สถาบันพลาสติก – ยกระดับผู้ประกอบการพลาสติกด้วยเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงระบบใหม่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ประกอบการเสมอ ยิ่งในวงการอุตสาหกรรมพลาสติกด้วยแล้ว ผู้ประกอบการมักจะคิดว่าแค่การเปลี่ยนวัตถุดิบเพียงเล็กน้อย ยังนำไปสู่ผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ การคิดจะเปลี่ยนระบบจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ยากจะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงมักติดกับดักอยู่กับการทำงานในรูปแบบที่คุ้นชิน ในสภาวะความเป็นอยู่ที่คุ้นเคย จนลืมคิดไปว่าทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป โลกได้มีการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ทั้งในแง่ของระบบวิธีทำงาน คุณภาพวัสดุ ช่องทางการตลาดใหม่ ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ดีขึ้นมากกว่าเก่า เกิดขึ้นมาอยู่เสมอ
.
ก้าวสู่โลกพลาสติกยุคใหม่
เพราะเห็นถึงปัญหาในเรื่องนี้ สถาบันพลาสติกไทย จึงก่อตั้งขึ้นมา เพื่อจะเป็นที่รวบรวมทุกเรื่องเกี่ยวกับพลาสติกไว้ สร้างเป็นฐานข้อมูลด้านอุตสาหกรรมพลาสติก ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี และการจัดการกระบวนการผลิต สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดให้ผู้ประกอบการพลาสติกในประเทศไทย เสริมสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในระบบอุตสาหกรรมพลาสติก โดยสนองตอบต่อนโยบายในวาระแห่งชาติ BCG ได้แก่ B – Bio Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ) / C – Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) / G – Green Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) นับได้ว่าเป็นก้าวใหม่สู่โลกอนาคตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทย
.
ตอบสนองผู้ประกอบการอย่างตอบโจทย์
ทางสถาบันพลาสติกไทยเอง มีแนวทางที่จะช่วยเสริมกำลัง ตอบสนองผู้ประกอบการพลาสติกให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน ด้วยแนวคิด 5M คือ Man - บุคลากร / Machine – เครื่องจักร / Material – วัสดุ / Methodology – กระบวนการผลิต / Management – การบริหารจัดการ ด้วยการให้บริการที่ตอบทุกโจทย์ให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่
ทางสถาบันพลาสติกไทย มุ่งมั่นที่จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่พื้นฐาน ด้วยข้อมูลความรู้ ให้มีฐานที่มั่นคงที่จะดำเนินธุรกิจ และ พัฒนาธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างทางด้านของการปฏิบัติการ และทางด้านของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ให้สามารถทำผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด และสามารถดำเนินการและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันพลาสติก
อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
86/6 ซอยตรีมิตร แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 02-391 5340-43
website : www.thaiplastics.org
Facebook: PlasticsInstitute
Youtube: สถาบันพลาสติก THAIPLASTICS
Line: Thaiplastics
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ให้ข้อมูลว่า แนวโน้มจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลว่าแหล่งอาหารของโลก เช่น พื้นที่เกษตรกรรมและน้ำ จะสามารถตอบสนองความต้องการอาหารของคนจำนวนมากได้หรือไม่ ความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ทำให้เกิดการแสวงหาแหล่งอาหารทางเลือกสำหรับมนุษย์ โดยแมลงนับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีบทความสำคัญ และการผลิตแบบจำนวนมาก (mass production) กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก
จากผลการวิจัยของ Research and Marketsคาดการณ์ว่า ในระดับโลก มูลค่าของตลาดแมลงรับประทานได้ (Edible insects) จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.18 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 โดยจะมีอัตราเติบโตรายปีอยู่ที่23.8% ในช่วงปี 2018-2023
การผลิตแมลงเป็นอาหารมนุษย์ ได้รับความนิยมด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ในประเด็นเรื่องสุขภาพ แมลงคืออาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการ แมลงหลายชนิดอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันดี มีแคลเซียม ธาตุเหล็กและซิงค์ (Zinc) ในระดับสูง นับเป็นตัวเลือกจากแหล่งอาหารหลัก ไม่ว่าจะเป็นไก่ หมู หรือเนื้อวัว
สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม แมลงปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าปศุสัตว์อื่นๆ การเลี้ยงแมลงใช้พื้นที่น้อยกว่า ไม่จำเป็นต้องทำบนพื้นดิน และไม่ต้องถางที่ดินเพื่อการขยายการผลิต ตรงข้ามกับการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากทั้งอาหารสัตว์ น้ำพื้นที่เลี้ยงสัตว์โคเนื้อก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาจำนวนมาก
ในแง่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม การเลี้ยงแมลงทำได้โดยใช้เทคโนโลยีในระดับไม่มาก (low-tech) และใช้เงินลงทุนในระดับที่ไม่สูง ซึ่ง SME ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงแมลงสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ซับซ้อน ขึ้นอยู่กับระดับของการลงทุน
นวัตกรรมโปรตีนจากแมลงยังมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแมลงแช่เยือกแข็ง, แมลงทอดกรอบ, ผงโปรตีนจากแมลง, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนจากแมลง, คุ้กกี้แมลง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโอกาสทางธุรกิจสูง แต่ธุรกิจโปรตีนจากแมลงก็มีความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องดูแลให้ดี โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) ซึ่งก็เหมือนกับอาหารชนิดอื่น โปรตีนจากแมลงอาจถูกปนเปื้อนในขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี หรือสารชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือเขื้อรา การผลิตแมลงที่ปลอดภัยจึงต้องป้องกัน ตรวจจับ และลดข้อกังวลเรื่องอาหารปลอดภัยต่างๆเหล่านี้ให้ได้
ในฟาร์มเลี้ยงแมลง ต้องมีมาตรการควบคุมสุขอนามัยอย่างเข้มงวด เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น การปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น
ส่งออกจิ้งหรีด
ในประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีนโยบายสนับสนุนการส่งออกจิ้งหรีด ซึ่งทางกรมมองว่าเป็นตัวเลือกแมลงที่เหมาะสมที่สุด โดยจิ้งหรีดจัดเป็นแมลงเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะสร้างรายได้แก่ประเทศและเกษตรกรของไทย แต่ต้องมีการยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงที่ฟาร์ม การแปรรูปที่โรงงาน จนถึงการส่งออก เพื่อการตรวจสอบและรับรอง กำกับควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้มีความปลอดภัยอาหารและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า
ขั้นตอนในการส่งออกจิ้งหรีด ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน หนึ่งฟาร์มได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากกรมปศุสัตว์ โดยการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด มีขอบข่ายในจิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองแดง และจิ้งหรีดทองแดงลายหรือสะดิ้ง ซึ่งต้องผ่านข้อกำหนด 5 ข้อ ประกอบด้วย องค์ประกอบฟาร์ม, การจัดการฟาร์ม ได้แก่ การจัดการจิ้งหรีด การจัดการน้ำและอาหาร บุคลากร การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา,สุขภาพสัตว์ ได้แก่ การป้องกันและควบคุมโรค การบำบัดโรคมีการควบคุมการใช้ยาอย่างถูกต้องและเหมาะสม, สิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลและน้ำ และการบันทึกข้อมูล มีการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี
ขั้นตอนที่ 2 การขึ้นทะเบียนโรงงานเพื่อการส่งออกกับกรมปศุสัตว์ในขอบข่ายแมลงและผลิตภัณฑ์จากแมลง ได้การรับรองการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี และมีระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) มีการแยกกระบวนการผลิตระหว่างส่วนดิบและส่วนสุกที่ชัดเจน และสอดคล้องตามข้อกำหนดและระเบียบของประเทศคู่ค้า
ขั้นตอนที่ 3 การขอใบรับรองสุขอนามัย (Health certificate) จากกรมปศุสัตว์ มีเอกสารครบถ้วนและผ่านการตรวจสอบจากสัตวแพทย์ประจำโรงงาน เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร
ปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งออกจิ้งหรีดไปประเทศแม็กซิโก ในรูปแบบจิ้งหรีดผง จิ้งหรีดแปรรูป และจิ้งหรีดแช่แข็ง โดยกรมปศุสัตว์ อธิบายว่า การเปิดตลาดขยายการส่งออกไปกลุ่มสหภาพยุโรป สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น อยู่ระหว่างการเจรจาเปิดตลาด คาดการณ์ว่าจะสามารถส่งออกได้ภายในปลายปี 2564
การทำธุรกิจจิ้งหรีดจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับ SMEs ที่สอดรับเทรนด์อุตสาหกรรมอาหารใหม่โดย SMEs ต้องพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการผลิตและแปรรูปจิ้งหรีดให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยตลาดไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ แต่มีโอกาสส่งออกในต่างประเทศอีกด้วย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.fao.org/3/cb4094en/cb4094en.pdf
UBU Spark หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ – เพิ่มศักยภาพธุรกิจหน้าใหม่ด้วยนวัตกรรม
Start-up หน้าใหม่ไฟแรง มักมาพร้อมกับไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่แหวกแนวตลาด จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นอย่างมาก เรื่องนี้กลับกลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ Start-up หน้าใหม่ส่วนมาก ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฝัน เพราะลืมทักษะในด้านการมองตลาด หรืออาจยังมีทักษะในการมองตลาดที่ยังไม่แข็งแรง และมักทุ่มเทแรงกายแรงใจ ลงไปให้ตัวผลิตภัณฑ์เสียมากกว่า โดยไม่ได้คิดถึงในมุมของกลุ่มลูกค้าที่จะใช้งาน
.
Start-up หน้าใหม่ หัวใจ Innovation
สิ่งเหล่านี้จึงหน้าที่หลักของ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ที่จะสนับสนุน เสริมสร้าง และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงการทำธุรกิจโดยรอบด้าน และสร้างธุรกิจใหม่ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดขึ้น
ซึ่งทางหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจแห่งนี้ เปิดกว้างให้กับบุคคลทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ นักศึกษาจบใหม่ คนวัยทำงานที่มีใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือใครก็ตามที่อยากเริ่มสร้างกิจการที่มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต ต่างสามารถเข้ามาใช้บริการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจแห่งนี้ได้ทั้งหมด
ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องผลิตสินค้าต้นแบบขึ้นมาก่อน เพียงแค่มีไอเดีย ก็สามารถเข้ามาที่หน่วย ได้ทันที เพราะทางหน่วย มีทีมที่พร้อมจะร่วมมือกันช่วยพัฒนาธุรกิจใหม่เหล่านี้ ให้เติบโตขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่ คือการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในการตั้งต้นจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าก่อนเป็นสำคัญ
.
เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ
หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มีทีมงานและเครื่องมือ เครื่องใช้ ไปจนถึงห้องปฏิบัติการ ที่พร้อมรองรับไอเดียธุรกิจทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้น โดยมีบริการในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยสร้างเส้นทางให้กับบุคคลทั่วไป ที่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ซึ่งต้องมีการพัฒนาไปด้วยกันในหลายมิติ ได้แก่
เมื่อพัฒนาผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้มีพร้อมทั้ง 3 มิติแล้ว จึงจะเรียกได้ว่าเป็นบริษัท Start-up ที่เข้มแข็ง มีศักยภาพเพียงพอที่จะลงสู่สนามธุรกิจได้อย่างมีอนาคต
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
UBU Spark หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85 ถนนสถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
โทร. 097-335-3185, 045-433-456
E-mail: spark@ubu.ac.th
website : www.ubuspark.org
Facebook: UBUSPARK
Youtube: UBU Spark
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
UBU Spark - Pilot Plant – แปรรูปให้เป็นโอกาส
การจะเป็นผู้ประกอบการ SME ที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่ของเหล่าผู้ประกอบการ ก็คือความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความพร้อมในเรื่องของแหล่งผลิต โดยส่วนใหญ่นั้น ผู้ประกอบการที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าให้เติบโตไปได้ไกล มักมีปัญหาใหญ่อยู่ 2 เรื่องหลักคือ 1.โรงงานผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐานทำให้ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะเติบโตได้ และ 2. ผู้ประกอบการหลายราย มีไอเดีย มีสินค้าต้นแบบ แต่ไม่มีกำลังที่จะทำการผลิตสินค้าได้
.
ผลิตความฝันให้เกิดขึ้นได้จริง
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต้องการที่จะช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า จึงเปิด Pilot Plant หรือ หน่วยโรงงานต้นแบบด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขึ้นให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ ไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ สามารถเข้ามาใช้บริการได้
โรงงาน Pilot Plant นั้นถูกออกแบบให้มีความเอนกประสงค์มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานได้โดยสะดวก โดยมีจุดเด่นคือ การวางเครื่องจักรในรูปแบบจิ๊กซอว์ ซึ่งสามารถใช้เครื่องหนึ่งทำกระบวนการหนึ่ง แล้วสลับไปใช้อีกเครื่องหนึ่งเพื่อผลิตในกระบวนการถัด ๆไปได้ทันที โดยไม่ต้องมีลำดับ ซึ่งการผสมผสานรูปแบบการผลิตได้อย่างนี้ เอื้อให้ผู้ประกอบการ สามารถทดลองสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างอิสระ
โรงงาน Pilot Plant แบ่งการใช้งานออกเป็น 2 โรง ได้แก่
นอกจากการให้บริการด้านโรงงานผลิตต้นแบบแล้ว ยังมีการให้บริการในส่วน งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ให้ผู้ประกอบการมาเปิดห้องแล็บเล็ก ๆ เพื่อทำการวิจัย และพัฒนาสูตรอาหารประจำแบรนด์ของตัวเองให้เรียบร้อย ก่อนที่จะลงไปทำการผลิตจริงในขั้นตอนต่อไป
.
Pilot Plant มีทีมพี่เลี้ยง และทีมที่ปรึกษาที่พร้อมให้คำแนะนำในด้านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า ทั้งในมิติของมาตรฐาน และ ในมิติของต้นทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ที่ต้องการจะพัฒนาสินค้า ให้ประสบความสำเร็จไปถึงฝัน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยมีมาตรฐานสูง และมีคุณภาพที่สูงขึ้น เพื่อให้ทุก ๆ คน มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์กับตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
UBU Spark - Pilot Plant
อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
85 ถนนสถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
โทร. 097-335-3185, 045-433-456
E-mail: spark@ubu.ac.th
website : www.ubuspark.org
Facebook: UBUSPARK
Youtube: UBU Spark
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
GS1 สถาบันรหัสสากล – ยกระดับมาตรฐานสินค้าด้วยบาร์โค้ด
ในอดีตสินค้าต่าง ๆ นั้น ยังไม่มีเลขหมายกำกับ ทำให้เกิดความสับสนยุ่งยากในการสื่อสารและจัดการระบบคลังสินค้า ลองนึกดูว่าถ้ามีผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน จะสามารถบันทึกจำแนกอย่างไรให้ชัดเจน ได้อย่างง่ายที่สุด การระบุเลขหมายสินค้าในรูปแบบบาร์โค้ดจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ให้กับการเก็บข้อมูลสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเพียงแค่สแกนแถบ ไม่ต้องคอยบันทึกเลขหลายทีละหลัก ที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
.
เลขหมายมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก
เมื่อมีระบบเลขหมายเกิดขึ้น ก็ต้องมีหน่วยงานกลางที่เป็นนายทะเบียนในการออกเลขหมายประจำสินค้าให้กับผู้ประกอบการ จึงได้มีการตั้งสถาบันรหัสสากล หรือ GS1 Thailand ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานมาตรฐานที่จะดูแลเรื่องการออกรหัสบาร์โค้ดให้กับสินค้า ซึ่งมีรูปแบบดำเนินงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันใน 120 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สินค้าที่ผลิตในแต่ละประเทศมีเลขหมายกำกับสินค้าเฉพาะอย่างชัดเจน ให้สามารถส่งออกสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างเข้าใจตรงกัน
ถ้าหากผู้ประกอบการแต่ละคน ต่างคนต่างใช้เลขหมายที่ตัวเองตั้งขึ้น จะก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้ ยิ่งเมื่อนำสินค้าเข้าสู่คลังสินค้าส่วนกลาง อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า ก็อาจเกิดกรณ๊ที่เลขหมายซ้ำกันกับผู้ประกอบการเจ้าอื่น ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจบันทึกสต็อก รวมถึงจัดจำหน้ายสินค้าผิดชิ้นก็เป็นได้ จึงต้องมีการใช้เลขหมายมาตรฐานสากล ที่ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลักนั้น ซึ่งเป็นรหัสที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ประเทศที่ผลิต สถานที่ผลิต ไปจนถึงล็อตที่ผลิต สะดวกในการจัดเก็บบันทึกข้อมูลสินค้าได้อย่างแม่นยำ และ ในกรณีที่สินค้ามีความผิดพลาดก็ยังสามารถตรวจสอบกลับมาได้โดยง่าย
และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสินค้าถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ถ้าสินค้านั้นได้มีการขึ้นทะเบียนเลขหมายมาตรฐานสากลไว้อยู่แล้ว ก็สามารถใช้เลขหมายนี้ได้ทันที เพราะข้อมูลสินค้าทั้งหมดได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูลสากลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เลขหมายบาร์โค้ดนี้ยังเป็นสิ่งที่ช่วยรับรองมาตรฐานของสินค้าในระดับหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศสามารถให้ความเชื่อถือ ไว้วางใจในสินค้าได้อีกด้วย
.
บาร์โค้ดนี้มีคุณภาพ
บริการที่ทางสถาบันรหัสสากลพร้อมรองรับให้กับผู้ประกอบการ มีตั้งแต่
.
การขอรับเลขหมายบาร์โค้ดมาตรฐานสากล เรียกได้ว่าเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง เปิดประตูสู่โอกาสในการพัฒนาสินค้าให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เลขที่ 2 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 11
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. 0-2345-1000
E-mail: info@gs1th.org
Website : www.gs1th.org
Facebook: gs1thailand
Line Official: GS1 Thailand
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone