Checklist ก่อนคิดนำบริษัทเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์
หากพูดถึง SME หรือ Startup ที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ถึงระดับหนึ่งอาจจะเริ่มมองหาโอกาสที่จะนำกิจการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะขยายธุรกิจ ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจระดมทุน วันนี้ SME ONE อยากให้ Startup ทุกคนมา Checklist เตรียมความพร้อมใน 5 ประเด็น ต่อไปนี้
ระบบบัญชีได้มาตรฐานหรือยัง
สาเหตุที่ทำให้ SME หรือ Startup ไม่สามารถที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เพราะขาดมาตรฐานการทำระบบบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้การรับรอง ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีที่จะต้องอยู่ในรายชื่อของ ก.ล.ต. ระบบการลงบัญชีที่มีการซ้ำซ้อนหลายฉบับ ตลอดจนวิธีการได้มาซึ่งรายได้ที่มีความน่าสงสัยเช่น ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่สามารถระบุที่มาได้อย่างชัดเจน การวางมาตราฐานบัญชีจากธุรกิจในครอบครัวเพื่อเตรียมตัวสู่มหาชนอาจต้องใช้เวลานานถึงสามปี ผู้ที่มีความคิดจะเข้าตลาดหุ้นจึงต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้าพอสมควร
วัตถุประสงค์ของการระดมทุน
พราะจะบ่งบอกว่าธุรกิจจะมีทิศทางเป็นอย่างไรในอนาคต ส่วนมากแล้ววัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อที่จะนำไปใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโต แต่บางครั้งวัตถุประสงค์ของการเข้าตลาดหุ้นก็อาจจะมีเพื่อลดภาระหนี้สินได้เช่นกัน ซึ่งประวัติที่ผ่านมากิจการที่ใช้วัตถุประสงค์ดังกล่าวมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรวมถึงราคาหุ้นหลังเข้าจดทะเบียน ผู้ประกอบการจึงต้องพิจารณาถึงแนวทางการระดมทุนให้ดีเสียก่อน
โครงสร้างทางการเงินในอนาคต
เจ้าของกิจการจำเป็นต้องวางโครงสร้างทางด้านการเงินเอาไว้เป็นแผนระยะยาวของบริษัททั้งก่อนและหลังเข้าตลาดหุ้น เช่น จะใช้เงินขยายธุรกิจจากการกู้เงินธนาคาร ออกหุ้นกู้หรือการเปิดรับผู้ถือหุ้นใหม่ในเชิง Strategic Partners เพราะนี่คือคำถามที่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องขอคำตอบจากเจ้าของกิจการ ซึ่งโครงสร้างทางด้านการเงินจะนำไปสู่แผนการขยายธุรกิจในอนาคต
โครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังระดมทุน
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นก็คือโครงสร้างของผู้ถือหุ้น แม้กิจการส่วนใหญ่มักจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือครอบครัวเดียว แต่บางกิจการก็อาจจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งกลุ่มเช่นมีการเสนอขายหุ้นนอกตลาด (OTC) หรือมีกลุ่มนักลงทุนวีซีหรือนักลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องวางโครงสร้างของผู้ถือหุ้นไว้ว่าหลังเข้าตลาดหุ้นแล้วจะมีกลุ่มใดบ้าง หากจะมีการเปิดรับพันธมิตรหน้าใหม่เข้ามาอาจจะต้องมีการตกลงพูดคุยกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม
การแบกรับความคาดหวังจากผู้ถือหุ้น
การเป็นบริษัทจำกัดอาจจะมีผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มแต่การเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นเจ้าของกิจการต้องรับมือกับความคาดหวังของผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในกิจการของเรา ปัจจัยนี้คือสิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องเตรียมตัวรับมือเอาไว้ด้วย
อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/6889.html
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development - DBD)
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการส่งเสริม พัฒนาธุรกิจ รวมทั้งงานจดทะเบียน, งานส่งเสริมสมาคมการค้าและหอการค้ามาจากกรมการค้าภายใน นอกจากนั้นยังมีภารกิจใหม่คือการส่งเสริมธุรกิจบริการและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาทำการปฏิบัติอย่างผสมผสานพร้อมกับภารกิจเดิม ที่เป็นงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ การกำกับดูแลธุรกิจ และการให้บริการธุรกิจ
บริการจากทางศูนย์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการเปิดให้บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 4 ด้าน ได้แก่
-การจดทะเบียนธุรกิจ โดยการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ สามารถขอรับบริการผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจองชื่อนิติบุคคลออนไลน์, การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration), การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured), และการเชื่อมโยงข้อมูลการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI (e-Foreign Certificate)
-การขอข้อมูลธุรกิจ การให้บริการข้อมูลธุรกิจ ครอบคลุมการให้บริการข้อมูลแก่ภาคธุรกิจและประชาชนในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้บริการหนังสือรับรอง, การรับรองสำเนานิติบุคคลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ (e-Service / e-Certificate / e-Certificate File), การให้บริการคลังข้อมูลธุรกิจ (DBD Data Warehouse+) ผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน DBD e-Service ทั้งระบบ Android และ IOS
-การส่งงบการเงิน การให้บริการด้านงบการเงินของนิติบุคคล ได้แก่ การให้บริการนำส่งงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ซึ่งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด สามารถจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ เสมือนการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีที่ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดประชุม
หรือหากบริษัทใดที่ยังไม่ได้จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ก็สามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และเมื่อดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว นิติบุคคลสามารถนำส่งงบการเงินผ่านระบบ DBD e-filing ของกรมฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้นำส่งไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในเชิงธุรกิจ
-การส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ การให้บริการส่งเสริมธุรกิจ ครอบคลุมธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การให้บริการรับการอบรมออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ DBD Academy (www.dbdacademy.com) และการขอเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registered และ DBD Verified ผ่านทาง www.trustmarkthai.com
กรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้น มีความมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรภาครัฐชั้นนำ ที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรในด้านการให้บริการดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ.2570 เพื่อให้มีความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และทันสมัย ตอบโจทย์ และเข้าถึงประชาชน ได้อย่างทั่วถึง
และมุ่งหวังที่จะสร้างพลังขับเคลื่อนธุรกิจไทยโดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนร่วมกับการใช้นวัตกรรมเพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ ให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ ตั้งแต่ระดับรายย่อย (MSME) ขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ขนาดใหญ่ (SML) พร้อมรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ที่อยู่: 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร : 0 2528 7600
โทรสาร : 0 2547 4459
อีเมล : secretary@dbd.go.th
เว็บไซต์ : dbd.go.th
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
E-Book บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
ทุกความสำเร็จล้วนมีที่มา เราได้รวบรวมบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึกทุกแง่มุมของผู้ประกอบการ SME เป็นเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ในหลากหลายธุรกิจทั่วประเทศไทย ให้คุณสามารถนำเรื่องราวไปเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ ได้เรียนรู้เทคนิคและสามารถนำไปปรับใช้ ปั้นธุรกิจของคุณให้เติบโตไปได้ไกลยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติมบน E-Book :E-Book บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
E-Book รวบรวมข้อมูลศูนย์บริการหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน
หากคุณอยากพัฒนาต่อยอดหรือขยายโอกาสทางธุรกิจแต่ไม่รู้จะปรึกษาใครดี เราได้รวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่งของศูนย์บริการหน่วยงานจากภาครัฐ และเอกชน ที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศไทย ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างมีความเชี่ยวชาญและความถนัดเฉพาะด้าน ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาทั้งแก่ผู้ประกอบการได้อย่างเจาะลึก ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบมือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ไปจนถึงผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจของคุณให้ต่อยอดไปได้ไกล และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติมบน E-Book : รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน