TCDC ขอนแก่น หรือ “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น” Thailand Creative & Design Center

ก่อตั้งขึ้นบนแนวคิดเพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ในระดับภูมิภาค และเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผ่าน 3 ส่วนงานหลัก ได้แก่ บุคลากรสร้างสรรค์ (Creative People) ธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business) และพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Place) ซึ่งเหมาะสมกับผู้ประกอบการ SME ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบโฆษณา ธุรกิจการผลิตเสื้อผ้าและ Fashion ต่าง ๆ

 

  • ศูนย์พัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ เป็นตัวกลางในการส่งเสริมนักออกแบบในสาขาต่างๆกับภาคการผลิตและผู้ประกอบการ SME โดยตรงผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมทั้งทางออนไลน์และในพื้นที่ โดยที่ TCDC ขอนแก่นถือได้ว่าเป็นชุมชนของนักสร้างสรรค์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะนักออกแบบการสื่อสารและโฆษณา, นักถ่ายภาพ, ถ่ายทำวีดีโอ, ผู้กำกับการแสดง, นักออกแบบผลิตภัณฑ์, นักออกแบบเสื้อผ้า และบุคลากรทางด้านความคิดสร้างสรรค์อื่น ๆ

 

  • ที่นี่ยังมีความโดดเด่นมากกว่าที่อื่นโดยในส่วนของการใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้นเราไม่ได้มีแค่ การออกแบบ สถาปัตย์ และ ผลิตภัณฑ์ เท่านั้น เรายังมีข้อมูลส่วนของอุตสาหกรรมบันเทิงรวมอยู่ด้วย ซึ่งตรงนี้จะเหมาะกับความเป็นอีสานอย่างมากเพราะที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องความสนุกสนานและเทศกาลอยู่แล้ว เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะว่าอุตสาหกรรมนี้มีมากกว่าแค่นักร้องหรือนักแสดง แต่รวมไปถึง คนทำเสื้อผ้า ครูเพลง คนกำกับการแสดง ผู้กำกับดนตรี รวมไปถึงผู้กำกับเฟสติวัล

 

  • สำหรับผู้ประกอบการ SME มีความสนใจในการหาพื้นที่สำหรับใช้เป็นที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ TCDC ขอนแก่น  สามารถตอบโจทย์ความต้องการของท่านผ่านศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นแหล่งรวมข้อมูล ทั้งในรูปแบบของสิ่งพิมพ์และสื่อ Multimedia ที่มีบรรยากาศที่เป็นกันเองต่างจากห้องสมุดโดยทั่วไป

 

TCDC ขอนแก่น มีบริการที่โดดเด่นเหมาะกับผู้ประกอบการ SME ในสามส่วนด้วยกัน คือ

1. ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ พื้นที่เพื่อการค้นหาความรู้เกี่ยวกับด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการจัดประชุมและสัมมนาเพื่อการพัฒนาธุรกิจ

2. ศูนย์นวัตกรรมวัสดุอีสาน เป็นแหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับ วัสดุจากทั่วโลก และมีวัสดุพื้นที่ภาคอีสานหลากหลายรูปแบบ สามารถเข้ามาหาข้อมูลและสัมผัสวัสดุจริง เช่น ผ้าทอ ไม้ไผ่ เครื่องโลหะและดินเผา สีย้อมธรรมชาติ

3. ศูนย์พัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ เแหล่งรวมนักออกแบบจากหลากหลายสาขา จากทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาติดต่อเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกัน

 

ผู้ประกอบการ SME ยังสามารถหาความรู้ได้จาก ผ่านรูปแบบการจัดงานนิทรรศการหมุนเวียนที่มีขึ้นตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมี พื้นที่ CO-Working Space ที่เหมาะสำหรับการใช้ทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว ในการจัดการประชุมหรืองานสัมนาขนาดย่อมให้กับผู้ประกอบการเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อทำธุรกิจอีกด้วย

 

TCDC ขอนแก่นยังคงทำหน้าที่เหมือนกับเป็นประตูสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่นอกเหนือจากการเข้าใช้บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ผู้ประกอบการ SME ทุกท่านยังสามารถสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับงานทางด้านการออกแบบและการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการกับการทำธุรกิจของท่าน ได้ที่

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น (TCDC ขอนแก่น)

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

เปิดให้บริการ:  วันอังคารถึงวันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 - 19.00 น.

สถานที่ตั้ง:  เลขที่ 123 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ย่านกังสดาล) ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 

โทร 0-4300-9389 ต่อ 400

E-mail: info.khonkaen@tcdc.or.th

เฟซบุ๊ก  www.facebook.com/TCDCKhonKaen

 

บทความแนะนำ

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3

 

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เป็นหน่วยงานส่วนกลางของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีภารกิจหลักส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสากิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น สร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ โดยการเพิ่มทักษะ การอบรม การเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ วิเคราะห์ลูกค้า การพัฒนาวัตถุดิบของผู้ประกอบการ อย่างในปีนี้ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การแปรรูปจากข้าวเป็นแป้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต แปรรูปข้าวเป็นขนมขบเคี้ยว บริการสำหรับผู้ประกอบการ SME ทุกประเภท โดยเฉพาะเกษตรกร ทางศูนย์จะดูแลทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง

 

บริการของทางศูนย์ที่มีให้ผู้ประกอบการ SMEs

  1. มี Pilot Plant โรงงานต้นแบบ และ บริการเครื่องจักรโรงงานขนาดย่อม เช่น เครื่องบรรจุ เครื่องแปรรูป  เครื่องทอดสุญญากาศ เครื่องติดบาร์โค้ด
  2. ห้องชูทติ้ง บริการถ่ายภาพ
  3. เรื่องบรรจุภัณฑ์  บริการออกแบบ Packaging
  4. หลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ให้คำปรึกษาการพัฒนาธุรกิจ
  5. ในอนาคตจะนำธุรกิจไปผสมกับเกษตรกรอย่างการนำข้าวไปแปรรูป
  6. พาผู้ประกอบการไปดูงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้
  7. ติดต่อประสานงาน สำหรับการขอใบอย.
  8. กิจกรรมอบรม workshop ความรู้เรื่องการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์
  9. มีบริการพื้นที่ Co-working space

 

ผู้ประกอบการที่สนใจเพียงแค่มีไอเดีย หรือนำวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วเข้ามาต่อยอดไอเดีย เพียงแค่บอกความต้องการกับทางศูนย์ หรืออยากใช้บริการส่วนไหนภายในศูนย์

ติดต่อมาที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3

200 หมู่ 8 ถนนเลี่ยงเมือง ต.ท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000

โทร 056613161

โทรสาร 056613559

อีเมล์ ipc3@dip.go.th

 

 

บทความแนะนำ

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ขอนแก่น

 

ก่อตั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแก่ประชาชนในท้องถิ่น สนับสนุนความรู้ทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ และทีมที่ปรึกษา รวมทั้งมีการติดตามวิเคราะห์และประเมินผล สามารถนำเอานวัตกรรมใหม่ผสมผสาน กับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ เชื่อมโยงกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชม OTOP เกษตรกรในพื้นที่ ให้การบริการตั้งแต่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ฉลาก ให้คำปรึกษาแนะนำกระบวนการผลิต เครื่องจักรที่เหมาะสม บ่มเพาะวิสาหกิจ พื้นที่ให้เช่าสำหรับผู้ประกอบการ และการหาเงินทุน โดยกลุ่มหลักคือ ผู้ประกอบการ OTOP, SMEs, Start Up ประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม

 

แบ่งออกเป็น หน่วยทางด้านงานวิชาการ เรื่องของการนโยบายยุทธศาสตร์ในพื้นที่ จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริม SMEs และ OTOP ในพื้นที่  ผลักดันนโยบายต่าง ๆ ในภูมิภาคให้เป็นแผนปฏิบัติจริง มีการเชื่อมโยงกับทางจังหวัด ยกประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันในเวทีการค้า ทั้งภายในและต่างประเทศ มีที่ปรึกษาเพื่อลงไปในการพัฒนาธุรกิจ รวมทั้งศึกษาดูงานลงพื้นที่

 

มีศูนย์ต้นแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ ITC เรื่องของเกษตรแปรรูป สามารถทดลองใช้เครื่องจักรในการทดลองแปรรูปสินค้า เพื่อนำสินค้าที่ทดลองแปรรูปเอาไปทดลองการตลาด เรื่องของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

 

ให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องของการวางแผนการผลิต การเลือกเครื่องจักรที่เหมาะ ยกระดับรูปแบบตัวสินค้าด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มีพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการเช่าราคาไม่แพง สามารถเช่าพื้นที่ราคาถูกแล้วมาเริ่มบ่มเพาะธุรกิจก่อนออกไปตั้งโรงงานจริงเพื่อลดความเสี่ยงผู้ประกอบการ บริการที่ผู้ประกอบการนิยมเข้ามาใช้บริการคือ บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม

 

นอกจากนั้นโครงการศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ITC ขอนแก่น ยังครอบคลุมเรื่องเงินทุนให้กู้ รวมทั้งมีที่ปรึกษาเพื่อลงไปในการพัฒนาธุรกิจต่อไป โดยรับผิดชอบหน่วยงานต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมจังหวัด หน่วยงานต่างๆที่อยู่ภายในพื้น จังหวัดขอนแก่น(ภาค5) มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม และ มุกดาหาร  รวมถึงในช่วง Covid-19 ก็มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลช่วยในการหาวัตถุดิบ และเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้ประกอบการธุรกิจ เช่น ธุรกิจหน้ากากผ้า

 

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถนำไอเดียในการดำเนินธุรกิจของคุณ เข้ามาปรึกษาพูดคุยกับทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยดูแลการดำเนินธุรกิจของคุณ

ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ขอนแก่น ตำบลสำราญ อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40000

เบอร์ 081 964 6563

Facebook  https://www.facebook.com/ipc5.dip.go.th/?ref=page_internal

 

 

บทความแนะนำ

 

KX KNOWLEDGE EXCHANGE เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ โดยมีเป้าหมายคือนำความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย (KMUTT) ไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนทางความรู้ ระหว่างประชาคมจากภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมในลักษณะพันธมิตร เหมาะกับผู้ประกอบการ SME และ Start Up ในทุกอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะต่อยอดในการพัฒนากระบวนการผลิตรวมไปถึงการยกระดับตัวผลิตภัณฑ์

 

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับบ่มเพาะนวัตกิจเพื่อให้ผู้ประกอบการทำงานกับนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรม ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการ Start Up หน้าใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปั้นธุรกิจใหม่ โดยอาศัยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย รวมถึงมี Design hub เพื่อสนับสนุนและให้บริการด้านการออกแบบ

 

  • DesignXcel & Design Clinic เป็นส่วนให้ความรู้และกระตุ้นการสร้างแนวคิดและนวัตกรรม และองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรมการออกแบบ  ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย ​​ให้บริการปรึกษาทั้ง การผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Prototype Design), Graphic Design ฯลฯ ยังมีอีกส่วนที่น่าสนใจ คือ FabLab Bangkok เป็นพื้นที่สำหรับผู้คนในการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ ๆ ได้ลองทำงานกับเทคโนโลยีการประดิษฐ์ล่าสุด ได้พบปะกับชุมชนที่สร้างสรรค์เพื่อช่วยคุณสร้างธุรกิจเกือบทุกขั้นตอน  และในอนาคตจะมีอุปกรณ์ เพื่อให้ได้ทดลองและต่อยอดไอเดียอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เครื่องพิมพ์ 3D Printing เครื่องพิมพ์ CNC และเครื่องตัดเลเซอร์ เป็นต้น

 

  • บริการหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ทั้งหลักสูตร กิจกรรมโปรแกรม  Matching K to K (knowledge to KX) ซึ่งมีจากมหาลัยอื่นเข้าร่วมด้วย ไม่มีค่าใช้จ่าย  เป็นโปรแกรมที่ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การหาเงินทุน และ หลักสูตร Design Thinking

 

KX KNOWLEDGE EXCHANGE มีบริการ ทั้งห้องประชุมสัมมนา ห้องจัดนิทรรศการ เปิดตัวสินค้า หลากหลายรูปแบบ มีพื้นที่ Co-working space สำหรับ​ Start up, SMEs และคนรุ่นใหม่ ที่ยังไม่พร้อมเช่าออฟฟิศ ได้มาทำงาน พบปะพูดคุย เพื่อสร้างโอกาสในเชิงธุรกิจ

 

ผู้ประกอบการ SME ยังสามารถเข้ามาขยายเครือข่ายการทำธุรกิจรวมไปถึงการหาความรู้เพิ่มเติมที่ KX KNOWLEDGE EXCHANGE ผ่านรูปแบบกิจกรรมกิจกรรมงานสัมมนา กิจกรรมในการทำ  Focus Group การพูดคุย เพื่อตกผลึกในงานวิจัย โจทย์ ของผู้ประกอบการ และการทำ SME Matching ที่เป็นการประสานและจับคู่ผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันได้ ซึ่งทั้งหมดนี่คือการสร้าง ชุมชนของ SME ให้มีความเข้มแข็งเพื่อยกระดับสู่สากล รวมถึงนำทุนภาครัฐไปสนับสนุนผู้ประกอบการ  ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลและติดตามผลอยู่ตลอด

 

ท่านสามารถติดต่อได้ผ่านทางโทรศัพท์ ที่เบอร์ 024707906

อีเมล์ contact@kxinnovation.com 

หรือเดินทางมาที่ KX - Knowledge Exchange for Innovation (KMUTT) (The Knowledge Exchange: KX)

110 1 ถนน กรุงธนบุรี แขวง บางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600

เปิดทุกวัน เวลา 9.00 - 18.00

 

 

 

บทความแนะนำ

 

SCI PARK หรืออุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง นักวิจัย ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจอาหาร รวมไปถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมประมง โดยมีการให้บริการที่เป็นจุดเด่น คือ บริการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีแหล่งความรู้ที่ครบวงจรเกี่ยวกับ น้ำ ดินตะกอน และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในทะเล และ การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบในอาหาร เครื่องดื่ม ยา พื้นผิววัสดุ เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีห้องปฏิบัติการที่สามารถให้บริการด้านการตรวจวัดและทดสอบชิ้นงานเพื่อการออกใบรับรองมาตรฐานที่หลากหลาย  ตอบโจทย์ผู้ประกอบการทุกประเภท โดยเฉพาะประเภทอาหารและเครื่องดื่มธุรกิจ ด้านการประมง ธุรกิจด้านสมุนไพร

 

สำหรับบริการที่ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้ามาใช้บริการเพื่อการตรวจวัดและทดสอบชิ้นงานเพื่อการออกใบรับรองมาตรฐาน ได้แก่

  1. ห้องเครื่องมือปฏิบัติการของทางคณะวิทยาศาสตร์ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการวิเคราะห์หาคุณสมบัติและองค์ประกอบในอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารสามารถนำไปสอบเทียบเพื่อขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาได้ และสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวกับสมุนไพรสามารถนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์จากห้องนี้นำไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
  2. ห้องปฏิบัติการของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำ ดินตะกอน อาหารสำเร็จรูป  วัสดุตกแต่ง สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ รวมไปถึงการให้ข้อมูลเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม สัตว์ทะเลเศรษฐกิจ สาหร่ายทะเล รวมไปถึงแพลงตอน
  3. ศูนย์การเรียนรู้ระบบอัตโนมัติ ให้ผู้ประกอบการเรียนรู้ว่าการทำระบบอัตโนมัติทำอย่างไร เช่น การทำสายพานเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นใช้หุ่นยนต์
  4. ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วัสดุโยธา ตัวปูนหล่อ แท่งหล่อ ผนังเทียม หน่วยทดสอบวัสดุโยธา การก่อสร้าง
  5. ศูนย์เครื่องมือกลาง เครื่องมือชั้นสูงอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับไบโอ การแพทย์
  6. ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือ เหมาะกับ งานชิ้นส่วน เช่นชิ้นส่วนประกอบงานชิ้นส่วนยานยนต์
  7. เครื่องมือวิเคราะห์ด้านอื่นๆ เช่น กล้องวิเคราะห์พื้นผิววัสดุ เครื่องมือวิเคราะห์ด้านเครื่องสำอาง เครื่องมือวิเคราะห์ด้านการแพทย์

 

บริการอื่นๆในด้านการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ อย่างเช่น

  • การให้บริการในเรื่องของข้อมูลและการสนับสนุนเกี่ยวกับการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้าน
  • โครงการ R to M ( Research to Marketing ) การเปลี่ยนงานวิจัยเข้าสู่ตลาด สร้างมูลค่า เช่น ทุ่นตรวจสอบคุณภาพน้ำ
  • การหาแหล่งเงินทุน เช่น จากหอการค้าชลบุรี หอการค้าระยอง หอการการค้าฉะเชิงเทรา
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์
  • Business model
  • ขั้นตอนของการผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่านความร่วมมือจากบุคลากรและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นตัวกลางช่วยเหลือ ประสานงาน กับทางอย.

 

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาใช้บริการสามารถติดต่อผ่าน

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก ทางกองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม งานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131 

Tel. 038-102969 

E-mail : eastern.scipark@go.buu.ac.th 

เว็บไซต์  http://sciencepark.buu.ac.th/web2020/              

เฟซบุ๊ก  https://www.facebook.com/BUUresearch/

หรือหากผู้ประกอบการสนใจที่จะใช้ห้องปฏิบัติการ หรือยังไม่ทราบว่าการทดสอบที่ผู้ประกอบการต้องการจะใช้ห้องปฏิบัติการใดก็สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงาน

คุณจุฑามาศ ปานทับ หรือคุณอีฟ ได้ในวันและเวลาทำการ เบอร์โทร. 038-102-562

 

 

บทความแนะนำ