มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการทำงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาความเข็มแข็งของผู้ประกอบการในพื้นที่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นบริการแก้ปัญหากระบวนการผลิต แผนการตลาด เช่น มีผลิตภัณฑ์แต่ไม่รู้ขายใครดี หรืออยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์จะเน้นในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบโลโก สื่อสิ่งพิมพ์ ตราสัญลักษณ์ รวมถึงบริการงานวิจัย บริการวิเคราะห์ค่าเบื้องต้น เช่น ค่าความชื้นในบรรจุภัณฑ์กระป๋อง ค่าสี หรือผลิตภัณฑ์ตัวนี้เก็บได้นานเท่าไร เหมาะกับสินค้าหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอาง เกษตรแปรรูป อาหาร หรือการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น ผลงานการทำเซรั่มจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม เหมาะกับผู้ประกอบการSME ทุกประเภทโดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอาง เกษตรแปรรูป อาหาร
SCI-Park มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีบริการ ดังนี้
1.การบริการออกแบบนวัตกรรม ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เน้นที่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ สัญลักษณ์ เครื่องหมายทางการค้า สื่อสิ่งพิมพ์และงานออกแบบอื่น ๆ ตลอดจนการเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าแต่ละประเภท
2.บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง บริการออกหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตาม มอก.17025(ISO/IEC 17025)
3.บริการพื้นที่ห้องปฏิบัติการ ให้บริการห้องปฏิบัติการแก่ภาคอุตสาหกรรม และเร็วๆนี้จะมี ห้องปฏิบัติการซัลเฟอไดร์ออกไซด์ ได้รับรองมาตรฐาน ISO17025 คือ ตรวจสารตกค้างในผลิตภัณฑ์เช่น ของหมักดอง มะม่วงแช่อิ่ม วัตถุกันเสีย
4.บริการอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัย
5.บริการเทคโนโลยีการพิมพ์ ดำเนินการผลิตบรรจุภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์โดยทางศูนย์ฯ จะประสานจัดหาโรงพิมพ์และบริษัทผู้ผลิตให้
6.ให้บริการความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การออกแบบและการตลาด
นอกจากนี้ยังมีการให้บริการและคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลเพื่อจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา (IP creation) ให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสำรวจแนวโน้มเทคโนโลยีหรือทำแผนที่ สิทธิบัตร การให้คำปรึกษางานทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมกับงาน
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถนำแนวคิด หรือ ผลิตภัณฑ์เข้ามาต่อยอดที่ศูนย์อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ห้องโครงการจัดตั้งกองจัดการทรัพย์สินและสวัสดิการ ชั้น 2 อาคารพิบูลวิชญ์ (ตึก ร.)
156 หมู่ 5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 ช่องทางติดต่ออื่นๆ โทรศัพท์ : 0 5526 7000 # 8733 , โทรศัพท์มือถือ : 064 019 1411 , Email: sciencepark@psru.ac.th , Facebook : facebook.com/scienceparkpsru
Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ หรือ ศนก. เป็นศูนย์บริการที่ปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีการเกษตรแบบครบวงจรและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ SME ทางด้านพืชและการเกษตรโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านเกษตรชุมชน ทั้งด้านงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน สังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ทางศูนย์พัฒนาและวิจัยทั้งระบบตั้งแต่การวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ การพัฒนานวัตกรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีศักยภาพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำการเกษตรเกี่ยวกับพืช ทั้งเรื่องปัจจัยการผลิต การจัดการพื้นที่ในการเพาะปลูก การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์ กระบวนการขั้นตอนในการดูแลรักษาโรคพืช เรื่องของโรงเพาะเลี้ยง เรื่องแมลงและศัตรูพืช ปัจจัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชผลการเกษตร กระบวนการขั้นตอนก่อนการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและสร้างผลผลิตและผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดให้กับผู้ประกอบการ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านการเกษตรกรรม หรือ ต้องการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆเข้าไปพัฒนาพื้นที่ เช่น เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีการยืดอายุของสดอย่างไรให้นานที่สุด
1.ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ดิน น้ำ ปุ๋ย พืชและอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการที่ทำปุ๋ยชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช กระบวนการอินทรีย์ทำอย่างไรให้ถูกต้อง
2.การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การคัดบรรจุผลไม้สด การยืดอายุของผลผลิตอย่างไรให้นานที่สุด
3.งานวิจัยทางด้านพืชคลอบคลุมกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การดูแลพื้นที่ การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช การดูแลรักษา เรื่องแมลงและศัตรูพืช เป็นต้น
4.วิจัยและส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นบ้าน และพืชเศรษฐกิจใหม่ การอนุรักษ์พันธุ์พืช การปรับปรุงสายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเห็ด และจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาถูก
5.มีตัวอย่างดิน ตัวอย่างพืช ตัวอย่างปุ๋ย
6.ห้องปฏิบัติการที่ทำการวิเคราะห์และทดสอบผลผลิตตามภูมิภาคนั้น ๆ
7.ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ประโยชน์อีกอย่างที่น่าสนใจคือ หากผู้ประกอบการนำเข้าเทคโนโลยีและพืชพันธุ์ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในบ้านเรา เมื่อประสบปัญหานี้ทางศูนย์มีงานวิจัยที่สามารถสร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมและตอบโจทย์สำหรับประเทศไทยได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการที่จะสามารถพัฒนาและนำมาต่อยอดต่อไป รวมไปถึงการทำพืชพันธุ์ที่แข็งแรง ขยายพันธุ์ได้ในพื้นที่มาก ๆ ในเวลาเดียวกัน สายพันธุ์พืชที่ปลอดโรค หรือพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ ให้ขยายผลผลิตได้ในเวลารวดเร็ว รวมทั้งทำปุ๋ยยังไงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสสำหรับธุรกิจต่อไป
Published on 29 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
เรื่องของแพ็กเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์เป็นอีกสิ่งสำคัญต่อหลายธุรกิจ หากคุณมองหาศูนย์ที่จะช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ต้องที่นี่เลย "ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (TISTR)" เป็นหน่วยงานดูที่แลในด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่การบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก ไปจนถึงการทำห่อขนมขนาดเล็ก
โดยเน้นไปที่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาคุณภาพสินค้า ถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในทุกประเภทธุรกิจ รวมไปถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยมีบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ดังนี้
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการใช้บริการสามารถนําตัวอย่างที่ต้องการทดสอบมาติดต่อขอใช้บริการด้วยตัวเองโดยตรงได้ที่อาคารศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 196 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ไกล้สถานีรถไฟฟ้า สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หรือ สามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 579 1121-30 ต่อ 3101 หรือทาง e-mail: tpc-tistr@tistr.or.th , packtest@hotmail.com
Published on 26 October 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แถบตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่มีธุรกิจอยู่แล้วหรือกำลังเริ่มต้น และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจ ต้องการหาไอเดียใหม่ ๆ พัฒนาสินค้าหรือทำสินค้าตัวอย่าง ที่ Industry Transformation Center :ITC จ.ชลบุรี ตอบโจทย์คุณแน่นอน เพราะที่นี่พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางการทำธุรกิจ ศึกษาตลาด แหล่งเงินทุน ตั้งแต่สเต็ปเบื้องต้น เช่น เรื่องกระบวนการผลิต จนถึงการวางแผนธุรกิจในอนาคต และยังช่วยดูแล SMEs วิสาหกิจชุมชน OTOP อีกด้วย ซึ่งหมูสะเต๊ะคุณแม่โอ๊ะโอ ที่ตอนนี้มีแฟรนไชส์ มากกว่า 40 สาขา ก็ได้เข้ามารับคำปรึกษาจากที่ศูนย์เช่นกัน
และยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต ยังมีพื้นที่ co working space ที่สามารถให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการนัดหมาย ประชุม พูดคุย ได้ฟรี และในอนาคตอาจมีร้านกาแฟได้บริการอีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่สนใจเข้ามาใช้บริการ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
Facebook : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (Industrial Promotion Center Region 9)
Webside : https://ipc9.dip.go.th/
โทรศัพท์ : 038-784-064-7
FACTory Classroom ศูนย์เพื่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพราะที่นี่เชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบอาหารสู่มาตรฐานสากล (Food prototyping service) โดยมีผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ช่วยให้คำปรึกษา ทดสอบ พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ดูแลและวิจัยการแปรรูปผลไม้และวัตถุดิบทางการเกษตรต่าง ๆ เเละที่ศูนย์ยังเป็นโรงงานต้นแบบเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งกระบวนการทำแห้ง การแช่เยือกแข็ง การผลิตเครื่องดื่ม และการผลิตอาหารสำเร็จรูป
นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีโครงการพัฒนาวิจัยต้นแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองได้ และยังกระจายแหล่งการเรียนรู้สู่จังหวัดอื่น ๆ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่แหล่งของวัตถุดิบเพื่อสร้างการผลิต แปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เช่น ที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย) เปรียบเสมือนโรงเรียนสาธิตสำหรับ SMEs โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
โดยที่ FACTory Classroom ได้รับรองมาตรฐานสถานที่ผลิตจาก อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งกลุ่ม SMEs ที่เข้ามาวิจัยกับศูนย์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์-ทดลองผลิตเพื่อนำไปโชว์ หรือผลิตต้นแบบจากศูนย์ ก็จะได้รับมาตรฐาน อย. และสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปโชว์ที่ต่างประเทศเพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดธุรกิจได้
สำหรับ SME ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการได้โดยตรง หรือเข้าร่วมผ่านโครงการที่ FACTory Classroom ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมโครงการทดลองผลิตสินค้าประเภทต่างๆ จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000 บาท แล้วแต่ประเภทของสินค้าว่าเข้าข่ายกับโครงการไหน
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
ชั้น 3 อาคารโรงอาหาร 3 อาคารโรงงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ (FACTory Classroom) คณะวิศวกรรมศาสตร์
เบอร์โทรศัพท์ 02-329-8356-8 หรือ 095 909 0488
Facebook: KMITL FACTory Classroom