
ในยุคดิจิทัล หรือ Thailand 4.0 ที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจกับการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเอง เพราะความสะดวกจากเครื่องมือดิจิทัล ที่ช่วยให้ง่ายต่อการขยายไอเดียและเพิ่มช่องทางการตลาดมากขึ้น จึงถือเป็นความท้าทายของ SME ในการปรับตัวแข่งขันและหาทางรอด
มาดู 5 คำแนะนำจากกูรูในงาน TMB SME on Tour 2018 ทั้ง คุณณัฐวีร์ ตันติสัจจธรรม Digital Marketing Guru, คุณนายกษิต ฮุนพงษ์สิมานนท์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสพัฒนากลยุทธดิจิทัล ทีเอ็มบี และคุณนาขวัญ พงศ์พฤกษทล เจ้าของแบรนด์ผลไม้อบแห้ง NanaFruit ว่ามีอะไรไปปรับใช้กับธุรกิจของเราได้บ้าง
เพราะพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถนำไปวัดผลได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อการทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะมัวคาดเดา เราสามารทำธุรกิจบนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง
แพล็ตฟอร์ม หรือเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ในการทำการตลอดออนไลน์นั้นมีมากมาย ควรเลือกใช้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น
การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือทำให้สินค้าหรือบริการของเราน่าสนใจมากขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำยอดขายเพิ่มขึ้น อย่างเช่นการ นำระบบจัดการคิวดิจิทัล มาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ต้องต่อคิวยาวหรือรอคิวนาน จนเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นแทน
ปัจจุบันมีบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ทั้ง QR Code, Prompt Pay และบริการ Mobile Banking ต่างๆ SME สามารถหยิบตรงนี้มาเพิ่มโอกาสในการค้าขายได้
Published by mangozero.com on 2 April 2017
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ปัจจุบันมีตัวช่วยทางเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ SME สร้างเครือข่ายและดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย Google My Business เครื่องมือจาก Google ที่เปิดให้เจ้าของธุรกิจได้ลงทะเบียนสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ เมื่อมีการเสิร์ชก็จะเจอชื่อธุรกิจพร้อมรายละเอียดต่างๆ ของเราโชว์บน Google Search และ Google Maps
Google My Business มีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์อย่างการสร้างเว็บไซต์ ปรับแต่ง อัพโหลดรูปภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของเรา โดยสามารถอัพเดตให้ทันสมัยได้อยู่เสมอ พร้อมทั้งสามารถดูสถิติ คอมเมนท์ และรีวิวจากลูกค้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ในการบริหารธุรกิจถ้าเป็นขนาดเล็กก็ไม่ค่อยมีปัญหานักเจ้าของคนเดียวก็ยังเอาอยู่ แต่ถ้าเริ่มเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางที่เริ่มมีหลายส่วนหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง การจ้างคนเก่งมาช่วยบริหารเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การคัดเลือกให้ได้คนเก่งนั้นยากนัก เพราะคนเก่งส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ บริษัทมหาชนที่มีชื่อเสียงมีหน้ามีตา เงินเดือนสูงๆ ในในธุรกิจ SMEs นั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องนี้อยู่พอสมควร นอกเสียจากว่าจะยอมทุ่มเงินให้เงินเดือนเยอะๆ ไม่น้อยหน้าบริษัทใหญ่ หรือไม่ก็จ้างซัพพลายเออร์เฉพาะด้านที่เค้าเก่งเรื่องนั้นๆ เช่นเรื่องบัญชี ก็มีบริษัทที่เป็นมืออาชีพรับทำให้จะได้แบ่งเบาภาระเรื่องคนไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าของธุรกิจจะต้องมีความรู้ในทุกๆเรื่องเพื่อจะได้ดูแลกิจการให้อยู่ยั่งยืนตลอดไป
6.การสืบทอดตำแหน่ง ทายาทธุรกิจ
เนื่องจากเป็นธุรกิจครอบครัว การสืบทอดตำแหน่งส่วนใหญ่ก็ให้เฉพาะลูกหลานหรือคนในตระกูลเดียวกันเท่านั้น ถ้าลูกหลานที่จะมาสืบทอดกิจการเป็นคนเก่ง คนดี ขยัน ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ถ้าสแกนดูแล้วในบรรดาลูกหลานไม่มีใครเอาอ่าว ก็ต้องยอมรับว่าการจ้างคนนอกมาบริหารกิจการเป็นเรื่องที่จำเป็น เรื่องนี้ต้องยอมรับให้ได้เพราะเรายึดความเป็นธุรกิจเป็นหลัก ต้องรู้จักไว้ใจคนอื่นบ้าง เพราะถึงแม้จะเป็นคนอื่นมาบริหาร แต่ถ้าเค้ามีความรู้มีความสามารถก็อาจจะช่วยให้บริษัทเจริญเติบโตแข็งแรงมั่นคง แต่ถ้ายอมรับไม่ได้จริงๆ อย่างไรเสียก็ต้องเป็นคนในตระกูลเท่านั้น อีกทางหนึ่งที่จะทำได้คือจ้างที่ปรึกษามาช่วยดูแล แต่ก็ต้องยอมรับค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร
7.เงิน ๆ ทอง ๆ ไม่เข้าใครออกใคร ใช้จ่ายไม่เป็นระบบ
เจ้าของธุรกิจ SMEs บางคน เมื่อทำธุรกิจไปได้สักพัก เริ่มเติบโตขึ้น เงินก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องการใช้เงินให้ดี ต้องแยกออกระหว่างเงินของกิจการกับเงินส่วนตัว ทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่าใช้มั่วจนเพลิน ใช้ไปใช้มาทำไมเงินหมด อ้าว ก็ฉันรวย ฉันเงินเยอะ ฉันซื้อรถหรู แต่ฉันลืมไปว่ากิจการต้องใช้เงิน เรื่องนี้จะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ อย่าหลงใหลไปกับความฟุ่มเฟือยเพราะหายนะรออยู่ข้างหน้าแน่นอน
Published by taokaemai.com on 30 july 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือ สตาร์ทอัพที่สำเร็จได้ สิ่งที่คุณจะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือการหาพนักงานคนเก่งเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้บริษัทของคุณเดินหน้า แต่การหาคนที่ใช่ พนักงานที่ดี ๆ มันใช่ว่าจะหาง่ายกันซะที่ไหน พวกเราชาว SME ก็เจอปัญหาน่าปวดหัวกับเรื่องนี้กันมาตลอดในการหาพนักงาน มันคืออะไรเราไปดูกัน
บริษัท SME ส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงเปิดแรกๆ เจ้าของธุรกิจจะต้องเป็นคนหาพนักงานเอง วิธีหาก็หนีไม่พ้นการ ปากต่อปากกันมา หรือไปโพสจ็อบบนเว็บหางาน เช่น JobBKK, Jobtopgun, JobsDB อะไรแบบนี้ซึ่งก็ต้องภาวนากันไปว่าจะได้คนดีๆมาสมัครมั้ย การหาคนแบบนี้เรียกว่าเป็น Passive Recruitment คือ รอ! มันเหมือนการซื้อหวยแล้วรอให้ถูกรางวัลซึ่งก็ไม่รู้จะถูกรึเปล่า
วิธีแก้ ต้องมาฝึกทำ Proactive Recruitment คือออกไปตกปลาหาแคนดิเดทตามที่ต่างๆ ที่แคนดิเดทน่าจะอยู่ เช่นหาจาก LinkedIn, Facebook, Twitter การหาตาม Social media นอกจากจะต้องรู้ว่าหายังไง ก็ต้องรู้ด้วยว่าจะพูด หว่านล้อม โน้มน้าวพวกเขาอย่างไรให้เขามาสนใจบริษัทของคุณด้วย
บริษัท SME ที่ยังไม่มีชื่อเสียง ไม่ดังเท่าบริษัทใหญ่ ๆ โอกาสที่จะได้มาซึ่งคนเก่งๆก็จะน้อยกว่า สมมุติว่าจะหาพนักงานมาทำงาน เช่นหา Software Developer มาสร้างแอพพลิเคชั่น แล้วอยากได้คนเก่งๆ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงให้เค้ามาสนใจนอกจากการจ้างที่แพงขึ้น ซึ่งบริษัทก็งบไม่ได้เยอะ สุดท้ายก็ต้องหาคนที่พอถูไถทำได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
วิธีแก้ ถึงจะเล็กกว่า ชื่อเสียงน้อย ก็ไม่ใช่ว่าจะหาคนเก่งๆ ดีๆมาร่วมงานไม่ได้เลยเสมอไป บริษัทต้องขายอย่างอื่น นอกจากการเพิ่มเงินอย่างเดียว เช่นการทำ Employer Branding (การสร้างภาพลักษณ์องค์กร) ให้น่าทำงาน วัฒนธรรมองค์กรดี มีวิถีการทำงานที่น่าสนใจ คุณควรเรียนรู้วิธีการทำ Content Marketing ที่ช่วยให้แคนดิเดทรู้จักคุณมากขึ้น และโน้มน้าวให้พวกเขามาสนใจที่อยากทำงานในบริษัทของคุณ
เนื่องจากว่าคนที่หาพนักงานในช่วงแรกๆคือ เจ้าของธุรกิจเอง ซึ่งไม่ได้ถนัดเรื่องการหาคน สัมภาษณ์คน ไม่รู้ว่าจะต้องถามอะไรดีเพื่อให้รู้ว่า คนที่สัมภาษณ์อยู่เป็น “คนที่ใช่” หรือ “คนที่ไม่ใช่” สรุปก็เลยใช้อารมณ์ ความรู้สึก ความถูกชะตา หรือแม้แต่โหงวเฮ้ง หรือหน้าตา มาเป็นตัววัด และเดาว่าคนนี้น่าจะเป็น ”คนที่ใช่ “และหยวนๆจ้างมาก็ได้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็น “คนที่ไม่ใช่” และเพิ่มรอยหยักความปวดหัวให้คุณ
วิธีแก้ เจ้าของธุรกิจ หรือบุคคลที่ทำหน้าที่รีครูทต้องฝึกทักษะการสัมภาษณ์คนให้มีหลักการ มีแบบแผน ตัววัดว่าอะไรคือสิ่งที่บริษัทของคุณมองหาในตัวแคนดิเดท ต้องใช้ตรรกะในการมองหาคนที่ใช่มากกว่าความรู้สึก
Published by techsauce.co on 7 july 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
หากย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน จดหมายอิเลคทรอนิกส์ หรืออีเมล์ เป็นเรื่องใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับการทำ Direct Marketing ที่จากเดิมส่งจดหมายขายโดยตรงถึงผู้รับผ่านทางไปรษณีย์ กลายมาเป็นส่งตรงผ่านทางอีเมล์ ซึ่งทำให้ต้นทุนการจัดส่งถูกลงกว่ามาก ตราบเมื่อโซเชียลมีเดียอย่าง เฟสบุ๊ค ไลน์แอท อินสตาแกรม ฯลฯ เข้ามาแทนที่ อีเมล์มาร์เก็ตติ้งจึงกลายเป็นของเก่าที่หมดยุคไปทันที กระนั้น นั่นคือภาพจำเก่าของคนที่ไม่ได้รู้ลึกรู้จริง ซึ่งในความเห็นของผู้รู้อย่าง ประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ทาง SCB SME เชิญมาแลกเปลี่ยนเรื่องราวของ อีเมลมาร์เก็ตติ้ง กันนั้นกล่าวว่าอีเมล์เป็นเหมือนยักษ์หลับที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้ก้าวกระโดดแบบยั่งยืน ซึ่งอีเมล์สามารถสร้างออร์เดอร์ได้สูงกว่าการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดียถึง 3 เท่า เพราะการสื่อสารผ่านทางอีเมล์จะให้ความรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวที่เจ้าของสินค้าส่งตรงถึงผู้รับ หรือลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
“จากผลสำรวจของ MailChimp พบว่าอีเมล์มาร์เก็ตติ้งช่วยเพิ่มยอดขายได้ถึง 13% สูงกว่า Social Ads อีก และได้ผลที่คุ้มค่ากว่าด้วย อีเมล์ที่สามารถสร้างความสนใจให้ลูกค้าได้ จะได้ ROI หรือยอดขายหลักหักต้นทุนค่าโฆษณาถึง 3,800% เปรียบได้กับการใช้เงิน 1 ดอลลาร์ ได้รายได้กลับคืนมา 38 ดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้มีการเปิดเผยของแม่ค้าออนไลน์รายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้อีเมล์มาร์เก็ตติ้งสร้างรายได้ให้ตัวเองได้ถึง 3 ล้านบาทต่อปี ฉะนั้นถ้าเข้าใจ และทำเป็น อีเมล์มาร์เก็ตติ้งจะสร้างยอดขายได้มากเลยทีเดียว
“หลักสำคัญคือก่อนส่งเมล์ต้องคิดก่อนว่าลูกค้าอยากได้อะไร เพื่อการนำเสนอที่ตรงจุดจนกลับมาสู่การขายได้ โดยเส้นทางของการทำอีเมล์มาร์เก็ตติ้ง คือส่งแล้วมีผู้รับ ผู้รับเปิดอ่าน และมีการเปิดไฟล์แนบ หรือคลิ๊กลิงค์ตามที่เราต้องการ ซึ่งกลยุทธ์มีหลากหลายมาก อย่างในระบบ E-commerce เราจะเห็นว่าคนที่เข้ามาในเว็บ และหยิบของใส่ตะกร้าแล้ว แต่ไม่ซื้อมีเยอะมาก ในจำนวนนี้ถ้าเราส่งอีเมล์ตามไปภายหลังพร้อมข้อเสนอส่วนลดพิเศษ จะทำให้เราได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 30% เพราะการที่เขาไม่ซื้อ ไม่ใช่เพราะไม่สนใจ แต่อาจเพราะยังไม่พร้อมในเวลานั้น การส่งอีเมล์ไปกระตุ้นอีกครั้งจึงช่วยปิดการขายได้เพิ่มขึ้น”
ข้อดีของการส่งอีเมล์ คือ พฤติกรรมของคนที่เปิดอีเมล์ ส่วนใหญ่จะให้เวลากับการค่อยๆ เปิดดูทีละเมล์ และอ่านรายละเอียดต่างๆ อย่างใจเย็น ซึ่งส่วนใหญ่รู้อยู่แล้วว่าเมล์นั้น คือเมล์ขายของ นั่นหมายถึงคนที่เปิดเมล์อ่านมีความสนใจในตัวสินค้าอยู่แล้วระดับหนึ่ง ซึ่งต่างจากข้อความสื่อสารผ่านทางโซเชียล ซึ่งมีลักษณะเร่งเร้าการตัดสินใจมากจนเกินไป และปัจจุบันมีมากจนคนเอือมระอา และกลายเป็นสาเหตุให้เฟสบุ๊คต้องปรับฟีดที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคลง
“หากลูกค้าเปิดอ่านและรับรู้ข่าวสารที่เราส่งไปก็หมายความว่าเขาต้องการสินค้าหรือบริการนี้จริงๆ ไม่ได้ถูกเรายัดเยียดและไม่รู้สึกรำคาญสิ่งที่เราส่งไปมากนัก ที่สำคัญคือ อีเมล์สามารปรับแต่งให้เป็นส่วนตัวได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราคลิ๊กขึ้นเป็น 10% เพราะผู้รับจะรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัว เปรียบเหมือนเราส่งตรงถึงเขาเป็นพิเศษ นอกจากนี้อีเมล์ยังสามารถเชื่อมต่อกับเฟสบุ๊คเพื่อยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีชื่อเฟสบุ๊คของลูกค้าเลย มีเพียงแค่ที่อยู่อีเมล์ก็สามารถทำได้แล้ว โดยสั่งให้เฟสบุ๊คช่วยค้นหาให้ว่าที่อยู่อีเมล์นั้นใช้เฟสบุ๊คชื่ออะไร”
อย่างไรก็ตาม การทำอีเมล์มาร์เก็ตติ้งให้เกิดประสิทธิพลดังข้างต้นได้นั้น ประสิทธิ์บอกว่าต้องอาศัยเครื่องมือจาก ผู้ให้บริการการจัดการอีเมล์มาร์เก็ตติ้ง หรือ Email Marketing Service ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการทางด้านนี้เยอะมาก โดยประสิทธิ์ได้นำเสนอบริการของ MailChimp เพราะมีฟีเจอร์พื้นฐานครบ ใช้งานง่าย ที่สำคัญคือเวอร์ชั่นฟรีสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมที่จะจ่ายตังค์ แต่ก็จะถูกจำกัดการใช้งานในบางฟีเจอร์ที่มีประโยชน์ในขั้นแอดวานซ์ไปบ้าง
ทั้งนี้ในการทำอีเมล์มาร์เก็ตติ้งให้ได้ผลดี คุณประสิทธิ์แนะนำว่าให้เลือกเฟ้นอีเมล์ที่มีคุณภาพมาใส่ในลิสต์ กล่าวคืออีเมล์ในลิสต์รายชื่อจะต้องได้มาโดยความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อป้องกันการถูกตราหน้าว่าเป็นสแปม ซึ่งกลยุทธ์เพื่อให้ได้อีเมล์มาอย่างถูกต้องนั้นมีหลากหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดคือการเก็บบนเว็บไซต์ของเราเอง โดยการติด Subscription Form ไว้ในที่ต่างๆ บนเว็บไซต์เพื่อกระตุ้นให้คนที่สนใจเลือก Subscribe ด้วยตัวของพวกเขาเอง
“ยิ่งไปกว่านั้น คือ MailChimp จะมีฟีเจอร์ให้ผู้รับเลือก Unsubscribe หรือยกเลิกการติดตามได้ด้วย ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวกรองที่จะช่วยให้ผู้รับที่เหลือ คือกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพ มีโอกาสสูงในการขาย การใช้งานก็ง่าย เพียงแค่เราจัดเตรียมรายชื่ออีเมล์ และสร้างเนื้อหาของอีเมล์ที่ต้องการส่งในรูปแบบข้อมูล ซึ่งอาจสอดแทรกรูปภาพ วิดีโอ หรือลิค์ได้ จากนั้นระบบก็จะทยอยส่งอีเมล์ที่เราสร้างขึ้นไปยังรายชื่ออีเมล์ทั้งหมดภายในครั้งเดียว แต่มีข้อแม้ว่าถ้าใช้เวอร์ชั่นฟรี เราจะส่งได้แค่ 2,000 รายชื่อเท่านั้น โดยสามารถส่งได้สูงสุด 12,000 ครั้ง
“อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ การส่งอีเมล์อัตโนมัติ และการส่งซ้ำ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องส่งอีเมล์แบบเดิม ซ้ำๆ เราสามารถตรวจสอบได้ว่าอีเมล์ที่ส่งไปนั้น ไปถึงมือผู้รับกี่คน ในจำนวนนั้นมีคนเปิดอ่านอีเมล์กี่คน และคลิ๊กลิงค์กี่คน จากข้อมูลตรงนี้ เราสามารถตั้งค่าให้ระบบส่งซ้ำไปถึงคนที่ยังไม่ได้รับ หรือไม่ได้เปิดอ่าน หรือคลิ๊กลิงค์ได้ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เราสามารถทำการทดสอบอีเมล์ 2 ฉบับ ก่อนทำการส่งจริงได้ โดยเลือกที่จะส่งอีเมล์ไปให้คน 2 กลุ่มเล็กๆ โดยใส่หัวข้อ หรือเนื้อหาที่ต่างกัน แล้วดูว่าอีเมล์ไหนคนเลือกเปิดมากที่สุด ก่อนจะเลือกอีเมล์นั้นส่งไปให้กลุ่มคนที่เหลือทั้งหมด ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำอีเมล์มาร์เกตติ้งให้ประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น”
คุณประสิทธิ์กล่าวในตอนท้ายว่า ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นเพียงประโยชน์พื้นฐานของ Email Marketing Service ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ยังมีลูกเล่นอีกมากที่ทำให้อีเมล์มาร์เก็ตติ้ง เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการทำตลาดที่ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันไม่ควรมองข้าม สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับลูกเล่นต่างๆ ที่ Email Marketing Service มี ทดลองใช้ให้คล่อง ซึ่งหากใช้เป็นแล้วอีเมล์สามารถทำอะไรได้หลายอย่างที่เครื่องมือยอดฮิตของคนไทยในยุคนี้อย่างเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม หรือไลน์แอทไม่สามารถทำได้
Published by scbsme.scb.co.th
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย