
ประเทศที่ส่งสินค้าเข้าประเทศเวียดนามในอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วน ผ้าผืน ก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์ดูจากสถิติการส่งออกของประเทศไทยและศักยภาพในการผลิตของประเทศเวียดนามแล้วพบว่า
อุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป มีโอกาสมากที่สุด เนื่องจากจำนวนโรงงานแปรรูปผลไม้ในเวียดนามยังมีไม่มาก และโรงงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการผลิต รวมถึงยังขาดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยส่วนมากยังเป็นผลไม้กระป๋องและผลไม้อบแห้ง ขณะเดียวกันโรงงานแปรรูปผลไม้ยังขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ นักลงทุนไทย จึงสามารถส่งออกผลไม้สดคุณภาพดีจากไทย อาทิ ทุเรียน มังคุด มะม่วง และลำไย เข้าไปแปรรูปในเวียดนามได้ ซึ่งนักลงทุนไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าไปยังเวียดนามโดยปราศจากภาษีศุลกากร นอกจากนี้ การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปเวียดนามก็มีความสะดวกมากขึ้น โดยใช้เส้นทาง R12 ที่เชื่อมโยงจากกรุงเทพ-นครพนม ประเทศไทย ไปที่แขวงคำม่วน สปป.ลาว และไปยังจังหวัดกว๋างบิ่งห์ เวียดนาม ระยะทาง 1,383 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่สั้นกว่าและมีต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกกว่าเส้นทางขนส่งทางบกอื่น ๆ
10 สินค้าส่งออกติดอันดับ
1.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
2.ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
3.หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ
4.ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า
5.ผ้าผืนและด้าย
6.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
7.วงจรพิมพ์
8.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า
9.ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ
10.เครื่องสืบเชื้อเพลิงของเหลว
Published by scbsme.scb.co.th on 19 May 2017
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ใส่ไอเดียใหม่ให้ธุรกิจค้าปลีก ขยายตลาดด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เจ้าแม่แห่งธุรกิจค้าปลีก – ส่ง “คุณกิ๊ฟ-แคทลียา ท้วมประถม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีไซน์ เอสเซนเชียล จำกัด และ “คุณนดา-วิริยา ท้วมประถม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ณราดา เอเชีย จำกัด สองพี่น้องคนเก่งที่ฝ่าฟันสังเวียนสุดหินในสำเพ็งได้สำเร็จ จนนำพาธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 2 ไปสู่รุ่นที่ 3 ได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยหมัดเด็ด บริการถึงใจคนค้าปลีก-ส่ง ทำให้คนในครอบครัวยอมรับการบริหาร รู้วิธีขายของเดิมที่มีด้วยไอเดียใหม่ และปิดท้ายด้วยการบริหารสต็อกอย่างมีแพลน ประสบการณ์ต่อสู้ที่ผ่านมา จึงทำให้ทั้งสองออกอาวุธเฉียบคม จนมาเป็น Mentors ประจำ SCB Business Center สาขาสำเพ็ง
-อยากบุกคนรุ่นใหม่ ต้องเปลี่ยนใจคนรุ่นเก่า เริ่มจากทำธุรกิจเล็ก ๆ ไม่ต้องลงทุนเยอะ ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ ทางบ้านจะไว้วางใจให้เราทำงานใหญ่
-จริงใจพร้อมแก้ปัญหา สยบดราม่าบนโซเชียล ความรวดเร็วในการแก้ปัญหาคือคีย์สำคัญ อย่าชะล่าใจเพราะเรื่องแบบนี้ถูกส่งต่อในออนไลน์ได้เร็วมาก
-ขยายธุรกิจด้วยไอเดียใหม่ ถ้าเดิมทำของชำร่วยในงานแต่งงาน แค่ลองเปลี่ยนให้เป็นโลโก้บริษัทต่าง ๆ ก็ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว
-วางแผนสต็อกตามเทรนด์โลก อยากบริหารสต็อกให้ขายดีต้องวางแผน 3 เรื่อง 1. แพลนล่วงหน้าก่อนถึงเทศกาล เอาของเดิมมาประยุกต์ตามเทศกาลเพื่อระบายของ 2.ตั้งเป้ายอดขาย เพื่อจะสั่งสินค้ามาให้พอดี ไม่หมดก่อนขาย หรือไม่เหลือเมื่อหมดเทศกาล 3. รู้รายละเอียดสินค้าให้ดีว่าใช้เวลากี่วันในการผลิต การขนส่งอีกต้องเผื่อไว้กี่วัน และเผื่อเวลาผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นด้วย
Published by scbsme.scb.co.th on 6 November 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ใช้โลกออนไลน์ช่วยขยายธุรกิจ รักษาลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่
สังเวียนการตลาดออนไลน์ ต้องยกให้นักชกตัวจริงท่านนี้ “คุณบู้ – บุรินทร์ เกล็ดมณี” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด ผู้ให้บริการ Digital Marketing Service แบบครบวงจร ที่คลุกวงในโลกออนไลน์มากว่า 17 ปี โดยเฉพาะตลาด E-Commerce ที่ต้องเกาะขอบเวทีให้ทันเทรนด์ ปล่อยหมัดรัวด้วยคอนเทนต์น่าสนใจ คลุกวงในรู้จักลูกค้าเก่าและใหม่ให้ดี ใช้ Big Data ช่วยฮุกยอดขาย แตกและโตด้วยการสร้างตัวตนบนออนไลน์ หมัดเด็ดเคล็ดลัดเหล่านี้ สามารถไปขอคำปรึกษาดี ๆ ได้จากคุณบู้ ซึ่งเป็น Mentor ประจำ SCB Business Center สาขาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 ฝั่งอิเซตัน
-เทรนด์ตลาดออนไลน์ตอนนี้ เจ้าของธุรกิจต้องรู้จุดเด่นของสินค้า รู้กลุ่มเป้าหมาย และรู้ว่าเราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร แล้วนำมาช่วยในการทำคอนเทนต์ ใส่คำคีย์เวิร์ดให้ง่ายต่อการค้นหา
-เก็บข้อมูลลูกค้าเก่า เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ ลูกค้าบนออนไลน์มีสองกลุ่ม กลุ่มแรกต้องการเรา กลุ่มที่สองคือไม่ต้องการเรา ซึ่งกลุ่มแรกจะเสิร์ชหาทำให้เรามีโอกาสได้ขายของ ส่วนกลุ่มที่สอง เราเก็บพฤติกรรมเขาไว้ เพื่อโปรโมทได้ตรงจุด
-การเพิ่มยอดให้เติบโตก้าวกระโดด มี 3 ข้อ 1. เก็บ Big Data เพื่อมาใช้ต่อยอด 2. ทำ Online Customer Service มีคนจริงๆ คอยตอบคำถามด้วยใจรักงานบริการ 3. Online to Offline หรือ Offline to Online มีหน้าร้านให้ลูกค้าดูของ แล้วค่อยชวนเขามาซื้อบนออนไลน์
-การมีร้านออนไลน์จะช่วยขยายฐานลูกค้าให้มีอยู่ทั่วประเทศไทย แค่เสิร์ชก็เจอร้านเรา พอลูกค้าฐานกว้างขึ้น สเกลงานก็ใหญ่ขึ้นตามความหลากหลายของลูกค้า สร้างมูลค่าได้มากกว่าเดิม
Published by scbsme.scb.co.th on 6 November 2018
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
การรับไม้ต่อในฐานะทายาทรุ่นที่ 2 ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นับเป็นความท้าทายของคุณพันธ์ภูวดล จารุโชติรัตนสกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเน็คเทรด จำกัด ที่ต้องนำพาทั้งธุรกิจเดิมให้อยู่รอดและมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตไปข้างหน้าได้มากยิ่งขึ้น
รู้ทัน Disruption ปรับธุรกิจให้ไว
จากธุรกิจดั้งเดิมตั้งแต่ยุคบุกเบิกของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเน็คเทรด จำกัด ที่สร้างแบรนด์ “อิงค์แมน” ขึ้นมา เพื่อดำเนินธุรกิจศูนย์บริการเติมน้ำหมึกแบบครบวงจร ซึ่งในอดีตยามธุรกิจรุ่งเรืองสามารถขยายสาขาได้มากถึง 60 สาขา แต่ปัจจุบันด้วยการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่างทำให้จำนวนสาขาค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 16 สาขาเท่านั้น และนั่นอาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า ธุรกิจกำลังได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption คุณพันธ์ภูวดล เริ่มเท้าความให้ฟังถึงเส้นทางการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอิงค์แมน
“ความท้าทายของการเป็นทายาทรุ่นที่ 2 นอกจากเรื่อง Disruption แล้ว ยังต้องเจอกับโจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจครอบครัวเกิดความยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงการ Disruption นั้น ถือเป็นสิ่งที่หลายคนรู้อยู่แล้วว่ามันมาแน่นอน โดยสามารถเปรียบเทียบกับสัตว์ 3 ชนิด ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามที่มากับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Elephant in the Room หรือช้างในห้อง เปรียบเสมือนภัยคุกคามที่เห็นได้ชัด มาแน่นอน และธุรกิจมีการปรับตัวทัน ยกตัวอย่างการคมนาคม อย่างการทำรถไฟฟ้า ต่อมาคือ Black Swan หรือหงส์สีดำ เป็นการ Disrupt ที่มองไม่เห็นและเกิดขึ้นแบบจู่โจม เช่น น้ำท่วม เหตุการณ์ 9/11 และสุดท้ายคือ Gray Rhino หรือแรดสีเทา ภัยคุกคามทางธุรกิจที่เราเห็น แต่ไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่าง เพราะคิดแค่ว่าเดี๋ยวมันก็สูญพันธุ์ไปเอง ดังนั้น การเอาตัวรอดให้ได้ในยุค Digital Disruption จำเป็นที่ SME ต้องรู้จักปรับตัว มองให้ออกว่าอะไรเป็นภัยคุกคามที่จะเข้ามาทำลายธุรกิจของเรา”
คุณพันธ์ภูวดล ยอมรับว่า ธุรกิจในกลุ่มไอซีทีถือเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ถูก Disrupt ทำให้การทำงานของนักธุรกิจไอทีรายนี้ต้องทำเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว เพื่อให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ได้นั้นยังคงเดิม และต้องทำการขายสาขาบางส่วนออกไป เพื่อลดความเสี่ยง ลดต้นทุน ลดการจัดการ และลดคน ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวอย่างหนึ่งที่ธุรกิจเลือกหยิบมาใช้
“จากคำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่า ไม่ใช่สัตว์ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอดได้ แต่เป็นสัตว์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองกับสภาพแวดล้อมได้เร็วที่สุดต่างหาก ในการทำธุรกิจก็คงไม่ต่างกัน ซึ่งเราทำการปรับตัวโดยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์เข้ามาสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงหน้าร้าน เราสร้างเว็บไซต์ให้กับทุกหน่วยการขายของเรา รวมถึงใช้ช่องทางออนไลน์อื่นๆ เช่น Facebook, Line@, YouTube และการทำคลิปวิดีโอ ซึ่งอย่างน้อยเจ้าของธุรกิจควรจะรู้ว่า เครื่องมือเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร ใช้อย่างไร และถ้าต้องการลงโฆษณาต้องทำอย่างไร”
ต่อยอดธุรกิจใหม่ คว้าโอกาสที่มากขึ้น
นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนธุรกิจเดิมแล้ว การแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อย้ายสนามแข่งขัน ถือเป็นการเพิ่มโอกาสและการอยู่รอดให้กับธุรกิจ
“เราพยายามปรับตัวธุรกิจไม่ให้อยู่แค่ในการพิมพ์กระดาษเท่านั้น โดยเราไปพิมพ์สิ่งอื่นที่สามารถสร้างมูลค่าให้ได้มากกว่า เป็นการนำเอาความเชี่ยวชาญและแก่นของธุรกิจดั้งเดิมทั้งหมดมาประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจใหม่ๆขึ้นมา การ Diversify หรือการแตกยอดไลน์ธุรกิจ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารเองอาจจะต้องมองหาโอกาสที่จะขยายไลน์สินค้าไป ถ้าเราหยุดแค่วันเดียวเราก็ตาย เพราะโลกตอนนี้มันแคบลงเรื่อยๆ ทุกคนมีมือถือ เขาสามารถเข้ามาเป็นคู่แข่งของคุณได้เพียงแค่ข้ามคืนเท่านั้นเอง”
โดยไฮไลท์สำคัญของบริษัทในการแตกไลน์ธุรกิจ นั่นคือ การพัฒนาเครื่องพิมพ์สีผสมอาหารลงบนสินค้าเบเกอรี่ (Bakery) ภายใต้แบรนด์ PimCake ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ ให้มากยิ่งขึ้น และยังเป็นการแสดงจุดยืนในการที่จะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองทางด้านงานพิมพ์ได้อย่างครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีแบรนด์ S&P (เอส แอนด์ พี) เป็นหนึ่งในลูกค้ารายสำคัญ
“ตลาดพิมพ์เบเกอรี่จริงๆ แล้วมันใหญ่กว่าตลาดพริ้นเตอร์ที่เราทำอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งมูลค่าตลาดเบเกอรี่เฉพาะแค่เค้กและขนมปังนั้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดเครื่องพิมพ์มีมูลค่าอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท แตกต่างกันถึง 3 เท่า เราอยู่ในวงการงานพิมพ์ ซึ่งวันนี้คนพิมพ์กันน้อยลง โดยสิ่งที่เขาจะพิมพ์นั้น จะเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางจิตใจ ทางเวลาและสมควรเก็บ เพราะฉะนั้น งานพิมพ์ของเราจะเป็นอะไรที่ต้องมีความจำเป็นแล้วเท่านั้น แล้วเราก็ดีใจที่ได้เจอตลาดที่อาหารสามารถพิมพ์ได้ นับเป็นการสร้างโอกาสธุรกิจให้มีมากขึ้น”
เปิดเคล็ดลับการปรับตัวแบบ SME
พร้อมกันนี้ คุณพันธ์ภูวดล ยังเผยถึงเคล็ดลับของการปรับตัวว่า สิ่งสำคัญคือ คิดได้ต้องลงมือทำทันที ไม่ต้องรอให้เสร็จและสมบูรณ์แบบทุกอย่างก่อนถึงจะลงมือทำ ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้ก็ได้ถูกปลูกฝังให้กับพนักงานด้วย จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปในที่สุด
“ศิลปะอย่างหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้คือ นิสัยและพฤติกรรมของคนในองค์กร บริษัทของเราอาจจะโชคดีที่ถูกปลูกฝังให้ปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่บ่อยมากและลงมือทำเร็วมาก เลยกลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรไปแล้ว ที่พนักงานจะต้องเรียนรู้สินค้าใหม่เดือนถัดไป พนักงานฝ่ายเทรนนิ่งมีหน้าที่เอาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มาไปแจกจ่ายให้กับหน้าร้าน หน้าร้านจะมีผู้จัดการที่คอยรับเรื่องและจ่ายต่อให้กับพนักงานในร้าน การเทรนนิ่งคน อาจฟังดูง่าย แต่เป็นอะไรที่ปวดหัวมากที่สุด ในฐานะของผู้นำองค์กรเราจะต้องหาวิธีพัฒนาบุคลากรของเราอยู่เสมอ เช่น ทางบริษัทจะทำการอัดคลิปถ่ายอธิบายถึงสินค้าใหม่ๆ ว่าเป็นอย่างไร ราคาเท่าไร และต้องขายอย่างไร ให้พนักงานล็อคอินเข้ามาดูแทนการเข้าประชุม ซึ่งสามารถดูตอนไหนก็ได้ที่พนักงานสะดวก”
“นอกจากนี้ ยังต้องปรับกรอบความคิดหรือ Mindset ให้กับบุคลากรในองค์กร เช่น พนักงานอิงค์แมนเป็นชุดเดียวกับที่ทำ PimCake ก็ต้องมีการปรับ Mindset ให้ใหม่ เพราะคนที่อยู่ในวงการไอที เขาจะคิดในเชิงของขั้นตอนเป็นหลัก พอมาเป็นธุรกิจเบเกอรี่ เขาต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้เก่งคอมพิวเตอร์ ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และไม่มีความรู้เรื่อง Photoshop หรือ AI ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทาย เราจึงพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อว่า Photo Cake Designer Pro ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับผู้ประกอบการร้านเบเกอรี่หรือร้านกาแฟที่ทำกราฟฟิกไม่เป็น”
ถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า การปรับตัวนั้นสำคัญแค่ไหน ยิ่งในยุคที่ทุกธุรกิจสามารถถูก Disruption ได้อย่างง่ายๆ ใครเปลี่ยนก่อน แก้เกมได้ทัน ชัยชนะและโอกาสความสำเร็จย่อมตกเป็นของคนนั้น
Published on 3 July 2019
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
บันไดขั้นแรกของการเปลี่ยนผ่านองค์กรธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลคือ การนำกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาปรับใช้ในงานที่ทำเป็นประจำ หรืองาน routine เช่น งานเอกสารต่าง ๆ ที่องค์กรสามารถเซ็ตระบบอัตโนมัติเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ ซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยลดเวลาและภาระต้นทุนต่าง ๆ ได้
ซึ่ง Robotic Process Automation หรือ RPA คือ ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากและงานประเภทที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซึ่งระบบ RPA จะเข้าไปจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน เช่น เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึกต่างๆ เป็นต้น
ผลสำรวจ Adoption of RPA in Asia-Myth or Reality? ของ PwC ที่ผ่านมาคาดการณ์ว่า ระบบอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ มากกว่า 45% และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั่วโลกได้มากถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราวกว่า 65 ล้านล้านบาท โดยประเมินตลาด RPA ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 2.9 พันล้านบาทในปี 2021 (เติบโต 203%) ข้อมูลเหล่านี้ตอกย้ำให้เห็นถึงกระแสดิจิทัลดิสรัปชั่นที่ยังคงถาโถมองค์กรธุรกิจทุกหย่อมหญ้า สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีองค์กรธุรกิจรายใหญ่ ๆ หลายรายเดินหน้าประกาศกลยุทธ์และพัฒนาบริการใหม่ๆ เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ “ความเป็นดิจิทัลอย่างเต็มตัว” ซึ่งได้สร้างกระแสการตื่นตัวให้กับธุรกิจรายอื่นๆ ที่ยังมีความกังวลและกำลังวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติกันอยู่
ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากกระบวนการ RPA
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของโซลูชั่น RPA ที่ตอบโจทย์งานเอกสารดิจิทัลสำหรับองค์กร ได้แก่
นอกจากการปรับใช้กระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติที่ล้ำสมัยแล้ว ผู้บริหารองค์กรสามารถวิเคราะห์ ออกแบบและวางแผนล่วงหน้า หรืออาจปรึกษาบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยจัดการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพงานที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเบาภาระงานที่เคยใช้แรงงานมนุษย์ในการปฏิบัติการเป็นหลัก เพื่อให้มนุษย์ทำงานที่สำคัญกว่าเดิม บริษัทที่ควรนำระบบอัตโนมัติ RPA เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร คือ บริษัทที่กำลังเผชิญกับปัญหาของระบบงานหลังบ้านที่มีปริมาณธุรกรรมมากมายมหาศาลในรูปแบบเดิมๆ ทุกๆ เดือน มีต้นทุนจากการจ้างแรงงานจากภายนอกอีกหลายร้อยคน
Published on 25 April 2019
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย