
เคยไหมที่เวลาเราซื้อผลไม้มากินที่บ้านทั้งจากตลาดสดหรือบนห้างสรรพสินค้าก็ตาม ทั้งๆที่เราเลือกเองกับมือ ผลไม้ก็ดูสวยงามไม่มีตำหนิ แต่พอกลับมาแกะกินที่บ้านแล้ว กับพบว่ารูปร่างหน้าตาและรสชาติผิดจากที่เราคาดหวังไว้ไปไกลมากๆ จากปัญหาในเรื่องดังกล่าวนี้ จึงมีผู้ประกอบการ SME บางรายที่หยิบเอาความเจ็บช้ำของผู้บริโภคมาสร้างเป็นจุดขายใหม่ แถมทำแล้วได้ผลดีเสียด้วย ตัวอย่างเช่น “ร้านทุเรียน น้องนิดระยอง” ที่ตลาดอ.ต.ก.
แรกเริ่มเดิมทีนางพุธชาติ ลาภผล หรือน้องนิด เป็นเกษตรกรปลูกผังผลไม้อยู่ที่จังหวัดระยองมาก่อน ซึ่งปัญหาใหญ่ของเกษตรบ้านเราก็คือ มักจะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา น้องนิดเล่าย้อนความให้ฟังว่า สมัยก่อนครอบครัวถูกพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อทุเรียนกดราคา และหลอกซื้อด้วยการคัดแต่เฉพาะลูกที่ดีๆ ไป ถูกหลอกบ่อยๆ เข้า ก็ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนเป็นหนี้ธกส. เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
น้องนิดตัดสินใจเข้ามากรุงเทพเพื่อมาขอคำแนะนำและความรู้ในการทำธุรกิจที่องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) ด้วยตัวเอง เพราะตอนเด็กๆ น้องนิดเคยมีโอกาสติดตามญาติมาขายผลไม้ที่นี่ ด้วยคำแนะนำของคุณเสริมศักดิ์ การุณ สส.จังหวัดระยองและความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่อ.ต.ก. ในที่สุดน้องนิดก็ได้มาเปิดแผงขายทุเรียนเล็กๆ ในตลาดอตก. ด้วยการเอาที่ดินที่มีอยู่จำนวน 6 ไร่ ไปกู้เงินมาเริ่มต้นธุรกิจ ไม่เพียงแต่ให้พื้นที่ขาย เจ้าหน้าที่ของอ.ต.ก. ยังให้คำแนะนำน้องนิดเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนที่มาเดินซื้อของในตลาดอ.ต.ก.นั้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีฐานะ ดังนั้นสินค้าที่นำมาขายจะต้องเป็นสินค้าคุณภาพดีจริงๆ
การได้เข้ามาจำหน่ายสินค้าในตลาดอ.ต.ก. น้องนิดใช้หลักการบริหารความคาดหวังของลูกค้า ด้วยการเปลี่ยนวิธีการขายทุเรียนใหม่ จากการชั่งน้ำหนักเป็นลูกแล้วมีบริการแกะขาย มาเป็นแกะขายเป็นพูราคาตามน้ำหนัก เป็นเจ้าแรกๆ ในตลาดอ.ต.ก. พูดง่ายๆ ก็คือ เปลี่ยนวิธีการขายจาก “จ่ายก่อนแกะ” เป็น “แกะก่อนจ่าย” ลูกค้าได้เห็นสินค้าก่อนจ่ายเงินซื้อ เรียกว่าลูกค้าชอบกินทุเรียนเนื้อแบบไหนร้านทุเรียนน้องนิดระยองสามารถหาทุเรียนตามที่ต้องการมาจำหน่ายได้หมด
จากประสบการณ์ในการคลุกคลีกับตลาดผลไม้มาตั้งแต่ยังเด็ก น้องนิดรู้ดีว่าความคาดหวังของคนที่ซื้อผลไม้สดไปรับประทานทุกคน ล้วนคาดหวังที่จะได้กินผลไม้สด รสชาติดี ซึ่งในความเป็นจริงก็ต้องยอมรับว่าสินค้าเกษตร เป็นอะไรที่ไม่สามารถการันตรีได้ 100% จนกว่าจะแกะเปลือกออกมาดู หลายครั้งที่เราเลือกทุเรียนด้วยตัวเองมาแล้ว กลับต้องผิดหวังเวลาหยิบออกมากิน ทั้งๆที่เราเป็นคนเลือกดูเองกับตา เลือกสัมผัสเนื้อเองกับมือ โดยเฉพาะกับทุเรียนออร์แกนิค
เหตุผลเพราะว่าทุเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้วิธีการป้ายน้ำยาเร่งสุกที่ขั้ว เพื่อให้ทุกเรียนสุกเร็วและสุกพร้อมกันทั้งลูก แต่ทุเรียนปลอดสารเคมีจะสุกไม่พร้อมกันทั้งลูก เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะได้กินทุเรียนปลอดสารเคมีแบบเนื้อเดียวกันทั้งลูกจึงเป็นไปได้ยากมากๆ ปัจจุบันนี้ราคาเฉลี่ยของทุเรียนพันธุ์หมอนทองแบบชั่งขายทั้งลูกจะตกประมาณ 150-300 บาทต่อกิโลกรัม ถูกหรือแพงตามขนาดของลูกและทำเล แต่ร้านน้องนิดตั้งราคาขายทุเรียนแกะขายเฉพาะเนื้อในราคากิโลกรัมละ 3,000 บาท ถ้าเป็นทุเรียนกก้านยาวหรือหมอนทองคัดพิเศษจะขายกิโลกรัมละ 5,000 บาท
เห็นราคาขายสูงขนาดนี้ ถ้ามีโอกาสไปดูที่ร้านจะเห็นว่าคนซื้อไม่มีใครต่อราคาเลยแม้แต่คนเดียว ทุกคนยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อแลกกับคุณภาพ ถูกต้องแล้ว ร้านน้องนิดระยองกำลังทำธุรกิจแบบบริหารความคาดหวังของลูกค้า น้องนิดเล่าให้ฟังว่า มีลูกค้าของร้านจำนวนไม่น้อยที่ซื้อเพื่อไปเป็นของฝากผู้ใหญ่หรือไปรับแขก ซึ่งความคาดหวังของคนกลุ่มนี้ คืออยากเห็นคนที่รับหรือคนที่ได้กินรู้สึกดี จึงไม่เกี่ยงเรื่องราคา
เบื้องหลังความสำเร็จของการตั้งราคาขายได้สูงขนาดนี้ น้องนิดบอกว่า กว่าจะซื้อใจลูกค้าได้ต้องใช้ทั้งเวลาและประสบการณ์ เพราะเทียบกับน้ำหนักทั้งเปลือกทุเรียน 1 กิโลกรัม น้องนิดสามารถแกะเนื้อขายได้เพียง 300 กรัมเท่านั้น ที่เหลือต้องนำไปแปรรูป เพราะคุณภาพไม่ถึง ถ้าเป็นร้านอื่นอาจจะใช้วิธีแอบยัดป่ะปนไป แต่ร้านน้องนิดไม่ทำเด็ดขาด ข้อดีของการปลูกเองและมีหน้าร้านขายเองที่ตลาดอ.ต.ก.นี้ทำให้น้องนิดสามารถควบคุมคุณภาพของทุเรียนได้ 100%
ปัจจุบันนี้ทางอ.ต.ก.เองก็มีการควบคุมดูแลคุณภาพของร้านค้าที่จำหน่ายในตลาด ตามนโยบายที่จะส่งเสริมเกษตรให้พัฒนาคุณภาพของสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น โดยแต่ละปีจะมีการเลือกร้านค้าดีเด่นเพื่อมอบรางวัล Best of Ortorkor ซึ่งร้านทุเรียนน้องนิดก็ได้รางวัลมาเช่นกัน รางวัล Best Of Ortorkor นี้ ทางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จัดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อต้องการยกระดับสินค้าเกษตรของไทย และให้เกษตรกรเน้นสร้างแบรนด์ หรือใช้การตลาดนำการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ก้าวสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรด้วยแบรนด์ โดยคณะกรรมการจะมอบรางวัลให้กับร้านค้าผ่านการคัดสรรสินค้าเกษตรและแปรรูปที่ดีที่สุดตามวิสัยทัศน์ใหม่ของ อ.ต.ก.ที่มีเป้าหมาย การสร้างมูลค่าทางการตลาดสินค้าเกษตร ช่วยให้เกษตรไทยหลุดพ้นจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปรับเปลี่ยนจากผลิตในเชิงปริมาณ มาเป็นผลิตในเชิงคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้การตลาดนำการผลิตส่งตรงสินค้าเกษตรคุณภาพคัดสรร เจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมเดินหน้าวิสัยทัศน์ใหม่ ชู อ.ต.ก.เป็นตลาดสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี ภายในปี 2564
แม้จะมีรางวัลการันตรีคุณภาพ แต่ทุกวันนี้น้องนิดก็ยังทำตลาดด้วยการบริหารความคาดหวังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เริ่มจากลูกค้าทุกคนจะได้ชิมทุเรียนแบบไม่เสียดายของ คือหั่นให้ลองชิมเป็นชิ้นใหญ่ๆ แบบชิ้นนึงครึ่งพูโดยไม่หวงของ เพื่อให้ทราบความต้องการของลูกค้าว่าชอบกินเนื้อแบบไหน เพราะบางคนชอบกินเนื้อนุ่ม บางคนชอบกินเนื้อแข็ง บางคนชอบกินกรอบนอกนุ่มใน แต่การจะสังเกตเนื้อและสีของทุเรียนแต่ละพูให้ออกจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการคัดทุเรียนจริงๆ ถึงจะคัดเกรดทุเรียนให้ได้เนื้อที่พอดี ความหวานที่ต้องการ ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ
ทุกวันนี้ลูกค้าของพี่นิดเป็นลูกค้าประจำและขาจรอย่างละครึ่ง โดยลูกค้าประจำนั้นส่วนใหญ่จะโทรสั่งล่วงหน้าหลัง 2 ทุ่ม 1 วัน เพราะรู้ว่าหลัง 2 ทุ่มจะโทรติดง่าย การที่ร้านทุเรียนน้องนิดระยองเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการบริหารความคาดหวังความต้องการของลูกค้าได้เกือบ 100% นับวันการขายทุเรียนแบบแกะเนื้อขายที่ตอบโจทย์การบริหารความคาดหวังจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น
ในตลาดนัดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมช่วง COVID-19 เราจึงเห็นพ่อค้าแม่ค้าโพสต์ขายทุเรียนแบบแกะขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากวิธีนี้สามารถปิดการขายได้ง่ายสำหรับคนที่อยากได้สินค้าคุณภาพ ไม่ต้องมานั่งลุ้น
ลองหลับตานึกภาพดู...
ลูกค้าจะรู้สึกดีแค่ไหน ถ้าเอาโทรศัพท์ไปซ่อมแล้วศูนย์บริการแจ้งระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่วันรุ่งขึ้นได้รับโทรศัพท์จากพนักงานว่า โทรศัพท์ซ่อมเสร็จแล้วไปรับได้เลย
ลูกค้าจะรู้สึกดีแค่ไหน ถ้าไปซื้อของแล้วร้านมอบของขวัญวันเกิดชิ้นเล็กๆ ให้จากเก็บข้อมูลสมาชิกไว้
ลูกค้าจะรู้สึกดีแค่ไหน ถ้าไปรับประทานอาหารแล้วเชฟเดินออกมาทักทายลูกค้าด้วยตัวเอง
เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการ SME ทุกคน จึงควรหมั่นสำรวจธุรกิจของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ว่าสินค้าและบริการของเรานั้น สามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าหรือยัง
Did You Know
ปัจจุบันนี้ อ.ต.ก. ได้เพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์ www.ortorkor.com โดยผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าจากตลาด อ.ต.ก. โดยตรง และมียังมีบริการส่งสินค้าถึงบ้านอีกด้วย
หรือหากเกษตรท่านใดต้องการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ QR Code นี้ แล้วส่งใบสมัครเข้าจำหน่ายสินค้าไปที่ E-Mail : ortorkor@mof.or.th
Published on 15 August 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ติดอาวุธ SME ไทย ด้วย Digital Marketing
Digital Marketing โอกาสที่เปิดกว้างสำหรับ SME
เมื่อ Digital Marketing คือเทรนด์ของการทำการตลาดยุคใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องไม่มองข้าม โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะด้วยข้อจำกัดด้านเงินทุน ทำให้โอกาสในการลงทุนที่จะใช้สื่อเพื่อทำการตลาดอาจมีไม่เท่ากับองค์กรขนาดใหญ่ที่สายป่านยาวกว่า ดังนั้นช่องทางออนไลน์จึงกลายเป็นโอกาสทองให้กับบรรดา SME รายเล็กรายน้อย หรือแม้แต่มือใหม่ มือสมัครเล่นทั้งหลาย สามารถสร้างสรรค์พื้นที่และฐานลูกค้าของตนเองขึ้นมาได้ รวมถึงยังเป็นช่องทางที่จะเปิดกว้างออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในประเทศเท่านั้นอีกด้วย
ดร.ประวิทย์ เขมะสุนันท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม เป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนยันว่า ปัจจุบัน Digital Marketing มีความจำเป็นอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการ SME เนื่องจากในอดีตนั้น วิธีการทำการตลาดโดยทั่วไป โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม (Industrialization) มักจะพูดถึงเรื่องของ Economies of Scale หรือ การผลิตจำนวนมากเพื่อให้ต้นทุนลดลง เมื่อผู้ประกอบการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำนั้น ทำให้ผู้ประกอบการ ต้องมีการวางแผนเรื่องของการกระจายสินค้า ต้องมีร้านค้าหรือสาขาเป็นจำนวนมาก หรือส่งสินค้าเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมถึงต้องมีระบบโลจิสติกส์ที่ดีรองรับอีกด้วย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถือว่าเป็นวิธีการในการขับเคลื่อนสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคก็จริง แต่บางครั้งการที่จะให้ผู้ประกอบการ SME เอาสินค้าเข้าไปตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาจำนวนมาก ผู้ประกอบการอาจจะยังไม่พร้อมที่จะขยายตัวเพื่อผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น เพราะการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ย่อมมาพร้อมกับการลงทุนที่สูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงว่าสินค้านั้นๆ จะเป็นที่นิยมของลูกค้าในขณะนั้นหรือไหม
แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของผู้คน สามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้วิธีการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการรายเล็กๆ หรือ SME มีโอกาสที่จะสร้างตลาดเป็นของตัวเอง โดยใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเวทีในการโชว์ตัวให้ลูกค้าได้เห็น และมีแนวโน้มอย่างชัดเจนว่า ช่องทางออนไลน์จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคใหม่ไปแล้ว เมื่อเทียบกับอดีตที่อาจจะเคยมีความกังวลอยู่บ้างในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยบนโลกดิจิตอล
Published by scbsme.scb.co.th on 17 September 2012
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ประเทศที่ส่งสินค้าเข้าประเทศเวียดนามในอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน ผ้าผืน ก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์ดูจากสถิติการส่งออกของประเทศไทยและศักยภาพในการผลิตของประเทศเวียดนามแล้วพบว่า
อุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป มีโอกาสมากที่สุด เนื่องจากจำนวนโรงงานแปรรูปผลไม้ในเวียดนามยังมีไม่มาก และโรงงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการผลิต รวมถึงยังขาดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยส่วนมากยังเป็นผลไม้กระป๋องและผลไม้อบแห้ง ขณะเดียวกันโรงงานแปรรูปผลไม้ยังขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ นักลงทุนไทย จึงสามารถส่งออกผลไม้สดคุณภาพดีจากไทย อาทิ ทุเรียน มังคุด มะม่วง และลำไย เข้าไปแปรรูปในเวียดนามได้ ซึ่งนักลงทุนไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าไปยังเวียดนามโดยปราศจากภาษีศุลกากร นอกจากนี้ การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปเวียดนามก็มีความสะดวกมากขึ้น โดยใช้เส้นทาง R12 ที่เชื่อมโยงจากกรุงเทพ-นครพนม ประเทศไทย ไปที่แขวงคำม่วน สปป.ลาว และไปยังจังหวัดกว๋างบิ่งห์ เวียดนาม ระยะทาง 1,383 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่สั้นกว่าและมีต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกกว่าเส้นทางขนส่งทางบกอื่น ๆ
10 สินค้าส่งออกติดอันดับ
1.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
2.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
3.หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
4.ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า
5.ผ้าผืนและด้าย
6.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
7.วงจรพิมพ์
8.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า
9.ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ
10.เครื่องสืบเชื้อเพลิงของเหลว
Published by scbsme.scb.co.th on 19 May 2017
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ใส่ไอเดียใหม่ให้ธุรกิจค้าปลีก ขยายตลาดด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เจ้าแม่แห่งธุรกิจค้าปลีก – ส่ง “คุณกิ๊ฟ-แคทลียา ท้วมประถม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีไซน์ เอสเซนเชียล จำกัด และ “คุณนดา-วิริยา ท้วมประถม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ณราดา เอเชีย จำกัด สองพี่น้องคนเก่งที่ฝ่าฟันสังเวียนสุดหินในสำเพ็งได้สำเร็จ จนนำพาธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 2 ไปสู่รุ่นที่ 3 ได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยหมัดเด็ด บริการถึงใจคนค้าปลีก-ส่ง ทำให้คนในครอบครัวยอมรับการบริหาร รู้วิธีขายของเดิมที่มีด้วยไอเดียใหม่ และปิดท้ายด้วยการบริหารสต็อกอย่างมีแพลน ประสบการณ์ต่อสู้ที่ผ่านมา จึงทำให้ทั้งสองออกอาวุธเฉียบคม จนมาเป็น Mentors ประจำ SCB Business Center สาขาสำเพ็ง
-อยากบุกคนรุ่นใหม่ ต้องเปลี่ยนใจคนรุ่นเก่า เริ่มจากทำธุรกิจเล็ก ๆ ไม่ต้องลงทุนเยอะ ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ ทางบ้านจะไว้วางใจให้เราทำงานใหญ่
-จริงใจพร้อมแก้ปัญหา สยบดราม่าบนโซเชียล ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาคือคีย์สำคัญ อย่าชะล่าใจเพราะเรื่องแบบนี้ถูกส่งต่อในออนไลน์ได้เร็วมาก
-ขยายธุรกิจด้วยไอเดียใหม่ ถ้าเดิมทำของชำร่วยในงานแต่งงาน แค่ลองเปลี่ยนให้เป็นโลโก้บริษัทต่าง ๆ ก็ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว
-วางแผนสต็อกตามเทรนด์โลก อยากบริหารสต็อกให้ขายดีต้องวางแผน 3 เรื่อง 1. แพลนล่วงหน้าก่อนถึงเทศกาล เอาของเดิมมาประยุกต์ตามเทศกาลเพื่อระบายของ 2.ตั้งเป้ายอดขาย เพื่อจะสั่งสินค้ามาให้พอดี ไม่หมดก่อนขาย หรือไม่เหลือเมื่อหมดเทศกาล 3. รู้รายละเอียดสินค้าให้ดีว่าใช้เวลากี่วันในการผลิต การขนส่งอีกต้องเผื่อไว้กี่วัน และเผื่อเวลาผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นด้วย
Published by scbsme.scb.co.th on 6 November 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ใช้โลกออนไลน์ช่วยขยายธุรกิจ รักษาลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่
สังเวียนการตลาดออนไลน์ ต้องยกให้นักชกตัวจริงท่านนี้ “คุณบู้ – บุรินทร์ เกล็ดมณี” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด ผู้ให้บริการ Digital Marketing Service แบบครบวงจร ที่คลุกวงในโลกออนไลน์มากว่า 17 ปี โดยเฉพาะตลาด E-Commerce ที่ต้องเกาะขอบเวทีให้ทันเทรนด์ ปล่อยหมัดรัวด้วยคอนเทนต์น่าสนใจ คลุกวงในรู้จักลูกค้าเก่าและใหม่ให้ดี ใช้ Big Data ช่วยฮุกยอดขาย แตกและโตด้วยการสร้างตัวตนบนออนไลน์ หมัดเด็ดเคล็ดลัดเหล่านี้ สามารถไปขอคำปรึกษาดี ๆ ได้จากคุณบู้ ซึ่งเป็น Mentor ประจำ SCB Business Center สาขาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 ฝั่งอิเซตัน
-เทรนด์ตลาดออนไลน์ตอนนี้ เจ้าของธุรกิจต้องรู้จุดเด่นของสินค้า รู้กลุ่มเป้าหมาย และรู้ว่าเราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร แล้วนำมาช่วยในการทำคอนเทนต์ ใส่คำคีย์เวิร์ดให้ง่ายต่อการค้นหา
-เก็บข้อมูลลูกค้าเก่า เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ ลูกค้าบนออนไลน์มีสองกลุ่ม กลุ่มแรกต้องการเรา กลุ่มที่สองคือไม่ต้องการเรา ซึ่งกลุ่มแรกจะเสิร์ชหาทำให้เรามีโอกาสได้ขายของ ส่วนกลุ่มที่สอง เราเก็บพฤติกรรมเขาไว้ เพื่อโปรโมทได้ตรงจุด
-การเพิ่มยอดให้เติบโตก้าวกระโดด มี 3 ข้อ 1. เก็บ Big Data เพื่อมาใช้ต่อยอด 2. ทำ Online Customer Service มีคนจริงๆ คอยตอบคำถามด้วยใจรักงานบริการ 3. Online to Offline หรือ Offline to Online มีหน้าร้านให้ลูกค้าดูของ แล้วค่อยชวนเขามาซื้อบนออนไลน์
-การมีร้านออนไลน์จะช่วยขยายฐานลูกค้าให้มีอยู่ทั่วประเทศไทย แค่เสิร์ชก็เจอร้านเรา พอลูกค้าฐานกว้างขึ้น สเกลงานก็ใหญ่ขึ้นตามความหลากหลายของลูกค้า สร้างมูลค่าได้มากกว่าเดิม
Published by scbsme.scb.co.th on 6 November 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย