บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ขอมอบสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ

บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ขอมอบสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ดังนี้
- สื่อการเรียนรู้เรื่องการทำการตลาดออนไลน์ผ่านแชทคอมเมิร์ซด้วยโซลูชั่นของไลน์ผ่านช่องทาง LINE For Business
- สิทธิประโยชน์ผ่าน LINE Family Club สำหรับผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนใช้งาน LINE for Business
- สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน LINE for Business
- เครดิตโฆษณาบนไลน์มูลค่า 2,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้งานโฆษณาบนไลน์ (LINE Ads)
เป็นครั้งแรก เมื่อมียอดชำระค่าโฆษณาตั้งแต่ 2,000 บาท จำนวน 100 สิทธิต่อเดือน เป็นระยะเวลา
12 เดือน ทั้งนี้ เงื่อนไขอาจปรับได้ตามที่บริษัทเห็นสมควร

* สำหรับผู้ประกอบการที่มี SME ONE ID ลงทะเบียนและรับสิทธิประโยชน์ผ่าน SME CONNEXT
** ลิงค์องค์ความรู้ต่าง ๆ ดูเพิ่มเติมได้จาก www.smeacademy365.com

บทความแนะนำ

"มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา" มีอะไรบ้างและน่าสนใจอย่างไร ?

"มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา" มีอะไรบ้างและน่าสนใจอย่างไร ?
 
DCT ชวนส่องมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ถึงรายละเอียด วิธีการ และเงื่อนไขขอรับสิทธิประโยชน์ รวมทั้ง แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติในการขอการรับรองสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย
 
1. ค่าใช้จ่าย R&D ยกเว้นภาษี 200%
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้สูงสุดถึง 2 เท่า ของรายจ่ายจริง กรณีที่จ่ายไปเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (RDI) ให้แก่ผู้รับทำการวิจัยฯ ที่ได้รับการประกาศในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
 
>> ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาภาคเอกชน สวทช. www.nstda.or.th/rdp
 
2. บริจาคเงินเข้ากองทุนฯ สวทช. รับสิทธิ BOI เพิ่ม
สนับสนุนเงินเข้ากองทุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคนโลยีของ สวทช. จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นวงเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ตามมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (ตามประกาศฉบับที่ 10/2565) จาก BOI
 
>> ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริการทางการเงินเพื่อนวัตกรรม (IF5) งานสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมภาคเอกชน (TEl) สวทช. www.nstda.or.th/tei 
 


บทความแนะนำ

“อาเซียนมีส่วนสร้างเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างไรในทศวรรษที่ผ่านมา & ท่านมุ่งหวังให้อาเซียนทำอะไรหลัง ค.ศ. 2025?”

 มาร่วมกันสร้างอนาคตของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน! 

 ขอเชิญร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2025 ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ในการตอบแบบสำรวจความคิดเห็น

“อาเซียนมีส่วนสร้างเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างไรในทศวรรษที่ผ่านมา & ท่านมุ่งหวังให้อาเซียนทำอะไรหลัง ค.ศ. 2025?” 
(ASEAN SURVEY: How has ASEAN contributed to the regional economy over the past decade & what is your aspiration for ASEAN beyond 2025?)

 คลิกลิงค์เลย !  https://tinyurl.com/AECPost2025Survey 

 

 มาร่วมกันสร้างอาเซียนที่ทุกคนมีส่วนร่วม อุดมไปด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และมีพลวัตด้วยกันเถอะ!  

#ASEANEconomicCommunity #ASEANCommunityVision2045

บทความแนะนำ

กรมสรรพากรเผยหลักเกณฑ์มาตรการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท

"กรมสรรพากรเผยหลักเกณฑ์มาตรการ “Easy E-Receipt” ลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท เริ่ม 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น"

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receipt” เพื่อสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เฉพาะที่ได้รับ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เท่านั้น
 
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ “Easy E-Receipt” โดยให้ผู้ซื้อสินค้าสังเกตร้านค้าทีมีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้
 
1. กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึง
    (1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
    (2) ค่าซื้อยาสูบ
    (3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
    (4) ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
    (5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต       
    (6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
    (7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
 
2. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา ๑๐๕ แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้
   (1) ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
   (2) ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
   (3) ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว   


   
3. ค่าซื้อสินค้าและค่าบริการตามข้อ 1 และ 2 เมื่อรวมกันแล้วสามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
 
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “มาตรการ Easy E-Receipt จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยคาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.18”
 
ผู้เสียภาษี และร้านค้าสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rd.go.th หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 
ที่มา : รัฐบาลไทย



บทความแนะนำ