หอการค้าไทย ชู 2 มาตรการ ฟื้น SMEs อย่างยั่งยืน

อย่างที่ทราบดีว่าธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีสมาชิกทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งหอการค้าฯได้เร่งผลักดันมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งมาตรการระยะนั้น และระยะยาวที่จะช่วยฟื้นฟูธุรกิจอย่างยั่งยืน

นายสนั่น อังอุบลกุลประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนหอการค้าฯได้เข้าหารือกับสถาบันทางการเงิน 6 แห่งทั้งธนาคารกสิกรไทยธนาคารกรุงเทพธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารเกียรตินาคินภัทรธนาคารทีเอ็มบีธนชาตและธนาคารกรุงไทยรวมถึงก... ซึ่งได้มีการรวบรวมความเห็นของผู้ประกอบการทั้งข้อเสนอและปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยได้ทำเป็นบทสรุปนำเสนอถึงข้อจำกัดของมาตรการในปัจจุบันอาทิมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ผ่านมาตราการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) มาตรการพักทรัพย์พักหนี้

รวมทั้งได้ขอขยายมาตรการให้ครอบคลุมถึงเงินใหม่ที่ให้เพิ่มเพื่อนำมาหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องหลักเกณฑ์การตีราคามูลค่าทรัพย์สินการลดเงื่อนไขและข้อจำกัดของการตีโอนทรัพย์เพื่อพักทรัพย์พักหนี้จะทำให้กลไกตลาดทำงานและการเจรจาตกลงได้พร้อมทั้งการให้กลุ่มลูกหนี้เดิมสามารถนำหลักทรัพย์ใหม่ๆเข้ามาเป็นหลักประกันได้เช่นที่ดินและให้ขอลดค่าธรรมเนียมการค้าประกันของบสย. เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินได้สะดวกมากขึ้น

หอการค้าฯได้เสนอให้ภาครัฐผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อให้สถาบันทางการเงินสามารถใช้ดุลพินิจในการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นโดยสถาบันทางการเงินจะมีกฎเกณฑ์พื้นฐานในการให้สินเชื่อซึ่งจะพิจารณาจากหลายมิติไม่ใช่พิจารณาจากเครดิตบูโรเพียงอย่างเดียวการปลดล็อกเรื่องเครดิตบูโรหรือ NPL จะทำให้ SME อีกจำนวนมากได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดนี้ยิ่งต้องมีการดูแลผ่อนผันเพื่อให้สถานการณ์ฟื้นตัวโดยเร็ว นายสนั่นกล่าว

นอกจากนี้ หอการค้าฯได้นำทีมผู้บริหารเข้าพบ นายสุพัฒนพงษ์พันธ์มีเชาว์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆอาทิดร.ทศพรศิริสัมพันธ์ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเลขาธิการสภาพัฒน์ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งได้ฟังข้อเสนอของหอการค้าไทยแล้วมีการมอบหมายให้กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยได้ไปหารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อหาข้อสรุปในการดาเนินการเพิ่มเติมและพิจารณาลูกค้ากลุ่มที่ยังไม่เข้าถึงแหล่งเงินทุนเช่นผู้ประกอบการโรงแรมที่พักซึ่งยังไม่มีใบอนุญาตและประสบปัญหาจากสถานการณ์โรคระบาดเป็นต้นรวมถึงให้หาแนวทางนำเครื่องมือทางการเงินอื่นมาช่วยผู้ประกอบการร่วมกัน

สำหรับข้อเสนอของหอการค้าไทยได้เร่งดำเนินการเป็น 2 ส่วนดังนี้

มาตรการที่ 1 การเร่งเยียวยาและเสริมสภาพคล่องตามมาตรการภาครัฐไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์พักหนี้และมาตรการอื่น

1) เร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆจากการพบกับผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์และรับฟังความเห็นจากผู้ประกอบการหลายรายทั้งจากหอการค้าจังหวัดและสมาคมการค้าพบว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการรวมถึงมาตรการผ่อนผันหลายมาตรการแต่เนื่องด้วยเข้าไม่ถึงผู้ประกอบการและการสื่อสารไม่ทั่วถึงโดยหอการค้าไทยจะช่วย Connect the Dots เชื่อมให้ผู้ประกอบการและธนาคารได้สามารถสื่อสารและเชื่อมมาตรการระหว่างกันได้

2) พิจารณาการให้สินเชื่อ Soft loan โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อที่ใช้ใบสั่งซื้อหรือใบรับสินค้าเป็นหลักประกันให้ปล่อยสินเชื่อให้ SMEs ผ่านผู้ประกอบการค้าปลีกโดยตรงซึ่งจัดทำโครงการ Sand Box เชื่อมโยงข้อมูล SMEs ที่เป็นคู่ค้ากับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ (Digital Factoring Platform) โดยโมเดลนี้เริ่มจากกลุ่ม SMEs ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีกนำโดยทางเซ็นทรัลและธนาคารกสิกรไทยซึ่งจะใช้ข้อมูลจากกลุ่มค้าปลีกมาพิจารณาสินเชื่อให้กับ SMEs 

3) สนับสนุนผ่อนคลายกฎระเบียบให้สถาบันการเงินมีอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการช่วยเหลือลูกหนี้มากขึ้นเกิดการแข่งขันตามกลไกตลาดรวมถึงการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางประการที่ทำให้ SMEs ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยากลำบากในขณะนี้ยกตัวอย่างประเด็นข้อมูลเครดิตบูโรที่เป็นกำแพงสำคัญของ SMEs ในส่วนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ชี้แจงและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อโดยใช้ดุลยพินิจของธนาคารมากขึ้นรวมถึงประกาศจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตที่มีการผ่อนปรนลูกหนี้ที่มีปัญหาในสถานการณ์ COVID–19 ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดการเสียประวัติก็จะช่วยเสริมให้ SMEs ลดความกังวลและยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

4) สนับสนุนมาตรการภาครัฐเติมเงินกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเพื่อให้คนมาใช้จ่ายกับ SME มากขึ้นจำเป็นต้องเติมเงินเข้าโครงการคนละครึ่งจาก 3,000 บาทเป็น 6,000 บาทส่วนมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่มีการใช้ที่ยุ่งยากและเงื่อนไขการใช้จ่ายก็จากัดไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก็ได้มีการเสนอให้ปรับเงื่อนไขใหม่หรือเสนอโครงการใหม่ในรูปแบบเดียวกับช๊อปดีมีคืนคือให้สามารถใช้จ่ายได้ทั้งก้อนและนำใบเสร็จในการซื้อสินค้าไปลดหย่อนภาษีปลายปีได้จะกระตุ้นทาให้คนมีฐานะเข้ามาใช้โครงการมากขึ้น

มาตรการที่ 2 วางรากฐานระยะยาวเพื่อการกลับมาประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน

1) หอการค้าไทยร่วมมือกับเครือข่ายวางโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เชื่อมและแชร์ระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SME ลดความซับซ้อนของข้อมูลเพื่อให้สถาบันการเงินใช้เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาให้สินเชื่อเงินกู้

2) ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านระบบ e-Factoring เพื่อให้ SMEs ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างรวดเร็วการจัดทำ Digital Supply chain Finance โดยร่วมกับสมาคมธนาคารไทยธนาคารสมาชิกและบริษัท ITMX เพื่อให้ SMEs ที่ขายของให้กับผู้ซื้อรายใหญ่เข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบ Post shipment financing นำระบบ e factoring มาใช้เพื่อให้เกิดความเชื่อมันว่าไม่เกิดการปลอมแปลงและใช้ข้อมูลซ้าซ้อนซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการน่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4 นี้

3) Ease of doing business การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจซึ่งได้มีการระดมความเห็นจากผู้ประกอบการเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนา Sandbox ช่วย SMEs เข้าถึงแหล่งทุน

อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงและกระทบกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กหลายระลอกหากไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือหรือเยียวยาอย่างตรงจุดจะทำให้ SMEs หายไปจากระบบเศรษฐกิจหลายแสนรายดังนั้นจากโจทย์ที่ต้องการจะช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้หอการค้าไทยและสมาคมผู้ค้าปลีกไทยจึงได้ร่วมกันจัดโครงการ Sand Box ดังกล่าวขึ้น

โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของหอการค้าได้สร้าง Digital Factoring Platform โดยสมาคมค้าปลีกไทยเชื่อมโยงข้อมูลให้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งของภาครัฐและเอกชนข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเนื่องจากคู่ค้าของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ส่งข้อมูลให้มีการคัดกรองและพิจารณาประวัติการซื้อขายร่วมกันมาเบื้องต้นแล้วจึงทาให้ธนาคารสามารถพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้เร็วขึ้น

รวมถึงใช้เกณฑ์การพิจารณาเครดิตของห้างค้าปลีกเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยจะทำให้ SMEs สามารถได้รับเงินที่เร็วขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้นซึ่งจากการดาเนินการที่ผ่านมา SAND BOX กลุ่มธุรกิจอาหารและค้าปลีกของ CRC ร่วมกับ KBANK ได้มีการนา SMEs ที่เข้าโครงการนี้และได้สินเชื่อไปกว่า 10,000 รายโดยกว่า 70% ไม่เคยเข้าถึง Soft Loan เลยซึ่งทำให้ SMEs ได้สินเชื่อมาเติมสภาพคล่องเพื่อสามารถดาเนินธุรกิจต่อไปได้

“จากผลสำเร็จนี้ทาให้หอการค้าฯตั้งเป้าหมายที่จะขยายผลไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆในการปล่อย Soft Loan ให้กับ SMEs ทั่วประเทศจานวน 500,000 รายภายในสิ้นปีนี้โดยจะขยายผลไปยังธุรกิจอื่นรวมถึงรายย่อยด้วยโดยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งของธนาคารและสสว. ถือเป็นโครงการในลักษณะพี่ช่วยน้องเพื่อทำให้ภาคธุรกิจยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้” นายสนั่นระบุ

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยใช้แนวคิดในการทำงานด้วยการเชื่อมโยงหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่าง Connect the Dots ดังนั้นแต่ละภารกิจงานจะขับเคลื่อนตามความชำนาญของแต่ละส่วนและถูกนามาเชื่อมโยงกันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทั้งนี้เครื่องมือที่สาคัญที่เรานามาใช้คือเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาการดำเนินงานทุกอย่างต้องอาศัยความรวดเร็วแม่นยำและถูกต้องหอการค้าไทยจึงให้ความสาคัญกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ Transformation แนวทางการช่วยเหลือและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้หอการค้าไทยยังได้ร่วมกับสสว. ในความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลในระบบ SMEs Big Data ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สำคัญในการพัฒนาและเสริมศักยภาพของ SMEs ไทยซึ่งจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลของ SMEs และนำไปพัฒนาตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลภาคการพาณิชย์การค้าการบริการและการผลิตรวมถึงการพัฒนาระบบ Data Service ร่วมกันเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการดาเนินธุรกิจอาทิระบบประเมินสมรรถนะธุรกิจ (Benchmark) ระบบข้อมูลเตือนภัยทางธุรกิจ (Data warning) ข้อมูลพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจ (Data Prediction) เป็นต้นนับเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

บทความแนะนำ

J Shop Live Station บริการรูปแบบใหม่ นวัตกรรมที่จะทำให้การ “ไลฟ์สด” กลายเป็นเรื่องง่าย

ในยุคที่ Social Commerce ซึ่งเป็น e-Commerce ในรูปแบบหนึ่งกำลังขยายตัว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Commerce ได้กลายเป็นโลกธุรกิจใบใหม่ที่ผู้ขายและผู้ซื้อต่างให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ต่อยอดมาจาก Social Media เช่น Facebook, Instagram หรือ Line เพราะเป็นการสื่อสารยุคใหม่ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างยอดขายให้กับธุรกิจที่อาศัยการทำตลาดในช่องทางนี้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย    

โดยเฉพาะกับ Facebook มีฟีเจอร์ Facebook Live ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นลูกเล่นใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งาน และถูกนำมาต่อยอดเป็นเครื่องมือสนับสนุนการขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการขายสินค้าผ่านการ Live หรือ “ไลฟ์สด” ที่ทำให้ผู้ขายสามารถถ่ายทอดสดการพูดคุย หรือการขายสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งผู้ติดตามเพจ หรือคนที่เป็นเพื่อน สามารถเข้ามาทักทาย หรือสร้างการมีส่วนร่วมไปกับการถ่ายทอดสดครั้งนั้นได้แบบทันทีเช่นกัน

แต่การขายของผ่านการไลฟ์สด ที่จะประสบความสำเร็จจนสามารถสร้างยอดขายได้เป็นจำนวนมากๆ นั้น ยังต้องอาศัยปัจจัยเอื้อในอีกหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของเทคนิค หรือระบบการจัดการที่เป็นงานหลังบ้าน เพราะในยุคที่ Facebook ยังมีการปิดการมองเห็นข้อความในคอมเมนท์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ทำให้ออเดอร์ตกหล่น หรือมีข้อความค้างอยู่ในแชทโดยที่ผู้ขายไม่รู้ตัว รวมถึงในเรื่องของการเชื่อมโยงกับระบบการชำระเงิน การแจ้งเตือนต่างๆ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดส่งสินค้า ก็อาจเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่หากจัดการไม่ทันกับจำนวนการสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น เมื่อการไลฟ์สดยังสามารถตอบโจทย์เรื่องการสร้างยอดขายได้ดี แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ขายจำนวนมากที่ขาดความรู้ในเชิงเทคนิค และไม่สามารถเข้าถึงระบบการจัดการที่ดีได้ วันนี้จึงเกิดธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาเติมเต็ม หรือรองรับกับความต้องการในเรื่องดังกล่าว ผ่านรูปแบบบริการแพลตฟอร์มการไลฟ์สด รวมถึงการให้บริการเช่าพื้นที่เพื่อการทำไลฟ์สด ที่เปรียบเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสดในการจำหน่ายสินค้าแบบเรียลไทม์

