7 กระแส เทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022

7 กระแส เทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลจะมีเทคโนโลยีให้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันเสมอ สำหรับ SMEs คนไหนที่ไม่อยากตกเทรนด์ วันนี้เราพาทุกคนมาส่องกับ 7 กระแสเทคโนโลยีมาแรงในโลกของผู้บริโภคปี 2022 ที่พูดถึงในเรื่องของ Consumer technology หรือ เทคโนโลยีทุกรูปแบบที่ผู้บริโภคทั่วไปใช้งานซึ่งต่างจากเทคโนโลยีที่ใช้เชิงพาณิชย์ ใช้ในงานราชการ หรือแวดวงกองทัพ โดยเทรนด์ consumer tech ที่คาดว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปีนี้ประกอบด้วย

 

Metaverse เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาแรงสุดแห่งปี คือการเชื่อมโลกดิจิทัลกับโลกจริงเข้าด้วยกัน อธิบายง่าย ๆ คือโลกเสมือนที่ผู้คนสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ และสามารถทำกิจกรรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ไม่ต่างจากโลกจริงโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์รองรับการเข้าถึงโลกเสมือน ได้แก่ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) โดยผ่านตัวตนที่เป็นอวตาร (avatar) ซึ่งเป็นกราฟฟิก 3 มิติแทนตัวเรา

Blockchain กระแสความนิยมในเทคโนโลยีบล็อคเชนหรือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางก็พุ่งทะลุเพดานทันที ไม่ว่าจะเป็น nonfungible tokens (NFTs) –สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีชิ้นเดียวในโลก หรือ cryptocurrency-สกุลเงินดิจิทัล เชื่อว่าเทคโนโลยีบล็อคเชนจะถูกนำไปใช้ในหลายแวดวงธุรกิจ เช่น ธุรกิจประกัน โลจิสติกส์ ธนาคาร และธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ 

Smart homes การระบาดของโควิด-19 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับบ้านเปลี่ยนไป การต้อง work from home เอื้อให้ผู้คนใช้เวลาและใกล้ชิดกับเคหะสถานของตนเองมากขึ้น จึงไม่แปลกที่จะเกิดการมองหาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก คอนเซปต์ Smart homes หรือ “บ้านอัจฉริยะ” จึงเป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจในปี 2022

Electric cars ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าความต้องการรถไฮบริดและรถไฟฟ้าพุ่งสูงมาก ทำให้ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เร่งพัฒนารถไฟฟ้าเพื่อปล่อยสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดรถไฟฟ้าจะดูสดใส แต่ก็ยังมีอุปสรรคบางประการให้เห็น เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เพียงพอ และการขาดแคลนชิปที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งในรถยนต์

Fitness Gadgets จากวิกฤติโควิดที่ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็จะออกแนวดูแลสุขภาพด้วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย นอกจากอาหารการกินก็เพิ่มการออกกำลังกายเข้ามา อุปกรณ์ประเภท Fitness Gadgets ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่ง ต่างเร่งพัฒนาอุปกรณ์ดูแลสุขภาพที่จะให้ข้อมูลแม่นยำเกี่ยวกับสุขภาพและการทำงานของร่างกายโดยพยายามออกแบบให้มีขนาดเล็กกระทัดรัดพกพาสะดวกใช้งานง่ายขึ้น   

Foldable Monitors จอภาพหรือมอนิเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยุคดิจิทัลแบบขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจอมือถือ จอแท็บเล็ต จอแล็ปท้อป หรือจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จะทำงานนอกบ้านหรือที่บ้าน จอสี่เหลี่ยมเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนเสมอ ปี 2022 มีแนวโน้มจะได้เห็นจอมอนิเตอร์ในอุปกรณ์เหล่านั้นมีความยืดหยุ่นขึ้น ด้วยเทคโนโลยี OLED (Organic Light Emitting Diodes) จะทำให้จอที่เคยแข็งกระด้างสามารถพับได้

Gaming Gets Better เหล่าบรรดาเกมเมอร์ตั้งตารอได้เลย เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเทคโนโลยี เช่น อาจจะเป็นเครื่องเล่นที่พกพาสะดวกขึ้น หรือระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากเดิม และไม่เพียงราคาจะเอื้อมถึงแต่ยังจะนำมาซึ่งประสบการณ์ล้ำ ๆ ให้ด้วย ยกตัวอย่างการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะที่จะทำให้เกมเมอร์สามารถสนุกไปกับเกมได้อย่างสมจริง  สามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหวของตัวละครหรือคาแรคเตอร์ในเกมโดยใช้แว่นเสมือนจริง 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/tech/7784.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

SME ก็ทำได้ แบ่งสรร ปัน แจก หุ้นให้พนักงาน เครื่องมือมัดใจคนเก่งให้อยู่กับองค์กร

SME ก็ทำได้ แบ่งสรร ปัน แจก หุ้นให้พนักงาน เครื่องมือมัดใจคนเก่งให้อยู่กับองค์กร

 

การเป็น SME ก็สามารถแบ่งสรร ปัน แจก หุ้นให้กับพนักงานได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคอร์ปอเรทขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว ซึ่งในระดับสากลอาจจะคุ้นเคยกับการที่บริษัทฯ มีการแจกหุ้นสามัญของบริษัทให้กับพนักงานทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับซีอีโอจนถึงพนักงานระดับล่างสุด

 

สำหรับในประเทศไทยจะคุ้นเคยกับสิ่งนี้ว่า ESOP โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยหลักการของการแจกหุ้นให้กับพนักงานก็คือการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานและแสดงถึงความมีส่วนร่วมของคนในองค์กร

 

สำหรับประเทศไทยในปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกหลักเกณฑ์ PP-SME เปิดโอกาสให้บริษัทจำกัดสามารถขาย ESOP ให้กับกรรมการและพนักงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจบุคลากรที่มีศักยภาพให้อยู่ร่วมงานกับกิจการได้ โดยการเสนอขายหุ้นจะทำได้ไม่จำกัดวงเงิน ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงทุน และไม่ต้องยื่นเอกสารคำขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. เพียงแต่ต้องแจ้งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกิจการให้พนักงาน และรายงานผลการขายให้ ก.ล.ต. ทราบเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตามแต่ละองค์กรอาจจะมีหลักเกณฑ์ในการขายหุ้น ESOP ให้กับพนักงานที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางแห่งอาจจะไม่ได้ให้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นหรือเสนอวาระต่างๆ ให้กับบอร์ดบริหาร โดยจะได้รับเพียงแค่สิทธิในการรับเงินปันผลเท่านั้น

 

สำหรับพนักงานระดับล่างก็สามารถให้สิทธิประโยชน์ในรูปแบบเดียวกับผู้บริหารระดับสูงได้เช่นกัน เพียงแต่การเปลี่ยนมือของหุ้นอาจจะเกิดขึ้นถี่กว่าเนื่องจากพนักงานระดับล่างมักจะมีอัตราการ Turn Over ที่สูงกว่าพนักงานระดับบน บางองค์กรอาจจะเลือกแจกหุ้นในรูปแบบของ Warrant ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเป็นการแจกฟรีให้กับพนักงานและสามารถใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ตามระยะเวลาที่กำหนด สัดส่วนการแจกหุ้น ESOP ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าจะจัดสรรให้กับพนักงานในแต่ละระดับในสัดส่วนเท่าไร โดยทั่วไปแล้วหุ้น ESOP สำหรับพนักงานทั่วไปมักจะไม่เกินระดับ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด

 

โดยข้อดีของการแจกหุ้น ESOP นอกเหนือจากการสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานรวมถึงเป็นกำลังใจในการทำงานแล้วยังช่วยสร้างผลตอบแทนทางอ้อมให้กับพนักงานทางอ้อมอีกด้วย สำหรับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรบุคคลและไม่ติดปัญหาทางด้านการเงินก็ควรจะพิจารณาเรื่องของ ESOP ให้กับพนักงานก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/7133.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

เจาะทิศทางโลกการค้าออนไลน์ ปี 2022

เจาะทิศทางโลกการค้าออนไลน์ ปี 2022

 

หากพูดถึง อี-คอมเมิร์ซ บอกเลยว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดมาแรง และเป้นที่นิยมอยู่ในช่วงนี้ เพราะผู้ประกอบการ ที่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ต่างต้องแย่งชิงพื้นที่ เพื่อให้ธุรกิจอยู่บนโลกออนไลน์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด วันนี้ SME ONE ได้นำเคล็ดลับดีๆ จากคุณ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com มาฝากชาว SMEs ทุกคน

รู้ทันเทรนด์ อี-คอมเมิร์ซ ตอนนี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง?

 

Marketplace เป็นช่องทางการขายที่เติบโตสูงสุดของวงการ อี-คอมเมิร์ซ จากการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของ Lazada, Shopee และ JD Central ทำให้ช่องทางการขายนี้เริ่มมีสัดส่วนทางการตลาดที่เติบโตขึ้น

Social Media แม้จะยังเติบโตอยู่ แต่การที่ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะให้แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน หรือผู้ให้บริการต่างๆ สามารถติดตามได้หรือไม่ ส่งผลให้การยิงโฆษณาของโซเชียลมีเดีย ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญเริ่มมีความแม่นยำน้อยลงนั่นเอง

O2O Marketing ต่อไปจะขายออนไลน์หรือออฟไลน์อย่างเดียวไม่ได้ เพราะต้องผสานทั้งสองช่องทางเข้าด้วยกัน โดยร้านค้าจะเริ่มเปลี่ยนตัวเองเป็น Automation หรือระบบอัตโนมัติมากขึ้น เช่น การขายสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Vending Machine)

D2C เมื่อออนไลน์ทำให้ผู้ขายและลูกค้าเข้าใกล้กันมากขึ้น จึงเกิดเทรนด์ใหม่อย่าง D2C (Direct to Consumer) หรือการที่แบรนด์และโรงงานขายสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจและทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มซื้อของต่อครั้งในปริมาณที่มากขึ้น 

Data อาวุธหลักช่วยให้ธุรกิจสำเร็จ เพราะเราสามารถจดบันทึกว่าช่วงเวลาไหนขายดี สินค้าไหนขายดีที่สุด ยอดขายแต่ละวันเป็นอย่างไร ลูกค้าเข้ามาในร้านค้ากี่คน ลูกค้าเป็นใคร อายุเท่าไร ซึ่งการมีข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้สามารถต่อยอดและวางกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น 

อ้างอิง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/SMEStory/Pages/online-trend-2022.aspx 

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ

ทำความเข้าใจกับ Growth Mindset แบบไหนถึงพาธุรกิจโตไม่มีหยุด

ทำความเข้าใจกับ Growth Mindset แบบไหนถึงพาธุรกิจโตไม่มีหยุด

 

การประกอบธุรกิจ ไม่ใช่มองแค่เรื่องการแผนงานที่ดี เงินทุน หรือไอเดียเริ่ดเพียงอย่างเดียว การที่เราจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ต้องมี Growth Mindset หรือแนวคิดแบบพัฒนาไปข้างหน้า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะแต่ละคนมี Mindset หรือกระบวนการทางความคิดที่แตกต่างกัน โดยกระบวนการคิดนี้ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น ถ้าเรามี Mindset ที่ดีก็ย่อมจะช่วยพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าได้

Growth Mindset คือ ทัศนคติเชิงบวก มีแนวคิดของการเติบโตพัฒนาไปข้างหน้า มีความยืดหยุ่น การปรับตัว เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ และมีความเชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ได้ตลอดเวลา ดังนั้น ในการทำธุรกิจหากสามารถมีวิธีคิดแบบ Growth Mindset และมองว่าทุกปัญหาที่เข้ามาไม่ใช่อุปสรรคแต่เป็นความท้าทาย ย่อมจะทำให้โอกาสที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นจริงได้

การมีวิธีคิดแบบ Growth Mindset ไม่ใช่เรื่องยาก ลองมาทำตาม 7 วิธีคิดต่อไปนี้ดูแล้วจะพบความเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจ

1.มีความเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติบนโลกใบนี้ ยิ่งเปลี่ยนแปลงยิ่งทำให้เราเติบโตขึ้น ส่วนคนที่มี Fixed Mindset มักจะกลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ

2.เรียนรู้จากความล้มเหลว เพราะความล้มเหลวคือโอกาสสำคัญที่เราจะได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด แล้วจะปรับปรุงแก้ไขจุดบอดของตัวเอง

3.ไม่ปกปิดด้านลบของตัวเอง ไม่ใช่ทุกคนที่เกิดขึ้นมาสมบูรณ์แบบ แม้ว่าคุณจะเก่งแค่ไหนก็ยังมีด้านลบของตัวเองเช่นกัน และคนที่มี Growth mindset จะพยายามถามหาฟีดแบคจากคนอื่นเสมอเพื่อให้เขาพัฒนาตัวเองไปสู่จุดที่ดีขึ้น 

4.ชอบเผชิญสถานการณ์ที่ท้าทาย ความท้าทายทำให้เราได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองอยู่เสมอ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่มี Growth mindset  จึงชอบงานยากๆ และไม่เคยคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ 

5.คนเราพัฒนาได้จากการเรียนรู้ พร้อมรองรับองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่เคยปิดกั้นและคิดว่าตัวเองเก่งกว่าใคร เพราะเขาคิดว่าคนเราพัฒนาได้จากการเรียนรู้ 

6.ไม่ยึดติดผลลัพธ์ ทุกผลลัพธ์นำไปสู่การพัฒนา ทุกเรื่องที่ลงมือทำไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาแบบไหน หากสิ่งที่ทำออกมาดี ก็ดูว่าตรงไหนที่ดีและพัฒนาต่อไป ส่วนตรงไหนที่ออกมาแย่ก็เก็บไว้เป็นบทเรียนเพื่อให้ไม่ผิดพลาดซ้ำ  

7.อุปสรรคไม่ใช่ปัญหา แต่คือโอกาสที่จะได้ลอง เพราะบางทีเราต้องเจออุปสรรคในชีวิตที่เข้ามาทักทายกัน และสำหรับคนที่มี Growth mindset เขาไม่เคยกลัวอุปสรรค แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสที่จะได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เมื่อไรที่ก้าวข้ามอุปสรรคนั้นไปได้ก็จะทำให้คุณเก่งขึ้น 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/startup-startingabusiness/7700.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

 

 

บทความแนะนำ

Checklist ก่อนคิดนำบริษัทเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์

Checklist ก่อนคิดนำบริษัทเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์

 

หากพูดถึง SME หรือ Startup ที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ถึงระดับหนึ่งอาจจะเริ่มมองหาโอกาสที่จะนำกิจการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะขยายธุรกิจ ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจระดมทุน วันนี้ SME ONE อยากให้ Startup ทุกคนมา Checklist เตรียมความพร้อมใน 5 ประเด็น ต่อไปนี้

 

ระบบบัญชีได้มาตรฐานหรือยัง

สาเหตุที่ทำให้ SME หรือ Startup ไม่สามารถที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เพราะขาดมาตรฐานการทำระบบบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้การรับรอง ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีที่จะต้องอยู่ในรายชื่อของ ก.ล.ต. ระบบการลงบัญชีที่มีการซ้ำซ้อนหลายฉบับ ตลอดจนวิธีการได้มาซึ่งรายได้ที่มีความน่าสงสัยเช่น ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่สามารถระบุที่มาได้อย่างชัดเจน การวางมาตราฐานบัญชีจากธุรกิจในครอบครัวเพื่อเตรียมตัวสู่มหาชนอาจต้องใช้เวลานานถึงสามปี ผู้ที่มีความคิดจะเข้าตลาดหุ้นจึงต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้าพอสมควร

 

วัตถุประสงค์ของการระดมทุน

พราะจะบ่งบอกว่าธุรกิจจะมีทิศทางเป็นอย่างไรในอนาคต ส่วนมากแล้ววัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อที่จะนำไปใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโต แต่บางครั้งวัตถุประสงค์ของการเข้าตลาดหุ้นก็อาจจะมีเพื่อลดภาระหนี้สินได้เช่นกัน ซึ่งประวัติที่ผ่านมากิจการที่ใช้วัตถุประสงค์ดังกล่าวมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรวมถึงราคาหุ้นหลังเข้าจดทะเบียน ผู้ประกอบการจึงต้องพิจารณาถึงแนวทางการระดมทุนให้ดีเสียก่อน

 

โครงสร้างทางการเงินในอนาคต

เจ้าของกิจการจำเป็นต้องวางโครงสร้างทางด้านการเงินเอาไว้เป็นแผนระยะยาวของบริษัททั้งก่อนและหลังเข้าตลาดหุ้น เช่น จะใช้เงินขยายธุรกิจจากการกู้เงินธนาคาร ออกหุ้นกู้หรือการเปิดรับผู้ถือหุ้นใหม่ในเชิง Strategic Partners เพราะนี่คือคำถามที่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องขอคำตอบจากเจ้าของกิจการ ซึ่งโครงสร้างทางด้านการเงินจะนำไปสู่แผนการขยายธุรกิจในอนาคต

 

โครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังระดมทุน

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นก็คือโครงสร้างของผู้ถือหุ้น แม้กิจการส่วนใหญ่มักจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือครอบครัวเดียว แต่บางกิจการก็อาจจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งกลุ่มเช่นมีการเสนอขายหุ้นนอกตลาด (OTC) หรือมีกลุ่มนักลงทุนวีซีหรือนักลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องวางโครงสร้างของผู้ถือหุ้นไว้ว่าหลังเข้าตลาดหุ้นแล้วจะมีกลุ่มใดบ้าง หากจะมีการเปิดรับพันธมิตรหน้าใหม่เข้ามาอาจจะต้องมีการตกลงพูดคุยกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม

 

การแบกรับความคาดหวังจากผู้ถือหุ้น

การเป็นบริษัทจำกัดอาจจะมีผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มแต่การเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหุ้นเจ้าของกิจการต้องรับมือกับความคาดหวังของผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในกิจการของเรา ปัจจัยนี้คือสิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องเตรียมตัวรับมือเอาไว้ด้วย

 

อ้างอิง : https://www.smethailandclub.com/finance/6889.html

 

สำหรับช่องทาง SME ONE เพิ่มเติม
Facebook: SMEONE
Youtube: SMEONE
Line: @smeone

บทความแนะนำ