที่เกี่ยวกับเซรามิก 2) งานศิลปะที่ผมมีคอนเนคชั่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาพวาด ภาพพิมพ์ หรือการทำเกี่ยวกับงานศิลปะทั้งหมด ผมจะเอามารวมไว้ที่โชว์รูมของผม ผมวางแผนไว้ว่าประมาณปี 2565 น่าจะเป็นช่วงที่เริ่มต้น 

 

SME One : อยากให้ฝากคำแนะนำหรือเคล็ดลับในการทำธุรกิจของ SMEs ในกลุ่มคนที่มีใจรักงานศิลปะ

อรรถเทพ : อันดับแรกเลย ถ้าเราต้องการให้สินค้าหรืองานของเราประสบความสำเร็จ อย่างที่ผมบอกไปก็คือ ต้องปรับ Mindset ของตัวเองก่อน อันดับที่ 2 คือเปิดใจรับโอกาสใหม่ๆ และความรู้ใหม่ๆ บ้าง ถ้าเกิดวันนี้ยังคิดอะไรไม่ออก ก็ให้นิ่งไปก่อนแล้วรอ ใช้จินตนาการของเราว่าเราควรจะทำสินค้าอะไรหรือมีแนวทางที่อะไรที่จะทำให้ธุรกิจของเราสามารถประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

 

บทสรุป

ความสำเร็จของอารมณ์ดินนั้นไม่ได้อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียวอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ หากแต่อยู่ที่การยอมรับความเป็นจริงของตลาดและความต้องการของตลาด แล้วปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภค โดยทิ้งคำว่า Ego ไว้ข้างหลัง แม้จะประสบความสำเร็จมาหลายปี แต่ทุกวันนี้อารมณ์ดินก็ยังคงมีการปรับตัวให้ทันดับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ตลอดเวลา

บทความแนะนำ

ขอเชิญชมคลิปย้อนหลัง "การบรรยายมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ"

 

สืบเนื่องจาก สมาคมธนาคารไทยร่วมกับ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือ และสมาคมโรงแรมไทย จัดการบรรยายมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความมั่นใจในมาตรการช่วยเหลือ และเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบข้อมูลโดยตรงจากภาคธนาคาร

 

การสัมมนามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจในครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจจากสภาหอการค้าและสมาคมต่าง ๆ เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมาคมธนาคารไทยเชื่อว่า การบรรยายและการตอบข้อสงสัยในงานสัมมนานั้น จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความเข้าใจถึงมาตรการความช่วยเหลือ และหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินมากขึ้น และคาดว่าจะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาธนาคารสมาชิกแต่ละแห่งได้ดำเนินการจัดทำแพ็จเกจความช่วยเหลือ และเข้าไปพูดคุยกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด ตรงกับโจทย์ความเดือดร้อนของลูกค้า อีกทั้งปรับกระบวนขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนับแต่เปิดการช่วยเหลือมาในระยะเวลา 2 เดือนกว่า ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูให้กับผู้ประกอบการแล้วทั้งสิ้น 25,651 ราย จำนวนเงิน 78,012 ล้านบาท และมีมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนจากมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ แล้วทั้งสิ้น 1,000.22 ล้านบาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ทั้งรายเล็ก กลาง และใหญ่ ครอบคลุมทุกธุรกิจทั่วประเทศ

 

คลิป Highlight สามารถรับชมได้ตาม Link ด้านล่าง

คลิป Highlight ของคุณจาตุรงค์ จันทรังษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://youtu.be/mvpSSd_OITI

 

คลิป Highlight ของคุณชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

https://youtu.be/hXXws0Azc2k

 

คลิป Highlight ของคุณธวัช ตรีวรรณกุล ตำแหน่ง รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

https://youtu.be/UKBAiD85SAc

 

คลิป Highlight ของคุณผยง ศรีวณิช ตำแหน่ง ประธาน กกร. และ ประธานสมาคมธนาคารไทย

https://youtu.be/DW5RIiNRpYo

 

คลิป Highlight ของคุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://youtu.be/Qv3S6wk9OW0

 

คลิป Highlight ของคุณอานุภาพ คูวินิชกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบ 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย

https://youtu.be/y8fYhghH3s0

 

คลิปการบรรยาย สามารถรับชมได้ตาม Link ด้านล่าง

- แนวทางการช่วยเหลือลูกค้า https://youtu.be/8YPf92bv6BU

- ตอบข้อสงสัย มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ https://youtu.be/iBW2sN7hOdQ

- ตอบข้อสงสัยมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู https://youtu.be/4ex0FccfwfI

- มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ https://youtu.be/IWELJcti0Xg

- มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู https://youtu.be/aqIeb2Epxng

 

อ้างอิง เว็บไซต์สมาคมธนาคารไทย : https://www.tba.or.th/%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%a1%e0%b8%a1%e0%b8%99/

 

สามารถดาวน์โหลดเอกสารการบรรยายได้ที่ เว็บไซต์คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) :

https://www.jsccib.org/en/activity/view/343

 

 

บทความแนะนำ

เทคนิคทำการตลาดอย่างไรในภาวะวิกฤต ให้ธุรกิจรอด

ช่วงเวลาวิกฤตเป็นช่วงที่ยากกับการคาดการณ์ในสิ่งที่ไม่เคยมีข้อมูลเก็บไว้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่แน่ใจว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำในช่วงเวลานี้  โดยทั่วไปนั้นให้ตั้งหลักโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการตลาดในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว และให้รู้ว่าจุดไหนที่ควรหรือไม่ควรเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมีหลักการและแนวคิดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในยามวิกฤต ดังนี้

 

Short-Term Solutions (วิธีแก้ระยะสั้น)

การตลาดระยะสั้นนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาหนึ่งถึงสามเดือน และนี่คือจุดที่วิกฤตในปัจจุบันที่จะมีผลกระทบมากและรุนแรงที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมด้วยว่าผลกระทบนั้นเป็นบวกหรือลบ อาจจะน้อยหรือมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงวิกฤตคือการควบคุมสิ่งต่างๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น การโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย โฆษณาบนเสิร์ชเอนจิน โฆษณาผ่านวิดีโอ และผ่านดิจิทัลประเภทอื่นๆ ที่สามารถติดตามได้ใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

ตัวอย่าง 

ร้านอาหารที่ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านถูกปิดการให้บริการเกือบทุกแห่ง สิ่งที่สามารถทำได้คือ

  • เสนอบริการจัดส่งฟรี โดยทำการ Update โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย โฆษณาบนเครือข่ายการค้นหา 
  • ปรับปรุงเนื้อหาและข้อมูลบนเว็บไซต์ทั้งหมดอย่างรวดเร็ว และให้เป็นไปในวงกว้างให้มาก 
  • ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นไปในเชิงบวก เจ้าของกิจการเห็นยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จะเห็นผลกระทบได้ในลักษณะของการผสมผสาน เช่น ผลิตภัณฑ์บางชนิดมียอดขายลดลงมาก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ยอดขายยังคงเป็นปกติหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในกรณีนี้อาจจะทำดังนี้

  • ลดหรือหยุดรายการส่งเสริมการขายชั่วคราว ในช่วง 10-14 วันถัดไป ของผลิตภัณฑ์บางชนิด
  • เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูง โดยทำการจัดส่งฟรี ซึ่งจะช่วยให้ยอดขายยังคงอยู่กลาง ๆ ได้ในช่วงเวลานี้

 

Medium-Term Solutions (วิธีแก้ระยะปานกลาง)

การตลาดระยะปานกลางนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาสามถึงเก้าเดือน การเปลี่ยนแปลงในระยะปานกลางจะไม่มากเท่ากับในระยะสั้น แต่ธุรกิจอาจต้องมีการปรับกลยุทธ์บางอย่างเพื่อให้ประสบความสำเร็จ 

- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์บริการอะไรของธุรกิจที่สำคัญที่สุด และจะยังคงมีความต้องการอยู่ แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ

- ให้ความสำคัญกับสินค้าหรือบริการที่มียอดขายที่มากที่สุด แม้จะมีอัตราส่วนของกำไรสุทธิกับค่าใช้จ่าย (ROI) ที่ต่ำกว่า

- ลองทำการโฆษณาและการตลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาระดับยอดขายไว้ แม้ว่าในระยะกลางจะหมายถึงกำไรที่น้อยลง แต่จำไว้ว่าเป้าหมายในช่วงวิกฤตคือการทำธุรกิจให้รอด

 

Long-Term Solutions (วิธีแก้ระยะยาว)

การตลาดระยะยาวนั้นจะกำหนดให้อยู่ในระยะเวลาหนึ่งถึงสามปี ณ จุดนี้ธุรกิจยังไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใด ๆ สำหรับแผนระยะยาว แต่มีสองสิ่งที่ควรทำ คือ

 

- ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยใช้ข้อมูลและตัวเลขมาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ และที่สำคัญที่สุดอย่าตื่นตระหนก เราทุกคนอยู่ในสภาพเดียวกัน เผชิญกับความท้าทายแบบเดียวกัน 

- ต้องทำให้ธุรกิจอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงเวลานี้ และจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ จำไว้ว่าการตลาดสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากในการทำธุรกิจ



 


อ้างอิง :

https://www.set.or.th/set/enterprise/article/detail.do?contentId=6885

บทความแนะนำ