J Shop Live Station คือ ธุรกิจบริการที่ต่อยอดมาจากธุรกิจขายเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์บนหน้า Facebook Page ที่มีชื่อว่า J Shop Thailand Live ไลฟ์สดแฟชั่นสุดฮิต แม้ว่าเพิ่งก่อตั้งมาเพียงไม่กี่ปีแต่สามารถสร้างยอดขายทะลุหลักร้อยล้านบาทไปแล้ว โดยในปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จด้วยยอดขายกว่า 200 ล้านบาท และมีประมาณการส่งของมากกว่า 5,000 – 10,000 ห่อต่อวัน จากการขายสินค้าผ่านไลฟ์สดเพียง 2 - 4 ชั่วโมงต่อวัน 

สิ่งที่น่าสนใจ คือ ทาง J Shop Thailand Live ได้พัฒนาระบบการจัดการงานหลังบ้านทั้งหมดขึ้นมาเอง และด้วยความสำเร็จที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก ทั้งในกลุ่มญาติมิตร และลูกค้าประจำที่เข้าชม Live ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีการขายสินค้าในช่องทางต่างๆ อยู่ด้วยเช่นกัน

ฐปนรรฆ์ชัย วัฒนะชัยกูล Chairman&CEO, J Shop Thailand กล่าวว่า J Shop Live Station เป็นโมเดลที่พัฒนาต่อยอดจากร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์บน Facebook ที่ตนเอง และภรรยาก่อตั้งขึ้นมา และสามารถสร้างยอดขายได้ดีจากการใช้เทคนิคการ Live ทำให้มีผู้สนใจ และอยากลอง Live ขายสินค้าที่มีอยู่บ้าง แต่ยังขาดความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ และขาดความรู้ในเชิงเทคนิค รวมถึงระบบบริหารจัดการต่างๆ ที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับมือใหม่

“เราจึงมองเห็นโอกาสทางการตลาดของการไลฟ์สดที่ยังเติบโต และเกิดไอเดียในการสร้างตัวสถานี บวก Fulfillment เพื่อทำหน้าที่เหมือนห้องถ่ายทอดสด เรามีระบบที่จะมาช่วยจัดการในเรื่องของการตอบแชท รวมถึงการจัดการงานต่างๆ เช่น การชำระค่าสินค้า การแพ็คสินค้า ไปจนถึงการดีลกับบริษัทขนส่งต่างๆ ซึ่งการในดีลในจำนวนมากๆ จะทำให้ได้อัตราค่าจัดส่งที่ถูกลงไปอีก ส่งผลให้ต้นทุนการทำไลฟ์สดในแต่ละครั้งลดต่ำลง โดยการพัฒนาแพลตฟอร์ตเป็นการต่อยอดจากแพลตฟอร์มที่เราพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เอง เมื่อมีคนสนใจเราก็มาวิเคราะห์ดูกลุ่มลูกค้าว่า มีธุรกิจขนาดไหนบ้างโดยดูจากยอดขาย และสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพื่อกำหนดรูปแบบแพ็คเกจการใช้งาน มีตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ไปจนถึงระดับธุรกิจที่มีความแตกต่างในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ” 

ปัจจุบัน J Shop Live Station มีพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นสถานีถ่ายทอดสดจำนวน 3 ห้อง ในช่วงเริ่มต้นเป็นการทดลองการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนใกล้ตัว ต่อมาได้ขยายไปสู่กลุ่มลูกค้า และคู่ค้าต่างๆ โดยเตรียมขยายจำนวนเพิ่มเป็น 5 ห้อง พร้อมวางแผนก่อสร้างอาคารสูง 6 ชั้น หลังใหม่ เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการของ J Shop Live Station หากแล้วเสร็จจะทำให้มีจำนวนสถานีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10 - 12 ห้อง ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย มีทั้งห้องขนาดเล็ก ขนาดกลาง ห้องแบบปิดที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสามารถสร้างธีมแบบที่ต้องการได้ รวมถึงห้องแบบเปิดโล่งเพื่อสร้างบรรยากาศสบายๆ มีความคล่องตัว เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น 

โดย J Shop Live Station สามารถเชื่อมต่อได้กับ Facebook และ Instagram ซึ่งการใช้บริการจะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 3,999 บาท และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติมผันแปรตามจำนวนออเดอร์ เฉลี่ยที่ 23 บาทต่อออเดอร์ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม การใช้สถานที่ การจัดการแชท การแพ็คกิ้ง+คลังสินค้า รวมไปถึงค่าวัสดุอุปกรณ์การแพ็ค และการจัดส่งสินค้า 

J Shop Live Platform เป็นอีกหนึ่งบริการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการขายของผ่านการไลฟ์สดของลูกค้า ซึ่งเป็นบริการในรูปแบบแพลตฟอร์มที่ลูกค้าสามารถใช้งานระบบการทำไลฟ์สดได้ด้วยตนเอง โดยมีเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนตามระดับการใช้งาน ได้แก่ ระดับ Starter ราคา 999 บาทต่อเดือน (จำกัด 2,000 ทรานแซกชั่นส์) และระดับ Business ราคา 2,999 บาทต่อเดือน (ไม่จำกัดทรานแซกชั่นส์) และมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 2,999 บาท สามารถใช้แพลตฟอร์มฟรี 1 เดือน ฟรีการพิมพ์เอกสาร 250 หน้า และฟรีแพ็คกิ้ง 250 แพ็ค 

“J Shop Live Platform จะเหมาะกับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด โดยวิธีการใช้จะมีการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นมา เมื่อเริ่มขาย และมีการใส่รหัสตัวเลขที่เป็นราคาขายสินค้าตัวนั้นๆ รหัสก็จะไปตรงกับในระบบที่บันทึกไว้ ระบบก็จะเริ่มดูดข้อมูลการสั่งซื้อมาเก็บไว้ว่า ก่อนทำตลาดมีการสำรวจความคิดเห็น พบว่าลูกค้าจำนวนมากให้ความสนใจ วันนี้ลูกค้าของเราอาจจะเริ่มจากการเป็น Starter เมื่อขายได้มากขึ้นก็จะมีการขยับขึ้นเป็นไซส์ M และ L อย่างแน่นอน”

ฐปนรรฆ์ชัย กล่าวเสริมว่า จุดเด่นของ J Shop Live Platform คือ 1)ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ด้วยการใช้ตัวเลขราคาแทนรหัสสินค้า ทำให้เข้าใจง่ายใช้งานสะดวก โดยลูกค้าที่สนใจจองสินค้าในไลฟ์เพียงแค่พิมพ์ตัวเลขที่เป็นราคาของสินค้าชิ้นนั้นๆ ระบบก็จะดึงคอมเมนท์ไปรวมไว้กับรายการสินค้าชิ้นนั้น ซึ่งการตั้งรหัสด้วยราคาสินค้าสามารถตั้งซ้ำกันได้ เนื่องจากในช่วงการไลฟ์ระบบจะมีการเปิด-ปิดออเดอร์เป็นช่วงๆ และ 2) การมีระบบหลังบ้าน ที่มาช่วยเติมเต็มในเรื่องของการบริหารจัดการ เช่น ระบบการชำระเงิน ระบบขนส่งสินค้า ที่เชื่อมต่อกับบริการขนส่งแต่ละเจ้า รวมถึงการแพ็คสินค้า ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีระบบการแจ้งเตือนไปยังลูกค้า

“หัวใจสำคัญที่จะทำให้ระบบหลังบ้านมีความทันสมัย คือ การตั้งคำถาม และพัฒนาระบบจาก Pain Point ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และทำให้ระบบสามารถใช้งานได้ง่ายมากที่สุด ด้วยความที่เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเอง จึงสามารถต่อยอดในเรื่องลูกเล่นต่างๆ ได้ เช่น การทำคูปองส่วนลด หรือการทำระบบสมาชิก เป็นต้น”

นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีรูปแบบบริการที่ถือช่วยซัพพอร์ตการทำธุรกิจออนไลน์ของผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือยังมีออเดอร์จำนวนน้อยด้วยการรับฝากขายสินค้าเพื่อนำมาขายผ่านการไลฟ์สดบนหน้าเพจ J Shop Thailand Live ไลฟ์สดแฟชั่นสุดฮิต ที่ปัจจุบันมีฐานของผู้ติดตามเพจมากกว่า 5 แสนราย โดยสินค้าที่นำมาไลฟ์สดขายบนเพจส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มไลฟ์สไตล์ประมาณ 27% แฟชั่นเสื้อผ้า 28% อาหารและเครื่องดื่ม 24% และอื่นๆ 11%

ในระหว่างการใช้งาน J Shop Live Station จะมีทีมงานจากเพจ J Shop Thailand Live ไปช่วยโค้ช และเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้คำแนะนำต่างๆ ทำให้การไลฟ์ของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงแตกตางจากการไลฟ์สดที่ทำเองที่บ้าน เพราะไม่มีระบบต่างๆ มารองรับ แต่ถ้าหากว่า ผู้ใช้บริการยังไม่สามารถสร้างยอดขายได้จากการไลฟ์ของตนเอง แต่สินค้ามีความน่าสนใจ ทางบริษัทก็จะช่วยรับฝากขายโดยนำสินค้านั้นๆ ไลฟ์ขายบนเพจของ J Shop Thailand Live ทำให้ผู้ใช้บริการไม่เสียโอกาสในการขายสินค้าของตนเอง และยังอาจได้เป็นพาร์ทเนอร์กันในอนาคตอีกด้วย

“สำหรับ J Shop Live Station จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจนกว่าสินค้าชิ้นนั้นๆ เริ่มมียอดขาย โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามจำนวนออเดอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากลูกค้ามียอดขายมากค่าบริการก็จะลดต่ำลง เช่น ผู้ใช้บริการในระดับเริ่มต้นที่มีจำนวนออเดอร์ไม่ก็อาจเสียค่าธรรมเนียมทรานแซกชั่นละ 5 บาท แต่ถ้ามียอดเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ออเดอร์ต่อเดือน อาจเสียค่าธรรมเนียนมทรานแซกชั่นละ 3 บาท เป็นต้น”

ตัวอย่าง ลูกค้าที่สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างชัดเจน จากการเข้ามาใช้บริการ J Shop Live Station เพื่อไลฟ์สดขายสินค้าเสื้อผ้ากีฬา โดยในช่วงเดือนแรกเริ่มต้นจากยอดขายประมาณ 2 - 3 หมื่นบาท เมื่อปรับตัวได้ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเป็น 1 แสนบาทในเดือนถัดมา ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายได้ไม่ต่ำกว่า 3 แสนต่อเดือน

ฐปนรรฆ์ชัย ย้ำว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการทำไลฟ์สด คือ การทำในคนรู้จักในช่วงเดือนแรก ดังนั้นจึงต้องสร้างคาแรกเตอร์ของตัวเองให้เป็นที่จดจำ ต้องสร้างโทนของภาพในสไตล์ที่ชอบ รวมถึงการสร้างบรรยากาศ แสง สี เสียง และแบ็คกราวนด์ด้านหลังให้โดดเด่น เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำ

นอกจากนี้ การทำไลฟ์สดที่ดี ยังต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องตัวสินค้าที่จะนำมาขายในวันนั้นๆ ควรเรียงลำดับสินค้าที่จะขายให้มีความต่อเนื่องจึงอาจต้องมีการทำสคริปท์ เนื่องจากการไลฟ์สดก็เหมือนกับการผลิตรายการทีวีที่มีขั้นตอนต่างๆ รวมถึงต้องจัดเตรียมระบบให้พร้อมก่อนการไลฟ์จะเริ่มต้น เพราะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีทรานแซกชั่นจากลูกค้าจะเข้ามาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อลองเปรียบเทียบกับการที่ต้องทำไลฟ์สดเอง สำหรับมือใหม่อาจต้องมีการลงทุนในเรื่องต่างๆ มากมายเพื่อจัดเตรียมความพร้อม นอกเหนือจากตัวสินค้ายังมีเรื่องของ ซองพัสดุ หรือกล่องสำหรับแพ็คสินค้า เครื่องพิมพ์เอกสารสำหรับทำใบปะหน้ากล่อง รวมถึงการซื้อชุดไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งอาจต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 10,000 - 15,000 บาท จึงกลายเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มขายสินค้า

ดังนั้น หากผู้ประกอบการมีระบบบริหารจัดการที่ดี เพื่อทำให้การขายของผ่านไลฟ์สดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นการลดต้นทุนการจัดการธุรกิจให้น้อยลงได้ ที่สำคัญ คือ การมีผู้ช่วยทางความคิดที่สามารถให้คำแนะนำได้ตลอด ทำไมไม่ต้องเสียเวลากับการลองผิดลองถูก ก็ย่อมจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม

บทความแนะนำ

MAISON CRAFT พัฒนางานจักสานชุมชนสู่ตลาดโลก

MAISON CRAFT เป็นแบรนด์สินค้าหัตถกรรมไทยยุคใหม่ ที่เกิดจากความคิดที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอย่าง “งานจักสาน” ไม่ให้จางหายไปตามกาลเวลาของ คุณเมย์ - เมทินี รัตนไชย ผู้ก่อตั้งแบรนด์ MAISON CRAFT ซึ่งคุณเมย์ได้อาศัยประสบการณ์จากงานประจำที่ทำเกี่ยวกับการออกแบบ และตกแต่งภายในมาประยุกต์ใช้จน สินค้าพื้นบ้านอย่าง “เสื่อกก” ได้กลายมาเป็นสินค้าที่มีดีไซน์โดดเด่นชนิดที่ว่าคนทั่วโลกให้การยอมรับ

SME One : แบรนด์ MAISON CRAFT เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

เมทินี : MAISON CRAFT เริ่มต้นมาจาก Background เดิมของเมย์ทำงานออกแบบภายใน ตกแต่งภายใน แล้วงานที่ทำก็ต้องหาพวกวัสดุตกแต่งอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีโอกาสได้เข้าไปเจองานหัตถกรรมของชุมชนในไทยเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ก็เล็งเห็นว่างานหัตถกรรมไทยค่อนข้างหายากมาก ๆ ณ ตอนนั้น หายากในแง่ที่ว่ามันเป็นงานหัตถกรรมที่ยังเป็นรูปแบบเดิม ๆ แล้วก็เป็นรูปแบบที่หายไปเรื่อย ๆ ทำให้เมย์กับเพื่อน ๆ ที่ทำงานด้วยกันเห็นตรงกันว่า ถ้าอย่างนั้นลองมาช่วยพัฒนางานหัตถกรรมเพื่อให้มันอยู่ได้ เหมือนกับว่าเป็นหนึ่งในศิลปวัฒนธรรมของไทยที่เราช่วยกันรักษาเอาไว้

 

SME One : ชื่อ MAISON CRAFT มาจากอะไร

เมทินี : ตอนตั้งชื่อแบรนด์ เราอยากให้เป็นชื่อที่ทำให้คนนึกถึงบ้าน นึกถึงพวกงานฝีมือ หรืองานทำมืออะไรทำนองนี้ ก็เลยเป็นชื่อว่า MAISON CRAFT เพราะว่า Maison ก็แปลว่าบ้านในภาษาฝรั่งเศส ส่วนคำว่า Craft ก็มาจากงานหัตถกรรม หรืองานฝีมือ

 

SME One : วันที่ตัดสินใจเริ่มต้นเป็น SMEs มองเห็นโอกาสทางธุรกิจอย่างไร

เมทินี : ในวันนั้นเผอิญว่าได้มีโอกาสไปที่ต่างประเทศ ก็คือเหมือนกับมีเพื่อนที่รู้จักกันที่อยู่ต่างประเทศ คือมันมีความคิดอยู่ในหัวมาก่อนหน้านี้ว่าสินค้าหัตถกรรมไทยมันมีโอกาสในการขายหรือเปล่า ก็เลยตัดสินใจว่าถ้าอย่างงั้นเราลองมาทดสอบดูว่าสิ่งที่เราคิดว่างานหัตถกรรมไทยกับคนต่างชาติที่เขาน่าจะเล็งเห็นคุณค่าของงาน มันน่าจะมีกลุ่ม ๆ นี้อยู่ในตล่างประเทศ ตอนนั้นเรากับเพื่อนก็ลองเอาสินค้าไปวางขาย เอาของเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาของหัตถกรรมไปจัดเป็นเหมือนแบบเป็น Gallery เล็ก ๆ 7 วัน เพื่อบอกเล่าเรื่องราว แล้วก็เอาสินค้าลองไปตั้งวางดูว่าจะมีคนสนใจมาสอบถาม มาซื้อหรือไม่ ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่ดี ก็เลยคิดว่าถ้าอย่างงั้นสิ่งที่เราคิดก็น่าจะถูกต้อง มีโอกาสทางตลาดที่พวกงานหัตถกรรมไทยจะเป็นที่ต้องการของคนต่างชาติ

ตอนนั้นเราเอาไปวางขายใน Flea Market คนต่างชาติเห็นสินค้าแล้วร็สึกว่ามันเป็นสิ่งที่เตะตา เพราะเป็นรูปแบบงานหัตถกรรมไทยของเราซึ่งไม่เหมือนกับของบ้านเขา แล้วพอเรามีการเล่าเรื่องราวที่มาของสินค้าของเราแต่ละชิ้น มีรูปภาพประกอบ เขาก็ยิ่งดื่มด่ำกับกระบวนการผลิตที่กว่าจะได้มาซึ่งแต่ละชิ้น ๆ ก็เพิ่มความน่าสนใจมาก ขึ้นจนท้ายที่สุดเขาก็ขอซื้อกัน สินค้าที่ลองเอาไปวางขายตอนนั้นก็ไม่ใช่สินค้าของเราในปัจจุบัน แต่เป็นพวกกระติ๊บข้าวเหนียว ตะกร้า กระจาด แบบที่ชาวบ้านใช้กัน

SME One : แนวคิดของ MAISON CRAFT คือการเอาสินค้าดั้งเดิมบางส่วนมาประยุกต์กับความทันสมัยใช่หรือไม่

เมทินี : ตอนที่เราไปทดสอบตลาด เราก็เห็นแล้วว่าจริง ๆ ก็เป็นงานดั้งเดิมของเรา แต่ว่าสิ่งที่เราเลือกเข้าไปจัดวางให้มันเป็นรูปแบบการจัดแบบใหม่ แล้วก็เราก็ไม่ได้เลือกรูปแบบงานหัตถกรรมที่เป็นแบบโบราณมากเกินไป ไม่ใช่แบบเป็นกระเป๋าคุณป้า คุณนาย เพราะเราก็รับรู้อยู่ว่าฝรั่งเขาไม่ได้มีพฤติกรรมที่ใช้สินค้าแบบนี้อยู่แล้ว เราก็จะเลือกพวกงานหัตถกรรมดั้งเดิมแต่พยายามเลือกที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก แล้วเราก็พอรู้ว่ามันมีรูปแบบ มีสไตล์ที่เขาชอบอยู่ประมาณไหน เราก็เอางานหัตถกรรมดั้งเดิมมาพัฒนาที่ทำให้มีฟังก์ชันที่ฝรั่งเขาใช้กัน แล้วก็เป็นรูปแบบที่เขาใช้ได้ในทุก ๆ บ้าน ก็เลยมาลงเอยในสินค้าที่เป็นกลุ่ม Living Product

วันที่เราได้โฟกัสแล้วว่าเราจะทำสินค้าที่เป็น Living Product เราใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ที่เราเลือกตอนนั้นก็จะใช้เป็นพวกไม้ไผ่ แล้วก็มีพวกเส้นฝ้ายที่เป็นฝ้ายทอเป็นผืนหรืออะไรต่าง ๆ สินค้า Lot แรก ๆ ก็จะมีพวกกลุ่มโคมไฟ ตะเกียง ทำเป็นกระเป๋าใบเล็กๆ เป็นกระเป๋าแบบมีซิป ไม่ใช่แบบกระเป๋าถือ จะเป็นแบบกระเป๋าแบบ Casual อะไรประมาณนี้ที่ทำออกมา

ณ ตอนนั้นก็คือต้องพูดว่าลองผิดลองถูกก่อน เราคิดว่ากระเป๋ามันน่าจะเป็นอะไรที่ซื้อง่าย ส่วน Living Product คิดว่าสินค้ามันไม่ได้ออกไวก็เลยลองเอามา Balance กันดูว่ามันมีผลตอบรับอย่างไรบ้าง ซึ่งพวกกระเป๋าก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่ขายง่าย แต่พอถึงจุดหนึ่งมันก็เริ่มอิ่มตัว เพราะว่ากลุ่มสินค้าของเราค่อนข้างเจาะไปที่ตลาดแบบกลุ่มเล็ก คือเป็นกลุ่มคนที่ชอบสินค้าหัตถกรรม แล้วก็ชอบของแบบแปลก ๆ อยากมีสินค้าที่เป็นของตัวเองชิ้นเดียวอะไรประมาณนี้ แล้วก็จะมีพวกกลุ่มศิลปิน Artist อะไรต่าง ๆ มาอุดหนุน ซึ่งกลุ่มคนตรงนี้ก็จะน้อยหน่อย แล้วพอเป็นส่วนพวกของแต่งบ้านพวกโคม ตะเกียงอะไรต่าง ๆ เนื่องจากว่าเราไปออกตลาดที่เป็นตลาดของ Expat ในไทย มูลค่าที่เขาเล็งเห็นมันจึงดูสูงกว่าตัวกระเป๋า แล้วก็คนต่างชาติเขาชอบแต่งบ้านอยู่แล้ว ก็เลยทำให้สินค้าแต่งบ้านที่อาจจะออกบ่อยไม่เท่า แต่ว่าเราได้จาก Margin มากกว่า ทำให้เราเริ่มลดตัวที่เป็นกระเป๋าลง แล้วก็ไปโฟกัสพวก Living Product มากขึ้น จนปัจจุบันนี้ MAISON CRAFT มีสินค้ากลุ่มเดียวคือ Living Product

 

SME One : ช่วงเริ่มต้นธุรกิจเจอปัญหาอะไรบ้าง และแก้ปัญหาอย่างไร

เมทินี : ปัญหาตั้งแต่แรกเริ่มเลยก็คือการหาผู้ผลิต เพราะตอนแรกเราไม่รู้จักชุมชนที่เขาทำงานด้านนี้ ไม่รู้จักสักที่เลย เราเริ่มจากลองผิดลองถูก เริ่มจากเอาที่ชุมชนใกล้บ้านก่อน ก็มีทั้งได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือแบบว่าพอได้ออเดอร์สินค้ามาแล้วแต่ผู้ผลิตไม่ยอมทำให้ต่อก็มีเหมือนกัน ทำให้เราก็ต้องเปลี่ยน แล้วสินค้าประเภทนี้เนื่องจากว่าเราโฟกัสที่พวกงานหัตถกรรมจากชุมชน การทำงานตรงนี้ก็ไม่ใช่งานหลักของชาวบ้าน คือต้องว่างจากการทำสวนทำไร่ถึงมาทำเป็นรายได้เสริม มันก็เลยแบบว่าเราไม่สามารถคอนโทรลเรื่องเวลากับเขาได้ ก็คือเขาพร้อมจะทำเมื่อไหร่ เขาถึงจะทำให้เรา ก็ทำให้เราควบคุมเรื่องระยะเวลาการผลิตไม่ได้เลยในตอนแรก ๆ คือต้องเรียนรู้กันเป็นปี ๆ ว่าสรุปแล้ว เราสามารถกำหนดระยะเวลาของการผลิตได้เท่าไหร่ เพื่อที่เราเองจะต้องมาคุยกับลูกค้าอีกว่าออเดอร์ที่เขาสั่งจะได้ประมาณระยะเวลาเท่านี้ ๆ

 

SME One : สินค้าของ MAISON CRAFT มีความทันสมัย เราเข้าไปช่วยพัฒนางานจักสานให้กับชาวบ้านอย่างไร

เมทินี : จริง ๆ ก็เหมือนอาศัยการปรับตัวร่วมกันมากกว่า คือฝั่งเราเองก็ไม่สามารถไปผลักดันให้ชาวบ้านทำแบบที่เราอยากได้ 100% แล้วชาวบ้านเองก็ต้องบอกในสิ่งที่เขาทำได้ หรือไม่ได้ ต้องบอกทั้งเวลา หรือวิธีการผลิต หรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตต่าง ๆ เหมือนกับต้องเรียนรู้กันไป ก็คือต้องทั้งผลัก ทั้งดึง ทั้ง 2 ฝั่งให้ Balance กัน จากการเรียนรู้ก็คือ ท้ายที่สุดต้องยอมรับบางเรื่อง เหมือนกับเราอยากได้งาน 100% เราอาจจะต้องลด ตัดออกไปสัก 25% เหลือ 75% อะไรแบบนี้

 

SME One : ช่วงเริ่มต้นธุรกิจขายสินค้าผ่านช่องทางไหนบ้าง 

เมทินี : เราตั้งใจตั้งแต่แรกว่าอยากจะเน้นกลุ่มต่างชาติ แต่ว่าในเมื่อเราอยู่เมืองไทย เราก็ทำได้เพียงช่องทางเดียวคือทำเว็บไซต์ ณ ตอนนั้นก็คือก็ทำเว็บไซต์ทิ้งไว้ก่อน ตอนนั้นเราก็ยังไม่รู้วิธีจะหา Traffic อะไรต่าง ๆ ที่เข้ามาซื้อของในเว็บได้ เราก็เลยลุยธุรกิจจากในไทย เริ่มไปออกงาน Event ที่จะเป็นกลุ่ม Expat ในไทยที่กรุงเทพ เราก็พยายามหาว่าแต่ละเดือนมีงานที่ไหนบ้าง คนก็จะเริ่มรู้จักเราจากที่งาน Event เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาจนถึงปัจจุบันเราขายต่างประเทศประมาณ 70% และในไทยประมาณ 30%

 

SME One : ตลาดต่างประเทศปัจจุบัน MAISON CRAFT ขายอยู่ที่ภูมิภาคไหนมากสุด 

เมทินี : ปัจจุบันเราขายส่งออกต่างประเทศผ่านช่องทาง Marketplace ของทางอเมริกา ซึ่งทำให้กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่ฝั่งอเมริกา ถ้านอกเหนือจากตรงนี้ คือต้องบอกว่า ณ ปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มมีการนำภาษีนำเข้าเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ทำให้ช่วงเวลานี้ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เราเห็น Feedback ที่มันเกิดขึ้น คือยอดเราดรอปลงไป ส่วนฝั่งที่เป็นเอเชียเองก็ยังพอมีตัวเลขการขายมาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้ามาบ้าง

 

SME One : ช่วง COVID-19 ธุรกิจได้รับผลกระทบขนาดไหน

เมทินี : กระทบกระเทือนมาก ถึงแม้ว่าเราจะเป็นสินค้า Living Product ก็จริง ที่บอกว่าพอคนอยู่บ้านมากขึ้นคนมักจะซื้ออะไรเพิ่ม  แต่ว่าสินค้าเรามันเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต้องมี มันเป็นแบบถ้ามีก็ดี ทำให้ยอดขายเราตกฮวบฮาบ ส่วนการปรับตัว เดิมทีก่อน COVID-19 เรามีขายทั้งออนไลน์แล้วก็ออฟไลน์ ออฟไลน์ของเราก็คือวางขายตาม Shop ห้าง ร้านค้าต่าง ๆ ในไทยทั้งหลาย ซึ่งยอดขายในไทยของเราที่มีประมาณ 30% ตอนช่วงแรกก็เพิ่มเป็น 40-45% แต่พอ COVId-19 รอบนี้ ตัวเลขจาก 45 ก็ลดเป็น 40 เป็น 30 จนตอนนี้แทบจะเหลือ 10% แล้ว เพราะพอล็อกดาวน์ ห้างปิด พอเปิดมาคนยังไม่ทันกลับมาก็ถูกปิดอีกรอบ 

ตอนนี้เราก็พยายามดิ้นสุด ๆ คือมี Event ที่ไหนที่จัดได้ในต่างจังหวัด เราก็ส่งของไป จ้างเด็กให้ไปจัดในจังหวัดนั้น ๆ ก็ทำให้พอได้ยอดกลับขึ้นมาบ้าง แต่ตอนนี้ก็พยายามเน้นไปที่ทางออนไลน์มากขึ้น พยายามไปหา Channel Marketplace ของต่างประเทศมากขึ้น ทำให้มียอดกลับมาเพิ่มขึ้นบ้าง

 

SME One : ที่ผ่านมาเคยไปขอคำปรึกษาจากทางหน่วยงานของรัฐบ้างหรือไม่

เมทินี : เรามีไปออกบูธกับทางกรมส่งเสริมการส่งออกระหว่างประเทศทุกปี แล้วก็จะมีไปกับทางศูนย์ศิลปาชีพนานาชาติที่จะจัดงาน Craft ปีละครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการไปออกบูธ แต่ถ้าเป็นการเข้าไปขอคำปรึกษาก็จะมีช่วงแรกๆ ที่ไปเข้าฝึกอบรมบ้าง

 

SME One : อยากจะขยาย หรือต่อยอดธุรกิจอย่างไรในอนาคต

เมทินี : ณ ปัจจุบันก็คิดว่าเราน่าจะหา Product ใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อรูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภคที่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว ตอนนี้ก็พยายามเริ่มหาสินค้าที่มันมีผลต่อการใช้ชีวิตของเขา อาจจะไม่ใช่สินค้าเดิมที่เป็นแค่สินค้าเติมเต็ม ไม่ได้เป็นของจำเป็น ที่คิดไว้ก็คืออยากจะทำสินค้ากลุ่มที่เป็น Health Care แต่ว่าก็คือจะมี Background จากที่ชุมชนเป็นผู้ผลิตให้เหมือนเดิม อาจจะทำเป็นเหมือนผ้าทอที่สามารถเอาไปใช้แล้วมีตัวนวัตกรรมฆ่าเชื้อโรคอะไรต่าง ๆ ได้ให้คนได้เอาไปใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือเป็นผ้าอะไรต่าง ๆ 

SME One : ที่ผ่านมาเคยทำงาน Project ลักษณะแบบ B2B หรือไม่ เช่นดีลกับโรงแรม รีสอร์ท หรือร้านอาหาร

เมทินี : ก็มีบ้างเหมือนกัน แต่จะเป็นในลักษณะของการสั่งซื้อสำเร็จจากเราไปเป็นล็อตใหญ่ หรือว่าป็นงานลักษณะ Build in ที่ทำงานกับทางฝั่งดีไซน์เนอร์ที่ทำงานตกแต่งภายใน แล้วเราก็ไปทำพวกกรุฝ้าเพดานด้วยแผ่นเสื่อของเราตามลวดลายที่เขาออกแบบมาผสมผสานกัน งานลักษณะนี้จะทำกับกลุ่มโรงแรมรีสอร์ทในประเทศไทย

จริง ๆ แล้ว ธุรกิจฝั่ง B2B เราพยายามคิดที่จะไปทำงานกับกลุ่มบริษัทอสังหาฯ ตั้งแต่ช่วงก่อนจะเกิด COVID-19 แต่พอ COVID-19 มาก็เหมือนกับว่างานพวกนี้กับ Project ที่เป็นร้านอาหารและโรงแรมก็ดรอปลงไปด้วย

 

SME One : คิดว่าอะไรคือ Key Success ของทางแบรนด์ MAISON CRAFT

เมทินี : ตามความเข้าใจ หนึ่งก็คือเรารู้กลุ่มเป้าหมายเราชัดเจนแน่ ๆ แล้วตั้งแต่แรกว่าเป็นกลุ่มต่างชาติ ทีนี้มันก็เลยทำให้เราพยายามทำสินค้าออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้จริง ๆ นอกจากนี้ก็คือ เราก็รู้ว่าช่องทางไหนที่สินค้าจะไปถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้ คือเราพยายามไป Join กับทุกที่เพื่อที่ว่าอย่างน้อยมันก็เป็นการเหมือนเพิ่มการมองเห็นในโลกออนไลน์ให้มากที่สุด 

พอเราเองเข้าใจในตัว Positioning ของเรา อย่างน้อยเราก็มั่นใจว่าเป็นทางที่ถูกแน่ ๆ แต่อาจจะแบบมีหลงบ้างอะไรบ้างระหว่างทาง แต่ว่าอย่างไรมันก็คือเส้นทางที่ทำให้เรายังอยู่มาได้ แล้วก็ลูกค้าต่างประเทศเองก็ยังมองว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่ไม่เหมือนใคร เป็นสินค้าทำมือ แล้วเขาก็เข้าใจในจุดที่เรา Present ไปว่าเป็นสินค้าจากชุมชน เข้าใจที่ว่าสินค้าของเรานอกจากเขาได้สินค้าสวยงามสำหรับบ้านแล้ว เงินส่วนก็กลับไปถึงชุมชนแน่ ๆ 

 

SME One : อยากจะให้ฝากคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่อยากจะทำงานร่วมกับชุมชน

เมทินี : ถ้ารวบรวมจากความผิดพลาด จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คิดว่าถ้าใครอยากจะมาร่วมทำงานกับชุมชนเพื่อทำเป็นธุรกิจจริงๆก็อาจจะต้องทำ Research หนัก ๆ ว่าเราต้องการเจาะตลาดกลุ่มไหน แล้วกลุ่มเป้าหมายเรามีความต้องการอะไร ก่อนที่เราจะได้มาซึ่งสินค้านั้นๆ

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ MAISON CRAFT มาจากความเข้าใจในตัวสินค้า และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จึงสามารถออกแบบสินค้ามาได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยอาศัยประสบการณ์จากการทำงานออกแบบและตกแต่งภายใน นอกจากนี้แล้วการที่ MAISON CRAFT เป็นสินค้าจากชุมชนก็มีส่วนช่วยอย่างมากในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคทางฝั่งตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือที่เรียกว่า Sustainable Development เพราะรู้ดีว่าเงินรายได้ที่มาจากการขายสินค้าจะถูกส่งต่อไปถึงชุมชนปลายทาง

บทความแนะนำ

Dhanabadee ชุบชีวิตงานเซรามิกไทย ด้วยดีไซน์ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ

Dhanabadee เป็นแบรนด์สินค้าเซรามิกของแต่งบ้านของไทย ก่อตั้งโดยคุณพนาสิน ธนบดีสกุล ทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล “ธนบดีสกุล” ผู้ก่อตั้งโรงงานชามตราไก่แห่งแรกในจังหวัดลำปาง โดยในปัจจุบันเซรามิกคุณภาพจากโรงงานี้มีการส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกถึง 78 ประเทศ 

แต่เชื่อหรือไม่ว่า กว่าที่ Dhanabadee จะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ ในช่วงแรกๆ สินค้าบางตัวที่ผลิตออกมามียอดขายเป็นศูนย์ จนธุรกิจเกือบจะไปต่อไม่ได้ คุณพนาสินเล่าว่า 2 ปีแรกของการเริ่มต้นธุรกิจถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด แต่ก็ฝ่าฟันอุปสรรคมาจนได้ เคล็ดลับการทำธุรกิจของ Dhanabadee ถูกอธิบายไว้อย่างละเอียดในบทสัมภาษณ์นี้

SME One : แบรนด์ Dhanabadee เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

พนาสิน : จุดเริ่มต้นมาจากคุณพ่อซึ่งเป็นผู้ค้นพบแร่ดินขาวครั้งแรกในจังหวัดลำปาง แล้วก็สร้างโรงงานทำชามตราไก่ขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง นั่นก็คือรุ่นที่ 1 ผมเองเป็นรุ่นที่ 2 ก็ไม่ได้มาสานต่อธุรกิจของครอบครัว คือแยกไปทำโรงงานเซรามิกของตัวเองในแนวดีไซน์ในนาม Dhanabadee เพราะว่าผมจบทางด้านดีไซน์มาจึงอยากทำของตกแต่งบ้านเพื่อการส่งออกที่มีดีไซน์เป็นของตัวเอง แล้วก็จำหน่ายเน้นตลาดระดับกลางถึงระดับบน เพราะว่าในส่วนธุรกิจของครอบครัวที่ทำอยู่จะเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตไม่ซับซ้อน ไม่มีเทคโนโลยีหรือไม่มี Know-how อะไรมากมาย 

ตอนเริ่มต้นธุรกิจ ผมเลือกที่จะแยกออกมาจากธุรกิจครอบครัว เพราะส่วนใหญ่ถ้าหากว่าในครอบครัวทำธุรกิจอะไรในลักษณะเป็นโรงงานผลิต ลูก ๆ มักจะไม่อยากทำ เพราะตั้งแต่เล็ก ๆ จะถูกบังคับ คือเหมือนกับสอนให้ต้องช่วยงานที่บ้าน  ดังนั้นพอเด็ก ๆ นี่อยากจะไปดูทีวี ดูการ์ตูนก็ทำไม่ได้ เพราะต้องแบ่งเวลาออกมาช่วยงานในครอบครัว ก็เลยรู้สึกว่าเมื่อโตมาแล้วจะต้องมีชีวิตของตัวเอง ก็คิดว่าไม่อยากจะกลับไปสานต่อธุรกิจที่บ้าน

ทีนี้ชีวิตมันผกผัน ผมไปทำงานเป็นลูกจ้างที่อื่น ทำงานดีไซน์ ได้สัก 2 ปี ที่บ้านมีปัญหาธุรกิจตอนสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซีย แล้วมีผลกระทบมาถึงการขายสินค้าของที่บ้าน ก็เลยคิดว่าถึงเวลาที่เราจะกลับไปช่วยสานต่องานครอบครัวแล้ว แต่ปรากฏว่าไปถึงบ้านแล้วที่บ้านไม่ให้มาช่วย แต่ผมลาออกจากงานแล้ว ครอบครัวบอกว่าถ้าเป็นเด็กหัวนอก เด็กเก่งจริงก็ต้องไปทำธุรกิจของตัวเองให้ดูก่อนว่าทำได้จริงแล้วค่อยกลับมาช่วยที่บ้าน เลยไม่มีทางออกอื่นก็เลยต้องแสดงฝีมือ ก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่ประมาณ 2 ปี เพราะคิดว่าตัวเองเก่ง แต่ว่าในที่สุดแล้วมันก็ไม่ได้ง่ายอย่างงั้นในการทำธุรกิจ พอทำเซรามิกมันก็ถอนตัวไม่ได้แล้ว ทีนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตแล้ว

 

SME One : ช่วงที่เริ่มต้นธุรกิจ มองเห็นโอกาสทางการตลาดอย่างไร

พนาสิน : ตอนนั้นผมมุ่งเป้าหมายไปที่การส่งออกมากกว่า ไม่ได้เน้นขายในประเทศ เพราะว่าถ้าในประเทศเอง ในยุคนั้น 30 กว่าปีก่อนจะมีคนส่วนน้อยมากที่ใช้สินค้าประเภทที่เราตั้งใจจะทำขาย เพราะถ้าเป็นพวกของแต่งบ้านก็จะเป็นระดับทั่ว ๆ ไปที่อาจจะเป็นห้างเซ็นทรัลสั่งเข้ามาจากต่างประเทศบ้าง หรือเอาในประเทศทำมาขายบ้าง ส่วนพวกร้านที่ขายของตกแต่งบ้านก็มีจำนวนไม่เยอะ ก็เลยคิดว่าในประเทศคงไม่ใช่ตลาดหลักของ Dhanabadee

 

SME One : ช่วงที่เริ่มต้นธุรกิจ เจอปัญหาอะไรบ้าง

พนาสิน : เจอปัญหาเยอะเลย เพราะว่าด้วยความที่เรามีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะว่าตอนทำงานเป็นลูกจ้าง เราค่อนข้างประสบความสำเร็จที่ก้าวกระโดด ทางบริษัทมีส่งไปต่างประเทศ ไปดูงาน ไปเรียนรู้งานในต่างประเทศ จึงคิดว่าตัวเองก็น่าจะรู้เยอะ แต่พอมาทำธุรกิจด้วยตัวเองจริงๆ ปรากฏว่าเงื่อนไขในการทำธุรกิจไม่ใช่แค่ว่าสินค้าดี สินค้าสวย ราคาถูกแล้วจะขายได้เสมอไป มันมีกลยุทธ์ มันมีเทคนิคการขาย ในการทำธุรกิจที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนั้นก็ทำให้จากความคิดที่ว่าเราเป็นดีไซน์เนอร์ที่มีฝีมือ สินค้าเราดี สวย พอนำไปเสนอขายจริงก็ไม่ประสบความสำเร็จ อันนี้ก็คือเป็นความเจ็บปวดครั้งแรก

หลังจากนั้นก็กลับมาทบทวนว่าโอเค เมื่อสินค้าเดิมมันไปไม่ได้ ลองดูซิว่ามันมีสินค้าตัวไหนไหมที่ทดลองทำขึ้นมาแล้ว มันก็น่าจะมีโอกาสติดตลาดบ้าง ก็ทดลองทำมาหลากหลายสินค้าล้มลุกคลุกคลานมาประมาณเกือบ 2 ปีเต็มถึงเริ่มมีลูกค้า แล้วเขาก็เริ่มชอบในอัตลักษณ์ของความเป็นดีไซน์ในรูปแบบของเราก็เริ่มมี Order ตั้งแต่นั้นมา

 

SME One : ที่บอกว่าช่วงแรกล้มเหลว สมมติว่าทำสินค้ามา 10 ชิ้น ขายได้จริงกี่ชิ้น

พนาสิน : เรียกว่า 100% เลย คือขายไม่ได้ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่ได้ขายออกต่างประเทศโดยตรง พอสินค้าชุดแรกมาผมใส่สูทถือกระเป๋าเจมส์บอนด์ในสมัยโบราณเหมือนเซลส์ขายของ ไปเดินขายร้านของแต่งบ้านแถวย่านรัชดา ก็เข้าไปเสนอขาย ปรากฏว่าก็ไม่มีใครสนใจสักราย ทั้งที่สินค้าเราถูกกว่า ของที่เห็นวางขายมันก็แพงกว่าเรา ดีไซน์ก็ไม่ได้ดีกว่าเราเลย ปรากฏว่ากลับมาด้วยความล้มเหลวครับ คือเรียกว่า 100% ไม่มีใครซื้อเลย ตอนนั้นก็ค่อนข้างลำบากแล้ว แต่เมื่อสินค้าผลิตออกมาจำนวนหนึ่ง แล้วพอดีที่ลำปางมีงานลำปางเซรามิกแฟร์ทุกปี พอปลายปีก็เอาของพวกนี้มาเลหลัง มาขายในราคาไม่แพง ได้ราคาทุนกลับมาก็เท่ากับว่าก็เสมอตัวประมาณนี้ในช่วงแรก ๆ จากนั้นผมก็ต้องมาเรียนรู้ในเรื่องการตลาดกับการขายเพิ่มขึ้น และใช้เวลาปรับตัวอยู่ประมาณ 2 ปี

 

SME One : ปัจจุบันถือว่างานออกแบบของ Dhanabadee มีเอกลักษณ์ที่เห็นแล้วรู้ว่าเป็นสินค้าเราทันทีหรือไม่

พนาสิน : ใช่ครับ ในวงการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทของตกแต่งบ้าน ถ้าพูดถึง Dhanabadee ทุกคนก็จะเข้าใจในอัตลักษณ์ของแบรนด์ คือถ้าเห็นมีใครที่มาทำสินค้าที่คล้าย ๆ กับ Dhanabadee หรือจงใจจะ Copy เขาก็จะบอกว่าสินค้าเหมือนของ Dhanabadee เลย ตรงนี้กลายเป็นจุดแข็งของเราทั้งในประเทศ และในตลาดโลกก็ถือว่าเรามีอัตลักษณ์ที่ค่อนข้างชัดเจน

Signature ของ Dhanabadee จะเป็นสินค้าในแนวดีไซน์ที่เป็นธรรมชาติ ในเรื่องของผิวสัมผัสที่ไม่มีการเคลือบ แล้วมันจะมีสีเหมือนลักษณะเหมือนไม้ เหมือนหิน เหมือนพวกหินอ่อน แต่ว่ามันเป็นเนื้อเซรามิกซึ่งอัตลักษณ์ของเรา ในช่วงแรกประสบความสำเร็จมาก เพราะว่าเราทำสินค้าเซรามิกให้มีผิวนอกเหมือนลายไม้ ซึ่งตอบโจทย์สำหรับทางยุโรปกับอเมริกาที่นิยมสินค้าในแนวธรรมชาติ แต่เนื่องจากว่าพวกแจกันไม้มันไม่สามารถใส่น้ำได้ และทำความสะอาดยากต้องใส่พวกดอกไม้แห้ง สินค้าของเราก็เลยไปทดแทนสินค้ากลุ่มประเภทที่เป็นงานไม้กลึง ไม้แกะสลัก แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือเราเป็นผู้ผลิตในประเทศไทยที่มีไม่ถึง 10% ที่ผลิตสินค้าด้วยเนื้อดินที่เป็นพอร์ซเลน ซึ่งพอร์ซเลนในตลาดกลางถึงบนจะถือว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง 

 

SME One : ปัจจุบัน Dhanabadee ขายสินค้าในประเทศกับต่างประเทศเป็นสัดส่วนอย่างไร

พนาสิน : ก่อน COVID-19 ยอดขายในประเทศอยู่ที่ 30% แล้วก็ต่างประเทศ 70% ต่างประเทศตอนนี้ผมส่งออกไปแล้ว 78 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ ส่วนในประเทศจะมีสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งคือ เป็นสินค้าเพื่อสังคมเพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือสังคม ผมช่วยทั้งโรงพยาบาลช้าง โรงพยาบาล บ้านพักคนชรา โรงเรียนคนตาบอด โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร อันนี้ก็เป็นกิจกรรมหลากหลายที่เราทำ แต่ว่าจะเป็นสินค้าที่เป็นคนละตัวกัน ถ้าไปดูในเว็บไซต์จะมีสินค้าประเภทช้างที่เป็น Souvenir อันนี้ก็คือตั้งใจเอารายได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วเอาไปช่วยโรงพยาบาลช้าง แล้วก็สินค้าประเภทชุดบูชาพระที่มีแบรนด์บูชาดี อันนี้ก็จุดประสงค์ก็คือเพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมสังคมและพุทธศาสนา เราผลิตสินค้ากลุ่มนี้มา 20 กว่าปีแล้ว แล้วก็ทำเป็นประจำทุกปี ในเมื่อเราไม่สามารถจะไปทำบุญได้โดยตรง เราก็เลยผลิตสินค้าขึ้นมาแล้วก็ตัวเราเองก็ทำบุญไปด้วย แล้วคนที่มาช่วยซื้อก็จะได้ร่วมทำบุญไปด้วย

SME One : ปัจจุบัน Dhanabadee มีจำหน่ายชามตราไก่ด้วยหรือไม่

พนาสิน : ในส่วนของชามไก่ จริง ๆ แล้วมาเริ่มเมื่อปี 2539 ตอนนั้นเป็นเหตุบังเอิญ เนื่องจากว่าชามไก่เลิกได้รับความนิยมไปนานหลายสิบปีแล้ว ไม่มีใครผลิตชามไก่ในรูปแบบดั้งเดิม แล้วตอนนั้นผมก็ทำธุรกิจ ผมก็ Set ตัวเองได้ดีระดับนึงแล้ว ก็มีทำของตกแต่งบ้านไปออกงานแฟร์ พอดีบังเอิญไปเห็นว่ามีชามไก่เก่า ๆ อยู่ในบ้านที่ไม่ค่อยมีใครใช้ ผมเกิดช่วงหลังชามตราไก่ที่เขาเลิกไปแล้วก็เลยไม่รู้ประวัติ พอได้ศึกษาประวัติก็พบว่าคุณพ่อเองที่เป็นผู้เริ่มต้น ก็เลยเอาชามไก่ไปโชว์ในงานแฟร์ เราตั้งใจเอาไปโชว์เพื่อให้ลูกค้าต่างประเทศได้เห็นโปรไฟล์เราแค่นั้น ปรากฏว่าปีนั้นกลับกลายเป็นปีที่ชามไก่ขายดีมาก แล้วมีลูกค้ามาแห่ซื้อชามไก่กัน แล้วประเทศไทย แถบเอเชียเป็นช่วงฟองสบู่แตกพอดี โรงงานอื่นก็ปิดตัวลงไป แต่ว่า Dhanabadee กลับกลายเป็นโรงงานที่ขายชามตราไก่ดีมาก หลังจากนั้นก็เลยมีคนทำชามไก่บ้าง ก็เลยเป็นต้นกำเนิดว่าทำไมโรงงานในลำปางถึงมีโรงงานชามไก่เยอะแยะมากมาย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของเราที่ว่า เราก็คือเป็นผู้เริ่มต้นจุดกระแสนี้ อันนี้คือช่วงที่ 1 

ช่วงที่ 2 ของชามไก่ก็จะเป็นปี 2555 ตอนนั้นก็มีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำจาก 165 เป็น 300 บาททั่วประเทศ ทำให้โรงงานเซรามิกหลายโรงงานปิดตัวลงไป เนื่องจากว่าต้นทุนสูงเกินไปจนไม่สามารถทำธุรกิจได้ เราก็เลยคิดว่าเราจะปิดกิจการ คือเลิกทำธุรกิจเซรามิก แต่ไหน ๆ เราก็มีทรัพย์สมบัติของครอบครัวอยู่แล้ว มีเตามังกรโบราณที่ขึ้นเป็นโบราณสถานได้ มีเรื่องชามตราไก่ มีประวัติคุณพ่อ ก็เลยคิดทำ Museum ขึ้นมา ก็เลยเป็นประเด็นในเรื่องของว่าเราต้องชูเรื่องชามไก่ เรื่องเตามังกรโบราณให้เป็นแหล่งที่คนรุ่นหลังจะได้มาเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์เซรามิกของลำปาง ปรากฏว่าก็ประสบความสำเร็จด้วยดี แล้วก็มีการผลิตชามไก่ขึ้นมาในรูปแบบดั้งเดิม ขณะเดียวกันเราก็รู้ว่าสินค้าแบบโบราณมันก็มีอายุของมัน แล้วสักวันมันก็เสื่อมถอย ก็เลยต้องมีการต่ออายุให้กับสินค้าชามไก่ด้วยการทำผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนชามไก่เพิ่มเติมขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการยืดอายุให้กับชามไก่ได้

 

SME One : พอมี Museum ก็เหมือนแตกธุรกิจไปเป็นสู่การท่องเที่ยว

พนาสิน : ตอนที่เราทำ Museum ก็คิดว่าเราก็น่าจะจบบทบาทในการเป็นผู้ผลิตเซรามิกแล้ว ก็คิดว่าจะทำธุรกิจท่องเที่ยวให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวในช่วงที่เหลือ คือต้องทำ 2 อย่างไปพร้อมกันในส่วนของ Museum เพราะเป็นธุรกิจคนละประเภท ด้านหนึ่งเป็นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ อีกด้านหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ปรากฏว่าธุรกิจหลักก็เราก็สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการลดต้นทุนแล้วก็เพิ่มผลผลิตก็ทำให้เราสามารถฟื้นกลับมาได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี ขณะเดียวกับตัว Museum เองก็ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะว่าเราก็ทำได้ดี จนกระทั่งกลายเป็นหน้าเป็นตาของจังหวัด แล้วบังเอิญว่า 2 ธุรกิจมันก็มาเอื้อประโยชน์ต่อกัน เนื่องจากว่าตัว Museum เองก็มี Shop เพราะว่ารายได้หลักของ Museum ก็คือการขายสินค้า หลังจากที่ลูกค้าเข้าไปชม Museum แล้วก็ออกมาซื้อสินค้า เราก็จะได้รายได้จากตรงนั้นเป็นหลัก

ขณะเดียวกันลูกค้าเราส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติที่มาซื้อสินค้าของแต่งบ้าน เวลาเขามาเยี่ยมโชว์รูมเราที่จังหวัดลำปาง เราก็พาไปชม Museum เขาก็จะประทับใจถึงประวัติความเป็นมาขององค์กรที่มีความน่าเชื่อถือครับ มันก็เลยทำให้เราได้รับอานิสงส์จากการที่ลูกค้าเชื่อใจแล้วก็เกิด Order ขึ้น

 

SME One : ช่วง COVID-19 Dhanabadee ได้รับผลกระทบมาก-น้อยแค่เพียงใด

พนาสิน : COVID-19 ผมได้รับผลกระทบในปี 2563 เกือบ 2 เดือนในช่วงเดือนเมษายนที่ระบาดหนักในเมืองไทย  ปรากฏว่าทั่วโลกก็เกิดภาวะเดียวกันในช่วงใกล้เคียงกัน ทำให้ลูกค้าทั่วโลกมีการขอทั้งชะลอ ทั้งยกเลิก Order ตอนนั้นวูบเลย  พอยอดขายตกลง สิ่งที่เราทำได้ก็คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพราะคิดว่ายังไงทุกคนก็คืออยู่ในเรือลำเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็เราต้องเร่งในเรื่องของการตลาด ทุกคนก็แน่นอนคือมุ่งไปที่ออนไลน์เพื่อจะหารายได้ในประเทศเข้ามาชดเชย ในส่วนของทีมดีไซน์เนอร์ของเราก็ต้องเร่งในการออกแบบสินค้าใหม่ที่ตอบสนองคนในประเทศ รวมทั้งลูกค้าต่างประเทศบางส่วน  เราใช้วิธีการสื่อสารค่อนข้างหนัก แต่จะไม่ไปตามจี้ตามตื๊อลูกค้าให้ซื้อของ แต่จะใช้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ให้กำลังใจกับลูกค้า ปรากฏว่าใช้เวลาประมาณไม่ถึง 2 เดือน ลูกค้าต่างประเทศเกือบทั้งหมดทุกรายก็กลับมายืนยันในการสั่งซื้อทำให้สถานการณ์มันพลิกกลับ จนกระทั่งทำให้ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีลูกค้าทั้งเก่าและลูกค้าใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปี 2563 ของเรายอดขายโตกว่าปี 2562 ถึง 27%

พอปี 2564 เราก็คิดว่ามันก็น่าจะอยู่ตัว ปรากฏว่าครึ่งปีแรกของปี 2564 เราเติบโตถึง 69% Order ปีนี้ล้นมาก แล้วตอนนี้ Order ล่วงหน้าก็ยาวไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้าแล้ว 

 

SME One : ที่ผ่านมา Dhanabadee เคยไปขอคำปรึกษาจากทางภาครัฐบ้างหรือไม่

พนาสิน : ถ้ามีอบรมสัมมนา หรือมีโครงการที่จะมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือเราไม่เคยพลาด แต่ว่ามีช่วงหลังเท่านั้นที่พอเรา Set ตัวได้แล้ว เราก็เลี่ยงที่จะไม่ไปเบียดบังสิทธิ์ของคนอื่นเขา ที่ผ่านมาเราใช้สิทธิค่อนข้างเยอะ หลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่องการเข้าไปร่วมอบรมสัมมนา พัฒนาความรู้ ในเรื่องของการไปร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ แล้วก็ของธนาคาร SMEs ก็จะมีเรื่องของเงินกู้ดอกเบี้ย 1%  ในช่วงแรกๆ เราไปออกบูธกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไปออกงานแฟร์ที่ฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็เริ่มเข้ามาตรงประเด็นคือกรมส่งออก เมื่อก่อนใช้ชื่อกรมส่งออก ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  เขาจะไปออกงานแฟร์ที่เยอรมันนี ที่ฮ่องกง ที่อังกฤษ เราก็ไปกับเขาด้วย

 

SME One : วางแผนจะต่อยอดธุรกิจไว้อย่างไร

พนาสิน : ในเรื่องของการต่อยอดธุรกิจ อันที่ 1 ก็คือว่าในระยะสั้น เรื่องโรคภัยไข้เจ็บตรงนี้ เราคาดเดาได้ยากมาก เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อก่อนเราจะวางระยะเวลาไปถึง 10 ปี แต่ผมว่าตอนนี้เราดูแค่ระยะสั้นปีต่อปี อันนี้คือเรื่องแรก อันที่สอง คือผมดูแค่ในระยะ 3 ปีนะครับ ไม่ยาวถึง 5 ปี 10 ปีแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ มันมีตัวแปรของปัจจัยเสี่ยงเข้ามาเร็วมาก นอกเหนือจากเรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นภาวะความเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้ มันจะมีเรื่องของเทคโนโลยี หรือกลไก เทคนิคทางด้านการค้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ฉะนั้นในส่วนของการปรับตัวของ Dhanabadee เอง เราใช้หลักการก็คือว่าเราตั้งตนที่จะเป็นองค์กรทางด้านนวัตกรรม เราจะใช้แรงงานเข้มข้นเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ อันที่หนึ่งก็คือ ไทยเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเราก็เห็นชัดว่าแรงงานของเราในโรงงาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเริ่มเข้าเป็นผู้สูงวัยแล้วครับ จะอายุมากกว่า 30 - 40 ปีไปถึง 50 - 60 ปี แล้วถ้าเด็กรุ่นใหม่ ๆ เนี่ยเขามีพฤติกรรมที่แตกต่างจาก Gen ก่อนหน้า คือไม่นิยมที่จะทำงานประเภทที่ใช้แรงงาน ดังนั้นโอกาสของประเทศไทยมันค่อนข้างจะน้อยมากในการที่จะมาทำในรูปแบบ Mass เหมือนเดิม เราก็เลยคิดว่าเราจะทำอะไรที่เป็นงานในเชิงนวัตกรรม ซึ่งเราก็เริ่มมาได้ประมาณ 5 ปีแล้วนะครับ แล้วก็ค่อนข้างจะไปได้ดี นั่นก็หมายความว่าเราจะต้องทำให้น้อยลง แต่ต้องทำให้ได้กำไรมากขึ้น

SME One : คิดว่าอะไรคือ Key Success ของ Dhanabadee

พนาสิน : คือปรัชญาองค์กรที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก ปรัชญาองค์กรของผมมี 3 อย่าง คือเราใช้คำว่าซื่อสัตย์ พัฒนา ใฝ่หาสังคมครับ อธิบายทีละตัว ถ้าพูดถึงเรื่องความซื่อสัตย์ ก็คือเราให้ความสำคัญในความซื่อสัตย์ 360 องศาไม่ใช่แค่ว่าซื่อสัตย์กับลูกค้าอย่างเดียว แต่กับตัวพนักงาน กับ Supply Chain ของเรา กับพวก Supplier ทั้งหลาย ถ้าเราซื่อสัตย์กับเขาในการที่จะจริงใจในการทำธุรกิจ ในที่สุดมันจะทำให้ธุรกิจยั่งยืนยาวนาน มันทำให้เราสามารถลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อสัตย์กับลูกค้า อันนี้มันทำให้เราไม่ต้องออกไปหาตลาด แต่ตลาดจะวิ่งมาหาเราเอง อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมทำมาโดยตลอด แล้วก็มันก็เห็นผลในช่วง 10 ปีหลังนี้

ส่วนที่ 2 ในเรื่องของพัฒนา ก็อย่างที่แจ้งไปแล้วว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้เก่า ๆ สินค้าเก่า ๆ ช่องทางตลาดเก่า ๆ มันไม่สามารถจะทำให้องค์กรยืนอยู่ได้หรือว่าพัฒนาได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือเราต้องพัฒนาตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่ผมทำก็คือการพัฒนาคนกับเทคโนโลยี ในเรื่องคนก็ต้องสร้างคนขึ้นมาให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ในเรื่องเทคโนโลยีแน่นอนว่ามีอะไรที่ดีที่ทันสมัยเราก็ไม่ลังเลที่จะลงทุน

อันสุดท้ายเป็นสิ่งที่เราเริ่มต้นทำเนื่องจากเป็นความรู้สึกเป็นบุญ แต่ในที่สุดก็คือบุญของการไปหาสังคมที่เราช่วยเหลือสังคมมาตลอดต่อเนื่องมันก็ส่งผลสะท้อนกลับมาทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรเราดี ที่เขาเรียกว่าเป็น CSR ซึ่งเราทำตั้งแต่เรามีคนงานแค่ 10-20 คน ทำมาโดยตลอด ทำโดยไม่รู้จักคำว่า CSR ด้วยซ้ำไป แต่เรารู้สึกว่าทำแล้วเราอิ่มอกอิ่มใจ แล้วพอทำต่อเนื่องมายาวนาน มันก็ทำให้เกิดมีการรับรู้เกิดขึ้น มีการบอกต่อ แล้วเราสามารถจะใช้อ้างอิงได้ว่าเราทำมาตลอดเราไม่ใช่เพิ่งทำมันก็เลยทำให้องค์กรของเรา เมื่อมีการ Inspection จากลูกค้าต่างประเทศในเรื่องของสังคมของเราก็จะได้คะแนนค่อนข้างดีมาก แล้วก็ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากเรื่องสินค้า ตัวโรงงานที่ปลอดภัยแล้ว ในเรื่องสังคมของเรานี่ก็ถือว่าเราทำได้ดีมาโดยตลอด ก็เลยทำให้สินค้าที่จับกลุ่มตลาดกลางหรือตลาดบนในต่างประเทศเขายอมรับองค์กรในลักษณะนี้ เพราะว่าเขาไม่ได้ซื้อแค่สินค้า แต่เขาจะต้องดูโปรไฟล์ผู้ผลิตด้วย

 

SME One : จากนี้ต่อไปอะไรคือความท้าทายของ Dhanabadee

พนาสิน : ความท้าทายของผม อันที่หนึ่งก็คือเรื่องของโรคระบาด อันนี้ผมไม่ได้มองแค่เรื่อง COVID-19 ผมมองข้ามCOVID-19 ไปแล้วว่ามันอาจจะมีอะไรที่มากกว่านี้ เวลาผมทำธุรกิจ ผมจะเป็นลักษณะกระต่ายตื่นตูม ก็คือผมจะคิดมากไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจังหวัดลำปางจะค่อนข้างปลอดภัย โรงงานในลำปางไม่มีโรงงานไหนที่มีคลัสเตอร์เลย แต่ผมจำลองสถานการณ์เรียบร้อยว่าถ้าวันพรุ่งนี้โรงงานผมมีคนติด COVID-19 ขึ้นมา แล้วเกิดปัญหาอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาเราเตรียมแผนของเราไว้พร้อมล่วงหน้าหมดแล้ว  อันนี้ก็คือสิ่งหนึ่งที่ท้าทายเราว่าเราต้องพร้อม

ความท้าทายอย่างที่สองก็คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ Generation ของคน ที่ในอนาคตเราจะพึ่งพามนุษย์ได้ยากขึ้น สิ่งที่ผมทำก็คือเรื่องนวัตกรรม เทคโนโลยี แล้วก็พยายามที่จะ Downsize องค์กรหรือจะพึ่งพาจำนวนคนให้น้อยลง แต่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยมากขึ้น

 

SME One : อยากให้คุณพนาสินช่วยให้คำแนะนำสำหรับคนที่จะมาเป็นผู้ประกอบการ SMEs

พนาสิน : ผมสโคปไว้ประมาณสัก 4 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง คือเรื่องการบริหารใจ เพราะตอนนี้เรียกว่ามันต้องมาด้วยใจล้วน ๆ ต้องบริหารใจตัวเองให้เข้าใจแล้วก็ยอมรับว่าสิ่งนี้มันเป็นปัจจัยภายนอกที่มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้นมันไม่มีเวลาที่จะเสียเวลามาคิดโทษอะไรหรือโทษใคร สิ่งที่ดีก็คือ ยอมรับแล้วหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองสามารถจะลุกขึ้นมาได้อีกครั้ง ก็คือในเรื่องของการพยายามหาช่องทาง หาความรู้ การพัฒนาตนเอง

อันที่สอง ก็คือการดูแลสุขภาพ เพราะว่าโรคมันมาจากข้างนอก แต่ถ้าหากว่าข้างในเราเครียดเราอาจจะไม่ได้ตายเพราะ COVID-19 แต่เราอาจจะตายเพราะมะเร็งหรืออาจจะตายเพราะความเครียดมากกว่า ดังนั้นต้องดูแลร่างกายตัวเองให้แข็งแรงเพื่อจะให้ตัวเองสามารถไปต่อได้

อันที่สาม ก็คือเวลาทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ต้องบริหารความเสี่ยงเสมอ อย่ามองโลกสวยว่าช่วงนี้อะไรขายดี อะไรขายได้ แต่เราต้องคิดในแง่ร้ายเสมอ อย่าง COVID-19 มันคือประสบการณ์ชั้นเยี่ยมที่ทำให้เรามองเห็นว่าถ้าหากว่าเราทำธุรกิจอย่างเดียว หรือทำสินค้าเพื่อตลาดใดตลาดหนึ่ง พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา เราไม่มีทางหนีทีไล่เลย ดังนั้นแนะนำว่าอย่าทำสินค้าอย่างเดียว และอย่าทำสินค้าตลาดเดียว

อันสุดท้าย ก็คือเมื่อคุณจะทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ ต้องเริ่มต้นจากการหาความแตกต่างของสินค้าและบริการของตัวเองให้พบก่อน แล้วถึงค่อยเริ่มทำ อย่าไปคิดว่าเขาทำอันนี้รวย เราก็ Me too ฉันทำบ้างแล้วเน้นตัดราคา เพราะว่าในที่สุดแล้วมันก็ตายไปด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นขอให้เริ่มคิดจากการมองหาความแตกต่างก่อน

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ Dhanabadee อยู่ที่การออกแบบสินค้าที่ใกล้ชิดกับความเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นผิวสัมผัสของเซรามิกที่ไม่มีการเคลือบ เมื่อหยิบจับแล้วจะผิวสัมผัสเหมือนวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไม้ หรือหิน ความกลบกลืนกับธรรมชาตินี้เป็นจุดเด่นของสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการสำหรับผู้บริโภคในแถบยุโรปและอเมริกาที่นิยมสินค้าในแนวนี้เป็นอย่างดี จนเซรามิกของ Dhanabadee กลายเป็นสินค้าทดแทนสินค้ากลุ่มประเภทที่เป็นงานไม้กลึง ไม้แกะสลักได้อย่างดี เพราะสามารถใส่น้ำได้โดยไม่เป็นเชื้อรา

บทความแนะนำ

WISHARAWISH เป็น Fashion Studio หรือแบรนด์แฟชั่นของดีไซเนอร์อิสระ ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการนำเอาผ้าไทย หรือ Local Material มาตัดเย็บจนกลายมาเป็นจุดแข็งของแบรนด์อย่างทุกวันนี้ ถึงแม้ว่า WISHARAWISH จะเป็นแบรนด์เล็กๆ แต่ก็เคยสร้างชื่อเสียงระดับโลกขนาดที่ว่าเจ้าแม่แห่งวงการแฟชั่นของโลกอย่าง Lady Gaga ยังให้ทีมงานติดต่อมาเพื่อนำชุดไปใส่ออกงานมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน ทุกวันนี้คุณอู๋ - วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH ก็ยังสนุกกับการได้ค้นหาสิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่า Local Material มาสร้างเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น

SME One : ช่วยเล่าที่มาของ WISHARAWISH ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

วิชระวิชญ์ : WISHARAWISH เป็นแบรนด์เครื่องแต่งกายแฟชั่นที่เกิดจากความสนใจส่วนตัว โดยที่ตัวเราเองไม่ได้มีพื้นฐานด้านนี้เลย เพราะเรียนจบด้านอักษรศาสตร์ สาขาวิชาศิลปการละครมา แต่เวลาเราเห็นผลงานแฟชั่นอะไรแบบนี้ เรารู้สึกว่ามันเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ รู้สึกอยากทำก็เริ่มศึกษาด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงผันตัวเองเข้าไปสู่แวดวงอุตสาหกรรมแฟชั่น แล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาเรื่อยๆ มีงานอะไรที่เกี่ยวข้องก็จะเอาตัวเองเข้าไปร่วมด้วยตลอด ทำให้ได้รู้จักกับบุคคลในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น และมีโอกาสเริ่มต้นทำงานที่บริษัท เกรฮาวด์ เป็นจุดเริ่มต้นที่ได้เข้าสู่วงการธุรกิจนี้จริงๆ

 ด้วยความที่เราไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้มาก่อนอย่างที่บอก แต่โชคดีที่เราได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อด้านนี้อย่างจริงจังที่ประเทศฝรั่งเศส จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เราได้กลับมามองตัวเองว่า จุดแข็งของเราเองและจุดแข็งของแบรนด์เครื่องแต่งกายแฟชั่นของไทย นั่นก็คือบ้านเรามีวัตถุดิบค่อนข้างเยอะ ทั้งในแง่ Material ทั้งด้านศิลปหัตถกรรม งานคราฟท์ งานฝีมือต่างๆ 

พอเรียนจบกลับมาเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เราเริ่มต้นทำแบรนด์ที่ใช้ผ้าไทย และวัสดุที่ผลิตในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งเป็นจุดต่างจากแบรนด์ต่างประเทศอื่นๆ แต่มันเหมือนใกล้ตัวเราเกินไปจนเราไม่เห็นความสำคัญของมัน เราเน้นการใช้ Local Material ในท้องถิ่นเป็นหลัก ถ้าไม่มีจริงๆ ถึงจะไปนำเข้าหรือค้นหาจากแหล่งอื่นๆ เราเองก็ไม่คิดมาก่อนว่าการใช้ผ้าไทยหรือ Local Material จะกลายมาเป็นจุดแข็งของแบรนด์อย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเราเริ่มต้นก่อนคนอื่นด้วย

 

SME One : จากการศึกษา ผ้าไทยมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ถึงไม่เป็นที่นิยมพอที่จะทำเป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้

วิชระวิชญ์ : จริงๆ มันก็พอทำได้ แต่ว่าการเข้าถึงแหล่งผ้า นึกถึงว่าแต่ก่อนโอกาสที่เราจะได้สัมผัสผ้าไทยคงจะต้องไปงานมหกรรมสินค้าเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ด้วยการสื่อสารและช่องทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้ประกอบการที่เป็นต้นน้ำได้โดยตรง หรือสามารถทำอะไรที่เราต้องการ เพราะการเข้าถึงมันง่ายขึ้นกว่าเดิม และด้วยความที่เราเป็นคนชอบเดินทางไปเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่น มันทำให้เรารู้ว่าที่ไหนมีจุดแข็งอย่างไร ภาพลักษณ์ของผ้าไทยส่วนใหญ่ควรจะติดว่ามันดูเชย หรือเหมาะสำหรับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น มันไม่ได้สามารถใส่ได้ในหลายโอกาส เราจึงเปลี่ยนจุดอ่อนตรงนี้ให้มาเป็นจุดแข็ง เพื่อที่จะปรับทัศนคติของลูกค้า ดังนั้นสิ่งที่เราให้ความสำคัญอย่างมากก็คือการออกแบบผ้าไทยให้ดูร่วมสมัยและเป็นปัจจุบันที่สุด

เราเติมเต็มด้วยการใช้งานออกแบบเป็นหลัก แต่มันไม่ได้มาจากแนวคิดเราคนเดียว เราต้องคุยกับผู้ประกอบการคนอื่นๆ คู่ค้า และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเราไม่ได้ทำงานคนเดียว ดังนั้นเราต้องรับฟังความคิดเห็นของเขา และความถนัดของเขาด้วย งานถึงจะออกมาดี 

 

SME One : ปัจจุบันนี้กลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ WISHARAWISH คือคนกลุ่มไหน

วิชระวิชญ์ : ความจริงแล้วแบรนด์ WISHARAWISH ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ เพราะเราออกแบบเพื่อให้ใช้ได้หลายโอกาส และค่อนข้างเป็นชุดที่ลำลองเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่คนที่มีอายุประมาณ 20 ปลายๆ จนถึงวัยสูงอายุเลย ไม่ได้เจาะกลุ่มไหนเป็นพิเศษ แต่เราก็พยายามที่จะเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ในแง่ของการให้คุณค่าหรือความเข้าใจ รุ่นเด็กๆ ก็อาจจะมีน้อยกว่ากลุ่มที่เขาเข้าใจและเห็นผ้าไทยมานานแล้ว คนที่เขาเห็นผ้าไทยมานานแล้ว มาเจอแบรนด์ของเราก็รู้สึกว่ามันทันสมัยแล้วก็กลายมาเป็นลูกค้าของเรา 

ถามว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มเดียวกับคนที่นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนมหรือไม่ ก็ตอบว่ามีด้วย เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบ กลุ่มคนที่นิยมบริโภคสินค้าเกรดแบรนด์เนม คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ใช้แค่แบรนด์เนมอย่างเดียว แต่เขาก็บริโภคสินค้าที่เป็นท้องถิ่นด้วยเช่นกัน

 

SME One : ช่วงที่เราเข้ามาทำธุรกิจเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มองเห็นโอกาสของอุตสาหกรรมนี้อย่างไร

วิชระวิชญ์ : ตอนนั้นก็ถือว่าเป็นยุคที่บูมถ้าเทียบกับปัจจุบัน แต่ก่อนหน้านั้นเรามีประสบการณ์ที่สะสมมา 6-7 ปี ในแง่ของการผลิต การตลาด และช่องทางต่างๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การนำเข้าส่งออกตอนนั้นก็ยังมีน้อย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะปัจจุบันการสื่อสารและการเข้าถึงมันทำง่ายมาก 

 

SME One : เราทำห้องเสื้อแบบสตูดิโอ ธุรกิจแบบนี้ทำยากขนาดไหน ช่วงแรกๆ เราเจอปัญหาอะไร

วิชระวิชญ์ : เรามองเห็นปัญหาตรงนั้นมาอยู่แล้ว เราจึงพยายามไม่ทำสต๊อกเยอะ ส่วนใหญ่ธุรกิจต่างๆ ปัญหาเกิดมาจากสต๊อกล้วนๆ เราก็ต้องขยันให้มากขึ้น ทันทีที่มีออเดอร์หรือมีการขายออกไปก็ต้องทำเพิ่มทันที แต่ก็จะไปหนักในกระบวนการโลจิสติกส์และในแง่การทำงานที่ต้องทำหลายรอบ เราก็พยายามทำทุกอย่างให้เจ็บตัวน้อยที่สุด 

สิ่งที่ทำให้คนรู้จักแบรนด์ WISHARAWISH ก็คือการไปชนะรางวัลที่ต่างประเทศปี 2012 เราไปทำการตลาดต่างประเทศก่อน แล้วคนไทยจึงมาให้ความสำคัญ ช่วงก่อนที่จะเกิด COVID-19 เราแสดงงานอยู่ที่ Tokyo Fashion Week อยู่ 6 เดือน ตรงนั้นก็ทำให้เราต่างจาก Local Brand อื่นๆ ค่อนข้างมาก มันไม่ได้มีจุดตายตัว เราจะพยายามเป็นสเกลที่เล็กมาก เน้นสื่อสารตรงกับลูกค้าเลย ไม่ได้ผ่านคนกลาง แต่ก็มีจำหน่ายอยู่ที่ไอคอนคราฟต์ ที่ไอคอนสยาม ช่วงก่อนโควิดก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี หรือเวลามีการไลฟ์ของไอคอนสยาม ก็ยังมียอดขายเข้ามาอยู่เรื่อยๆ เพียงแค่อาจจะไม่ได้บูมเท่าตอนที่ห้างสรรพสินค้าเปิด 

 

 

 

SME One : เวลาที่พูดถึงผ้าไทย คนไทยชอบนึกไปถึงสินค้า OTOP มองตรงนี้อย่างไร

วิชระวิชญ์ : เป็นเรื่องปกติ เราก็เข้าไปทำงานกับ OTOP ซึ่งเร็วๆ นี้ WISHARAWISH ก็จะมีผลงานที่ทำร่วมกับ OTOP ออกมาเหมือนกัน แต่เราพยายามเน้นให้มันเป็นปัจจุบันและน่าสนใจมากขึ้น คนที่รู้จักแบรนด์เรา เขาจะเห็นว่าแบรนด์ของเราทำงานกับ Local Made หรือกลุ่มที่เป็นชุมชนค่อนข้างเยอะ ไม่ได้มีความชัดเจนในแง่ตราประทับขนาดนั้น แต่เวลาที่คนนึกถึงผ้าไทยก็จะนึกถึงเราพอสมควร 

สินค้า OTOP เรียกว่าเป็นขุมทรัพย์ของเราเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นแหล่งรวมที่จะทำให้เราได้เจอวัสดุที่หลากหลาย และนำมาเลือกได้ว่าอะไรที่จะเหมาะกับคอลเลคชั่นหรือแนวทางของเรา ทุกวันนี้เราก็พัฒนาตัวเองให้เข้ากับความเป็นสากลด้วย เช่น ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม หรือการใช้สีธรรมชาติเข้ามา หรือลดกระบวนการผลิตเพื่อให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น OTOP เหมือนเป็นแหล่งให้ดูว่าอะไรที่แมทช์กับเราหรือเข้ากันกับเราได้ และในปัจจุบันโอกาสที่จะได้เจองานแสดงสินค้าแบบนี้ก็มีน้อยลง เวลาที่เราจะหาข้อมูลก็สามารถสอบถามหรือหาข้อมูลจากตรงนี้ได้ 

 

SME One : ในเชิงพฤติกรรมทำไมคนไทยถึงนิยมใส่ผ้าไทยเฉพาะในโอกาสพิเศษ ความเชื่อนี้เปลี่ยนยากขนาดไหน 

วิชระวิชญ์ : มันก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ส่วนใหญ่ควรจะใช้ผ้าไทยแค่ในโอกาสสำคัญๆ แต่เราพยายามปรับ Mindset ตรงนั้นว่า ถ้าไทยสามารถใส่เล่นในชีวิตประจำวันก็ได้ เอามาประดับตกแต่งหรืออะไรก็ได้ มันก็จะทำให้อุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจในชุมชนมันเคลื่อนไปได้ ผ้าไทยอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน แต่ก็จะมีฐานลูกค้าหรือกลุ่มคนที่เขาสนใจและชื่นชอบงานตรงนี้อยู่ เพราะเราจะบังคับให้ทุกคนมาชอบงานแบบนี้ทุกคนก็ไม่ได้ 

ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ตอนนี้คนไทยหันมาใช้ผ้าไทยมากขึ้น ถ้าจะมองไปถึงอนาคตก็ต้องมองกลุ่มนักศึกษาหรือนักเรียนที่เรียนหนังสืออยู่ 3-4 ปีที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาหลักทั่วๆ ไป หันมาสนับสนุนให้เด็กใช้วัตถุดิบที่เป็น Local Material มากขึ้น ตรงนี้ก็ช่วยให้น้องๆ รู้จักมากขึ้น และถ้าในอนาคตเขาอยากทำต่อ มันก็จะดีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเรา ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะน้อยมากที่นิสิตนักศึกษาจะมาใช้ของไทยหรือผ้าไทย ปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้น และคิดว่าอนาคตก็น่าจะไปต่อมากขึ้นด้วย

 

SME One : ทุกวันนี้สัดส่วนการเปิดรับของลูกค้าผู้หญิงกับผู้ชายเป็นอย่างไร

วิชระวิชญ์ : 50/50 กลุ่มตลาดเสื้อผ้าผู้ชายที่เป็นผ้าไทยมีน้อยกว่าผู้หญิงเยอะมาก แต่แบรนด์ของเราจะไม่ได้ออกแบบเสื้อผ้าผู้ชายให้ดูขรึม ส่วนใหญ่จะออกไปทางแนวสดใสมากกว่า และส่วนใหญ่การออกแบบของเราก็จะทำให้ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง กลุ่มลูกค้าจึงเป็นสัดส่วนครึ่งๆ

ตามปกติ แต่ละปีเราออกสินค้าประมาณ 3-4 คอลเลคชั่น และเราก็มีโปรเจคเล็กๆ น้อยๆ หรือการไป Collaboration กับชุมชนต่างๆ โดยที่ไม่ได้มีกฎตายตัว ดูว่าช่วงไหนที่คนมีความต้องการ ก็จะปล่อยออกมาเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลงานออกมาเยอะมาก

SME One : เสื้อผ้าแต่ละชิ้นที่จำหน่ายออกไป ลูกค้าเขาทราบไหมว่ามีที่มาจากไหน มีการให้รายละเอียดข้อมูลในส่วนนี้หรือไม่

วิชระวิชญ์ : เราจะให้ข้อมูลลูกค้าว่าผ้านี้มาจากที่นี่ๆ ส่วนใหญ่ลูกค้าจะถามอยู่แล้ว เราก็เทคแคร์เขาแบบค่อนข้างเป็นส่วนตัว บอกข้อดีข้อเสียและวิธีการรักษา ด้วยความที่เนื้อผ้าแต่ละที่มันค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความยูนีค ลูกค้าก็จะเข้าใจตรงนั้น และเขาจะรู้ว่างานมันไม่สามารถผลิตซ้ำได้เป๊ะๆ ทั้งหมด เพราะจุดอ่อนตรงนี้มันก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันด้วย 

 

SME One : WISHARAWISH เคยมี Super Star หรือบุคคลสำคัญระดับโลกซื้อไปใส่บ้างหรือไม่

วิชระวิชญ์ : โชคดีที่ช่องทางออนไลน์ทำให้สินค้าเราไปได้ทุกที่เลย WISHARAWISH เคยมีคนดังอย่าง Lady Gaga ใส่ของเรา เพราะทีมงานเห็นของเราจากใน Instagram แล้วก็ติดต่อมา เราก็ส่งไปให้ใส่ที่นิวยอร์กในปี 2013 ซึ่งเป็นยุคบุกเบิกเลย

 

SME One : จากสถานการณ์ COVID-19 ธุรกิจของเราได้รับผลกระทบหรือไหม  

วิชระวิชญ์ : แน่นอนว่าได้รับผลกระทบ เพราะทุกอย่างต้องใช้เวลามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ต่างๆ คู่ค้าและซัพพลายเออร์ก็ประสบปัญหา เราก็ย่อมได้รับผลกระทบจากตรงนั้นด้วย แต่เราก็ยังไม่หยุดเดิน ยังไปต่อ และมองหาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ทางฝั่งมาเลเซียและจีนแผ่นดินใหญ่ เราก็ผลักให้ไปใช้ประโยชน์ตรงนั้นมากกว่า 

 

SME One : ที่ผ่านมาเคยไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานทางภาครัฐบ้างหรือไม่

วิชระวิชญ์ : มีไปเข้าร่วมบ้าง และได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ เสมอ เพราะนอกจากเราจะเป็นผู้รับ ก็ยังเป็นผู้สอนในหลายๆ หน่วยงานด้วย เราจึงใช้โอกาสตรงนั้นให้เป็นประโยชน์ โดยการสังเกตและเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่นๆ ที่หลากหลาย 

อย่างที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะมีงานที่เราทำร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ที่เราเข้าร่วมกับเขาอยู่เสมอ และ TCDC ที่เปลี่ยนชื่อเป็น CEA (Creative Economy Agency) เวลาที่เขามีกิจกรรม เราก็จะไปเข้าร่วม รับฟัง และคอยติดตามความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ 

 

SME One : ถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เรามีแพลนที่จะขยายธุรกิจอย่างไรบ้าง

วิชระวิชญ์ : มันคงไม่กลับมาปกติเหมือนเดิม แต่ถ้ามันดีขึ้น เราก็คิดว่าทุกอย่างมันมีช่องทางอยู่เสมอ อาจจะมีความซบเซา แต่ว่าคนก็จำเป็นต้องใช้สินค้าอยู่ดี เราก็อาจจะเจาะลงไปเฉพาะกลุ่ม และเวลาที่จะทำอะไร ก็ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าตลาดต่างประเทศเขาก็ยังเติบโตต่อเรื่อยๆ เราก็ต้องพยายามไปตรงนั้นให้ได้ไม่มากก็น้อย ถ้าเราหยุดไป โอกาสที่จะกลับมาเริ่มใหม่มันก็ยาก เราก็พยายามเปิดประตูและใช้ช่องทางออนไลน์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะทุกวันนี้เราจะเห็นว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงตัวผู้ประกอบการได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เราก็ต้องเตรียมพร้อมในจุดนั้น แต่ก็ทำง่ายๆ ไม่ได้ลงทุนมากมายอะไรขนาดนั้น เน้นใช้ช่องทางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 

 

SME One : เคยคิดจะขยายไปทำ Product อื่นๆ หรือไม่ เหมือนแบรนด์อื่นๆ ที่เขาเริ่มต้นจากแฟชั่นแล้วขยายไปธุรกิจอื่นๆ 

วิชระวิชญ์ : มองว่าอยากจะทำอะไรที่ใช้ได้ง่าย และเอาระบบอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยให้มากยิ่งขึ้น และพยายามหาคู่ค้ามาช่วย คือเราเก่งในแง่การออกแบบ และในปัจจุบันมีโรงงานค่อนข้างเยอะที่เขารับผลิตและต้องการทำแบรนด์ตัวเอง เราก็อาจจะเป็นพาร์ทเนอร์กับเขา อย่างในจีนเราก็เข้าไปทำในส่วนของ Production ทั้งหมดกับเขา เป็นชื่อร่วม

ปัจจุบันสินค้าแฟชั่นค่อนข้างมีหลากหลาย แฟชั่นที่เป็น Niche Market เป็นชิ้นเดียวอันเดียว หรือกลุ่มที่จะเป็นแมสมากขึ้น ยังอยู่กับสินค้าที่เป็นเครื่องแต่งกาย แต่อาจจะเป็นในแง่ของฟังก์ชันมากขึ้นและเจาะจงมากขึ้น อาจจะยังไม่ถึงขั้นไปทำสินค้าประเภทอื่นๆ ยังคิดว่าไม่ใช่จังหวะที่เราจะทำตรงนั้น 

 

SME One : WISHARAWISH เคยทำสินค้าพิเศษที่เป็น Co-branding กับแบรนด์อื่นๆ หรือไม่

วิชระวิชญ์ : เคยทำในรูปแบบของตลาดศิลปะมากกว่า เช่น ไปทำงานศิลปะออกแบบจานเซรามิค แล้วขายผ่านอาร์ตแกลอรี่ เพราะมันสอดคล้องกับทิศทางของแบรนด์มากกว่าที่จะไปวางขายในแง่ Product ที่ผ่านมาเราเคยทำกับผู้ประกอบการที่ลำปาง แต่ทำในนามของเราเอง โดยเขาเป็นคนผลิตจานเซรามิคให้ และนำไปแสดงในงาน Bangkok Design Week ปีที่ผ่านมา งานของเราก็เป็นการออกแบบจานเซรามิค Limited Edition โดยใช้กระบวนการออกแบบเดียวกับการออกแบบลายผ้า และทำออกมาเป็นจานชาม ซึ่งก็มีกระแสตอบรับกลับมาดี มีคนสนใจเยอะพอสมควรเลย หวังว่ามันจะไปต่อได้อีก 

ในอนาคตก็คาดหวังว่าจะมีโอกาสทำ Co-branding ในลักษณะ B2B (Business-to-business) เช่นไปดีลกับผู้ประกอบการกลุ่ม Hospitality ทำเป็นคอลเลคชั่นโรงแรมอะไรแนวนั้น

 

SME One : Key Success ของแบรนด์ WISHARAWISH คืออะไร

วิชระวิชญ์ : คืองานคราฟท์ และการแปลงทุนทางวัฒนธรรมหรือ Local ให้ออกมาเป็นปัจจุบันและมีความแตกต่าง จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ของใหม่ แต่เราจับตรงนี้แล้วทำการบ้านหนักในการที่จะทำออกมาให้เป็นปัจจุบันทันสมัย จนคนเห็นคุณค่าในตรงนี้ และเราก็มองว่าเรื่องของภูมิปัญญาหรือวัฒนธรรมแบบนี้มันเป็นอะไรที่จะล้มหายตายจากไปในอนาคต แต่เราจะดึงตรงนี้ให้เข้ามาประยุกต์กับระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะมันก็มีคนให้ความสนใจตรงนี้อยู่ค่อนข้างเยอะ เพราะคนที่ต้องการความแตกต่างยังมีอยู่เยอะ 

ภาพรวมของธุรกิจสิ่งทอตอนนี้ไม่ได้เหมือนสมัยก่อนแล้ว ไม่ว่าจะแบรนด์ใดก็ตาม ทุกคนมีปฏิทินชีวิตเป็นของตัวเองมากกว่า กลายเป็นว่าระบบมันเปิดให้เราเล่นได้หลากหลายมากๆ เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปออกงานเทรดแฟร์เหมือนสมัยก่อนแล้ว แม้แต่บูติคเองก็ล้มหายตายจาก ทุกวันนี้เราส่งตรงถึงมือลูกค้าได้เลย หรือเรียกว่า Direct to customer มันอยู่ที่ว่าเราจะวางแผนในการดำเนินธุรกิจของเราอย่างไรให้ตรงกับจังหวะของเรามากกว่า แบรนด์ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ตอนนี้ ตารางเวลาไม่ชนกันแล้ว ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องรอให้โรงงานผลิตผ้าแล้วมาทำอย่างนั้น เพราะตอนนี้แบรนด์ก็หันไปใช้วัสดุที่มีอยู่แล้ว หรือไปทำอะไรที่ล่วงหน้าไปไกลแล้ว คือระบบเวลามันถูกทำลายไปหมดแล้วค่อนข้างเยอะ

 

SME One : ถ้าจะขอคำแนะนำให้กับผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่น อยากจะให้คำแนะนำอะไร

วิชระวิชญ์ : ต้องทำการบ้านให้ดีว่าจะทำอะไร สุดท้ายก็ต้องคิดเรื่องตัวเลขด้วยว่าทำแล้วจะไปยังไงต่อ เรื่องของจุดคุ้มทุนหรือกำไร จำเป็นต้องเอาความรู้ด้าน Marketing มาใช้ค่อนข้างเยอะ และในธุรกิจนี้ต้องยอมรับว่าคนทำค่อนข้างเยอะ อย่างของ WISHARAWISH จะให้ความสำคัญกับภาพของ Product ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นในงาน Visual ความงาม สำคัญมาก เพราะคนทำผ้าไทยเยอะ และควรที่จะสื่อสารหรือแสดงออกมาให้มันดูสวยงามน่าสนใจจริงๆ ต้องให้ความสำคัญกับภาพที่ออกมาค่อนข้างเยอะด้วย แม้ว่าตัวสินค้าจะดี แต่ถ้าภาพไม่ดึงดูด โอกาสที่จะไปถึงมือลูกค้าก็น้อยลง จำเป็นที่จะต้องคิดทุกกระบวนการให้จบ 

เพราะท้ายที่สุดแล้ว การสื่อสารหรือการตลาดในช่องทางออนไลน์เราต้องทำให้เขาเชื่อหรือทำให้เขาอินกับสินค้าของเรา เพราะโอกาสที่เขาจะได้เห็นของจริงมันน้อยมาก เขาจะเห็นแต่ภาพเป็นอันดับแรก ถ้าเขาซื้อไปแล้วเห็นถึงคุณภาพจริงๆ ของสินค้าเรา เขาก็จะกลับมาซื้อซ้ำแน่นอน

 

บทสรุป

ความสำเร็จของ WISHARAWISH นั้นอยู่ที่การแปลงทุนทางวัฒนธรรมด้วยการนำเอา Material Local อย่างผ้าไทยมาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านงานคราฟท์ โดยมีการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันและมีความแตกต่าง จนผู้บริโภคมองเห็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในเส้นด้าย WISHARAWISH จึงถือเป็นแบรนด์แฟชั่นที่ยกระดับผ้าไทยร่วมสมัยไปสู่สากลได้อย่างเต็มภาคภูมิ

บทความแนะนำ