หัวข้อ : Aging Society กับวิถี New Normal
อ่านเพิ่มเติม :https://www.bangkokbanksme.com/en/aging-society-and-the-new-normal
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมของคนทั่วโลกและคนไทยจะเปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิงจนกลายเป็น New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ในทุกด้านของการดำรงชีวิต โดยเฉพาะสังคมกลุ่มผู้สูงอายุ (Aging Society) ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดมากที่สุด
การเว้นว่างระยะห่างทางสังคมทำให้กลุ่มผู้สูงวัยต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น จากวิถีชีวิตเดิมต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านพบปะเพื่อนฝูงในกลุ่มวัยเดียวกันเพื่อคลายความเหงา แต่หลังจากนี้ความตระหนักด้านสุขอนามัยสำคัญมากขึ้น ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิม
อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นจนแทบขาดไม่ได้ ทุกอย่างจะทำงานผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมด ทั้งการจ่าย การโอน หรือ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านออนไลน์จะกลายเป็นเรื่องปกติแทนที่การใช้เงินสด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุแต่เดิมถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มีความเชื่องช้าในการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันภายหลังล็อกดาวน์กลับปรากฏว่าผู้สูงอายุในเมืองใหญ่มีความสามารถในการเข้าถึง และใช้เทคโนโลยีไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่นเท่าไหร่นัก หรือจะเรียกได้ว่าเป็นวิถีใหม่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้
ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยแท้จริง ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน เป็นประชากรที่สูงอายุเกิน 60 ขึ้นไปจำนวน 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด นั่นหมายความว่ามูลค่าตลาดกลุ่มผู้สูงวัยจะมีกำลังซื้อขนาดใหญ่และกลุ่มมีกำลังซื้อสูง นักการตลาดและแบรนด์ไม่ควรมองข้าม
นับตั้งแต่ปี 2562 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ และในอีก 20 ปีข้างหน้าสังคมผู้สูงอายุจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของจำนวนประชากร ตลาดผู้สูงอายุในประเทศไทยจึงยังมีโอกาสในการทำธุรกิจได้อีกมากแบบคาดไม่ถึง ผู้ประกอบการจึงต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันให้ได้
Published on 28 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : จากหน้าร้านสู่ตลาดออนไลน์ กระชากยอดนิ่งให้วิ่งเป็นยอดล้าน(1) , Omni Channel ผสานดิจิทัลกับธุรกิจเอสเอ็มอี (2)
อ่านเพิ่มเติม :https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/Inspired/Inspired-Jul-2018.aspx, https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/SCB_Omni
โลกออนไลน์เป็นช่องทางการทำธุรกิจที่ทรงอิทธิพลมากในปัจจุบัน ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็น 1 ใน 5 กิจกรรมของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย และมีมูลค่าสูงถึง 2.9 ล้านล้านบาท ในขณะที่การเติบโตของช่องทางการขายหน้าร้าน (Offline) ยังคงบทบาทมีสำคัญ เพราะเปรียบเหมือนโชว์รูมให้ลูกค้าได้มาสัมผัส ทดลองสินค้าจริง สร้างความเชื่อมั่นก่อนตัดสินใจซื้อ
กลยุทธ์ออมนิชาแนล (Omni Channel) รวมตลาดออฟไลน์และออนไลน์ จึงไม่เพียงเสริมจุดเด่นลดจุดด้อย แต่ยังไปเติมเต็มความพึงพอใจของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพออมนิชาแนล (Omni Channel) ถือว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ
ออนไลน์เข้าถึงคน มีผลต่อการตัดสินใจ
เมื่อมือถือทำให้การซื้อสินค้าสะดวกง่าย สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร้พรมแดน ด้วยต้นทุนที่ต่ำ สามารถขายของได้ 24 ชั่วโมง และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในปัจจุบันถึง 80% ทุกวันนี้เอสเอ็มอีไทยมากกว่า 50% จึงใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นช่องทางในการเริ่มต้นธุรกิจ และใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจสูงถึง 90%
หน้าร้านโชว์รูมที่มีผลทางใจ
หลายธุรกิจการคิดว่าการมีหน้าร้านเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นจึงหวังพึ่งออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่การแข่งขันที่รุนแรงสินค้ามีการตัดราคา การทำตลาดออนไลน์อย่างเดียวจึงไม่ได้สร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เพราะธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ได้มักเป็นธุรกิจที่มีทั้งออนไลน์และมีหน้าร้านเพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจที่ขายสินค้าราคาแพงยอดบิลส่วนใหญ่มักมาจบที่หน้าร้าน เพราะลูกค้ามักต้องการเห็นสินค้า อยากมาทดสอบสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ
แม้วันนี้ตัวเลขของตลาดออนไลน์ทั่วโลกเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง แต่การจะเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งรายได้จากตลาดออนไลน์อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด การทำตลาดออนไลน์เพียงอย่างเดียวอาจเสี่ยงเกินไป ตลาดเก่าอย่างออฟไลน์ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือแต่อาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่าย การมีหน้าร้านจำนวนมากเพื่อขยายตลาดอาจไม่ใช่คำตอบของการทำธุรกิจวันนี้
การผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว จะนำพาธุรกิจไปสู่จุดหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ การก้าวสู่ออมนิชาแนล (Omni Channel) จึงจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งที่จะต้องดำเนินการในการทำออมนิชาแนล (Omni Channel) สำหรับเอสเอ็มอี มีด้วยกัน 4 ประการได้แก่
โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากออนไลน์ โซเชียลมีเดีย หน้าร้าน และช่องทางอื่น ๆ ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง
เป็นการเชื่อมโยงการสื่อสารในทุกช่องทางให้ต่อเนื่อง เช่น มีข้อมูลร้านค้ารองรับในช่องทางออนไลน์ มีแผนที่ กูเกิลแมพ (Google Map) ให้ลูกค้าสามารถเดินทางมาที่ร้านค้า รวมถึงมีเบอร์ติดต่อ หรือปุ่มสั่งซื้อสินค้าบนหน้าออนไลน์ได้
ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าจากทุกช่องทาง และไปรับสินค้าได้จากทุกช่องทางที่สะดวกเช่นกัน
นอกจากซื้อสินค้าได้หลากหลายช่องทางแล้ว ยังต้องสามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทางเช่นกัน เช่น ผ่านออนไลน์ ผ่านสาขาธนาคาร และผ่านหน้าร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำออมนิชาแนล (Omni Channel)
Published on 28 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : มาตราการบีไอโอ ทางออก SMEsไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 5
อ่านเพิ่มเติม : https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2020/05/files/extfile/DownloadURL.pdf
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้การสนับสนุนธุรกิจทุกขนาด หากผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด โดยให้การส่งเสริมด้านการลงทุนทั้งในประเทศ และช่วยเหลือธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนต่างประเทศด้วยเช่นกัน อย่างธุรกิจที่ต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ บีโอไอจะเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือ ศึกษาเรื่องกฏระเบียบการลงทุนในประเทศต่าง ๆ พร้อมให้คำปรึกษา เข้าเจรจากับภาครัฐของประเทศนั้น ๆ และหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าบีโอไอให้การส่งเสริมเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจจากต่างชาติ แต่อันที่จริงแล้วมีธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับการสนับสนุนอยู่ถึงร้อยละ 60 – 70 ทีเดียว
การส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น
การส่งเสริมการลงทุนสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เน้นให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติ เช่น
แม้ว่าบีโอไอจะครอบคลุมธุรกิจทุกขนาด แต่สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีหลายมาตรการที่ได้ตั้งข้อกำหนดพิเศษเอาไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เช่น
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานตามประเภทกิจการ และเพิ่มเติมวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 200 % ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
- อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วของโครงการเดิม มาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯได้ โดยมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท แต่จะต้องลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักเพิ่มเติมเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมดที่ใช้ในโครงการ
- สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน หากเอสเอ็มอีลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน จะสามารถขยายสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น
บีโอไอได้เปิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูลและคำแนะนำแก่เอสเอ็มอีหลายช่องทางด้วยกัน
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 51 ปีที่ 9
อ่านเพิ่มเติม :https://www.dbd.go.th/download/article/article_20190902105049.pdf
การมี “รีวิว” (Review) แสดงประกอบรายละเอียดสินค้าในเว็บไซต์ หรือร้านค้าของคุณบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ นั้นจะช่วยเสริมการพิจารณาของลูกค้าที่กำลังดูร้านค้าอยู่ เพราะสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าในยุคนี้มองหาเมื่อสนใจสินค้าหรือบริการก่อนจะตัดสินใจซื้อนั่นก็คือรีวิวจากลูกค้าก่อนหน้านี้นั่นเอง นอกจากนี้ความสำคัญอื่นๆ ที่เราได้รับจากการมีรีวิวสินค้าหรือรีวิวบริการก็คือ
ความน่าเชื่อถือ
เพราะก่อนเราจะเสียเงินไปซื้อของอะไรก็ตาม หากดูแล้วร้านค้าที่เรากำลังสนใจมีรายละเอียดสินค้าที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีรีวิวจากลูกค้าว่าสั่งซื้อแล้วได้รับของมาสภาพไหน , การจัดส่งไวหรือไม่ , ตอบคำถามลูกค้าดีไม่ดีอย่างไร หากเป็นอย่างนี้ความเชื่อมั่นต่อร้านค้าก็ไม่เกิดขึ้น
ได้รับความคิดเห็นโดยตรงจากลูกค้า
บ่อยครั้งมักจะมีความคิดเห็นดี ๆ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ มักมาจากลูกค้าโดยตรง หลังจากที่พวกเขาได้ทดลองใช้สินค้าของเราแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง ๆ ที่มีคุณค่า อาจช่วยให้เราได้พัฒนาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
ช่วยให้ค้นหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น
เครื่องมือค้นหาเสิร์ซเอนจิ้นที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างกูเกิ้ล (Google) มักดึงเอาสินค้าที่มีคนรีวิวมาแสดงให้นักท่องเว็บฯ เห็นด้วย ยิ่งสินค้าของเราได้รับการรีวิวหรือพูดถึงจากลูกค้ามีจำนวนมาก ยิ่งเป็นตัวชี้วัดถึงความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจของสินค้าของเรามากตามไปด้วย จนทำอยากคลิกเข้าไปดูเว็บไซต์เพิ่มขึ้น
รีวิวด้านลบบางครั้งส่งผลดี
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ หากเจ้าของร้านรับมือกับบางรีวิวที่ตำหนิการให้บริการได้ดีและแสดงออกถึงความจริงใจในการขออภัยลูกค้า รับผิดชอบในความผิดพลาดอย่างเหมาะสม ลูกค้าที่เข้ามาอ่านรีวิวจะรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ ช่วยเพิ่มการตัดสินใจในการใช้บริการมากขึ้น เพราะได้เห็นถึงการบริการหลังการขายอีกมุมหนึ่ง หากร้านค้ามีแต่คำชมอย่างเดียว มักทำให้ความรู้สึกน่าสงสัยมากกว่าเกิดความไว้วางใจ
สินค้ามีรีวิว คนยิ่งสนใจ
เมื่อลูกค้ารายใหม่ ๆ เข้ามาเห็นรีวิวก่อนหน้านี้ จะเกิดแรงจูงใจและความกล้าที่จะแชร์ความเห็นเพิ่มเติมทิ้งไว้ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ต่อไป ยิ่งสินค้าชิ้นไหนมีรีวิวใหม่ ๆ เพิ่มเติมสม่ำเสมอ คนมักให้ความสนใจเพิ่มตามไปด้วย
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ฉบับที่ 61 ปีที่ 11
อ่านเพิ่มเติม :www.dbd.go.th/download/article/article_20200626145341.pdf
เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์โควิดทั่วโลกคลี่คลาย และการท่องเที่ยวของไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ธุรกิจร้านอาหารไทยต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการ และดึงดูดลูกค้าเข้าร้านด้วยตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่าง Thai SELECT
Thai SELECT เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าร้านอาหารไทย ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติความอร่อยแบบไทย ๆ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติมากว่า 20 ปี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงเกิดแนวคิดในการนำตราสัญลักษณ์ Thai SELECT มาต่อยอดส่งเสริมให้ร้านอาหารในประเทศไทย โดยคัดสรรร้านอาหารที่มีรสชาติไทยแท้และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน เน้นความใส่ใจด้านคุณภาพ รสชาติ และการบริการ
นอกจากนี้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ยังช่วยสร้างการจดจำ ได้เป็นอย่างดีเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้ร้านอาหารไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มากยิ่งขึ้น โดยตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ
สำหรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ร้านอาหารจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
1) ต้องมีรายการอาหารไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายการอาหารทั้งหมด ตกแต่งบรรยากาศ และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงอาหารแบบไทย
2) ปรุงอาหารได้ตามมาตรฐานกรรมวิธีการปรุงแบบไทยใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงของไทย
3) เปิดให้บริการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4) อายุการใช้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT นาน 3 ปี หากร้านประสงค์จะต่ออายุต้องยื่นใบสมัครขอต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน
5) ผู้ที่ได้ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT จะได้รับประกาศนียบัตรที่ลงนามโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมระบุปีที่ได้รับ
6) ร้านอาหารไทยที่มีมากกว่า 1 สาขา แต่ละสาขาต้องยื่นใบสมัครขอใช้หรือต่ออายุการใช้ตราสัญลักษณ์
Thai SELECT แยกจากสาขาอื่น
7) ผู้สมัครต้องผ่านการตรวจสอบและให้คะแนนโดยกรรมการ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://dbd.go.th/images/relation_pic/info%20Thai%20SELECT.pdf
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย