หัวข้อ : เทรนด์ชายต้องหล่อมาแรง ดันตลาดความงามโต
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/TrendMan.pdf
ตลาดความงามโดยรวมกำลังเติบโต จากพฤติกรรมคนไทยที่หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกาย ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ใส่ใจในเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันผู้ชายก็หันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลภาพลักษณ์และบุคคลิกมากขึ้น กลุ่มลูกค้าผู้ชายจึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้า บริการ หรือต่อยอดธุรกิจความงามจากเดิมสินค้ายอดฮิตของตลาดความงามผู้ชาย เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกาย (Men’s Grooming) เติบโตเฉลี่ยประมาณ 6.4% ต่อปี ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีอัตราเติบโตสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยตลาดความงามผู้ชายส่วนใหญ่เติบโตจากกลุ่มผู้ชายอายุระหว่าง 20-39 ปี หรือกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ที่เริ่มสนใจดูแลบุคลิกภาพของตนเอง และเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับความงามค่อนข้างสูง โดยพฤติกรรมของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่สำคัญ มีดังนี้
ไม่ยึดติดกับตราสินค้า และไม่ได้ยึดปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก
สืบค้นข้อมูลก่อนตัดสินใจ
สนใจสินค้าที่มีนวัตกรรม
ราคาที่สมเหตุสมผล
ตลาดสินค้าความงามสำหรับกลุ่มผู้ชายในไทยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพื่อลดการแข่งขันตลาดในประเทศ ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่แม้ว่ามูลค่าตลาดความงามสำหรับผู้ชายอาจยังไม่สูงมากนัก แต่ก็มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังมีเรื่องของข้อได้เปรียบที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทยก็คือ ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านต่างมีการติดตามเทรนด์ทางด้านความงามของไทย และมีความเชื่อถือในคุณภาพรวมถึงความคุ้มค่าของสินค้าและบริการจากไทยค่อนข้างสูง
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : SME จับเทรนด์อาหารอนาคตสร้างรายได้
อ่านเพิ่มเติม : https://kasikornbank.com/th/business/sme/SME_Analysis_FutureFood.pdf
อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาอาหารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น
เทรนด์อาหารในอนาคตที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่
เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการขัดสีหรือกระบวนการเก็บถนอมอาหารใดๆ ทั้งผักผลไม้ รวมไปถึงวัถุดิบอื่นๆ คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการบริโภคอาหารบางกลุ่ม เช่น ไขมัน น้ำตาล เป็นต้น
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารพืชแบบธรรมชาติ
– ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าพืชเกษตรในรูปแบบออร์แกนิค (ที่มีการรับรองมาตรฐานการผลิต) ธัญพืชกลุ่มที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ หรือ Super Food
– ต้องมีการพัฒนาและมองหาวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสกัดเป็นน้ำมัน/ผง ตลอดจนนำมาแปรรูปเพื่อทดแทนอาหารแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังสามารถขยายกิจการสู่การส่งออกได้อีกด้วย
– กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ คือ กลุ่มผู้บริโภค Vegan และกลุ่มร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้แมลงเป็น Super Food ที่มีประโยชน์และสารอาหารสูง โดยในหลายประเทศเริ่มยอมรับการใช้แมลงเป็นอาหารโปรตีนสำรอง และมีประชากรโลกราว 2,000 ล้านคนที่รับประทานแมลงเป็นอาหาร แมลงจึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าในกลุ่มอาหารศักยภาพที่น่าสนใจในการเจาะตลาดผู้บริโภค การส่งออกแมลงไปจำหน่ายทั่วโลก สามารถผลิตได้ง่ายในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงได้อีกด้วย
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารจากแมลง
– นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีอากาศที่เหมาะสม
– แมลงที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ จิ้งหรีด รถด่วน ตั๊กแตน ดักแด้ ฯลฯ
– ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ กลุ่มแมลงทอดหรืออบ แมลงแช่แข็ง
– ช่องทางการจำหน่ายที่มีศักยภาพในระยะต่อไป คือ ตลาดส่งออก โดยตลาดที่มีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้สูงได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
คืออาหารที่มาจากท้องถิ่น หรืออาหารที่มีความสดใหม่จากธรรมชาติ ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ใช้กำลังการผลิตในปริมาณไม่มาก และมีเรื่องราวที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ โดยอาหารกลุ่มนี้เริ่มมีความต้องการจากตลาดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรายใหญ่เริ่มหันมานำเสนอสินค้าที่มีความเป็นท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งจะเลือกผลิตหรือจำหน่ายในช่วงเวลาและปริมาณที่จำกัด เพื่อนำเสนอให้ผู้บริโภคเห็นถึงความพิเศษและมีคุณภาพสูงของสินค้า
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารท้องถิ่น
– วัตถุดิบอาหารและอาหารในไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะประเทศไทยมีเอกลักษณ์และความเป็นพื้นถิ่นสูง ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น
– กลุ่มสินค้าที่ตลาดต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยได้ขึ้นทะเบียนตราสัญลักษณ์ GI เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุเรียนนนท์ สับปะรดภูแล มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ฯลฯ
– ผลิตภัณฑ์จากผลไม้และสมุนไพรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน/ขนุนแปรรูป (ทอดกรอบ) น้ำผึ้งดอกลำไย รวมถึงเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงรสไทย
– การเพิ่มนวัตกรรมอาหารเข้าไปในผลิตภัณฑ์ หรือสร้างเรื่องราวของสินค้าให้น่าดึงดูดหรือให้แบรนด์ดูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย
จากเทรนด์อาหารในอนาคตและโอกาสทางการตลาด ที่ได้กล่าวไป ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมอาหารมาปรับใช้ในการผลิตให้มากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพด้านการผลิต และที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ก็คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ (Traceability) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
การปรับธุรกิจให้ทันเทรนด์อาหารยุคใหม่นี้อาจไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะเป็นการผลิตอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีความสลับซับซ้อน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาหาข้อมูลและมองหาลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหาแนวร่วมจากองค์กรภาครัฐที่สนับสนุน เช่น
– เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่ส่งเสริมหรือเชื่อมโยงความช่วยเหลือเกี่ยวกับเครือข่ายผู้ประกอบการ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ http://foodinnopolis.or.th/
– สถาบันอาหาร (National Food Institute) บริการด้านการตรวจ วิเคราะห์การทดสอบ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ
– อาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจ-ต่างธุรกิจ สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : C-commerce ทางเลือกใหม่ของธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/c-commerce-online-business-options
C – Commerce เป็นการซื้อขายผ่านช่องทางแชทเป็นหลัก ย่อมาจาก Conversational Commerce ซึ่งก็คือ การแชทคุยกันเพื่อซื้อขายนั่นเอง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการซื้อขาย การปิดการขาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย
จากผลสำรวจ คนไทยใช้งานร้านค้าออนไลน์มากที่สุด (ใน 9 ประเทศ) ซึ่งคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึงวันละ 9 ชั่วโมง คนไทยนิยมใช้งานแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการแชทในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือ แมสเซ็นเจอร์ (Messenger) ส่งผลให้ติดพฤติกรรมการแชท และกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำสิ่งต่าง ๆ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า
ทำให้คนไทยกล้าที่จะเปิดใจใช้บริการต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะเรื่องของอีคอมเมิร์ช ( E-Commerce) ในประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ใหม่ เพราะคนไทยพร้อมที่จะเรียนรู้ใช้งานสิ่งใหม่ ๆ ขอแค่มีคนให้คำแนะนำ การแชทจึงทำให้เชื่อมั่นในระบบได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดการซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้กลยุทธ์การซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ให้ได้ประสิทธิภาพ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
– กำหนดบุคลิกแบรนด์ว่าต้องการให้แบรนด์ของเรามีลักษณะอย่างไร เช่น สุภาพทางการ หรือ สนุกสนานเป็นกันเอง เป็นต้น
– คิดชุดคำตอบสำรองไว้สำหรับคำถามทั่วไป ที่ลูกค้ามักถามเข้ามาบ่อย เช่น หากลูกค้าถามเกี่ยวกับราคา ผู้ประกอบการควรมีชุดคำตอบสำหรับราคาเตรียมไว้ เพื่อการตอบได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
– ตอบแชทให้เร็วที่สุด จะทำให้ลูกค้าชื่นชอบ และผู้ประกอบการสามารถที่จะปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากไม่สามารถตอบแชทได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรตั้งค่าการตอบแบบอัตโนมัติ ระบุเวลาทำการของร้าน ให้ลูกค้าได้ทราบไว้ล่วงหน้า
– ตอบคำถามให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจและช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
– สุดท้ายการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) จะอยู่คู่กับชาวออนไลน์ไปอีกนาน โดยเฉพาะกับคนยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เพราะเขาเกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟนและการแชท
ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดควรเน้นการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ในธุรกิจตนเอง เพราะข้อดีมีมากทีเดียว ทั้งการเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้โดยไม่รู้ตัว
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 – พ.ศ.2564)
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PolicyPS/Documents/PaymentRoadmap_2564.pdf
Covid-19 ทำให้เราเห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนทั่วโลก ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จนเกิดเป็นวิถีชีวิตใหม่ หรือ นิว นอร์มอล (New normal) ได้ชัดเจน จากในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้เผยถึงข้อมูลการใช้เงินของคนไทย จะพบว่าคนไทยหันมาใช้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ digital payment กันเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการจ่าย โอนเงิน ผ่านมือถือ ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 116 ต่อปีทีเดียว เรียกได้ว่าเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดกันแล้ว หลังจาก Covid-19 คาดว่าตัวเลขนี้จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้นไปอีก
บริการชำระเงินอย่าง ระบบพร้อมเพย์ ที่ช่วยเราสามารถโอนเงินด้วยเบอร์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน เลขทะเบียนนิติบุคคล หรือหมายเลข e-Wallet ได้สะดวก รวดเร็ว และค่าบริการต่ำ ได้รับความนิยมใช้เพิ่มสูงขึ้นมาก ยอดลงทะเบียนพร้อมเพย์ที่สูงถึง 46.5 ล้านหมายเลข (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2561) และมีการใช้งานเฉลี่ยสูงถึง 4.5 ล้านครั้งต่อวัน
– พร้อมเพย์ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดบริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย เช่น บริการชำระบิลข้ามธนาคาร (cross-bank bill payment) ซึ่งทำให้เราสามารถจ่ายบิลทุกธนาคารที่รองรับผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยมาตรฐาน Thai QR Payment
– Thai QR Payment ที่สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ทำให้ digital payment สามารถเข้าถึง SMEs และร้านค้าขนาดเล็ก เช่น ร้านค้าในตลาด หาบเร่ แผงลอย ได้อย่างรวดเร็ว
– สามารถต่อยอดการพัฒนามาตรฐาน Thai QR payment ไปสู่การให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ บริการเตือนเพื่อจ่าย (PayAlert)
– ร้านค้าสามารถรับชำระเงินด้วยบัตรหรือโทรศัพท์มือถือได้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและปลอดภัยมากขึ้น
– ช่วยให้ร้านค้าสามารถรับเงินจากลูกค้าได้หลายช่องทาง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งในเรื่องของการช้อปปิ้งออนไลน์ และเลือกชำระเงินแบบไร้เงินสดที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้ปรับแผนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยการมุ่งทำตลาดออนไลน์ และมีช่องทางชำระเงินออนไลน์ อย่าลืมพิจารณาในเรื่องของราคาสินค้าที่ดึงดูดใจ และโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อสินค้าได้อีกทางหนึ่ง
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19 รอดได้ด้วย Digital Technology
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.etda.or.th/content/new-normal-after-covid-19.html/
ความไม่เหมือนเดิมหลังต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 เริ่มต้นจากชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เราคิดว่า เรื่องโรคระบาดอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่เราไม่เคยคิดว่ามันจะมาถึงตัว จนกระทั่งโควิด-19 มาถึง ก่อให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก วันนี้ทุกคนจึงตระหนักเพิ่มขึ้นว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำให้ชีวิตไม่เหมือนเดิม
การ Work from Home ได้สร้างเศรษฐกิจคนติดบ้าน (From Home Economy) ทำให้ e-Commerce และการทำธุรกรรมทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแล้ว อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ก็คือ คนให้ความสนใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขมากขึ้น เช่น ให้ความสำคัญกับการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้การรักษามากยิ่งขึ้น อย่างการรักษาทางไกลเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องรับเชื้อเพิ่ม รวมถึงการมี Health Passport ยกระดับเฝ้าระวังการตรวจคัดกรองโควิด-19
สำหรับผู้ประกอบการ หลายองค์กรต้องปรับตัว หันหน้าพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลนำมาใช้ในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้เรื่อง Digital Transformations ที่เคยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นช้ามาก กลับถูกขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่ามากหรือน้อยเพียงใด หรือเกิดขึ้นในพื้นที่ใด เราจะเห็นว่า มันได้ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน คือ การกะเทาะแผลของสังคม “ความไม่เสมอภาค (Inequality)” ที่มีอยู่ ให้ลึก กว้างและรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ ที่หลายองค์กรเอกชนต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะสามารถช่วยเรื่องนี้ได้อย่างไร
ผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับช่วงวิกฤตโควิด-19 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ต้องอยู่ให้รอด เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่ประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องสาธารณสุขและชีวิตของคนมากที่สุด ผู้ประกอบการจึงต้องอยู่ให้รอดกับภาระต้นทุนที่ต้องเปิดรับ ต้องกลั้นหายใจ
ระยะที่ 2 ต้องปรับตัว จากความผิดปกติแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม (New Abnormal) นับเป็นช่วงที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในระยะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นบ้าง เริ่มกลับมาหายใจได้บ้าง แต่ก็ไม่เต็มปอดมากนัก
ระยะที่ 3 ต้องอยู่ให้ยืน จากความปกติที่ไม่ปกติหลังโควิด-19 (New Normal) เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องตั้งคำถามว่า “โลกหลังโควิดนี้ ยังต้องการเราอยู่หรือไม่” ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ มีความจำเป็นหรือไม่ อยู่เพื่ออะไร สร้างคุณค่า (Value) อย่างไรให้กับผู้บริโภค ท่ามกลางวิธีการสื่อสาร การติดต่อที่เปลี่ยนไปนี้
ในวิกฤตโควิดนี้ ไม่เพียงทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำหรือไม่ทำอะไรแล้ว ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ปรับตัวเข้าสู่ตลาด e-Commerce มากขึ้น ติดต่อลูกค้า B2B (Business-to-Business) กันมากขึ้นด้วยออนไลน์ สามารถสั่งของ เช็กสต๊อกผ่านระบบดิจิทัล เพียงแค่ระบบหลังบ้านต้องเชื่อมต่อข้อมูลกันเท่านั้นเอง ทำให้ธุรกิจมีความโปร่งใสมากขึ้น ดังนั้น เครื่องมือสำคัญที่จะนำพาเราออกจากวิกฤตนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เทคโนโลยีดิจิทัล และ Mindset ของคนในองค์กร
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หนึ่งในหน่วยงานของรัฐ ที่มีการปรับตัวเช่นเดียวกับเอกชน เพราะใช่ว่าโควิดจะกระทบกับเอกชนและประชาชนเท่านั้น แต่รัฐก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ทำให้รัฐต้องปรับตัวเน้นการเป็นผู้สนับสนุน เพื่อแก้ปัญหาให้อะไรที่ติดขัดในช่วงนี้ สามารถทำต่อไปได้และไม่เป็นภาระของเอกชนหรือประชาชนมากเกินไป
วิกฤตนี้ได้สร้างข้อจำกัดทางกายภาพโดยเฉพาะเรื่องการเดินทาง ดังนั้น ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก จนอาจไปไม่รอดช่วงนี้ ได้แก่
– ธุรกิจที่ต้องอาศัยคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจำนวนมาก
– ธุรกิจมีสินค้าหรือบริการที่ต้องเข้าถึงลูกค้าทางกายภาพ เช่น ธุรกิจการบิน
– ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
หนทางที่ทำให้รอดและการถูก Disrupt ลดลง คือ
– ลดกำลังคน ดึงเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
– จัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่ดี มี Vender ใน Supply Chain มากกว่า 1 ราย และต้องมีความหลากหลาย ทั้งในพื้นที่ สัญชาติ เพื่อกระจายผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
– ปรับการส่งสินค้าและบริการถึงลูกค้าในทุกขั้นตอน ต้องทำผ่านออนไลน์ ปรับตัว ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย