ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือน มิถุนายน 2565

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำเดือน มิถุนายน 2565

https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20220802103829.pdf

 

บทความแนะนำ

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) รายเดือน มิถุนายน 2565

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) รายเดือน มิถุนายน 2565

https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20220726161855.pdf 

บทความแนะนำ

รู้หรือไม่? เจ้าของกิจการขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้ กับ 3 วิธีช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับธุรกิจของคุณ

รู้หรือไม่? เจ้าของกิจการขอสินเชื่อส่วนบุคคลได้

กับ 3 วิธีช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับธุรกิจของคุณ

 

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการที่มีรายได้หลักมาจากธุรกิจของตัวเองบางครั้งอาจจะมีปัญหาในการแบ่งแยก และบริหารจัดการทางด้านการเงินระหว่างส่วนตัวกับธุรกิจจนทำให้เกิดความสับสนตามมา บางครั้งอาจต้องการเงินสดแบบด่วนๆ คุณสามารถขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารได้

 

SME ONE ขอพาทุกคนมาดูกันว่าเราจะมีการบริหารจัดการการเงินอย่างไรให้มีความลงตัวมากที่สุดและสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้

 

1.ให้รายได้กับตัวเองในรูปแบบของเงินเดือน 

การจัดสรรรายได้ของกิจการบางส่วนมาแบ่งให้กับตัวเองในรูปแบบของรายได้ประจำมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบเดียวกับพนักงานประจำทั่วไปได้ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน เนื่องมาจากวิธีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยทั่วไปของธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบรายได้ที่มีความมั่นคงแน่นอนมากกว่า แม้ว่ารายได้จะน้อยกว่าการเป็นเจ้าของกิจการแต่สถาบันการเงินจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องมากกว่าจำนวน การให้เงินเดือนกับตัวเองยังเป็นวิธีการแยกแยะรายได้ส่วนตัวกับรายได้ของกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้ไม่เกิดความสับสนในการจัดการบัญชี โดยเจ้าของกิจการจะต้องประเมินรายได้ขั้นต่ำที่เกิดขึ้นต่อเดือนและนำมาประเมินต่อเป็นเงินเดือนของตัวเองที่จะต้องเพียงพอต่อการใช้ชีวิต

 

2.นำรายได้ของกิจการมาเป็นทรัพย์สินของตัวเอง 

วิธีการแบบนี้ใช้ได้กับกิจการที่มีเจ้าของคนเดียวเบ็ดเสร็จหรือผู้ถือใหญ่เพียงรายเดียว เพราะหากเลือกใช้วิธีนี้เวลาที่ไปขอสินเชื่อบุคคลกับทางธนาคาร สถาบันการเงินจะคำนวนรายได้ของกิจการต่อเดือนจากนั้นนำมาหารเฉลี่ยด้วยสัดส่วนของหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในกิจการ ตัวอย่างเช่น นาย ก มีการถือหุ้น 97% ในกิจการที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 100 บาท สถาบันการเงินจะประเมินว่านาย ก มีรายได้ต่อเดือนที่ 97 บาท เพื่อนำไปใช้ในการประเมินเครดิตในการให้สินเชื่อ เป็นต้น

 

3.ใช้ทรัพย์สินของกิจการเป็นวงเงินค้ำประกัน 

วิธีนี้เหมาะสมกับเจ้าของกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียวเช่นกันเพื่อที่จะไม่เกิดปัญหาในการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขอสินเชื่อ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้ค้ำประกันกับทางธนาคารได้มีตั้งแต่สถานประกอบการ โรงงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามการนำทรัพย์สินของกิจการนำไปใช้ขอสินเชื่อกับธนาคารอาจจะจำกัดเฉพาะสถาบันการเงินบางแห่งเท่านั้นที่มีบริการหรือสินเชื่อประเภทนี้ให้บริการ เนื่องจากอาจจะเกิดความสับสนกับสินเชื่อธุรกิจได้ วงเงินที่สามารถขอได้จึงไม่สูงมากนักและอัตราดอกเบี้ยก็จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสินเชื่อปกติ แต่วิธีการนี้ก็จะเป็นการแยกส่วนของเงินระหว่างของธุรกิจกับเจ้าของออกจากกัน

 

และนี่ 3 วิธีการบริหารจัดการการเงินให้มีความลงตัว เพื่อที่ให้คุณสามารถขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/7564.html

บทความแนะนำ

“Contextual Marketing” อาวุธลับเพิ่มยอดขาย การตลาดที่ SME สามารถเอาชนะเจ้าใหญ่ได้

“Contextual Marketing” อาวุธลับเพิ่มยอดขาย

การตลาดที่ SME สามารถเอาชนะเจ้าใหญ่ได้

 

อยากชนะเจ้าใหญ่ได้ เราต้องมีอาวุธเพื่อเพิ่มยอมขาย สำหรับ SMEs คนไหนที่อยากประสบความสำเร็จทางธุรกิจ SME ONE ก็ไม่พลาดที่จะนำ กลยุทธ์การตลาดที่มาแรงมากๆ ในปี 2022 อย่าง Contextual Marketing ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบและสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) เพื่อที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้

 

Contextual Marketing คือ การศึกษาข้อมูลหรือบริบทรอบตัวของผู้คนเพื่อนำมาวางแผนสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ด้วยการนำเสนอคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับคนๆ นั้นในรูปแบบต่างๆ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเพื่อให้เกิดผลบางอย่าง หรือบริบทต่างๆ ที่จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาทำ Contextual Marketing

 

โดยข้อมูลต่างๆ จาก Data Point ต่างๆ จะถูกนำมารวบรวมและประมวลผลซึ่งอาจใช้ระบบหรือเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น AI, IoT, Analytic Software, Website, Social Media, CRM Software เพื่อดูว่าลูกค้าเปิดดูอะไรสนใจอะไรและควรสื่อสารผ่านช่องทางไหนบ้าง เพื่อนำมาทำ Personalized Content / Segmented Content ต่อไป ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า Contextual Marketing ไม่ได้เป็นการตลาดสาย Mass ทำให้เป็นเกมการตลาดที่ SME สามารถเล่นและชนะเจ้าใหญ่ได้ เพราะ SME ปรับตัวได้ไวกว่าและสามารถทำงานละเอียดได้นั้นเอง โดยข้อดีของ Contextual Marketing เบื้องต้นมีดังนี้

 

  1. ต้นทุนค่อนข้างถูกกว่าการตลาดในแบบอื่นเพียงแค่ต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับธุรกิจและวัตถุประสงค์ทางการตลาด
  2. เลือกเป้าหมายได้อย่างชัดเจนว่าจะทำแคมเปญการตลาดในช่วงไหน
  3. สร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้ารวมไปถึงความพึงพอใจ
  4. สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของลูกค้ามากขึ้น
  5. ไม่สร้างให้เกิดผลกระทบต่อการรับข้อมูลข่าวสารที่มากจนเกินไป เพราะมีการวิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้วว่าอะไรที่เหมาะสมกับลูกค้าที่สุด
  6. พลิกฟื้นสินค้าให้กลับมาอยู่ในความสนใจของลูกค้าผ่านแคมเปญใหม่ๆ
  7. ต่อยอดไปสู่ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น

 

แล้ว SME จะต้องทำยังไง กับ Contextual Strategy วันนี้เราได้สรุปมาให้ทุกคนได้ดูกัน 7 ข้อ ดังนี้

  1. ระบุ Buyer Persona ให้ได้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดกลุ่มให้ชัดเจน Customer Segment ใครเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมที่ซื้อสินค้าคุณประจำ ใครเป็นลูกค้าใหม่ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ครั้งแรก
  3. จัดการประสบการณ์ให้หมดทั้งกระบวนการผ่านการเขียนการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey)
  4. เลือกจุดสัมผัสและช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าโดยอาศัยข้อมูลการเข้ามาปฏิสัมพันธ์ว่า ช่องทางไหนเหมาะกับกลุ่มไหน
  5. กำหนดวัตถุประสงค์และเตรียมวางแผนว่าจะสร้าง Call-to-Action อะไรบ้างจากข้อมูลที่ได้มา เช่น อยากให้เกิดการซื้อสินค้า อยากให้เกิดการอ่านข้อมูลเพิ่มเติม อยากให้ติดต่อ อยากให้กรอกข้อมูล
  6. วางแผนการสื่อสารด้วย IMC Plan ว่าเราจะสื่อสารโดยแบรนด์เมื่อไหร่ สื่อสารโดย Influencer เมื่อไหร่ Content แบบไหนเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายไหนต้องสื่อสารคอนเทนต์ที่แตกต่างกันตามกลุ่ม ช่วงเวลา และวัตถุประสงค์ และสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ โดยควบคุมความถี่ของการเข้าถึงคอนเทนต์ซ้ำๆ
  7. ทดสอบ วัดผล และแก้ไขพัฒนาอยู่เสมอ

 

การตลาดแบบ Contextual marketing คือการพร้อมใช้โอกาสจากบริบทรอบตัวของลูกค้าแบบ Real-time มาเพิ่มโอกาสในการขาย และนำเสนอสิ่งที่ใช่กับลูกค้ามากที่สุด โดยยังคงรักษาความ Privacy ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการไว้ได้อย่างเต็มที่ คือการตลาดแบบ Customer Centric หรือการเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพราะการตลาดแบบ Contextual marketing คือการตลาดแบบใส่ใจลูกค้าจริงๆ แล้วใช้โอกาสจากบริบทรอบตัวมาเพิ่มยอดขาย

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/marketing/8149.html

บทความแนะนำ

จะทำอย่างไร หากเจอวิกฤตการเงิน มาดู 4 ขั้นตอนพยุงธุรกิจให้รอดยามคับขัน

จะทำอย่างไร หากเจอวิกฤตการเงิน มาดู 4 ขั้นตอนพยุงธุรกิจให้รอดยามคับขัน

 

หากพูดถึงเรื่องเงิน คือ เรื่องใหญ่ของธุรกิจ โดยเฉพาะในเวลาที่คับขันเช่นนี้ อาจทำให้ธุรกิจของคุณสะดุดได้ วันนี้ SME ONE มี 4 วิธีการบริหารจัดการเงินยังไงให้ธุรกิจประคองอยู่รอดได้ในยุคนี้ จะมีอะไรบ้าง? มาดูพร้อมกันเลย

         

ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง? 

                                                                                                              

  1. การดำเนินการธุรกิจลดลง เช่น รายได้, การผลิต ฯลฯ
  2. ปัญหาสภาพคล่อง รายจ่าย มากกว่ารายรับ
  3. โอกาสเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
  4. ไม่สามารถแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ได้ 

 

4 ขั้นตอนบริหารการเงินในวิกฤต จากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นในวิกฤตเราสามารถวิเคราะห์ และไล่เรียงลำดับวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้

  1. จำแนกปัญหา เช็คสถานะทางการเงินปัจจุบัน

- เช็คงบกระแสเงินสดระยะสั้น ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ คงเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถประคองไปได้อีกเท่าไหร่

- เช็คผลการดำเนินงานกับแผนธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) แรงงานขาดแคลนไหม จัดลำดับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้

- ต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกเท่าไหร่ และใช้เมื่อไหร่ โดยสามารถย้อนดูได้จากเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ลองเรียงลำดับหนี้ที่ต้องจ่าย

 

  1. ประเมินทรัพยากรและแหล่งทุนที่มี

- ตรวจสอบวงเงินกับธนาคาร ยังมีวงเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถเพิ่มขึ้นมาได้สูงสุดเท่าไหร่ ความยืดหยุ่นในข้อสัญญาเงินกู้สามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้าง                             

- แหล่งที่มาของเงินทุนอื่น มีอะไรอีกบ้าง เช่น เงินเก็บ, ครอบครัว, ทรัพย์สินที่มีอยู่

- สอบถามผู้ถือหุ้นสามารถระดมทุนเพิ่มได้หรือไม่

- มีสินทรัพย์อะไรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้บ้างในเวลานี้ อะไรที่สามารถขายทอดตลาดได้

- หาการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ

 

  1. จัดทำแผนบริหารเงินสด

- วางแผนงบประมาณการใช้เงินในแต่ละส่วนให้คุ้มค่าที่สุด

- เจรจาต่อรองเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนผันสัญญา

- จัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ไม่ว่าฝั่งเจ้าหนี้ หรือนักลงทุน

- แจ้งสถานการณ์วิกฤตและการเงินของบริษัทให้แก่ผู้ร่วมรับผิดชอบและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ

- มองหาความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา อาทิ ทีม HR เมื่อต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น

- หาวิธีกระตุ้นยอดขาย หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมในระยะสั้น

 

  1. ติดตามผลแบบเรียลไทม์ เพื่อปรับแก้ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

- อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะๆ ประเมินสถานะทางการเงินอยู่ตลอดเวลา

- ตรวจเช็คแผนการที่วางไว้ว่าเหมาะสมหรือสามารถช่วยแก้สถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้หรือไม่

- หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในระยะยาว

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/7824.html 

บทความแนะนำ