ขอเชิญผู้ประกอบการ MSME เข้าร่วมรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผ่านระบบประเมินสุขภาพผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ (Product Health Check)

ขอเชิญผู้ประกอบการ MSME เข้าร่วมรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผ่านระบบประเมินสุขภาพผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ (Product Health Check)

 

- เพื่อประเมินความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม Business Matching กับบริษัทภายใต้เครือ CP All

- ซึ่งมีกำหนดจัดกิจกรรมเชื่อมโยงการตลาด (Business Matching) ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564

- กลุ่มประเภทสินค้า ได้แก่ : ผักและผลไม้ ขนมของทานเล่น เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม และอื่น ๆ (ของสะสม ตุ๊กตา Character เครื่องประดับ)

 

ผู้ประกอบการและผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

กดที่นี่เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม http://www.sme2idethailand.com/input/index_tcc.php?l=OSP-

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-071-9751 อีเมล์: dpc_sme@cpall.co.th

#SMEone

บทความแนะนำ

ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม “สร้างยอดขายปังและดังด้วย Priceza ผ่านแพลตฟอร์มเว็บไซต์ Marketplace และ Facebook” ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย กิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing ปีงบประมาณ 2564

ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม “สร้างยอดขายปังและดังด้วย Priceza ผ่านแพลตฟอร์มเว็บไซต์ Marketplace และ Facebook” ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย กิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing ปีงบประมาณ 2564

จัดโดย สสว. และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 

อบรมออนไลน์ วันที่ 21-23 พฤษภาคม 2564
กดที่นี่เพื่อกรอกข้อมูลสมัครเข้าร่วมกิจกรรม http://smeonline.in.th/

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดออนไลน์ รับลิงก์/รหัส เข้าร่วมกลุ่ม Facebook Private Group ได้ผ่านช่องทางอีเมล์ที่ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลตอนลงทะเบียน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 062-998-3963 คุณณัฐเดช / 081-655-2407 คุณชยพล / 097-278-8879 คุณป๊อป

#SMEone

บทความแนะนำ

การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 (5th National Youth Design Awards) : การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565

"การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 (5th National Youth Design Awards) : การออกแบบตราสัญลักษณ์สําหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565"

การประกวดออกแบบระดับเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 จัดขึ้นเพื่อคัดสรรผลงานออกแบบตราสัญลักษณ์ สำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องสะท้อนประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดัน (priorities) สาขาความร่วมมือที่สำคัญ (key areas) และแนวคิดหลัก (theme) ที่ไทยมุ่งเน้นในช่วงการเป็นเจ้าภาพในปีพ.ศ. 2565 มีความสวยงาม ทันสมัย มีเอกลักษณ์ สื่อความหมายถึงความเป็นไทยและความร่วมมือของประเทศสมาชิก

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด : เยาวชนไทย อายุไม่เกิน 25 ปี (อายุครบ 25 ปีก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2564) โดยสามารถสมัครเป็นแบบเดี่ยวหรือแบบคู่

โจทย์การประกวด : ออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี พ.ศ. 2565 โดยมีข้อกำหนดดังนี้

1. ตราสัญลักษณ์ ประกอบด้วยภาพสัญลักษณ์และตัวอักษร คำว่า APEC 2022 Thailand

2. ตราสัญลักษณ์จะต้องสื่อสารแนวคิดโดยภาพรวม ดังนี้

· ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดัน (Priorities) มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ (2) การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในเอเปค โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว และ (3) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

· สาขาที่ไทยควรให้ความสำคัญ (Key Areas) มี 5 เรื่อง ได้แก่ (1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน (2) การก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล (3) สุขภาพและสุขภาวะที่ดี (well-being) (4) ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร และ (5) การเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ

3. ตราสัญลักษณ์ต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นำและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความเป็นไทย

4. การออกแบบใช้สีได้ไม่เกิน 4 สีโดยคำนึงถึงความยืดหยุ่นในการใช้งานในสื่อที่หลากหลาย เช่น การทำตราประทับหรือการพิมพ์แบบสีเดียว การพิมพ์แบบซิลค์สกรีน การปักผ้า เป็นต้น

5. ออกแบบตราสัญลักษณ์ในขนาดที่เหมาะสม จัดวางลงในกระดาษขนาด A4 (21x29.7 ซม.) ในกรณีที่ออกแบบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บันทึกเป็นไฟล์ .jpg โหมดสี RGB ความละเอียด 300 ppi หรือในกรณีวาดด้วยมือลงในกระดาษขนาด A4 ให้สแกนภาพหรือถ่ายภาพเป็นไฟล์ .jpg เพื่อใช้อัปโหลดในเว็บสมัครและส่งผลงานเข้าประกวด

การส่งผลงานเข้าประกวด :

1. ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้มากกว่า 1 ผลงาน

2. สมัครและส่งผลงานเข้าประกวดได้ทาง https://forms.gle/nP1n2Jys9cAPGqjj8 โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และอัปโหลดผลงานเป็นไฟล์ .jpg เท่านั้น หากต้องการส่งผลงานมากกว่า 1 ผลงานจะต้องทำการสมัครและอัปโหลดผลงานใหม่อีกครั้ง

3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น รวมทั้งไม่เคยส่งเข้าประกวดในการประกวดอื่นใดมาก่อน

กำหนดการ : สมัครและส่งผลงานทางเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564-30 มิถุนายน 2564

รางวัล :

1. รางวัลชนะเลิศ        1 รางวัล  รางวัลละ  150,000 บาท

2. รางวัลรองชนะเลิศ   4 รางวัล  รางวัลละ   50,000 บาท

3. รางวัลชมเชย         5 รางวัล  รางวัลละ   20,000 บาท

เกณฑ์การพิจารณา : (1) ความคิดสร้างสรรค์ (2) การสื่อความหมาย (3) ความสวยงามตามหลักการออกแบบ (4) ความเหมาะสมในการใช้งาน


Link หน้า website ของกิจกรรม/ โครงการ

https://www.facebook.com/153641954675821/posts/5734476029925691/?d=n
http://contestwar.com/contest/15540

ชื่อผู้ประสานงาน : นางสาวสุชญา เพ็งคาสุคันโธ เบอร์ติดต่อ 02 298 3263 อีเมล suchaya@sme.go.th

#SMEone #APEC2022Thailand #5thNationalYouthDesignAwards #APEC2022logo #Osmepสสว #เอเปก2565

บทความแนะนำ

สัมมนาออนไลน์ “ชี้ช่องทางปรับธุรกิจหลัง COVID-19 ด้วย BCG Economy และมาตรฐานผลิตภัณฑ์” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2564

สัมมนาออนไลน์ “ชี้ช่องทางปรับธุรกิจหลัง COVID-19 ด้วย BCG Economy และมาตรฐานผลิตภัณฑ์” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2564

 

พบกันวันอังคารที่ 1 มิ.ย.64 เวลา 08.00-17.00 น. (ผ่านระบบ Zoom Meeting)

(กิจกรรมไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น)
**ลงทะเบียน ได้ที่ http://bit.ly/3RQ1AAf หรือสแกน QR Code ที่ภาพ

- นโยบายการผลักดัน BCG Economy การต่อยอดและการนำไปปรับใช้ในธุรกิจ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- วิธีการแสดง QR Code คู่กับเครื่องหมายมาตรฐานสินค้า โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- โอกาสเพิ่มยอดขายสินค้าที่ผลิตในประเทศ พร้อม Workshop ขั้นตอนการขอรับรอง Made in Thailand

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : สถาบัน SMI สภาอุตสาหกรรมฯ
Tel: 02-345-1122/ 02-345-1108, Line: @smipage

#SMEone

บทความแนะนำ

วันนี้ EXAC พามารู้จัก #ขั้นตอนการส่งออก ง่าย ๆ เพียง 8 ขั้นตอน เพื่อช่วยผู้ประกอบการมือใหม่เตรียมความพร้อมเป็นผู้ส่งออก!

วันนี้ EXAC พามารู้จัก #ขั้นตอนการส่งออก ง่าย ๆ เพียง 8 ขั้นตอน เพื่อช่วยผู้ประกอบการมือใหม่เตรียมความพร้อมเป็นผู้ส่งออก!
.
1) การตกลงทำการค้า
เมื่อมีการติดต่อทำการซื้อขายสินค้า ประเด็นสำคัญที่ต้องเจรจา คือ (1) เรื่องเทอมการชำระเงิน (Payment Term) หรือข้อตกลงในการชำระสินค้าซึ่งอาจเกิดก่อนหรือหลังการส่งสินค้าก็ได้ โดยเทอมการชำระเงินจะมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การชำระเงินแบบโอนเงิน และ การชำระเงินภายใต้เอกสาร (2) ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ โดยทั่วไปจะอ้างอิงจาก International Commercial Terms หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า INCOTERMS เพราะจะมีผลโดยตรงต่อการคำนวณราคาสินค้าของผู้ส่งออกว่าจะมีต้นทุนในการขายสินค้าไปให้กับผู้ซื้ออย่างไร
.
2) การทำ Quotation และรับใบ P/O
เมื่อทราบรายละเอียดของ Payment Term และ INCOTERMS แล้ว ผู้ส่งออกสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำใบเสนอราคา (Quotation) เพื่อส่งให้แก่ผู้ซื้อและรายละเอียดนี้ก็จะอยู่ในส่วนหนึ่งของใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order หรือ P/O)
.
3) การผลิตสินค้า
เมื่อผู้ซื้อส่งใบ P/O ยืนยันการสั่งซื้อสินค้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการผลิตสินค้าตามที่ระบุมาใน P/O
.
4) การติดต่อบริษัทโลจิสติกส์ (Logistics)
หลังจากผลิตสินค้าแล้ว สำหรับผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าทางเรือ แนะนำให้ใช้บริษัท Shipping เนื่องจากบริษัท Shipping จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจองรถขนสินค้าไปยังท่าเรือ และยังช่วยทำเอกสารผ่านพิธีการศุลกากรให้แก่ผู้ส่งออกอีกด้วย
.
5) การผ่านพิธีศุลกากรและส่งสินค้า
ผู้ส่งออกสามารถยื่นเอกสารใบขนสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับเลขที่ใบขนสินค้า เมื่อส่งสินค้าไปยังท่าเรือหรือสนามบินแล้ว ศุลกากรอาจมีการตรวจสอบสินค้าขึ้นอยู่กับขอบข่ายความเสี่ยงของสินค้านั้นๆ สิ่งสำคัญในการส่งออกสินค้า คือใบอนุญาติและใบรับรองมาตรฐานสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งออกกำหนดไว้ เช่น หากต้องการส่งออกหน้ากากอนามัย นอกจากการเตรียมเอกสารแล้ว ผู้ส่งออกยังต้องเช็คกับกรมการค้าภายในด้วย ว่าต้องมีการขออนุญาติในการส่งออกหน้ากากอนามัยหรือไม่

ผู้ส่งออกสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.customs.go.th หรือติดต่อ Call Center 1164
.
6) การจัดเตรียมและนำส่งเอกสาร
ผู้ส่งออกมีหน้าที่ในการจัดเตรียม เอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อ การไม่เข้าใจรายละเอียดหรือการจัดเตรียมเอกสารไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งออกลดลง เอกสารทางการค้าระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามช่วงเวลาการซื้อขายสินค้า (1) เอกสารก่อนการส่งออก เช่น ใบเสนอราคา(Quotation) ใบคำสั่งซื้อ(Purchase Order) Letter of Credit(L/C) (2) เอกสารหลังการส่งออก เช่น ใบตราส่งสินค้า ใบกำกับหีบห่อสินค้า (Packing List) ใบกำกับราคาสินค้า(Commercial Invoice) ผู้ส่งออกสามารถดูตัวอย่างเอกสารที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง
ลิ้งค์ >> https://drive.google.com/.../1arx8v.../view...
.
7) การรับชำระค่าสินค้า
การรับชำระค่าสินค้ามีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ นอกจากช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกแล้ว ยังช่วยให้ผู้ส่งออกมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย บริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออก เช่น บริการการยืนยัน L/C บริการโอน L/C บริการรับเงินโอนจากต่างประเทศ ผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศของ EXIM BANK ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง
ลิ้งค์ >> https://drive.google.com/.../1Jb1CEy_11PGD.../view...
.
การขอคืนภาษี
ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เพื่อรับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
.
#EXIMBANK #EXACbyEXIMBANK #ธุรกิจส่งออก #SME #SMEone

บทความแนะนำ