ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) – เสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยคุณสมบัติของวัสดุ
วัสดุโลหะที่ผู้ประกอบการมีอยู่หรือได้ทำการสั่งเข้ามา จะรู้ได้อย่างไรว่ามีคุณสมบัติครบตามต้องการจริง ๆ และจะรู้ได้อย่างไรว่าวัสดุโลหะเหล่านั้น จะยังคงคุณสมบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องถูกนำไปใช้งานอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
.
ทดสอบไว้ ให้รู้จักคุณสมบัติของวัสดุ
โจทย์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัสดุโลหะ คือ เรื่องที่ทาง ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) มุ่งเน้นให้ความสำคัญที่จะหาคำตอบ ซึ่งหน้าที่หลักของทาง ศพว. ก็จะเป็นการทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ของโลหะ ตามโจทย์ที่ได้รับจากผู้ประกอบการ
อีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การตรวจสอบและประเมินอายุการใช้งานของเครื่องจักร ภาชนะรับแรงดัน หม้อน้ำ ไปจนถึงโครงสร้างทางวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบโดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิศวกรรมที่ได้มาตรฐานสากล
นอกจากหน้าที่ในการตรวจสอบคุณสมบัติ และตรวจสภาพเครื่องจักรโรงงานต่าง ๆ ยังมีในส่วนของงานวิจัย วิเคราะห์ความเสียหาย รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือในด้านปรับปรุงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
.
ตอบโจทย์การผลิตทุกระดับ
ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (ศพว.) ได้มีการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการพัฒนาความรู้ และพัฒนากระบวนการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการทุกระดับ ได้แก่
.
ศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาสมบัติของวัสดุ (ศพว.) มีความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมศักยภาพของผู้ประกอบการ SME และภาคอุตสาหกรรมการผลิต ให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ และได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
35 หมู่ 3 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2577-9264-79
E-mail: natapol_b@tistr.or.th
Website : www.tistr.or.th/MPAD/
Facebook: MaterialPropertiesAnalysisAndDevelopmentCentre
Youtube: TISTR2506
Line Official: @tistr
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ม.วลัยลักษณ์ – ออกแบบให้เป็นที่จดจำ
การที่ผู้ประกอบการจะเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์สักชิ้นหนึ่งนั้น ไม่ใช่เพียงแค่คิดว่าจะจะหยิบจับอะไรก็ได้ออกมาทำเป็นสินค้า แต่ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นควรต้องถูกคิดขึ้นจากการสังเกตเห็นความต้องการจากลูกค้าเป็นสำคัญ เมื่อพบแล้วจึงจะสามาถตั้งโจทย์ในการออกแบบได้ว่า “ควรจะสร้างผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้ตอบโจทย์อย่างโดดเด่นเป็นที่จดจำ”
.
คิดให้ครบจบทั้งวงจรอายุผลิตภัณฑ์
การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ออกแบบในรูปลักษณ์หน้าตาของบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้เห็นเพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ทั้งวงจรอายุ ที่จะมอบประสบการณ์ในการใช้งานให้ผู้บริโภคสามารถจดจำสินค้าของเรา ได้ท่ามกลางสินค้าที่วางจำหน่ายอยู่อย่างนับไม่ถ้วน
จึงเป็นสิ่งที่ทาง ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานออกแบบให้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ให้สามารถยกระดับสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยมาตรฐานในการออกแบบที่สามารถผลักดันผลิตภัณฑ์ให้ออกไปเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ หรือเติบโตไปไกลจนถึงขั้นสามารถส่งออกไปยืนโดดเด่นในตลาดระดับสากลได้
สิ่งแวดล้อมทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ตัวสินค้าภายใน บรรจุภัณฑ์ภายนอก ภาพลักษณ์ แบรนด์ดิ้ง ช่องทางสื่อสาร ไปจนถึงสื่อโฆษณานำเสนอผลิตภัณฑ์ ล้วนเป็นสำคัญที่ต้องออกแบบไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยให้เกิดภาพจำที่เข้มแข็งไปประทับติดอยู่ในการรับรู้ของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการนึกถึงสินค้าอยู่เสมอ ถึงแม้ยังไม่เกิดการซื้อขายในทันที แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการออกแบบเป็นอย่างดี ก็จะได้เปรียบกว่าเมื่อเกิดการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในตลาดที่มีความใกล้เคียงกัน เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเลือกให้กับผู้บริโภค
.
บริการออกแบบตั้งแต่ต้นจนจบ
ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ ของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบริการต่าง ๆ ที่ช่วยยกระดับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ ตั้งแต่ขั้นตอนการให้คำปรึกษา พัฒนางานออกแบบ ไปจนถึงส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังนี้
ออกแบบตราสัญลักษณ์ เป็นการออกแบบเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางธุรกิจ ให้เป็นที่จดจำ เป็นที่รู้จักได้อย่างชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างให้แบรนด์เข้มแข็ง
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของผู้ประกอบการ ให้มีความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งที่มีอยู่ในท้องตลาด
ออกแบบสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคทั่วไปได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์อย่างทั่วถึง ทั้งแบบออฟไลน์ และ แบบออนไลน์
สตูดิโอถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ สร้างความน่าเชื่อถือและมีระดับให้สินค้าโดดเด่น ดึงดูดใจ น่าใช้งานผ่านการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ระดับมืออาชีพ
.
