“Contextual Marketing” อาวุธลับเพิ่มยอดขาย
การตลาดที่ SME สามารถเอาชนะเจ้าใหญ่ได้
อยากชนะเจ้าใหญ่ได้ เราต้องมีอาวุธเพื่อเพิ่มยอมขาย สำหรับ SMEs คนไหนที่อยากประสบความสำเร็จทางธุรกิจ SME ONE ก็ไม่พลาดที่จะนำ กลยุทธ์การตลาดที่มาแรงมากๆ ในปี 2022 อย่าง Contextual Marketing ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบและสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) เพื่อที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้
Contextual Marketing คือ การศึกษาข้อมูลหรือบริบทรอบตัวของผู้คนเพื่อนำมาวางแผนสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ด้วยการนำเสนอคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับคนๆ นั้นในรูปแบบต่างๆ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเพื่อให้เกิดผลบางอย่าง หรือบริบทต่างๆ ที่จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาทำ Contextual Marketing
โดยข้อมูลต่างๆ จาก Data Point ต่างๆ จะถูกนำมารวบรวมและประมวลผลซึ่งอาจใช้ระบบหรือเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น AI, IoT, Analytic Software, Website, Social Media, CRM Software เพื่อดูว่าลูกค้าเปิดดูอะไรสนใจอะไรและควรสื่อสารผ่านช่องทางไหนบ้าง เพื่อนำมาทำ Personalized Content / Segmented Content ต่อไป ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า Contextual Marketing ไม่ได้เป็นการตลาดสาย Mass ทำให้เป็นเกมการตลาดที่ SME สามารถเล่นและชนะเจ้าใหญ่ได้ เพราะ SME ปรับตัวได้ไวกว่าและสามารถทำงานละเอียดได้นั้นเอง โดยข้อดีของ Contextual Marketing เบื้องต้นมีดังนี้
แล้ว SME จะต้องทำยังไง กับ Contextual Strategy วันนี้เราได้สรุปมาให้ทุกคนได้ดูกัน 7 ข้อ ดังนี้
การตลาดแบบ Contextual marketing คือการพร้อมใช้โอกาสจากบริบทรอบตัวของลูกค้าแบบ Real-time มาเพิ่มโอกาสในการขาย และนำเสนอสิ่งที่ใช่กับลูกค้ามากที่สุด โดยยังคงรักษาความ Privacy ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการไว้ได้อย่างเต็มที่ คือการตลาดแบบ Customer Centric หรือการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพราะการตลาดแบบ Contextual marketing คือการตลาดแบบใส่ใจลูกค้าจริงๆ แล้วใช้โอกาสจากบริบทรอบตัวมาเพิ่มยอดขาย
อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8149.html
หากพูดถึงเรื่องเงิน คือ เรื่องใหญ่ของธุรกิจ โดยเฉพาะในเวลาที่คับขันเช่นนี้ อาจทำให้ธุรกิจของคุณสะดุดได้ วันนี้ SME ONE มี 4 วิธีการบริหารจัดการเงินยังไงให้ธุรกิจประคองอยู่รอดได้ในยุคนี้ จะมีอะไรบ้าง? มาดูพร้อมกันเลย
ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง?
4 ขั้นตอนบริหารการเงินในวิกฤต จากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นในวิกฤตเราสามารถวิเคราะห์ และไล่เรียงลำดับวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้
- เช็คงบกระแสเงินสดระยะสั้น ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ คงเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถประคองไปได้อีกเท่าไหร่
- เช็คผลการดำเนินงานกับแผนธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) แรงงานขาดแคลนไหม จัดลำดับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้
- ต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกเท่าไหร่ และใช้เมื่อไหร่ โดยสามารถย้อนดูได้จากเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ลองเรียงลำดับหนี้ที่ต้องจ่าย
- ตรวจสอบวงเงินกับธนาคาร ยังมีวงเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถเพิ่มขึ้นมาได้สูงสุดเท่าไหร่ ความยืดหยุ่นในข้อสัญญาเงินกู้สามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้าง
- แหล่งที่มาของเงินทุนอื่น มีอะไรอีกบ้าง เช่น เงินเก็บ, ครอบครัว, ทรัพย์สินที่มีอยู่
- สอบถามผู้ถือหุ้นสามารถระดมทุนเพิ่มได้หรือไม่
- มีสินทรัพย์อะไรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้บ้างในเวลานี้ อะไรที่สามารถขายทอดตลาดได้
- หาการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ
- วางแผนงบประมาณการใช้เงินในแต่ละส่วนให้คุ้มค่าที่สุด
- เจรจาต่อรองเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนผันสัญญา
- จัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ไม่ว่าฝั่งเจ้าหนี้ หรือนักลงทุน
- แจ้งสถานการณ์วิกฤตและการเงินของบริษัทให้แก่ผู้ร่วมรับผิดชอบและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ
- มองหาความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา อาทิ ทีม HR เมื่อต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น
- หาวิธีกระตุ้นยอดขาย หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมในระยะสั้น
- อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะๆ ประเมินสถานะทางการเงินอยู่ตลอดเวลา
- ตรวจเช็คแผนการที่วางไว้ว่าเหมาะสมหรือสามารถช่วยแก้สถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้หรือไม่
- หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในระยะยาว
ผู้ประกอบหลายคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนติดการเล่นเกม เพราะในเกมต้องไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะประสบความสำเร็จ วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จาก คุณ ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล Co-Founder of Nudge Thailand องค์กรที่ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ ให้แก่คนไทย กล่าวว่า
Gamification คือ การนำเอาบางส่วนของเกมมาใช้ โดยจะใช้เทคโนโลยีทางจิตวิทยาจากเกมเพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างจนเป็นนิสัยมาปรับใช้ในธุรกิจคือ อยากให้เกิดการทำซ้ำ Gamification สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนติดหรือสนุกกับมัน จนวางไม่ลงเหมือนถูกกระตุ้นอะไรบางอย่าง หรือให้ผู้ใช้ได้ใช้งานต่อเนื่อง รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้เช่นกัน
ในความเป็นจริงแล้ว Gamification ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลย บางที่หลายสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันก็คือ gamification เช่น บัตรสะสมแต้ม การใช้ points หรือ การสะสมแต้มเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือ “ลีดเดอร์บอร์ด” (leaderboard) ซึ่งก็คือตารางเปรียบเทียบคะแนนผู้เล่นว่าใครนำอยุ่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันนั่นเอง
แล้วทำไมธุรกิจต้องใช้ Gamification เพราะจากงานวิจัยของ Sailer, Hense, Mayr และ Mandl พบว่า Gamification ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในการทำงาน การศึกษา การเก็บข้อมูล การรักษาสุขภาพ การตลาด ซึ่งหลักการการทำ Gamification นั้น จะเน้นทำเพื่อสร้าง Engagement และ Motivation สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้ 2 มิติ คือ ใช้กับลูกค้า เน้นเรื่อง CRM customer relationship management รวมถึง marketing และใช้กับลูกน้อง เพื่อเน้นเรื่องการ learning หรือการเทรนพนักงาน โดย “ข้อมูลจาก Talent LMS, Neil Patel ได้รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์จากการใข้ Gamification เกิดการซื้อซ้ำ Conversion rate 700% การเทรนนิ่งในองค์กรดีขึ้นถึง 97%”
ขั้นตอนการเริ่มใช้ Gamification สำหรับ SME มีดังนี้
ซึ่งเทคนิคการทำ Gamification ให้ได้ผล แม้จุดประสงค์ของการนำ gamification เพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้คนรู้สึกเต็มใจทำจนเกิดเป็นพฤติกรรม แต่ว่าผลที่ได้อาจต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทคนิคทั้งนี้มีผู้ที่ทดลอง ทำบัตรสะสมแต้มสองใบ ใบที่หนึ่งเป็นบัตรสะสมแต้ม 8 ช่อง กับอีกหนึ่งบัตรที่มีการปั๊มให้ล่วงหน้าก่อน 2 ช่อง แต่เหลือแต้มที่ต้องสะสมอีก 8 ช่อง เท่ากัน “ที่ผลออกมาเช่นนี้ เนื่องจากมันมีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลัง มนุษย์เราถ้าเริ่มทำอะไรไปแล้วมีแนวโน้มจะทำต่อให้จบ”นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม เช่น ในการทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อกระตุ้นยอดขาย ในกรณีที่มีพนักงานฝ่ายขายทำยอดขายได้โดดเด่นก็ไม่ควรทำ leader board โชว์ อาจทำให้คนอื่นๆ ท้อ ฉะนั้นต้องระวังและต้องออกแบบให้เหมาะสม
อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8179.html
ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจได้ไปต่อ
SMEs ต้องรู้!! วันนี้ SME ONE มีข้อมูลเกี่ยวกับการ “ปรับโครงสร้างหนี้” มาบอกทุกคนกัน แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการปรับโครงสร้างนี้ ไม่ได้แปลว่าไร้ความสามารถ หรือ บริหารงานผิดพลาดจนธุรกิจล้มเหลวเสมอไป แต่ในบางครั้งด้วยสถานการณ์ที่เป็นเหตุทำให้ธุรกิจต้องสะดุดลง อย่าง COVID-19 เป็นเหตุทำให้หลายธุรกิจเจอทางตัน ดังนั้นอย่าปล่อยไว้ หรือรอจนสายกลายเป็นหนี้เสีย จนต้องเสียประวัติทางการเงิน คุณสามารถเลือกใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางออกให้กับธุรกิจในเวลานี้ได้
ทบทวนอนาคตธุรกิจ
หนี้ เป็นสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกว่าอนาคตของธุรกิจที่กำลังทำอยู่นั้น ยังมีทางรอดต่อไปได้หรือไม่? เพราะต้อง ยอมรับว่า COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปในหลายเรื่อง ถึงเวลาที่เราต้องทบทวนอนาคตทางธุรกิจ และต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ ทดแทน แต่ถ้าในกรณีที่ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ การปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอเวลาให้กระแส เงินสด (Cash Flow) ของธุรกิจกลับมา ถือเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้
เช็กกระแสเงินสด
สิ่งที่ต้องรู้ต่อมาคือกระแสเงินสด (Cash Flow) จะเป็นตัวชี้ชัดได้ว่าธุรกิจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ การที่ธุรกิจมีเงิน หมุนเวียนไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องกลับมามองว่าทำไมเงินหมุนเวียนถึงไม่พอ เกิดจากรายได้มีเข้ามาน้อยไปหรือไม่ หรือรายจ่ายมากเกินไป ดังนั้นเราควรมาปรับหรือลดและเพิ่มในส่วนนี้
ใช้วิธีการปรับ โครงสร้างหนี้ที่เหมาะสม
การขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ หรือการปล่อยเงินกู้ใหม่ ซึ่งในแต่ละวิธีการนั้น ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก ยกตัวอย่าง การขยายเทอม มีตั้งแต่ รูปแบบ ที่เป็น Debt Holiday คือ ไม่ต้องจ่าย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่วิธีการนี้ ดอกเบี้ยจะสะสมไปเรื่อยๆ หรืออาจจะ เป็นการขยายเทอมในรูปแบบผ่อนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เงินต้นจ่ายทีหลัง หรือแม้ แต่การเปลี่ยนประเภทสินเชื่อ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง เหล่านี้นับเป็นวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยทำให้ Cash Outflow ของธุรกิจลดลง หรือทำให้สอดคล้องกับ Cash Inflow ในสถานการณ์ปัจจุบันนั่นเอง
สุดท้ายนี้การปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ได้แปลว่า “เครดิตไม่ดี” เพราะในปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีมุมมองความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อ คำว่า “ปรับโครงสร้างหนี้” ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าหากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว อาจทำให้ธุรกิจมีตำหนิ หรือเครดิตไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วในมุมของธนาคารจะพิจารณาจากกระแสเงินสดของลูกค้าเป็นหลัก การที่กระแสเงินสดไม่มี ต้องไปดู ต่อว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เป็นต้น
ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ "มีดีต้องแชร์" โดยรวบรวมเครื่องมือ/กลไกที่ใช้ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ อันจะเป็นการเพิ่มความโปร่งใสและยกระดับธรรมาภิบาล ด้วยการเปิดเผยข้อมูลบริการประชาชนตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบทุกรูปแบบผ่านช่องทาง https://nacaoc.pacc.go.th/covid19/index_shared.php
หรือสแกน QR Code ด้านล่าง