
หัวข้อ : 3 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/digital-marketing-ibe
ในยุคที่แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นโจทย์ที่ทุกธุรกิจต้องตีให้แตกตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ดียังมีความเข้าใจบางอย่างที่ยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง วันนี้มาไขความจริงให้กระจ่างไปด้วยกัน
เมื่อกล่าวถึง ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) หรือการตลาดออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการขายของบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งนี้เรียกว่าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือให้เกิดการซื้อขายได้ 2 แบบ ได้แก่
เครื่องมือการตลาดออนไลน์แต่ละตัวมีจุดเด่นแตกต่างกัน จึงต้องนำมาใช้ผสมผสานสนับสนุนกันอย่างเหมาะสม เช่น
ข้อสำคัญของการทำการตลาดดิจิทัลคือ "มือถือ" ทุกการสื่อสารที่จะออกไปต้องเหมาะกับการดูในมือถือ ไม่ว่าจะโพสต์บน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือไลน์ ขนาดตัวหนังสือต้องเหมาะกับการอ่านบนมือถือและน่าสนใจพอที่จะไม่ถูกเลื่อนผ่าน
เว็บไซต์ คืออีกหนนึ่งหัวใจสำคัญ นอกจากเป็นสินทรัพย์อย่างเดียวที่ผู้ประกอบการสามารถถือครองได้บนโลกออนไลน์แล้ว ยังเป็นเหมือนหน้าร้านที่เปิดขายตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เว็บไซต์ที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
หลายคนคิดว่าการทำเพจเฟซบุ๊กต้องมียอดไลก์เยอะๆ แต่ในความจริงแล้วนั่นอาจไม่ได้หมายถึงยอดขาย เพราะจากผลสำรวจพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
การสื่อสารโฆษณาทางออนไลน์จึงต้องหาลูกค้าที่แท้จริงด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ ของแพลตฟอร์มเข้าช่วย อย่างเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือที่เก็บข้อมูลทุกการกระทำในโลกออนไลน์ได้ละเอียด มีการคาดการณ์พฤติกรรมในอนาคตของผู้ใช้ได้แม่นยำ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมในอดีตด้วยฐานข้อมูลสถิติของคนครึ่งโลก รวมไปถึงการหากลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
การทำโฆษณษเฟซบุ๊กสามารถระบุกลุ่มเป้าหมายอย่างง่ายๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
นอกจากนี้ ถ้าลูกค้ามีหลายกลุ่ม ก็ต้องมีการปรับชิ้นงานที่สื่อออกไปให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มด้วย ถ้าไม่แน่ใจว่าชิ้นงานไหนจะได้ผลก็สามารถทำการทดสอบ (A/B Testing) โดยขึ้นชิ้นงาน 2 ชิ้นพร้อมกันแล้วดูผลตอบรับที่ออกมา
ในส่วนของกูเกิ้ล อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่สำคัญ มีเครื่องมือที่ครบวงจร ตั้งแต่ กูเกิล เสิร์ช (Google Search), กูเกิล แมพ (Google Map), โฆษาณากูเกิล (Google Ad), ยูทูบ (YouTube), จีเมล (Gmail) และ ดิสเพล เน็ตเวิร์ค (Display Network)
การตลาดออนไลน์ให้ประสบการณ์สำเร็จ ไม่ได้หมายถึงการทุ่มเงินซื้อโฆษณา แต่ต้องประกอบด้วย
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : สร้าง Content อย่างไร เสริมยอดขายให้พุ่งแรง
อ่านเพิ่มเติม : https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/content-marketing-for-hotels
ธุรกิจโรงแรมที่อยากมียอดคนจองห้องพักอย่างสม่ำเสมอในยุคนี้นั้น นอกจากการสร้างโรงแรมให้สวยงามโดดเด่นมีจุดขาย มอบประสบการณ์การบริการที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าแล้ว การทำการตลาดออนไลน์ด้วยคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมต้องเรียนรู้เช่นกัน
เนื้อหาของบทความต่าง ๆ ที่มาจากความรักความชอบ จะสร้างความแตกต่างจากสิ่งที่คนอื่นทำอยู่ การแชร์ประสบการณ์ผ่านการเล่าเรื่องที่สนุกก็จะทำให้การสร้างเพจประสบความสำเร็จได้ เพจโรงแรมก็เช่นกัน ต้องมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนว่าโรงแรมเป็นแบบไหน สื่อสารกับลูกค้ากลุ่มใด แล้วสร้างเนื้อหาจากสิ่งที่คนคนค้นหาก็จะทำให้เพจมีคนติดตามเพิ่มขึ้น
หลักการสร้างสรรค์เนื้อหาให้โดนใจ มี 3 ข้อ
การสร้างเนื้อหาให้น่าสนใจจนเกิดเป็นไวรัล (Viral) นั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีดังนี้
การสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่คนไม่รู้จัก นอกจากจะต้องถ่ายภาพให้สวยงามดึงดูดใจ ยังต้องนำเสนอด้วยไอเดียแปลกใหม่ มีวิธีการอย่างไรเพื่อจูงใจให้คนไปเที่ยวตาม
การสร้างเพจหรือเว็บไซต์โรงแรมนอกจากจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานของโรงแรมแล้ว การสร้างเนื้อหาเกี่ยวสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบจะเป็นการช่วยเพิ่มยอดขายให้โรงแรมได้อีกทางหนึ่ง โดยทำดังนี้
โซเซียลมีเดียมีหลากหลายแพลตฟอร์ม ควรเลือกสร้างเนื้อหาที่เหมาะสม โดยต้องเรียนรู้พฤติกรรมของคนในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น ยูทูบ เน้นนำเสนอวิดีโอ, เฟซบุ๊ก เน้นให้ข้อมูลนำเสนอได้หลายทั้งแบบภาพ อัลบั้มภาพและวิดีโอ, อินสตาแกรม เน้นรูปสวยช่วยสร้างแรงบันดาลใจ
เมื่อมีการสร้างเพจหรือเว็บไซต์ของโรงแรมแล้ว หากอยากให้มียอดผู้ติดตามและยอดการมีส่วนร่วม ควรวางแผนการสร้างเนื้อหา ดังนี้
สุดท้ายต้องไม่ลืมเรื่องปิดการขาย เพราะถึงแม้จะสร้างเนื้อหาได้ดีเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่สามารถปิดการขายได้ก็เสียเงินเสียเวลาเปล่า รวมถึงต้องสื่อสารกับพนักงานฝั่งออฟไลน์ให้รู้เท่าออนไลน์ เพราะถ้าลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาพนักงานไม่สามารถตอบคำถามได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นเดียวกัน
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : Functionals Foods โอกาสของผู้ประกบการ SMEs
อ่านเพิ่มเติม : https://sme.ktb.co.th/sme/previewPdf.action?fileId=19#book/13
อาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้าน กับ อาหารทั่วไป แตกต่างกันอย่างไร?
โดยทั่วไปหมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมจากคุณประโยชน์ทางโภชนาการของอาหารทั่วไป โดยเป็นการเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างโปรตีน วิตามิน คอลลาเจน หรืออาจครอบคลุมไปถึงการลดสารอาหารที่เป็นประโยชน์น้อยออกไป เช่น น้ำตาล เกลือ ที่สำคัญคือการยังคงสภาพเป็นอาหาร ไม่ใช่แคปซูลหรือเป็นผงเหมือนยา และไม่มีข้อจำกัดในการบริโภค
สำหรับประเทศไทยมีผู้ประกอบการหลายรายที่เริ่มเข้ามาทำตลาดนี้กันมากขึ้นแล้ว เช่น โทฟุซัง ซึ่งเป็นเจ้าแรก ๆ ของนมถั่วเหลืองแบบพาสเจอไรซ์ และได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น อย่าง การเพิ่มงาดำซึ่งมีแคลเซียม การเพิ่มโปรตีน ส่งผลให้ปัจจุบันโทฟุซังมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดนมถั่วเหลืองแบบพาสเจอไรซ์ได้อย่างรวดเร็ว
1. การให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
แนวคิดที่ว่าการป้องกันโรคดีกว่าการรักษาโรค จากค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่สูง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมองหาอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพเฉพาะด้านมากขึ้น
โดยยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor) ประเมินว่า ตลาดอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านของไทย อยู่ที่ประมาณ 68,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2018 - 2022 จะเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งในต่างประเทศอัตรากำไรของบริษัทที่ทำอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านจะสูงกว่าอาหารทั่วไปถึงเกือบ 3 เท่า โดยมีอัตรากำไรเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7.3 ขณะที่ผู้ประกอบการอาหารทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.8
2. การเจาะตลาดอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านอาจไม่ยากอย่างที่คิด
เนื่องจากยังมีช่องว่างทางการตลาดอีกมากจากการที่ตลาดนี้มีลักษณะเป็นแบบตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมาก แตกต่างจากตลาดอาหารทั่วไป จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการเข้าไปเจาะตลาดซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเข้าไม่ถึง และยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดเป็นผู้นำตลาดอย่างชัดเจน
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคากับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ อีกทั้งเนื่องจากเป็นสินค้าที่มูลค่าเพิ่มสูงกว่า เมื่อเทียบกับอาหารทั่วไปเพราะผู้บริโภคในกลุ่มนี้มักให้ความสำคัญกับคุณค่าและประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับมากกว่าปัจจัยทางด้านราคา จึงยอมจ่ายในราคาที่แพงกว่า
3. การก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านยังมีข้อดีจากการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจฟิวเจอร์ฟู้ดส์ (Future Foods) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S-Curve จึงทำให้ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับการสนับสนุนผ่านมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
- ราคาของกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านอย่าง นมไขมันต่ำ ขนมปังเติมวิตามิน มีราคาไม่แต่ต่างจากอาหารทั่วไปมากนัก ในขณะที่ โปรตีนบาร์ และนมโปรตีนสูง กลับมีราคาที่สูงกว่าราคาอาหารทั่วไปถึงร้อยละ 200 - 400
- ผู้บริโภคไทยในปัจจุบันมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะการควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกาย ทำให้อาหารในหมวดกลุ่มที่ให้พลังงาน กลุ่มควบคุมน้ำหนัก มาแรง
- ขณะที่ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องเผชิญกับมลพิษ ความเครียดจากการทำงานหนัก แต่ต้องการทางเลือกที่ไม่ใช่ยา จะช่วยผลักดันให้อาหารในหมวดที่ช่วยภูมิคุ้มกันน่าสนใจยิ่งขึ้น
- เบื้องต้นผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ยังคงต้องศึกษาและทำความเข้าใจการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอาหาร ให้ได้ตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถยกระดับตัวเองมาสู่ธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านได้ มาจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเกิดส่วนสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตมาก
- การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผู้ประกอบการยกระดับผลิตภัณฑ์จากอาหารทั่วไปเป็นอาหารเสริมสุขภาพเฉพาะด้านได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรจะรู้จักและเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่ม ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทำ R&D ผลิตภัณฑ์ ให้ “อร่อย มีประโยชน์ และได้มาตรฐาน”
ซึ่งผู้ประกอบการอาจเลือกพิจารณาเบื้องต้นจากผลงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา จำนวนผลิตภัณฑ์ที่วิจัยและพัฒนาจนออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเงื่อนไขในการสนับสนุนเงินทุน
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : มาตราการบีไอโอ ทางออก SMEsไทย ปีที่ 3 ฉบับที่ 5
อ่านเพิ่มเติม : https://www.boi.go.th/upload/ejournal/2020/05/files/extfile/DownloadURL.pdf
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้การสนับสนุนธุรกิจทุกขนาด หากผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด โดยให้การส่งเสริมด้านการลงทุนทั้งในประเทศ และช่วยเหลือธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนต่างประเทศด้วยเช่นกัน อย่างธุรกิจที่ต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ บีโอไอจะเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือ ศึกษาเรื่องกฏระเบียบการลงทุนในประเทศต่าง ๆ พร้อมให้คำปรึกษา เข้าเจรจากับภาครัฐของประเทศนั้น ๆ และหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าบีโอไอให้การส่งเสริมเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจจากต่างชาติ แต่อันที่จริงแล้วมีธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับการสนับสนุนอยู่ถึงร้อยละ 60 – 70 ทีเดียว
การส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น
การส่งเสริมการลงทุนสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร เน้นให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติ เช่น
แม้ว่าบีโอไอจะครอบคลุมธุรกิจทุกขนาด แต่สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีหลายมาตรการที่ได้ตั้งข้อกำหนดพิเศษเอาไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เช่น
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานตามประเภทกิจการ และเพิ่มเติมวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 200 % ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
- อนุญาตให้นำเครื่องจักรใช้แล้วของโครงการเดิม มาใช้ในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมฯได้ โดยมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท แต่จะต้องลงทุนใหม่ในเครื่องจักรหลักเพิ่มเติมเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งหมดที่ใช้ในโครงการ
- สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน หากเอสเอ็มอีลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน จะสามารถขยายสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น
บีโอไอได้เปิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูลและคำแนะนำแก่เอสเอ็มอีหลายช่องทางด้วยกัน
Published on 27 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ลงทุนขยายกิจการ ใช้เงินตัวเองหรือกู้แบงค์ดี
อ่านเพิ่มเติม :https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=18&itemId=171
หากเราจะลงทุนเงินสักก้อน เราจะใช้เงินตัวเอง หรือ ควรกู้แบงก์ดี ? หลาย ๆ ท่านอาจคิดว่า ใช้เงินตัวเองดีกว่าเพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจากเงินกู้ หากคิดในเรื่องของดอกเบี้ยอย่างเดียว ถือเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าการลงทุนขยายกิจการ สิ่งที่ตามมานอกเหนือจากตัวเงินนั้น คือความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ตามมาด้วย และนี่คือ 4 เหตุผล ว่าหากคุณจะขยายกิจการ คุณควรใช้เงินตัวเอง หรือ กู้แบงค์ดีกว่ากัน ?
1. เรื่องเงินทุนในการขยายกิจการ
ใช้เงินตัวเอง การที่จะขยายกิจการนั้น เราต้องมีเป้าหมายที่วางไว้เป็นรูปธรรมอยู่แล้ว ซึ่งการใช้เงินทุนของตนเองในการขยายกิจการนั้น ส่วนใหญ่มักมีงบประมาณที่จำกัด จึงอาจไม่สามารถขยายกิจการได้ตามที่ต้องการ
ขอสินเชื่อธนาคาร จะตอบโจทย์ได้มากกว่า และการขอสินเชื่อบางธนาคารยังสามารถใช้ บสย. ค้ำประกันในส่วนของวงเกินหลักประกันได้อีกด้วย บางสินเชื่อยังให้วงเงินสูงถึง 2 ถึง 3 เท่าของหลักประกัน
2. เรื่องเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
ใช้เงินตัวเอง สิ่งที่เกิดตามมาแน่นอนคือ “เงินทุนหมุนเวียนในกิจการลดลง” ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคืออาจทำให้กิจการของคุณขาดสภาพคล่องได้
ขอสินเชื่อธนาคาร ทำให้คุณไม่ต้องมากังวลเรื่องเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารยังมีบริการสินเชื่อในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเพิ่มสภาพคลองให้ธุรกิจคุณอีกด้วย
3. เรื่องการจ่ายดอกเบี้ย
ใช้เงินตัวเอง ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องดอกเบี้ย แต่คุณต้องพร้อมเสี่ยงกับปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ขอสินเชื่อธนาคาร แน่นอนว่ามีเรื่องของการจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร แต่บางสินเชื่อสามารถให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลานานถึง 12 เดือน ซึ่งเหมาะในช่วงต้นของการขยายธุรกิจ
4. เรื่องการขยายกิจการในอนาคต
ใช้เงินตัวเอง หากคุณเริ่มต้นจากการขยายกิจการด้วยเงินทุนของตัวเองนั้น การขอสินเชื่อใหม่ทั้งหมดจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมาก
ขอสินเชื่อธนาคาร หากคุณเคยขอสินเชื่อมาก่อนหน้าแล้ว และมีการชำระสินเชื่อได้ตรงเวลา ก็สามารถขอสินเชื่อในการขยายกิจการเพิ่มโดยง่าย เพราะทางธนาคารจะมองว่าเครดิตของคุณดี
Published on 26 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย