Depa พร้อมตั้ง Digital IT Valley ขึ้นแท่น Asian Digital HUB

สตาร์ทอัพเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือและสร้างแพลตฟอร์มให้สามารถพัฒนาบริการให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด การก้าวผ่านจุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพนับว่าต้องใช้แรงสนับสนุนจากหลายฝ่ายเพื่อให้สามารถยืนหยัดต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมบริการใหม่เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนสตาร์ทอัพ และระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่สตาร์ทอัพ ฮับ ในภูมิภาค 

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (Depa) กล่าวว่า ดีป้ามีนโยบายที่จะส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพ และช่วยสร้างระบบนิเวศของสตาร์อัพ (Startup ecosystem) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New S-Curve) รวมถึงเพื่อรองรับการเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศไทย ผ่าน 4 โครงการหลัก ประกอบด้วย โครงการ Thailand Digital Valley โครงการให้ทุนสนับสนุนเกษตรกรและธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการใช้บริการดิจิทัลของสตาร์ทอัพเพื่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจในรูปแบบเดิม (Transform) สู่ดิจิทัล โครงการให้ทุนสนับสนุนสตาร์อัพ Depa Digital Startup Fund ในรูปแบบของ Angel Fund และโครงการ dSURE ซึ่งเป็นโครงการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ไอที นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำบัญชีบริการดิจิทัล เพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถใช้บริการดิจิทัล จากสตาร์ทอัพได้ คาดว่าบริการดิจิทัลจะสามารถเริ่มดำเนินการในกรอบระยะสั้นได้ในปีหน้า

โครงการ Thailand Digital Valley เป็นโครงการที่ดีป้า จะร่วมดำเนินการกับธุรกิจดิจิทัลชั่นนำระดับโลก เพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เพื่อพัฒนา วิเคราะห์ ทดลอง และขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) อาทิ เทคโนโลยี Internet of thing, Data Science, บล็อกเชน, ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence), หุ่นยนต์ (Robotic), 5G, บริการดิจิทัล คลาวน์  และ ซอฟต์แวร์ คอนเวอร์เจนซ์ เป็นต้น และมีการพัฒนา Digital Ecosystem ที่เชื่อมบริษัทด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลชั้นนำของโลก กับดิจิทัลสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะกลุ่มด้าน FinTech, AgriTech, TourismTech, HealthTech, EduTech และ GovTechในการออกแบบพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยมีอุปสงค์ของพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดิจิทัลชั้นสูง เช่น พื้นที่ Smart City ในจังหวัดต่างๆ สำหรับเป็นตลาดรองรับสินค้าและบริการ ก่อนที่จะขยายตลาดในเชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการเป็น ASEAN Digital Hub บนพื้นที่ 30 ไร่ ที่อำเภอ ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี และสามารถสร้างเศษฐกิจดิจิทัล หรือ Economy S-Curve ในประเทศเทศไทยได้อย่างมีศักยภาพและเป็นกลไลในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน  โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 

“ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ดิจิทัลสตาร์ทอัพในเมืองไทยมีมูลค่า 200,000 ล้านบาท มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ในบางกลุ่ม อนาคตเราคิดว่าสตาร์ทอัพไทยมีศักยภาพในการแข่งขันได้  ในกลุ่มสตาร์ทอัพจะมีหลายเรื่องที่ ดีป้า ไม่ได้ทำคนเดียว แต่จะทำงานในเชิงของ National agenda หมายความว่า เราจะทำอย่างไรดีที่จะทำให้สตาร์ทอัพเติบโตได้” ดร. ณัฐพล กล่าว

สำหรับโครงการให้ทุนสนับสนุนเกษตรกร และธุรกิจ SMEs ดีป้าจะให้เงินสนับสนุนเกษตรกร ธุรกิจ SMEs ที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทำงานหรือการทำธุรกิจแบบเดิมสู่การทำงานหรือการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มศักยภาพของการทำงานและธุรกิจที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยวงเงินมูลค่า 100,000 บาท และสำหรับธุรกิจ SMEs หรือนิติบุคคลที่มีพนักงาน 50 คนขึ้นไป ดีป้าให้การสนับสนุนเงินช่วยลดความเสี่ยงในการใช้บริการของสตาร์ทอัพจำนวนเงิน 200,000 บาท ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการใช้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์อัพ 

เราส่งเสริมสตาร์ทอัพ สตาร์ทอัพถือว่าเป็นหนึ่งธุรกิจของประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลเซอร์วิส ซึ่งเค้าเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับบริการที่เรียกว่า Software as a Service (SaaS) เช่น ระบบการศึกษา (Education) ระบบส่งอาหาร (Delivery) การเกษตร (AgriTech) เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามในส่วนของสตาร์ทอัพ ที่จะเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับเกษตรกรและธุรกิจเอสเอ็มอี จะต้องเป็นสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนและได้ผ่านการรับรองจาก ดีป้า และได้มาตรฐาน ISO 29110 ด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการกับสตาร์ทอัพ

“สตาร์ทอัพเป็นกลุ่มที่อาจจะเป็นเครื่องมือ กลไกสำคัญที่จะลงไปช่วย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราพยายามจัดให้คนที่เป็นผู้ให้บริการที่เรียกว่า สตาร์ทอัพผู้ใช้บริการ Software as a Service ไปเจอกับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการจะ Transform ตัวเอง หรือแม้แต่ เกษตรกร หรือชุมชนที่ต้องการจะ Transform ตัวเองวิธีการของดีป้า คือ ทำอย่างไรให้ SMEs กับชุมชนหรือเกษตรกร มีความสามารถในการที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้บริการดิจิทัลบนฐานเสี่ยงที่ตนเองจะต้องยอมรับด้วย ทั้งนี้สตาร์ทอัพจะต้องผ่านการลงทะเบียน มาตรฐาน  และการรับรองจากดีป้า เพื่อทำให้เกิดการสร้างงาน และสร้างความเชื่อมั่นใจการใช้งานกับสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนด้วยตอนนี้มีสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการดิจิทัลในพอร์ตประมาณ 200-300 ราย” ผู้อำนวยการใหญ่ กล่าว

สำหรับโครงการให้ทุนสนับสนุนสตาร์อัพ Depa Digital Startup Fund ในรูปแบบของ Angel Fundนั้น ดีป้ามีนโยบายให้ทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพในรูปแบบของเงินทุนให้เปล่า (Angelfund) สำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ในก่อตั้งธุรกจ และมีการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทจำกัดแล้วไม่เกิน 3 ปี เมื่อผ่านการพิจารณาจะได้รับเงินสนับสนุนไม่เกิน 1 ล้านบาท 

ทั้งนี้ดีป้า มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพในระยะก่อตั้งธุรกิจจำนวน 50 รายต่อปี ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพที่ให้การสนับสนุนมากกว่า 100 ราย สำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ในระยะเติบโต จดทะเบียนนิติบุคคลตั้งบริษัทจำกัดแล้วไม่เกิน 5 ปี ในสาขาเกษตรกรรม การศึกษา การเงิน สุขภาพ การท่องเที่ยว เมืองอัจฉริยะ และการจัดการระบบข้อมูล ดีป้าจะให้ทุนสนับสนุนไม่เกิน 5 ล้านบาท และแปลงสัดส่วนการถือหุ้นในสตาร์ทอัพอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท 

“กว่าที่สตาร์ทอัพจะเติบโตได้เค้าจะต้องมีเงินทุน  การมีเงินทุนเข้าสู่ระบบของธนาคาร  ไม่เพียงพอ เพราะว่า สตาร์ทไม่ได้มีสินทรัพย์ ในการค้ำประกันในการขอสินเชื่อ หรือการดำเนินการต่างๆ  แต่สตาร์ทอัพจะเป็นการระดมทุน  (Raise fund) และผู้ลงทุน จะต้องลงไปความเสี่ยงกับการเติบโตสตาร์ทอัพ บางรายเป็น Developer แต่ไม่มี Perspective ไม่มีมุมมองทางด้านธุรกิจ เป็นต้น นี่คือปัญหา ปัญหาที่สอง ก็คือ เก่งในเรื่องพัฒนาซอฟต์แวร์และบริการ แต่ไม่มีมุมมองทางด้านธุรกิจก็ต้องหา นักลงทุนที่มีมุมมองการขยายธุรกิจมาช่วย เค้า เรื่องแรก คือเรื่องทุน เรื่องที่สอง เป็นเรื่องประสบการณ์ทำธุรกิจ และ เรื่องที่สาม เป็นเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้องบังคับต่างๆ การสร้างตลาดของภาครัฐที่จะเป็นตัวสนับสนุนให้กับสตาร์ทอัพ นี่ก็เป็นข้อจำกัดอยู่” ดร. ณัฐพล กล่าว

ปัจจุบันสตาร์ทอัพที่อยู่ในไปป์ (Pipe) ของดีป้าก็ประมาณ 100 สตาร์ทอัพที่อยู่ในระดับที่จะโต ต่อไป หมายความว่า มีศักยภาพ (Potential) ที่จะโตต่อไปถึงระดับ 1,000 ล้านบาท ที่เรียกว่า Series A ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 5 บริษัท ที่อยู่ในไปป์ที่อยู่ในกลุ่ม EdTech HealthTech หรือกลุ่มผู้ให้บริการเซอร์วิสต่างๆ เช่น บริษัท คิวคิว เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามรัฐจะต้องแก้ไข ข้อกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ เพื่อรองรับการเข้ามาจากนักลงทุนต่างชาติในฐานบริษัทที่จะมาลงทุนในสตาร์ทอัพด้วย เช่น รายละเอียดเรื่องภาษีในการลงทุน (Capital gain tax) เป็นต้น

ในส่วนของโครงการ dSURE เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมสตาร์ทอัพ ที่ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอที หรือฮาร์ดแวร์ ที่ผลิตโดยสตาร์ทอัพในประเทศ สำหรับใช้ในการทำงานและธุรกิจ โดยโครงการ dSURE เป็นตัวช่วยของผู้บริโภคและกลไกยกระดับอุปกรณ์ดิจิทัลของไทย โดยอุปกรณ์ไอที ที่จะได้รับมาตรฐาน dSURE จะต้องผ่านการทดสอบใน 3 รายการหลัก ประกอบด้วย การคำนึงถึงเรื่องการป้องกัยนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Security) ความปลอดภัยในการใช้งาน (Safety) และความสามารถในการทำงาน (Functionality) โดยสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการที่จะขอรับรองเครื่องหมาย dSURE จะต้องส่งผลิตภัณฑ์เข้าทดสอบที่ห้องปฎิบัติการทดสอบที่ดีป้ารับรอง สำหรับผลิตภัณฑ์นำร่องที่ดีป้าจะให้การรับรอง อาทิ กล้องวงจรปิด (IP Camera) ที่ควบคุมด้วยโมยานแอพพลิเคชั่น เป็นต้นและภายในปีนี้คาดว่าจะสามารถรับรองผลิตภัณฑ์ 10-15 รายการ

“มาตรฐาน dSURE เป็นมาตรฐานที่สนับสนุนให้คนไทยได้รู้ว่า อุปกรณ์ไอที เหล่านี้ไม่ถูกหลอก มีความปลอดภัยในข้อมูล  และมีความปลอดภัยในเชิงการใช้งาน แบบมาตรฐานอุตสาหกรรม ก็จะเป็นมาตรฐานที่เรียกว่าโดยสมัครใจ ไม่ได้ เป็นภาคบังคับ ดีป้า มุ่งหวังจะให้  dSUREเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งจะช่วยยกระดับสินค้าดิจิทัลที่วางขายในประเทศ และยังสามารถใช้เป็นกลไกในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในตลาดสากลอีกด้วย

เพราะฉะนั้นคนไทยจะต้องเลือกเอาเองว่าเลือกสินค้าที่มีรับรองในราคาที่ใกล้เคียงกัน เราพยายามทำให้ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ที่เป็นผู้ให้บริการ หรือผู้ขายฮาร์ดแวร์ มีความสามารถทางการค้า ทางการตลาด จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในส่วนของผู้ใช้เป็นการส่งเสริมให้คนไทยได้เลือกใช้สินค้า ที่มีคุณภาพโดยความรู้จักเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้เป็น และเลือกใช้เป็นด้วย เลือกในสิ่งที่มีคุณภาพ ทำให้สินค้าไทย ที่จัดตั้งหรือประกอบการในเมืองไทย ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้นในการค้าขาย ดร. ณัฐพล กล่าว 

ผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวถึง นโยบายที่จะสนับสนุนให้บริการดิจิทัลของสตาร์ทให้สามารถเป็นบริการที่ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างว่า ดีป้า อยู่ระหว่างการเจาจรากับสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบริการดิจิทัล เพื่อให้ภาครัฐสามารถใช้บริการดิจิทัลจากสตาร์ทอัพได้ โดยคาดว่าในเป้าหมายระยะสั้นจะสามารถบรรลุผลให้ภาครัฐสามารถใช้บริการภาคดิจิทัลจากสตาร์ทอัพได้ในปีหน้า 

ส่วนในระยะยาวจะมีการสร้างกลไกที่จะมีการผลักดันให้สตาร์ทอัพสามารถให้บริการดิจิทัลกับภาครัฐที่มีการกระดับการผลักดันให้มีการใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างอีโครซิสเต็มส์สตาร์ทอัพของไทยให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น สามารถแข่งขันกับตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน

บทความแนะนำ

Indoor farming อนาคตการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

การเกษตรในร่ม (Indoor farming) และการเกษตรแนวตั้ง (Vertical farming) กำลังได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐและยุโรป และเซ็กเตอร์นี้ยังได้รับประโยชน์ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เมื่อ COVID-19 สะท้อนความเปราะบางของซัพพลายเชนอาหาร

การเกษตรในร่มแบบแนวตั้ง มีการเติบโตขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นวิธีการปลูกพืชที่ยั่งยืน ไม่ต้องใช้ดิน ไม่พึ่งพาฝนฟ้าอากาศ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และมีการใช้ปริมาณน้ำที่น้อยกว่า พืชที่ปลูกเติบโตขึ้นภายใต้แสงประดิษฐ์ (Artificial light) เช่น แสงจาก LED จึงนับเป็นการส่งมอบพืชผลการเกษตรที่สดใหม่ให้ลูกค้า ในขณะที่ยังรักษาคุณประโยชน์โภชนาการและรสชาติไว้ได้

ผู้ประกอบการที่เลือกการปลูกพืชแบบนี้ ยังสามารถปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ไม่ว่าภายนอกจะมีสภาพอากาศอย่างไร และสามารถควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอเพราะควบคุมปริมาณธาตุอาหารและสภาพแวดล้อมอื่นๆให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์อัตโนมัติ และซอฟแวร์เก็บข้อมูล

ข้อดีของเกษตรกรรมแนวตั้ง ยังรวมถึงการเพาะปลูกในเมือง (Urban areas) ซึ่งใกล้กับผู้บริโภค ทำให้ลดเวลาการขนส่งและเพิ่มความสดของผลิตภัณฑ์, สามารถบริหารซัพพลายให้สอดคล้องกับดีมานด์ เช่น การเปิดให้สั่งพรีออเดอร์, ลดขยะอาหาร (Food waste) เพราะพืชที่ปลูกขึ้นมาจะมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน และการใช้ปุ๋ยที่น้อยลง ยังจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

ความเรียบง่ายและจุดเด่นของซัพพลายเชนลักษณะนี้ นับว่ามีความสำคัญต่อการดึงดูดเงินลงทุน

ฝ่ายสนับสนุนมองว่า การเกษตรวิธีใหม่นี้จะเป็นอนาคตของเกษตรกรรม ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยจากข้อมูลของ Dealroom เม็ดเงินประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้ไหลเข้าเซ็กเตอร์นี้นับตั้งแต่ปี 2557

อุตสาหกรรมเกษตรแนวตั้ง มีแนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่องในทศวรรษข้างหน้า บริษัทวิจัย IDTechEx คาดการณ์ว่า ยอดขายต่อปีจะเพิ่มมากกว่าสองเท่า จาก 700 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน เป็น 1.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2573

การเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่มีข้อจำกัดในด้านการปลูกพืชแบบดั้งเดิม เช่น ตะวันออกกลาง หรือในบางประเทศ ที่มีพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของดินที่รุนแรง

 

เงินลงทุนและต้นทุนที่สูง

ทว่าเม็ดเงินลงทุนเริ่มแรกและต้นทุนดำเนินการที่อยู่ในเกณฑ์สูง อาจส่งผลกระทบต่อการทำกำไร ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ต้องจ่ายค่าแรงเฉพาะทาง และค่าไฟฟ้าที่สูงสำหรับแสงไฟและการระบายอากาศ เพราะต้องไม่ลืมว่า
ในการปลูกพืชแบบกลางแจ้ง แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นของฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในฟาร์มแนวตั้งในร่ม ผู้ประกอบการต้องเสียค่าไฟฟ้าเอง

เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนที่สูงจากการดำเนินการ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่ผู้ประกอบการ SME จะพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ตั้งราคาพรีเมียมได้ หรือเลือกพืชที่ปลูกได้ยากในไทย และตอบสนองดีมานด์คนรักสุขภาพ เช่น ผักเคล, สปิแนช และอื่นๆไม่ใช่ปลูกพืชที่ไม่มีความแตกต่างจากท้องตลาด ไม่มีจุดขาย และได้กำไรน้อย

ความท้าทายอีกประการสำหรับ SMEs ที่ต้องการทำธุรกิจนี้ ก็คือ ความสามารถในการบริหารการขายการปลูกพืชในร่มทำให้รู้ล่วงหน้าถึงปริมาณผลผลิต ดังนั้น SMEs ต้องจึงต้องบริหารผลผลิต ประเมินความต้องการของลูกค้า และดำเนินกลยุทธ์การขายไม่ว่าจะเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมาย การทำมาร์เก็ตติ้ง เพื่อให้ดีมานด์และซัพพลายสอดคล้องสมดุลกัน

ผู้ประกอบการที่สนใจในธุรกิจนี้จึงต้องมีความรู้และทักษะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้เชิงเทคนิคเรื่องการเพาะปลูก การบริหารจัดการธุรกิจ การรับออเดอร์ออนไลน์ รวมถึงการทำการตลาด ซึ่งรวมไปถึงการสื่อสารประเด็นความยั่งยืนของการผลิตอาหาร

ทีมงานและพาร์ทเนอร์ที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันจึงมีความสำคัญ หากได้ทีมที่แข็งแกร่งหนุนเสริมจุดแข็งให้กันและกันในด้านต่างๆ ก็จะมีแต้มต่อในสนามแข่งขันของธุรกิจ

ในประเทศไทยก็มีหลายบริษัทที่เอาเทรนด์นี้ไปสร้างเป็นจุดขายบ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น ค่ายอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อย่างแสนสิริ ที่เริ่มต้นโครงการปลูกผักในคอนโดมีได้ 2 ปีกว่าแล้ว กับโครงการ Sansiri Backyard เพื่อส่งต่อชีวิตตความเป็นอยู่ที่ดีและใกล้ชิดธรรมชาติให้กับลูกบ้านไปแล้วกว่า 20 โครงการ โดยนอกจากปลูกผักแล้ว ยังมีการชวนลูกบ้านมาทำกิจกรรม Harvest Day ในทุกเดือน จนกลายเป็นอีกหนึ่งจุกขายใหม่ของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ

ในส่วนของสตาร์ทอัพ ก็มีบริษัท noBitter ที่ได้ทำธุรกิจปลูกผักแบบ indoor farming อาทิ เคล,สปิแนช,มิซูน่าและบรอกโคลีตอบโจทย์คนรักสุขภาพ โดยแบ่งการปลูกออกเป็น3 โซนคือโซนเพาะเมล็ดโซนอนุบาลและโซนรางปลูกต้นโตเต็มวัยมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกวัน

noBitterได้ใช้แนวคิด Zero milesปลูกผักให้ใกล้ผู้บริโภคที่สุด เพื่อคงคุณค่าทางอาหารของผักสด รวมถึงเน้นทำตลาดผ่านออนไลน์ขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลน์อินสตาแกรมและเดินหน้าขยายฐานลูกค้าต่อเนื่อง จึงเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้ประกอบการ SME ได้ศึกษาเรียนรู้และต่อยอด

แม้ว่าโอกาสการเติบโตของธุรกิจ Indoor farming จะสูงและมีศักยภาพในอนาคต แต่ผู้ประกอบการก็มีต้นทุนที่สูง และต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพาะปลูก หากบริหารจัดการผิดพลาดก็อาจเสียหาย ขาดทุน หรือไม่คุ้นทุนได้เช่นเดียวกับการทำธุรกิจในแขนงอื่นๆ

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

https://www.ft.com/content/ea955c9e-c686-4502-a974-1778b9e5f695

https://www.ft.com/content/0e3aafca-2170-4552-9ade-68177784446e

บทความแนะนำ

HyperLocal Taste รสชาติท้องถิ่นที่มาพร้อมกับความยั่งยืน

กระแสรักษ์โลกยังคงเป็นประเด็นร้อนที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะเดียวกันก็เป็นประเด็นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แม้แต่ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลายปีมานี้เริ่มมีการพูดถึงเรื่องของการบริโภคอย่างยั่งยืน

“HyperLocal Taste” เป็นหนึ่งในเทรนด์การเลือกบริโภค และสนับสนุนอาหารปลอดภัยที่ผลิตในท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อลดคาร์บอนฟุตปริ๊นต์ รวมถึงการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร สอดคล้องกับกระแสรักสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ ทำให้ร้านอาหารที่กำลังมุ่งไปเป็น Hyperlocal ให้ความสำคัญกับที่มาของอาหารที่ปลอดภัย ทั้งเนื้อสัตว์ พืชผักต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพคนกิน 

ยิ่งช่วงที่มีวิกฤติโรคระบาดอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคต้องการมั่นใจว่ามาจากแหล่งที่ปลอดภัยที่สำคัญหากเป็นส่วนหนึ่งในการได้ช่วยเหลือผู้ผลิตหรือเกษตรกรรายย่อยด้วยก็เป็นสิ่งที่หลายคนพร้อมควักเงินในกระเป๋าออกมา

ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ความแข็งแกร่งของย่านอย่างอารีย์มาเป็นจุดแข็งในการปรับธุรกิจในช่วง COVID-19 ให้สอดคล้องกับเทรนด์  

“HyperLocal Taste” คือ The Yard Grocery ธุรกิจที่ปรับตัวมาจาก The Yard Hostel โฮสเทลสุดฮิปในซอยราชครู ย่านอารีย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 จนต้องปิดให้บริการส่วนของโฮสเทลชั่วคราว แต่ก็ยังสามารถผุดไอเดียธุรกิจใหม่คือรถสามล้อพุ่มพวงวิ่งขายในย่านอารีย์ โดยมีสินค้าเป็นผลผลิตจากเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย เช่น ไร่รื่นรมย์ที่เชียงราย ข้าวธรรมชาติจากเชียงราย ผลผลิตจากฟาร์มที่ราชบุรี ผลผลิตจากเกษตรกรทั้งจาก เชียงใหม่ เชียงราย สุพรรณบุรี และบุรีรัมย์ ซึ่งทั้งหมดปลูกแบบปลอดสารพิษส่งตรงจาก Local Farm ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผักผลไม้ล้นสต็อกเนื่องจากร้านอาหาร รวมถึงโรงแรมที่เคยสั่งซื้อผลผลิตประจำหยุดชั่วคราวจากมาตรการของรัฐ

The Yard Grocery ไม่ได้ช่วยเหลือแค่เกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย แต่สายสัมพันธ์ที่มีตั้งแต่ตอนทำโฮสเทลกับร้านในย่านอารีย์ทำให้ The Yard Grocery ไม่ลืมที่จะช่วยเหลือร้านเหล่านี้ซึ่งได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันด้วยการรับสินค้าไม่ว่าจะเป็น ขนมปัง เบเกอรี่ หรือเมล็ดกาแฟจากร้านชุมชนในย่านนี้ เช่น ร้าน Laliart coffee ร้าน Landhaus Bakery ร้านเบเกอรี่ซึ่งก็ได้รับผลกระทบ ร้าน Paper Butter & The Burger ซึ่งปกติขายเบอร์เกอร์ แต่ช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้บางวันทำเป็นขนมหวานมาวางขายบนรถสามล้อพุ่มพวงของ The Yard Grocery ด้วย 

รวมถึงการผลิตสินค้าที่เป็นของ The Yard Grocery เองอย่างโยเกิร์ตโฮมเมดซึ่งปกติทำให้สำหรับแขกที่เข้าพักในโฮสเทลรับประทาน ใส่ขวดแก้วซึ่งลูกค้าสามารถซื้อแล้วคืนขวดได้เหมือนคนส่งนมสมัยก่อน เพื่อลดการใช้พลาสติก นอกจากนี้ยังมีแยมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่กำลังคิดและพัฒนาตามมาในอนาคต

โมเดลธุรกิจของ The Yard Grocery เน้นขายในระยะทางรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ลูกค้าจะอยู่เฉพาะในย่านอารีย์ เดินทางสะดวก เนื่องจากมองว่าหากทำเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ บรรจุภัณฑ์ที่มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ามลพิษจากการเดินทางก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย

สำหรับเส้นทางที่ The Yard Grocery  วิ่งจะอยู่ในโซนอารีย์ วนตั้งแต่อารีย์ 2 ไปถึงอารีย์ 5 และกลับมาที่อารีย์  1 ขายตั้งแต่เวลา 16.00-19.00 น. ลูกค้าส่วนมากจะเป็นคนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ซึ่งผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจมาก ด้วยความที่ย่านอารีย์เป็นย่านที่มีชุมชนแข็งแกร่งอยู่แล้ว รวมทั้งมีชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทยค่อนข้างมากอาศัยอยู่ย่านนี้ โดยคนเหล่านี้มีความตั้งใจจะช่วยเหลือ Local Business อยู่แล้ว เมื่อมีการโพสต์ขายของไปในกลุ่มอารีย์ของย่านนี้ หากลูกค้าสนใจก็จะมีการสั่งสินค้า ทางร้านก็จะนำสินค้าไปดรอปไว้ที่ที่พักของเขา

เป้าหมายของ The Yard Grocery คือการต่อยอดไปสู่การทำซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ โดยปรับห้องนอนโฮสเทลมาเป็นที่เก็บสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขายจะเลือกสินค้าจากผู้ผลิตรายย่อย เกษตรกรรายย่อย เป็นสินค้าที่มีความหมายต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า รวมถึงการขายผ่านออนไลน์ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางที่สร้างการเติบโตในอนาคต

อนาคตแม้วิกฤติโรคระบาดจะหมดไปแล้วแต่ The Yard Grocery ก็จะยังเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ในการทำธุรกิจกับคนในย่านอารีย์ เพราะต้องการให้ความสำคัญกับเรื่องของมลพิษที่เกิดจากการขนส่งและการขายนอกย่าน ที่สำคัญคือต้องการเป็นตัวเชื่อมที่ช่วยตอบโจทย์คนในย่านที่อยากอุดหนุนสินค้าจากร้านในชุมชน รวมถึงผลผลิตที่ปลอดภัยจากเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในย่านอารีย์ให้แข็งแรงมากขึ้น 

