เชื่อไหมว่าเกลือทะเลของไทยที่ใช้เวลาทำนับเดือนนี้ มีราคาซื้อขายกันโดยเฉลี่ยตันละประมาณ 1,000 บาท หรือตกกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น กระทั่งมีคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจของครอบครัวคือ “นาเกลือ”
พวกเขาเดินตามความฝันอยู่พักใหญ่ ลองผิดลองถูกกันหลายครั้งจนมาเป็น “เจลอาบน้ำจากดอกเกลือ” ที่คิดตามมูลค่าแล้วมีราคาถึง 20,000 บาทต่อ 1 ตัน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า วันนี้เบญจรัตน์ ปัญญาวงค์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลักซ์นา จำกัด เจ้าของแบรนด์ IRIN จะมาเผยเคล็ดลับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “สินค้าชั่งตวงวัด” อย่างหมดเปลือก
SME One : จุดเริ่มต้นของ IRIN เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
เบญจรัตน์ : IRIN เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อน ๆ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ 4 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 34 - 37 ปี เริ่มจากที่บ้านของหุ้นส่วนคนหนึ่งทำนาเกลือมานานกว่า 100 ปี จึงมีความรู้เกี่ยวกับเกลือค่อนข้างดี ว่าเกลือทะเลมีประโยชน์อย่างไร หุ้นส่วนอีกคนก็เป็นทายาทนักธุรกิจที่เข้าใจระบบธุรกิจ หุ้นส่วนคนที่ 3 ครอบครัวก็ทำโรงงานเครื่องสำอางเป็น Generation ที่ 4 แล้ว ส่วนตัวเองเรียนทางด้านกฎหมายมา IRIN เริ่มจากเพื่อนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มารวมตัวกัน
ไอรินเป็นคำไทยแปลว่า เกลือ จุดเริ่มต้นของ IRIN มาจากการพัฒนาดอกเกลือเป็นผลิตภัณฑ์ Skincare โดยสินค้าตัวแรกของเรา คือสบู่ที่มีส่วนผสมของดอกเกลือที่แก้ปัญหาสิวผดผื่นคันตามร่างกาย เพราะเกลือเป็นยาฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติ มีงานวิจัยของต่างประเทศรับรอง
SME One : จากวันที่เริ่มธุรกิจ IRIN ใช้เวลาในการพัฒนาสินค้ากี่ปี
เบญจรัตน์ : ประมาณ 2 ปี นับจากเริ่มจดทะเบียนบริษัท ที่ใช้เวลานานถึง 2 ปี เพราะอยากที่จะพัฒนาสูตรให้ดีที่สุด ปัญหาที่เราเจอตอนแรก ก็คือเราตั้งใจจะใช้ส่วนผสมธรรมชาติ 100% แต่วันที่สินค้าออกสู่ตลาดใช้เวลาถึง 2 ปี ทำให้ไม่ทันท่วงที กลายเป็นว่าพอสินค้าออกมาถึงสินค้าเราจะมีคุณสมบัติดีมาก ตอบโจทย์ลูกค้าทุกอย่าง แต่ตลาดก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สินค้าตัวแรกของเราจึงไม่ประสบความสำเร็จ เราก็ต้องพัฒนาสินค้าต่อ แต่เราเริ่มมีประสบการณ์จากที่เราลองผิดลองถูกทำอะไรมาหลายอย่าง จนได้มาเป็นสบู่ก้อนที่ขายดีอยู่จนถึงวันนี้
หรืออย่างสบู่เหลวที่เป็นสบู่เกลือเราก็เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่ทำสบู่เกลือให้เหลวและใสได้ เพราะปกติถ้าเติมเกลือลงไปในสารละลาย สารตั้งต้นในการทำสบู่มักจะจับตัวเป็นก้อน แต่ IRIN เราทำให้เหลวใสได้
SME One : สินค้าที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ 100% มักจะมีราคาสูงอยากทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของ IRIN คือใคร
เบญจรัตน์ : ต้องอธิบายว่าตอนแรกเรายังไม่มีประสบการณ์ สินค้าตัวแรกที่ออกมาของ IRIN จึงขาดทุนจนเลิกผลิตไปในที่สุด เพราะเราตั้งใจทำสบู่ที่เป็น Natural 100% ตอนนั้นเรามีการทำ Survey ก่อนวางขายสินค้า ซึ่งกลายเป็นกับดักตัวเราเอง เพราะคนที่เราเลือกไปถามว่า เขายินดีจะจ่ายในราคาเท่าไหร่สำหรับสินค้าที่เป็น Natural 100% เราพบทีหลังว่าคนตอบมี Bias คือ ตอบมาทุกอย่างดีหมดเลย แต่ลืมคิดไปว่าเขาซื้อครั้งเดียว ตอนนั้นสบู่ Natural 100% ขนาด 250 มิลลิลิตร 1 ขวดจำหน่ายอยู่ที่ 199 บาท ซึ่งลูกค้าซื้อครั้งเดียว ก็กลายเป็นว่าเราไม่สามารถขายได้อีก
แต่พอเราเราเริ่มมีประสบการณ์การทำงานกับ Modern Trade เราก็ปรับตัวว่า IRIN จะเป็น Premium Mass ที่ผู้คนทั่วไปสามารถจับต้องได้ และหันมาเน้นหนักในตลาด Modern Trade โดยจับกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาเรื่องสิว หรือผดผื่นคันตามร่างกาย แต่มีกำลังซื้อและเป็นกลุ่มที่เน้น Benefit ของสินค้า เพราะ IRIN เป็นกลุ่ม Anti-bacteria ที่แบบให้คุณประโยชน์อื่น ๆ นอกจากการฆ่าเชื้อโรค
SME One : ช่วงแรกนอกจากวางตำแหน่งสินค้าผิดแล้ว ยังเจอปัญหาอะไรอีกหรือไม่
เบญจรัตน์ : ตอนเริ่มต้นเรามีปัญหาทุกจุด เพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่ได้มีประสบการณ์จริงๆ เรามีแต่ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งโลกธุรกิจของจริงยากกว่าเยอะ เราเจออุปสรรคทั้งในเรื่องของการ Forecast เงินทุน คือเราวางแผนไว้หมด แต่ถึงเวลาลงสนามจริง สิ่งที่วางแผนไว้มันไม่เป็นอย่างที่ตำราบอก การดีลลูกค้า การปิด Order หรือ Supplier ต่าง ๆ หรือการต่อรองกับ Modern Trade ต่าง ๆ ที่กินระยะเวลา ไม่ได้เป็นไปตามที่แบบตำราที่เรียนมา ตรงนี้ก็เป็นอุปสรรคที่เราเจอ
ในส่วนออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging ในตลาดจริง ๆ กับ Packaging ในตำราที่เราเรียนมา ว่าด้วยการออกแบบ Packaging ในตำราบอกว่าควรทำอย่างนี้ ถึงเวลาจริง ๆ Packaging ที่ออกแบบตามตำรา ลูกค้าไม่ซื้อ เราก็ต้องมีการเปลี่ยน Packaging กันใหม่ เพื่อที่จะตอบโจทย์รสนิยมของลูกค้า
ยอมรับว่าช่วงแรกๆ เราอยากจะขายสินค้าที่เป็นไอเดียของเรา ที่เป็นความตั้งใจของเรา ที่เป็นความภาคภูมิใจของเรา อยากขายเพราะเรารักสินค้าตัวนี้ เรารัก Ingredient ตัวนี้ ทำให้เราพยายามจะเล่าแต่สิ่งที่เราอยากจะขายอะให้ลูกค้าฟัง โดยลืมว่าลูกค้าเขาต้องการฟังอะไร นั่นคือข้อผิดพลาด เมื่อเป็นเช่นนี้ Product ตัวต่อ ๆ มาที่เราเริ่มพัฒนา เราจึงเริ่มจากการฟังลูกค้าจริง ๆ ไปยืนอยู่หน้า Shelf แล้วฟังลูกค้า ฟัง Feedback จริง ๆ จากผู้ใช้
SME One : การหยุดฟังทำเราได้คำตอบที่ชัดเจน แล้วนำไปพัฒนาสินค้าที่ตรงตามความต้องการใช่หรือไม่
เบญจรัตน์ : สินค้าของเรามีพื้นฐานมาจากเกลือ แต่เราเลือกผสมส่วนผสมอื่นๆ เข้าไป เพราะเราฟังลูกค้าว่าอยากได้อะไร ลูกค้าอยากให้เรา Combine เกลือกับอะไร แล้วเราเลือกจากสิ่งนั้นว่าส่วนผสมอะไรที่เอามา Combine แล้วลูกค้าจะซื้อ เช่น เรารู้ว่าลูกค้าชอบมะขาม ลูกค้าชอบขมิ้น เราฟังลูกค้าเสร็จแล้วเราก็เลือกจากคุณสมบัติของส่วนผสมอีกทีว่าอะไรที่เอามา Combine ลงไปแล้วจะทำให้ Effect ของสบู่ดีขึ้น เช่นสบู่เกลือ ผสมมะขาม หรือผสมนมข้าว
ยกตัวอย่าง สบู่ก้อนกับสบู่เหลวก็เป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน ลูกค้าที่ซื้อสบู่เหลวกับลูกค้าที่ซื้อสบู่ก้อนมีวิธีการเลือกที่ไม่เหมือนกัน คนที่ชอบใช้สบู่ก้อนจะชอบความรู้สึกสัมผัสแบบล้างแล้วต้องสะอาด ผิวต้องรู้สึกว่าแห้งสะอาด แต่คนที่ซื้อสบู่เหลวจะเป็นกลุ่มที่ชอบความชุ่มชื้น แต่ต้องไม่เหนียวเหนอะหนะ เพราะฉะนั้น Positioning ของแบบสบู่เหลวกับสบู่ก้อนเป็นคนละกลุ่มกัน แม้จะเป็นสบู่เกลือเหมือนกัน
SME One : IRIN เป็นสินค้าแบรนด์เล็ก มีวิธีการเจาะเข้าตลาด Modern Trade อย่างไร
เบญจรัตน์ : ส่วนหนึ่งมาจากการที่หุ้นส่วนมีประสบการณ์ในกลุ่มสินค้าหมุนเวียนเร็วหรือ FMCG (Fast-moving Consumer Goods) ทำให้มีประสบการณ์ในการนำเสนอสินค้า 2) เราใช้วิธีการ Matching Business 3) เราใช้วิธีการส่งประกวด เวลาที่เราเข้าประกวดโครงการต่าง ๆ ของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น Startup Voucher หรือ 7 Innovation Awards ฯลฯ เวทีประกวดจะมีหน่วยงานที่รองรับ เวลาที่ได้รางวัลจะมี Connection ให้เราสามารถเข้าไปเจรจาธุรกิจนำเสนองานกับ Modern Trade ต่าง ๆ กับฝ่ายจัดซื้อโดยตรงได้ด้วย
จริงๆ ค้าปลีกสมัยใหม่จะมีพื้นที่ให้ สินค้ากลุ่ม SMEs ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่าง Modern Trade กับหน่วยงานของรัฐหลาย ๆ หน่วยงาน ว่าจะสนับสนุน SMEs ซึ่งถ้าสินค้าเราได้คุณภาพมาตรฐาน ราคาได้ก็จะเพิ่มโอกาสได้ เพียงแต่ว่าการขายใน Modern Trade มักจะถูกกำหนดราคาโดยเจ้าตลาด ตัวอย่างเช่น ราคาสบู่เหลวขนาด 500 ml. ในกลุ่ม Premium Mass และเป็นสินค้า Anti-bacteria กึ่ง Beauty ราคาถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดอยู่ที่ 165 บาท ส่วนสบู่ก้อนราคาก็ถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดว่าสบู่ก้อนที่เป็น Natural หรือสมุนไพรประมาณนี้จะถูกกำหนดไว้โดยเจ้าตลาดว่า 48 บาท
จุดนี้เลยทำให้ SMEs เจ้าต่าง ๆ ถ้าไม่ได้มีโรงงานเองจะไม่ง่ายที่จะดีลกับ Modern Trade เพราะว่าขายผ่าน Modern Trade ค่า GP (Gross Profit) เริ่มต้นก็เฉลี่ยตั้งแต่ 30% ขึ้นไป แต่ถ้าเราไปประกวดในโครงการที่ห้างค้าปลีกจัดแล้วชนะก็จะทำให้ได้สิทธิพิเศษบางอย่างที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
SME One : มีแผนที่จะเปิด Pop-up Store ของตัวเองหรือไม่
เบญจรัตน์ : ยังไม่มีแผน เพราะมองว่ายังไม่จำเป็น เนื่องจาก IRIN ดีลกับ Modern Trade เป็นหลัก ลูกค้าเดินเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ต ก็เจอเรา On shelf อยู่แล้วทุกสาขา เราไม่จำเป็นต้องแย่งลูกค้ากันเอง ในการที่จะตั้ง Store เพิ่ม
SME One : IRIN มีขายให้กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยว เช่นใน Duty Free หรือในย่านที่เป็น Tourist Destination บ้างหรือไม่
เบญจรัตน์ : มีขายบ้าง อย่าง Big C ก็จะมีบางสาขาที่เน้น Tourist เป็นพิเศษ เช่น Big C สาขาราชดำริ ถึงแม้เราจะวางใน Shelf ปกติของ Big C ราชดำริ แต่จริง ๆ กลุ่มลูกค้าเป็น Tourist ซึ่งปกติแบบนี้เราก็จะดีลกับ Modern Trade เลยว่า Location ไหนบ้างที่เป็น Tourist Store เราก็จะมีโปรโมชันสำหรับ Tourist ที่จะซื้อยกลัง แต่ก็ผ่าน Modern Trade
นอกจากนี้ก็ยังมีขายผ่าน Cross Boarder เช่น ประเทศลาว ก็จะมีลูกค้าที่ลาวเป็น Cross Boarder ส่งออกทุก ๆ 2 เดือน ในส่วนของ Duty Free ช่วงก่อน COVID-19 เรามีคุยกับ King Power และบริษัทที่รับทำทัวร์บ้าง
SME One : ช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก ได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
เบญจรัตน์ : พอมีสถานการณ์ COVID-19 เข้ามา เราต้องผันตัวเองจากสินค้ากลุ่ม Skincare ที่เกี่ยวกับการแบบต้านแบคทีเรีย ไปสู่สินค้ากลุ่ม Hygiene โดยเริ่มผลิตจากองค์ความรู้ที่เรามี เราเริ่มทำเป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่สัมผัสผิวหนังคนได้ ล้างออกได้หรือไม่ล้างออกก็ได้ ทั้ง Alcohol และ Non-Alcohol ที่จะช่วยในการฆ่าเชื้อ ต้านแบคทีเรียและต่อต้าน COVID-19 เรามีแตกแบรนด์ออกไปชื่อว่า DetV จะเป็นน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ ส่วน IRIN จะเป็นเกี่ยวกับ Skincare ก็คือผลิตภัณฑ์ที่เน้นในเรื่องของแบบของใช้ส่วนบุคคล
และเนื่องจากในปัจจุบันยอดขายของสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่ในห้างสรรพสินค้าตกลงกว่า 80% เราก็เลยผันตัวเองมารับผลิตสินค้า OEM เกี่ยวกับ Personal Care ต่าง ๆ รวมไปถึงผลิตน้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ที่อยู่ในเครือข่ายเครื่องสำอาง
กลายเป็นว่าธุรกิจที่เติบโตในตอนนี้จะเป็นกลุ่มสินค้า Hygiene Product แทน แต่สินค้ากลุ่ม Hygiene Product เราไม่ได้เข้า Modern Trade เพราะว่าตอนนี้คนไม่เดินห้าง ตอนนี้คนเน้นซื้อสินค้าออนไลน์กับเน้นซื้อสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของเราที่ไปวางขายตอนนี้ เราเน้นขายกลุ่มองค์กร ส่วนหนึ่งเพราะว่า End User ก็มีกำลังซื้อลดลง
SME One : ถ้าทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีแผนจะต่อยอดธุรกิจอย่างไร
เบญจรัตน์ : Product Line ที่เราวางแผนไว้ จริง ๆ มีแผนที่จะออกใหม่ทั้งหมดอยู่ 21 SKU จะเป็นกลุ่ม Body Care กลุ่ม Personal Care ด้วยความที่โรงงานเราสามารถผลิตได้สินค้าได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า ปกติสินค้าในกลุ่ม Face Care ไม่ว่าจะเป็นแบบครีมต่าง ๆ เรามีกลุ่มลูกค้าคือคลินิกความงามต่าง ๆ เป็นลูกค้าเราอยู่แล้ว เพราะเราเป็นโรงงานผู้ผลิต แต่เราไม่ได้จำหน่ายในฐานะแบรนด์ของแบรนด์ IRIN ถ้าแพลนที่เราจะไปก็คือพวก Lotion หรือ Scrub รวมถึงวางแผนจะผลิตสเปรย์กันยุงจากตะไคร้ที่เป็นสารจากธรรมชาติ
SME One : สินค้ากลุ่มใหม่ๆ เหมือนว่าจะไม่จำเป็นต้องมีเกลือเป็นส่วนผสมหลักแล้ว
เบญจรัตน์ : ปัจจุบันนี้สินค้าที่จะ Launch ออกมาตามแพลนที่วางไว้ 70% คือหลุดจากเกลือไปแล้ว กลุ่มสินค้าที่ยังมีเกลือ ยังคงเป็นสบู่เกลือ และจะมีสครับเกลือทะเล พูดตรงๆ ก็คือเกลือมีข้อดี แต่ก็มีข้อจำกัดในตัวของสินค้าที่ทำได้น้อย ตรงนี้ในตำราก็ไม่ได้สอน คือถ้าเรายังยึดติดอยู่กับตัวตนว่าเราต้องเป็นเกลือเท่านั้นจะทำให้ธุรกิจเราไปไม่รอด เพราะ Product หลายอย่างเกลือไม่สามารถตอบโจทย์ได้
แต่เรายังคงมี Hero SKU หรือสินค้าสร้างชื่อเสียงให้กับ IRIN อยู่ คือเราเริ่มจากเกลือก็จริงแต่ว่าธุรกิจมันต้องเดินไปข้างหน้า ถ้าเรายังยึดอยู่ว่าตัวตนของเราคือเกลือ เราจะไม่พัฒนา ถ้าเราไม่ได้ปรับตัวตามยุคสมัยหรือความต้องการของลูกค้า เราจะอยู่ไม่ได้ นี่คือสิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้
บางทีจุดแข็งก็เป็นกับดักได้ ถ้าไม่ปรับตัว คือก่อนหน้านี้ที่จะมี COVID-19 บริษัทเราก็ยึดติดมากว่าสินค้าเราต้องมีส่วนผสมของเกลือ จนบางทีมันก็เหมือนแบบเป็นกรอบที่ปิดตัวเราเอง จนไม่สามารถทำสินค้าใหม่ ๆ ออกมาได้ ทั้ง ๆ ที่มีลูกค้ามากมายที่เดินเข้ามาบอกเราว่าอยากได้สินค้า IRIN ตัวนี้ ๆ ๆ แต่เราก็ไม่สามารถทำสูตรที่จะใส่เกลือลงไปได้ จนกลายเป็นข้อจำกัด
แต่ในวันที่เราตื่นขึ้นมาแล้ว พูดว่าเฮ่ย...นั่นมันเป็นอัตตาที่เรายึดมั่นว่าต้องเป็นอันนี้เท่านั้น พอเราวางอัตตาลง เราจะเห็นจริง ๆ ว่า Business กำลังจะพาเราไปที่ไหน เพราะสิ่งที่เราค้นพบ คืออะไรที่ลูกค้าจะซื้อ อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่เราอยากจะขายอะไร
SME One : ถ้าไม่ใช่เกลือ แล้วอะไรคือ Key Success ของ IRIN ในปัจจุบัน
เบญจรัตน์ : Key Success ของเราในปัจจุบัน คือเราปรับตัวเร็ว แล้วเราฟังลูกค้าจริง ๆ แล้วเราจะได้ยินว่าลูกค้าต้องการอะไร เราพยายามหา Meet the unmet เสร็จแล้วเราต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าทันที อันนี้ที่ทำให้เรายังยืนอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์นี้
SME One : ถ้าลองมองย้อนกลับไปจากจุดเริ่มต้นที่มาจากสินค้า OTOP สินค้าชั่งตวงวัด ถือว่า IRIN มาได้ไกลแค่ไหน
เบญจรัตน์ : IRIN เดินมาไกลมาก จากตอนแรกแค่สินค้า OTOP ที่เราคิดว่าเราจะขายออกบูธตามงาน เราเดินมาจนถึงที่ระดับที่ได้คุยกับ Modern Trade ทุกค่าย แล้วเราเป็นคนตัดสินใจว่า Modern Trade ค่ายนี้เราจะเข้าหรือเราไม่เข้า ถือว่าเรามาไกลมาก
แต่ COVID-19 ทำให้เราได้กลับมาถามตัวเองว่า เราจะพา IRIN ไปทางไหน เหมือนได้กลับมามองเห็นความชัดเจนของตัวเอง จากที่ตอนแรก คือเราจะมุ่งสร้าง Product ที่ต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบ เพื่อบอกว่านี่คือจุดต่างของเรา จนเราได้เจอตัวตนว่าเรามี Hero SKU แล้ว เราจะสร้างตัวเองไปที่ไหนต่อไป หลังจากนี้เราจะตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไรในสภาพการณ์ที่เปลี่ยนตลอดเวลา เมื่อก่อนเราคุยกันเป็นไตรมาส ตอนนี้เราแทบจะต้องคุยกันทุกสัปดาห์ จุดนี้คือข้อดีที่ทำให้เรายังไปได้ คือเราปรับตัวเร็ว เนื่องจากเราเป็น SMEs เป็นบริษัทเล็ก ๆ
SME One : อยากจะให้ช่วยให้คำแนะนำกับ SMEs ในการทำธุรกิจ
เบญจรัตน์ : ถ้าจะให้คำแนะนำกับ SMEs อยากจะบอกว่า เห็น SMEs หลาย ๆ เจ้าเขามีความตั้งใจมาก มีสิ่งที่เขาอยากจะขาย มีสิ่งที่เขาอยากจะเล่า มี Story มากมาย แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ คำแนะนำสำหรับ SMEs ก็คือก่อนที่จะตัดสินใจอะไร อยากให้ SMEs ชัดเจนในเป้าหมาย ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า คุณจะขายสินค้าที่ต้องการจริงๆ หรืออยากทำธุรกิจ เพราะบางทีสิ่งที่คุณอยากจะขาย อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าอยากจะซื้อ
บทสรุป
แม้ว่าความสำเร็จก้าวแรกของ IRIN จะเกิดจากความคิดในการสร้างมูลค่าจากเกลือมาสู่สินค้า Pessonal Care แต่ความสำเร็จก้าวที่ 2 ของ IRIN นั้น มาจากการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาด โดยยอมทิ้งสิ่งที่เรียกว่า “อัตตา” ไว้ข้างหลัง เพราะในความเป็นจริง ถึงแม้ว่าเกลือจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าอื่นๆ เพราะ Product หลายอย่างที่ IRIN ผลิตและวางจำหน่ายในระยะหลัง เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือสินค้าที่กำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตอย่าง Face Care เกลือไม่สามารถตอบโจทย์ได้นั่นเอง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจมาได้จนถึงปัจจุบัน
ชีวาดี ภูมิปัญญาบันดาลใจ ในน้ำตาลดอกมะพร้าว
จากความชื่นชอบในรสชาติของน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้อาหารไทยอร่อย กลมกล่อม สู่การสังเกตเห็นคุณสมบัติพิเศษและประโยชน์มากมายจากทรัพยากรพื้นบ้านอันมีค่า นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว นำมาสู่การผสมผสานนวัตกรรมและการต่อยอดเป็นสินค้า สมกับชื่อบริษัท ชีวาดี คือ ชีวิตดี โดยมีแนวคิดที่ว่าหากชีวิตเราดีนั้น ต้องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย
เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น
ภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณมีการใช้น้ำตาลมะพร้าวในการทำอาหาร เพราะมีรสชาติหวานละมุน มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อโดนความร้อนจะละลายเหนียวเหนอะหนะ หลังจากที่คุณสารภี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด เคยเห็นคุณพ่อซึ่งเป็นเบาหวานพกน้ำตาลมะพร้าวในกระเป๋ากางเกงแล้วละลายเลอะเทอะ จึงได้มีความคิดที่จะผลิตคิดค้นน้ำหวานดอกมะพร้าว แบบเป็นน้ำ มีความหวานมาจากดอกมะพร้าว ลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ง่าย ให้เป็นสินค้าท้องถิ่นจากชุมชน
ครั้งหนึ่งได้ไปเที่ยวชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ได้เห็นชาวบ้านผลิตน้ำตาลดอกมะพร้าว และสังเกตเห็นจุดบกพร่อง รวมถึงจุดที่สามารถพัฒนาได้ จึงเริ่มศึกษาจนพบคุณสมบัติในองค์ประกอบทางสารอาหารจากน้ำตาลดอกมะพร้าว ที่มีผลดีต่อผู้เป็นเบาหวาน
จากความสนใจในน้ำตาลดอกมะพร้าวและชุมชนน้ำตาลมะพร้าว ทางชีวาดีจึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนน้ำตาลดอกมะพร้าวให้เป็นสินค้าที่ไม่อยู่แค่ในครัว แต่สามารถทำเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ ให้รู้สึกว่า เกิดความสง่างามในการใช้สินค้า และช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายได้มากขึ้น
พลิกฟื้นภูมิปัญญาที่สูญหาย
ในวันที่ ชีวาดี ตั้งมั่นจะเข้าไปศึกษาชุมชนสวนมะพร้าว พบว่าน้ำหวานดอกมะพร้าว มาจากส่วนดอกมะพร้าวใช้การปาดน้ำออกมาโดยวิถีโบราณซึ่งมีกรรมวิธีที่ยาก และมีราคาแพง ซึ่งชาวบ้านบอกว่าไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีใครทำแล้ว ธุรกิจนี้ได้ตายไปแล้ว เพราะไม่มีใครให้ราคาของคนทำงานลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเข้าเมืองไปทำงานเป็นลูกจ้าง แต่เมื่อได้ทำการลงพื้นที่สำรวจก็พบว่าบ้านทุกหลังนำน้ำหวานดอกมะพร้าว ผสมเข้ากับสิ่งให้ความหวานอื่นๆ ลงไปด้วย เพื่อทำเป็นน้ำตาลที่ราคาไม่สูง ให้ผู้คนยอมจ่ายเงินซื้อ
ชีวาดีจึงเกิดประกายในใจว่าต้องให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณค่า สุขภาพ และวิถีอินทรีย์แก่ชาวบ้าน โดยรวบรวมชาวบ้านที่เกี่ยวข้องในแวดวงน้ำหวานดอกมะพร้าวจากทั้งจังหวัดสมุทรสงคราม ให้มาเป็นกลุ่มเดียวกับชีวาดี และเชิญผู้ให้ความรู้จากบริษัทในภาคส่วนอื่น ๆ มาช่วยให้ความรู้ เพื่อทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจ และสนใจคุณค่าในวิถีอินทรีย์อย่างแท้จริง
ครั้งแรกพังไม่เป็นไร มองให้เป็นการเรียนรู้
ชีวาดีรวบรวมผู้ผลิตชาวบ้านที่สนใจในวิถีอินทรีย์ได้เพียง 2 คน ซึ่งสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวที่จะนำมาทำน้ำตาลได้วันละ 6 กิโลกรัม แต่จากการที่ทางชีวาดีได้ใช้เวลาคลุกคลี เรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน และต้องการช่วยพัฒนาชุมชนให้มีชีวิตที่ดีและยั่งยืน จึงคิดที่จะพัฒนาสินค้าให้เป็นรูปแบบอุตสาหกรรม
เมื่อเริ่มติดต่อโรงงานอุตสาหกรรม ทางโรงงานขอน้ำหวานดอกมะพร้าว 600 กิโลกรัมเพื่อเริ่มผลิต จึงเริ่มชักชวนคนในชุมชนไปทีละบ้าน ให้มารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตน้ำตาลให้ได้มากขึ้น จนสามารถผลิตน้ำหวานดอกมะพร้าวจำนวน 600 กิโลกรัม นำไปส่งโรงงานได้สำเร็จ แต่เพราะทางโรงงานไม่มีความเข้าใจในกรรมวิธี นำตาลจึงพังเป็นสีคล้ำทั้งหมด ทางชีวาดีไม่ถือโทษ โดยมองว่าเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับโรงงาน และทำให้ทางโรงงานยอมเชื่อกรรมวิธีที่ทางชีวาดีได้ทดลองมา เป็นการซื้อใจอีกทางหนึ่ง
.
โมเดลธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน
ชีวาดีทำธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงและยั่งยืนจากวิถีชาวบ้าน เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดเล็ก เติบโตจากความคิดเล็ก ๆ ที่อยากให้ประเทศไทยมีนวัตกรรม และยกระดับนวัตกรรมกับภูมิปัญญาชาวบ้านให้ชุมชนอยู่ดี อย่างที่ภูมิปัญญาจากน้ำหวานดอกมะพร้าวสามารถนำมาผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยี ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง น้ำตาลดอกมะพร้าว, เครื่องดื่มไซเดอร์ดอกมะพร้าว, น้ำส้มสายชูดอกมะพร้าว, ซอสอเนกประสงค์จากมะพร้าวอินทรีย์ เป็นต้น
ช่วงแรกจึงยังไม่ทำการตลาดในเมืองไทย เนื่องจากความพร้อมด้านบุคลากรทางการตลาดยังไม่ชำนาญ จึงมุ่งเน้นไปทางสิ่งที่ชำนาญก่อน คือการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม เนื่องจากเราต้องดูกลุ่มครอบครัวหน่วยการผลิตว่าพร้อมขยายหรือไม่ เพราะทางชีวาดีต้องการรับผิดชอบต่อสังคม และต้องการให้ผู้ผลิตจากต้นน้ำ ซึ่งคือครอบครัวหน่วยการผลิต เกิดความเติบโตมั่นคงยั่งยืนในอาชีพและในเวลาที่สมควร ต้นน้ำของชีวาดีนั้นรวมถึงคู่ค้าในต่างประเทศ จากการสำรวจคู่แข่งและทำความรู้จักกับประเทศที่สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และมิตรภาพด้านสุขภาพ
ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี (Chiwadi)
ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จากชีวาดี ผลิตจากธรรมชาติ 100% ด้วยคุณสมบัติ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารดังนี้
การต่อยอด โดยอิงจากหลักธรรมชาติ
นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว ยังต่อยอดมาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาด คือการทำความสะอาดผิว และการทำความสะอาดผัก เนื่องจากความสะอาดเป็นจุดแรกที่ต้องคำนึงในการทำผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ทุกอย่างเกิดจากความตั้งใจสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานมีผิวหน้าและผิวกายที่เนียนสวยงามจากกลิ่นไอของผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ปราศจากสารเคมี หลังจากศึกษาค้นคว้าจึงได้พบกรดที่สำคัญตามธรรมชาติ เมื่อผ่านการยื่นขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา จึงได้ต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น
จุดมุ่งหมายในอนาคต
เริ่มที่ทำต้นน้ำให้แข็งแรง ดูแลพนักงานทุกคนเหมือนดังครอบครัว ดังนั้นต้องเสริมให้ครอบครัวยั่งยืนและทำอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ โดยครอบครัวผู้ผลิตของชีวาดีทั้งหมดเป็นครอบครัวที่ปลอดสารเคมี ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างจึงไม่มีสารเคมี และมีแผนจะเริ่มทำการตลาดออนไลน์ โดยใส่ใจในเรื่องของคุณค่า วิถีอินทรีย์ และ ประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างจริงใจที่สุด เหมือนกับตอนทำผลิตภัณฑ์ เพราะอยากจะใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น
ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของชีวาดีสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด
59 อาคารพิทักษ์ (ห้อง 104) หมู่ 6 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร. 089 969 9825 ติดต่อ คุณสมเกียรติ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
Email: info.chiwadi@gmail.com
Facebook: www.facebook.com/chiwadiproducts/
Line: chiwadi01
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
“เอื้ออารีฟู้ด แปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นไลฟ์สไตล์”
เพราะอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งเสริมเติมแต่งรสชาติ ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทย รสชาติของอาหารไทยมีความจัดจ้าน เครื่องปรุงวัตถุดิบพืชผลเกษตรไทย นั้นเต็มไปด้วยรสชาติที่ต่างประเทศไม่มี เช่น กระเทียมไทย ที่จัดว่าเป็นกระเทียมที่มีรสสัมผัสเป็นเอกลักษณ์ หาไม่ได้จากที่ไหนในโลก
บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส รวมถึงเครื่องเคียงในอาหาร ด้วยมาตรฐานในด้านความสะอาด และมาตรฐานในระบบมาตรฐานสากล ดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดที่อยากสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ที่ช่วยตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยและให้บริการที่ดีที่สุด
.
จากตลาดสด สู่ระบบโรงงาน
แรกเริ่มตั้งต้นกิจการตั้งแต่รุ่นพ่อ อยู่ที่ปากคลองตลาดมา 50 ปี ทำธุรกิจขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ จำพวกผัก พริกมาบดขาย ในสมัยก่อนนั้นคั่วกันแบบบ้าน ๆ ใส่ถุงไปขายลูกค้าตามตลาดสด หลังจากคุณพ่อเสีย คุณฉัตรชัย วชิระเธียรชัย ในวัย 18 ปี ได้ใช้ชีวิตอยู่ในตลาดขายพืชผักย่านทรงวาด จึงมีโอกาสได้เห็นความเคลื่อนไหวของการซื้อขายกระเทียมในตลาดอยู่ตลอด จนสังเกตเห็นว่ากระเทียมนั้นถูกส่งเข้ามาเป็นคันรถ แต่ขายหมดเกลี้ยงในเวลาไม่นาน จึงเริ่มทำการซื้อกระเทียมมาเปิดหน้าร้านขาย 24 ชั่วโมง เมื่อขายไปขายมาก็พบว่า กระเทียมลูกใหญ่เป็นขนาดที่ลูกค้าตลาดสดไม่ต้องการ ทำให้เริ่มคิดหาหนทางจัดการวัตถุดิบวิธีใหม่ ๆ โดยใช้กระเทียมที่ยังขายไม่ออก ด้วยการติดต่อส่งกระเทียมลูกใหญ่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม โดยยอมขายขาดทุน เพื่อระบายสินค้าให้หมด แต่กลับได้รายการสั่งซื้อสินค้าอื่นๆ จากทางโรงงานกลับมาด้วย และนี่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งวัตถุดิบกระเทียมเข้าสู่ระบบโรงงานอุตสาหกรรม ต่อยอดให้ทางร้านมีรายการสั่งซื้อใหม่ ๆ สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ
.
แตกไลน์ตามฝัน สู่สินค้าระดับมาตรฐาน
เพราะมีความฝัน จากเวลาที่ไปร้านสุกี้ แล้วสังเกตเห็นว่าทุกโต๊ะกินกระเทียม จึงเกิดความคิดที่จะนำกระเทียมไปเสนอลูกค้ากลุ่มร้านอาหารที่มีการใช้กระเทียม และมีสาขาหลายแห่ง เมื่อคิดได้แล้วจึงโทรไปเสนอขายสินค้าแต่ทางลูกค้าบอกกลับมาว่า ถ้าจะให้ใช้ กระเทียมก็ต้องมีมาตรฐาน นำไปสู่จุดเริ่มต้นของการสร้างระบบมาตรฐานมาควบคุมการผลิต โดยต้องกลับไปยกระดับตั้งแต่วิธีคิดให้กับเกษตรกร เริ่มทำห้อง แล้ววางระบบ มีโต๊ะให้นั่งคัดกระเทียม โดยควบคุมเวลา เพื่อจะได้คำนวณต้นทุนได้ทันที เป็นการสร้างวิธีคิดให้กับทีมงานก่อน แล้วจึงก็ลงมือทำ ให้เกษตรกรได้เห็นผลว่าถ้าคิดแบบนี้ลงมือทำแบบนี้แล้วจะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเอง เมื่อรักษามาตรฐานได้ ก็ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ในสายตาของลูกค้า
.
สังเกต สร้างโอกาส
ด้วยความชำนาญในเรื่องของกระเทียม จึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ ที่จะทำกระเทียมพร้อมทาน จากข้อเสนอแนะของผู้บริโภคต่างชาติ ที่ไม่ชอบเปลือกกระเทียมที่กินแล้วติดฟัน นำเรื่องนี้มาใช้เป็นกรณีศึกษา ทดลองไม่ใส่เปลือกทำเป็นเนื้อกระเทียมล้วน ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้าส่งออกใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
นอกจากนั้นยังมีการสังเกตรูปแบบไลฟ์สไตล์การกินใหม่ ๆ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นไอเดียสินค้า เช่น คนเมืองต้องการความรวดเร็ว สะดวกมากขึ้น ประจวบกับได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่มีการใช้ผงโรยข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติเช่นเดียวกัน จึงเกิดไอเดียสินค้าผงโรยข้าวใหม่ โดยปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทย แบ่งออกเป็น 4 ภาค 4 รสชาติ ได้แก่ ผงโรยข้าวลาบไทยอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผงโรยข้าวลาบเหนือ (ภาคเหนือ), ผงโรยข้าวคั่วกลิ้งปักษ์ใต้ (ภาคใต้), และผงโรยข้าวสไตล์ซีฟู้ด (ภาคตะวันออก)
.
ปัจจุบัน เอื้ออารี ฟู้ด ได้มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ และในด้านการผลิตและพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทเครื่องปรุงรส, เครื่องเทศ รวมถึงสินค้าอบแห้ง อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า และรับผลิตตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย
โดยมีรายการสินค้าหลากหลาย กว่า 100 รายการ ครอบคลุมความต้องการในทุกประเภทธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น
.
เอื้ออารี ฟู้ด มองการทำธุรกิจว่า วิธีคิดกับวิธีทำต้องไปพร้อมกัน เพราะว่าถ้าเกิดคิดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่เกิด หรือถ้าเกิดทำแต่ไม่คิดก็จะมีโอกาสสูญเสีย เพราะฉะนั้นถ้าใช้วิธีคิดไปคู่วิธีทำ ก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จอย่างแน่นอน
.
ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการ สามารถติดต่อได้ที่
บริษัท เอื้ออารี ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด
27/3 หมู่ 7 ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 และ
10 ถ.ราชพฤกษ์ แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
โทร.: 02 868 4994, 02 868 6736-7
โทรสาร: 02 457 5206
อีเมล: auraree@aurareefood.com, sales@aurareefood.com
Line ID: @chefaree
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
Tax from Home มาตรการที่่ช่วยให้ผู้ประกอบการการจัดการภาษีง่าย ๆ เข้าถึงการทำธุุรกรรมภาษีได้ในทุุกมิติ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่่ www.rd.go.th ประกอบด้วย
การลงทะเบียน e-Registration
บริการสมัครสมาชิกออนไลน์ แจ้งเพิ่ม - ลดประเภทแบบ ที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต ขอรหัสผ่านใหม่ เปลี่ยนรหัสผ่าน แจ้งยกเลิก และอื่น ๆ สามารถยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์ และส่งเอกสารผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่เสียเวลาเดินทางและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้้อโรค
การยื่นแบบ e-Filing
ขอยื่นแบบภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำแบบออนไลน์ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านทาง e-mail ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องไปยื่นด้วยตนเอง พรอ้มให้คุณได้รับสิทธิพิเศษขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ทำให้ธุุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องของกระแสเงินสดได้มีประสิทธิภาพยิ่่งขึ้้น
การชำระภาษี e-Payment
บริการนำส่งข้อมูลชำระเงิน ยื่นแบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยธนาคารที่่ร่วมโครงการ จะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมนการใช้บริการ สำหรับแบบที่ยื่นและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์
การคืนเงินภาษี e-Refund
บริการสอบถามข้อมูลการขอคือภาษี ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้เสียภาษีที่่ชำระภาษีไว้เกิน กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินให้ผ่านระบบ PromptPay ที่่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทั้งลดปริมาณการใช้กระดาษและ Lean กระบวนงานให้คล่องตัวยิ่่งขึ้้น
รวมสิทธิลดหย่อนภาษี ที่ www.rd.go.th
ระบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
จากเดิมที่ผู้ทำบุุญต้องเดินทางไปบริจาคที่่หน่วยรับบริจาค โดยจะได้รับหลักฐานการบริจาคในรููปแบบกระดาษ เช่น ใบอนุุโมทนาบัตร ใบเสร็จรับเงิน หรือหนังสือขอบคุุณ เพื่่อนำมาใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี แต่ระบบ e-Donation อำนวยความสะดวกให้บริจาคได้ทุุกที่ทุุกเวลา และไม่ต้องเก็บหลักฐานเป็นกระดาษเหมือนที่่ผ่านมา แต่ข้อมููลการบริจาคในระบบ e-Donation จะถููกส่งเข้าไปเก็บในฐานข้อมููลของกรมสรรพากร และเมื่่อถึงเวลายื่่นแบบฯ ประจำปี ผู้บริจาคก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทันที โดยไม่ต้องนำหลักฐานมาแสดงและพิสููจน์ต่อเจ้าหน้าที่่ ซึ่่งจะทำให้ได้รับเงินภาษีคืนรวดเร็วยิ่งขึ้้น
ระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp)
ในกรณีที่ต้องทำสัญญาหรือตราสารบางลักษณะ กฎหมายกำหนดให้ต้องติดอากรแสตมป์ หากมููลค่าของสัญญานั้้นเกินกว่าที่่กฎหมายกำหนด เดิมผู้ประกอบการต้องไปชำระค่าอากรแสตมป์ที่สำนักงานสรรพากร ไม่สามารถซื้้ออากรแสตมป์มาติดสัญญาได้
ปัจจุุบันกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบชำระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp) ทำให้การชำระค่าอากรแสตมป์ง่าย สะดวก รวดเร็ว ลดปัญหาการคำนวณมููลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด 5 ประเภทของสัญญาหรือตราสารที่่สามารถชำระค่าอากรแสตมป์ผ่านระบบ e-Stamp ได้แก่ สัญญาจ้างทำของ, สัญญากู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกงินเกินบัญชีจากธนาคาร, ใบมอบอำนาจ, ใบมอบฉันทะ และสัญญาค้ำประกัน
บริการตรวจสอบสิทธค่าลดหย่นของผู้เสียภาษี (MyTax Account)
เครื่่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ที่่ใคร ๆ ก็สามารถเช็กได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้้ว ทำให้ช่วยลดภาระในการเก็บเอกสารของผู้เสียภาษี เสมือนกรมสรรพากรจัดเก็บเอกสารในรููปแบบดิจิทัลให้แทน จึงลดขั้้นตอนการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่่ การยื่่นแบบภาษีเงินได้บุุคคลธรรมดาและการคืนภาษีก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้้น
จากตัวอย่างเครื่่องมือทางภาษีอากรที่่ภาครัฐให้บริการแก่ผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีช่วยให้ภาครัฐสามารถสร้างนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการมากขึ้้น ทำให้การทำธุุรกรรมภาษีเป็นเรื่่องง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีข้อจำกัดั ด้านเวลาและสถานที่่อีกต่อไป
อ่านเพิ่มเติม :
https://sme.krungthai.com/sme/previewPdf.action?fileId=85#book/
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการทำธุรกิจ คือ “คนไม่ซื้อ” เพราะปัญหาทุกเรื่องจะยังคงสามารถแก้ไข และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไปได้ตราบใดที่สินค้าหรือบริการของเรายังขายได้อยู่ แต่ถ้าของขายไม่ได้ หรือไม่มีคนซื้อนั้นหมายความว่า “เงิน” ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของธุรกิจกำลังจะหายไป แต่นอกจากขายของได้ มีคนซื้อแล้วก็ต้องสามารถเก็บเงินได้ด้วย การที่เราจะสามารถทำให้คนซื้อของเราได้นั้น สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมาก คือการเข้าใจพฤติกรรม (Consumer Behavior) ว่าอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งตัดสินใจซื้อของ มาอัปเดตกันสักนิดว่าทุกวันนี้ อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของ ของลูกค้ากันบ้าง
รีวิว
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมากในการตัดสินซื้อ ข้อมูลการสำรวจพบว่า 88% ของลูกค้านั้นเชื่อการรีวิวบนโลกออนไลน์มากพอกับการแนะนำจากคนรอบข้าง การรีวิวนั้นก็สามารถเกิดได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น การขอลูกค้ารีวิวสินค้าของเราสั้น ๆ เพื่อแลกรับสิทธิหรือส่วนลด หรือหลาย ๆ แบรนด์เลือกที่จะจ้าง Influencer ให้รีวิวสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของรูปแบบสินค้า หรือบริการของเราด้วย
อินฟลูเอนเซอร์
จากข้อแรกที่เป็นเรื่องของการรีวิวที่หลาย ๆ แบรนด์เลือกใช้ คือ Influencer Marketing จากข้อมูลการสำรวจพบว่ากว่า 92% ของผู้ทำแบบสำรวจค่อนข้างเชื่อถือในคำแนะนำหรือการรีวิวจากบุคคลอื่น ๆ บนโลกออนไลน์ แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้จักก็ตาม หลายแบรนด์จึงเลือกที่จะพยายามส่งสินค้าให้กับเหล่า Influencer เพื่อให้พูดถึงแบรนด์ หรือสินค้าของตนเอง ซึ่งมีทั้งแบบส่งให้ลองใช้ฟรีและแบบที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจ้างให้รีวิว
ความง่าย
แม้ว่าสินค้าและบริการนั้นจะดีมากขนาดไหน แต่ถ้าขั้นตอนในการใช้บริการนั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ก็มีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้
ตัวตนของแบรนด์
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับตัวตนและจุดยืนของแบรนด์มากขึ้น เพราะแบรนด์ที่เขาเลือกใช้นั้นนอกจากซื้อเพราะต้องการใช้สินค้าแล้ว ในอีกทางหนึ่งยังเปรียบเสมือนสิ่งที่บ่งบอกตัวตนและความเชื่อของพวกเขาด้วย
ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งในการตัดสินใจ
ข้อนี้จะชัดที่สุดถ้าหากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีราคาที่ค่อนข้างสูง หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้ซื้อกันบ่อย ๆ อย่าง รถ บ้าน ทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ สินค้าเหล่านี้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะสอบถามจากคนรอบตัว ขอความคิดเห็นจากคนรอบข้าง ค้นหาข้อมูลจากทั้งรีวิวที่เป็นผู้ใช้จริง เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ
ท้ายที่สุดไม่ว่าแบรนด์จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีมากแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็นตัวการันตีความสำเร็จในระยะยาวเสมอ หากปราศจากเรื่องพื้นฐานอย่าง คุณภาพ การบริการที่ดี และที่สำคัญที่สุด สินค้าหรือบริการนั้นสามารถมาช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ๆ หรือเปล่า
อ่านเพิ่มเติม :
www.krungsri.com/th/plearn-plearn/customers-decide-to-buy