Lemon Me Farm สวนมะนาวลอยฟ้า กับความตั้งใจพามะนาวไทยไปตลาดโลก

 

ธุรกิจการเกษตรอาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคน เพราะมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างภัยธรรมชาติ และความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร แต่ความมุ่งมั่นและมุมมองที่อยากยกระดับให้เอกลักษณ์รสชาติมะนาวไทยไปปักหมุดในระดับโลกบ้าง ได้ผลักดันให้ “คุณฉัตรชัย ดีสวัสดิ์ วิศวกรหนุ่ม ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Lemon me” ลาออกจากงานประจำเพื่อมาช่วยพี่สาวและคุณพ่อ รับผิดชอบบริหาร ดูแลในด้านการตลาด การสื่อสาร

เลมอน มี ฟาร์ม” หรือ สวนมะนาวลอยฟ้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของชาว ศาลายา นครปฐม  คงไม่แปลกถ้าจะบอกว่าความสำเร็จของ แบรนด์ เลมอน มี ในวันนี้เกิดจากการนำเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และข้อมูล (scientific data) มาสร้างโอกาสจากผลมะนาวสวน นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์สร้างคุณค่าใหม่ ที่ตอบโจทย์ ecosystem ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ปัจจุบัน เลมอน มีฟาร์ม มีพื้นที่เพาะปลูกมะนาวประมาณ 70 ไร่ แต่ใช้มะนาวจากสวนเลมอน มี ฟาร์มแค่ 10% เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้รับซื้อ และแปรรูปผลผลิตจากมะนาว คนทั่วไปอาจเคยพบเจอผลิตภัณฑ์เลมอน มี ในโมเดิร์นเทรด ดีพาร์ทเม้นสโตร์ คอนวีเนี่ยนสโตร์ กลุ่มร้านอาหารทั่วไป โรงงานอุตสาหกรรม (food service) และขายทางออนไลน์ นอกจากนี้ในอนาคตจะต่อยอดไปด้านการบริการ (service) อีกด้วย 

 

ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

ไปที่ มองเห็นโอกาสนี้ได้อย่างไร

ไปที่ มองเทรนด์อุตสาหกรรมนี้อย่างไร

ไปที่ แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 

จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

 

 

SME ONE: อยากให้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของแบรนด์ เลมอน มี ได้มีที่มายังไง

คุณฉัตรชัย : ผมเป็น Gen 2 ต่อจากรุ่นคุณพ่อที่ทำเกษตรมาตั้งแต่เด็กประมาณ 40-50 ปี โดยทำสวนกล้วยไม้มาก่อนแต่เนื่องจากเป็นตลาดส่งออก 80-90% ทำให้ราคาผันผวนมาก ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นปลูกมะนาวมาสักประมาณ 15 ปีที่แล้วโดยเน้นพันธุ์แป้น แม่ลูกดก เนื่องจากผมมาจากสายวิศวะจะไม่ชอบอะไรที่กำหนดตัวแปรตายตัวไม่ได้ ต่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ แต่สินค้าเกษตรก็จะถูกตลาดเป็นตัวกำหนดราคาอยู่ดี ตัวอย่าง..ถ้าเป็นช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว ผมจะต้องเก็บมะนาวมาคั้นเพราะมีราคาต่ำ แต่มาปีนี้ราคามะนาวกระสอบหนึ่งจากประมาณ 700 บาท แต่อาทิตย์นี้ 1,400 บาทและของขาดตลาด

 

SME ONE: การปลูกมะนาวที่ เลมอน มีฟาร์ม เป็นแบบสวนลอยฟ้า คือแตกต่างจากปลูกลงดินยังไง

คุณฉัตรชัย : การปลูกลงดินจะมี life circle ยาวกว่าการปลูกแบบยกลอยฟ้า ซึ่งคือการปลูกในกระถางพลาสติกแต่ยกลอยไม่อยู่บนพื้นดิน เพื่อให้รอบกระถางมีรูระบายอากาศได้ดีกว่า น้ำไม่ขัง เราใช้ดินน้อยมากใช้แต่กาบมะพร้าวกับปุ๋ยอินทรีย์ รดด้วยน้ำที่ละลายกับปุ๋ยอินทรีย์ ต้นก็จะซึมซับเร็วและตัวกาบมะพร้าวก็จะอุ้มน้ำไว้ รากก็จะ osmosis จากความเข้มข้นสูงไปความเข้มข้นต่ำ และพอพื้นที่มีบริเวณชื้นก็จะ osmosis กินปุ๋ยได้ตลอดเวลา มะนาวชอบชื้น ไม่ชอบแฉะ เพราะถ้าปลูกในดินมะนาวจะมีโรคอย่างหนึ่ง เรียกว่าโรครากเน่า คือแฉะไป..อากาศเข้าไปในรากไม่ได้ก็เน่า

เราควบคุมความชื้นและจะมีการพรางแสง ทำให้ใบเขียว เพราะฉะนั้นลูกที่ได้จะเขียว รสชาติที่ได้จะหอมหวานแต่ติดขม  มะนาว...ถ้าหอมมาก จะขมมาก แต่นั่นคือเสน่ห์ของมะนาว  ที่เลมอน มี ฟาร์ม เราจะไล่เฉดความขม (ระยะเวลาปล่อยลูกเอาไว้ก่อนเก็บ) ประมาณ 4-5 เฉดขึ้นอยู่กับแม่ค้าอยากได้ไปใช้งานทำอะไร เราสามารถเก็บได้ทุกวัน เก็บตามสเปค ตามออร์เดอร์ การปลูกลอยฟ้ามีข้อดีคือต่อไร่จะปลูกได้ 500-600 ต้น ซึ่งผลผลิตต่อไร่จะมากกว่าปลูกบนดิน และให้ผลผลิตไวมากสักประมาณปีนิด ๆ ก็เก็บได้แล้ว

 

SME ONE: แบ่งผลผลิตมะนาวเป็นรูปแบบอย่างไรบ้าง

คุณฉัตรชัย : เราแบ่ง portfolio เป็น... เฟส1: ผลมะนาว  เฟส2: น้ำมะนาวพร้อมดื่ม / แช่แข็ง  เฟส3: functional drink   เฟส4: เนื้อมะนาวแปรรูป เช่น เนื้อทำวุ้น เปลือกทำน้ำมันหอมระเหยหรือ snack  ส่วนจะมีเฟสไหนเยอะสุด... ผมตอบไม่ได้เพราะผมจะดูตลาดเป็นหลัก ถ้าช่วงไหนมะนาวแพงเราจะขายลูกมะนาวสด ถ้าช่วงไหนมะนาวถูกเราก็เอามาแปรรูปเป็นน้ำมะนาวคั้นสดพร้อมดื่ม ส่งเข้าโมเดิร์นเทรดพร้อมโปรฯ 1แถม1 (เพราะต้นทุนถูก) ตอนนี้เข้าท้อป วิลล่า แม็กซ์แวลู่ ฟู๊ดแลนด์ อย่างน้อยเรากำหนดตัวเลือกว่าผลิตภัณฑ์จะไปด้านไหน แม้ผลผลิตมะนาวจะเป็น seasonal แต่ไม่สามารถระบุชัดเจนว่าช่วงไหนจะถูกหรือแพง 

ราคามะนาวแกว่งมากครับ ส่วนใหญ่จะพีคหน้าร้อน แต่ปีนี้ราคาพีคคือหน้าฝน ราคา 1,600 บาท จากกราฟราคาเฉลี่ยราคามะนาวสูงสุดกับต่ำสุดจะต่างกันประมาณ 2 เท่า จะเป็นว่ามีความไม่แน่นอนสูง  เราเลยต้องกระจายความเสี่ยงไปยังแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่นด้วย เลมอน มี เราเข้าร้านอาหารด้วย food service เช่น ร้านยำในกรุงเทพฯ หรือมาซื้อที่เราก็จะเป็นพันธ์เดียวและมีมาตรฐาน GAP ให้ด้วย เก็บสดและส่งเลยไม่ใช่แบบมะนาวตลาดที่เก็บแล้วรอส่ง ราคาเราก็มีโอกาสต่ำกว่าหรือสูงกว่าตลาดไท แต่ถ้าสูงกว่าคือไม่เกิน 50 บาท/กระสอบ ในอดีตเราเคยส่งตลาดไทจะโดนตลาดกดราคา เราก็เลยไม่อยากให้ชาวสวนโดนกดด้วย

 

SME ONE: สัดส่วนที่ส่งขายของ เลมอน มี ฟาร์ม เป็นอย่างไร

คุณฉัตรชัย : food service ประมาณ 40%. โมเดิร์นเทรด 20% ส่วนหน้าร้าน บวกฝากขาย local ด้วยสัก 30% ที่เหลือก็ออนไลน์กับส่งออก แต่ปีนี้ช่วงนี้ออนไลน์ขยับขึ้น โมเดิร์นเทรดลดลง


 

มองเห็นโอกาสนี้ได้อย่างไร

 

SME ONE: แล้วเลมอน มี มองโอกาส และเทรนด์ที่ขยายยังไงต่อ

คุณฉัตรชัย : ปีนี้ผมลดพื้นที่ปลูก การปลูกแบบลอยฟ้าใช้พื้นที่น้อยกว่าทำให้ได้จำนวนต้นมะนาวที่มากกว่า เราใช้ IOT มาช่วยในการกำหนดเปิด ปิดน้ำทั้งสวน ระบบอาหารให้ทางท่อ ระบบฉีดยาฆ่าแมลงใช้เป็นโดรนทั้งหมด ใช้คนอย่างเดียวตอน selected เก็บผลและตัดกิ่ง เพราะปัญหาเรื่องแรงงานเยอะ เพราะเทรนด์อนาคตจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น 

 

SME ONE: สวนมะนาวคู่แข่งเยอะไหม

คุณฉัตรชัย : ผมไม่ได้มองว่าสวนอื่นหรือเกษตรกรอื่น คือคู่แข่ง เพราะเราไม่ได้ปลูกอย่างเดียว เรารับซื้อด้วย ทุกคนเป็น partner ผมหมดเลย แต่เรารับเฉพาะบางพันธุ์ ไม่มั่ว เรารู้ว่าสวนเขาอยู่ไหน เลี้ยงดูยังไง  ตลาดมะนาวในไทยบริโภคกันเอง 90% แปรรูปสัก 8% ส่งออกไปพม่า ลาว จีนประมาณ 2%

ขณะที่ตลาดมะนาวทั่วโลกปีหนึ่งประมาณแสนล้านบาท ไทยมี margin ไม่ถึง100 ล้าน ทำให้มีโอกาสเติบโตได้อีก สังเกตจากเวลาที่ไปออกบูธต่างประเทศ เช่น สิงค์โปร์ คนมาชิมจะชอบรสชาติ ไม่เคยกินมาก่อนเลย คือมะนาวไทยจะมีรสที่เป็นเอกลักษณ์ จะหอม มีความเปรี้ยวสดชื่น มีความแป๊ด จะไม่ใช่เคมิคอลจ๋า ไม่ใช่นัวด้วย มีรสฝาดนิด ๆ จริง ๆแล้วฝาดเป็นยาต้านมะเร็งเพราะมีสารดีลิโมนีนซึ่งมี report ทางวิทยาศาสตร์อยู่ แล้วก็ลดคอลเลสเตอรอลได้ด้วย 


 

มองเทรนด์อุตสาหกรรมนี้อย่างไร



 

SME ONE: คิดว่าจะต่อยอดความสำเร็จอย่างไรได้บ้าง

คุณฉัตรชัย : อย่างที่บอกคือ เป้าผมอยากพามะนาวไทยไปนอกให้ได้ โมเดลไม่มีอะไรมาก อยากเป็นเหมือนทุเรียน พอเริ่มมีการแปรรูปเป็น freeze dried ส่งออกก็เริ่มติดตลาด 10 ปีที่แล้วทุเรียนโลละ 25 บาท ปีนี้โลละ 100 บาท ออกจากสวนและราคาไม่ผันผวน เพราะฉะนั้นคำตอบเดียวที่จะโตได้คือการแปรรูป ปัจจุบันในไทยปลูกมะนาวน้อย ทำให้ราคาสวิงสูง พอขาดนิดเดียวราคาก็แกว่งขึ้นแล้ว พอปลูกเยอะก็ยังไม่มีตลาดรองรับ มะนาวจะโตได้ต้องมีตลาดต่างประเทศมารองรับ ต้องไปสร้างให้คนต่างประเทศรับรู้ก่อนว่ามะนาวไทยรสชาติเป็นอย่างนี้นะ แล้วเขาจะเอาไปปรุงอาหารต่อเอง

จริง ๆ การแปรรูปเป็นตลาดที่คนทำอยู่ก่อนแล้วแต่เป็นตลาด low quality เช่น มะนาวผง จะรสชาติแปลก ๆ เพราะกระบวนการผลิตที่เป่าลมร้อน ระเหยเหลือแต่ผงมะนาว แล้วใส่สารบางตัวเพิ่มเข้าไป ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ามะนาวไทย sensitive กับความร้อน พอแปรรูปส่งออกไปจะพบว่า กินมะนาวผงไทย กับมะนาวผงสเปนรสชาติแทบไม่ต่างกันเหมือนกินลูกอมรสมะนาว มันคือเบสแบบนั้น รสชาติมาจากซีตริคอย่างเดียว หน้าที่คนรุ่นใหม่คือเอาเทคโนโลยีอาหารที่พัฒนาไปไกลแล้วมาช่วยในการผลิต


 

แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับปัจจุบันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 

 

SME ONE: แนวคิดในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้นกับตอนนี้ต่างกันไหม

คุณฉัตรชัย : ต่างกันเยอะครับ ช่วงแรกอย่าเรียกว่าทำธุรกิจดีกว่า เป็นแค่การแสวงหากำไรเพราะไม่มีการตั้งเป้าหมาย. ถ้าธุรกิจต้องมีเป้าแล้วหากระบวนการไปให้ถึงเป้านั้น รุ่นคุณพ่อปลูกต้นมะนาว ขายต้นมะนาว รุ่นผมพอราคาไม่ดีก็แปรรูปเป็นน้ำมะนาวคั้นสด พอน้ำเริ่มขายดีก็มีการนำไปออกร้านขายตาม flea market ในช่วงเสาร์อาทิตย์ จากนั้นมีการตั้งชื่อแบรนด์ เลมอน มี สัก 4 ปีที่แล้ว พอกระแสตอบรับดีขึ้นก็ทำ branding, packaging ปรับราคา มีการแปรรูปทำน้ำมะนาวแช่แข็งส่งร้านอาหาร นำเทคโนโลยีและองค์ความรู้มาพัฒนาจนตอนนี้เก็บได้ 45 วันและทำให้รสชาติคงที่ ใช้เครื่องจักรในการคั้นน้ำ แล้วก็เปลี่ยน waste เช่น เปลือกมาทำอะไรได้บ้าง หาตลาดมารองรับ

 

SME ONE: อยากให้เล่าปัญหาในการทำธุรกิจช่วงเริ่มต้น 

คุณฉัตรชัย : มีหลายอย่างมากครับ ต้องเข้าใจว่าผมมาจากเกษตร และจากเกษตรเปลี่ยนมาอุตสาหกรรมก็หนักแล้ว และพอเปลี่ยนมาเป็นนักการตลาด นักขายก็หนักขึ้นไปอีก แล้วกำลังทำเป็นเชิงท่องเที่ยวด้วย ตอนนี้ที่อยากทำคือ “การสร้างการรับรู้ก่อนว่าเมื่อนึกถึงมะนาวไทย นึกถึงอะไร” ตอนนี้ยังไม่มีใครทำแต่ในมุมของบริษัทจริง ๆ คือ เป้าต้องการที่จะพามะนาวไทยไปตลาดโลกให้ได้ ผมทำมา 5 ปี ตอนแรกยังไม่อยากออกสื่อจนกระทั่งเพื่อนเริ่มมาถาม มาปรึกษาอยากทำ OEM น้ำมะนาวทำยังไง เราก็เริ่มรู้สึกว่าคนใกล้ ๆ ตัวเริ่มเชื่อและปรึกษาเราแล้ว แสดงว่าเริ่มมีการยอมรับในความเป็นตัวจริงเรื่องมะนาว ซึ่งทำให้คิดว่าต้องสร้างการรับรู้เรื่องมะนาวก่อน ถึงจะไปตลาดต่างประเทศได้ ตอนนี้เรายังไม่ success เรื่องแบรนด์ดิ้งเพราะลองไปสังเกตุและถามผู้บริโภคหน้าเชล์ฟในท้อป แต่ไม่มีใครเอ่ยชื่อ เลมอน มี ทำให้คิดว่าเราคงต้องเริ่มสร้าง awareness อย่างจริงจังจากคนในประเทศก่อนถ้าจะไปให้ถึงเป้าตลาดต่างประเทศ ปัญหาการผลิตก็เรื่องการควบคุมคุณภาพ ในฟาร์มก็ปัญหาแรงงาน  ส่วนการขายแบบ เลมอน มี เรียกปัญหาวูบวาบ ตามราคา

 

SME ONE: แล้วมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร

คุณฉัตรชัย : ก็แก้ไปเรื่อย ๆ ทีละจุด ผมเป็นคนชอบแก้ปัญหาอยู่แล้ว มันคือการ challenge ส่วนมุมไหนยากสุด สำหรับธุรกิจครอบครัวคิดว่า มุม management นะ เพราะ internal management มันคือปัญหาจากความรู้สึกมากกว่าเหตุผลและหลาย ๆ อย่างมันใช้เหตุผลไปแก้ไม่ได้ ระหว่างวัย ระหว่าง Gen มีเหตุผลหมด เช่นการตั้งราคาของน้ำมะนาวคั้นสด ก็เป็นมุมมองที่ต่างกันของคุณพ่อที่ตั้งราคา 10 บาท โดยไม่ได้คิดเผื่อราคามะนาวที่ผันผวน แต่เราต้องคิดให้อยูได้ในช่วงราคาที่แกว่ง หรือปัญหาเช่นความชอบ ดีไซน์ที่มองไม่เหมือนกัน หรือพอคุณพ่อเป็น stroke ความรู้ประสบการณ์เทคนิคการปลูกมะนาวมันขาดช่วงหายไปเลย หรือการทำงานกับพี่สาวที่ดูแลเรื่องการปลูก การผลิต ดูบัญชี

ตอนนี้ก็แบ่งส่วนกัน ผมดู R&D การตลาดเพื่อลดปัญหาการคิดไม่เหมือนกันระหว่าง Gen อย่างที่บอกน้ำมะนาวเป็นสินค้า food fashion คือตลาดวูบวาบมาก ตอนพีคที่สุดเคยขายได้ 200,000 ขวด/เดือน บางวันได้ 2,500 ขวด/วัน เพราะช่วงนั้นมีข้อมูลเรื่องมะนาวป้องกันมะเร็งได้ เราก็ตัดสินใจสร้างโรงงานนี้ขึ้นมา 10 กว่าล้านแล้วผ่านไป 1 ปีเรายังไม่ได้ทำแบรนด์ดิ้งจริงจัง ยอดลดจาก 100,000 เหลือ 50,000 จนต่ำสุดเหลือ 20,000 ขวด/เดือน โรงงาน เครื่องจักร หนี้เดินแล้ว ปัญหาเกิดเพราะเราเอาเงินไปลงทุนส่วนอื่น ๆ จึงต้องกลับมาแก้ปัญหากันทีละจุด จากเดิมตอนที่ขายดีเราก็ออกบูธขายอย่างเดียว ไม่ได้ทำอย่างอื่นเพิ่ม เช่น R&D ไม่ได้แปรรูปให้หลากหลาย

 

SME ONE: ที่ผ่านมาเคยขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐบ้างไหม

คุณฉัตรชัย : เยอะครับ ทุกด้าน ผมเป็นคนที่ไปเข้าอบรม ประมาณ 4-6 เดือนจะสมัครคอร์สอันหนึ่ง ก็ได้จากผู้ร่วมอบรมส่งต่อคอร์สกันมา เนื้อหาก็เหมือนเดิม แต่สิ่งได้มาคือได้ connection ได้ recap ตัวเอง และได้ inspiration เรื่องใหม่ ปีหนึ่งจะได้คิดพัฒนาเรื่องใหม่ ๆ 3 ชิ้นอย่างต่ำ คือ SME ทำเองหมด เพราะฉะนั้นจะมีงานที่ต้องทำเยอะมากเพื่อยอดขายจนไม่ได้นึกถึงเรื่องที่ควรคิดต่อเพื่อวาง plan 

 

SME ONE: วิธีการต่อยอดหรือแพลนความสำเร็จไว้ยังไงบ้าง

คุณฉัตรชัย : เป้าหลัก ๆ คือ “เอามะนาวไทย ไปมะนาวโลกให้ได้” ก็เริ่มไปเรื่อย ๆ แต่วางแผนไว้ว่าไม่เกิน 2 ปีต้องเริ่มผลิต  ตอนนี้เริ่มส่งต่างประเทศแต่ portfolio น้อยมาก แพลนมีเลื่อนนิดหน่อยจากโควิด จริงๆ กะว่าปีนี้จะออก งาน exhibition พวก Thaifex ก็หยุดไปก่อน เพราะต่างชาติไม่มาครับ ส่วนเร็ว ๆ นี้จะมีโปรดักส์ใหม่ เช่น ice cube เป็นมะนาวรูปแบบก้อนแช่แข็ง คือ 1 ลูกเท่ากับมะนาว1ก้อน เวลาจะเป็นหวัดอยากทานก็หักมา 1 ก้อนผสมน้ำผึ้งใส่น้ำร้อนคน ๆ ทานได้เลย หรืออยากทานต้มยำก็หักใส่เข้าไปได้เลย  อันนี้จะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่อยู่บ้าน คอนโด ที่มีการเก็บรสหวาน รสเค็ม แต่ไม่มีการเก็บรสเปรี้ยวไว้ในบ้านให้ใช้งานแบบ practical เลย

 

SME ONE: ปัจจัยความสำเร็จในการทำธุรกิจที่อยากแนะนำมีอะไรบ้างครับ

คุณฉัตรชัย : คิดว่าอย่าท้อ และอย่าหยุดนิ่ง อย่าหยุดพัฒนาดีกว่า พยายามออกไปหาโลกข้างนอก ไปเปิดโลกข้างนอกให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ บางที SME จมอยู่กับการจัดการงานตรงหน้าให้ได้ก่อน เลยไม่มีเวลาได้คิดอะไรใหม่ ๆ  

 

SME ONE: คำแนะนำที่ฝากให้กับผู้ประกอบการ SME (Do & Don’t)

คุณฉัตรชัย : ตอบยากมากเลย (หัวเราะ) Don’t คืออย่าเหนื่อยละกัน ส่วน Do คืออย่ากลัวที่จะพลาดแต่ต้องหาวิธีกระจายความเสี่ยงที่จะพลาด ของเลมอน มี ก็ดู portfolio หลายกลุ่มทำให้โควิดที่ผ่านมาตลาดโมเดิร์นเทรดนิ่ง ก็ได้ตลาดออนไลน์ FB เป็นลูกค้าใหม่ ส่วน Line ก็จะเป็นลูกค้าเก่ามาช่วย กับ food service ที่ยังไปได้ 

 

SME ONE: คุณสมบัติสำคัญในการอยู่รอดในธุรกิจนี้

คุณฉัตรชัย : หลัก ๆ เลย การปรับตัวและการกระจายความเสี่ยง ทั้งโปรดักส์หลากหลายสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ไม่เหมือนกัน ทั้งกลุ่ม active และ passive, B2B, B2C และที่สำคัญคือการรักษากระแสเงินสด





บทสรุป

การเกษตรยุคใหม่ที่ใช้ทั้งเทคโนโลยี Food science รวมกับการคิดวิเคราะห์ข้อมูล บวกองค์ความรู้เทคนิคการปลูกมะนาวจากรุ่นสู่รุ่น นำมาใช้แปรรูปผลผลิตเพื่อรองรับและกระจายความเสี่ยงของราคาผลผลิตที่ผันผวน ซึ่งช่วยเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสใหม่ ๆ เติมเต็มความต้องการและพฤติกรรมการใช้มะนาวของผู้บริโภคได้รอบด้าน และไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา ค้นหาไอเดียใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อผลักดันแบรนด์ เลมอน มี ไปสู่เป้าหมายหลักคือการพามะนาวไทยออกไปสู่ตลาดโลกให้ได้


Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

แผนปรับตัวสู้วิกฤตธุรกิจอาหาร

หัวข้อ : ปรุงรส ธุรกิจ ขายวิธีคิดสร้างความต่าง
อ่านเพิ่มเติม : www.kasikornbank.com/th/Inspired-Apr-2020.aspx

 

 

ในปีนี้ธุรกิจร้านอาหารมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จากปีที่ผ่าน ด้วยสถานการณ์ต่างๆ โดยแยกผลกระทบและการปรับตัวเป็น 2 กลุ่มคือ

1. กลุ่มตลาดต่างประเทศ

เป็นกลุ่มร้านอาหารที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ต้องเน้นไปที่การลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เช่น

  • การเจรจาของลดค่าเช่าสถานที่
  • ใช้ระบบการจัดการแบบครัวกลาง สำหรับร้านที่มีหลายสาขา
  • ดูแลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย
  • ขอความร่วมมือจากพนังงานในการลดเวลาทำงานลง
  • ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มพรีเมียมคนไทย

 

2. กลุ่มตลาดในประเทศ

โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดกลาง-เล็ก และร้านอาหารข้างทาง ต้องมีการเตรียมด้านการบริหารสภาพคล่องหรือกระแสเงินสด เช่น

  • ปรับลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
  • ลดพนักงานในช่วงที่ไม่ค่อยมีลูกค้า
  • รักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับราคา
  • ดูแลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย
  • ต้องไม่ลืมหาวิธีเพิ่มยอดขายช่องทางอื่น ๆ

 

 

3 สิ่งที่ธุรกิจขายอาหารควรทำเมื่อเพิ่มช่องทางขายออนไลน์

  1. เชื่อมโยงร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันผู้ให้บริการเดลิเวอรี่อย่าง GrabFood, LINEMAN, Food Panda, GET FOOD เป็นต้น
  2. ทำโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย เช่น จัดส่งฟรี ทำคูปองส่วนลด หรือระบบสะสมแต้มออนไลน์
  3. มีโปรโมชั่นลดราคาสำหรับผู้ชำระเงินผ่านระบบจ่านเงินออนลไน์ (e-Payment) กับธนาคารที่เป็นพันธมิตร

จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นความท้าทายที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องปรับตัวและวางแผนธุรกิจอย่างเป็นระบบ ดังนี้

1. วางเป้าหมายให้ชัดเจน

อาจเแบ่งออกเป็น เป้าหมายระยะ สั้น – กลาง – ยาว เปรียบเทียบผลลัพธ์กับเป้าหมายในช่วงที่ผ่านมา ว่าเป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ และนำมาวิเคราะห์ว่าทีได้หรือไม่ได้ตามเป้าเป็นเพราะอะไร

2. วิเคราะห์โอกาสทางการตลาดและสภาพธุรกิจ

ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อจำกัด ทั้งในส่วนของเงินทุน ทำเลที่ตั้ง ทักษะและประสบการณ์ของเจ้าของกิจการไปจนถึงพนักงานภายในร้าน รวมถึงคุณภาพของวัตถุดิบ เป็นต้น เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอด ซึ่งจะช่วยลดคววามเสี่ยงและสร้างโอกาสให้ธุรกิจคุณได้

3. วิเคราะห์ตลาดผู้บริโภคและคู่แข่ง

เพื่อให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เทรนด์อาหารต่าง ๆ ขณะเดียวกันควรวิเคราะห์คู่แข่งในบริเวณใกล้เคียงด้วย ในส่วนของยอดขายและวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อนำมาวางแผนรับมือ

4. กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด

ออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งในส่วนของยอดขาย ต้นทุน กำไร จุดคุ้มทุน เพื่อให้ลูกค้าเก่ากลับมาทางซ้ำ และดึงดูดลูกค้าใหม่ เช่น หาเอกลักษณ์ให้ร้าน ตั้งราคาขายให้เหมาะสม นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขึ้น รวมถึงวางแผนการตลาดและโปรโมชันใหม่ ๆ

5. ทบทวน และติดตามประเมินผล

ต้องมีการประเมินผลงานของกิจการเป็นระยะ ๆ อาจจะมาจากฟีดแบคของลูกค้าหรือความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้จุดที่ดีอยู่แล้ว

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือธุรกิจออนไลน์ ยกระดับความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

หัวข้อ : เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือธุรกิจออนไลน์ ยกระดับความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
อ่านเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/ecommerce_file/pdf/dbd_ecommmanual_openshopoonline_6202.pdf

 

ปัจจุบันที่ร้านต่าง ๆ มีการลงขายสินค้าช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น การแข่งขันจึงสูงขึ้นตามมา เพราะบางร้านอาจเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับธุรกิจคุณ หนึ่งในวิธีที่จะช่วยดึงลูกค้าสู่ร้านของคุณคือการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ผู้ซื้อ ซึ่งจะช่วยให้ร้านของคุณดูโดดเด่นจากคู่แข่งได้ สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการยกระดับการสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า ต้องมีเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD Verified) โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ Silver ระดับดี, Gold ระดับดีมาก และ Platinum ระดับดีเด่น โดยออกให้แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด เป็นการบ่งบอกว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐาน เมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้วจะได้รับเครื่องหมายรับรองความหน้าเชื่อถือ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปติดบนหน้าเว็บไซต์ได้ เครื่องหมายจะมีอายุการใช้งาน 1 ปีนับตั้งแต่วันอนุญาตและสามารถยื่นต่ออายุได้ปีต่อปี

 

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย

  • บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • จัดส่งงบการเงิน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  • จดทะเบียนพาณิชย์สําหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • เป็นเจ้าของโดเมนเนม
  • มีระบบการสั่งซื้อ การชําระเงิน และการจัดส่ง
  • ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและไขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • สินค้าหรือบริการ จะต้องเป็นไปตามประเภทธุรกิจของพาณิชยกิจที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์และไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • สินค้าหรือบริการที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชน จะต้องจัดให้มีข้อความเตือนบนเว็บไซต์เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เด็กและเยาวชน

 

การยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมาย

สามารถยื่นผ่านทาง www.trustmarkthai.com
หรือ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โทร. 02-547-5961 หรืออีเมล์ dbd-verifed@dbd.go.th

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

 

บทความแนะนำ

อยากเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสุขภาพทำอย่างไร?

หัวข้อ : คู่มือการให้คำปรึกษาธุรกิจ SMEs
อ่านฉบับเต็มเพิ่มเติม : https://www.dbd.go.th/download/promotion_file/manual_sme600529.pdf

 

ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในตอนนี้ เนื่องจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองเห็นศักยภาพทางด้านการดูแลสุขภาพของไทย นอกจากจะเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศแล้วยังก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย

บริการเพื่อสุขภาพ ประกอบไปด้วยธุรกิจต่างๆ ดังนี้

(1) ธุรกิจบริการทางแพทย์

(2) ธุรกิจสปา

(3) ธุรกิจนวดแผนไทย (รักษาโรค)

(4) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ

1) กำหนดกลุ่มเป้าหมายและออกแบบธุรกิจที่แตกต่าง ตัวอย่าง ธุรกิจสปา 

  • ควรกำหนดว่าลูกค้าจะเป็นระดับบน กลาง หรือล่าง 
  • กลุ่มลูกค้ามีลักษณะอย่างไร ทั้งอายุ อาชีพ การใช้ชีวิต 
  • ขั้นตอนการออกแบบธุรกิจ รูปแบบของร้านและจุดเด่น ที่ทำให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น อาจจะเป็นวิธีการทำสปาแบบใหม่ การตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร โปรแกรมเสริมอื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นต้น 
  • สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ คือการออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาในร้าน จนกระทั่งใช้บริการเสร็จสิ้นว่าในแต่ละขั้นตอน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกค้าจะต้องได้รับประสบการณ์อย่างไรบ้าง

 

2) หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การทำธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ทำเลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก

  • ควรเลือกทำเลที่ใกล้จุดพักอาศัย หรืออยู่ใจกลางออฟฟิศ
  • ต้องง่ายต่อการมองเห็น ง่ายต่อการมองหา และไม่ดูลึกลับ เพราะจะต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย
  • ที่จอดรถก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากกลุ่มลูกค้าเป็นคนที่ขับรถมาใช้บริการ

 

3) จัดหาและพัฒนาบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญของการบริการเพื่อสุขภาพ

  • พนักงานให้บริการที่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ จากสถาบันที่คนทั่วไปให้การยอมรับ เช่น สำหรับพนักงานนวดแผนไทย ต้องได้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งอาจจะได้รับการอบรมจากโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) หรือ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
  • ผู้ประกอบการจะต้องให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจพนักงานในการทำงาน รวมทั้งมีการสอนขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน

 

4) จดทะเบียนขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ต้องขอใบอนุญาตต่าง ๆ ดังนี้

  • ธุรกิจบริการทางการแพทย์ และธุรกิจนวดแผนไทย เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด
  • คลินิกแพทย์แผนไทย จะต้องขอรับใบอนุญาต 2 ประเภท คือ
    • ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 10 ปี
    • ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล สำหรับผู้ให้บริการในสถานพยาบาล ต่ออายุทุก 2 ปี

เขตกรุงเทพมหานคร – ยื่นคำขอที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข 

ส่วนภูมิภาค – ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะเท่านั้น

สำหรับธุรกิจนวดแผนไทย หากการนวดเป็นการกระทำเพื่อบำบัดโรค วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็ถือเป็นการประกอบโรคศิลปะ ผู้ที่จะทำการนวดได้ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยหรือเวชกรรมโบราณ จากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน และต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

  • ธุรกิจสปา ทั้ง 3 ประเภท สปาเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมสวย 
    • ต้องยื่นคำขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย (มาตรฐาน สบส.) 
    • เมื่อได้รับการอนุญาต ผู้ประกอบการจะได้รับใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการ และสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน 
    • เครื่องหมายสัญลักษณ์นี้จะต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการ

สำหรับสถานประกอบการที่ไม่ได้ขอใบรับรอง จะเข้าข่ายเป็นสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การยื่นคำร้องขอใบอนุญาต ต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ดังนี้

  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ยื่นขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งร้าน
  • องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล ยื่นขอจดอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใบอนุญาตใช้อาคาร
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล และยังไม่ได้จดทะเบียนกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า

หลังจากยื่นคำรองแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจทั้งในด้านสถานที่ร้าน ผู้ดำเนินการ ผู้ให้บริการ คุณภาพของการบริการ และความปลอดภัย หากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด จะได้รับใบอนุญาต รวมเวลาในการดำเนินงานภายใน 130 วัน

 

เกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ

เพื่อประเมินและพัฒนาคุณภาพของธุรกิจสปา ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการตั้งเกณฑ์การรับรองคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จํานวน 5 ด้านดังนี้

1. มาตรฐานด้านบริการ (Service Quality)

เพื่อตรวจสอบการบริการว่ามีการบริการครบถ้วนถูกต้อง มีคุณภาพตามหลักวิชาการตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้า เช่น 

  • มีการกําหนดรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบของการบริการ เวลาที่บริการ และราคาที่ให้บริการ
  • มีระบบการดูแลความปลอดภัยให้กับลูกค้าระหว่างการรับบริการ
  • มีการประเมินความพอใจของลูกค้า และมีการนําผลประเมินมาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
  • มีการจัดให้บริการด้านการให้คําปรึกษาและข้อมูล

2. มาตรฐานด้านบุคลากร (Skill Staff) 

เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่ามีคุณสมบัติที่จะบริการลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และประทับใจ เช่น

  • สามารถสื่อสารภาษาไทยและพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างดี
  • สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสปาได้
  • มีจัดฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างดีที่สุด
  • มีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ ในห้องทรีทเมนต์ให้ครบ พร้อมให้บริการตลอดเวลา

3. มาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool & Equipment)

เพื่อให้มีการจัดหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ ไว้สําหรับบริการผู้มารับบริการ เช่น 

  • ต้องไม่มีการโฆษณาคุณภาพเป็นเท็จ หรือเกินความเป็นจริง
  • ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองจากอย.หรือกฎหมายกําหนด หรือระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและนําเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีหนังสือรับรองผู้ผลิต ( Certificate of Manufacturer ) หรือหนังสือรับรองการขาย( Certificate of Free Sale )
  • มีการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ

4. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการองค์กร (Organization & Management Quality)

เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น

  • มีการจัดแบ่งหน้าที่พนักงานที่ชัดเจนตามตําแหน่ง
  • มีการจัดระบบการว่าจ้างและผลตอบแทนชัดเจน
  • มีระบบการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน
  • มีการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน (Manual Operation)

5. มาตรฐานด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม (Ambient)

เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประทับใจในสภาพแวดล้อม  เนื่องจากสปาเพื่อสุขภาพผู้รับบริการจะต้องได้รับบริการครบทั้ง 5 มิติ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เช่น

  • บริเวณต้อนรับ แยกออกจาก่วนที่ให้บริการอย่างชัดเจน ไม่รบกวนผู้รับบริการ
  • สภาพแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด และปราศจากมลภาวะต่างๆ
  • มีแผนผังแสดงจุดต่างๆ แสดงไว้อย่างชัดเจน
  • สถานที่มีความสะอาด และมีระบบดูแลรักษาที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 

ผู้จัดทำเกณฑ์การรับรองคุณภาพ สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ  นอกจากนี้พนักงานผู้ที่ต้องการขอขึ้นใบทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถขอที่หน่วยงานนี้เช่นกัน

เว็บไซต์ hss.moph.go.th
ที่อยู่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมืองจ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02 193 7999
อีเมล ict@hss.moph.go.th

 

สมาคมสปาไทย 

สามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจสปา หรือร่วมออกบูธในงาน World Spa & Well-Being Convention ในเดือนกันยายนของทุกปี นอกจากนี้สมาชิกยังสามารถประกาศรับพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ของสมาคมได้อีกด้วย

เว็บไซต์ www.thaispaassociation.com
ที่อยู่ สมาคมสปาไทย ชั้น 6 อาคารฟิโก้ เพลส ถ.สขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 3814441
อีเมล info@thaispaassociation.com

 

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

มีการเปิดอบรมหลักสูตรทั้งการนวดแผนไทย นวดกดจุด และอบรมไทยสปา

เว็บไซต์ www.dsd.go.th
ที่อยู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 248 3393

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ

แฟรนไชส์อาหาร ขายอะไรยังไปต่อได้ในช่วงวิกฤติ

หัวข้อ : 10 แฟรนไชส์อาหาร ที่ยังไปได้ดีแม้เศรษฐกิจผันผวน
อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-food-investment

 

การขายอาหารการกินไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีตกยุค ยิ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและมีธุรกิจตัวกลางคอยเชื่อมโยงร้านอาหารกับกลุ่มลูกค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ การเติบโตทางการตลาดจึงเป็นไปอย่างดี โดย Euromonitor รายงานว่าในช่วงปี 2013-2018 ยอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food service) ของไทยยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี 

สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจอาหาร แฟรนไชส์อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากแนวโน้มของตลาดที่ให้การตอบรับดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจอย่าลืมที่จะพิจารณาถึงผลเสียและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่จะได้รับอย่างรอบคอบ เพื่อวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตได้

ผู้ที่สนใจเแฟรนไชส์อาหาร นี่คือ 10 แฟรนไชส์ที่ยังไปได้ดีในยุคนี้

 

1. แฟรนไชส์น้ำปลาหวาน จิ้มแกล้มกับผลไม้

  • ราคาเริ่มต้นแฟรนไชส์เพียง 10,000 บาท
  • งบประมาณอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับทุนและการจัดการร้านตามที่มี เช่น การตกแต่งร้าน การเลือกผลไม้กินแกล้มน้ำปลาหวาน

 

2. เนื้อย่างเสียบไม้ มีแนวคิดมาจากความนิยมทานเนื้อแบบปิ้งย่างของคนไทย เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต้องการทานแบบสะดวก พออิ่มท้อง และไม่อยากจ่ายเยอะ

  • ปัจจุบันมีให้เลือกร่วมทุนหลายเจ้าด้วยกัน 
  • งบในการดำเนินการประมาณ 3,000 – 15,000 บาท

 

3. เครป ขนมทานเล่นยอดนิยมมานานยังคงไปได้ดี

  • มีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ให้เลือกหลากหลายแล้วแต่จุดขายที่สนใจ 
  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 15,900 – 60,000 บาท ขึ้นอยู่กับแบรนด์และอุปกรณ์ส่งเสริมการขายของแบรนด์นั้นๆ 

 

4. หม่าล่า อาหารปิ้งย่างเคลือบน้ำจิ้มรสเผ็ด ได้รับความนิยมมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

  • วัตถุดิบที่นำมาปิ้งย่าง เช่น เนื้อ ไก่ เอ็น ไส้กรอก ฯลฯ
  • แต่ละแบรนด์แตกต่างกันตรงที่เทคนิคการหม่าให้ได้ที่และรสชาติน้ำจิ้ม
  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 1,200 -30,000 บาท

 

5. เฟรนช์ฟรายส์ อาหารทานเล่นที่บริหารจัดการได้ไม่ยาก

  • ปัจจุบันมีหลายรสชาติ และหลายแบรนด์แฟรนไชส์ให้เลือกลงทุน 
  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 25,000 – 200,000 บาท

 

6. ซูชิ อาหารจากญี่ปุ่นที่ถูกปากคนไทยมานาน

  • มีตั้งแต่สเกลเล็ก ๆ เป็นซุ้มหน้าร้าน ไปจนถึงร้านนั่ง เน้นขายความสดใหม่
  • คิดราคาเป็นคำ 
  • หลายเจ้าให้เลือกลงทุน ความอร่อยจะแตกต่างกันตรงการปรุงรสข้าว
  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 4,000 – 35,000 บาท 

 

7. ก๋วยเตี๋ยว ยังไปได้ในทุกยุคเศรษฐกิจ

  • มีให้เลือกลงทุนไม่ต่ำกว่า 20 แบรนด์ 
  • แต่ละแบรนด์ล้วนมีเอกลักษณ์ที่วัตถุดิบ เช่น น้ำซุป เส้น การตุ๋นเนื้อ เครื่องปรุง รสชาติลูกชิ้น ฯลฯ ที่แตกต่างกัน
  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 50,000 – 150,000 บาท 

 

8. ส้มตำ ยำแซ่บ อีสานยกชุด อาหารที่คนไทยทานได้ไม่เบื่อ

  • มีตั้งแต่เมนูส้มตำที่หลากหลาย ยำรสจัดจ้าน แจ่ว อ่อม ไก่ทอด ไกย่าง ฯลฯ
  • เริ่มต้นลงทุนแฟรนไชส์ได้ตั้งแต่ 19,000 – 70,000 บาท

 

9. สเต๊ก สามารถคืนทุนได้เร็ว หากทำเลดีและเลือกลงทุนแฟรนไชส์ดี

  • งบในการดำเนินการแตกต่างกันแต่ละแบรนด์

 

10. ชาบู มีทั้งแบบจัดเป็นชุดบุฟเฟต์ หรือเสียบไม้

  • ชุดลงทุนแฟรนไชส์ตั้งแต่ 7,500 – 2,000,000 บาท

 

ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเป็นสินค้าที่มีผลกำไรต่อหน่วยน้อย ต้องอาศัยการขายในจำนวนมาก สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกเหนือไปจากทุน จุดคุ้มทุน และผลกำไรแล้ว ยังมีเรื่องอื่นที่ผู้ประกอกการต้องใส่ใจด้วย เช่น

– การพิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้ง เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปได้ไกล

– วัตถุดิบอาหารต้องสดใหม่และมีอายุในการเก็บรักษา จำต้องหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายทุกวัน

 

Published on 24 September 2020
SMEONE เพิ่มโอกาสให้ SME ไทย

 

บทความแนะนำ