ทางศูนย์นวัตกรรมการออกแบบมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี ซึ่งจะเป็นการช่วยต่อยอดโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดการบอกต่อ และเป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักได้ในวงกว้างต่อไป
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ (Innovation Design Center, IDC)
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
โทร. 0-7567-2963
Website : https://sciencepark.wu.ac.th/idc
Line Official: IDC_WUSTP
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา – ยกระดับผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรมชุมชน
งบประมาณที่จำกัดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ รวมมไปถึงการขาดความรู้ที่จะทำให้มองเห็นภาพรวมของโอกาสในช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ทำให้ขาดการปรับปรุงด้านผลิตภัณฑ์ ให้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วในท้องตลาด ส่งผลให้ไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคอย่างที่ควรจะเป็น
.
จับนวัตกรรม ใส่ลงผลิตภัณฑ์
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงต้องการที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการให้เข้าถึงความรู้ ไปจนถึงผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถจัดจำหน่ายต่อไปได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการด้านแปรรูปอาหาร ที่ใช้ทรัพยากรทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ
เมื่อผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัด ต่างเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในการยกระดับมาตรฐานให้กับกระบวนการในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านกำลังทรัพย์ กำลังการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีและการตลาด ทางอุทยานจึงมีบทบาทในการเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งขึ้น
.
เสริมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ
บริการที่ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่
การพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจ เป็นบริการต้องการให้ความรู้ แก่ผู้คนมากมายกลับมาพัฒนาธุรกิจที่ภูมิลำเนา เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ ทางสถาบันจึงเปิดอบรมบ่มเพาะธุรกิจและให้คำปรึกษาให้มีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในธุรกิจ
การเชื่อมโยงองค์ความรู้งานวิจัย เป็นประตูให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บริการทั้งในด้านขององค์ความรู้ในงานวิจัย ไปจนถึงการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้ากับนักวิจัยเพื่อหาช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ให้ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการทุกคนที่เดินเข้ามา
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ ทางอุทยานฯเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาใช้ห้องปฏิบัติการในการพัฒนาสูตร ตลอดจนทดสอบคุณสมบัติหาส่วนประกอบ เพิ่มสรรพคุณให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถที่จะทำการจับคู่ร่วมกันพัฒนาสินค้าไปพร้อมกับผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ ในชุมชนได้
บริการทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าผู้ประกอบการต้องการทราบข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่ก่อนแล้ว ก็สามารถเข้ามาขอใช้บริการในส่วนนี้ เพื่อนำงานวิจัยหรืองานต้นแบบที่มีทรัพย์สินทางปัญญา ไปพัฒนาต่อยอดให้สามารถออกไปเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป
.
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมที่จะให้การต้อนรับและสนับสนุนในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการ ได้นำไปพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมีมาตรฐาน ด้วยปณิธานว่า “ปัญญา เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ที่จะนำนวัตกรรมชุมชนออกไปสู่ระดับสากลให้เป็นที่รู้จัก โดยมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การพัฒนาวิสาหกิจที่เกื้อกูลต่อสังคม นึกถึงประโยชน์ต่อคนรอบข้างและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา / University of Phayao Science Park (UPSP)
ที่อยู่ : สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ชั้น 1 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(ปวง ธมฺมปญฺโญ) 19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000
โทรศัพท์: 054 466 666 ต่อ 3711 - 3714
Website : www.upsp.up.ac.th
E-mail: upscipark@outlook.com
Facebook: UPSciencePark
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab Thai) – ทดสอบให้มั่นใจว่าปลอดภัย
ผู้ประกอบการส่วนมากนั้น เมื่อได้ทำการผลิตสินค้าหรือนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่าย มักไม่ทราบถึงข้อกำหนดทางกฎหมายว่าสินค้าเหล่านั้น ต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานในด้านใดก่อนบ้าง เพื่อให้ได้การรับรองเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และปลอดภัยพอที่จะจัดจำหน่ายต่อไปจนถึงผู้บริโภคทั้งในประเทศไปจนถึงต่างประเทศ
.
มั่นใจปลอดภัย ทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก
เมื่อจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่จัดจำหน่ายภายในประเทศไทย จึงมีการจัดตั้งบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME โอท็อป วิสาหกิจชุมชน อย่างเต็มรูปแบบ ในการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของส่วนผสมภายในสินค้า ทั้งที่เป็นผลผลิตการเกษตร อาหาร ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยได้การรับรองมาตรฐานในระดับโลก
ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการกลาง จะแบ่งการให้บริการเป็น 2 การให้บริการใหญ่ ๆ ดังนี้
1.ด้านการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายในห้องแล็บทดสอบ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลากหลายห้องปฏิบัติการ
2.ด้านบริการตรวจรับรองมาตรฐานนอกห้องปฏิบัติการ ส่วนมากจะเป็นการลงพื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ โดยมุ่งเน้นพัฒนามาตรฐานและรับรองกระบวนการผลิต ไปจนถึงผลผลิตของภาคเกษตรกรรมให้มีความปลอดภัยทั้งในด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยจากสารปนเปื้อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการส่งออกไปยังผู้บริโภคที่ปลายน้ำ
.
ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) พร้อมให้ความช่วยเหลือกับทั้งทางด้านผู้ประกอบการ SME โอท็อป วิสาหกิจชุมชน รวมถึงมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงผลักดันให้สินค้าของทุกภาคส่วนในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ มีความปลอดภัยในคุณภาพของสินค้าและสามารถที่จะไปแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมั่นใจ
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
สาขา กรุงเทพมหานคร (ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน)
2179 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105546096453
โทร. 02940 5993, 02940 6881-3
โทรสาร: 02579 8527, 02940 5993 ต่อ 209, 268
E-mail: supportsale@centrallabthai.com
Facebook: centrallabthai
Line: centrallabthai
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone
สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน ม.ทักษิณ – พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดจากผลิตภัณฑ์
พื้นที่บริเวณจังหวัดพัทลุง รวมถึงจังหวัดโดยรอบ ถูกเรียกว่าเป็น อู่ข้าว อู่น้ำ ของภาคใต้ ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนหรือสินค้าโอท็อปขึ้นมาอย่างมากมาย แต่สินค้าเหล่านั้นก็ยังมีโจทย์สำคัญที่ต้องการการปรับปรุงอยู่ว่า จะมีวิธีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างไรบ้าง ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต การลดต้นทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าให้ผู้ประกอบการ การดูแลรักษามาตรฐานสินค้า เหล่านี้เป็นต้น
.
บ่มเพาะความรู้ พัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยทักษิณ เห็นความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ตลอดทั้งวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีการบ่มเพาะให้ความรู้ เข้าไปปรับปรุงกระบวนการผลิต สร้างช่องทางส่งเสริมการตลาดให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการ SME ไปจนถึงวิสาหกิจชุมชน
นอกเหนือไปจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มขึ้นแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่สามารถต่อยอดออกไปได้ก็คือ การที่สินค้าสามารถสร้างจุดขายและช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับจังหวัด จนสามารถยกระดับไปเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับช่วงหลังมานี้ที่จังหวัดพัทลุงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยทักษิณได้ดำเนินการพัฒนาสินค้าชุมชนให้ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับงานออกแบบสร้างจุดขายให้กับสินค้า ไปจนถึงการสร้างช่องทางการขายให้ไปถึงผู้บริโภคด้วยระบบออนไลน์ และมีการทำฐานข้อมูลสนับสนุนอย่างครบถ้วน เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวได้เห็นว่าจังหวัดพัทลุงเป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องมาท่องเที่ยวให้ได้สำหรับพวกเขา จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้กับทั้งจังหวัด จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน
.
บริการที่ทางสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชนมหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ได้แก่
บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาทางธุรกิจให้กับทั้งผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
บริการบ่มเพาะธุรกิจที่มาจากฐานนวัตกรรม เปิดให้ผู้ประกอบการสมัครเข้ามาอบรมรับความรู้จากวิทยากรไปจนถึงขั้นตอนการทำชิ้นงานต้นแบบ
บริการอุทยานวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพ คุณสมบัติต่าง ๆ ภายในผลิตภัณฑ์ พร้อมให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ได้ รวมถึงการร่วมมือกับภาคเอกชนในการทำงานวิจัยในเรื่องต่าง ๆ
ศูนย์ออกแบบนวัตกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการ ทั้งในภาคเอกชน ชุมชน รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยยึดแนวคิดการเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมเป็นสำคัญ
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ช่วยเหลือชุมชนให้มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบใหม่ ๆ จากสินค้าที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีทั้งทีมที่ปรึกษาและงบประมาณให้สำหรับการผลิตเพื่อพัฒนาสินค้าต้นแบบขึ้น
.
สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผู้ประกอบการทุกภาคส่วนภายในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง ให้เห็นภาพโอกาส เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากต้นทุนที่มี เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของจังหวัด สร้างให้เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้น และพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และภาคอุตสาหกรรม ให้มีความมั่นใจและก้าวไปข้างหน้าจนประสบความสำเร็จได้ในอนาคต
.
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
สำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ
222 หมู่ 2 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93210
โทร. 07-431-7600, 074-609600 ต่อ 7262
E-mail : tsu_direct@scholar.tsu.ac.th
Website : https://ubi.tsu.ac.th
Facebook: ICEI-TSU
สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone