
หัวข้อ : ลงทุนขยายกิจการ ใช้เงินตัวเองหรือกู้แบงค์ดี
อ่านเพิ่มเติม :https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=18&itemId=171
หากเราจะลงทุนเงินสักก้อน เราจะใช้เงินตัวเอง หรือ ควรกู้แบงก์ดี ? หลาย ๆ ท่านอาจคิดว่า ใช้เงินตัวเองดีกว่าเพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจากเงินกู้ หากคิดในเรื่องของดอกเบี้ยอย่างเดียว ถือเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าการลงทุนขยายกิจการ สิ่งที่ตามมานอกเหนือจากตัวเงินนั้น คือความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ตามมาด้วย และนี่คือ 4 เหตุผล ว่าหากคุณจะขยายกิจการ คุณควรใช้เงินตัวเอง หรือ กู้แบงค์ดีกว่ากัน ?
1. เรื่องเงินทุนในการขยายกิจการ
ใช้เงินตัวเอง การที่จะขยายกิจการนั้น เราต้องมีเป้าหมายที่วางไว้เป็นรูปธรรมอยู่แล้ว ซึ่งการใช้เงินทุนของตนเองในการขยายกิจการนั้น ส่วนใหญ่มักมีงบประมาณที่จำกัด จึงอาจไม่สามารถขยายกิจการได้ตามที่ต้องการ
ขอสินเชื่อธนาคาร จะตอบโจทย์ได้มากกว่า และการขอสินเชื่อบางธนาคารยังสามารถใช้ บสย. ค้ำประกันในส่วนของวงเกินหลักประกันได้อีกด้วย บางสินเชื่อยังให้วงเงินสูงถึง 2 ถึง 3 เท่าของหลักประกัน
2. เรื่องเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
ใช้เงินตัวเอง สิ่งที่เกิดตามมาแน่นอนคือ “เงินทุนหมุนเวียนในกิจการลดลง” ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคืออาจทำให้กิจการของคุณขาดสภาพคล่องได้
ขอสินเชื่อธนาคาร ทำให้คุณไม่ต้องมากังวลเรื่องเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารยังมีบริการสินเชื่อในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเพิ่มสภาพคลองให้ธุรกิจคุณอีกด้วย
3. เรื่องการจ่ายดอกเบี้ย
ใช้เงินตัวเอง ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องดอกเบี้ย แต่คุณต้องพร้อมเสี่ยงกับปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ขอสินเชื่อธนาคาร แน่นอนว่ามีเรื่องของการจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร แต่บางสินเชื่อสามารถให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลานานถึง 12 เดือน ซึ่งเหมาะในช่วงต้นของการขยายธุรกิจ
4. เรื่องการขยายกิจการในอนาคต
ใช้เงินตัวเอง หากคุณเริ่มต้นจากการขยายกิจการด้วยเงินทุนของตัวเองนั้น การขอสินเชื่อใหม่ทั้งหมดจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมาก
ขอสินเชื่อธนาคาร หากคุณเคยขอสินเชื่อมาก่อนหน้าแล้ว และมีการชำระสินเชื่อได้ตรงเวลา ก็สามารถขอสินเชื่อในการขยายกิจการเพิ่มโดยง่าย เพราะทางธนาคารจะมองว่าเครดิตของคุณดี
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 51 ปีที่ 9
อ่านเพิ่มเติม :https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190902105049.pdf
การมี “รีวิว” (Review) แสดงประกอบรายละเอียดสินค้าในเว็บไซต์ หรือร้านค้าของคุณบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ นั้นจะช่วยเสริมการพิจารณาของลูกค้าที่กำลังดูร้านค้าอยู่ เพราะสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าในยุคนี้มองหาเมื่อสนใจสินค้าหรือบริการก่อนจะตัดสินใจซื้อนั่นก็คือรีวิวจากลูกค้าก่อนหน้านี้นั่นเอง นอกจากนี้ความสำคัญอื่นๆ ที่เราได้รับจากการมีรีวิวสินค้าหรือรีวิวบริการก็คือ
ความน่าเชื่อถือ
เพราะก่อนเราจะเสียเงินไปซื้อของอะไรก็ตาม หากดูแล้วร้านค้าที่เรากำลังสนใจมีรายละเอียดสินค้าที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีรีวิวจากลูกค้าว่าสั่งซื้อแล้วได้รับของมาสภาพไหน , การจัดส่งไวหรือไม่ , ตอบคำถามลูกค้าดีไม่ดีอย่างไร หากเป็นอย่างนี้ความเชื่อมั่นต่อร้านค้าก็ไม่เกิดขึ้น
ได้รับความคิดเห็นโดยตรงจากลูกค้า
บ่อยครั้งมักจะมีความคิดเห็นดี ๆ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ มักมาจากลูกค้าโดยตรง หลังจากที่พวกเขาได้ทดลองใช้สินค้าของเราแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง ๆ ที่มีคุณค่า อาจช่วยให้เราได้พัฒนาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
ช่วยให้ค้นหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น
เครื่องมือค้นหาเสิร์ซเอนจิ้นที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างกูเกิ้ล (Google) มักดึงเอาสินค้าที่มีคนรีวิวมาแสดงให้นักท่องเว็บฯ เห็นด้วย ยิ่งสินค้าของเราได้รับการรีวิวหรือพูดถึงจากลูกค้ามีจำนวนมาก ยิ่งเป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจของสินค้าของเรามากตามไปด้วย จนทำอยากคลิกเข้าไปดูเว็บไซต์เพิ่มขึ้น
รีวิวด้านลบบางครั้งส่งผลดี
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ หากเจ้าของร้านรับมือกับบางรีวิวที่ตำหนิการให้บริการได้ดีและแสดงออกถึงความจริงใจในการขออภัยลูกค้า รับผิดชอบในความผิดพลาดอย่างเหมาะสม ลูกค้าที่เข้ามาอ่านรีวิวจะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ ช่วยเพิ่มการตัดสินใจในการใช้บริการมากขึ้น เพราะได้เห็นถึงการบริการหลังการขายอีกมุมหนึ่ง หากร้านค้ามีแต่คำชมอย่างเดียว มักทำให้ความรู้สึกน่าสงสัยมากกว่าเกิดความไว้วางใจ
สินค้ามีรีวิว คนยิ่งสนใจ
เมื่อลูกค้ารายใหม่ ๆ เข้ามาเห็นรีวิวก่อนหน้านี้ จะเกิดแรงจูงใจและความกล้าที่จะแชร์ความเห็นเพิ่มเติมทิ้งไว้ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ต่อไป ยิ่งสินค้าชิ้นไหนมีรีวิวใหม่ ๆ เพิ่มเติมสม่ำเสมอ คนมักให้ความสนใจเพิ่มตามไปด้วย
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 61 ปีที่ 11
อ่านเพิ่มเติม :www.dbd.go.th/download/article/article_20200626145341.pdf
เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกคลี่คลาย และการท่องเที่ยวของไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ธุรกิจร้านอาหารไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการ และดึงดูดลูกค้าเข้าร้านด้วยตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่าง Thai SELECT
Thai SELECT เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าร้านอาหารไทย ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติความอร่อยแบบไทย ๆ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติมากว่า 20 ปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงเกิดแนวคิดในการนำตราสัญลักษณ์ Thai SELECT มาต่อยอดส่งเสริมให้ร้านอาหารในประเทศไทย โดยคัดสรรร้านอาหารที่มีรสชาติไทยแท้และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เน้นความใส่ใจด้านคุณภาพ รสชาติ และการบริการ
นอกจากนี้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ยังช่วยสร้างการจดจำ ได้เป็นอย่างดีเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้ร้านอาหารไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มากยิ่งขึ้น โดยตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ร้านอาหารจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
1) ต้องมีรายการอาหารไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายการอาหารทั้งหมด ตกแต่งบรรยากาศ และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงอาหารแบบไทย
2) ปรุงอาหารได้ตามมาตรฐานกรรมวิธีการปรุงแบบไทยใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงของไทย
3) เปิดให้บริการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4) อายุการใช้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT นาน 3 ปี หากร้านประสงค์จะต่ออายุต้องยื่นใบสมัครขอต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน
5) ผู้ที่ได้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จะได้รับประกาศนียบัตรที่ลงนามโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมระบุปีที่ได้รับ
6) ร้านอาหารไทยที่มีมากกว่า 1 สาขา แต่ละสาขาต้องยื่นใบสมัครขอใช้หรือต่ออายุการใช้ตราสัญลักษณ์
Thai SELECT แยกจากสาขาอื่น
7) ผู้สมัครต้องผ่านการตรวจสอบและให้คะแนนโดยกรรมการ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dbd.go.th/images/relation_pic/info%20Thai%20SELECT.pdf
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Day 1 of 365 สวัสดีปีชวด
อ่านเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Jan-2020.aspx
“ประสบการณ์ของลูกค้า” คือ คำฮิตที่สุดในแวดวงการตลาด และเป็นอะไรที่มากกว่าเทรนด์ที่เข้ามาแล้วผ่านไป จากการสำรวจพบว่า 73% ของผู้คนกล่าวว่า ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ แต่มีผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเพียง 49% เท่านั้นที่บอกว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์
จากนี้ไปจะไม่ใช่การพยายามโน้มน้าวให้ผู้คนหันมาซื้อสินค้าหรือบริการ แต่จะเป็นการให้ความสำคัญไปที่การมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าเป็นลำดับแรก เพื่อที่จะทำให้พวกเขากลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการอีก นี่คือสิ่งที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมได้
บริการที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตร คือรากฐานที่สำคัญในการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ในเมื่อพนักงานขององค์กรคือ หน้าตาของแบรนด์ ดังนั้น การมุ่งเน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและลูกค้าของแบรนด์จึงควรเป็นกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญในปี 2020 แบรนด์และพนักงานต้องมีความเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องสอดคล้องไปกับเป้าหมายที่แบรนด์ได้ตั้งเอาไว้ด้วย
ผู้บริโภคทุกวันนี้ได้รับข้อความทางการตลาดมากมายจากหลากหลายช่องทาง จนอยู่ในจุดที่ต้องเลือกว่าจะรับอันไหนและไม่สนใจอันไหน ที่สำคัญคือการโฆษณาแบบดั้งเดิมกำลังเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์ “การตลาดแบบส่วนตัว” (Personalization) หรือการนำเสนอสิ่งที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล ได้กลายเป็นคำตอบของการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์และลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริง
การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) มีอิทธิพลเป็นอย่างมากกับแบรนด์ในการสร้างคอนเทนต์และทำการตลาดออนไลน์ การปรับคอนเทนต์ของแบรนด์ให้สามารถรองรับการค้นหาด้วยเสียง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญ คนจะค้นหาด้วยเสียงที่แตกต่างกัน มีการใช้ข้อความค้นหาที่ยาวขึ้นและมีการสนทนามากขึ้น ดังนั้น การทำให้คอนเทนต์รองรับการค้นหาในรูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจได้รับการมองเห็นมากขึ้น
คนชอบเนื้อหาที่เป็นภาพมากกว่าข้อความธรรมดา สะท้อนได้จากการเติบโตของแพลตฟอร์มที่เน้นรูปภาพอย่างอินสตาแกรม (Instagram) ภาพนั้นง่ายต่อการจดจำมากกว่าเนื้อหาหรือคอนเทนต์แบบเขียนนั่นเอง การเพิ่มข้อมูลภาพ อินโฟกราฟิก รูปภาพ และวิดีโอในข้อความ ไม่เพียงแต่จะทำให้ดูน่าสนใจและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น แต่จะทำให้คนจดจำข้อความนั้นได้มากขึ้นอีกด้วย โดยผลการศึกษาระบุว่า
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ทฤษฎีสมคบค้า
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Nov-2019.aspx
พฤติกรรมของลูกค้าออนไลน์นั้น จะมีการลงลึกรีเซิร์ชสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ว่า เหมาะกับตนเองหรือไม่ เเละถ้าใช่ สามารถสั่งซื้อผ่านออนไลน์ได้เลยหรือเปล่า และไม่ว่าผู้บริโภคจะอยู่ในขั้นตอนใดก็ตาม "โฆษณา" จะมีบทบาทสอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ เพื่อเพิ่มเเรงผลักดัน กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ไปจนถึงเร่งรัดการตัดสินใจ เพราะหน้าที่หลักของโฆษณา คือ การเข้าไปยืนอยู่ระหว่างกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสซื้อสินค้าหรือบริการกับธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจ ดำเนินการบางอย่าง
เเพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ที่ธุรกิจใช้กันอย่างแพร่หลายนานกว่าสิบปีเเล้ว เเละยังคงมีบทบาทเพิ่มขึ้นทุกวัน นั่นก็คือ โฆษณากูเกิ้ล (Google Ads) นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจสายเทคนิคส่วนใหญ่ที่ใช้โฆษณาเเพลตฟอร์มนี้ มักจะให้ความสนใจกับการปรับเเต่งค่าการใช้งานต่างๆ จนลืมไปว่า สิ่งนี้คือโฆษณาที่ทำหน้าที่ "สื่อสาร" กับกลุ่มเป้าหมาย เพราะถึงเเม้คุณจะทำให้โฆษณาได้รับการนำส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ "ใช่" เเต่ท้ายที่สุดข้อความที่ได้รับ ไม่สามารถทำให้พวกเขา "สนใจคลิก" โฆษณาของคุณก็เสียเปล่า เพราะไม่สามารถเปลี่ยนการรับรู้ของพวกเขาให้กลายเป็นยอดขายของธุรกิจได้
นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจสายเทคนิคส่วนใหญ่ที่ใช้โฆษณาเเพลตฟอร์มนี้ มักจะให้ความสนใจกับการปรับเเต่งค่าการใช้งานต่าง ๆ เเต่ท้ายที่สุดถ้าข้อความที่ได้รับ ไม่สามารถทำให้พวกเขา "สนใจคลิก" โฆษณาของคุณได้ ก็อาจทำให้เสียเปล่า บทความนี้จะขอแนะนำหลักคิดที่สำคัญในการเขียนโฆษณา โฆษณากูเกิ้ล (Google Ads) เพื่อเพิ่มโอกาสขายให้กับทุกท่าน
กูเกิ้ลจะตัดสินใจเลือกนำส่งโฆษณาที่มีความหมายกับสิ่งที่ผู้ใช้กำลังค้นหา ร่วมกับค่าประมูลโฆษณาที่ธุรกิจใส่เข้าไปแข่งขันกันในระบบ โดยอาศัย “คีย์เวิร์ด” (Keywords) ต่าง ๆ ที่ธุรกิจกำหนดไว้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่า โฆษณาของใครมีความสอดคล้องกับคำค้นหา (Search Term) ที่มาจากผู้ใช้มากกว่ากัน และโฆษณาของใครสมควรได้รับการแสดงในหน้าผลลัพธ์ให้ผู้ใช้นั้น ๆ จึงควรเลือกเขียนข้อความดังนี้
- ต้องเลือกใช้ “คีย์เวิร์ด” ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
- ไม่จำเป็นต้องกระหน่ำใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในข้อความโฆษณาให้ได้มากที่สุด หรือยัดเยียดคีย์เวิร์ดมากเกินไป
- ให้ความสำคัญกับข้อความโฆษณา ว่าตอบโจทย์ความต้องการสูงสุดของกลุ่มเป้าหมายที่กำลังค้นหาหรือไม่ และเป็นสิ่งที่ธุรกิจมีให้ครบ
- โฆษณานั้นจะต้องสอดรับกับระดับขั้นความสนใจ (Customer Journey) ของพวกเขาด้วย แบ่งเป็นระดับขั้นความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่น
- ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกคลิกจากข้อความโฆษณาที่ตอบโจทย์ความต้องการขณะนั้น และตรงกับระดับความสนใจมากที่สุด
- การจะกระตุ้นให้เกิดการคลิกโฆษณานั้น ๆ ต้องอาศัยการเขียนโฆษณาที่ช่วยให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่พวกเขาจำเป็น “ต้องทำ” มากที่สุดในตอนนี้
คุณคงไม่ได้อยากให้ทุกคนคลิกโฆษณา ถ้าพวกเขาไม่มีทางที่จะเป็นลูกค้าของคุณอย่างแน่นอน เพราะนั่นหมายความว่าคุณกำลังเสียเงินไปกับ “คลิก” มากมายที่ไม่ได้อะไรกลับมา ความจริงคือ ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ผู้ลงโฆษณา สามารถปิดโอกาสที่โฆษณาจะได้รับ “คลิก” จากผู้ใช้ที่ไม่ใช่ลูกค้าได้ 100% กลยุทธ์การเขียนข้อความโฆษณาจึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสียเงินไปกับโฆษณาที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย เขียนข้อความโฆษณาที่บอกผู้ใช้ให้ทราบชัดเจนไปเลยว่า สินค้าหรือบริการนั้น ๆ เกิดมาเพื่อ “ใคร”
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า หากคุณกำหนดคีย์เวิร์ดแก้ไขแบบกว้าง (Modified Broad Match) ให้กับระบบคือ +ผลิตภัณฑ์ +ดูแลผิวหน้า ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ ลูกค้าที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่ในยุคที่ผู้ชายใส่ใจลุกส์ไม่แพ้ผู้หญิง โอกาสที่โฆษณาถูกคลิกโดยผู้ชายจะสูงมาก วิธีแก้ที่ง่ายสุดคือ เติมข้อความสั้น ๆ เข้าไปในเฮดไลน์และข้อความโฆษณาของว่า “สำหรับสาวๆ” นั่นเอง
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย