SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
โครงการส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน (PP-SME) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นโครงการส่งเสริมให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนได้มากขึ้น โดยสามารถขายหุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพได้ต่อบุคคลในวงจำกัด โดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต
โดยผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825
รายชื่อกิจการ (นิติบุคคล) ที่ผ่านการลงทะเบียนทั้งหมด ณ เดือนสิงหาคม 2567 ดังนี้
สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smeone.info/posts/view/4825
ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ คลิก!!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาทำการ โทร. 02-263-6232, 02-033-9520, 02-298-3171
หรือทางอีเมลที่ : sme@sec.or.th , info@sme.go.th
SMEONE “เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย”
ต่อยอดกิจการครอบครัวอย่างไรให้กลายเป็นจุดเปลี่ยน
เคยสังเกตไหมว่ากิจการครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่เราเห็นๆ กัน เปิดมา 50-60 ปี เปลี่ยนถ่ายจากรุ่นสู่รุ่นแล้วก็ยังดำเนินธุรกิจกันแบบเดิมๆ ด้วยความเคยชิน แล้วก็อยู่กันแบบนั้น ยิ่งนานวันยิ่งเหมือนต้นไม้ที่แคระแกรน รอวันร่วงโรยไปตามกาลเวลา
ในทางกลับกัน เราจะเห็นว่ากิจการครอบครัวที่เติบโตงอกเงยแผ่กิ่งก้านสาขาจนกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ ปัจจัยสำคัญมาจากการสร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจ โดยอาศัยความได้เปรียบจากการวางฐานธุรกิจจากรุ่นพ่อ เสมือนระบบรากใต้ดินที่แข็งแรง มาต่อยอดในช่วงเปลี่ยนผ่านของรุ่นลูก โดยนำเอาโนว์ฮาวความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เหมือนอย่าง คุณสุภลัคน์ พูลเสถียร หรือนุ่น ทายาทรุ่นที่ 3 ของ “ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียง” ที่ทำให้ข้าวเหนียวมะม่วงที่บุกเบิกมาจากรุ่นปู่ในจังหวัดชุมพรเมื่อ 40 ปีก่อน มาไกลกว่าเดิมในฐานะข้าวเหนียวมะม่วงที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศ
จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มาจาก “ความตั้งใจ” ที่อยากจะยกระดับให้ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงในรุ่นพ่อที่ขายตามตลาดนัด ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ด้วยการเข้าสู่แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีตั้งแต่ปี 2558 โดยในตอนแรกนั้นยังไม่มีสาขาหน้าร้าน
คุณนุ่นรู้ดีว่า การเป็นข้าวเหนียวมะม่วงเจ้าแรกๆ ที่บุกเบิกขายในช่องทางดังกล่าว จำเป็นต้องหารูปแบบการขายที่เหมาะกับการสั่ง และการจัดส่ง ซึ่งประสบการณ์การตระเวนขายข้าวเหนียวมูล และปอกมะม่วงขายด้วยตัวเองตามตลาดนัดออฟฟิศทั่วกรุงเทพฯ ทำให้คุณนุ่น มองเห็นพฤติกรรมลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเมืองว่าชอบหรือไม่ชอบมีอะไร นิยมปริมาณการกินแบบไหน นั่นจึงเป็นที่มาของการออกแบบเซ็ตของข้าวเหนียวมะม่วงออกเป็นไซส์ เป็นเจ้าแรกของตลาด โดยแบ่งออกเป็น 3 ไซส์ S M L ตามประเภทของลูกค้า
S ข้าวเหนียว 1 ขีด มะม่วงครึ่งลูก ราคา 50 บาท จับกลุ่มผู้หญิงที่อยู่บ้านคนเดียว หรืออยู่ในออฟฟิศต้องการกินมะม่วง แต่กลัวอ้วน
M ข้าวเหนียว 2 ขีด มะม่วง 1 ลูก ราคา 80 บาท จับกลุ่มลูกค้าทั่วไปจำนวน 1-2 คน
L ข้าวเหนียว 4 ขีด มะม่วง 2 ลูก ราคา 150 บาท จับกลุ่มครอบครัว
ในเวลาเดียวกัน ก็ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า พร้อมสร้างคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงแรกจะแนะนำว่าแต่ละไซส์เหมาะกับการกินแบบไหน หรือเหมาะกับใคร เรียกได้ว่าเป็นการ Educate ตลาดเพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อได้อย่างเหมาะสม และชี้ให้เห็นถึงความสะดวกสบาย สั่งซื้อได้จากบ้านหรือออฟฟิศได้เลย
ปรากฏว่าไซส์ S เป็นไซส์ที่ขายดีที่สุด เพราะนอกจากจะรองรับกลุ่มลูกค้าคนเดียวแล้ว ยังเป็นที่นิยมสำหรับคนที่นำไปจัดอาหารว่างในงานประชุมสัมมนา งานเลี้ยง หรือถวายพระ
ไม่เพียงเท่านั้น คุณนุ่นยังมองหา “ความแตกต่าง” ให้กับธุรกิจของเธอต่อไป ด้วยการใช้แพ็กเกจจิ้งกระดาษ เจาะกลุ่มตลาดที่ให้ความสำคัญกับโลกร้อน หากลูกค้าสั่งในปริมาณมากก็ยิ่งมีส่วนช่วยลดการใช้พลาสติก
แต่ลำพังแค่ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นเซ็ต S M L และกล่องรักษ์โลกคงไม่สามารถเรียกความสนใจจากลูกค้าได้มากพอ ต่อมาไม่นาน จุดเปลี่ยนของกิจการครอบครัวก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเธอใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาจากสายท่องเที่ยวและโรงแรม นำมาต่อยอดจนสร้างความแตกต่างให้กับข้าวเหนียวมะม่วงทั่วไป ด้วยการการแกะสลักมะม่วงให้กลายเป็นโปรดักท์ใหม่ “เค้กข้าวเหนียวมะม่วง” เป็นเจ้าแรกของตลาด และกลายเป็นแบรนด์ที่โด่งดังมากในโลกโซเชียล
เพราะเค้กข้าวเหนียวมะม่วงเป็นการขยายตลาดไปสู่ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ซื้อไปจัดงานเลี้ยง และด้วยรูปลักษณ์ของสินค้าที่ใช้ข้าวเหนียวมูลรองเป็นฐานเหมือนเค้กก้อนกลมๆ และมีมะม่วงรูปดอกกุหลาบอยู่ข้างบน ความแปลกใหม่ดังกล่าวทำให้ลูกค้านำไปโพสต์ลงโซเชียล และส่งผลให้แบรนด์ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นกว่าเดิม
และปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เค้กมะม่วงของข้าวเหนียวเจ๊เตียงแจ้งเกิดตลาดได้อย่างรวดเร็ว มาจากการตั้งราคาที่ไม่แตกต่างจากเค้กขนมปังทั่วไป นั่นคือ 1 ปอนด์ 350 บาท 2 ปอนด์ 450 บาท และ 3 ปอนด์ 580 บาท
เสียงตอบรับที่ดีจากตลาด ทำให้คุณนุ่นตัดสินใจเปิดร้านข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียงในย่านสุทธิสาร ต่อมาได้ขยายสาขาเพิ่มเติมในย่านรังสิต และในปี 2564 คุณนุ่น มีแผนที่จะขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านรูปแบบแฟรนไชส์ โดยในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเซ็ตระบบเพื่อรักษามาตรฐานข้าวเหนียวเจ๊เตียงให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกับสาขาใหญ่
มาถึงอีกตัวอย่างหนึ่ง “ร้านแม่นงนุช” ซึ่งเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วงเหมือนกัน และสามารถต่อยอดกิจการครอบครัวให้เติบโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยชูจุดขายความเป็นสินค้าโฮมเมดจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายมาเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วงชื่อดังของหัวหิน ที่ใครมาเยือนต้องแวะเช็คอินทุกครั้ง โดยมีคุณอัจนิริยา ศิลปะสุนทร์ ซึ่งผันตัวเองจากงานพีอาร์ ออแกไนซ์มาสานต่อกิจการของคุณย่าเป็นเจ้าของกิจการร้านแม่นงนุชในรุ่นที่ 3
คุณอัจนิริยา กล่าวว่าวิธีที่จะต่อยอดกิจการครอบครัวให้เติบโตมากกว่าเดิมได้นั้น เธอเริ่มต้นจากการรักษาคุณภาพความอร่อยให้ได้ก่อน เพื่อให้ลูกค้ายอมรับว่าแม้จะเปลี่ยนมือมาสู่ทายาทรุ่นใหม่แล้ว แต่รสชาติไม่เปลี่ยนแปลงจากรุ่นบุกเบิก ถือเป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีกับแบรนด์ เป็นจุดตั้งต้นให้ธุรกิจต่อยอดไปทำอะไรอื่นได้อีกมากมายในอนาคต โดยต่อมาได้ขยายโปรดักท์ขนมหวานอื่นๆ และอาหารคาว อาทิ น้ำพริกมะยม น้ำพริกมะขามสด ม้าฮ่อ และข้าวตัง เป็นต้น
สิ่งที่ทำให้ร้านแม่นงนุชสามารถรักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่องนั้น การทำตลาดก็เป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยในระยะแรกคุณอัจนิริยา นำประสบการณ์ด้านการทำพีอาร์มาสร้างแบรนด์ร้านแม่นงนุช ด้วยการเปลี่ยนถุง จากเดิมเป็นถุงกระดาษสีชมพูที่ใช้ใส่ขนมหม้อแกง มาเป็นถุงสีน้ำตาล พร้อมเปลี่ยนโลโก้ตัวอักษรแม่นงนุชให้เป็นฟ้อนท์ลายมือเพื่อสะท้อนความเป็นสินค้าโฮมเมด ต่อมาได้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากแนะนำเมนูต่างๆ แล้วยังสร้างคอนเทนต์ที่บ่งบอกถึงสตอรีของร้านแม่นงนุชว่าเป็นร้านข้าวเหนียวมะม่วง 80 ปีในตำนานคู่เมืองหัวหิน
การรักษามาตรฐานด้านรสชาติและความอร่อยจนกลายเป็นร้านขนมในตำนานของหัวหินนี่เอง ทำให้ในระยะหลังมานี้มีพันธมิตรหลายรายอย่างดีแทค และแสนสิริ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมการตลาดกับร้านแม่นงนุช เท่ากับเป็นการขยายฐานลูกค้าให้กว้างออกไปจากเดิม
แต่จำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นนั้น คุณอัจนิริยา กล่าวว่ายังไม่มีแผนเพิ่มสาขา เพราะต้องการให้ร้านแม่นงนุชแห่งนี้ยังคงเป็นร้านโฮมเมดต่อไป
อย่างไรก็ดี ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของร้านแม่นงนุช ทิ้งท้ายว่าการสานต่อกิจการครอบครัวนั้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่นก็สามารถสร้างจุดเปลี่ยนให้เติบโตได้ หากทายาทรุ่นปัจจุบันหาจุดแข็งของคนรุ่นก่อนให้เจอแล้วนำมารักษาให้ได้ตามมาตรฐานเดิม จากนั้นพยายามหาอะไรใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในธุรกิจ อย่าหยุดพัฒนาสิ่งที่ดีให้ดีขึ้นไป ก็จะทำให้กิจการขยายตัวต่อไปได้ไม่ยาก
Published on 3 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
"มาตรวิทยา" เสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยการวัด
มาตรวิทยา เป็นเรื่องของการวัดและการกำหนดมาตรฐานการวัด โดยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ทุกแขนงเพื่อให้สามารถทำการวัดได้อย่างแม่นยำ และถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ส่งผลให้ผลการวัดเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผลการวัดเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการยกระดับธุรกิจ
1) วิจัย/พัฒนานวัตกรรมการวัด เครื่องมือวัด มาตรฐานอ้างอิง และซอฟท์แวร์ ที่เหมาะสม และจำเพาะกับธุรกิจท่าน
2) ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ เพื่อการพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการวัด ให้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
3) ศูนย์เครื่องมือวัดขั้นสูงเพื่อการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เพื่อรับรองลักษณะเฉพาะ ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ https://forms.gle/mo2ztxCoYBkYPnuS8
4) ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำ เพื่อการพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีมาตรวิทยา
5) ประเมินความคุ้มค่า และให้คำแนะนำในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการ
อ่านเพิ่มเติม : http://smes.nimt.or.th/
Published on 3 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย