จะทำอย่างไร หากเจอวิกฤตการเงิน มาดู 4 ขั้นตอนพยุงธุรกิจให้รอดยามคับขัน

จะทำอย่างไร หากเจอวิกฤตการเงิน มาดู 4 ขั้นตอนพยุงธุรกิจให้รอดยามคับขัน

 

หากพูดถึงเรื่องเงิน คือ เรื่องใหญ่ของธุรกิจ โดยเฉพาะในเวลาที่คับขันเช่นนี้ อาจทำให้ธุรกิจของคุณสะดุดได้ วันนี้ SME ONE มี 4 วิธีการบริหารจัดการเงินยังไงให้ธุรกิจประคองอยู่รอดได้ในยุคนี้ จะมีอะไรบ้าง? มาดูพร้อมกันเลย

         

ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง? 

                                                                                                              

  1. การดำเนินการธุรกิจลดลง เช่น รายได้, การผลิต ฯลฯ
  2. ปัญหาสภาพคล่อง รายจ่าย มากกว่ารายรับ
  3. โอกาสเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
  4. ไม่สามารถแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ได้ 

 

4 ขั้นตอนบริหารการเงินในวิกฤต จากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นในวิกฤตเราสามารถวิเคราะห์ และไล่เรียงลำดับวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้

  1. จำแนกปัญหา เช็คสถานะทางการเงินปัจจุบัน

- เช็คงบกระแสเงินสดระยะสั้น ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ คงเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถประคองไปได้อีกเท่าไหร่

- เช็คผลการดำเนินงานกับแผนธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) แรงงานขาดแคลนไหม จัดลำดับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้

- ต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกเท่าไหร่ และใช้เมื่อไหร่ โดยสามารถย้อนดูได้จากเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ลองเรียงลำดับหนี้ที่ต้องจ่าย

 

  1. ประเมินทรัพยากรและแหล่งทุนที่มี

- ตรวจสอบวงเงินกับธนาคาร ยังมีวงเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถเพิ่มขึ้นมาได้สูงสุดเท่าไหร่ ความยืดหยุ่นในข้อสัญญาเงินกู้สามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้าง                             

- แหล่งที่มาของเงินทุนอื่น มีอะไรอีกบ้าง เช่น เงินเก็บ, ครอบครัว, ทรัพย์สินที่มีอยู่

- สอบถามผู้ถือหุ้นสามารถระดมทุนเพิ่มได้หรือไม่

- มีสินทรัพย์อะไรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้บ้างในเวลานี้ อะไรที่สามารถขายทอดตลาดได้

- หาการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ

 

  1. จัดทำแผนบริหารเงินสด

- วางแผนงบประมาณการใช้เงินในแต่ละส่วนให้คุ้มค่าที่สุด

- เจรจาต่อรองเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนผันสัญญา

- จัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ไม่ว่าฝั่งเจ้าหนี้ หรือนักลงทุน

- แจ้งสถานการณ์วิกฤตและการเงินของบริษัทให้แก่ผู้ร่วมรับผิดชอบและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ

- มองหาความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา อาทิ ทีม HR เมื่อต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น

- หาวิธีกระตุ้นยอดขาย หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมในระยะสั้น

 

  1. ติดตามผลแบบเรียลไทม์ เพื่อปรับแก้ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

- อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะๆ ประเมินสถานะทางการเงินอยู่ตลอดเวลา

- ตรวจเช็คแผนการที่วางไว้ว่าเหมาะสมหรือสามารถช่วยแก้สถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้หรือไม่

- หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในระยะยาว

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/7824.html 

บทความแนะนำ

มาทำความรู้จักกับ Gamification กลยุทธ์มัดใจลูกค้า

มาทำความรู้จักกับ Gamification กลยุทธ์มัดใจลูกค้า

 

ผู้ประกอบหลายคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนติดการเล่นเกม เพราะในเกมต้องไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะประสบความสำเร็จ วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จาก คุณ ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล Co-Founder of Nudge Thailand องค์กรที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ ให้แก่คนไทย กล่าวว่า

 

Gamification คือ การนำเอาบางส่วนของเกมมาใช้ โดยจะใช้เทคโนโลยีทางจิตวิทยาจากเกมเพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างจนเป็นนิสัยมาปรับใช้ในธุรกิจคือ อยากให้เกิดการทำซ้ำ Gamification สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนติดหรือสนุกกับมัน จนวางไม่ลงเหมือนถูกกระตุ้นอะไรบางอย่าง หรือให้ผู้ใช้ได้ใช้งานต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้เช่นกัน

 

ในความเป็นจริงแล้ว Gamification ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลย บางที่หลายสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันก็คือ gamification เช่น บัตรสะสมแต้ม การใช้ points หรือ การสะสมแต้มเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือ “ลีดเดอร์บอร์ด” (leaderboard) ซึ่งก็คือตารางเปรียบเทียบคะแนนผู้เล่นว่าใครนำอยุ่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันนั่นเอง

 

แล้วทำไมธุรกิจต้องใช้ Gamification เพราะจากงานวิจัยของ Sailer, Hense, Mayr และ Mandl พบว่า Gamification ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในการทำงาน การศึกษา การเก็บข้อมูล การรักษาสุขภาพ การตลาด ซึ่งหลักการการทำ Gamification นั้น จะเน้นทำเพื่อสร้าง Engagement และ Motivation สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้ 2 มิติ คือ ใช้กับลูกค้า เน้นเรื่อง CRM customer relationship management รวมถึง marketing และใช้กับลูกน้อง เพื่อเน้นเรื่องการ learning หรือการเทรนพนักงาน โดย “ข้อมูลจาก Talent LMS, Neil Patel ได้รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์จากการใข้ Gamification เกิดการซื้อซ้ำ Conversion rate 700% การเทรนนิ่งในองค์กรดีขึ้นถึง 97%” 

 

ขั้นตอนการเริ่มใช้ Gamification สำหรับ SME มีดังนี้ 

  1. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (ลูกค้ากลุ่มไหน, ลูกน้องทีมไหน)
  2. วางแผนระบบการเล่น (ใช้กลไกไหนในการให้คนเข้ามาเล่น) ลูกค้าบางกลุ่มอาจไม่ชอบสะสมแต้ม เช่นถ้าเป็นสินค้าราคาแพง ยากจะซื้อครบ 10 ชิ้นแถมฟรี 1 อาจไม่เหมาะกับสินค้าราคาแพง
  3. สร้างวงจรความสัมพันธ์ (แรงขับอะไรที่ทำให้คนเล่นซ้ำ) เช่น ธุรกิจไดเร็กเซลล์ ที่ตัวแทน อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ความงาม มี tier คนก็อยากได้ status ต้องเข้าใจ phycology behind
  4. เลือกตัวชี้วัดความสำเร็จ (เช่น Active users, Engagement, Conversions)

 

ซึ่งเทคนิคการทำ Gamification ให้ได้ผล แม้จุดประสงค์ของการนำ gamification เพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจทำจนเกิดเป็นพฤติกรรม แต่ว่าผลที่ได้อาจต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคทั้งนี้มีผู้ที่ทดลอง ทำบัตรสะสมแต้มสองใบ ใบที่หนึ่งเป็นบัตรสะสมแต้ม 8 ช่อง กับอีกหนึ่งบัตรที่มีการปั๊มให้ล่วงหน้าก่อน 2 ช่อง แต่เหลือแต้มที่ต้องสะสมอีก 8 ช่อง เท่ากัน “ที่ผลออกมาเช่นนี้ เนื่องจากมันมีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลัง มนุษย์เราถ้าเริ่มทำอะไรไปแล้วมีแนวโน้มจะทำต่อให้จบ”นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม เช่น ในการทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อกระตุ้นยอดขาย ในกรณีที่มีพนักงานฝ่ายขายทำยอดขายได้โดดเด่นก็ไม่ควรทำ leader board โชว์ อาจทำให้คนอื่นๆ ท้อ ฉะนั้นต้องระวังและต้องออกแบบให้เหมาะสม

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8179.html

บทความแนะนำ

ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจได้ไปต่อ

ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจได้ไปต่อ

 

SMEs ต้องรู้!! วันนี้ SME ONE มีข้อมูลเกี่ยวกับการ “ปรับโครงสร้างหนี้” มาบอกทุกคนกัน แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการปรับโครงสร้างนี้ ไม่ได้แปลว่าไร้ความสามารถ หรือ บริหารงานผิดพลาดจนธุรกิจล้มเหลวเสมอไป แต่ในบางครั้งด้วยสถานการณ์ที่เป็นเหตุทำให้ธุรกิจต้องสะดุดลง อย่าง COVID-19 เป็นเหตุทำให้หลายธุรกิจเจอทางตัน ดังนั้นอย่าปล่อยไว้ หรือรอจนสายกลายเป็นหนี้เสีย จนต้องเสียประวัติทางการเงิน คุณสามารถเลือกใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางออกให้กับธุรกิจในเวลานี้ได้ 

 

ทบทวนอนาคตธุรกิจ

หนี้ เป็นสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกว่าอนาคตของธุรกิจที่กำลังทำอยู่นั้น ยังมีทางรอดต่อไปได้หรือไม่? เพราะต้อง ยอมรับว่า COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปในหลายเรื่อง ถึงเวลาที่เราต้องทบทวนอนาคตทางธุรกิจ และต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทน แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ การปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอเวลาให้กระแส เงินสด (Cash Flow) ของธุรกิจกลับมา ถือเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ 

 

เช็กกระแสเงินสด

สิ่งที่ต้องรู้ต่อมาคือกระแสเงินสด (Cash Flow) จะเป็นตัวชี้ชัดได้ว่าธุรกิจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ การที่ธุรกิจมีเงิน หมุนเวียนไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องกลับมามองว่าทำไมเงินหมุนเวียนถึงไม่พอ เกิดจากรายได้มีเข้ามาน้อยไปหรือไม่ หรือรายจ่ายมากเกินไป ดังนั้นเราควรมาปรับหรือลดและเพิ่มในส่วนนี้

 

ใช้วิธีการปรับ โครงสร้างหนี้ที่เหมาะสม

การขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ หรือการปล่อยเงินกู้ใหม่ ซึ่งในแต่ละวิธีการนั้น ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก ยกตัวอย่าง การขยายเทอม มีตั้งแต่ รูปแบบ ที่เป็น Debt Holiday คือ ไม่ต้องจ่าย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่วิธีการนี้ ดอกเบี้ยจะสะสมไปเรื่อยๆ หรืออาจจะ เป็นการขยายเทอมในรูปแบบผ่อนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เงินต้นจ่ายทีหลัง หรือแม้ แต่การเปลี่ยนประเภทสินเชื่อ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง เหล่านี้นับเป็นวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยทำให้ Cash Outflow ของธุรกิจลดลง หรือทำให้สอดคล้องกับ Cash Inflow ในสถานการณ์ปัจจุบันนั่นเอง

 

สุดท้ายนี้การปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ได้แปลว่า “เครดิตไม่ดี” เพราะในปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีมุมมองความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อ คำว่า “ปรับโครงสร้างหนี้” ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าหากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว อาจทำให้ธุรกิจมีตำหนิ หรือเครดิตไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วในมุมของธนาคารจะพิจารณาจากกระแสเงินสดของลูกค้าเป็นหลัก การที่กระแสเงินสดไม่มี ต้องไปดู ต่อว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นต้น

 

อ้างอิง : https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/elasticbeanstalk-ap-southeast-1-634464765099/INS_NOV20X/Ebook.pdf

 

บทความแนะนำ

ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ "มีดีต้องแชร์"


ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ  (ศอตช.)  ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ "มีดีต้องแชร์" โดยรวบรวมเครื่องมือ/กลไกที่ใช้ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ อันจะเป็นการเพิ่มความโปร่งใสและยกระดับธรรมาภิบาล ด้วยการเปิดเผยข้อมูลบริการประชาชนตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบทุกรูปแบบผ่านช่องทาง  https://nacaoc.pacc.go.th/covid19/index_shared.php

หรือสแกน QR Code ด้านล่าง

 

บทความแนะนำ

7 กระแส เทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022

7 กระแส เทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลจะมีเทคโนโลยีให้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันเสมอ สำหรับ SMEs คนไหนที่ไม่อยากตกเทรนด์ วันนี้เราพาทุกคนมาส่องกับ 7 กระแสเทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022 ที่พูดถึงในเรื่องของ Consumer technology หรือ เทคโนโลยีทุกรูปแบบที่ผู้บริโภคทั่วไปใช้งานซึ่งต่างจากเทคโนโลยีที่ใช้เชิงพาณิชย์ ใช้ในงานราชการ หรือแวดวงกองทัพ โดยเทรนด์ consumer tech ที่คาดว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปีนี้ประกอบด้วย

 

Metaverse เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรงสุดแห่งปี คือการเชื่อมโลกดิจิทัลกับโลกจริงเข้าด้วยกัน อธิบายง่าย ๆ คือโลกเสมือนที่ผู้คนสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ และสามารถทำกิจกรรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ไม่ต่างจากโลกจริงโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์รองรับการเข้าถึงโลกเสมือน ได้แก่ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) โดยผ่านตัวตนที่เป็นอวตาร (avatar) ซึ่งเป็นกราฟฟิก 3 มิติแทนตัวเรา

Blockchain กระแสความนิยมในเทคโนโลยีบล็อคเชนหรือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางก็พุ่งทะลุเพดานทันที ไม่ว่าจะเป็น nonfungible tokens (NFTs) –สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีชิ้นเดียวในโลก หรือ cryptocurrency-สกุลเงินดิจิทัล เชื่อว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนจะถูกนำไปใช้ในหลายแวดวงธุรกิจ เช่น ธุรกิจประกัน โลจิสติกส์ ธนาคาร และธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ 

Smart homes การระบาดของโควิด-19 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับบ้านเปลี่ยนไป การต้อง work from home เอื้อให้ผู้คนใช้เวลาและใกล้ชิดกับเคหะสถานของตนเองมากขึ้น จึงไม่แปลกที่จะเกิดการมองหาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก คอนเซปต์ Smart homes หรือ “บ้านอัจฉริยะ” จึงเป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจในปี 2022

Electric cars ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าความต้องการรถไฮบริดและรถไฟฟ้าพุ่งสูงมาก ทำให้ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เร่งพัฒนารถไฟฟ้าเพื่อปล่อยสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดรถไฟฟ้าจะดูสดใส แต่ก็ยังมีอุปสรรคบางประการให้เห็น เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เพียงพอ และการขาดแคลนชิปที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งในรถยนต์

Fitness Gadgets จากวิกฤติโควิดที่ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็จะออกแนวดูแลสุขภาพด้วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย นอกจากอาหารการกินก็เพิ่มการออกกำลังกายเข้ามา อุปกรณ์ประเภท Fitness Gadgets ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ต่างเร่งพัฒนาอุปกรณ์ดูแลสุขภาพที่จะให้ข้อมูลแม่นยำเกี่ยวกับสุขภาพและการทำงานของร่างกายโดยพยายามออกแบบให้มีขนาดเล็กกระทัดรัดพกพาสะดวกใช้งานง่ายขึ้น   

Foldable Monitors จอภาพหรือมอนิเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยุคดิจิทัลแบบขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจอมือถือ จอแท็บเล็ต จอแล็ปท้อป หรือจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จะทำงานนอกบ้านหรือที่บ้าน จอสี่เหลี่ยมเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนเสมอ ปี 2022 มีแนวโน้มจะได้เห็นจอมอนิเตอร์ในอุปกรณ์เหล่านั้นมีความยืดหยุ่นขึ้น ด้วยเทคโนโลยี OLED (Organic Light Emitting Diodes) จะทำให้จอที่เคยแข็งกระด้างสามารถพับได้

Gaming Gets Better เหล่าบรรดาเกมเมอร์ตั้งตารอได้เลย เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น อาจจะเป็นเครื่องเล่นที่พกพาสะดวกขึ้น หรือระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากเดิม และไม่เพียงราคาจะเอื้อมถึงแต่ยังจะนำมาซึ่งประสบการณ์ล้ำ ๆ ให้ด้วย ยกตัวอย่างการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะที่จะทำให้เกมเมอร์สามารถสนุกไปกับเกมได้อย่างสมจริง  สามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหวของตัวละครหรือคาแรคเตอร์ในเกมโดยใช้แว่นเสมือนจริง 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/tech/7784.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