รายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME)

โครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นโครงการส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนได้มากขึ้น โดยสามารถขายหุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพได้ต่อบุคคลในวงจำกัด โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต

โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

รายชื่อกิจการที่ได้ลงทะเบียน อัพเดทล่าสุดวันที่ 26 กันยายน 2566 ดังนี้

  1. โฮมเฮิร์บ 2020
  2. ฮอร์แกไนซ์
  3. นิว สเต็ป เอเชีย
  4. บุญชยะสมบัติ
  5. ทูพีบีเอ็น ฟู้ด
  6. วัลแคน โคอะลิชั่น
  7. ด็อกเตอร์โซล(ไทยแลนด์)
  8. ตรังประดิษฐ์ไม้ วู้ดส์ แอนด์ เฟอร์นิเจอร์
  9. แม่ทมของอร่อย
  10. ดี ไนน์ตี้ แคปปิตอล
  11. โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง
  12. สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น
  13. สมาร์ทคอนแทรคท์ (ไทยแลนด์)
  14. แนบโซลูท
  15. อีเว้นท์ ป็อป
  16. นาสเกต รีเทล
  17. อภิวานิช ครีเอชั่น
  18. ดิวเทค
  19. ค็อบ เทคโนโลยี
  20. คิว บ็อคซ์ พอยท์
  21. เก็ทลิงส์ (ไทยแลนด์)
  22. รีคัลท์ (ประเทศไทย)
  23. เทรคอน (เว็บไซต์)
  24. ฟลิง
  25. ครีเอท โซลูชั่น เซ็นเตอร์
  26. 10 บิต เดเวลอปเมนต์
  27. เวนิวอี
  28. นอร์วิส
  29. เทเลเมดิก้า
  30. โพลาร์ แบร์ มิชชั่น
  31. บิลมีเวนเจอร์
  32. ฮับบา
  33. คอนโดไทย
  34. เฮลท์ แอท โฮม
  35. เอสซี สปาร์ค โซลูชั่น
  36. จูซอินโนฟเอท
  37. ชีวีบริรักษ์
  38. โนวา กรีน เพาเวอร์ ซิสเท็ม
  39. กอล์ฟดิกก์
  40. ฉลาด อินโนเวชั่น
  41. คลาวด์คอมเมิร์ซ
  42. เพ็ท พอว์
  43. โฮมดอทเทค
  44. อีทราน (ไทยแลนด์)
  45. ไฟว์ลูป
  46. คิว คิว (ประเทศไทย)
  47. ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์
  48. ซีคสเตอร์
  49. ดับเบิ้ลยู สมาร์ท (ประเทศไทย)
  50. เปื้อนฝุ่น
  51. เอสเอ็มอี มอล
  52. โกลบอล ฟินเทค
  53. เอเซีย แปซิฟิค อีโคโนมิค ฟาวน์เดชั่น
  54. แอล2อาร์
  55. สตอเรจ เอเชีย
  56. วอนเดอร์ (ไทยแลนด์) 
  57. บีเคเค ออริจินัล
  58. ครีเดน เอเชีย
  59. แฮป (ประเทศไทย)
  60. เอสพีอาร์ ฟู๊ด อินดัสทรี
  61. เพื่อนแท้ ลิสซิ่ง
  62. ช่างไทยมือโปร
  63. บนกองเงินกองทองแอ๊คเคาท์ติ้ง
  64. คอร์แล็บ โกลบอล
  65. คัมปรา โฮลดิ้ง
  66. บริษัท คาริเบอร์
  67. โพสิทิฟ กรุ๊ป
  68. อินเตอร์บิซ (ประเทศไทย)
  69. ทีเคโอ โบร
  70. ที ดับบลิว ซี โมดูลาร์
  71. สยาม เค พี ที
  72. คอร์ปจูริสท์
  73. วี เชฟ (ประเทศไทย)
  74. 945 โฮลดิ้ง
  75. เวิร์คกิ้ง
  76. อาวาลอน นูทรีมาร์ท
  77. กราวน์บิสซิเนส
  78. สหเศรษฐสิริ อินเตอร์เนชั่นแนล
  79. เอชจี โรโบติกส์
  80. หนึ่งศูนย์เก้า
  81. ไอดา เมดิคอล
  82. เพอร์เซพชั่น โค้ดส์
  83. เทคซอส มีเดีย
  84. ดิ ออมเลต
  85. ทิพวัติเทรด
  86. ฟาร์ม่าเฮอร์เบิล
  87. ฏีม เอนเตอร์ไพรส์
  88. เอ็น.ดับเบิลยู.ไฟน์เนสท์ โพรดักส์
  89. สวิฟท์ ไดนามิคส์
  90. สปีดี้แคช
  91. ออร์ก้าฟีด
  92. นอร์ทเทิร์น ไบโอแก๊ซ
  93. ยูทิลิตี้ แมเนจเมนท์
  94. ซีควัน โฮลดิ้ง
  95. เอโวลูชั่น เพย์เมนต์ กรุ๊ป
  96. เมคเซนด์ เอ็กซ์เพรส
  97. โบฟี่
  98. นิภา เทคโนโลยี
  99. ควิกฟิต รีเทล
  100. ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น
  101. ไทยพลาสติก รีไซเคิล กรุ๊ป
  102. เมชิยะ
  103. กรีนเอิร์ธ อินโนเวชั่น จำกัด
  104. อินโฟแอสโซซิเอท
  105. อูรัก อันดา
  106. ทีเอสที เมทัลเวิร์ค
  107. ทรัพย์วารี คอนสตรัคชั่น
  108. เอ็ม โปร เซอร์วิส
  109. ภคสพร อินเตอร์เนชั่นแนล
  110. เวอร์ทาซอฟท์
  111. ทรัพย์หิรัญ รีซอร์ส
  112. เอมวัน (ประเทศไทย)
  113. สกาน่า เอ็นจิเนียริ่ง
  114. ชิเซ็นเคม (ประเทศไทย)
  115. อีไอบิซ
  116. จีเอสบี อินเตอร์เนชั่นแนล
  117. อาร์มสตรอง เทคโนโลยี
  118. พาวเดอร์ บั๊กส์ (ประเทศไทย)
  119. เอ.บี.โปร เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์
  120. เวอร์ทูอาร์ช
  121. มัมมี้ลิเชียส ทเวนตี้โฟร์
  122. อินโวสตาร์
  123. สินทรัพย์เนื่องวงษา
  124. เมกะคลินิค
  125. ซอฟต์เบอร์รี่
  126. ณินทร์จินดา เบเกอรี่
  127. โนเบล อินดัสทรี่
  128. วาวา อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  129. เกษตรศิวิไลซ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
  130. เป็นเอก ควอลิตี้ออยล์
  131. นิว พาราไดม์
  132. ไทยแซนด์บ็อกซ์
  133. แอ็คโคเมท
  134. เมดเมติก
  135. โชคนำชัย ออโต้เพรสซิ่ง
  136. มาร์ยอง
  137. เครื่องปั่นไฟพลังใจไทย
  138. โอ โฮ แคปปิตอล
  139. เดอะเฟิสท์เอฟโวลูชั่น
  140. พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม
  141. บนกองเงินกองทอง
  142. มั่งมี อีคอมเมิร์ซ
  143. เกรทเตอร์ แอสเซท
  144. บ้านโป่ง โนวิเทท
  145. ที แอนด์ ที โอเพนนิ่ง
  146. เอทรู เทรดดิ้ง บิชิเนส
  147. คุณเก๋ ขนมหวาน
  148. ฟาสซายเนท อินโนเวชั่น
  149. เอ็มอาร์ซี เจริญเคมีคอล
  150. อีวีพี เนทเวิร์ค
  151. เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น
  152. ณัฐ บิวดิ้ง 
  153. กรีนเทค อินโนเวชั่น กรุ๊ป
  154. โฟลเอเวอร์ (ไทยแลนด์)
  155. พูนพูนด้วยใจยินดี

ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2566

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825

ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิก!!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาทำการ โทร. 02-263-6232, 02-033-9520, 02-298-3171

หรือทางอีเมลที่ : sme@sec.or.th , info@sme.go.th 


SMEONE “เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย”

บทความแนะนำ

ขอเชิญร่วมงานกิจกรรมสัมนา โครงการ "Connect the Dot for SME "

📣 งานฟรี! ที่ไม่อยากให้ชาว SME พลาด กับโอกาสที่จะผลักให้ธุรกิจเชื่อมต่อบริการต่างๆ ของภาครัฐได้ง่ายยิ่งขึ้น
.
📌 ที่นั่งจำนวนจำกัด! สนใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ SMEONE ลงทะเบียนได้ที่นี่ : https://forms.gle/5XofwtFXJUrFR5rc9
.
📌 พบการเปิดตัวเว็บไซต์ SMEONE อย่างเป็นทางการ เว็บไซต์ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเชื่อมต่อกับบริการต่างๆ ของรัฐบาลได้ง่ายกว่าเดิม เพิ่มโอกาสและต่อยอดธุรกิจได้ไกลยิ่งขึ้น
.
พิเศษเฉพาะในงาน! พูดคุยกับกูรูธุรกิจชื่อดัง
🔹วันจันทร์ที่ 14 กันยายน : พบกับคุณมารุต ชุ่มขุนทด CEO จาก Class Cafe ที่จะมาไขความลับกลยุทธ์เด็ด ในการบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
🔹วันอังคารที่ 15 กันยายน : พบกับคุณแทน ที่ปรึกษาธุรกิจชื่อดัง จาก I-TAN ที่จะมาแชร์เทคนิคและเคล็ดไม่ลับสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้
.
พบกันวันจันทร์ที่ 14 และ วันอังคารที่ 15 กันยายน นี้
🔹เวลา 12.00 - 15.00 น. ที่ Class Cafe สามย่าน
.
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมงาน
- ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นสมาชิก สสว. ทั้งนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ

Published on 8 September 2020
SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

 

บทความแนะนำ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Global Digitalization Model for MSMEs (Born Global Digitalization Model for MSMEs : Post COVID-19)

  • การสัมมนาเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ประกอบการต่างประเทศ  โดยครอบคลุมทั้งในด้านระบบนิเวศน์ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Ecosystem) ของ SME ในต่างประเทศ และ Digital & Non Digital Platforms พร้อมเรียนรู้จากผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในการนำความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การเป็น SME Born Global ในวันที่ 8 กันยายน 2563 ณ ห้อง Mayfair ชั้น 11 โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร 
  • ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนา พร้อมดูกำหนดการได้ที่  http://www.itd.or.th/th/event/itdevent08092020/ หรือ https://born-global.web.app/register-bkk

สอบถามเพิ่มเติม : คุณนันทวุฒิ, คุณปิยนุช 
090-199-4686 หรือ 089-787-5558

Published on 3 September 2020
SMEONE “ทุกเรื่องครบ…จบในที่เดียว”

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนขอสินเชื่อธุรกิจ

หัวข้อ : ขอสินเชื่อธุรกิจต้องใช้อะไรบ้าง
อ่านเพิ่มเติม :https://www.bangkokbanksme.com/en/loan-business

 

สำหรับผู้ประกอบการที่ธรุกิจเติบโตรวดเร็วจนอยากขยายกิจการ หรือธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง จนทำให้ต้องปรับโครงสร้างใหม่ในระยะเวลาสั้น ๆ เจ้าของต้องวางแผนให้ดีว่าจะจัดการหาเงินทุนมาอุดรอยรั่วในส่วนนี้อย่างไรให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ไม่มีสะดุด และสิ่งหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ คือ การขอสินเชื่อเอสเอ็มอี

โดยขั้นแรกลองไตร่ตรองถึงสิ่งเหล่านี้ดูก่อนที่ขอสินเชื่อ

  • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าคุณต้องการนำเงินไปทำอะไร 
  • มีแผนอย่างไร 
  • มีความจำเป็นต่อธุรกิจมากแค่ไหน  
  • ต้องการสินเชื่อเท่าไหร่
  • ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้จะทำอย่างไร 

เมื่อเข้าใจตรงกันดีแล้วก็มาดูว่า หากจะขอสินเชื่อธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

 

ขั้นแรก 

เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อ ธุรกิจ

  • สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี
  • สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

 

เอกสารอื่น ๆ  เช่น

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
  • สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
  • ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม
  • ในกรณีที่ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ

ทั้งนี้ เอกสารในการยื่นขอสินเชื่อแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราควรศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดจากผู้ให้สินเชื่ออีกครั้ง นอกจากนี้ ในการขอสินเชื่ออาจมีแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่แนบมา ซึ่งเราควรพิจารณาก่อนกรอกข้อมูลและลงนาม เช่น แบบคำยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อขอตรวจสอบประวัติเครดิตจาก เครดิตบูโร และนำมาวิเคราะห์การให้วงเงินสินเชื่อที่เหมาะสม

แบบคำขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของผู้ให้สินเชื่อติดต่อ แนะนำสินค้าอื่น หรือให้ข้อมูลแก่ผู้อื่น ซึ่งเรามีสิทธิเลือกที่จะลงนามหรือไม่ก็ได้

ใบคำขอประเภทอื่น เช่น คำขอมีบัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หรือบริการแจ้งเตือน SMS

 

การค้ำประกันและหลักประกัน 

เพื่อลดความเสี่ยงและยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการมีความมั่นใจว่าธุรกิจนี้จะประสบความสำเร็จ โดยหลักทรัพย์ที่นิยมนำมาเป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ และอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีสินเชื่อที่มีบุคคลค้ำประกัน สถาบันการเงินก็จะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันด้วย

 

อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อธุรกิจ

เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาของผู้ขอสินเชื่อหลาย ๆ คน 

  • อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารจะมีการคิดในอัตราที่ไม่เหมือนกัน แต่จะไม่เกินไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้
  • อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สินเชื่อที่ไม่ใช้หลักทรัพย์จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อที่ใช้หลักทรัพย์ เนื่องจากธนาคารรับความเสี่ยงที่สูงกว่า
  • ประเภทสถาบันการเงินก็จะมีกฎหมายในการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน

 

เกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ

ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับนโยบายและหลักเกณฑ์ของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยหลัก ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณา คือ

  • นโยบายสินเชื่อของผู้ให้สินเชื่อ เช่น ผู้ให้สินเชื่ออาจกำหนดว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อต้องไม่มีประวัติการค้างชำระในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง หรืองดให้สินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ในกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ หรือลงทุนขยายโรงงาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต

 

5 คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อธุรกิจ

  1. คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ วินัยในการใช้และการชำระสินเชื่อในอดีต ซึ่งบอกถึงความสามารถในการใช้หนี้และการบริหารจัดการสินเชื่อ เช่น
  • กรณีบุคคลธรรมดาอาจพิจารณา อายุ อาชีพ สถานะภาพสมรส 
  • กรณีผู้ขอสินเชื่อประกอบธุรกิจอาจพิจารณา ประเภทของธุรกิจ ประวัติของผู้บริหาร ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
  1. ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงความมั่นคงของรายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ในอนาคต เช่น รายได้ในปัจจุบัน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ ประวัติการชำระยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ
  2. เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝากของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันการให้กู้ยืม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสินเชื่อธุรกิจ แม้ว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งเงินสำหรับชำระหนี้ แต่จะเป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อในกรณีที่เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้
  3. ผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาจำนำ หรือจำนองเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจและลดความเสี่ยงหากผู้ขอสินเชื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งสามารถให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนหรือนำหลักประกันมาขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนด
  4. ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความมั่นคงในรายได้และการงาน ปัญหาสงคราม สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนหรือรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต

 

 

Published on 3 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

บทความแนะนำ