เห็นได้ชัดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาองค์กรใหญ่หลายแห่งมองเห็นถึงความสำคัญของการจับมือร่วมกับพันธมิตรระดับชุมชน และ SMEs รายเล็กเพื่อช่วยเติมเต็มความเชี่ยวชาญซึ่งแต่ละฝ่ายมี เพื่อเป้าหมายของการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นโอกาสให้ธุรกิจเล็กพัฒนาตัวเองให้มีมาตรฐานเพื่อการเติบโตไปพร้อมๆกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นปลาใหญ่หรือปลาเล็กหากอยู่ในน่านน้ำเดียวกันแล้วการพึ่งพาอาศัยกันย่อมช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้โดยเฉพาะในสภาวะที่คาดไม่ถึงอย่างการเกิดโรคระบาดที่เรากำลังเผชิญหน้ากันอยู่ในปัจจุบันนี้

อีกหนึ่งตัวอย่างขององค์กรขนาดใหญ่ที่ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในแง่ของการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและอาหารการกิน ก็คือการจับมือกันระหว่างกลุ่มดุสิตธานีกับ Local Alike ธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเปิดตลาดท่องเที่ยวในประเทศ ภายใต้แนวคิดท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งถึงชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น 

การจับมือร่วมกันครั้งนี้เท่ากับเป็นการนำความเชี่ยวชาญจาก Local Alike ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสังคมแนวใหม่ ที่วางแนวทางให้เจ้าของชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบและนำเที่ยวเชิงลึกให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ซึ่งไม่เคยพบจากการท่องเที่ยวหลัก มารวมกับความชำนาญและเป็นมืออาชีพภายใต้มาตรฐานสากลของดุสิตธานีเพื่อให้ชุมชนสามารถบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมืออาชีพ

โดยการร่วมมือแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ร่วมกันโปรโมทชุมชนผ่านแพคเกจท่องเที่ยว Dusit Local Explorer กับโรงแรมในเครือดุสิตทุกแห่งทั่วประเทศ นำเสนอทริปการท่องเที่ยวแบบเจาะลึก เน้นสาระโดยนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสและเข้าถึงชุมชนได้จริง รายได้ของทริปการท่องเที่ยว 70% จะเข้าสู่ชุมชนโดยตรง อีก 30% จะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสังคมอย่าง Local Alike เพื่อต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวในชุมชนอื่น

ส่วนความร่วมมือในเชิงลึกกลุ่มดุสิตธานีใช้จุดแข็งในแง่ของประสบการณ์ รวมถึงมีองค์ความรู้จากหน่วยงานด้านการศึกษาที่มีอยู่ เช่น วิทยาลัยดุสิตธานี นำทีมงานเข้ามาทำงานกับ Local Alike ในการให้ความรู้คนในชุมชนใหม่ๆ เพื่อยกระดับการดูแลนักท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานทั้งในเรื่องของความสะอาด ความสะดวกสบาย และยังสนับสนุนกิจกรรมเสริมรายได้อื่นๆ เช่น Local Aroi ที่ส่งเสริมให้ชุมชนให้ประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ มีศักยภาพพอที่จะจัดเลี้ยงอาหารนอกสถานที่แบบพิเศษด้วยวัตถุดิบจากท้องถิ่น รวมถึง Local A lot ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและได้มาตรฐานสากล เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นและชุมชนอย่างยั่งยืน 

บทความแนะนำ

Glazziq สร้างจุดต่างให้ร้านแว่นตา เปิดประสบการณ์ลองแว่นด้วยเทคโนโลยี AR

การทำธุรกิจในปัจจุบัน การขายสินค้าผ่านหน้าร้านในรูปแบบเดิมจะไม่ใช่แนวทางที่จะเพิ่มศักยภาพการตลาดและขยายฐานลูกค้าได้ไม่มากนัก ในทางกลับกันการปรับตัวการทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์หรือการทำธุรกิจขายสินค้าหรือบริการผ่านอีคอมเมิร์ซ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจในการทำตลาดและสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างก้าวกระโดด Statista รายงานว่า ยอดขายสินค้าของธุรกิจค้าปลีกจากออนไลน์ทั่วโลกในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่า 4.28 ล้านล้านเหรียฐสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 22.3 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่ามูลค่ายอดขายสินค้าจากออนไลน์จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565  

ในขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีการเติมโตแบบก้าวกระโดด โดยข้อมูลวิจัย เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2563 จาก Google, Temasek  และ Company รายงานว่า ในปี 2563 ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าที่ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 270,000 ล้านบาท  และบริษัท  Priceza ผู้คล่ำหวอดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยังมองว่า ตลาดอีคอมเมิร์สในประเทศไทยปีนี้จะมีการเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าที่มีความมั่นใจในการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น 

บริษัท กลาซซิค จำกัด เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพของไทยที่นำเอาจุดเด่นของการขายสินค้าผ่านออนไลน์ และการขายสินค้าในรูปแบบเดิมหรือออฟไลน์ มาใช้ในการทำธุรกิจแว่นตา ผ่านช่องทางออนไลน์ www.glazziq.comและออฟไลน์ หรือ Omni channel เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา 

พิริยะ ตันตราธิวุฒิ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท กลาซซิค จำกัด ผู้จำหน่ายแว่นตาผ่าน Omni channel กล่าวว่า การก่อตั้ง จากโจทย์ที่ว่า แว่นที่ขายตามร้านราคาแพง และการเลือกแว่นจะมีพนักงานคอยเดินตามและเลือกลำบาก การเปิดตัวการจำหน่ายแว่นตาผ่านช่องทางออนไลน์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อแว่นตา และสามารถเลือกแว่นตาได้ตามความต้องการในราคาที่เอื้อมถึง

“กลาซซิค เป็นเว็บไซต์ขายแว่นตาออนไลน์ ที่เกิดขึ้นมาจากโจทย์ที่ว่าเรารู้สึกว่า แว่นที่ขายอยู่ตามร้านค้า หลายๆครั้งราคามันแพง โดยไม่จำเป็นเพราะว่า แว่นหลายๆตัวที่ขายในตลาดมันโดนคุมโดยคนขายแว่นแบรนด์ใหญ่ๆ  มีการบวกราคาไปทอดๆจนมาถึงหน้าร้านแว่นก็บวกราคาไปเยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่านำเข้า ค่าแบรนด์ ค่าหน้าร้าน ค่าดิสทริบิวเตอร์ ค่าอะไรหลายๆอย่าง รวมไปรวมมาแว่น พอมาถึงหน้าร้าน เราซื้อจริงๆมันแพง นั่นคือปัญหาแรก

สอง คือ เรื่องของการเลือกแว่น คือ ไปเลือกยังลำบากรู้สึกไม่สนุก เลือกแว่นไม่ค่อยเป็น ว่าต้องเลือกอย่างไง  ไม่ชอบไปร้านแว่นเลย พอไปร้านแว่น แว่นก็วางเต็มร้าน มันไม่ได้เป็นไปตามโจทย์ที่เรากำลังหา  เค้าไม่ได้จัดตามโจทย์ของเราในเรื่องของการ ค้นหาแว่น ประสบการณ์ ไม่ดี ราคาก็ไม่ได้” พิริยะ กล่าว 

หลังจากนั้นได้ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฯ พัฒนาแพลตฟอร์มการขายแว่นผ่านออนไลน์ โดยสั่งตรงกรอบแว่นจากโรงงานและเป็นพันธมิตรกับบริษัทThai Optical Group สำหรับตัดเลนส์ประกอบแว่น และร้านแว่นตา หอแว่นในการวัดสายตาลูกค้าจากนั้นหอแว่นจะส่งรายละเอียดค่าสายตาของลูกค้าส่งเข้าระบบแพลตฟอร์มของบริษัท เพื่อให้ บริษัท Thai Optical Group ตัดเลนส์ประกอบแว่นและส่งไปให้กับลูกค้าปลายทางหลังจากที่ลูกค้าออร์เดอร์สินค้าในเวลา 3 – 7 วัน 

ในการจำหน่ายแว่นตาออนไลน์ของ กลาซซิคนั้น ลูกค้าสามารถเข้าไปเลือกกรอบแว่นตา ผ่านเว็บไซต์ www.glazziq.com ซึ่งที่กรอบแว่นตาให้เลือกมากกว่า 100 รุ่น พร้อมตัวอย่างการใส่แว่นของนายแบบ และนางแบบ หากลูกค้าสนใจกรอบแว่น สามารถลองแว่นได้ 3 ช่องทาง ประกอบด้วย ลองแว่นผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ AR (Augmented reality) บนเว็บไซต์หรือบน ระบบเออาร์ของอินสตาแกรม (AR Instagram) หรือเรียกว่า Virtual tri-on ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกกรอบแว่นที่ชอบจากนั้นถ่ายรูปตนเอง เพื่อทดลองกรอบแว่นผ่านเว็บไซต์หรืออินสตาแกรม 

นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถเลือกลองกรอบแว่นโดยให้ทางบริษัทส่งกรอบแว่นตัวอย่างไปให้ลูกค้าทดลองที่บ้าน หรือเรียกว่า Home tri-on โดยลูกค้าสามารถเลือกทดลองแว่นได้ 3 แบบพร้อมเงินมัดจำ 20 บาท จากนั้นบริษัทจะส่งกรอบแว่นตาไปให้ที่บ้านภายใน 3 วัน จากนั้นลูกค้าสามารถลองแว่นและส่งคืนแว่นตากลับมายังบริษัทผ่าน เซเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ  และสุดท้าย ลูกค้าสามารถที่จะทดลองแว่นตาที่โชว์รูมของบริษัทและที่ร้านแว่นตาหอแว่นที่ตั้งอยู่หัวเมืองใหญ่ 20 สาขา เช่น ขอนแก่น เชียงใหม่ และนครราชสีมา เป็นต้น  

“ในการขายแว่นผ่านออนไลน์เราสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์มาทำให้ประสบการณ์เลือกแว่นตาของลูกค้าดีขึ้นและสามารถทำให้ราคาไม่ต้องสูงเพราะว่าเราใช้วิธีลงไปดิวกับโรงงานโดยตรงซื้อแว่น ออกแบบแว่นเอง ดิวกับโรงงานแล้วขายบนเว็บเลย เราตัดพ่อค้าคนกลางออกไปทั้งหมด เราตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปทั้งหมด  ขายผ่านหน้าเว็บไซต์ สินค้าของกลาซซิค เริ่มต้นที่ราคา 1,990 บาท ราคาพร้อมกรอบและเลนซ์ มีซัพพอร์ตทุกอย่างนอกจากนี้เราก็ใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการให้ลูกค้าเข้ามาค้นหาแว่นตามโจทย์ของลูกค้าได้ ในเว็บจะมีระบบฟิวเตอร์ ที่รองรับความต้องการของคนกำลังมองหาแว่น มีระบบ Chat Bot ที่ตอบคำถามความต้องการแว่นของลูกค้า ว่าต้องการแว่นแบบไหน และสามารถนำเสนอได้ตามความต้องการของลูกค้าได้จริง โดยเราใช้ตัวออการิทึมในการแนะนำแว่นที่เหมาะกับลูกค้าจริงๆ เราเชื่อว่าสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา ทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อแว่นในราคาเอื้อมถึง และสนุกกับการซื้อแว่น มากกว่าเดิม” พิริยะ กล่าว  

ราคาแว่นของกลาซซิคและแว่นแบรนด์เนมที่ใช้วัสดุและดีไซต์ใกล้เคียงกันจะมีราคาที่ถูกกว่า คู่แข่งประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์

“สิ่งที่กลาซซิคทำ คือเราไปดิวกับโรงงานเดียวกับโรงงานที่เค้าทำให้กับแว่นแบรนด์ ที่เกาหลี และเราสร้างเป็นแบรนด์เราเอง ใช้วัสดุเดียวกันกับแว่นแบรนด์ ที่ทำจากเกาหลี ดังนั้นคุณภาพของเราไม่แพ้พวกแว่นหลักหมื่น แต่ว่าราคาประมาณ 1,990 - 5,000 บาท ราคาที่ลูกค้าสามารถเอื้อมถึง และสามารถซื้อเป็นสินค้าแฟชั่นได้” 

ปัจจุบันการจำหน่ายแว่นตาผ่านออนไลน์และลูกค้าสามารถไปลองแว่นที่โชว์รูมหรือสามารถสั่งแว่นที่โชรว์รูมได้ บริษัทมีจำนวนการสั่งซื้อมากกว่า 10 รายการต่อวัน หรือมียอดการสั่งซื้อ 300-500 รายการต่อเดือน โดยแว่นตามีราคาจำหน่ายที่ 1,990 – 5,000 บาท โดยลูกค้าหลักมีอายุระหว่าง 20-30 ปี นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนร่วมกับพันธมิตร ร้านแว่นตาในการจำหน่ายแว่นตาแบรนด์เนมผู้นำเข้าแว่นตาหรู ในการจำหน่ายแว่นตาผ่านออนไลน์ด้วย 

“ตอนแรกเรามีกลาซซิคอย่างเดียว และอยู่ระหว่างทดลองร่วมกับพันธมิตร ในการต่อยอดธุรกิจโดยการทำงานกับ ร้านแว่น เพื่อที่จะนำแว่นหลายๆยี่ห้อ ขายผ่านออนไลน์ โดยที่ร้านแว่นสามารถวางสินค้าผ่านออนไลน์ลูกค้าสามารถมีทางเลือกมากขึ้น และเราจะพัฒนาเอ็นจิ้งเพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวก ได้รับ ประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้นในการเลือกซื้อแว่นตา นอกจากนี้ในส่วนของร้านแว่นที่เก็บแว่นตาไว้ในสต็อกสินค้ามีโอกาสที่จะขายแว่นได้มากขึ้น เนื่องจากการวางสินค้าผ่านออนไลน์สามารถช่วยลดพื้นที่การวางสินค้าหน้าร้านลงได้ ลูกค้าสามารถใส่รายละเอียดสินค้าที่ต้องการและแพลตฟอร์มจะสามารถฟิวเตอร์แว่นตาให้กับลูกค้าได้ด้วย เช่น ลูกค้าค้นหาอยากได้แว่นตาที่เป็นเหล็ก ลูกค้ากำหนดมาก็จะเสนอให้ และช่วยแก้ปัญหาว่าหน้าร้านไม่ต้องใหญ่มาก ร้านแว่นไม่จำเป็นต้องเช่าที่ใหญ่ๆ วางแว่นเยอะๆ เรามองว่าโชว์เท่าที่จำเป็นและลูกค้าสามารถหาแว่นได้เหมาะสมในราคาและข้อกำหนดที่เค้าต้องการ” พิริยะ อธิบาย

การจำหน่ายแว่นตาผ่าน Omni channel เป็นการนำเอาข้อดีของทั้งออนไลน์และออฟไลน์มาช่วยในการทำตลาดและจำหน่ายแว่นตา ทำให้สามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่อยู่ไกลและใกล้ รวมถึงลูกค้าที่คุ้นเคยกับการเข้าถึงบริการผ่านออนไลน์ นอกจากนี้บริษัทยังนำโชเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Tik Tok และ อินสตาแกรมมาช่วยในการทำตลาดด้วย โดยปัจจุบันมีลูกค้าติดตามมากกว่า 100,000 คน 

“เราเอาเทคโนโลยีมารวมกัน ทำให้การซื้อแว่นง่ายขึ้น สนุกขึ้น สามาถเลือกแว่นได้เหมาะสมกับลูกค้า เราทำระบบให้มันยืดหยุ่น (Flexible) และตอบโจทย์ ลักษณะพฤติกรรมของลูกค้าหลายๆคน ที่มีการกระโดดข้ามไประหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ เราอยากจะเน้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ด้วย เราไม่อยากเน้นออนไลน์อย่างเดียว ออฟไลน์มีเท่าที่จำเป็น ไม่ต้องเปิดร้านใหญ่โต เอาแค่พออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าก็พอ เน้นให้ลูกค้าสามารถเลือกแว่นจากออนไลน์ได้ระดับหนึ่งแล้วค่อยไปหน้าร้าน อาจจะไปถึงหน้าร้านลองแว่นแล้วจบ เราจะเน้น Omni channel จะพัฒนาทั้งฝั่งออนไลน์ออฟไลน์ควบคู่กัน” พิริยะ กล่าว

บทความแนะนำ

หอการค้าไทย ชู 2 มาตรการ ฟื้น SMEs อย่างยั่งยืน

อย่างที่ทราบดีว่าธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีสมาชิกทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งหอการค้าฯได้เร่งผลักดันมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งมาตรการระยะนั้น และระยะยาวที่จะช่วยฟื้นฟูธุรกิจอย่างยั่งยืน

นายสนั่น อังอุบลกุลประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนหอการค้าฯได้เข้าหารือกับสถาบันทางการเงิน 6 แห่งทั้งธนาคารกสิกรไทยธนาคารกรุงเทพธนาคารไทยพาณิชย์ธนาคารเกียรตินาคินภัทรธนาคารทีเอ็มบีธนชาตและธนาคารกรุงไทยรวมถึงก... ซึ่งได้มีการรวบรวมความเห็นของผู้ประกอบการทั้งข้อเสนอและปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยได้ทำเป็นบทสรุปนำเสนอถึงข้อจำกัดของมาตรการในปัจจุบันอาทิมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ผ่านมาตราการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) มาตรการพักทรัพย์พักหนี้

รวมทั้งได้ขอขยายมาตรการให้ครอบคลุมถึงเงินใหม่ที่ให้เพิ่มเพื่อนำมาหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องหลักเกณฑ์การตีราคามูลค่าทรัพย์สินการลดเงื่อนไขและข้อจำกัดของการตีโอนทรัพย์เพื่อพักทรัพย์พักหนี้จะทำให้กลไกตลาดทำงานและการเจรจาตกลงได้พร้อมทั้งการให้กลุ่มลูกหนี้เดิมสามารถนำหลักทรัพย์ใหม่ๆเข้ามาเป็นหลักประกันได้เช่นที่ดินและให้ขอลดค่าธรรมเนียมการค้าประกันของบสย. เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินได้สะดวกมากขึ้น

หอการค้าฯได้เสนอให้ภาครัฐผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อให้สถาบันทางการเงินสามารถใช้ดุลพินิจในการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นโดยสถาบันทางการเงินจะมีกฎเกณฑ์พื้นฐานในการให้สินเชื่อซึ่งจะพิจารณาจากหลายมิติไม่ใช่พิจารณาจากเครดิตบูโรเพียงอย่างเดียวการปลดล็อกเรื่องเครดิตบูโรหรือ NPL จะทำให้ SME อีกจำนวนมากได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดนี้ยิ่งต้องมีการดูแลผ่อนผันเพื่อให้สถานการณ์ฟื้นตัวโดยเร็ว นายสนั่นกล่าว

นอกจากนี้ หอการค้าฯได้นำทีมผู้บริหารเข้าพบ นายสุพัฒนพงษ์พันธ์มีเชาว์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆอาทิดร.ทศพรศิริสัมพันธ์ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเลขาธิการสภาพัฒน์ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งได้ฟังข้อเสนอของหอการค้าไทยแล้วมีการมอบหมายให้กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยได้ไปหารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อหาข้อสรุปในการดาเนินการเพิ่มเติมและพิจารณาลูกค้ากลุ่มที่ยังไม่เข้าถึงแหล่งเงินทุนเช่นผู้ประกอบการโรงแรมที่พักซึ่งยังไม่มีใบอนุญาตและประสบปัญหาจากสถานการณ์โรคระบาดเป็นต้นรวมถึงให้หาแนวทางนำเครื่องมือทางการเงินอื่นมาช่วยผู้ประกอบการร่วมกัน

สำหรับข้อเสนอของหอการค้าไทยได้เร่งดำเนินการเป็น 2 ส่วนดังนี้

มาตรการที่ 1 การเร่งเยียวยาและเสริมสภาพคล่องตามมาตรการภาครัฐไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์พักหนี้และมาตรการอื่น

1) เร่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆจากการพบกับผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์และรับฟังความเห็นจากผู้ประกอบการหลายรายทั้งจากหอการค้าจังหวัดและสมาคมการค้าพบว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการรวมถึงมาตรการผ่อนผันหลายมาตรการแต่เนื่องด้วยเข้าไม่ถึงผู้ประกอบการและการสื่อสารไม่ทั่วถึงโดยหอการค้าไทยจะช่วย Connect the Dots เชื่อมให้ผู้ประกอบการและธนาคารได้สามารถสื่อสารและเชื่อมมาตรการระหว่างกันได้

2) พิจารณาการให้สินเชื่อ Soft loan โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อที่ใช้ใบสั่งซื้อหรือใบรับสินค้าเป็นหลักประกันให้ปล่อยสินเชื่อให้ SMEs ผ่านผู้ประกอบการค้าปลีกโดยตรงซึ่งจัดทำโครงการ Sand Box เชื่อมโยงข้อมูล SMEs ที่เป็นคู่ค้ากับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ (Digital Factoring Platform) โดยโมเดลนี้เริ่มจากกลุ่ม SMEs ที่อยู่ในธุรกิจค้าปลีกนำโดยทางเซ็นทรัลและธนาคารกสิกรไทยซึ่งจะใช้ข้อมูลจากกลุ่มค้าปลีกมาพิจารณาสินเชื่อให้กับ SMEs 

3) สนับสนุนผ่อนคลายกฎระเบียบให้สถาบันการเงินมีอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการช่วยเหลือลูกหนี้มากขึ้นเกิดการแข่งขันตามกลไกตลาดรวมถึงการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางประการที่ทำให้ SMEs ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยากลำบากในขณะนี้ยกตัวอย่างประเด็นข้อมูลเครดิตบูโรที่เป็นกำแพงสำคัญของ SMEs ในส่วนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ชี้แจงและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อโดยใช้ดุลยพินิจของธนาคารมากขึ้นรวมถึงประกาศจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตที่มีการผ่อนปรนลูกหนี้ที่มีปัญหาในสถานการณ์ COVID–19 ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดการเสียประวัติก็จะช่วยเสริมให้ SMEs ลดความกังวลและยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

4) สนับสนุนมาตรการภาครัฐเติมเงินกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเพื่อให้คนมาใช้จ่ายกับ SME มากขึ้นจำเป็นต้องเติมเงินเข้าโครงการคนละครึ่งจาก 3,000 บาทเป็น 6,000 บาทส่วนมาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ที่มีการใช้ที่ยุ่งยากและเงื่อนไขการใช้จ่ายก็จากัดไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก็ได้มีการเสนอให้ปรับเงื่อนไขใหม่หรือเสนอโครงการใหม่ในรูปแบบเดียวกับช๊อปดีมีคืนคือให้สามารถใช้จ่ายได้ทั้งก้อนและนำใบเสร็จในการซื้อสินค้าไปลดหย่อนภาษีปลายปีได้จะกระตุ้นทาให้คนมีฐานะเข้ามาใช้โครงการมากขึ้น

มาตรการที่ 2 วางรากฐานระยะยาวเพื่อการกลับมาประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน

1) หอการค้าไทยร่วมมือกับเครือข่ายวางโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เชื่อมและแชร์ระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SME ลดความซับซ้อนของข้อมูลเพื่อให้สถาบันการเงินใช้เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาให้สินเชื่อเงินกู้

2) ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านระบบ e-Factoring เพื่อให้ SMEs ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างรวดเร็วการจัดทำ Digital Supply chain Finance โดยร่วมกับสมาคมธนาคารไทยธนาคารสมาชิกและบริษัท ITMX เพื่อให้ SMEs ที่ขายของให้กับผู้ซื้อรายใหญ่เข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบ Post shipment financing นำระบบ e factoring มาใช้เพื่อให้เกิดความเชื่อมันว่าไม่เกิดการปลอมแปลงและใช้ข้อมูลซ้าซ้อนซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการน่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4 นี้

3) Ease of doing business การแก้ไขกฎระเบียบเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจซึ่งได้มีการระดมความเห็นจากผู้ประกอบการเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนา Sandbox ช่วย SMEs เข้าถึงแหล่งทุน

อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงและกระทบกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กหลายระลอกหากไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือหรือเยียวยาอย่างตรงจุดจะทำให้ SMEs หายไปจากระบบเศรษฐกิจหลายแสนรายดังนั้นจากโจทย์ที่ต้องการจะช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้หอการค้าไทยและสมาคมผู้ค้าปลีกไทยจึงได้ร่วมกันจัดโครงการ Sand Box ดังกล่าวขึ้น

โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของหอการค้าได้สร้าง Digital Factoring Platform โดยสมาคมค้าปลีกไทยเชื่อมโยงข้อมูลให้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งของภาครัฐและเอกชนข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเนื่องจากคู่ค้าของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ส่งข้อมูลให้มีการคัดกรองและพิจารณาประวัติการซื้อขายร่วมกันมาเบื้องต้นแล้วจึงทาให้ธนาคารสามารถพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้เร็วขึ้น

รวมถึงใช้เกณฑ์การพิจารณาเครดิตของห้างค้าปลีกเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยจะทำให้ SMEs สามารถได้รับเงินที่เร็วขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้นซึ่งจากการดาเนินการที่ผ่านมา SAND BOX กลุ่มธุรกิจอาหารและค้าปลีกของ CRC ร่วมกับ KBANK ได้มีการนา SMEs ที่เข้าโครงการนี้และได้สินเชื่อไปกว่า 10,000 รายโดยกว่า 70% ไม่เคยเข้าถึง Soft Loan เลยซึ่งทำให้ SMEs ได้สินเชื่อมาเติมสภาพคล่องเพื่อสามารถดาเนินธุรกิจต่อไปได้

“จากผลสำเร็จนี้ทาให้หอการค้าฯตั้งเป้าหมายที่จะขยายผลไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆในการปล่อย Soft Loan ให้กับ SMEs ทั่วประเทศจานวน 500,000 รายภายในสิ้นปีนี้โดยจะขยายผลไปยังธุรกิจอื่นรวมถึงรายย่อยด้วยโดยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งของธนาคารและสสว. ถือเป็นโครงการในลักษณะพี่ช่วยน้องเพื่อทำให้ภาคธุรกิจยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้” นายสนั่นระบุ

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยใช้แนวคิดในการทำงานด้วยการเชื่อมโยงหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่าง Connect the Dots ดังนั้นแต่ละภารกิจงานจะขับเคลื่อนตามความชำนาญของแต่ละส่วนและถูกนามาเชื่อมโยงกันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทั้งนี้เครื่องมือที่สาคัญที่เรานามาใช้คือเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาการดำเนินงานทุกอย่างต้องอาศัยความรวดเร็วแม่นยำและถูกต้องหอการค้าไทยจึงให้ความสาคัญกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ Transformation แนวทางการช่วยเหลือและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้หอการค้าไทยยังได้ร่วมกับสสว. ในความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลในระบบ SMEs Big Data ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สำคัญในการพัฒนาและเสริมศักยภาพของ SMEs ไทยซึ่งจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลของ SMEs และนำไปพัฒนาตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลภาคการพาณิชย์การค้าการบริการและการผลิตรวมถึงการพัฒนาระบบ Data Service ร่วมกันเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการดาเนินธุรกิจอาทิระบบประเมินสมรรถนะธุรกิจ (Benchmark) ระบบข้อมูลเตือนภัยทางธุรกิจ (Data warning) ข้อมูลพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจ (Data Prediction) เป็นต้นนับเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

บทความแนะนำ