WISHARAWISH เป็น Fashion Studio หรือแบรนด์แฟชั่นของดีไซเนอร์อิสระ ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการนำเอาผ้าไทย หรือ Local Material มาตัดเย็บจนกลายมาเป็นจุดแข็งของแบรนด์อย่างทุกวันนี้ ถึงแม้ว่า WISHARAWISH จะเป็นแบรนด์เล็กๆ แต่ก็เคยสร้างชื่อเสียงระดับโลกขนาดที่ว่าเจ้าแม่แห่งวงการแฟชั่นของโลกอย่าง Lady Gaga ยังให้ทีมงานติดต่อมาเพื่อนำชุดไปใส่ออกงานมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน ทุกวันนี้คุณอู๋ - วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ก็ยังสนุกกับการได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่า Local Material มาสร้างเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น
SME One : ช่วยเล่าที่มาของ WISHARAWISH ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
วิชระวิชญ์ : WISHARAWISH เป็นแบรนด์เครื่องแต่งกายแฟชั่นที่เกิดจากความสนใจส่วนตัว โดยที่ตัวเราเองไม่ได้มีพื้นฐานด้านนี้เลย เพราะเรียนจบด้านอักษรศาสตร์ สาขาวิชาศิลปการละครมา แต่เวลาเราเห็นผลงานแฟชั่นอะไรแบบนี้ เรารู้สึกว่ามันเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ รู้สึกอยากทำก็เริ่มศึกษาด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงผันตัวเองเข้าไปสู่แวดวงอุตสาหกรรมแฟชั่น แล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ มีงานอะไรที่เกี่ยวข้องก็จะเอาตัวเองเข้าไปร่วมด้วยตลอด ทำให้ได้รู้จักกับบุคคลในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น และมีโอกาสเริ่มต้นทำงานที่บริษัท เกรฮาวด์ เป็นจุดเริ่มต้นที่ได้เข้าสู่วงการธุรกิจนี้จริงๆ
ด้วยความที่เราไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้มาก่อนอย่างที่บอก แต่โชคดีที่เราได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อด้านนี้อย่างจริงจังที่ประเทศฝรั่งเศส จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เราได้กลับมามองตัวเองว่า จุดแข็งของเราเองและจุดแข็งของแบรนด์เครื่องแต่งกายแฟชั่นของไทย นั่นก็คือบ้านเรามีวัตถุดิบค่อนข้างเยอะ ทั้งในแง่ Material ทั้งด้านศิลปหัตถกรรม งานคราฟท์ งานฝีมือต่างๆ
พอเรียนจบกลับมาเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เราเริ่มต้นทำแบรนด์ที่ใช้ผ้าไทย และวัสดุที่ผลิตในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งเป็นจุดต่างจากแบรนด์ต่างประเทศอื่นๆ แต่มันเหมือนใกล้ตัวเราเกินไปจนเราไม่เห็นความสำคัญของมัน เราเน้นการใช้ Local Material ในท้องถิ่นเป็นหลัก ถ้าไม่มีจริงๆ ถึงจะไปนำเข้าหรือค้นหาจากแหล่งอื่นๆ เราเองก็ไม่คิดมาก่อนว่าการใช้ผ้าไทยหรือ Local Material จะกลายมาเป็นจุดแข็งของแบรนด์อย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเราเริ่มต้นก่อนคนอื่นด้วย
SME One : จากการศึกษา ผ้าไทยมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ถึงไม่เป็นที่นิยมพอที่จะทำเป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้
วิชระวิชญ์ : จริงๆ มันก็พอทำได้ แต่ว่าการเข้าถึงแหล่งผ้า นึกถึงว่าแต่ก่อนโอกาสที่เราจะได้สัมผัสผ้าไทยคงจะต้องไปงานมหกรรมสินค้าเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ด้วยการสื่อสารและช่องทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการที่เป็นต้นน้ำได้โดยตรง หรือสามารถทำอะไรที่เราต้องการ เพราะการเข้าถึงมันง่ายขึ้นกว่าเดิม และด้วยความที่เราเป็นคนชอบเดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่น มันทำให้เรารู้ว่าที่ไหนมีจุดแข็งอย่างไร ภาพลักษณ์ของผ้าไทยส่วนใหญ่ควรจะติดว่ามันดูเชย หรือเหมาะสำหรับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น มันไม่ได้สามารถใส่ได้ในหลายโอกาส เราจึงเปลี่ยนจุดอ่อนตรงนี้ให้มาเป็นจุดแข็ง เพื่อที่จะปรับทัศนคติของลูกค้า ดังนั้นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอย่างมากก็คือการออกแบบผ้าไทยให้ดูร่วมสมัยและเป็นปัจจุบันที่สุด
เราเติมเต็มด้วยการใช้งานออกแบบเป็นหลัก แต่มันไม่ได้มาจากแนวคิดเราคนเดียว เราต้องคุยกับผู้ประกอบการคนอื่นๆ คู่ค้า และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเราไม่ได้ทำงานคนเดียว ดังนั้นเราต้องรับฟังความคิดเห็นของเขา และความถนัดของเขาด้วย งานถึงจะออกมาดี
SME One : ปัจจุบันนี้กลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ WISHARAWISH คือคนกลุ่มไหน
วิชระวิชญ์ : ความจริงแล้วแบรนด์ WISHARAWISH ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ เพราะเราออกแบบเพื่อให้ใช้ได้หลายโอกาส และค่อนข้างเป็นชุดที่ลำลองเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่คนที่มีอายุประมาณ 20 ปลายๆ จนถึงวัยสูงอายุเลย ไม่ได้เจาะกลุ่มไหนเป็นพิเศษ แต่เราก็พยายามที่จะเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ในแง่ของการให้คุณค่าหรือความเข้าใจ รุ่นเด็กๆ ก็อาจจะมีน้อยกว่ากลุ่มที่เขาเข้าใจและเห็นผ้าไทยมานานแล้ว คนที่เขาเห็นผ้าไทยมานานแล้ว มาเจอแบรนด์ของเราก็รู้สึกว่ามันทันสมัยแล้วก็กลายมาเป็นลูกค้าของเรา
ถามว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มเดียวกับคนที่นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนมหรือไม่ ก็ตอบว่ามีด้วย เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบ กลุ่มคนที่นิยมบริโภคสินค้าเกรดแบรนด์เนม คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ใช้แค่แบรนด์เนมอย่างเดียว แต่เขาก็บริโภคสินค้าที่เป็นท้องถิ่นด้วยเช่นกัน
SME One : ช่วงที่เราเข้ามาทำธุรกิจเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มองเห็นโอกาสของอุตสาหกรรมนี้อย่างไร
วิชระวิชญ์ : ตอนนั้นก็ถือว่าเป็นยุคที่บูมถ้าเทียบกับปัจจุบัน แต่ก่อนหน้านั้นเรามีประสบการณ์ที่สะสมมา 6-7 ปี ในแง่ของการผลิต การตลาด และช่องทางต่างๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การนำเข้าส่งออกตอนนั้นก็ยังมีน้อย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะปัจจุบันการสื่อสารและการเข้าถึงมันทำง่ายมาก
SME One : เราทำห้องเสื้อแบบสตูดิโอ ธุรกิจแบบนี้ทำยากขนาดไหน ช่วงแรกๆ เราเจอปัญหาอะไร
วิชระวิชญ์ : เรามองเห็นปัญหาตรงนั้นมาอยู่แล้ว เราจึงพยายามไม่ทำสต๊อกเยอะ ส่วนใหญ่ธุรกิจต่างๆ ปัญหาเกิดมาจากสต๊อกล้วนๆ เราก็ต้องขยันให้มากขึ้น ทันทีที่มีออเดอร์หรือมีการขายออกไปก็ต้องทำเพิ่มทันที แต่ก็จะไปหนักในกระบวนการโลจิสติกส์และในแง่การทำงานที่ต้องทำหลายรอบ เราก็พยายามทำทุกอย่างให้เจ็บตัวน้อยที่สุด
สิ่งที่ทำให้คนรู้จักแบรนด์ WISHARAWISH ก็คือการไปชนะรางวัลที่ต่างประเทศปี 2012 เราไปทำการตลาดต่างประเทศก่อน แล้วคนไทยจึงมาให้ความสำคัญ ช่วงก่อนที่จะเกิด COVID-19 เราแสดงงานอยู่ที่ Tokyo Fashion Week อยู่ 6 เดือน ตรงนั้นก็ทำให้เราต่างจาก Local Brand อื่นๆ ค่อนข้างมาก มันไม่ได้มีจุดตายตัว เราจะพยายามเป็นสเกลที่เล็กมาก เน้นสื่อสารตรงกับลูกค้าเลย ไม่ได้ผ่านคนกลาง แต่ก็มีจำหน่ายอยู่ที่ไอคอนคราฟต์ ที่ไอคอนสยาม ช่วงก่อนโควิดก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี หรือเวลามีการไลฟ์ของไอคอนสยาม ก็ยังมียอดขายเข้ามาอยู่เรื่อยๆ เพียงแค่อาจจะไม่ได้บูมเท่าตอนที่ห้างสรรพสินค้าเปิด
SME One : เวลาที่พูดถึงผ้าไทย คนไทยชอบนึกไปถึงสินค้า OTOP มองตรงนี้อย่างไร
วิชระวิชญ์ : เป็นเรื่องปกติ เราก็เข้าไปทำงานกับ OTOP ซึ่งเร็วๆ นี้ WISHARAWISH ก็จะมีผลงานที่ทำร่วมกับ OTOP ออกมาเหมือนกัน แต่เราพยายามเน้นให้มันเป็นปัจจุบันและน่าสนใจมากขึ้น คนที่รู้จักแบรนด์เรา เขาจะเห็นว่าแบรนด์ของเราทำงานกับ Local Made หรือกลุ่มที่เป็นชุมชนค่อนข้างเยอะ ไม่ได้มีความชัดเจนในแง่ตราประทับขนาดนั้น แต่เวลาที่คนนึกถึงผ้าไทยก็จะนึกถึงเราพอสมควร
สินค้า OTOP เรียกว่าเป็นขุมทรัพย์ของเราเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นแหล่งรวมที่จะทำให้เราได้เจอวัสดุที่หลากหลาย และนำมาเลือกได้ว่าอะไรที่จะเหมาะกับคอลเลคชั่นหรือแนวทางของเรา ทุกวันนี้เราก็พัฒนาตัวเองให้เข้ากับความเป็นสากลด้วย เช่น ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม หรือการใช้สีธรรมชาติเข้ามา หรือลดกระบวนการผลิตเพื่อให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น OTOP เหมือนเป็นแหล่งให้ดูว่าอะไรที่แมทช์กับเราหรือเข้ากันกับเราได้ และในปัจจุบันโอกาสที่จะได้เจองานแสดงสินค้าแบบนี้ก็มีน้อยลง เวลาที่เราจะหาข้อมูลก็สามารถสอบถามหรือหาข้อมูลจากตรงนี้ได้
SME One : ในเชิงพฤติกรรมทำไมคนไทยถึงนิยมใส่ผ้าไทยเฉพาะในโอกาสพิเศษ ความเชื่อนี้เปลี่ยนยากขนาดไหน
วิชระวิชญ์ : มันก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ส่วนใหญ่ควรจะใช้ผ้าไทยแค่ในโอกาสสำคัญๆ แต่เราพยายามปรับ Mindset ตรงนั้นว่า ถ้าไทยสามารถใส่เล่นในชีวิตประจำวันก็ได้ เอามาประดับตกแต่งหรืออะไรก็ได้ มันก็จะทำให้อุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจในชุมชนมันเคลื่อนไปได้ ผ้าไทยอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน แต่ก็จะมีฐานลูกค้าหรือกลุ่มคนที่เขาสนใจและชื่นชอบงานตรงนี้อยู่ เพราะเราจะบังคับให้ทุกคนมาชอบงานแบบนี้ทุกคนก็ไม่ได้
ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ตอนนี้คนไทยหันมาใช้ผ้าไทยมากขึ้น ถ้าจะมองไปถึงอนาคตก็ต้องมองกลุ่มนักศึกษาหรือนักเรียนที่เรียนหนังสืออยู่ 3-4 ปีที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาหลักทั่วๆ ไป หันมาสนับสนุนให้เด็กใช้วัตถุดิบที่เป็น Local Material มากขึ้น ตรงนี้ก็ช่วยให้น้องๆ รู้จักมากขึ้น และถ้าในอนาคตเขาอยากทำต่อ มันก็จะดีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเรา ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะน้อยมากที่นิสิตนักศึกษาจะมาใช้ของไทยหรือผ้าไทย ปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้น และคิดว่าอนาคตก็น่าจะไปต่อมากขึ้นด้วย
SME One : ทุกวันนี้สัดส่วนการเปิดรับของลูกค้าผู้หญิงกับผู้ชายเป็นอย่างไร
วิชระวิชญ์ : 50/50 กลุ่มตลาดเสื้อผ้าผู้ชายที่เป็นผ้าไทยมีน้อยกว่าผู้หญิงเยอะมาก แต่แบรนด์ของเราจะไม่ได้ออกแบบเสื้อผ้าผู้ชายให้ดูขรึม ส่วนใหญ่จะออกไปทางแนวสดใสมากกว่า และส่วนใหญ่การออกแบบของเราก็จะทำให้ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มลูกค้าจึงเป็นสัดส่วนครึ่งๆ
ตามปกติ แต่ละปีเราออกสินค้าประมาณ 3-4 คอลเลคชั่น และเราก็มีโปรเจคเล็กๆ น้อยๆ หรือการไป Collaboration กับชุมชนต่างๆ โดยที่ไม่ได้มีกฎตายตัว ดูว่าช่วงไหนที่คนมีความต้องการ ก็จะปล่อยออกมาเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลงานออกมาเยอะมาก
SME One : เสื้อผ้าแต่ละชิ้นที่จำหน่ายออกไป ลูกค้าเขาทราบไหมว่ามีที่มาจากไหน มีการให้รายละเอียดข้อมูลในส่วนนี้หรือไม่
วิชระวิชญ์ : เราจะให้ข้อมูลลูกค้าว่าผ้านี้มาจากที่นี่ๆ ส่วนใหญ่ลูกค้าจะถามอยู่แล้ว เราก็เทคแคร์เขาแบบค่อนข้างเป็นส่วนตัว บอกข้อดีข้อเสียและวิธีการรักษา ด้วยความที่เนื้อผ้าแต่ละที่มันค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความยูนีค ลูกค้าก็จะเข้าใจตรงนั้น และเขาจะรู้ว่างานมันไม่สามารถผลิตซ้ำได้เป๊ะๆ ทั้งหมด เพราะจุดอ่อนตรงนี้มันก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันด้วย
SME One : WISHARAWISH เคยมี Super Star หรือบุคคลสำคัญระดับโลกซื้อไปใส่บ้างหรือไม่
วิชระวิชญ์ : โชคดีที่ช่องทางออนไลน์ทำให้สินค้าเราไปได้ทุกที่เลย WISHARAWISH เคยมีคนดังอย่าง Lady Gaga ใส่ของเรา เพราะทีมงานเห็นของเราจากใน Instagram แล้วก็ติดต่อมา เราก็ส่งไปให้ใส่ที่นิวยอร์กในปี 2013 ซึ่งเป็นยุคบุกเบิกเลย
SME One : จากสถานการณ์ COVID-19 ธุรกิจของเราได้รับผลกระทบหรือไหม
วิชระวิชญ์ : แน่นอนว่าได้รับผลกระทบ เพราะทุกอย่างต้องใช้เวลามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ต่างๆ คู่ค้าและซัพพลายเออร์ก็ประสบปัญหา เราก็ย่อมได้รับผลกระทบจากตรงนั้นด้วย แต่เราก็ยังไม่หยุดเดิน ยังไปต่อ และมองหาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ทางฝั่งมาเลเซียและจีนแผ่นดินใหญ่ เราก็ผลักให้ไปใช้ประโยชน์ตรงนั้นมากกว่า
SME One : ที่ผ่านมาเคยไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานทางภาครัฐบ้างหรือไม่
วิชระวิชญ์ : มีไปเข้าร่วมบ้าง และได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ เสมอ เพราะนอกจากเราจะเป็นผู้รับ ก็ยังเป็นผู้สอนในหลายๆ หน่วยงานด้วย เราจึงใช้โอกาสตรงนั้นให้เป็นประโยชน์ โดยการสังเกตและเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่นๆ ที่หลากหลาย
อย่างที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะมีงานที่เราทำร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ที่เราเข้าร่วมกับเขาอยู่เสมอ และ TCDC ที่เปลี่ยนชื่อเป็น CEA (Creative Economy Agency) เวลาที่เขามีกิจกรรม เราก็จะไปเข้าร่วม รับฟัง และคอยติดตามความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
SME One : ถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เรามีแพลนที่จะขยายธุรกิจอย่างไรบ้าง
วิชระวิชญ์ : มันคงไม่กลับมาปกติเหมือนเดิม แต่ถ้ามันดีขึ้น เราก็คิดว่าทุกอย่างมันมีช่องทางอยู่เสมอ อาจจะมีความซบเซา แต่ว่าคนก็จำเป็นต้องใช้สินค้าอยู่ดี เราก็อาจจะเจาะลงไปเฉพาะกลุ่ม และเวลาที่จะทำอะไร ก็ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าตลาดต่างประเทศเขาก็ยังเติบโตต่อเรื่อยๆ เราก็ต้องพยายามไปตรงนั้นให้ได้ไม่มากก็น้อย ถ้าเราหยุดไป โอกาสที่จะกลับมาเริ่มใหม่มันก็ยาก เราก็พยายามเปิดประตูและใช้ช่องทางออนไลน์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะทุกวันนี้เราจะเห็นว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงตัวผู้ประกอบการได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เราก็ต้องเตรียมพร้อมในจุดนั้น แต่ก็ทำง่ายๆ ไม่ได้ลงทุนมากมายอะไรขนาดนั้น เน้นใช้ช่องทางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
SME One : เคยคิดจะขยายไปทำ Product อื่นๆ หรือไม่ เหมือนแบรนด์อื่นๆ ที่เขาเริ่มต้นจากแฟชั่นแล้วขยายไปธุรกิจอื่นๆ
วิชระวิชญ์ : มองว่าอยากจะทำอะไรที่ใช้ได้ง่าย และเอาระบบอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยให้มากยิ่งขึ้น และพยายามหาคู่ค้ามาช่วย คือเราเก่งในแง่การออกแบบ และในปัจจุบันมีโรงงานค่อนข้างเยอะที่เขารับผลิตและต้องการทำแบรนด์ตัวเอง เราก็อาจจะเป็นพาร์ทเนอร์กับเขา อย่างในจีนเราก็เข้าไปทำในส่วนของ Production ทั้งหมดกับเขา เป็นชื่อร่วม
ปัจจุบันสินค้าแฟชั่นค่อนข้างมีหลากหลาย แฟชั่นที่เป็น Niche Market เป็นชิ้นเดียวอันเดียว หรือกลุ่มที่จะเป็นแมสมากขึ้น ยังอยู่กับสินค้าที่เป็นเครื่องแต่งกาย แต่อาจจะเป็นในแง่ของฟังก์ชันมากขึ้นและเจาะจงมากขึ้น อาจจะยังไม่ถึงขั้นไปทำสินค้าประเภทอื่นๆ ยังคิดว่าไม่ใช่จังหวะที่เราจะทำตรงนั้น
SME One : WISHARAWISH เคยทำสินค้าพิเศษที่เป็น Co-branding กับแบรนด์อื่นๆ หรือไม่
วิชระวิชญ์ : เคยทำในรูปแบบของตลาดศิลปะมากกว่า เช่น ไปทำงานศิลปะออกแบบจานเซรามิค แล้วขายผ่านอาร์ตแกลอรี่ เพราะมันสอดคล้องกับทิศทางของแบรนด์มากกว่าที่จะไปวางขายในแง่ Product ที่ผ่านมาเราเคยทำกับผู้ประกอบการที่ลำปาง แต่ทำในนามของเราเอง โดยเขาเป็นคนผลิตจานเซรามิคให้ และนำไปแสดงในงาน Bangkok Design Week ปีที่ผ่านมา งานของเราก็เป็นการออกแบบจานเซรามิค Limited Edition โดยใช้กระบวนการออกแบบเดียวกับการออกแบบลายผ้า และทำออกมาเป็นจานชาม ซึ่งก็มีกระแสตอบรับกลับมาดี มีคนสนใจเยอะพอสมควรเลย หวังว่ามันจะไปต่อได้อีก
ในอนาคตก็คาดหวังว่าจะมีโอกาสทำ Co-branding ในลักษณะ B2B (Business-to-business) เช่นไปดีลกับผู้ประกอบการกลุ่ม Hospitality ทำเป็นคอลเลคชั่นโรงแรมอะไรแนวนั้น
SME One : Key Success ของแบรนด์ WISHARAWISH คืออะไร
วิชระวิชญ์ : คืองานคราฟท์ และการแปลงทุนทางวัฒนธรรมหรือ Local ให้ออกมาเป็นปัจจุบันและมีความแตกต่าง จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ของใหม่ แต่เราจับตรงนี้แล้วทำการบ้านหนักในการที่จะทำออกมาให้เป็นปัจจุบันทันสมัย จนคนเห็นคุณค่าในตรงนี้ และเราก็มองว่าเรื่องของภูมิปัญญาหรือวัฒนธรรมแบบนี้มันเป็นอะไรที่จะล้มหายตายจากไปในอนาคต แต่เราจะดึงตรงนี้ให้เข้ามาประยุกต์กับระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะมันก็มีคนให้ความสนใจตรงนี้อยู่ค่อนข้างเยอะ เพราะคนที่ต้องการความแตกต่างยังมีอยู่เยอะ
ภาพรวมของธุรกิจสิ่งทอตอนนี้ไม่ได้เหมือนสมัยก่อนแล้ว ไม่ว่าจะแบรนด์ใดก็ตาม ทุกคนมีปฏิทินชีวิตเป็นของตัวเองมากกว่า กลายเป็นว่าระบบมันเปิดให้เราเล่นได้หลากหลายมากๆ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปออกงานเทรดแฟร์เหมือนสมัยก่อนแล้ว แม้แต่บูติคเองก็ล้มหายตายจาก ทุกวันนี้เราส่งตรงถึงมือลูกค้าได้เลย หรือเรียกว่า Direct to customer มันอยู่ที่ว่าเราจะวางแผนในการดำเนินธุรกิจของเราอย่างไรให้ตรงกับจังหวะของเรามากกว่า แบรนด์ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ตอนนี้ ตารางเวลาไม่ชนกันแล้ว ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องรอให้โรงงานผลิตผ้าแล้วมาทำอย่างนั้น เพราะตอนนี้แบรนด์ก็หันไปใช้วัสดุที่มีอยู่แล้ว หรือไปทำอะไรที่ล่วงหน้าไปไกลแล้ว คือระบบเวลามันถูกทำลายไปหมดแล้วค่อนข้างเยอะ
SME One : ถ้าจะขอคำแนะนำให้กับผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่น อยากจะให้คำแนะนำอะไร
วิชระวิชญ์ : ต้องทำการบ้านให้ดีว่าจะทำอะไร สุดท้ายก็ต้องคิดเรื่องตัวเลขด้วยว่าทำแล้วจะไปยังไงต่อ เรื่องของจุดคุ้มทุนหรือกำไร จำเป็นต้องเอาความรู้ด้าน Marketing มาใช้ค่อนข้างเยอะ และในธุรกิจนี้ต้องยอมรับว่าคนทำค่อนข้างเยอะ อย่างของ WISHARAWISH จะให้ความสำคัญกับภาพของ Product ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นในงาน Visual ความงาม สำคัญมาก เพราะคนทำผ้าไทยเยอะ และควรที่จะสื่อสารหรือแสดงออกมาให้มันดูสวยงามน่าสนใจจริงๆ ต้องให้ความสำคัญกับภาพที่ออกมาค่อนข้างเยอะด้วย แม้ว่าตัวสินค้าจะดี แต่ถ้าภาพไม่ดึงดูด โอกาสที่จะไปถึงมือลูกค้าก็น้อยลง จำเป็นที่จะต้องคิดทุกกระบวนการให้จบ
เพราะท้ายที่สุดแล้ว การสื่อสารหรือการตลาดในช่องทางออนไลน์เราต้องทำให้เขาเชื่อหรือทำให้เขาอินกับสินค้าของเรา เพราะโอกาสที่เขาจะได้เห็นของจริงมันน้อยมาก เขาจะเห็นแต่ภาพเป็นอันดับแรก ถ้าเขาซื้อไปแล้วเห็นถึงคุณภาพจริงๆ ของสินค้าเรา เขาก็จะกลับมาซื้อซ้ำแน่นอน
บทสรุป
ความสำเร็จของ WISHARAWISH นั้นอยู่ที่การแปลงทุนทางวัฒนธรรมด้วยการนำเอา Material Local อย่างผ้าไทยมาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านงานคราฟท์ โดยมีการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันและมีความแตกต่าง จนผู้บริโภคมองเห็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในเส้นด้าย WISHARAWISH จึงถือเป็นแบรนด์แฟชั่นที่ยกระดับผ้าไทยร่วมสมัยไปสู่สากลได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ผลผลิตที่ได้จากอุตสาหกรรมเกษตรนั้น ถ้าหากนำมาวางขาย อาจจะทำราคาได้ไม่สูงนัก เพราะในฤดูกาลเดียวกัน ช่วงเวลาเดียว ก็มีหลายพันหลายหมื่นเกษตรกรจากทั่วประเทศนำผลผลิตออกมาจำหน่าย เมื่อสินค้าไม่แตกต่างกัน ผู้บริโภคก็จะทำการเลือกจากราคา เกิดเป็นปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ เพราะมีสินค้าล้นตลาดมากเกินความต้องการ เหล่าเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่มีสินค้าเกษตร จึงควรมองหาช่องทางสร้างโอกาสใหม่ ๆ จากผลผลิตการเกษตรให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภค
ต่อยอดให้เต็มคุณค่า ด้วยเทคโนโลยีการแปรรูป
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จึงมีความต้องการที่จะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการสินค้าเกษตร และเป็นแหล่งความรู้ ให้เห็นช่องทางการตลาด โดยมุ่งเน้นไปในด้านการสร้างโอกาสใหม่ให้ผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่โดดเด่นสามารถเรียกความสนใจให้ตลาด ยังเป็นการช่วยเก็บรักษาผลผลิตให้สามารถวางจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการให้มีเข้ามาอย่างสม่ำเสมออีกทางหนึ่งด้วย
ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการมีผลผลิตเป็นทุเรียน ถ้านำไปวางจำหน่ายเป็นผล ก็อาจจะสร้างรายได้ได้เพียง 100 - 180 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาขึ้นลงผันแปรไปตามฤดูกาล และความต้องการของตลาด ถ้าสินค้าล้นตลาดมากราคาก็ตกต่ำลง และเมื่อหมดฤดูกาลก็ไม่มีผลผลิตที่จะนำมาสร้างรายได้ต่อ แต่ถ้าลองคิดต่อยอดให้มากกว่าการขายเป็นผลไม้สด โดยน้ำเนื้อทุเรียนมาผ่านกระบวนการแปรรูปต่าง ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ก็สามารถสร้างเป็นโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดได้อย่างหลากหลาย เช่น ทำเป็นไอศกรีมได้, ไปทำครีมทาขนมปังได้, หรือนำไปทำเป็นขนมขบเคี้ยวได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่อกิโลกรัม สร้างจุดจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค แถมยังทำให้มีสินค้าให้จำหน่ายไปได้ตลอดทั้งปี
พัฒนาผู้ประกอบการ อย่างมีแบบแผน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 วางแผนงานในการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยประกอบไปด้วย 4 กลุ่มงานหลัก ได้แก่
กลุ่มงานที่ 1 คือ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนภูมิภาค มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการภายในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับวิสาหกิจชุมชน, ผู้ประกอบการ SME ในทุกภาคส่วน ซึ่งในกลุ่มยุทธศาสตร์นี้ จะทำการวางแผนงานตามโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามารับคำปรึกษา แล้วจัดทำเป็นโครงการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการนั้นต่อไป
กลุ่มงานที่ 2 คือ กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ดูแลภาคธุรกิจ SME ทั้งหมด มีหน้าที่ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำส่งเสริมภาคการผลิต เพื่อหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับกระบวนการผลิต โดยมีโครงการปรึกษาแนะนำเชิงลึกให้หลากหลายโครงการ รวมถึงมีการจัดตั้งทีมที่จะลงพื้นที่เข้าไปวิเคราะห์ความต้องการของแต่ละโรงงานจนประสบความสำเร็จ
กลุ่มงานที่ 3 คือ กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นกลุ่มที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องบุคลากรทั้งหมดผ่านกระบวนการจัดทำหลักสูตรต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, หลักสูตรกลไกสร้างสรรค์ออนไลน์สำหรับการค้าระบบออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งหลักสูรทั้งหมดนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น มีเพียงโครงการ คพอ. เท่านั้น ที่มีการอบรมถึง 21 วัน ที่จะมีการเสียค่าใช้จ่าย
กลุ่มงานที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ดูแลธุรกิจฐานรากโดยตรงตอบสนองภาคการผลิตที่มีวัตถุดิบมาก จึงต้องมีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ เป็นการสร้างโอกาสให้เกิด SME ใหม่ ๆ นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานให้เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น
เป้าหมายของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จึงเป็นการมุ่งเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ที่มีการนำผลผลิตจากในท้องที่ มาพัฒนาต่อยอดในกระบวนการผลิตให้เกิดการแปรรูป ให้เป็นช่องทางและโอกาสในการสร้างมูลค่าให้มากขึ้น จากที่เดิมอยู่โดยทั่วไปในกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ จนเกิดเป็นผลสนองตอบให้ทั้งด้านผลู้ประกอบการ SME และ วิสาหกิจชุมชน ได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตให้ถูกต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10
131 หมู่ที่ 10 ถนนเทพรัตนกวี ตาบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-200-395
E-mail: ipc10@dip.go.th
https://ipc10.dip.go.th/th
Facebook: ipc10
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
เป็นที่เข้าใจกันดีว่าอุตสาหกรรมการเกษตรคือรากฐานของสังคมไทยมาเป็นเวลานานมีการส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแต่ในทางกลับกันผู้ที่ทำอาชีพ “เกษตรกร” กลับเป็นคนกลุ่มท้ายๆที่ได้รับการเหลียวแลจากสังคมแอปพลิเคชัน “เก้าไร่” จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ให้กับคนกลุ่มนี้ด้วยการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตพร้อมทั้งเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืน
ธิติพงศ์ ศิริวัฒน์ ซีเอ็มโอ บริษัท เก้าไร่ บิซิเนสโซลูชั่นส์ จำกัด เล่าถึงที่มาของการรวมตัวเพื่อก่อตั้งบริษัทที่เกิดจากกรอบความคิดเดียวกันคือต้องการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการแก้ไข Pain Point หลักของเกษตรกรไทยซึ่งมี3ข้อด้วยกัน คือ
“หลักการทำงานของแอปพลิเคชั่นเก้าไร่ คือทำหน้าที่เป็นSmart Matching ระหว่างเกษตรกรและนักบินโดรนเพื่อให้บริการโดรนสำหรับฉีดพ่นปุ๋ยให้กับพืชพรรณทางการเกษตรรวมไปถึงการเก็บประวัติข้อมูลการฉีดพ่นที่เรียกว่า Farm Profile ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้มีผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นเพราะว่ามีการใช้สารฉีดพ่นในพื้นที่ที่แม่นยำมากขึ้นนำไปสู่ต้นทุนที่ต่ำลงและมีผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพียงแค่เปลี่ยนจากรูปแบบเดิมที่ใช้คนในการเดินฉีดพ่นมาเป็นการใช้โดรนซึ่งพบว่าปริมาณสารลดลงอย่างเห็นได้ชัดประมาณ3-4เท่าเป็นอย่างน้อยแล้วเกษตรกรก็ยังมีเวลาเหลือไปทำเกษตรส่วนอื่นได้ด้วย”
ธิติพงศ์บอกว่ารูปแบบการให้บริการมีไอเดียจากแอปพลิเคชั่นเรียกรถที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้โดยสารและคนขับซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ปรับจากผู้โดยสารมาเป็นเกษตรกรและคนขับมาเป็นนักบินโดรนแทนพร้อมทั้งออกแบบวิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่นให้ง่ายดายเพียงแค่ 3 ขั้นตอนคือ
จากนั้นก็รอนักบินกดรับงานเมื่อกดรับงานแล้วก็จะมาดำเนินการตามวันเวลาที่ได้ตกลงกันไว้โดยปัจจุบันเก้าไร่มีเกษตรกรที่อยู่ในระบบ 120 คนและมีงานที่เกิดขึ้นมากกว่า 400 งานมีนักบินในระบบประมาณ 30 คนและจากพันธมิตรอีก 7 บริษัทประมาณ 550 คน ซึ่งเมื่อเกษตรกรทำการจองนักบินโดรนจะมีการเก็บข้อมูล Data base ทุกครั้งว่าใช้บริการฉีดพ่นไปแล้วกี่ครั้งใช้สารอะไรจำนวนกี่ไร่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆกับเกษตรกรเลย
ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับนักบินโดรนทั่วประเทศได้รับงานฟรีแลนซ์ซึ่งเก้าไร่เปิดโอกาสให้เจ้าของโดรนที่จดทะเบียนถูกต้องสามารถรับงานผ่านแอปพลิเคชันได้ในแพ็กเกจที่หลากหลายเริ่มตั้งแต่จำนวนไม่กี่ไร่ไปจนถึงหลายร้อยไร่โดยมีราคาต่อไร่เริ่มต้นเพียง 70 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยาประเภทและที่ตั้งของฟาร์ม
“ตอนนี้เกษตรกรยุคใหม่หรือ Smart Farmer ให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลค่อนข้างมากเพราะฉะนั้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราที่เป็นเกษตรกรก็จะเป็น Young Smart Farmer ไม่ได้จำกัดว่าอายุเท่าไหร่แต่เป็นคนที่พร้อมเปิดใจและเรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมๆกัน” ธิติพงศ์กล่าว
แอปพลิเคชั่นเก้าไร่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี2562ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรผ่านการออกบู๊ทจัดกิจกรรมนอกสถานที่รวมถึงสร้างประสบการณ์แก่เกษตรกรด้วยการทดสอบการบินโดรนพ่นยาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการเปิดใจรับเทคโนโลยีเพื่อมายกระดับคุณภาพชีวิตและผลผลิตให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
จนกระทั่งเกิดสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2563 ทำให้เก้าไร่ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่จากการจัดบูธเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเหล่าเกษตรกรมาใช้ Social Marketing ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแทนด้วยการสื่อสารและให้ความรู้เพื่อกำจัดความคิดที่ว่านวัตกรรมกับเทคโนโลยีเป็นของแพงและเข้าถึงได้ยากมาเป็นสิ่งที่ราคาจับต้องได้และเข้าถึงได้ง่ายพร้อมทั้งเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าการใช้โดรนบินพ่นยาใช้เวลาน้อยกว่าการใช้คนเดินฉีดพ่นรวมทั้งให้ผลผลิตที่มากกว่า
“นอกจากการทำSocial Marketing แล้วเรายังได้เข้าร่วมกับโครงการต่างๆเช่น ‘โครงการนวัตกรรมแห่งชาติ’ที่จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้ประกอบการรวมทั้งสนับสนุนเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจและช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆของNIA โดยเก้าไร่ได้เป็น1ใน15สตาร์ทอัพด้านการเกษตรอันดับต้นๆของประเทศไทยที่มีเทคโนโลยีพร้อมใช้งานจึงทำให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น”
ธิติพงศ์ เผยว่าเป้าหมายในอนาคตของเก้าไร่ไม่ได้หยุดแค่เพียงการเป็นแอปพลิเคชั่นบินโดรนเพื่อการเกษตรเท่านั้นแต่จะเป็นแพลทฟอร์มที่เกษตรกรทุกคนใช้เพื่อบริหารจัดการฟาร์ม หรือ Corp Management ซึ่งเป็นการบริหารจัดการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตั้งแต่วางแผนการเพาะปลูกที่แม่นยำรวมถึ ง Drone Management ทั้งโดรนการเกษตรและโดรนสำรวจแล้วก็เป็น Market Place สำหรับสินค้าเกษตรให้บริการด้านไฟแนนซ์และการใช้ประโยชน์จาก Big Data เพื่อเป็น One Stop Service ให้กับเกษตรกรทั้งรายใหญ่และรายย่อย
สำหรับเกษตรกที่สนใจจ้างนักบินโดรน ไปที่ https://gaorai.io/main/farmer มี 3 ขั้นตอนคือ
ส่วนนักบินโดรนที่ต้องการหางาน ไปสร้างประวัติได้ที่ https://gaorai.io/main/pilot
ทั้งนี้ค่าบริการระหว่างเกษตรกรและนักบินโดรนจะเริ่มต้นที่ราคาไร่ละ 70 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำยาประเภทและที่ตั้งของฟาร์ม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 – ร่วมมือกันผลักดันธุรกิจให้เติบโต
การแข่งขันในโลกธุรกิจนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศหรือจะเป็นเศรษฐกิจระดับโลกก็ตาม ถ้าหากผู้ประกอบการนั้นไม่รู้จักที่จะเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ความเข้าใจในช่องทางการตลาดใหม่ ๆ หรือไม่สามารถปรับตัวให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตรวมถึงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ทันโลกทันสมัย ย่อมไม่สามารถสร้างความเข้มแข็ง และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถที่จะแข่งขันให้อยู่รอดในตลาดโลกนี้ได้
.
เสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง
ในยุคปัจจุบันแค่มีแนวคิดไอเดียสำหรับสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นอาจยังไม่เพียงพอ ต้องรู้จักการเพิ่มเติมความรู้ทั้งในด้านของการหาช่องทางการตลาดที่นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเชื่อมต่อกิจการให้ไปถึงมือผู้บริโภคได้ รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีประยุกต์ใช้สร้างกระบวนการผลิตให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยขยายขีดความสามารถให้กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทั้งในด้านการแปรรูปให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคทั้งในระดับประเทศและในระดับตลาดการค้าสากล
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 จึงได้มีการเข้ามาช่วยกำหนดภารกิจที่จะเสริมสร้าง ประคับประคอง และผลักดันผู้ประกอบการ SME ภายในพื้นที่ 4 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และ อำนาจเจริญ ผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการได้เพิ่มศักยภาพการผลิตจนสามารถสร้างธุรกิจที่จะมีความเข้มแข็งขึ้นได้
ทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 นั้น มีความพร้อมที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์จากอะไร ไปจนถึงผู้ประกอบการที่เริ่มดำเนินกิจการไปแล้วแต่มองหาช่องทางโอกาสที่จะอยู่รอดหรือไปต่ออย่างไรได้ ให้ผ่านสภาวะปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อก้าวไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง
จึงมีบริการที่ตอบโจทย์กับผู้ประกอบการ ดังนี้
บริการให้คำปรึกษา จุดเริ่มต้นหลักที่ทางศูนย์ต้องการมุ่งเน้นเสริมสร้างให้กับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนก็คือ เรื่องการสร้างมาตรฐานในการทำธุรกิจ สิ่งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งในการเปิดโอกาสเข้าสู่ช่องทางการตลาดที่มากขึ้น การจะสร้างธุรกิจให้มีมาตรฐานได้ ต้องอาศัยประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ให้มีคุณภาพ รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนให้ลดน้อยลง ทำการตลาดให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างเป็นผลกำไรที่สูงขึ้น
การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ เพราะการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จะช่วยให้ทุกธุรกิจเกิดความเข้มแข็งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในส่วนของศูนย์อุตสาหกรรม และในส่วนของผู้ประกอบการ ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มอยู่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายธรรมดา หรือว่าจะเป็นการรวมกลุ่มทางด้านอุตสาหกรรมที่มีทั้งผู้ผลิตต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เข้ามารวมกัน ทั้งนี้ได้มีการจัดโปรแกรมที่ช่วยดูแลสนับสนุน มีเครือข่ายเป็นทีมที่ปรึกษา ที่พร้อมไปให้บริการในสถานประกอบการทั้งในเรื่องการดำเนินกิจการ หรือจะเป็นเรื่องปัญหาอุปสรรค ตามโจทย์ความต้องการที่เกิดขึ้น
การพัฒนาผู้ประกอบการ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานร่วมต่าง ๆ ในการเอาผลงานวิจัย หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ การพัฒนาทางด้านคุณภาพวัตถุดิบ ไปจนถึงปัจจัยการผลิตต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญในการใช้นวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ในกระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในโลกธุรกิจสมัยใหม่มากขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดที่กว้างใหญ่ได้มากขึ้นและไปได้ไกลขึ้น
.
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 7 มีความพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มคิด ให้มาคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน พัฒนาร่วมกัน จนสุดท้ายไปถึงผลสำเร็จด้วยกัน โดยมีความมุ่งหวังที่จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการ ปรับให้ได้ เปลี่ยนให้ไว แล้วก็ไปให้เร็ว มองเห็นอนาคตว่าทิศทางเศรษฐกิจ ทิศทางทางการทำธุรกิจ จะปรับ จะเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ และนำพาธุรกิจให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง อยู่รอดในทุกสถานการณ์
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
เลขที่ 222 หมู่ 24 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทร. 045314216
E-mail: ipc7@dip.go.th
Website : https://ipc7.dip.go.th
Facebook: dip.ipc7
Youtube: DIProm Station
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
หากพูดถึง “Upcycling” ในเมืองไทยคงพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่ต่อยอดมาจากการ “Recycle” ซึ่งในช่วงสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีความพยายามในการสร้างการตระหนักรู้เรื่องของการนำขยะมาเปลี่ยนให้เป็นทอง หรือให้คนมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่ใช้แล้วเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยจากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยจนทรัพยากรเริ่มหมดไป ปัญหาขยะล้นโลก นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อโลกและมนุษย์
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่ผลักดันเรื่องของ Upcycling ในเมืองไทยให้เดินทางมาไกลจากจุดเริ่มต้น พูดถึงภาพรวมของ Upcycling ไว้น่าสนใจว่า
“ภาพรวมของธุรกิจ Upcycling ในตอนนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากปัจจัยหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐเริ่มให้การสนับสนุนจนกลายเป็นแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งหมายถึง Bio-Circular-Green ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้มีคนเข้ามาในบริบทนี้ มีเด็กรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการใหม่ๆเข้ามามากขึ้น องค์กรใหญ่เริ่มหันมาสนใจและดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง สร้างให้เกิด Upcycling Initiative เพิ่ม ซึ่งผมมองว่าการที่ธุรกิจนี้จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆนโยบายของภาครัฐรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
ศูนย์ RISC ถือเป็นหนึ่งหน่วยงานวิจัยของบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MQDC ที่ช่วยผลักดันแนวคิดให้เกิดการผสานการใช้วัสดุ Upcycle โดยมีการจับมือกับพันธมิตร Upcycling ในการนำวัสดุที่ใช้แล้วไปพัฒนาเป็นองค์ประกอบอาคารส่วนต่างๆ ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งภายในอาคารจนถึงภายนอกอาคาร ตั้งแต่ผนัง หลังคา วัสดุปิดผิว เฟอร์นิเจอร์ ถนน ทางเดินเท้า และส่วนตกแต่งพื้นที่สีเขียวของโครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมาย “เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน” หรือ Circular Economy การนำผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำเพื่อทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ตามพันธกิจของ MQDC ที่ว่า ‘for all well-being’ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสรรพสิ่งบนโลก
“ที่ RISC เราเป็นศูนย์วิจัยที่เกี่ยวกับวัสดุ โดยเราจะเน้นวัสดุ Upcycling เป็นหลัก เรามี ห้องสมุด Well-being Material ที่เรารวบรวมวัสดุที่เกี่ยวกับสุขภาวะ เกี่ยวกับ Green มารวมเอาไว้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและเราจะมีการเชิญ Architect,Engineer,Developer ต่างๆเข้ามาเรื่อยๆเพื่อให้พวกเขาเหล่านี้สามารถมาสั่งซื้อวัสดุเหล่านี้ตรงกับผู้ผลิต หากเรามองเห็นว่าวัสดุตัวไหนน่าสนใจมากๆ เราก็จะมีการคุยตรงเพื่อนำไปใช้กับโครงการต่างๆของ MQDC เช่น Whizdom หรือ โครงการ The Forestias เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีรายได้และต่อยอดการเติบโตของธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ผู้ผลิตยังสามารถเข้ามาใช้ห้องแลปหรือมาปรึกษากับเราได้ เราจะช่วยคอมเมนต์ หาฟันดิ้ง รวมถึงลูกค้าให้กับเขา”
ในฐานะหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC รศ.ดร. สิงห์ มองว่าการที่ผู้ประกอบการซึ่งสนใจเรื่องของ Upcycling จะเข้ามาในธุรกิจนี้มีเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจอยู่ 2-3 เรื่อง
“ถ้าเรารู้ตรงนี้เราจะประเมินได้ว่าวัสดุที่เราจะใช้เพียงพอสำหรับทำธุรกิจหรือเปล่า อย่างตอนที่ผมทำโอซิซุเราเน้นไปที่ขยะซึ่งมาจากการก่อสร้างนั่นหมายความว่าผมรู้ว่า Supply Chain ของผมมีค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นการ Identify ได้ว่าแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมา Upcycling มีมากแค่ไหน ตรงนี้สำคัญมากไม่อย่างนั้นจะเป็นการทำธุรกิจไปแล้วผ่านไปไม่นานวัตถุดิบหมดมันก็ไปต่อไม่ได้”
นอกจากนี้ รศ.ดร. สิงห์ ยังเสริมว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการ Upcycling ควรทำนอกจากการรู้ว่าวัตถุดิบของตนมีมากน้อยแค่ไหน คัดแยกได้หรือไม่แล้ว ทีมงานต้องรู้จุดแข็งของตัวเองว่าเราถนัดทางด้านไหน
“ถ้าเราเก่งเรื่องดีไซน์เราก็ออกแบบสินค้าของเราเอง แต่ถ้าเราไม่เก่งอาจจะใช้เรื่องของ IT เข้ามาช่วยเป็นตัวกลางแบบที่ผู้ประกอบการอย่าง More loop ซึ่งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเป็นตัวกลางในการเทรดผ้าเหลือใช้จากอุตสาหกรรมทำ คือส่งไปขายมา นอกจากนั้นควรหาตลาดที่แน่นอนที่เราสามารถผูกปิ่นโตกันในระยะยาวได้ ธุรกิจ Upcycle ในเมืองไทยทิศทางจะเป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากประเทศเราเล็กเกินไปสำหรับธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการจึงต้องมองเป้าหมายในระดับโกลบอล พยายามหาเซกเตอร์ที่ใหญ่ เช่น อาหาร ธุรกิจก่อสร้าง แต่ต้องอย่าลืมมองเรื่องของกำลังการผลิตของเราเพราะถ้าออกสู่ตลาดโกลบอลกำลังซื้อจะมากกว่าเดิม กำลังการผลิตของเราต้องพร้อม”
แม้การเดินทางของธุรกิจ Upcycling ในไทยจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เราก็พอมองเห็นว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายรายเริ่มให้ความสนใจและเห็นโอกาสในธุรกิจนี้มากขึ้น ประกอบการภาครัฐเองเริ่มให้ความสำคัญและสนับสนุนตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG ดังนั้นหากรัฐสามารถสร้าง Ecosystem ให้เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ประกอบการและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ธุรกิจ Upcycling จึงเป็นเทรนด์ทางธุรกิจที่ SMEs ควรให้ความสนใจ ทั้งผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับ BCG โดยตรงและทางอ้อม รวมถึงผู้ประกอบการทั่วไป เพราะในอนาคตเทรนด์ดังกล่าวจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย