
หัวข้อ : 10 แฟรนไชส์อาหาร ที่ยังไปได้ดีแม้เศรษฐกิจผันผวน
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-food-investment
การขายอาหารการกินไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีตกยุค ยิ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและมีธุรกิจตัวกลางคอยเชื่อมโยงร้านอาหารกับกลุ่มลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ การเติบโตทางการตลาดจึงเป็นไปอย่างดี โดย Euromonitor รายงานว่าในช่วงปี 2013-2018 ยอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food service) ของไทยยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจอาหาร แฟรนไชส์อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากแนวโน้มของตลาดที่ให้การตอบรับดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจอย่าลืมที่จะพิจารณาถึงผลเสียและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่จะได้รับอย่างรอบคอบ เพื่อวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตได้
ผู้ที่สนใจเแฟรนไชส์อาหาร นี่คือ 10 แฟรนไชส์ที่ยังไปได้ดีในยุคนี้
1. แฟรนไชส์น้ำปลาหวาน จิ้มแกล้มกับผลไม้
2. เนื้อย่างเสียบไม้ มีแนวคิดมาจากความนิยมทานเนื้อแบบปิ้งย่างของคนไทย เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการทานแบบสะดวก พออิ่มท้อง และไม่อยากจ่ายเยอะ
3. เครป ขนมทานเล่นยอดนิยมมานานยังคงไปได้ดี
4. หม่าล่า อาหารปิ้งย่างเคลือบน้ำจิ้มรสเผ็ด ได้รับความนิยมมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
5. เฟรนช์ฟรายส์ อาหารทานเล่นที่บริหารจัดการได้ไม่ยาก
6. ซูชิ อาหารจากญี่ปุ่นที่ถูกปากคนไทยมานาน
7. ก๋วยเตี๋ยว ยังไปได้ในทุกยุคเศรษฐกิจ
8. ส้มตำ ยำแซ่บ อีสานยกชุด อาหารที่คนไทยทานได้ไม่เบื่อ
9. สเต๊ก สามารถคืนทุนได้เร็ว หากทำเลดีและเลือกลงทุนแฟรนไชส์ดี
10. ชาบู มีทั้งแบบจัดเป็นชุดบุฟเฟต์ หรือเสียบไม้
ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเป็นสินค้าที่มีผลกำไรต่อหน่วยน้อย ต้องอาศัยการขายในจำนวนมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกเหนือไปจากทุน จุดคุ้มทุน และผลกำไรแล้ว ยังมีเรื่องอื่นที่ผู้ประกอกการต้องใส่ใจด้วย เช่น
– การพิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้ง เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปได้ไกล
– วัตถุดิบอาหารต้องสดใหม่และมีอายุในการเก็บรักษา จำต้องหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : เทรนด์ชายต้องหล่อมาแรง ดันตลาดความงามโต
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.kasikornbank.com/th/TrendMan.pdf
ตลาดความงามโดยรวมกำลังเติบโต จากพฤติกรรมคนไทยที่หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกาย ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่ใส่ใจในเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันผู้ชายก็หันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลภาพลักษณ์และบุคคลิกมากขึ้น กลุ่มลูกค้าผู้ชายจึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้า บริการ หรือต่อยอดธุรกิจความงามจากเดิมสินค้ายอดฮิตของตลาดความงามผู้ชาย เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกาย (Men’s Grooming) เติบโตเฉลี่ยประมาณ 6.4% ต่อปี ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีอัตราเติบโตสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยตลาดความงามผู้ชายส่วนใหญ่เติบโตจากกลุ่มผู้ชายอายุระหว่าง 20-39 ปี หรือกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ที่เริ่มสนใจดูแลบุคลิกภาพของตนเอง และเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับความงามค่อนข้างสูง โดยพฤติกรรมของกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่สำคัญ มีดังนี้
ไม่ยึดติดกับตราสินค้า และไม่ได้ยึดปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก
สืบค้นข้อมูลก่อนตัดสินใจ
สนใจสินค้าที่มีนวัตกรรม
ราคาที่สมเหตุสมผล
ตลาดสินค้าความงามสำหรับกลุ่มผู้ชายในไทยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพื่อลดการแข่งขันตลาดในประเทศ ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่แม้ว่ามูลค่าตลาดความงามสำหรับผู้ชายอาจยังไม่สูงมากนัก แต่ก็มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังมีเรื่องของข้อได้เปรียบที่สำคัญของสินค้าและบริการของไทยก็คือ ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านต่างมีการติดตามเทรนด์ทางด้านความงามของไทย และมีความเชื่อถือในคุณภาพรวมถึงความคุ้มค่าของสินค้าและบริการจากไทยค่อนข้างสูง
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : SME จับเทรนด์อาหารอนาคตสร้างรายได้
อ่านเพิ่มเติม : https://kasikornbank.com/th/business/sme/SME_Analysis_FutureFood.pdf
อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อเทรนด์การบริโภคในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการที่จะพัฒนาอาหารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคตมากขึ้น
เทรนด์อาหารในอนาคตที่น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่
เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการขัดสีหรือกระบวนการเก็บถนอมอาหารใดๆ ทั้งผักผลไม้ รวมไปถึงวัถุดิบอื่นๆ คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Vegan) รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการบริโภคอาหารบางกลุ่ม เช่น ไขมัน น้ำตาล เป็นต้น
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารพืชแบบธรรมชาติ
– ควรมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าพืชเกษตรในรูปแบบออร์แกนิค (ที่มีการรับรองมาตรฐานการผลิต) ธัญพืชกลุ่มที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ หรือ Super Food
– ต้องมีการพัฒนาและมองหาวิธีการนำเมล็ดพันธุ์พืชมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสกัดเป็นน้ำมัน/ผง ตลอดจนนำมาแปรรูปเพื่อทดแทนอาหารแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังสามารถขยายกิจการสู่การส่งออกได้อีกด้วย
– กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ คือ กลุ่มผู้บริโภค Vegan และกลุ่มร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้แมลงเป็น Super Food ที่มีประโยชน์และสารอาหารสูง โดยในหลายประเทศเริ่มยอมรับการใช้แมลงเป็นอาหารโปรตีนสำรอง และมีประชากรโลกราว 2,000 ล้านคนที่รับประทานแมลงเป็นอาหาร แมลงจึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าในกลุ่มอาหารศักยภาพที่น่าสนใจในการเจาะตลาดผู้บริโภค การส่งออกแมลงไปจำหน่ายทั่วโลก สามารถผลิตได้ง่ายในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงได้อีกด้วย
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารจากแมลง
– นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาทำฟาร์มเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีอากาศที่เหมาะสม
– แมลงที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ จิ้งหรีด รถด่วน ตั๊กแตน ดักแด้ ฯลฯ
– ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม คือ กลุ่มแมลงทอดหรืออบ แมลงแช่แข็ง
– ช่องทางการจำหน่ายที่มีศักยภาพในระยะต่อไป คือ ตลาดส่งออก โดยตลาดที่มีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้สูงได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
คืออาหารที่มาจากท้องถิ่น หรืออาหารที่มีความสดใหม่จากธรรมชาติ ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง ใช้กำลังการผลิตในปริมาณไม่มาก และมีเรื่องราวที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ โดยอาหารกลุ่มนี้เริ่มมีความต้องการจากตลาดผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นในต่างประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรายใหญ่เริ่มหันมานำเสนอสินค้าที่มีความเป็นท้องถิ่นพิเศษ ซึ่งจะเลือกผลิตหรือจำหน่ายในช่วงเวลาและปริมาณที่จำกัด เพื่อนำเสนอให้ผู้บริโภคเห็นถึงความพิเศษและมีคุณภาพสูงของสินค้า
โอกาสของผู้ประกอบการที่สนใจอาหารท้องถิ่น
– วัตถุดิบอาหารและอาหารในไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะประเทศไทยมีเอกลักษณ์และความเป็นพื้นถิ่นสูง ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น
– กลุ่มสินค้าที่ตลาดต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยได้ขึ้นทะเบียนตราสัญลักษณ์ GI เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุเรียนนนท์ สับปะรดภูแล มะขามหวานเพชรบูรณ์ ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูน ฯลฯ
– ผลิตภัณฑ์จากผลไม้และสมุนไพรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน/ขนุนแปรรูป (ทอดกรอบ) น้ำผึ้งดอกลำไย รวมถึงเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงรสไทย
– การเพิ่มนวัตกรรมอาหารเข้าไปในผลิตภัณฑ์ หรือสร้างเรื่องราวของสินค้าให้น่าดึงดูดหรือให้แบรนด์ดูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย
จากเทรนด์อาหารในอนาคตและโอกาสทางการตลาด ที่ได้กล่าวไป ผู้ประกอบการควรหันมาให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมอาหารมาปรับใช้ในการผลิตให้มากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพด้านการผลิต และที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ก็คือ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ (Traceability) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค
การปรับธุรกิจให้ทันเทรนด์อาหารยุคใหม่นี้อาจไม่ใช้เรื่องง่าย เพราะเป็นการผลิตอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง มีความสลับซับซ้อน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาหาข้อมูลและมองหาลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือหาแนวร่วมจากองค์กรภาครัฐที่สนับสนุน เช่น
– เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่ส่งเสริมหรือเชื่อมโยงความช่วยเหลือเกี่ยวกับเครือข่ายผู้ประกอบการ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ http://foodinnopolis.or.th/
– สถาบันอาหาร (National Food Institute) บริการด้านการตรวจ วิเคราะห์การทดสอบ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการ
– อาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจ-ต่างธุรกิจ สถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : SME รับมืออย่างไร เมื่อโควิด – 19 เขย่าตลาดเครื่องสำอาง
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://kasikornbank.com/th/business/sme/cosmetic_market_covid.pdf
จากผลกระทบการระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการเครื่องสำอางในไทยเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะมีเรื่องของการส่งออกเครื่องสำอางที่จะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของประเทศเท่านั้น แต่การผลิตและการบรรจุเครื่องสำอางก็อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของทางการที่เข้มข้นขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการเครื่องสำอางสามารถฟื้นฟูกิจการให้อยู่รอดในช่วงนี้คือ
ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในองค์กร เช่น การบริหารจัดการสภาพคล่อง การบริหารสต็อกวัตถุดิบ รวมถึงผลกระทบในส่วนของพนักงาน ตลอดจนการตรวจสอบกับพันธมิตรคู่ค้าในต่างประเทศ ถึงสถานการณ์ด้านการตลาด และอุปสรรคที่อาจมีในด้านการขนส่งสินค้า เพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
เช่น การผลิตสินค้าขนาดเล็ก นอกจากจะเหมาะกับกลุ่มลูกค้ารายเดิมที่กำลังซื้อมีจำกัดแล้ว ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยังมีรายได้ไม่สูง แต่สนใจอยากทดลองใช้สินค้า
เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ เพราะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 สินค้าเครื่องสำอางได้รับความสนใจสั่งซื้อผ่าน ช่องทางนี้สูง โดยเฉพาะสินค้าจากผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากผู้ซื้อต้องการความหลากหลายของสินค้า ขณะเดียวกับที่ผู้บริโภคเองต่างมีการแบ่งปันข้อมูลสินค้ากันในสังคมออนไลน์เช่นกัน
เนื่องจากไทยถือเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางในภูมิภาคอาเซียน หากสถานการณ์ระบาดของโรคคลี่คลายเป็นปกติ จะทำให้คู่ค้าได้เข้ามาพบปะผู้ประกอบการเครื่องสำอาง รวมถึงติดตามความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมเครื่องสำอางรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งการร่วมมือกับภาครัฐวางแผนจัดงานแสดงสินค้า เพื่อให้ยอดขายกลับมาปกติเร็วที่สุด
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอาง ที่กำลังมองหาช่องทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ หลังจากที่วิกฤติทั่วโลกคลี่คลายนั้น ตลาดส่งออกที่น่าสนใจ ดังนี้
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเครื่องสำอางควรเรียนรู้เทรนด์ที่เกี่ยวข้องที่กำลังเป็นที่สนใจ รวมถึงตลาดที่จะกลับมาเติบโตภายหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายลง โดยเทรนด์เครื่องสำอางที่เติบโตสูงและกำลังเป็นที่สนใจในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่
ซึ่งต้องมีความปลอดภัย และไม่เกิดการแพ้ เนื่องจากผิวเด็กมีความบอบบาง และไวต่อเครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและดูแลเส้นผม ได้รับความสนใจสูง โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาด เครื่องสำอางผู้ชายจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ของตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบัน
ผู้สูงอายุมีจำนวนประชากร เกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก และบางส่วนยังคงให้ ความสนใจกับบุคลิกตนเองจึงต้องการผลิตภัณฑ์ดูแล ผิว ต่อต้านริ้วรอยให้ดูอ่อนกว่าวัย และผลิตภัณฑ์ดูแล เส้นผม
คาดว่าจะมี มูลค่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2564 โดยส่วนใหญ่ อยู่ในประเทศที่มีชาวมุสลิมจำนวนมาก เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี มาเลเซีย โดยประเภทของเครื่องสำอางที่น่าสนใจได้แก่ เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย และเด็ก เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการสินค้า ที่พกพาสะดวก รวมถึงกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่สูงมากนัก และกลุ่มที่ต้องการทดลองใช้สินค้าก่อนใช้จริง
เป็นการผสานเทคโนโลยี เช่น AI และ Big Data สำหรับ วิเคราะห์และผลิตเครื่องสำอางสำหรับผู้มีสภาพผิวที่แตกต่างกัน
ซึ่งผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่างๆ เช่น สบู่ โฟม แชมพู ซึ่งหลายๆ ประเทศ ทั้งจีน ไต้หวัน รวมถึงไทย ได้ห้ามผลิตหรือ จำหน่ายตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป
โดยเน้น วัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือออร์แกนิก รวมถึงที่สามารถ ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech)
เห็นได้ชัดว่า ปี 2563 นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอางในไทยไม่น้อย ที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤต ที่เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อผลประกอบการ แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือการผลักดันธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป การระบาดของโรคโควิด-19 อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเครื่องสำอางใช้โอกาสนี้ ปรับกลยุทธ์ด้วยการบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาช่องทาง การขายสินค้าจากช่องทางหน้าร้าน (Offline) ที่เคยเป็นตลาดหลัก ขยายไปสู่ช่องทางออนไลน์ (Online) ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเครื่องสำอางสามารถขยายโอกาสการส่งออก ภายหลังการระบาดของโรคคลี่คลายเป็นปกติได้กว้างขวางมากขึ้น
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หัวข้อ : C-commerce ทางเลือกใหม่ของธุรกิจออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/c-commerce-online-business-options
C – Commerce เป็นการซื้อขายผ่านช่องทางแชทเป็นหลัก ย่อมาจาก Conversational Commerce ซึ่งก็คือ การแชทคุยกันเพื่อซื้อขายนั่นเอง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการซื้อขาย การปิดการขาย ไปจนถึงบริการหลังการขาย
จากผลสำรวจ คนไทยใช้งานร้านค้าออนไลน์มากที่สุด (ใน 9 ประเทศ) ซึ่งคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึงวันละ 9 ชั่วโมง คนไทยนิยมใช้งานแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการแชทในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือ แมสเซ็นเจอร์ (Messenger) ส่งผลให้ติดพฤติกรรมการแชท และกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำสิ่งต่าง ๆ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า
ทำให้คนไทยกล้าที่จะเปิดใจใช้บริการต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะเรื่องของอีคอมเมิร์ช ( E-Commerce) ในประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ใหม่ เพราะคนไทยพร้อมที่จะเรียนรู้ใช้งานสิ่งใหม่ ๆ ขอแค่มีคนให้คำแนะนำ การแชทจึงทำให้เชื่อมั่นในระบบได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดการซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องใช้กลยุทธ์การซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ให้ได้ประสิทธิภาพ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
– กำหนดบุคลิกแบรนด์ว่าต้องการให้แบรนด์ของเรามีลักษณะอย่างไร เช่น สุภาพทางการ หรือ สนุกสนานเป็นกันเอง เป็นต้น
– คิดชุดคำตอบสำรองไว้สำหรับคำถามทั่วไป ที่ลูกค้ามักถามเข้ามาบ่อย เช่น หากลูกค้าถามเกี่ยวกับราคา ผู้ประกอบการควรมีชุดคำตอบสำหรับราคาเตรียมไว้ เพื่อการตอบได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
– ตอบแชทให้เร็วที่สุด จะทำให้ลูกค้าชื่นชอบ และผู้ประกอบการสามารถที่จะปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากไม่สามารถตอบแชทได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรตั้งค่าการตอบแบบอัตโนมัติ ระบุเวลาทำการของร้าน ให้ลูกค้าได้ทราบไว้ล่วงหน้า
– ตอบคำถามให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจและช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
– สุดท้ายการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) จะอยู่คู่กับชาวออนไลน์ไปอีกนาน โดยเฉพาะกับคนยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เพราะเขาเกิดมาพร้อมกับสมาร์ทโฟนและการแชท
ดังนั้น ผู้ประกอบการและนักการตลาดควรเน้นการซื้อขายผ่านช่องทางแชท (C – Commerce) ในธุรกิจตนเอง เพราะข้อดีมีมากทีเดียว ทั้งการเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้โดยไม่รู้ตัว
Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย