“ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ก่อตั้งและเปิดดำเนินการมามากกว่า 15 ปี โดยตลอดระยะเวลาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ ทั้งการขยายสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมไปถึงการปรับปรุง TCDC ให้มีรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับการให้บริการในแต่ละพื้นที่ที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น TCDC ที่เป็นสาขาเต็มรูปแบบ MINI TCDC ที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และ TCDC COMMONS
โดย TCDC COMMONS สร้างขึ้นเพื่อเป็นช่องทางให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้และต่อยอดศักยภาพในทางด้านความคิดสร้างสรรค์และเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ Creativity ของผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์กับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการที่จะพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ ธุรกิจที่ต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ธุรกิจการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ แอนิเมชันและภาพยนตร์ ตลอดจนร้านอาหารและร้านค้า
ที่นี่มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ โดยมีภารกิจ 3 อย่างคือ
1.Challenge คือ ให้ผู้ประกอบการคิดถึงคุณค่าของธุรกิจของตัวเอง อย่างการให้คำปรึกษา Design Thinking , Service Design
2.Change เช่น การอบรมเชิงลึก การทำงานร่วมกัน
3.Connect คือ ทำงานกับเครือข่าย ออนไลน์ ออฟไลน์ ให้ทดลองตลาด เช่น ลาซาด้า นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในการให้บริการที่
หลากหลาย มุมสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทดลองผลิตชิ้นงานเบื้องต้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนไอเดียและศึกษาหาความรู้ด้านการโฆษณา
TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เฉพาะด้านการออกแบบการสื่อสาร (Communication Design Library) ที่เพรียบพร้อมไปด้วยคลังความรู้ที่ครอบคลุม 21 สาขางานออกแบบที่เข้าถึงได้ยากและเป็นแบบเชิงลึกทั้งจากในและนอกประเทศทั่วโลก มีอุปกรณ์ ฐานข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องของการออกแบบและการผลิต รวมถึงการสื่อสารแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไปจนถึงการผลิตโฆษณาและการออกแบบ Packaging
นอกจากคลังความรู้ที่ TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน มีไว้ให้บริการแล้วนั้น พื้นที่ของโครงการยังถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่ออกแบบมาให้เป็น Co-Working Space ให้กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความชอบความสนใจคล้ายๆกัน ได้มาแลกเปลี่ยนไอเดีย และแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดชิ้นงานที่ดีที่สุด นอกจากนั้นที่นี่ยังมีห้องประชุมที่เหมาะสำหรับการจัดสัมมนาหรือการระดมความคิด สำหรับผู้ประกอบการ SME เพราะที่นี่เปรียบเสมือนเป็น Creative Community ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆให้กันได้ตลอดเวลา ผ่านเครือข่ายของ TCDC ทั่วประเทศ
และในทุกๆเดือน TCDC แต่ละที่จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ SME ทั้งในรูปแบบของ การฝึกอบรมทักษะ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ การจัดนิทรรศการแบบหมุนเวียน รวมไปถึงการจัดสัมมนาเพื่อการหาผู้ที่มีความสนใจในการทำธุรกิจที่จะสามารถเชื่อมโยงและร่วมมือกันต่อยอดไปข้างหน้า TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน จึงเป็นเหมือนเป็นประตูไปสู่องค์ความรู้และการเข้าถึงกลุ่มของนักสร้างสรรค์ รวมไปถึงบรรดานักลงทุน โดยที่นี่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงและดึงศักยภาพของผู้ประกอบการ SME ทุกๆเจ้าให้ออกมาอย่างเต็มที่
TCDC COMMONS IDEO-Q จุฬา-สามย่าน ตั้งอยู่ในโครงการ IDEO-Q จุฬา-สามย่าน โดยบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ ได้อย่างสะดวกและง่ายดายด้วยรถไฟใต้ดิน MRT ลงสถานีสามย่าน และออกทางออกตรงวัดหัวลำโพง ตั้งแต่เวลา 10.30-19.00 น. โดยมีรายละเอียดการใช้บริการดังนี้
1.บัตรใช้บริการรายวัน 100 บาท
สิทธิพิเศษ
-ส่วนลดค่าถ่ายเอกสารและสแกนเอกสาร
-บริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร ด้านการออกแบบจากทั่วโลก
-บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ภายใน TCDC เท่านั้น)
-บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นคว้า
-บริการสื่อมัลติมีเดีย
-บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi Internet)
-บริการจองทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ library.tcdc.or.th
2.ประชาชนทั่วไป 1,200 บาทต่อปี
สิทธิพิเศษ
-ส่วนลดค่าถ่ายเอกสารและสแกนเอกสาร
- บริการหนังสือ วารสาร นิตยสาร ด้านการออกแบบจากทั่วโลก
- บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ภายใน TCDC เท่านั้น)
- บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นคว้า
- บริการสื่อมัลติมีเดีย
- บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi Internet)
- บริการจองทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ library.tcdc.or.th
-สมาชิกฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ Material ConneXion บริการฐานข้อมูลวัสดุที่มีนวัตกรรมและทันสมัยจากทั่วโลก
สามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่เคาน์เตอร์ หรือ สมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.tcdc.or.th/tcdccommons/ หรือ https://www.facebook.com/COMMONSIDEOQChulaSamyan
ติดต่อทางอีเมล์ info@tcdc.or.th เบอร์ 021085886
Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) เป็นหน่วยงานที่ให้บริการกลุ่มอุตสาหกรรมในด้านการสอบเทียบและวิเคราะห์ทดสอบ เครื่องมือวัดและอุปกรณ์เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือชั่ง เครื่องมือตวง หรือเครื่องมือวัด รวมไปถึงการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องมือ เพื่อการผลิตในระบบตามคุณภาพมาตรฐาน และการให้คำแนะนำ ทั้งการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ตั้งแต่ตั้งต้นผลิต จนถึงตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานตัวผลิตภัณฑ์ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการตรวจสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต
ระดับสากลเช่น ISO , อย. , สมอ.
ผู้ประกอบการSMEที่สนใจขอเข้ารับการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบสามารถติดต่อหรือส่งตัวอย่างมาได้ที่
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 1 ซี
ถนน สุขุมวิท อำเภอ เมือง จังหวัด สมุทรปราการ 10280 โทรศัพท์ 02-323-1672-80 โทรสาร 02-323-9165
หรือหากไม่สะดวกก็สามารถส่งไปที่ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) สาขาอื่นได้ทั้ง สาขาบางเขน, สาขาคลองห้า
สาขาอมตะซิตี้ และสาขามาบตาพุด การส่งตัวอย่างต้องระวังเรื่องการจัดส่งขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อให้การตรวจมาตรฐานเป็นไปได้อย่างถูกต้องโดยระยะเวลาผลตรวจด้านขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงานนั้น ๆ ส่วนมากไม่เกิน 1 เดือน
อัตราค่าบริการอาจมีลดหย่อนได้บ้างเป็นรายๆไป หรือถ้าสนใจเพิ่มเติม เข้าชมได้ที่เว็บไซต์ www.tistr.or.th
Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) เป็นเครือข่ายให้บริการด้านความรู้ พัฒนา ทดสอบ ให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและทั้งแฟชั่นไลฟ์สไตล์ให้บริการในหลากหลายมิติ เน้น นวัตกรรม (Innovation) การออกแบบ (Design) และ การเชื่อมโยง (Connect) ให้วิสาหกิจโดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เป็นตัวกลางเชื่อมเอกชนและรัฐ เพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของตลาด อาทิ กลุ่มสิ่งทอเทคนิค และสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษ กลุ่มสิ่งทอในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยานยนต์ กลุ่มสิ่งทอเพื่อสุขภาพและการแพทย์เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังรองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง เป็นต้น
ศูนย์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (THTI) ให้บริการผู้ประกอบการหลากหลายด้านด้วยกัน
ผู้ประกอบการด้านสิ่งทอที่มีความสนใจอยากใช้บริการสามารถติดต่อเข้ามาได้เลยที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โดยสามารถติดต่อบริการภายในศูนย์ได้ดังนี้
ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ 0 2713 5492-9 ต่อ 512-517
ศูนย์วิจัยพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ 0 2713 5492-9 ต่อ 407, 408, 413
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 543, 882
ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม 0 2713 5492-9 ต่อ 222, 711, 732, 740
บริการอบรมและสัมมนา 0 27195492-9 ต่อ 101
Messe Frankfurt / งานจัดแสดงสินค้า 0 27135492-9 ต่อ 202, 229
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 0 2712 1592
ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและมาตรฐาน 0 2712 4527 ต่อ 550
และบริการรับตัวอย่างบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล เวลาทำการ: จันทร์- ศุกร์ 8.00-17.00 น. (ไม่ปิดพักกลางวัน)
ระยะเวลาการให้บริการทดสอบ
ปกติ (Regular) 5 วันทำการ
ด่วน (Express) 3 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 40%
ด่วนพิเศษ (Double Express) 2 วันทำการ คิดค่าบริการเพิ่ม 70%
บริการทดสอบให้ผลภายใน 1 วัน (Same Day) คิดค่าบริการเพิ่ม 100%
ส่งตัวอย่างทดสอบก่อน12.00 น. นับวันที่มาส่งตัวอย่างเป็นวันแรกของวันทำการ
ส่งตัวอย่างทดสอบหลัง12.00 น. นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกของวันทำการ
หมายเหตุ บริการด่วน, ด่วนพิเศษ และบริการที่ให้ผลภายใน 1 วัน เฉพาะบางรายการทดสอบ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Thailand Textile Institute
(link แบบฟอร์ม https://testing.thaitextile.org/wp-content/uploads/2019/11/5.1-Testing-Application-Form.pdf)
หมายเหตุ ให้ระบุหน้าผ้า แนวเส้นด้ายยืนบนตัวอย่าง กรณีตัวอย่างเป็นสารเคมีให้แนบ Material Safety Data Sheet และการทดสอบทางเคมีให้บรรจุตัวอย่างแยกตัวอย่างละถุง
2. ส่งใบคำขอและตัวอย่างมาทดสอบที่ศูนย์วิเคราะห์ โดยสามารถส่งได้ 3วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 : ส่งด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ อาคารเคมีและคุณภาพสิ่งทอ หน่วยบริการลูกค้า (ชั้น 2)
วิธีที่ 2 : ส่งทางไปรษณีย์ได้ที่
หน่วยบริการลูกค้า ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซ.ตรีมิตร
ถ.พระราม4แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ10110
วิธีที่ 3 : ใช้บริการรับตัวอย่างของศูนย์ฯ (เฉพาะเขต กทม.) *
(*) มูลค่าการส่งทดสอบตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นสมาชิก)
ติดต่อ คุณสุธาทิพย์ เสือหาญ
โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 512
E-mail: suthatip@thaitextile.org
ติดต่อ คุณวันดี มาลัยหอม
โทรศัพท์ 02-713-5492-9 ต่อ 514
Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น หรือ ที่รู้จักกันในนามของ Sci Park ขอนแก่นนั้น ถือเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงองค์ความรู้และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวบรวมเทคโนโลยี งานวิจัย ข้อมูล ห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงเป็นที่ปรึกษาช่วยแก้ไขปัญหาการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อช่วยเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป โดยมีบริการที่โดดเด่นในสองเรื่องด้วยกันคือ
ห้องวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food Analysis Laboratory) ผู้ประกอบการสามารถมาเริ่มต้นการพัฒนาธุรกิจอาหารธุรกิจ และการวิเคราะห์ทดสอบวัตถุดิบต่างๆ วิเคราะห์ด้านโภชนาการอาหาร เช่น วิเคราะห์หาปริมาณไขมัน วิเคราะห์หาพลังงานแคลอรี่ วิเคราะห์หาอายุการเก็บรักษาของอาหาร โดยเหมาะกับผู้ที่มีไอเดียหรือแนวคิดในการผลิตสินค้าใหม่ๆ ร่วมไปถึงการให้บริการออกหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบตามวิธีมาตรฐาน
และบริการที่โดดเด่นอีกอย่างนึงของ Sci-Park ขอนแก่นนั่นก็คือ ก็คือโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหารหรือ Food Pilot Plant ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้บริการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งที่โรงงานต้นแบบนี้มีนวัตกรรมทางการผลิตที่ทันสมัยสามารถรองรับการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีส่วนผสมของน้ำ หรือ แบบสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป โดยผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนแนวความคิดที่ตัวเองมีเพื่อมาขึ้นรูปและสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ได้ที่โรงงานแห่งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเมื่อผู้ประกอบการได้ทำการทดสอบจนมั่นใจแล้ว ก็สามารถนำองค์ความรู้ทั้งในเรื่องของส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตต่างๆ เพื่อนำไปขยายผลสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมได้ต่อไปในอนาคต
- ให้บริการและคำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก้ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยเน้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
- บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (TECHNOLOGY BUSINESS INCUBATOR SERVICE)
- รวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ เพื่อเผยแพร่และให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) แก่ประชาชน และภาคการผลิต สามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- บริการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน (IRTC) การใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการฝึกอบรมการเสาะหาเทคโนโลยีจากแหล่งต่าง ๆ
-บริการงานวิจัย ให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาศึกษาและปรับใช้กับผชิตภัณฑ์ของตนเอง
ที่ Sci- Park ขอนแก่นยังมีบริการ CO Working Space เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในทุกอุตสาหกรรม ได้ เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อหาความรู้และดำเนินธุรกิจ โดยเน้นไปที่การสร้าง ชุมชนแห่งนวัตกรรมหรือ Innovation Community กับ รูปแบบหลักสองรูปแบบด้วยกันคือ 1. Co Working Space แบบ Open เป็นการให้บริการพื้นที่ทำงานแบบเปิด กับ 2. Co working space แบบ Fix Deck ที่จะมีการระบุ โต๊ะที่นั่งประจำสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความเป็นส่วนตัว โดยยังมีบริการห้องประชุมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้พื้นที่สำหรับการเจรจาธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ที่รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ 5 คน ไปจนถึงห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับได้ 200 คนขึ้นไป เหมาะสำหรับการจัดงานสัมนาขนาดย่อมสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ
เพื่อเป็นการสร้างการพัฒนาแบบยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการทาง Sci- Park ขอนแก่น ยังมีศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร สำหรับผลงานหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ที่มีความโดดเด่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อการคุ้มครองไปจนถึงขั้นตอยการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ บริการให้คำปรึกษาในเรื่องของการให้คำปรึกษาด้านการกับการจดสิทธิบัตรเพื่อป้องการการลอกเลียนแบบ
และในส่วนของการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขอมาตราฐาน สินค้าอุปโภคและบริโภค ไม่ว่าจะเป็น มาตราฐานของ อย.(องค์การอาหารและยา) หรือ GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อให้ผลิตภันผู้ประกอบการสามารถผ่านการรับรองและนำไปเข้าสู่กระบวนการของการจัดจำหน่ายได้อย่างเต็มรูปแบบ
ผู้ประกอบการที่มีไอเดียหรือผลิตภัณฑ์สามารถมาเปลี่ยนแนวความคิดที่ตัวเองมีมาพัฒนา ไอเดียหรือ นำผลิตภัณฑ์มาขึ้นรูปและสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ได้ที่โรงงานแห่งนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจเข้าใช้บริการติดต่อมาที่ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) เปิดจันทร์-ศุกร์ 08.30 น. - 16.30 น. Tel: +66 4304 8048
Email: info@kkusp.com หรือ กรอกใบสมัครขอรับบริการที่ https://sciencepark.kku.ac.th/project
Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
สถาบันไทย-เยอรมัน (Thai-German Institute) หรือ TGI จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเป็นองค์กรนำในการเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยการยกระดับเทคโนโลยี นวัตกรรมและบุคลากร รวมทั้งเครื่องจักรกลและแม่พิมพ์ ให้สามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0
ช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการโดยการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติเพื่อสามารถกลับไปประยุกต์ใช้งานจริงได้ เช่น การให้คำแนะนำด้านการผลิต และเทคโนโลยี เหมาะกับ ผู้ประกอบการทุกประเภทที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตภาคอุตสาหกรรม
สถาบันไทย-เยอรมัน มีบริการหลักเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดังนี้
1.การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี อย่างเช่น เรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องจักร ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร CNC การออกแบบเครื่องจักรให้ผลิตได้จำนวนมากขึ้น งานวิเคราะห์ความเสียหายของอุปกรณ์หลังเกิดเหตุ ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักร โดยนำผลการวิเคราะห์พฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นของเครื่องจักร โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากสถาบันนานาชาติ
2.การบริการอุตสาหกรรม เช่น บริการทดสอบและสอบเทียบ การทดสอบวัสดุ รวดเร็ว/ราคาถูก/ผลทดสอบพร้อมตีความผลพร้อมคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการผลิต รับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร รับผลิตชิ้นงานเพื่อวิจัย ฯลฯ
3.รับออกแบบและผลิตชิ้นงาน ออกแบบและสร้างระบบอัตโนมัติ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร แม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปพลาสติก แม่พิมพ์ต้นแบบ แม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะ การทำชิ้นงานต้นแบบจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (แต่ทั้งนี้ไม่ได้ไปแข่งกับภาคอุตสาหกรรม) ออกแบบเครื่องจักรกล งานเชื่อมโลหะและประสานโลหะ
4.เทรนนิ่งและสัมมนา ทั้งทางด้านการจัดการ และ ทางด้านเทคนิค (เพื่อสร้างฝึกผู้สอน)
5.บริการงานวิจัยส่วนของงานภาครัฐ
ลูกค้าภาคเอกชนและผู้ประกอบการSMEs สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมฝึกอบรม สัมมนาได้ ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ และเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภาคธุรกิจ เนื่องจากนโนบายจากภาครัฐที่สนับสนุนแต่ละปีไม่เหมือนกันโดยพัฒนาต่อยอดแก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต และหลังจากอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มเข้ามาพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น เข้ามาขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน ว่าต้องมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไรต่อไป
ด้วยความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ของสถาบันไทย-เยอรมัน ทั้งบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และนำความรู้ไปสอน จากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ และนำไปประยุกต์การทำงาน สร้างความเชื่อถือให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันไทย-เยอรมันเพื่อเข้าคอร์สฝึกอบรม ได้ที่ https://www.tgi.or.th/app/register/personal และเลือกดูตารางการอบรมที่ https://www.tgi.or.th/ หรือติดต่อทางศูนย์พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง สถาบันไทย-เยอรมัน (ศูนย์กรุงเทพฯ) อาคารปฏิบัติการ A สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน 86/6 ซอยตรีมิตร ถ.พระราม4 แขวงกล้วยน้ำไท เขตคลองเตย จ.กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทร 038-215033-39, 033-266040-44
E-mail crm_dept@tgi.mail.go.th
Published on 30 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย